ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ

พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๕. ขุททกวัตถุขันธกะ

ขุททกวัตถุ
ว่าด้วยระเบียบปฏิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกายกับต้นไม้

[๒๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน
ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์๑สรงน้ำขัดสีกาย
คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้ เหมือน
พวกนักมวยปล้ำ เหมือนพวกลูกหลานชาวบ้านเล่า”๒

เชิงอรรถ :
๑ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้แก่ พวกภิกษุผู้ชอบประพฤติผิดมี ๖ รูป คือ พระปัณฑุกะ พระโลหิตกะ อยู่ในกรุง
สาวัตถี พระเมตติยะ พระภุมมชกะ อยู่ในกรุงราชคฤห์ พระอัสสชิ พระปุนัพพสุกะ เป็นคณาจารย์อยู่
ประจำในกีฏาคีรีชนบท แคว้นกาสี (ม.ม.อ. ๒/๑๗๕/๑๓๘)
๒ มลฺลมุฏฺŸิกาติ มุฏฺŸิกมลฺลา คำว่า มลฺลมุฏฺŸิกา ได้แก่ พวกนักมวยปล้ำ คามปูฏวาติ ฉวิราคมณฺฑนา-
นุยุตฺตา นาคริกมนุสฺสา, คามโปตกาติ ปาโŸ. คำว่า คามปูฏวา คือ พวกมนุษย์ชาวเมืองผู้หมกมุ่นอยู่กับ
การประดับ ย้อมผิว จะหมายถึงพวกลูกหลานชาวบ้านก็ได้ (วิ.อ.๓/๒๔๓/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสรงน้ำ ขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง
อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้เล่า”๑
ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสี
กาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร
ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง
อกบ้าง หลังบ้างกับต้นไม้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับ
จะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลาย
เป็นอื่นไป”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วได้
ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ

เชิงอรรถ :
๑ บาลีเป็นประโยคเปยยาล แปลเต็มตามนัยแห่งวินัยปิฏกมหาวิภังค์ ๑/๓๙/๒๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียรโดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถาให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่อง
นั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงขัดสีกาย
กับต้นไม้ รูปใดขัดสี ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกายกับเสา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง
หลังบ้างกับเสา คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับเสา
เหมือนพวกนักมวยปล้ำ เหมือนพวกลูกหลานชาวบ้านเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสี
กาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับเสา จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับเสาเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงขัดสีกายกับเสา รูปใดขัดสี
ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกายกับฝา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง
หลังบ้างกับฝา คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับฝา
เหมือนพวกนักมวยปล้ำ เหมือนพวกลูกหลานชาวบ้านเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำ ขัด
สีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับฝา จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษ
เหล่านั้นจึงสรงน้ำขัดสีกาย คือขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้างกับฝาเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงขัดสีกายกับฝา รูปใด
ขัดสี ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์สรงน้ำในที่ไม่สมควร
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อสรงน้ำ สรงน้ำในที่ไม่สมควร๑ คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำในที่ที่
ไม่สมควร จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงสรงน้ำในที่ที่ไม่สมควรเล่า ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะสรงน้ำ ไม่พึงสรงในที่ที่ไม่สมควร
รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้มือที่ทำด้วยไม้หอมถูกายสรงน้ำเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ใช้มือที่ทำด้วยไม้หอมถูกายสรงน้ำ๒ ฯลฯ คน
ทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”

เชิงอรรถ :
๑ ที่ไม่สมควร ในที่นี้หมายถึงเสาถูตัวคือต้นไม้ที่เขาถากเรียบคล้ายแผ่นกระดาน สกัดเป็นรอยดังกระดาน
หมากรุก ปัก ฝังไว้ที่ท่าอาบน้ำ พวกชาวบ้านนำจุรณมาโรยที่เสาถูตัวนั้นแล้วถูกายที่เสานั้น (วิ.อ. ๓/๒๔๓/
๓๐๒, วิ.สงฺคห. ๒๑/๔๙๕)
๒ คนฺธพฺพหตฺถก คือ มือที่ทำด้วยไม้ ได้แก่ มือที่ทำด้วยไม้ซึ่งเขาวางไว้ที่ท่าอาบน้ำ คนทั้งหลายใช้มือนั้น
ตักจุรณขัดสีกาย (วิ.อ. ๓/๒๔๓/๓๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้มือที่ทำด้วยไม้หอมถู
กายสรงน้ำ รูปใดใช้สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สรงน้ำโดยใช้เชือกชุบจุรณศิลาสีเหมือนพลอย
แดง(ถูตัว) คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสรงน้ำโดยใช้เชือกชุบจุรณ
ศิลาสีเหมือนพลอยแดง(ถูกาย) รูปใดใช้สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ต่างทำบริกรรมให้แก่กันและกัน๑ คนทั้งหลายจึง
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำบริกรรมให้แก่กันและกัน
รูปใดถู ตัองอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้บังเวียนจักเป็นฟันมังกรถูกายสรงน้ำ คน
ทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้บังเวียนจักเป็นฟัน
มังกรถูกายสรงน้ำ รูปใดถู ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ ทำบริกรรมแก่กันและกันในน้ำ ในที่นี้หมายถึงการขัดถูร่างกายให้กัน (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องภิกษุเป็นโรคหิด
[๒๔๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นโรคหิด ขาดไม้บังเวียนจักเป็นฟันมังกร ย่อม
ไม่มีความสบาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้บังเวียนที่ไม่จักเป็นฟัน
มังกรแก่ภิกษุผู้เป็นไข้”

เรื่องภิกษุทุพลภาพเพราะชรา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งทุพลภาพเพราะชรา เมื่อสรงน้ำ ไม่สามารถจะถูกาย
ตนได้ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเกลียวผ้า”

ทรงอนุญาตให้ใช้มือถูหลัง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยำเกรงที่จะถูหลัง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มือถูหลัง”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ
[๒๔๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับหู ... ใช้สร้อยสังวาล ...
ใช้สร้อยคอ ... ใช้เครื่องประดับเอว ... ใช้วลัย ... ใช้สร้อยตาบ ... ใช้เครื่องประดับข้อ
มือ ... ใช้แหวนสวมนิ้วมือ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับหู ... ใช้สร้อยสังวาล ... ใช้สร้อยคอ ... ใช้เครื่อง
ประดับเอว ... ใช้วลัย ... ใช้สร้อยตาบ .... ใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ใช้แหวนสวม
นิ้วมือ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เครื่องประดับหู ... ไม่พึงใช้
สร้อยสังวาล ... ไม่พึงใช้สร้อยคอ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับเอว ... ไม่พึงใช้วลัย ... ไม่
พึงใช้สร้อยตาบ ... ไม่พึงใช้เครื่องประดับข้อมือ ... ไม่พึงใช้แหวนสวมนิ้วมือ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว
[๒๔๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ผมยาว รูปใดไว้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไว้ผมยาวได้ ๒ เดือน หรือยาวได้
๒ นิ้ว”๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผมเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้แปรงหวีผม ... ใช้หวีหวีผม ... ใช้นิ้วมือต่าง
หวีเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม

เชิงอรรถ :
๑ ถ้าภายใน ๒ เดือน ผมยาวถึง ๒ นิ้ว พึงตัดภายใน ๒ เดือน ไม่ควรปล่อยให้ยาวเกิน ๒ นิ้ว หรือ
แม้ผมจะยังไม่ยาวก็ไม่ควรปล่อยไว้เกิน ๒ เดือนไปแม้แต่วันเดียว (วิ.อ. ๓/๒๔๖/๓๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แปรงหวีผม ... ไม่พึงใช้
หวีหวีผม ... ไม่พึงใช้นิ้วมือต่างหวีเสยผม ... ไม่พึงใช้น้ำมันผสมกับขี้ผึ้งเสยผม ... ไม่
พึงใช้น้ำมันผสมกับน้ำเสยผม รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้า
[๒๔๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาหน้าที่คันฉ่องบ้าง ในภาชนะ
ใส่น้ำบ้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงาหน้าที่คันฉ่องหรือใน
ภาชนะใส่น้ำ รูปใดดู ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุเป็นแผลที่หน้า
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่หน้า ถามภิกษุทั้งหลายว่า “แผลของกระผม
เป็นอย่างไรขอรับ” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เป็นอย่างนี้ ๆ ขอรับ” ภิกษุนั้นไม่เชื่อ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต
ให้ตรวจดูรอยตำหนิบนใบหน้าที่คันฉ่องหรือที่ภาชนะใส่น้ำได้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทาหน้า ... ถูหน้า ... ผัดหน้า ... เจิมหน้าด้วย
มโนศิลา๑... ย้อมตัว ... ย้อมหน้า ... ย้อมทั้งตัวและหน้า
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า ... ไม่พึงถูหน้า
... ไม่พึงผัดหน้า ... ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ... ไม่พึงย้อมตัว ... ไม่พึงย้อมหน้า
... ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดย้อม ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคตา
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคตา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาพาธเป็นปัจจัย เราอนุญาต
ให้ทาหน้าได้ ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ดูมหรสพ
[๒๔๘] สมัยนั้น มีมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห์ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไป
เที่ยวดูมหรสพ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงไปดูการฟ้อนรำบ้าง การขับร้องบ้าง การบรรเลงดนตรีบ้าง เหมือน
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” ฯลฯ

เชิงอรรถ :
๑ มโนศิลา คือหินอ่อนที่ย่อยให้ละเอียดประสมเป็นสีทาสิ่งอื่นได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดูการฟ้อนรำ การ
ขับร้อง หรือการบรรเลงดนตรี รูปใดไปดู ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว
[๒๔๙] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวคล้ายเพลงขับ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาว เหมือนพวกเราขับร้องเล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงสวดธรรมด้วยเสียงขับยาวเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สวด
ธรรมด้วยเสียงขับยาว จริงหรือ” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สวดธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ ๕
ประการนี้ โทษ ๕ ประการคือ
๑. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น
๒. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น
๓. แม้คหบดีทั้งหลายก็ตำหนิ
๔. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิย่อมมี
๕. ภิกษุรุ่นหลังจะพากันตามอย่าง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว มีโทษ ๕ ประการนี้แล๑
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาว รูปใดสวด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”

เรื่องภิกษุสวดสรภัญญะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงในการสวดสรภัญญะ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการสวดเป็นทำนอง
สรภัญญะ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าห่มขนสัตว์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าห่มขนสัตว์ให้ด้านที่มีขนอยู่ด้านนอก คน
ทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ผ้าห่มขนสัตว์ให้ด้าน
ที่มีขนอยู่ด้านนอก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ฉันมะม่วง
[๒๕๐] สมัยนั้น มะม่วงที่พระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
กำลังออกผล พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐทรงอนุญาตว่า “ขอนิมนต์พระคุณเจ้า
ทั้งหลายฉันผลมะม่วงตามสบายเถิด”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอยมะม่วงเลือกเอาเฉพาะผลอ่อน ๆ เท่านั้นมาฉัน

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๙/๓๕๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐมีพระราชประสงค์จะเสวยมะม่วง ลำดับนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ จึงรับสั่งเจ้าหน้าที่ทั้งหลายว่า “ท่านจงไปสวน
เก็บผลมะม่วงมา”
เจ้าหน้าที่เหล่านั้นรับพระราชดำรัสแล้วไปที่สวน บอกคนเฝ้าสวนว่า “นาย
พระราชามีพระราชประสงค์จะเสวยผลมะม่วง ท่านจงให้ผลมะม่วง”
คนเฝ้าสวนตอบว่า “มะม่วงไม่มี ภิกษุสอยผลอ่อน ๆ ไปฉันหมดแล้ว”
ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่เหล่านั้นนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธ
รัฐให้ทรงทราบ
ท้าวเธอตรัสว่า “ภิกษุฉันมะม่วงหมดก็ดีแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญ
การรู้จักประมาณ”
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรไม่รู้จักประมาณ ฉันมะม่วงของพระราชาหมดเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันมะม่วง รูปใดฉัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ”

เรื่องสมาคมถวายชิ้นมะม่วง
สมัยนั้น สมาคมหนึ่งถวายสังฆภัต ใส่ชิ้นผลมะม่วงในกับข้าว ภิกษุทั้งหลาย
ยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรับประเคนฉันเถิด ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตมะม่วงเป็นชิ้น ๆ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องผลไม้ที่สมควรแก่สมณะ
สมัยนั้น สมาคมหนึ่งถวายสังฆภัต พวกเขาไม่รู้จักทำมะม่วงเป็นชิ้น ๆ จึงนำ
เข้าไปในโรงอาหารทั้งผล ภิกษุทั้งหลาย ยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอรับประเคนฉันได้ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่สมควรแก่สมณะ ๕ อย่าง คือ
๑. ผลไม้ที่ลนไฟ ๒. ผลไม้ที่กรีดด้วยศัสตรา
๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ ๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
๕. ผลไม้ที่ปล้อนเอาเมล็ดออกแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ที่สมควรแก่สมณะ ๕ อย่างนี้แล”

เรื่องภิกษุถูกงูกัด ๑
[๒๕๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล เพราะถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
ภิกษุนั้นก็จะไม่ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ

ตระกูลพญางูทั้ง ๔
ตระกูลพญางู ๔ ตระกูล คือ
๑. ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักษ์ ๒. ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ
๓. ตระกูลพญางูชื่อฉัพยาบุตร ๔. ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๗/๑๑๐-๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นคงจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
เพราะถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้ ภิกษุนั้นจะไม่ถูกงูกัด
ถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตให้ตระกูลพญางู ๔ ตระกูลนี้
เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน

วิธีแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงแผ่เมตตาอย่างนี้
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูวิรูปักษ์
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูเอราปถะ
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูฉัพยาบุตร
เราขอมีเมตตาต่อตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์ที่ไม่มีเท้า
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์สองเท้า
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์สี่เท้า
เราขอมีเมตตาต่อเหล่าสัตว์หลายเท้า
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สองเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์สี่เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
สัตว์หลายเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
ขอสรรพสัตว์ที่มีลมหายใจ
ขอสรรพสัตว์ที่ยังมีชีวิตทั้งมวล จงประสบกับความเจริญ
ความเลวร้ายอย่าได้มาแผ้วพานสัตว์ใด ๆ เลย
พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้
พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมงป่อง ตะขาบ
แมงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เราทำการรักษาแล้ว ทำการป้องกันแล้ว ขอหมู่สัตว์ผู้มีชีวิตจงหลีกไป เรานั้น
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาค ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์“๑

เรื่องภิกษุตัดองคชาต
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถูกความไม่ยินดีบีบคั้น ได้ตัดองคชาตของตน ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้น เมื่อสิ่งอื่นที่ควรตัด
มีอยู่ กลับไปตัดอีกสิ่งหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงตัดองคชาตของตน รูปใดตัด
ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

เรื่องบาตรไม้จันทน์
[๒๕๒] สมัยนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์มีปุ่มแก่นจันทน์มีค่ามาก ครั้งนั้นแล
ท่านเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราจะให้กลึงปุ่มไม้จันทน์
นี้เป็นบาตร ผงไม้จันทน์ที่เหลือจะเก็บไว้ใช้แล้วให้บาตรเป็นทาน”
ลำดับนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้กลึงปุ่มไม้จันทน์นั้นเป็นบาตร ใส่สาแหรก
แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่โดยผูกต่อ ๆ กันขึ้นไปแล้วประกาศอย่างนี้ว่า “สมณะหรือพราหมณ์
รูปใดที่เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงเหาะขึ้นไปปลดบาตรที่เราให้แล้วนำไปเถิด”
ครั้งนั้น เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะเข้าไปหาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “คหบดี อาตมานี่แหละเป็นพระอรหันต์
และมีฤทธิ์ ท่านโปรดให้บาตรแก่อาตมาเถิด”
เศรษฐีตอบว่า “ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์ก็จงเหาะขึ้นไปปลดบาตรที่เราให้
แล้วเองเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา.(แปล) ๒๗/๑๐๕-๑๐๖/๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ครั้งนั้น เจ้าลัทธิมักขลิโคสาล ... เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพล ... เจ้าลัทธิปกุธ-
กัจจายนะ ... เจ้าลัทธิสัญชัยเวลัฏฐบุตร ... เจ้าลัทธินิครนถ์นาฏบุตรเข้าไปหาเศรษฐี
ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “คหบดี อาตมานี่แหละ
เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ท่านโปรดให้บาตรแก่อาตมาเถิด”
เศรษฐีตอบว่า “ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์ก็จงเหาะขึ้นไปปลดบาตรที่เราให้
แล้วเองเถิด”
ครั้นเช้าวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภารทวาชะครอง
อันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์
แม้ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ แม้ท่านพระมหา
โมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์เช่นกัน
ครั้งนั้น ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะกล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า
“ท่านโมคคัลลานะ ท่านเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ท่านจงไปปลดบาตรใบนั้นลงมาเถิด
นั่นคือบาตรของท่าน”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า “ท่านปิณโฑลภารทวาชะ ท่านเป็นพระอรหันต์
และเป็นผู้มีฤทธิ์ ท่านจงไปปลดบาตรใบนั้นลงมาเถิด นั่นบาตรของท่าน”
ลำดับนั้น ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าถือบาตรนั้นลอย
เวียนไปรอบกรุงราชคฤห์ ๓ รอบ ขณะนั้น เศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยายืนอยู่ในบ้าน
ของตนประนมมือไหว้พลางนิมนต์ว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านโปรดแวะหยุดในบ้านของ
พวกเราเถิด”
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะแวะหยุดในบ้านของท่านเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์
ลำดับนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์รับบาตรจากมือท่านพระปิณโฑลภารทวาชะแล้ว
บรรจุของเคี้ยวมีค่ามากจนเต็มบาตรแล้วได้ถวายท่าน ครั้งนั้น ท่านพระปิณโฑล-
ภารทวาชะรับบาตรแล้วกลับไปอาราม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
คนทั้งหลายได้ทราบว่า “พระคุณเจ้าปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของท่านเศรษฐี
ชาวกรุงราชคฤห์ลงมาแล้ว” จึงพากันส่งเสียงอึกทึกกึกก้องพากันติดตามท่านพระ
ปิณโฑลภารทวาชะไป
พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงอึกทึกกึกก้องนั้น จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์
มารับสั่งถามว่า “อานนท์ นั่นเสียงอึกทึกกึกก้องอะไร”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปปลด
บาตรของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ คนทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า ‘‘พระคุณเจ้าปิณโฑล-
ภารทวาชะปลดบาตรของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ลงมาแล้ว’ จึงพากันส่งเสียงอึกทึก
กึกก้อง พากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะไป นี่คือเสียงอึกทึกกึกก้องนั้น
พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ตรัส
ถามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะว่า “ภารทวาชะ ทราบว่าเธอปลดบาตรของเศรษฐี
ชาวกรุงราชคฤห์ลงมา จริงหรือ”
พระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงห้ามใช้บาตรไม้
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภารทวาชะ การกระทำของเธอไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ภารทวาชะ
ไฉนเธอจึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรม๑ แก่คนทั้งหลายเพราะเหตุ
แห่งบาตรไม้ไม่มีค่าเล่า การที่เธอแสดงปาฏิหาริย์เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ที่ไม่มีค่า

เชิงอรรถ :
๑ อุตตริมนุสสธรรม ดูรายละเอียดใน วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๙๘/๑๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เปรียบเหมือนกับมาตุคามแสดงของที่ควรปกปิดเพราะเห็นแก่เงินตราเล็กน้อยฉะนั้น
ภารทวาชะ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้น
ทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อันเป็นอุตตริมนุสสธรรมแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย รูปใด
แสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรใบนั้น บดให้ละเอียด
แล้วใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้บาตรชนิดต่าง ๆ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้บาตรชนิดต่าง ๆ คือ บาตรทองคำ บาตรเงิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรทองคำ ... ไม่พึงใช้
บาตรเงิน ... ไม่พึงใช้บาตรแก้วมณี ... ไม่พึงใช้บาตรแก้วไพฑูรย์ ... ไม่พึงใช้บาตร
แก้วผลึก ... ไม่พึงใช้บาตรสัมฤทธิ์ ... ไม่พึงใช้บาตรกระจก ... ไม่พึงใช้บาตรดีบุก
... ไม่พึงใช้บาตรตะกั่ว ... ไม่พึงใช้บาตรทองแดง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตบาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก บาตรดิน”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้เชิงบาตรชนิดต่าง ๆ
[๒๕๓] สมัยนั้น ก้นบาตรสึกหรอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงบาตร”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เชิงบาตรชนิดต่าง ๆ คือ ทำด้วยทอง ทำด้วย
เงิน คนทั้งหลาย ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เชิงบาตรชนิดต่าง ๆ
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงบาตร ๒ ชนิด คือ ทำ
ด้วยดีบุก ทำด้วยตะกั่ว”
เชิงบาตรหนาไม่เหมาะกับก้นบาตร ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กลึงเชิงรองบาตร”
เชิงรองบาตรกลึงแล้วก็ยังไม่เรียบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จักเป็นฟันมังกร”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้เชิงรองบาตรสวยงามตระการตา มีลวดลาย
เป็นรูปภาพ เที่ยวเดินอวดไปตามถนน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เชิงรองบาตรสวยงาม
ตระการตา มีลวดลายเป็นรูปภาพ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตเชิงรองบาตรชนิดธรรมดา”

เรื่องการเก็บรักษาบาตร
[๒๕๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้ทั้งที่ยังไม่แห้ง บาตรเหม็นอับ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้ทั้งที่ยังไม่แห้ง
รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาบาตรผึ่งแดดก่อน
แล้วจึงค่อยเก็บ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเอาบาตรผึ่งแดดไว้ทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรมีกลิ่นเหม็น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเอาบาตรผึ่งแดดทั้งที่ยัง
มีน้ำ รูปใดเอาผึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เช็ดบาตรเสียก่อน
แล้วจึงค่อยผึ่งแดดเก็บไว้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ในที่ร้อน ผิวบาตรเสีย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ในที่ร้อน รูป
ใดวาง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาบาตรผึ่งแดดไว้ในที่ร้อน
สักชั่วครู่แล้วจึงค่อยเก็บ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรจำนวนมากที่ไม่มีเชิงรองไว้ในที่แจ้ง บาตรถูก
ลมพายุพัดกลิ้งตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่วางบาตร”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้๑ บาตรกลิ้งตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้ รูปใด
วางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้เล็กนอกฝา บาตร กลิ้งตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้เล็ก
นอกฝา รูปใดวาง ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ มีรูปทรงคล้ายแท่นบูชาทำด้วยไม้หรือดินเหนียวเหมือนเตียง วางไว้อยู่ตามระเบียง (วิ.อ. ๓/๒๕๔/๓๐๖,
วิมติ.ฏีกา ๒/๒๙๖/๓๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายคว่ำบาตรไว้ที่พื้นดิน ขอบบาตรสึกหรอ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง”
หญ้าที่รองถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ท่อนผ้ารอง”
ท่อนผ้าถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตชั้นวางบาตร”
บาตรกลิ้งตกจากชั้นวางแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หม้อปากกว้างเก็บ
บาตร”
บาตรครูดสีกับหม้อปากกว้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ถลกบาตร”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนบาตรไว้ที่ไม้เดือยข้างฝาบ้าง ที่งาช้างบ้าง บาตร
พลัดตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแขวนบาตรไว้ รูปใดแขวนไว้
ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนเตียง เผลอสตินั่งทับบาตรแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนเตียง รูปใด
เก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนตั่ง เผลอสตินั่งทับบาตรแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนตั่ง รูปใด
เก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนตัก เผลอสติลุกขึ้น บาตรตกแตก ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้บนตัก รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บบาตรไว้บนกลด กลดถูกลมพายุพัด บาตรตกแตก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเก็บบาตรไว้บนกลด รูปใดเก็บไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
[๒๕๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือบาตรอยู่ผลักบานประตูเข้าไป บาตรกระทบ
บานประตูแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ
รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือบาตรผลักบานประตูเข้าไป รูปใดผลัก ต้อง
อาบัติทุกกฏ”

เรื่องการใช้วัตถุอื่นแทนบาตร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้กะโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนพวกเดียรถีย์”ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้
กะโหลกน้ำเต้าเที่ยวบิณฑบาต รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้หม้อกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนพวกเดียรถีย์” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้
หม้อกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาต รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งถือของทุกอย่างเป็นของบังสุกุล๑ ท่านใช้บาตรกะโหลกผี
สตรีผู้หนึ่งเห็นแล้วกลัวส่งเสียงร้องว่า “ผู้นี้เป็นปีศาจแน่” คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงใช้บาตรกะโหลกผี เหมือน
พวกปีศาจเล่า” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรกะโหลกผี รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรมีของใช้ทุกอย่างเป็นของบังสุกุล รูปใดมี
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้บาตรรองรับเศษอาหารบ้าง ก้างบ้าง น้ำบ้วนปากบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้
ฉันในภาชนะที่ตัวเองใช้เป็นกระโถน” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้บาตรรองรับเศษอาหาร
ก้างหรือน้ำบ้วนปาก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้
กระโถน”

เชิงอรรถ :
๑ ถือของทุกอย่างเป็นของบังสุกุล หมายเอาเฉพาะเครื่องใช้สอย เช่น จีวร เตียง ตั่ง ไม่ได้หมายถึง
ของเคี้ยวของฉัน เพราะของเคี้ยวของฉันต้องเป็นของที่เขาถวายแล้วเท่านั้น จึงควรถือเอา (วิ.อ. ๓/๒๕๕/
๓๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องภิกษุใช้มือฉีกผ้าเย็บจีวรเป็นต้น
[๒๕๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้มือฉีกผ้าเย็บจีวร จีวรมีแนวไม่เสมอกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมีดมีผ้าพัน”
สมัยนั้น มีดมีด้ามเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้มีดมีด้าม”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ด้ามมีดชนิดต่าง ๆ คือ ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ด้ามมีดชนิดต่าง ๆ รูป
ใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ามมีดทำด้วยกระดูก งา เขา
สัตว์ ไม้อ้อ ไม้ไผ่ ไม้ธรรมดา ครั่ง เมล็ดผลไม้ โลหะ กระดองสังข์”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้ขนไก่บ้าง ไม้กลัดบ้างเย็บจีวร จีวรที่เย็บแล้วไม่
เรียบร้อย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เข็ม”
เข็มขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กล่องเข็ม”
แม้ในกล่องเข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาแป้งข้าวหมากโรย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
แม้ในแป้งข้าวหมากเข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เอาแป้งเจือขมิ้นผงโรย”
แม้ในแป้งเจือขมิ้นผง เข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ฝุ่นศิลา”
แม้ในฝุ่นศิลา เข็มก็ยังขึ้นสนิม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทาด้วยขี้ผึ้ง”
ฝุ่นศิลาแตก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ามัดขี้ผึ้งพอกฝุ่น
ศิลา”

เรื่องไม้สะดึงเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตอกหลักลงในที่นั้น ๆ แล้วผูกขึงเย็บจีวร มุมจีวรเสีย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึง เชือกผูกไม้สะดึง
ให้ผูกลงในที่นั้น ๆ เย็บจีวร”
ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงในที่ไม่เรียบ ไม้สะดึงหัก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึงไม้สะดึงในที่ไม่เรียบ
รูปใดขึง ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุทั้งหลายขึงไม้สะดึงบนพื้นดิน ไม้สะดึงเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารอง”
ขอบไม้สะดึงชำรุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดามขอบเหมือนผ้า
อนุวาต”
ไม้สะดึงไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึงเล็ก ไม้ประกบ
ซี่ไม้สำหรับสอดเข้าระหว่างจีวร ๒ ชั้น เชือกรัดสะดึงในกับสะดึงนอก ด้ายผูกจีวร
กับสะดึงใน ครั้นขึงแล้วจึงเย็บจีวร”
ระยะแนวด้าย(ที่เย็บ)ไม่เสมอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหมายระยะไว้”
แนวด้ายคด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเส้นบรรทัด”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ได้ล้างเท้าเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึงเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เท้าเปื้อนเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเท้าเปียกเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึงเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้เท้าเปียกเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสวมรองเท้าเหยียบไม้สะดึง ไม้สะดึงเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าเหยียบไม้สะดึง
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรใช้นิ้วมือรับเข็ม นิ้วมือเจ็บ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือ”
[๒๕๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ปลอกสวมนิ้วมือชนิดต่าง ๆ คือ ทำ
ด้วยทอง ทำด้วยเงิน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือน
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ปลอกสวมนิ้วมือชนิด
ต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ปลอกสวมนิ้วมือ
ทำด้วย กระดูก ฯลฯ กระดองสังข์”
สมัยนั้น เข็ม มีด ปลอกสวมนิ้วมือเสียหาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า”
ภิกษุทั้งหลายมัวพะวงอยู่แต่ในกล่องเก็บเครื่องเย็บผ้า ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บปลอกสวมนิ้วมือ”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องโรงสะดึงเป็นต้น
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรอยู่ในที่แจ้ง ลำบากเพราะความหนาวบ้าง เพราะ
ความร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงสะดึง ปะรำสะดึง”
โรงสะดึงมีพื้นต่ำ น้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓
ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันได
อิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
สมัยนั้น ผงหญ้าตกเกลื่อนในโรงสะดึง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบก
ฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวดลายดอกจอก ราวจีวร สาย
ระเดียง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรเสร็จแล้ว ทิ้งไม้สะดึงไว้ที่นั้นแล้วจากไป หนูบ้าง
ปลวกบ้างกัดกิน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ม้วนไม้สะดึงเก็บไว้”
ไม้สะดึงหัก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอดท่อนไม้ม้วนไม้สะดึง
เข้าไป”
ไม้สะดึงคลี่ออกภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกผูก”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยกไม้สะดึงเก็บไว้ที่ฝาบ้าง ที่เสาบ้างแล้วจากไป ไม้
สะดึงพลัดตกเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แขวนไว้ที่เดือยข้างฝา
หรือที่ไม้ทำเป็นรูปงาช้าง”
[๒๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ตามพระ
อัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้บาตรใส่เข็มบ้าง
มีดบ้าง เครื่องยาบ้าง เดินทางไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บเครื่องยา”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งผูกรองเท้าไว้กับประคตเอวเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน อุบาสก
คนหนึ่งไหว้ภิกษุนั้น ศีรษะกระทบรองเท้า ภิกษุนั้นเก้อเขิน ครั้นกลับไปวัดจึงเล่า
เรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตถุงเก็บรองเท้า”
สายโยกไม่มี ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายโยกเป็นด้ายถัก”

เรื่องผ้ากรองน้ำ
สมัยนั้น น้ำในระหว่างทางเป็นอกัปปิยะ๑ ผ้ากรองก็ไม่มี
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำ”
ท่อนผ้าไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองมีรูปคล้ายทัพพี”
ผ้าไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกระบอกกรองน้ำ”
[๒๕๙] สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินไปแคว้นโกศล รูปหนึ่งประพฤติไม่
สมควร ภิกษุรูปที่ ๒ จึงได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าทำอย่างนั้น นั่นไม่
สมควร” ภิกษุนั้นกลับโกรธ

เชิงอรรถ :
๑ อกัปปิยะ หมายถึงไม่ควร น้ำเป็นอกัปปิยะในที่นี้คือน้ำขุ่นไม่ควรดื่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ครั้งนั้น ภิกษุ(รูปที่กล่าวเตือน)นั้นกระหายน้ำ อ้อนวอนรูปที่โกรธดังนี้ว่า “ท่าน
โปรดให้ผ้ากรองน้ำ ผมจักดื่มน้ำ” ภิกษุรูปที่โกรธไม่ยอมให้ ภิกษุรูป(ที่กล่าวเตือน)
นั้นกระหายน้ำจนถึงแก่มรณภาพ ครั้นภิกษุไปถึงวัดได้เล่าเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “เพื่อนอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำ ท่านไม่ให้หรือ”
ภิกษุผู้โกรธนั้นตอบว่า “อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุถูกขอผ้ากรอง
น้ำจึงไม่ให้เล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำก็ไม่ให้ จริงหรือ”
ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย โมฆบุรุษ
ไฉนเธอเมื่อถูกอ้อนวอนขอผ้ากรองน้ำจึงไม่ให้เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เดินทางไกลเมื่อถูกเขาอ้อนวอน ขอผ้า
กรองน้ำจะไม่ให้ไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีผ้า
กรองน้ำ ไม่พึงเดินทางไกล รูปใดเดินทาง ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าไม่มีผ้ากรองน้ำหรือ
กระบอกกรองน้ำ แม้มุมสังฆาฏิก็ควรอธิษฐานใช้กรองดื่มได้”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น
สมัยนั้น ภิกษุทำนวกรรม(การก่อสร้าง) ผ้ากรองน้ำไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ผ้านั้นก็ไม่พอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดผ้าลงบนน้ำ”

เรื่องทรงอนุญาตกุฎีกันยุง
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถูกยุงรบกวน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกุฎีกันยุง”๑

เรื่องทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ
[๒๖๐] สมัยนั้น ทายกทายิกาในกรุงเวลาสีจัดตั้งภัตตาหารประณีตไว้ตาม
ลำดับ ภิกษุฉันภัตตาหารประณีต จนร่างกายอ้วนจึงมีอาพาธมาก
ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจมีธุระต้องเดินทางไปกรุงเวสาลี เห็นภิกษุทั้งหลาย
มีร่างกายอ้วน มีอาพาธมาก จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ภิกษุมีร่างกายอ้วน มีอาพาธมาก ขอประทาน
พระวโรกาส พระองค์โปรดอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ ด้วยวิธีการอย่างนี้ ภิกษุ
ทั้งหลายจักได้มีอาพาธน้อย”
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้หมอชีวกโกมารภัจเห็นชัด ชวนให้อยากรับไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น หมอชีวกโกมารภัจผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวน
ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว
ทูลลากลับ

เชิงอรรถ :
๑ กุฎีกันยุง คือกุฎีที่ทำด้วยจีวรเพื่อป้องกันยุง (วิ.อ. ๓/๒๕๙/๓๑๐, ปาจิตฺยาทิโยชนา ๒๕๙/๔๕๗ ม.)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมในที่ขรุขระ เท้าเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่จงกรมให้เรียบ”
สมัยนั้น ที่จงกรมมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่ในที่จงกรมพลัดตกลงมา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้วรอบที่จงกรม”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจงกรมอยู่กลางแจ้ง ย่อมลำบากเพราะอากาศหนาวบ้าง
อากาศร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาจงกรม”
ผงหญ้าตกเกลื่อนในศาลาจงกรม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น เรือนไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
เรือนไฟไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง
กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
เชิงฝาเรือนไฟชำรุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉาบรอบ ๆ”
เรือนไฟไม่มีช่องระบายควัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตช่องระบายควัน”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาไว้กลางเรือนไฟขนาดเล็ก ไม่มีบริเวณ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำที่ตั้งเตาไฟไว้ด้าน
หนึ่งในเรือนไฟขนาดเล็ก ในเรือนไฟขนาดใหญ่ตั้งไว้ตรงกลางได้”
ไฟในเรือนไฟแผดเผาหน้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตดินสำหรับทาหน้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุใช้มือละเลงดิน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
รางละลายดิน”
ดินมีกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้อบกลิ่น”
สมัยนั้น ไฟในเรือนไฟแผดเผากาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้นำน้ำเข้าไป”
ภิกษุทั้งหลายใช้ถาดบ้าง บาตรบ้างนำน้ำเข้าไป ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่ใส่น้ำ ขันน้ำ”
เรือนไฟที่มุงบังด้วยหญ้าไม่อบเหงื่อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก”
เรือนไฟมีพื้นลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ปูเครื่องลาด ๓ ชนิด คือ เครื่องลาดอิฐ เครื่องลาดศิลา เครื่องลาดไม้”
เรือนไฟก็ยังลื่นอยู่อย่างนั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ชำระล้าง”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งบนพื้นดินในเรือนไฟ คันตามเนื้อตัว ฯลฯ พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งในเรือนไฟ”
สมัยนั้น เรือนไฟยังไม่ได้ล้อมรั้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”
เรือนไฟไม่มีซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม”
ซุ้มมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ซุ้มยังไม่มีประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน
ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
สมัยนั้น ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้
มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก”
บริเวณลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรย
กรวดแร่”
กรวดแร่ยังไม่พอ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้วางศิลาเรียบ”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ”

เรื่องการเปลือยกาย
[๒๖๑] สมัยนั้น พวกภิกษุเปลือยกายไหว้ภิกษุเปลือยกาย๑ พวกภิกษุเปลือย
กายไหว้ภิกษุไม่เปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายให้ภิกษุเปลือยกายไหว้ตน พวก

เชิงอรรถ :
๑ นคฺคา : เปลือยกาย ในที่นี้หมายถึงการเปลือยกายอย่างพวกอาชีวก ไม่มีผ้าติดกายเลย (ดู วิ.มหา. (แปล)
๒/๕๑๗/๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุเปลือยกายให้ภิกษุไม่เปลือยกายไหว้ตน พวกภิกษุเปลือยกายบีบนวดภิกษุ
เปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายใช้ภิกษุเปลือยกายบีบนวด พวกภิกษุเปลือยกายให้
ของแก่ภิกษุเปลือยกาย พวกภิกษุเปลือยกายรับประเคน พวกภิกษุเปลือยกายเคี้ยว
พวกภิกษุเปลือยกายฉัน พวกภิกษุเปลือยกายลิ้มรส พวกภิกษุเปลือยกายดื่ม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเปลือยกายไม่พึงไหว้ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึง
เปลือยกายไหว้กัน รูปใดไหว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเปลือยกาย ไม่พึงให้ภิกษุ
เปลือยกายไหว้ ... ภิกษุเปลือยกายไม่พึงทำบริกรรมให้แก่ภิกษุเปลือยกาย ... ภิกษุ
เปลือยกาย ไม่พึงใช้ภิกษุเปลือยกายทำบริกรรม ... ภิกษุเปลือยกายไม่พึงให้ของแก่
ภิกษุเปลือยกาย ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายรับประเคน ... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายเคี้ยว
... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายฉัน .... ภิกษุไม่พึงเปลือยกายลิ้มรส ... ภิกษุไม่พึงเปลือย กาย
ดื่ม รูปใดดื่ม ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องศาลาเรือนไฟและบ่อน้ำ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายวางจีวรไว้บนพื้นดินที่ใกล้เรือนไฟ จีวรเปื้อนฝุ่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงในที่
ใกล้เรือนไฟ”
ครั้นฝนตกจีวรเปียกฝน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตศาลาเรือนไฟ”
ศาลาเรือนไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
สมัยนั้น ผงหญ้าตกเกลื่อนบนศาลาเรือนไฟ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก” ฯลฯ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง”
สมัยนั้น ภิกษุยำเกรงที่จะทำบริกรรมในเรือนไฟบ้าง ในน้ำบ้าง ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องกำบัง ๓ ชนิด คือ
ที่กำบังเรือนไฟ ที่กำบังน้ำ ที่กำบังผ้า”
สมัยนั้น ในเรือนไฟไม่มีน้ำ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบ่อน้ำ”
ขอบบ่อน้ำทรุด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
บ่อน้ำมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นที่ให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
[๒๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้เถาวัลย์บ้าง ประคดเอวบ้างผูกภาชนะตักน้ำ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกสำหรับผูกภาชนะ
ตักน้ำ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
มือทั้ง ๒ เจ็บ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
คันโพงคล้ายคันชั่ง ระหัดมือ ระหัดจักร”
ภาชนะทั้งหลายแตกจำนวนมาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตถังตักน้ำ ๓ ชนิด คือ ถังโลหะ ถังไม้ ถังหนัง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายตักน้ำในที่แจ้ง ย่อมลำบากเพราะความหนาวบ้าง เพราะ
ความร้อนบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตศาลาบ่อน้ำ”
ผงหญ้าตกเกลื่อนในศาลาบ่อน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้
มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
สมัยนั้น บ่อน้ำที่ไม่ปิดฝา ผงหญ้าบ้าง ฝุ่นบ้างปลิวลงไป ฯลฯ พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”
สมัยนั้น ไม่มีภาชนะใส่น้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตรางน้ำ อ่างน้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำในที่นั้น ๆ ในอาราม อารามลื่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระองค์รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำรางระบายน้ำ”
รางระบายน้ำโล่งแจ้งไป ภิกษุทั้งหลายอายไม่กล้าสรงน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กั้นกำแพง ๓ ชนิด คือ กำแพงอิฐ กำแพง
ศิลา กำแพงไม้”
บ่อน้ำลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เครื่องลาด ๓ ชนิด คือ เครื่องลาดอิฐ เครื่องลาดศิลา เครื่องลาดไม้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเนื้อตัวเปียกชุ่มเย็น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดตัว”

เรื่องสระโบกขรณี
[๒๖๓] สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งประสงค์จะสร้างสระโบกขรณีถวายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสระโบกขรณี”
ขอบสระโบกขรณีทรุด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ก่อคันกั้นขอบสระโบกขรณีได้ ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วย
ศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตบันได ๓ อย่าง คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
น้ำในสระโบกขรณีเก่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะสร้างเรือนไฟมีปั้นลมถวายสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเรือนไฟมีปั้นลม”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์อยู่ปราศจากผ้าปูนั่งถึง ๔ เดือน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงอยู่ปราศจากผ้าปูนั่งถึง ๔
เดือน รูปใดอยู่ปราศจาก ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องทรงห้ามนอนบนที่นอนโรยดอกไม้
[๒๖๔] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอนบนที่นอนโรยด้วยดอกไม้
คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็นเข้าจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ
เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนที่นอนโรยด้วยดอกไม้
รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องทรงอนุญาตรับของหอม
สมัยนั้น คนทั้งหลายถือของหอมบ้าง ดอกไม้บ้างมาวัด ภิกษุทั้งหลายยำเกรง
อยู่จึงไม่ยอมรับประเคน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับของหอมแล้วเจิม
ไว้ที่บานประตูหน้าต่าง รับดอกไม้แล้ววางไว้ด้านหนึ่งในวิหาร”
สมัยนั้น สันถัตขนเจียม๑ เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสันถัตขนเจียม”

เชิงอรรถ :
๑ นมตกํ : สันถัตขนเจียม ทำด้วยขนแกะ ใช้อย่างแผ่นหนัง (วิ.อ. ๓/๒๖๔/๓๑๑) คล้ายสันถัต ใช้โดยไม่ต้อง
อธิษฐาน (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๔/๔๖๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังว่า “สันถัตขนเจียมต้องอธิษฐานหรือ
ต้อง วิกัป” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “สันถัตขนเจียมไม่ต้องอธิษฐาน ไม่ต้อง
วิกัป”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโตก คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุไม่พึงฉันอาหารโตก รูปใดฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ เมื่อจะฉันอาหารไม่สามารถจะใช้มือประคองบาตรได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงบาตร”

เรื่องห้ามฉันในภาชนะเดียวกันเป็นต้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ... ดื่มน้ำในขัน
เดียวกันบ้าง ... นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง ... นอนบนเตียงมีเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
... นอนบนเตียงมีผ้าห่มผืนเดียวบ้าง ... นอนบนเตียงมีผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูและ
ผ้าห่มบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม” ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารในภาชนะเดียวกัน
... ไม่พึงดื่มน้ำในขันเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียงเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียง
มีเครื่องลาดเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียงมีผ้าห่มผืนเดียวกัน ... ไม่พึงนอนบนเตียง
มีผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูและผ้าห่ม รูปใดนอน ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องเจ้าวัฑฒลิจฉวี
[๒๖๕] สมัยนั้น เจ้าวัฑฒลิจฉวีเป็นสหายของพระเมตติยะและพระภุมมชกะ๑
ครั้งนั้น เจ้าวัทฒลิจฉวีได้เข้าไปหาพระเมตติยะและพระภุมมชกะถึงที่พัก ครั้นถึงแล้ว
ได้กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า โยมไหว้ขอรับ” เมื่อ
วัฑฒลิจฉวีกล่าวอย่างนี้ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย
แม้ครั้งที่ ๒ เจ้าวัฑฒลิจฉวีก็กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะดังนี้ว่า “โยม
ไหว้ ขอรับ”
แม้ครั้งที่ ๒ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าวัฑฒลิจฉวีก็กล่าวกับพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “โยม
ไหว้ ขอรับ”
แม้ครั้งที่ ๓ พระเมตติยะและพระภุมมชกะก็ไม่ยอมพูดด้วย
เจ้าวัฑฒลิจฉวีกล่าวต่อไปว่า “โยมมีความผิดอะไรต่อพระคุณเจ้า ทำไม
พระคุณเจ้า จึงไม่ยอมพูดกับโยม”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “จริงอย่างนั้นแหละ วัฑฒะ พวกเราถูกพระทัพพมัลลบุตร
เบียดเบียน ท่านก็ยังทำเพิกเฉยอยู่ได้”
เจ้าวัฑฒลิจฉวีถามว่า “โยมจะช่วยได้อย่างไร ขอรับ”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “วัฑฒะ ถ้าท่านเต็มใจช่วย วันนี้แหละ พระผู้มีพระภาค
ต้องให้พระทัพพมัลลบุตรสึก”
เจ้าวัฑฒลิจฉวีถามว่า “พระคุณเจ้า โยมจะทำอย่างไร จะช่วยได้ด้วยวิธีไหน”
ภิกษุทั้งสองตอบว่า “มาเถิด วัฑฒะ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้ว จงกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ ไม่สมควร
ไม่เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ทิศที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็กลับมีเสนียด

เชิงอรรถ :
๑ พระเมตติยะและพระภุมมชกะ เป็นพระในกลุ่มพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ข้อ ๒๔๓ หน้า ๑ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
จัญไร ทิศที่ไม่มีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในทิศที่ไม่เคยมีลมก็กลับมีลมแรง น้ำก็ดู
เป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา ปชาบดีของหม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรทำมิดีมิร้าย”
เจ้าวัฑฒลิจฉวีรับคำของพระเมตติยะและพระภุมมชกะแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ไม่สมควร ไม่
เหมาะสม ทิศที่เคยปลอดภัยก็กลับมีภัย ทิศที่ไม่เคยมีเสนียดจัญไรก็กลับมีเสนียด
จัญไร ทิศที่ไม่มีอุปัททวะก็กลับมีอุปัททวะ ในทิศที่ไม่เคยมีลมก็กลับมีลมแรง น้ำก็ดู
เป็นเหมือนน้ำร้อนขึ้นมา ปชาบดีของหม่อมฉันถูกพระทัพพมัลลบุตรทำมิดีมิร้าย”

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ
ถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่เจ้าวัฑฒะนี้กล่าวหา”
ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรง
ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตร ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอ
จำได้ไหมว่าได้ทำตามที่เจ้าวัฑฒะนี้กล่าวหา”
พระทัพพมัลลบุตรก็กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคย่อมทรง
ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร”
“ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอ
ไม่ได้ทำก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
“พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้
ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงคว่ำบาตร๑เจ้าวัฑฒลิจฉวี คือ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”

เหตุแห่งการคว่ำบาตร ๒
สงฆ์พึงคว่ำบาตรอุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ขวนขวายเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คว่ำบาตรอุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้

วิธีคว่ำบาตรและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงคว่ำบาตรอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๒๖๖] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒลิจฉวีใส่ความท่านพระทัพพ
มัลลบุตร ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ คว่ำบาตร หมายถึงไม่พึงรับไทยธรรมในเรือนของอุบาสกผู้ถูกคว่ำบาตร และส่งข่าวไปในวัดอื่น ๆ ไม่ให้
ภิกษุทั้งหลายรับภิกษาในเรือนของอุบาสกนั้น (วิ.อ. ๓/๒๖๕/๓๑๑) คว่ำบาตรด้วยกรรมวาจาสวดประกาศ
ไม่ให้รับไทยธรรมที่อุบาสกนั้นถวาย มิใช่หมายความว่าคว่ำปากบาตรลง (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๕/๔๖๓)
๒ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๗/๔๑๕-๔๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เจ้าวัฑฒลิจฉวีใส่ความท่านพระทัพพมัลล
บุตร ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล สงฆ์คว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการคว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
เจ้าวัฑฒลิจฉวีถูกสงฆ์คว่ำบาตร ห้ามสมโภคกับสงฆ์แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

พระอานนท์ไปแจ้งข่าวเจ้าวัฑฒลิจฉวี
ครั้นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์
ของเจ้าวัฑฒลิจฉวี ได้กล่าวกับเจ้าวัฑฒลิจฉวีดังนี้ว่า “วัฑฒะ สงฆ์คว่ำบาตรท่าน
ห้ามสมโภคกับสงฆ์” ครั้นเจ้าวัฑฒลิจฉวีทราบข่าวว่า สงฆ์คว่ำบาตร ห้ามสมโภค
กับสงฆ์ จึงสลบล้มลงที่นั้นเอง
ขณะนั้น มิตรอมาตย์ญาติสาโลหิตของเจ้าวัฑฒลิจฉวี ได้กล่าวกับเจ้าวัฑฒ ลิจฉวี
ดังนี้ว่า “ท่านอย่าเศร้าโศก อย่าคร่ำครวญเลย พวกเราจะขอให้พระผู้มีพระภาคและ
ภิกษุสงฆ์ยกโทษให้”
ครั้งนั้นแล เจ้าวัฑฒลิจฉวีพร้อมกับโอรสและชายา มิตรอมาตย์ญาติสาโลหิต
มีผ้าเปียกผมเปียก๑ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ซบศีรษะ
ลงแทบพระยุคลบาทแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ หม่อม
ฉันได้กระทำความผิด เพราะความโง่เขลาเบาปัญญาที่ได้ใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อภัยโทษแก่หม่อมฉัน เพื่อความสำรวม
ต่อไปเถิด”

เชิงอรรถ :
๑ การสรงน้ำดำเกล้า จนผ้าเปียกผมเปียกนี้ เป็นเครื่องแสดงความเศร้าโศกก่อนเข้าขอขมา เช่น พระเจ้าอุเทน
ไปขอขมานางสามาวดี พระองค์ทรงดำลงในน้ำจนพระพัสตร์และพระเกสาเปียกแล้วไปมอบแทบเท้าขอขมา
(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๑/๓๘๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “เอาเถิด การที่ท่านได้ทำความผิดเพราะความโง่เขลา
เบาปัญญาที่ได้ใส่ความพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล เพราะเหตุที่เห็นความ
ผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรารับ เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็น
ความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงหงายบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ให้สมโภคกับสงฆ์ได้

เหตุแห่งการหงายบาตร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงหงายบาตรอุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ
๑. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของภิกษุทั้งหลาย
๒. ไม่ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของภิกษุทั้งหลาย
๓. ไม่ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย
๔. ไม่ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
๕. ไม่ยุยงภิกษุทั้งหลายให้แตกกัน
๖. ไม่กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. ไม่กล่าวติเตียนพระธรรม
๘. ไม่กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หงายบาตรอุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้

วิธีหงายบาตรและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงหงายบาตรอย่างนี้ เจ้าวัฑฒลิจฉวีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์คว่ำบาตรข้าพเจ้า ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ข้าพเจ้า
นั้นกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว ขอการหงายบาตรกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ.


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๒๖๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ เจ้าวัฑฒลิจฉวีนั้นกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอ
การหงายบาตรต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงหงายบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ให้สมโภค
กับสงฆ์ได้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์คว่ำบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ห้ามสมโภค
กับสงฆ์ เจ้าวัฑฒลิจฉวีนั้นกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอการหงาย
บาตร สงฆ์หงายบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ให้สมโภคกับสงฆ์ได้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การหงายบาตรเจ้าวัฑฒลิจฉวี ให้สมโภคกับสงฆ์ได้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
เจ้าวัฑฒลิจฉวี สงฆ์หงายบาตร ให้สมโภคกับสงฆ์ได้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
[๒๖๘] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จ
จาริกไปทางภัคคชนบท เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงภัคคชนบท ทราบว่าพระผู้
มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวัน เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบทนั้น

เรื่องโพธิราชกุมาร ๑
สมัยนั้น โพธิราชกุมารสร้างปราสาทโกกนุทเสร็จได้ไม่นาน ยังไม่ได้นิมนต์
สมณ พราหมณ์หรือเชิญมนุษย์คนไหนมา ครั้งนั้น โพธิราชกุมารสั่งมาณพสัญชิกา-
บุตรว่า “มาเถิด สหายสัญชิกาบุตร ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
จงถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามถึงการมีพระประชวร
เบาบาง ความมีพระโรคาพาธน้อย ทรงมีความกระปรี้กระเปร่า พระพลานามัย ทรงพระ

เชิงอรรถ :
๑ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๒๔/๓๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เกษมสำราญ แล้วทูลนิมนต์ว่า ‘‘ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับ
ภัตตาหารของโพธิราชกุมารเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งโพธิราชกุมารแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ กราบทูลสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่
ระลึกถึงกันและกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “โพธิราชกุมารขอถวาย
อภิวาทพระยุคลบาทของพระโคดมผู้เจริญด้วยเศียรเกล้า ทูลถามพระประชวรเบาบาง
มีพระโรคาพาธน้อย ทรงกระปรี้กระเปร่า พระพลานามัย ทรงพระเกษมสำราญและ
กราบทูลนิมนต์อย่างนี้ว่า ‘ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหาร
ของโพธิราชกุมาร เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดย
ดุษณีภาพ
ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก
จากอาสนะ เข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร ณ ที่ประทับ ได้ทูลดังนี้ว่า “เกล้ากระหม่อมได้
กราบทูลพระโคดมนั้นตามรับสั่งของพระองค์แล้วว่า ‘โพธิราชกุมาร ขอถวายอภิวาท
พระยุคลบาทของท่านพระโคดมผู้เจริญด้วยเศียรเกล้า ทูลถามพระประชวรเบาบาง
มีพระโรคาพาธน้อย ทรงกระปรี้กระเปร่า พระพลานามัย ทรงพระเกษมสำราญและ
กราบทูลนิมนต์อย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหาร
ของโพธิราชกุมาร เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้’ ก็พระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว”
ครั้นผ่านราตรีนั้น โพธิราชกุมารรับสั่งให้เตรียมของเคี้ยวของฉันที่ประณีต รับ
สั่งให้ใช้ผ้าขาวปูลาดโกกนุทปราสาท จนถึงบันไดขั้นสุดท้าย รับสั่งมาณพสัญชิกาบุตรว่า
“ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลภัตกาลว่า ‘ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งโพธิราชกุมารแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูล
ภัตกาลให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พอถึงเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
ไปนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร เวลานั้นโพธิราชกุมารประทับรอพระผู้มีพระภาคอยู่ที่
ซุ้มประตูชั้นนอก ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงเสด็จไป
ต้อนรับถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วเชิญพระองค์เสด็จไปข้างหน้า เข้าโกกนุท
ปราสาท พระผู้มีพระภาคประทับยืนใกล้บันไดขั้นต่ำสุด
โพธิราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดทรงเหยียบผ้า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคตโปรดทรงเหยียบผ้าอันจะ
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนานเถิด”
เมื่อพระราชกุมารกราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงดุษณีภาพ
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ โพธิราชกุมารก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธ-
เจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงเหยียบผ้า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคตโปรด
ทรงเหยียบผ้าอันจะเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนานเถิด”
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลือบดูท่านพระอานนท์ ครั้งนั้น ท่านพระ
อานนท์ได้ถวายพระพรโพธิราชกุมารดังนี้ว่า “ราชกุมาร โปรดม้วนผ้าเถิด พระผู้มี
พระภาคจะไม่ทรงเหยียบผ้าขาว พระตถาคตทรงอนุเคราะห์คนรุ่นหลัง”๑

เชิงอรรถ :
๑ ทรงอนุเคราะห์คนรุ่นหลัง อรรถกถาอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยีบผ้าเพราะเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. เพื่อมิให้โพธิราชกุมารถือผิด โพธิราชกุมารได้ฟังมาว่า “ผู้ที่กระทำสักการะแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
แล้วจะได้สิ่งที่ปรารถนาสมใจ” จึงตั้งความปรารถนาว่า “ถ้าเราจะได้บุตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะ
ทรงเหยียบผ้าที่เราปู ถ้าไม่ได้บุตร ก็จะไม่ทรงเหยียบ” แล้วจึงปู พระผู้มีพระภาคดุษณีภาพรำพึงว่า
“พระกุมารต้องการอะไรจึงกระทำสักการะมากมาย” ได้ทรงทราบว่าปรารถนาบุตร แต่โพธิราชกุมาร
จะไม่มีบุตรเพราะผลกรรมที่ตนกับมเหสีกินลูกนกในชาติก่อน จึงไม่ทรงเหยียบผ้า ถ้าพระผู้มีพระภาค
ทรงเหยียบผ้าแล้ว ภายหลังโพธิราชกุมารไม่มีบุตร ท่านก็จะถือผิดว่า “ที่ได้ฟังมาว่า ผู้ที่ กระทำ
สักการะแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วจะได้สิ่งที่ตนปรารถนา เราเองก็ได้ตั้งความปรารถนากระทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
โพธิราชกุมารรับสั่งให้ม้วนผ้าแล้วให้ปูอาสนะบนโกกนุทปราสาทชั้นบน พระผู้
มีพระภาคเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย พร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ พระราชกุมารทรงนำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระ
พุทธเจ้าเป็นประธานด้วยพระองค์เอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ แล้วทรง
ห้ามภัตตาหารแล้วละพระหัตถ์จากบาตร ได้ประทับนั่ง ณ ที่สมควร ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้โพธิราชกุมารเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจ
ให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วเสด็จกลับ

เรื่องทรงห้ามเหยียบผืนผ้าขาว
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าที่ปูไว้ รูปใดเหยียบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น สตรีผู้หนึ่งไม่มีครรภ์ นิมนต์ภิกษุทั้งหลายแล้วปูผ้ากล่าวว่า “พระ
คุณเจ้าทั้งหลาย นิมนต์เหยียบผ้าเถิด”
ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมเหยียบ นางกล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย
นิมนต์เหยียบผ้าเพื่อเป็นสิริมงคล” ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมเหยียบ

เชิงอรรถ :
สักการะแล้ว แต่เราไม่ได้บุตร คำที่ฟังมาโมฆะเสียแล้ว เพื่อมิให้โพธิราชกุมารถือผิดอย่างนี้ จึงไม่
ทรงเหยียบผ้า
๒. เพื่อมิให้พวกเดียรถีย์ดูหมิ่นว่า สิ่งที่พวกสมณศากยบุตรทำไม่ได้ไม่มี พวกท่านเที่ยวเดินเหยียบผ้า.
ของชาวบ้าน
๓. เพื่อมิให้มนุษย์ทั้งหลายเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี(วิปฏิสาร)ในหมู่ภิกษุ ในครั้งพุทธกาล ภิกษุทั้งหลายรู้
วาระจิตของผู้อื่น รู้ว่าควรก็จะเหยียบ รู้ว่าไม่ควรก็จะไม่เหยียบ แต่ต่อมา อุปนิสัยจะอ่อนลง ภิกษุ
ทั้งหลายจะไม่รู้ เมื่อเหยียบผ้าไปแล้ว ถ้าความปรารถนาของเขาสำเร็จ ก็ดีไป ถ้าไม่สำเร็จ พวก
มนุษย์ก็จะคิดว่า “ครั้งก่อน ผู้ที่ตั้งความปรารถนาแล้วทำสักการะแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนา
มาบัดนี้ไม่ได้ ครั้งก่อนภิกษุทั้งหลาย คงจะบำเพ็ญข้อปฏิบัติบริบูรณ์ บัดนี้ภิกษุทั้งหลายคงจะ
บกพร่องในข้อปฏิบัติ”
ที่ทรงอนุเคราะห์คนรุ่นหลัง ก็คืออนุเคราะห์ภิกษุทั้งหลายและพวกมนุษย์ที่จะเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีในภิกษุ
สงฆ์นั่นเอง (ดู วิ.อ. ๓/๒๖๘/๓๑๒, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๖๘/๔๖๔-๔๖๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ลำดับนั้น สตรีนั้นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลาย
ถูกขอเพื่อเป็นสิริมงคลก็ไม่ยอมเหยียบผ้าเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินสตรีนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ต้องการสิริมงคล ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุที่ถูกขอเพื่อเป็นสิริมงคลเหยียบผืนผ้าได้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะเหยียบผ้าเช็ดเท้าสะอาด
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เหยียบผ้าเช็ดเท้าสะอาดได้”

ภาณวารที่ ๒ จบ

เรื่องนางวิสาขามิคารมาตา
[๒๖๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภัคคชนบท ตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี ในกรุง
สาวัตถีนั้น
ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาถือหม้อน้ำ ปุ่มไม้ที่เช็ดเท้าและไม้กวาด เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง
ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์โปรดรับหม้อน้ำ ปุ่มไม้ที่เช็ดเท้าและไม้กวาด
อันจะเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนานเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับหม้อน้ำและไม้กวาด แต่ไม่ทรงรับปุ่มไม้ที่เช็ดเท้า
จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมาตาเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ลำดับนั้น นางวิสาขามิคารมาตาซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้
อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมี-
กถาแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้วกลับไป
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อน้ำและไม้กวาด ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงใช้ปุ่มไม้ที่เช็ดเท้า รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ที่เช็ดเท้า ๓ ชนิด คือ ศิลา กรวด ศิลาฟองน้ำ”

เรื่องพัด
ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตา ถือพัดโบกกับพัดใบตาลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงรับ
พัดโบกและพัดใบตาล อันจะเป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาล
นานเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับพัดโบกและพัดใบตาล ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรง
ชี้แจงให้นางวิสาขามิคารมาตาเห็นชัด ฯลฯ กระทำประทักษิณแล้วจากไป
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุแล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพัดโบกและพัดใบตาล”
สมัยนั้น แส้ปัดยุงเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแส้ปัดยุง”
แส้ขนจามรีเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้แส้ขนจามรี รูปใดใช้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแส้ ๓ ชนิด คือ แส้ปอ แส้แฝก แส้ขนนกยูง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องร่ม
[๒๗๐] สมัยนั้น ร่มเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่ม”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กั้นร่มเดินเที่ยว ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งไปเที่ยว
อุทยานกับสาวกของอาชีวกหลายคน พวกสาวกอาชีวกเห็นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
เดินกั้นร่มมาแต่ไกล จึงได้กล่าวกับอุบาสกนั้นดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญเหล่านี้ของ
ท่าน เดินกั้นร่มมาคล้ายโหราจารย์มหาอมาตย์”
อุบาสกกล่าวว่า “ท่านเหล่านี้ไม่ใช่เป็นภิกษุ แต่เป็นปริพาชกขอรับ”
พวกเขาพนันกันว่า “เป็นภิกษุไม่ใช่ภิกษุ”
ลำดับนั้น อุบาสกจำพวกภิกษุที่เข้ามาใกล้ได้จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลายจึงกั้นร่มเดินเที่ยวเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกั้นร่ม รูปใดกั้น ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดร่มไม่มีความผาสุก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้กั้นร่มได้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตร่มแก่ภิกษุ
ไข้เท่านั้น ไม่ทรงอนุญาตแก่ผู้ไม่เป็นไข้” จึงยำเกรงที่จะกั้นร่มในวัด ในเขตวัด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุถึงจะไม่เป็นไข้ก็
กั้นร่มในวัด ในเขตวัดได้”

เรื่องไม้เท้า
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเอาบาตรใส่สาแหรก ใช้ไม้เท้าคอนเดินผ่านไปทางประตู
เข้าหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลาวิกาล คนทั้งหลายบอกกันว่า “ดูนั่นโจรกำลังเดินไป ดาบ
ส่องแสงวาววับ” แล้วพากันวิ่งไล่จับ จำได้จึงปล่อยไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงวัดจึงเล่า
เรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านใช้ไม้เท้ากับสาแหรกหรือ”
ภิกษุนั้นรับว่า “อย่างนั้น ท่านทั้งหลาย”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุจึงใช้ไม้เท้ากับสาแหรกเล่า”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้เท้ากับสาแหรก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดไม้เท้า ท่านไม่สามารถจะเดินไปไหนได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้ทัณฑสมมติแก่
ภิกษุผู้เป็นไข้”

คำขอทัณฑสมมติ๑และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ทัณฑสมมติอย่างนี้ ภิกษุไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่ม
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง

เชิงอรรถ :
๑ ทัณฑสมมติ คือ สงฆ์ประกาศอนุญาตให้ใช้ไม้เท้าได้เป็นกรณีพิเศษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ขาดไม้เท้าแล้วไม่สามารถ
จะเดินไปไหนได้ กระผมจึงขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าแล้วไม่สามารถ
จะเดินไปไหนได้ ท่านขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้ทัณฑสมมติ
แก่ภิกษุนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าแล้วไม่
สามารถ จะเดินไปไหนได้ ท่านขอทัณฑสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสมมติ แก่
ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ทัณฑสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ทัณฑสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๒๗๑] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่สามารถนำบาตรไปได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่
ภิกษุไข้”

คำขอสิกกาสมมติ๑และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกกาสมมติอย่างนี้ ภิกษุเป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง

เชิงอรรถ :
๑ สิกกาสมมติ คือ สงฆ์ประกาศอนุญาตให้ใช้สาแหรกได้เป็นกรณีพิเศษ “สาแหรก” คือ ภาชนะที่ทำด้วย
หวายสำหรับหิ้วหรือหาบ ส่วนบนทำเป็นหูหิ้ว ส่วนล่างใช้ไม้ขัดกันเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับวางกระจาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมเป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่สามารถ
นำบาตรไปได้ ผมจึงขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่
สามารถนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้สิกกา
สมมติแก่ภิกษุนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดสาแหรกแล้วไม่
สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอสิกกาสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สิกกาสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๒๗๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถจะเดินไปไหนได้
ขาดสาแหรกก็ไม่สามารถจะนำบาตรไปได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติ
แก่ภิกษุผู้เป็นไข้”

คำขอทัณฑสิกกาสมมติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ทัณฑสิกกาสมมติอย่างนี้ ภิกษุเป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหา
สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลายแล้วนั่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ผมเป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถ
จะไปไหนได้ ขาดสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ผมขอทัณฑสิกกาสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถ
จะเดินไปไหนได้ ขาดสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอทัณฑสิกกาสมมติ
ต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้รูปนี้เป็นไข้ ขาดไม้เท้าไม่สามารถ
จะเดินไปไหนได้ ขาดสาแหรกไม่สามารถจะนำบาตรไปได้ ท่านขอทัณฑสิกกาสมมติ
ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้ทัณฑสิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ทัณฑ
สิกกาสมมติแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึง
ทักท้วง
ทัณฑสิกกาสมมติ สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องภิกษุสำรอกอาหาร
[๒๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีนิสัยเคี้ยวเอื้อง ท่านสำรอกอาหารออกมาเคี้ยว
แล้วกลืนเข้าไปอีก ภิกษุทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุนี้ฉันอาหาร
ในเวลาวิกาล” แล้วนำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เพิ่งจุติมาจากกำเนิดโค ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีนิสัยเคี้ยวเอื้อง เคี้ยวเอื้องได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ไม่พึงกลืนอาหารที่ออกมานอกปากแล้วเข้าไปอีก รูปใดกลืน พึงปรับอาบัติตามธรรม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๕๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น สมาคมหนึ่งได้จัดสังฆภัต มีเมล็ดข้าวตกกลาดเกลื่อนในโรงอาหาร
มากมาย คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตร เมื่อเขาถวายข้าวสุก จึงไม่รับโดยเอื้อเฟื้อเล่า ข้าวแต่ละเมล็ดกว่าจะ
สำเร็จได้ต้องใช้กรรมวิธีนับร้อย”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หยิบอาหารที่เขาถวาย
ซึ่งตกลงไปขึ้นมาฉันได้เอง อาหารนั้นพวกทายกเขาบริจาคแล้ว”

เรื่องการไว้เล็บและตัดเล็บ
[๒๗๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไว้เล็บยาวเที่ยวบิณฑบาต หญิงคนหนึ่งเห็นจึง
กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “เชิญท่านมาเสพเมถุนธรรมกันเถิดเจ้าค่ะ”
ภิกษุตอบว่า “อย่าเลยน้องหญิง เรื่องนี้ไม่สมควร”
หญิงนั้นกล่าวว่า “ถ้าท่านไม่เสพ ดิฉันจักใช้เล็บหยิกข่วนเนื้อตัวเองแล้วส่งเสียง
เอะอะเดี๋ยวนี้ว่า “ภิกษุรูปนี้กระทำมิดีมิร้ายดิฉัน”
ภิกษุตอบว่า “จงรู้เองเถิด น้องหญิง”
ลำดับนั้น หญิงนั้นใช้เล็บหยิกข่วนเนื้อตัวเอง ส่งเสียงเอะอะว่า “ภิกษุนี้กระทำ
มิดีมิร้ายดิฉัน”
คนทั้งหลายวิ่งเข้าไปจับกุมภิกษุนั้น ได้เห็นผิวหนังบ้าง เลือดบ้างที่เล็บมือของ
หญิงนั้นจึงกล่าวกันว่า “นี้เป็นการกระทำของหญิงนี้เอง ภิกษุนี้ไม่ได้เป็นตัวการ” แล้ว
ปล่อยภิกษุนั้นไป ครั้นภิกษุนั้นไปถึงวัดได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านไว้เล็บยาวหรือ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “จริงอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุจึงไว้เล็บยาวเล่า” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้เล็บยาว รูปใดไว้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้เล็บมือตัดเล็บมือบ้าง ใช้ปากกัดเล็บบ้าง ใช้เล็บมือ
ครูดที่ฝาผนังบ้าง นิ้วมือเจ็บ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมีดตัดเล็บ”
ภิกษุทั้งหลายตัดเล็บจนเลือดออก นิ้วมือเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเล็บเสมอเนื้อ”

เรื่องขัดเล็บ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ช่วยกันขัดเล็บทั้ง ๒๐ เล็บ คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขัดเล็บทั้ง ๒๐ เล็บ
รูป ใดขัด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แคะขี้เล็บได้เท่านั้น”

เรื่องมีดโกน
[๒๗๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไว้ผมยาว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามารถปลงผมให้แก่กัน
ได้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “สามารถ พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ฯลฯ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมีดโกน หินลับมีด ฝักมีด ผ้าพันมีด
เครื่องใช้โกนทุกชนิด”

เรื่องแต่งหนวด
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ช่วยกันแต่งหนวด ... ปล่อยหนวดไว้ยาว ... ไว้
เครายาว(เหมือนหนวดแพะ) ... ช่วยกันแต่งหนวดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ... ช่วยกันแต่งขน
หน้าอก ... ช่วยกันแต่งขนหน้าท้อง ... ช่วยกันแต่งหนวดเป็นเขี้ยวโง้ง ... ช่วยกัน
โกนขนในที่แคบ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงช่วยกันตัดหนวด ... ไม่พึง
ปล่อยหนวดไว้ยาว ... ไม่พึงไว้เครายาว(เหมือนหนวดแพะ) ... ไม่พึงช่วยกันแต่งหนวด
เป็นรูปสี่เหลี่ยม ... ไม่พึงช่วยกันแต่งขนหน้าอก ... ไม่พึงช่วยกันแต่งขนหน้าท้อง ...
ไม่พึงช่วยกันแต่งหนวดเป็นเขี้ยวโง้ง ... ไม่พึงช่วยกันโกนขนในที่แคบ รูปใดช่วยกันโกน
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องทรงอนุญาตให้โกนขนในที่ลับ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลในที่แคบ ทายาไม่ติด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โกนขนในที่แคบได้ เพราะ
อาพาธเป็นปัจจัย”

เรื่องกรรไกร
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้กรรไกรตัดผม คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้กรรไกรตัดผม รูปใดใช้ตัด
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นแผลที่ศีรษะ ไม่อาจจะใช้มีดโกนปลงผมได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กรรไกรตัดผมได้
เพราะอาพาธเป็นปัจจัย”

เรื่องไว้ขนจมูก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย ปล่อยขนจมูกไว้ยาว คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนปีศาจ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไว้ขนจมูกยาว รูปใดไว้
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้ก้อนกรวดบ้าง ขี้ผึ้งบ้างถอนขนจมูก จมูกเจ็บ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้แหนบ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ผมหงอก
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ช่วยกันถอนผมหงอก พวกคนทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงช่วยกันถอนผมหงอก
รูปใดช่วยกันถอน ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องไม้แคะหู
[๒๗๖] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีขี้หูจุกช่องหูทั้ง ๒ ข้าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ไม้แคะขี้หู”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้แคะขี้หูชนิดต่าง ๆ คือทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ไม้แคะหูชนิดต่าง ๆ
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ไม้แคะขี้หูทำด้วยกระดูก
ทำด้วยงา ทำด้วยเขาสัตว์ ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้ธรรมดา ทำด้วยครั่ง
ทำด้วยเมล็ดผลไม้ ทำด้วยโลหะ ทำด้วยกระดองสังข์”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์สะสมโลหะและทองสัมฤทธิ์
[๒๗๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สะสมโลหะ ทองสัมฤทธิ์ไว้เป็นจำนวนมาก
คนทั้งหลายไปเที่ยวชมวิหารพบเห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระ
สมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงสะสมโลหะ ทองสัมฤทธิ์ ไว้เป็นจำนวนมาก เหมือนพ่อ
ค้าขายเครื่องทองสัมฤทธิ์เล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสะสมโลหะทองสัมฤทธิ์
ไว้เป็นจำนวนมาก รูปใดสะสม ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องกล่องยาตา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรังเกียจกล่องยาตาบ้าง ไม้ป้ายยาตาบ้าง ไม้แคะขี้หูบ้าง
ของที่ใช้ห่อบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกล่องยาตา ไม้ป้ายยาตา
ไม้แคะขี้หู ของที่ใช้ห่อ”

เรื่องผ้ารัดเข่า
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งใช้สังฆาฏิรัดเข่า แผ่นสังฆาฏิหลุด
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนั่งรัดเข่าด้วยสังฆาฏิ รูป
ใดนั่งรัด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ท่านขาดผ้ารัดเข่าย่อมไม่มีความผาสุก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้ารัดเข่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “จะทำผ้ารัดเข่าอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้สะดึง ที่แผ่ด้าย ฟืม
ด้ายพัน ไม้สลักทอ เครื่องหูกทุกอย่าง”

เรื่องประคดเอว
[๒๗๘] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไม่ได้คาดประคดเอวเข้าไปบิณฑบาต อันตรวาสก
(สบง)ของท่านหลุดที่ถนน คนทั้งหลายเห็นแล้วพากันโห่ร้อง ภิกษุนั้นเขินอาย ครั้น
ภิกษุนั้นไปถึงวัดจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ได้คาดประคดเอวไม่พึงเข้า
หมู่บ้าน รูปใดเข้า ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคดเอว”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ประคดเอวชนิดต่าง ๆ คือ ประคดถักเชือก ถัก
เป็นหัวงูน้ำ กลมคล้ายเกลียวเชือก คล้ายสังวาล คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ประคดเอวชนิดต่าง ๆ
คือ ประคดถักเชือก ถักเป็นหัวงูน้ำ กลมคล้ายเกลียวเชือก คล้ายสังวาล รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคดเอว ๒ ชนิด คือ ประคดแผ่นผ้า
ประคดไส้สุกร”
ชายประคดเอวลุ่ย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ถักคล้ายเกลียวเชือก หรือคล้ายสังวาล”
ปลายประคดเอวลุ่ย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้เย็บทบเข้ามาแล้วถักเป็นห่วง”
ปลายห่วงประคดเอวลุ่ย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตลูกถวิน”๑

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้ลูกถวิน
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ลูกถวินชนิดต่าง ๆ ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกถวินชนิดต่าง ๆ รูป
ใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกถวินทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา
ทำด้วยเขาสัตว์ ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ฯลฯ ทำด้วยกระดองสังข์ ทำด้วย
เส้นด้าย”

เชิงอรรถ :
๑ ลูกถวิน คือ ห่วงร้อยสายประคตเอว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องลูกดุม
[๒๗๙] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์ห่มสังฆาฏิเนื้อบางเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
สังฆาฏิถูกลมบ้าหมูพัดเวิกขึ้น ครั้นท่านพระอานนท์กลับไปถึงอารามจึงบอกเรื่องนั้น
ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุม รังดุม”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ลูกดุมชนิดต่าง ๆ ทำด้วยทอง ทำด้วยเงิน คน
ทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้ลูกดุมชนิดต่าง ๆ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดุมทำด้วยกระดูก ทำด้วยงา ทำด้วย
เขาสัตว์ ทำด้วยไม้อ้อ ทำด้วยไม้ไผ่ ทำด้วยไม้จริง ทำด้วยยางไม้ ทำด้วยผลไม้
ทำด้วยโลหะ ทำด้วยกระดองสังข์ ทำด้วยเส้นด้าย”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเย็บติดลูกดุมบ้าง รังดุมบ้างที่จีวร จีวรขาด ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นผ้ารองลูกดุม ผ้า
รองรังดุม”
ภิกษุทั้งหลายเย็บแผ่นผ้ารองลูกดุม ผ้ารองรังดุมที่ชายจีวร มุมผ้าเปิด ภิกษุ
ทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ติดแผ่นผ้ารองลูกดุม
ผ้ารองรังดุมที่ชายผ้าลึกเข้าไป ๗-๘ องคุลี”๑

เชิงอรรถ :
๑ มาตราวัดโบราณ องคุลีเท่ากับ ๑ นิ้ว ยาวเท่ากับช่วงข้อปลายของนิ้วกลาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องการนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
[๒๘๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ คือ นุ่งปล่อยชาย
เหมือนงวงช้าง เหมือนหางปลา ปล่อยชายสี่แฉก ปล่อยชายคล้ายก้านตาลยกกลีบ
ตั้งร้อย คนทั้งหลาย ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์ คือ
นุ่งปล่อยชายเหมือนงวงช้าง เหมือนหางปลา ปล่อยชายสี่แฉก ปล่อยชายคล้าย
ก้านตาลยกกลีบตั้งร้อย รูปใดนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ห่มอย่างคฤหัสถ์ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ทำเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์ รูป
ใดห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าโจงกระเบน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ทำเหมือนคนหาบของหลวง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าโจงกระเบน รูปใดนุ่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องหาบของ
[๒๘๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์หาบของ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ทำเหมือนคนหาบของหลวง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงหาบของ รูปใดหาบ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คอน หาม เทิน แบก กระเดียด หิ้ว”

เรื่องไม้ชำระฟัน ๑
[๒๘๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่เคี้ยวไม้ชำระฟัน ปากมีกลิ่นเหม็น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕
ประการนี้ โทษ ๕ ประการคือ

๑. ตาฝ้าฟาง ๒. ปากมีกลิ่นเหม็น
๓. ประสาทลิ้นรับรสได้ไม่ดี ๔. น้ำดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
๕. เบื่ออาหาร

ภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีประโยชน์ ๕ ประการ คือ

๑. ตาสว่าง ๒. ปากไม่มีกลิ่นเหม็น
๓. ประสาทลิ้นรับรสได้ดี ๔. น้ำดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
๕. เจริญอาหาร

ภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีประโยชน์ ๕ ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตไม้ชำระฟัน
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เคี้ยวไม้ชำระฟันขนาดยาว ใช้ไม้เหล่านั้นแหละ
ตีสามเณร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๐๘/๓๕๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๖๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันขนาดยาว
รูปใดเคี้ยว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระฟันยาว ๘ นิ้วเป็น
อย่างมาก และภิกษุไม่พึงใช้ไม้ชำระฟันนั้นตีสามเณร รูปใดตี ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเคี้ยวไม้ชำระฟันสั้นเกินไป จึงหลุดเข้าไปติดในลำคอ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันสั้นเกินไป
รูปใดเคี้ยว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระฟันสั้น ๔ องคุลี
เป็นอย่างต่ำ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์จุดไฟเผากองหญ้า
[๒๘๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จุดไฟเผากองหญ้า คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคนเผาป่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงจุดไฟเผากองหญ้า รูปใด
จุดเผา ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น หญ้าขึ้นรกวิหาร เมื่อไฟป่าไหม้ลามมาถึง วิหารจึงถูกไฟไหม้ ภิกษุยำ
เกรงอยู่ที่จะจุดไฟต้านไฟป่าเพื่อป้องกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จุดไฟต้านไฟป่าที่กำลัง
ไหม้”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ขึ้นต้นไม้
[๒๘๔] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขึ้นต้นไม้ ไต่จากต้นหนึ่งไปอีกต้นหนึ่ง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนลิง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงขึ้นต้นไม้ รูปใดขึ้น ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งไปกรุงสาวัตถี ในแคว้นโกศล ระหว่างทางถูกช้างไล่ภิกษุ
นั้นวิ่งไปที่โคนไม้ ยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมขึ้น พอดีช้างนั้นเดินไปทางอื่น ครั้นภิกษุนั้น
ไปถึงกรุงสาวัตถีได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีเหตุที่สมควร เราอนุญาตให้ขึ้น
ต้นไม้สูงชั่วบุรุษ แต่ในคราวมีอันตราย ขึ้นได้ตามความประสงค์”

เรื่องทรงห้ามยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
[๒๘๕] สมัยนั้นภิกษุ ๒ รูป ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นพี่น้องกัน เกิดใน
ตระกูลพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวานมีเสียงไพเราะ ภิกษุทั้ง ๒ รูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ภิกษุต่างชื่อ ต่างโคตร ต่าง
เชื้อชาติ ต่างตระกูลพากันออกบวช ภิกษุเหล่านั้นทำพระพุทธพจน์ให้ผิดเพี้ยนด้วยภาษา
ของตน๑ ขอวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะขอยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต”๒
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอ
จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ขอวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะขอยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษา
สันสกฤต’เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะด้วยภาษาของตน”

เชิงอรรถ :
๑ ภาษาของตน คือ ภาษามคธซึ่งมีสำนวนโวหารตามแบบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส (วิ.อ. ๓/๒๘๕/๓๑๗)
๒ ฉนฺทโส คือ สกฺกตภาสาย = ภาษาสันสกฤต (วิ.อ. ๓/๒๘๕/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์เรียนโลกายัต
[๒๘๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เรียนโลกายัต๑ พวกคนทั้งหลายพากันตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เห็นสาระในโลกายัตพึงถึง
ความเจริญ ความงอกงาม ความไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ถึง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เห็นสาระในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เรียนโลกายัตหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เรียน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนโลกายัต รูปใดเรียน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนโลกายัต คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนโลกายัต รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา
[๒๘๗] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ โลกายัต หมายถึง ติตถิยศาสตร์ คือ ศาสตร์ของพวกเจ้าลัทธิต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเหตุไร้ประโยชน์
เช่น เรื่องสรรพสิ่งไม่บริสุทธิ์ เป็นเดน สรรพสิ่งบริสุทธิ์ ไม่เป็นเดน กาขาว นกยางดำ เป็นต้น (วิ.อ.๓/
๒๘๖/๓๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเรียนดิรัจฉานวิชา รูปใด
เรียน ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สอนดิรัจฉานวิชา คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสอนดิรัจฉานวิชา รูปใดสอน ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องให้พรเมื่อมีผู้จาม
[๒๘๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคห้อมล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่ง
แสดงธรรม ได้ทรงจามขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ถวายพระพรเสียงดังว่า “ขอพระผู้มี
พระภาคจงทรงพระเจริญพระชนมายุเถิด ขอพระสุคตจงทรงพระเจริญพระชนมายุเถิด
พระพุทธเจ้าข้า” การแสดงธรรมต้องหยุดลง เพราะเสียงถวายพระพรนั้น
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีการจาม ผู้ที่
ได้รับพรว่า ‘ขอจงมีอายุยืน’ จะมีชีวิตหรือต้องตายเพราะสาเหตุนั้นละหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เลย พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีการจาม ภิกษุไม่พึงให้พรว่า
‘ขอจงมีอายุยืน’ รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ในคราวที่ภิกษุทั้งหลายจาม คนทั้งหลายให้พรว่า “ขอท่านทั้งหลาย
จงมีอายุยืน” ภิกษุยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมให้พรตอบ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
เมื่อเขาให้พรว่า ‘จงมีอายุยืน’ จึงไม่ให้พรตอบเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งหลายต้องการความเป็นสิริมงคล
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกคฤหัสถ์ให้พรว่า ‘จงมีอายุยืน’ เราอนุญาตให้ภิกษุให้พรตอบ
ว่า ‘ท่านก็จงมีอายุยืน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เรื่องฉันกระเทียม
[๒๘๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคห้อมล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่ง
แสดงธรรมอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งฉันกระเทียม ท่านคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายอย่าได้กลิ่น
กระเทียม” จึงนั่ง ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรด้านหนึ่งจึงตรัส
ถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทำไมภิกษุนั้นจึงนั่ง ณ ที่สมควรด้านหนึ่งเล่า”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ภิกษุนั้นฉันกระเทียมแล้วคิดว่า ‘ภิกษุทั้งหลายอย่า
ได้กลิ่นกระเทียม’ จึงนั่ง ณ ที่สมควรด้านหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย อาหารที่ภิกษุฉันแล้วทำให้
เหินห่างจากธรรมกถาเช่นนี้ ควรฉันหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่ควรฉัน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันกระเทียม รูปใดฉัน
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอาพาธเป็นลมเสียดท้อง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
เข้าไปหาแล้วถามว่า “ท่านสารีบุตร เมื่อก่อนท่านเป็นลมเสียดท้อง หายจากโรค
เพราะฉันอะไร”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “เพราะฉันกระเทียม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันกระเทียมได้ เพราะ
อาพาธเป็นปัจจัย”

เรื่องหม้อปัสสาวะ
[๒๙๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะลงในที่นั้น ๆ ในอาราม อารามสกปรก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายปัสสาวะในที่สมควร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
อารามมีกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
หม้อปัสสาวะ”
ภิกษุทั้งหลายนั่งปัสสาวะไม่สะดวก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ”
ฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะอยู่ในที่เปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่ายปัสสาวะ
ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ
รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”
หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิดส่งกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”

เรื่องหลุมถ่ายอุจจาระ
[๒๙๑] สมัยนั้น พวกภิกษุถ่ายอุจจาระลงในที่นั้น ๆ ในอาราม อารามสกปรก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่สมควร”
อารามมีกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
หลุมถ่ายอุจจาระ”
ขอบปากหลุมถ่ายอุจจาระพัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ก่อคันกั้นดิน ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่
ทำด้วยไม้”
หลุมอุจจาระพื้นต่ำ น้ำจึงท่วม ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพัง ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ก่อคันกั้นดินที่ถม
ได้ ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบันได
๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระที่ริมหลุมพลัดตกลงไป ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
รับ สั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลาดพื้นแล้วเจาะช่องถ่ายอุจจาระตรงกลาง”
ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระไม่สะดวก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตฐานวางเท้าถ่ายอุจจาระ”
ภิกษุทั้งหลายถ่ายปัสสาวะออกไปข้างนอก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตรางรองปัสสาวะ”
ไม้ชำระไม่มี ฯลฯ รับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้ชำระ”
ตะกร้าใส่ไม้ชำระไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ตะกร้าใส่ไม้ชำระ”
หลุมอุจจาระไม่ได้ปิดฝา ส่งกลิ่นเหม็น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”

เรื่องวัจกุฎี
ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในที่แจ้งต้องลำบากเพราะความร้อนบ้าง เพราะความ
หนาวบ้าง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวัจกุฎี”
วัจกุฎีไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน
ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนวัจกุฎี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้รื้อลง แล้วเอาดินโบกฉาบดินทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้
มีสียางไม้ เขียน ลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
[๒๙๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งทุพพลภาพเพราะชรา ถ่ายอุจจาระแล้วลุกขึ้น
ล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกสำหรับเหนี่ยว”
วัจกุฎีไม่ได้ล้อมรั้ว ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ
รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”
วัจกุฎีไม่มีซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม”
ซุ้มมีพื้นที่ต่ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถม
พื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ซุ้มไม่มีประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน
ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
สียางไม้ เขียนลวดลายพวงดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก”
บริเวณลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรย
กรวดแร่”
กรวดแร่ยังไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้วางศิลาเรียบ”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบายน้ำ”
หม้ออุจจาระไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
หม้ออุจจาระ”
กระบอกขันตักน้ำล้างอุจจาระไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตกระบอกขันตักน้ำล้างอุจจาระ”
ภิกษุทั้งหลายนั่งชำระไม่สะดวก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตฐานวางเท้าชำระ”
ฐานที่นั่งถ่ายอยู่ในที่เปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะถ่าย ฯลฯ พระผู้มีพระ
ภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”
หม้ออุจจาระไม่ได้ปิด ผงหญ้าและขี้ฝุ่นตกลง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฝาปิด”

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่เหมาะสม ๑
[๒๙๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูก
ไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๓๑/๔๕๙-๔๖๐, วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑/๓๙-๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] ขุททกวัตถุ
ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้
อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้
อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่น
ทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงประดับอกเองบ้าง ใช้
ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน มาลัยเรียงก้าน
ดอกไม้ช่อ ดอกไม้พุ่ม ดอกไม้เทริด ดอกไม้พวง ดอกไม้แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี
เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของตระกูล เพื่อทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่ง
บนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้าง
กับกุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของหอม
และเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิง เต้นรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมาก
เก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่น
ฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่น
หกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่น
ธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๗๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง
วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อนรำ
อย่างนี้ว่า “น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้” ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง ประพฤติ
ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงประพฤติไม่เหมาะสม รูปใด
ประพฤติ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องโลหะ
สมัยนั้น เมื่อท่านพระอุรุเวลกัสสปะบวชแล้ว เครื่องใช้โลหะ เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้
ดินจำนวนมากเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้
มีพระภาคทรงอนุญาตเครื่องใช้โลหะหรือไม่ได้ทรงอนุญาต ทรงอนุญาตเครื่องใช้ไม้หรือ
ไม่ได้ทรงอนุญาต ทรงอนุญาตเครื่องใช้ดินหรือไม่ได้ทรงอนุญาต” จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องใช้โลหะทุกชนิด เว้นเครื่อง
ประหาร อนุญาตเครื่องใช้ไม้ทุกชนิดเว้นเก้าอี้นอน บัลลังก์(แท่นนั่ง) บาตรไม้ เขียงเท้า
(รองเท้าไม้) อนุญาตเครื่องใช้ดินทุกชนิด ยกเว้นเครื่องใช้เช็ดเท้า กุฎีดินเผา ”

ขุททกวัตถุขันธกะที่ ๕ จบ

รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
พระฉัพพัคคีย์สรงน้ำขัดสีกายกับต้นไม้
สรงน้ำขัดสีกายกับเสา สรงน้ำขัดสีกายกับฝา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
สรงน้ำในที่ไม่สมควร ใช้มือทำด้วยไม้หอมถูกายสรงน้ำ
ใช้เชือกชุบจุรณศิลาสีเหมือนพลอยแดงถูกายสรงน้ำ
ทำบริกรรมให้แก่กันและกัน
ใช้ไม้บังเวียนจักเป็นฟันมังกรถูกายสรงน้ำ
ภิกษุเป็นหิด ภิกษุทุพพลภาพเพราะชรา
ทรงอนุญาตให้ใช้ฝ่ามือถูหลัง
พระฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ คือ เครื่องประดับหู
สร้อยสังวาล สร้อยคอ เครื่องประดับเอว วลัย สร้อยตาบ
เครื่องประดับข้อมือ แหวนสวมนิ้วมือ
พระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว ใช้แปรงหวีผม
ใช้หวีหวีผม เสยผม ใช้น้ำมันผสมขี้ผึ้งเสยผม
ใช้น้ำมันผสมน้ำเสยผม ส่องเงาหน้าที่คันฉ่อง ในภาชนะใส่น้ำ
ภิกษุเป็นแผลที่หน้า ทรงอนุญาตให้ตรวจดูรอยแผลที่คันฉ่องหรือ
ที่ภาชนะใส่น้ำได้ พระฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า
ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งหน้าทั้งตัว ภิกษุอาพาธเป็นโรคตา
ทรงอนุญาตให้ทาหน้าได้ พระฉัพพัคคีย์ดูมหรสพ
สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว ทรงอนุยาตให้สวดสรภัญญะ
พระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าขนสัตว์ พระฉัพพัคคีย์ฉันมะม่วง
สมาคมหนึ่งถวายชิ้นมะม่วง ทรงอนุญาตให้ผลไม้
ที่สมควรแก่สมณะ ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดเพราะไม่เจริญเมตตา
ภิกษุตัดองคชาตของตน เศรษฐีถวายบาตรไม้จันทน์
พระฉัพพัคคีย์ใช้บาตรชนิดต่าง ๆ ใช้เชิงรองบาตรชนิดต่าง ๆ
เช่นเชิงรองบาตรทอง ใช้เชิงรองบาตรสวยงาม
ภิกษุบางพวกเก็บบาตรไว้ทั้งที่ยังไม่แห้ง ทำให้บาตรเหม็นอับ
เอาบาตรผึ่งแดดทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรมีกลิ่นเหม็น
ภิกษุบางพวกวางบาตรไว้ในที่ร้อน ผิวบาตรเสีย
วางบาตรในที่ไม่มีเชิงรอง วางบาตรไว้ที่ตั่งไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
วางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้ บาตรกลิ้งตกแตก
วางบาตรไว้ที่พื้นดิน ทรงอนุญาตหญ้ารอง ปลวกกัดหญ้า
ทรงอนุญาตท่อนผ้ารอง ทรงอนุญาตชั้นวาง
ทรงอนุญาตหม้อปากกว้างเก็บบาตร
ทรงอนุญาตถลกบาตร ทรงอนุญาตสายโยกด้ายถัก
ทรงห้ามแขวนบาตรไว้ที่เดือยข้างฝา ทรงห้ามเก็บบาตรไว้บนเตียง
บนตั่ง บนตัก บนกลด ภิกษุถือบาตรอยู่ในมือไม่พึงผลักประตู
ไม่พึงใช้กระโหลกน้ำเต้าแทนบาตร ไม่พึงใช้หม้อกระเบื้องแทนบาตร
ไม่พึงใช้กระโหลกผีแทนบาตร ไม่พึงใช้กระโถนแทนบาตร
ภิกษุรูปหนึ่งใช้มือฉีกผ้าเย็บจีวร มีดมีด้ามเกิดขึ้นแก่สงฆ์
ทรงห้ามใช้มีดด้ามทอง ภิกษุทั้งหลายใช้ขนไก่และไม้กลัดเย็บจีวร
ทรงอนุญาตกล่องเข็ม แป้งข้าวหมาก ผงขมิ้น ฝุ่นศิลา ขี้ผึ้ง
ผ้ามัดขี้ผึ้งเพื่อไม่ให้เข็มมีสนิมขึ้น
ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรโดยขึงกับหลักทำให้มุมจีวรเสีย
ทรงอนุญาตให้ผูกไม้สะดึง ทรงห้ามขึงไม้สะดึงในที่ไม่เรียบ
ทรงห้ามขึงไม้สะดึงที่พื้นดิน ขอบไม้สะดึงชำรุด ไม้สะดึงไม่พอ
ทรงอนุญาตให้ทำหมายระยะ ทรงอนุญาตเส้นบรรทัด
ภิกษุทั้งหลายไม่ล้างเท้าเหยียบไม้สะดึง เท้าเปียกเหยียบไม้สะดึง
สวมรองเท้าเหยียบไม้สะดึง ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวร
โดยใช้นิ้วมือรับเข็ม ทรงอนุญาตปลอกสวมนิ้วมือ
ทรงอนุญาตกล่องสำหรับเก็บเครื่องเย็บผ้า
ทรงอนุญาตถุงเก็บปลอกสวมนิ้วมือ
ทรงอนุญาตสายโยกด้ายถัก
ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรในที่แจ้ง โรงสะดึงมีพื้นที่ต่ำ
ดินที่ถมพังทะลาย ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่โรงสะดึง
ทรงอนุญาตให้ฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
สีดำ สีเหลือง เขียนลวดลายดอกไม้
เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร
เขียนลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง
ภิกษุทั้งหลายทิ้งไม้สะดึงหลีกไป ไม้สะดึงหัก ไม้สะดึงคลี่ออก
ภิกษุทั้งหลายเก็บไม้สะดึงไว้ที่ฝากุฎี
ภิกษุทั้งหลายเก็บเข็มมีดไว้ในบาตร
ทรงอนุญาตะถุงเก็บเครื่องยา ทรงอนุญาตสายโยกด้ายถัก
ภิกษุผูกรองเท้าไว้กับประคตเอว ทรงอนุญาตถุงเก็บรองเท้า
สายโยกด้ายถัก น้ำในระหว่างทางเป็นอกัปปิยะ
ทรงอนุญาตผ้ากรองน้ำ กระบอกกรองน้ำ
ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไปกรุงเวสาลี
ทรงอนุญาตผ้ากรองน้ำมีขอบ
ทรงอนุญาตให้ลาดผ้าลงบนน้ำ ทรงอนุญาตกุฎีกันยุง
ภิกษุทั้งหลายมีอาพาธมากเพราะฉันอาหารประณีต
หมอชีวกจึงทูลขออนุญาตสร้างที่จงกรมและเรือนไฟ
ภิกษุทั้งหลายจงกรมในที่ขรุขระเท้าเจ็บ
ที่จงกรมมีพื้นที่ต่ำ ทรงอนุญาตก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก
ทรงอนุญาตบันไดและราวสำหรับยึด
ภิกษุทั้งหลายจงกรมในที่แจ้ง ผงหญ้าตกเกลื่อนที่โรงจงกรม
ทรงอนุญาตให้ฉาบทั้งภายในทั้งภายนอก ทำให้มีสีขาว
สีดำ สีเหลือง เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์
จักเป็นฟันมังกร เขียนลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง
ทรงอนุญาตให้ถมพื้นที่เรือนไฟให้สูง ดินที่ถมพังทะลาย
ทรงอนุญาตบันได ราวบันได ทรงอนุญาตบานประตู
กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู
ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง กลอน ลิ่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก
ทรงอนุญาตให้ฉาบฝาเรือนไฟรอบ ๆ ทรงอนุญาตช่องระบายควัน
ภิกษุทั้งหลายตั้งเตาไฟไว้กลางเรือนไฟ
ทรงอนุญาตดินทาหน้า รางละลายดิน ดินมีกลิ่นเหม็น
ไฟแผดเผากาย ทรงอนุญาตที่ใส่น้ำ ขันตักน้ำ
เรือนไฟไม่อบเหงื่อ เรือนไฟมีพื้นลื่น
ทรงอนุญาตให้ชำระล้าง ทรงอนุญาตให้ทำท่อระบายน้ำ
ทรงอนุญาตตั่งรองนั่งในเรือนไฟ ทรงอนุญาตให้ทำซุ้ม
ทรงอนุญาตให้โรยกรวดแร่ ทรงอนุญาตให้วางศิลาเรียบ
ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ
ภิกษุทั้งหลายเปลือยกายไหว้กัน
ภิกษุทั้งหลายวางจีวรไว้บนพื้นดิน ฝนตกจีวรเปียก
ทรงอนุญาตเครื่องกำบัง ๓ ชนิด
ทรงอนุญาตบ่อน้ำในเรือนไฟ ขอบบ่อน้ำทรุด บ่อน้ำมีพื้นที่ต่ำ
ภิกษุทั้งหลายใช้ประคดเอวและเถาวัลย์ผูกภาชนะตักน้ำ
ทรงอนุญาตคันโพง ระหัดมือ ระหัดจักร
ภาชนะตักน้ำทั้งหลายแตก
ทรงอนุญาตถังตักน้ำโลหะ ถังไม้และถังหนัง
ทรงอนุญาตศาลาบ่อน้ำ ผงหญ้าตกเกลื่อนในศาลาบ่อน้ำ
ทรงอนุญาตฝาปิดบ่อน้ำ ทรงอนุญาตรางน้ำ
ทรงอนุญาตรางระบายน้ำ ทรงอนุญาตกำแพงกั้น
บ่อน้ำลื่น ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ
ภิกษุทั้งหลายมีเนื้อตัวเปียกชุ่มเย็น ทรงอนุญาตสระโบกขรณี
น้ำในสระโบกขรณีเก่า ทรงอนุญาตเรือนไฟมีปั้นลม
พระฉัพพัคคีย์อยู่ปราศผ้าปูนั่ง ๔ เดือน
พระฉัพพัคคีย์นอนบนที่นอนโรยด้วยดอกไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
ทรงอนุญาตให้รับประเคนดอกไม้ของหอม
ทรงอนุญาตสันถัตขนเจียมไม่ต้องอธิษฐาน
พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารโตก ทรงอนุญาตเชิงบาตร
พระฉัพพัคคีย์ฉันอาหารในภาชะเดียวกัน นอนเตียงเดียวกัน
เจ้าวัฑฒลิจฉวีสใส่ความพระทัพพะ
โพธิราชกุมารทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคมารับภัตตาหาร
ที่ปราสาทใหม่ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงเหยียบผ้าขาว
นางวิสาขามิคารมาตานำหม้อน้ำปุ่มไม้ที่เช็ดเท้า
และไม้กวาดเข้าไปถวาย ทรงอนุญาตที่เช็ดเท้าศิลา
กรวด ศิลาฟองน้ำ ทรงอนุญาตพัดโบก พัดใบตาล
แส้ปัดยุง แส้จามรี พระฉัพพัคคีย์กั้นร่มเดินเที่ยว
ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ขาดร่มแล้วไม่มีความผาสุก
พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตให้ใช้ร่มได้
กางร่มในเขตวัดได้ รวมเป็น ๓ เรื่อง
ทรงอนุญาตสิกกาสมมติ
ภิกษุรูปหนึ่งมีนิสัยเคี้ยวเอื้อง สมาคมหนึ่งจัดสังฆภัต
ทำเมล็ดข้าวตกเกลื่อน
ภิกษุรูปหนึ่งไว้เล็บยาว ภิกษุทั้งหลายใช้เล็บตัดเล็บ
นิ้วมือเจ็บ ตัดเล็บจนเลือดออก ทรงอนุญาตให้ตัดเล็บ
เสมอเนื้อ
พระฉัพพัคคีย์ขัดเล็บทั้ง ๒๐ เล็บ ภิกษุทั้งหลายไว้ผมยาว
ทรงอนุญาตมีดโกน หินลับมีด ปลอกมีด ผ้าพันมีด
เครื่องใช้โกน พระฉัพพัคคีย์แต่งหนวด ปล่อยหนวดไว้ยาว
ไว้เครายาว แต่งหนวดเป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่งขนหน้าอก
แต่งขนหน้าท้อง แต่งหนวดเป็นเขี้ยวโง้ง โกนขนในที่แคบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
ภิกษุอาพาธอนุญาตให้โกนขนในที่แคบได้
ทรงอนุญาตใช้กรรไกรตัดผม ในกรณีที่ศีรษะเป็นแผล
ทรงห้ามไว้ขนจมูกยาว ทรงห้ามใช้ก้อนกรวดถอนขนจมูก
ทรงห้ามใช้กันและกันถอนผมหงอก
ทรงอนุญาตไม้แคะหูในกรณีที่ขี้หูอุดช่องหู
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สะสมโลหะ ทรงอนุญาตยาตา
ทรงห้ามนั่งรัดเข่า ทรงอนุญาตผ้ารัดเข่า
ทรงอนุญาตด้ายพันและไม้สลักทอ ทรงอนุญาตประคดเอว
ทรงห้ามใช้ประคดเอวชนิดต่าง ๆ คือ ประคดถักเชือก
ถักเป็นหัวงูน้ำ กลมคล้ายเกลียวเชือก คล้ายสังวาล
ทรงอนุญาตประคดแผ่นผ้า ประคดไส้สุกร
ชายประคดเอวลุ่ย ทรงอนุญาตให้เย็บทบถักเป็นห่วง
ปลายห่วงประคตลุ่ย ทรงอนุญาตลูกถวิน
ทรงอนุญาตลูกดุม ภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ลูกดุมชนิดต่าง ๆ
ภิกษุทั้งหลายติดแผ่นผ้ารองลูกดุมและรังดุมที่ชายจีวร
ทรงอนุญาตให้ติดแผ่นผ้าลึกเข้าไป
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งผ้าอย่างคฤหัสถ์
คือ นุ่งปล่อยชายเหมือนงวงช้าง เหมือนหางปลา
ปล่อยชายเป็นสี่แฉก ปล่อยชายคล้ายก้านตาล
นุ่งยกกลีบตั้งร้อย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ห่มผ้าอย่างคฤหัสถ์
นุ่งผ้าโจงกระเบน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์หาบของ
ทรงอนุญาตให้คอนหามเป็นต้นได้
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้ชำระฟันตีสามเณร
ไม้ชำระฟันติดลำคอ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จุดไฟเผากองหญ้า
ทรงอนุญาตให้จุดไฟต้านไฟป่าที่กำลังไหม้
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขึ้นต้นไม้ ภิกษุรูปหนึ่งถูกช้างไล่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
ภิกษุเมฏฐะและโกกุฏฐะทูลขอยกพระพุทธพจน์
ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เรียนสอนโลกายัต
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เรียนดิรัจฉานวิชา
เมื่อมีการจาม ไม่ควรกล่าวคำให้พร
ทรงอนุญาตให้พรตอบเพื่อความเป็นสิริมงคล
ทรงห้ามฉันกระเทียมเมื่อเข้าสมาคม
พระสารีบุตรอาพาธเป็นลมเสียดท้อง
ทรงอนุญาตให้ฉันกระเทียมได้
อารามสกปรกมีกลิ่นเหม็น นั่งปัสสาวะไม่สะดวก
ทรงอนุญาตฐานวางเท้าถ่ายปัสสาวะ
ที่ปัสสาวะเปิดเผยภิกษุทั้งหลายละอาย
ทรงอนุญาติรั้วไม้ หม้อปัสสาวะไม่มีฝาปิดส่งกลิ่นเหม็น
ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระลงที่นั้น ๆ อารามมีกลิ่นเหม็น
ขอบปากหลุมถ่ายอุจจาระพัง
ทรงอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง ทรงอนุญาตให้ก่อคันกั้น
ทรงอนุญาตบันได ราวยึด
ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายอุจจาระที่ริมหลุดพลัดตกลงไป
นั่งถ่ายไม่สะดวก ทรงอนุญาตฐานวางเท้าถ่าย
ถ่ายปัสสาวะออกไปข้างนอก
ทรงอนุญาตรางรองปัสสาวะไม้ชำระ
ตะกร้าที่ใส่ไม้ หลุมอุจจาระไม่ได้ปิดฝา
ทรงอนุญาตฝาปิด
ทรงอนุญาตวัจกุฎี บานประตู กรอบเช็ดหน้า
รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบนสายยู ไม้หัวลิง
กลอน ลิ่ม ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๕. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
ผงหญ้าตกเกลื่อน ทรงอนุญาตให้ฉาบด้วยดิน
ทั้งภายในทั้งภายนอก ทำให้มีสีขาว สีดำ สีเหลือง
สียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์
จักเป็นฟันมังกร เขียนลวดลายดอกจอก
ราวจีวร สายระเดียง
ภิกษุรูปหนึ่งทุพพลภาพเพราะชราถ่ายอุจจาระลุกขึ้นแล้วล้มลง
ทรงอนุญาตให้ล้อมรั้ว ทรงอนุญาตซุ้มประตูวัจกุฎี
ทรงอนุญาตให้โรยกรวดแร่ ทรงอนุญาตให้วางศิลาเลียบ
มีน้ำขัง ก็ทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ
ทรงอนุญาตหม้ออุจจาระ ขันตักน้ำ
ภิกษุทั้งหลายนั่งถ่ายไม่สะดวก
ฐานที่นั่งถ่ายอุจจาระเปิดเผย ภิกษุทั้งหลายละอาย
ทรงอนุญาตฝาปิด
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ประพฤติไม่เหมาะสม
เรื่องทรงอนุญาตเครื่องใช้โลหะ เว้นเครื่องประหาร
ทรงอนุญาตเครื่องใช้ไม้ เว้นเก้าอี้นอน บัลลังก์
บาตรและเขียงเท้า ทรงอนุญาตเครื่องใช้ดิน
เว้นเครื่องใช้เช็ดเท้าและกุฎีดินเผา
นักวินัยพึงทราบนิเทศแห่งวัตถุที่เหมือนกันข้างต้นว่า ย่อไว้ในอุททาน
เรื่องในขุททกวัตถุขันธกะ ที่แสดงไว้ ๑๑๐ เรื่อง
พระวินัยธรผู้ศึกษาดีแล้ว หวังเกื้อกูล มีศีลเป็นที่รัก
มีปัญญาดุจประทีป เป็นพหูสูต ผู้ควรเคารพกราบไหว้
จะเป็นผู้สืบต่อพระสัทธรรม
และอนุเคราะห์เหล่าสพรหมจารี ผู้มีศีลดีงาม

ขุททกวัตถุขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๖. เสนาสนขันธกะ

๑. ปฐมภาณวาร

วิหารานุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตวิหาร

เรื่องเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ขออนุญาตสร้างวิหาร
[๒๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ทรงบัญญัติ(ยัง
ไม่ทรงอนุญาต)เสนาสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย และภิกษุเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น ๆ คือ ป่า
โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
เวลาเช้าตรู่ ภิกษุเหล่านั้นเดินออกมาจากที่นั้น ๆ คือ จากป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ทอดสายตาลงต่ำ มีการก้าวไป การ
ถอยหลัง การมองดู การเหลียวดู การคู้แขน การเหยียดแขนน่าเลื่อมใส เป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
ครั้งนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ไปสวนแต่เช้าตรู่ ได้แลเห็นภิกษุเหล่านั้นเดิน
ออกจากที่นั้น ๆ คือ จากป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง
ลอมฟาง ทอดสายตาลงต่ำ มีการก้าวไป การถอยหลัง การมองดู การเหลียวดู
การคู้แขน การเหยียดแขนน่าเลื่อมใส เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ ครั้นเห็นแล้ว
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์นั้นก็มีจิตเลื่อมใส
ลำดับนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้วจึงได้
กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ถ้ากระผมจะ ให้สร้างวิหาร พระคุณเจ้าจะอยู่ในวิหาร
ของกระผมหรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๘๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “คหบดี พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ทรงอนุญาตวิหาร”
เศรษฐีกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น พระคุณเจ้าจงทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้วแจ้งให้
กระผมทราบ”
ภิกษุเหล่านั้นรับคำของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ต้องการจะให้สร้างวิหารถวาย
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ วิหาร เรือน
มุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว
กับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “ท่านคหบดี พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตวิหาร๑แล้ว
บัดนี้ ท่านกำหนดกาลอันควรเถิด”
ลำดับนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้สร้างวิหาร ๖๐ หลัง โดยใช้เวลาแค่เพียง
วันเดียว ครั้นให้สร้างเสร็จแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ผู้นั่ง ณ ที่สมควร ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์จงรับนิมนต์ ฉัน
ภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้งนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึง
ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วทูลลาจากไป

เชิงอรรถ :
๑ วิหาร หมายถึงเสนาสนะที่อยู่อาศัย (ดู วิ.อ. ๓/๒๙๔/๓๑๙,๓๒๑/๓๔๓, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๙๔/๔๖๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ครั้งผ่านราตรีนั้นไป เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอัน
ประณีต แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลพระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
ภัตตาหารเสร็จแล้ว”

เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ถวายวิหาร
เวลาเช้าตรู่ พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
ไปนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์
มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว ทรง
ห้ามภัตตาหารแล้วละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
ดังนี้ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าต้องการบุญ ต้องการสวรรค์จึงให้สร้างวิหาร ๖๐ หลังนี้ไว้
ข้าพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติในวิหารเหล่านี้อย่างไรเล่า พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงถวายวิหารเหล่านั้นแก่สงฆ์
ในทิศทั้ง ๔ ผู้มาแล้วและยังไม่มา”
เศรษฐีทูลรับพระพุทธดำรัสแล้วได้จัดถวายวิหาร ๖๐ หลังแก่สงฆ์จากทิศทั้ง
๔ ผู้มาแล้วและยังไม่มา

คาถาอนุโมทนาผู้ถวายวิหาร
[๒๙๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ด้วย
พระคาถาเหล่านี้ว่า
วิหารย่อมป้องกันความหนาวร้อนและสัตว์ร้าย
นอกจากนั้น ยังป้องกันงู ยุงและฝนในคราวหนาวเย็น
นอกจากนั้น ยังป้องกันลมและแดดอันร้อนจัดที่เกิดขึ้น
การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข
เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยชน์ของตน
พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุผู้พหูสูตให้อยู่ในที่นี้เถิด
อีกประการหนึ่ง ผู้เป็นบัณฑิตมีจิตเลื่อมใสในภิกษุพหูสูต
ผู้ปฏิบัติตรง พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า
และเสนาสนะอันควรแก่ท่านเหล่านั้น
ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมอันเป็นเหตุบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา
ซึ่งเมื่อเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพานได้ในชาตินี้
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ด้วยพระคาถาเหล่านี้
เสร็จแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ

เรื่องบานประตู
[๒๙๖] คนทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตวิหาร” จึง
พากันสร้างวิหารอย่างกระตือรือร้น วิหารเหล่านั้นไม่มีบานประตู งูบ้าง แมงป่องบ้าง
ตะขาบบ้างจึงเข้าไปได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานประตู”
ภิกษุทั้งหลายเจาะช่องฝา ใช้เถาวัลย์บ้าง เชือกบ้างผูกบานประตู หนูบ้าง
ปลวกบ้าง กัดเชือกที่ผูกไว้ บานประตูที่ถูกกัดตกลงมา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบเช็ดหน้า รูครกที่
รับเดือยประตู ห่วงข้างบน”
บานประตูปิดได้ไม่สนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตช่องสำหรับชัก เชือก
สำหรับชัก”๑
บานประตูปิดไม่อยู่ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม
กลอน”

เรื่องลูกดาล
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถปิดประตูได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลูกดาล ๓ ชนิด คือ
ลูกดาลโลหะ ลูกดาลไม้ ลูกดาลเขาสัตว์”
ใคร ๆ ก็เปิดเข้าไปได้ วิหารทั้งหลายคุ้มกันไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตลิ่มยนต์”
สมัยนั้น วิหารที่มุงหญ้าทั้งหลายพอถึงฤดูหนาวก็หนาว ถึงฤดูร้อนก็ร้อน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบ
ทั้งภายในภายนอก”

เรื่องบานหน้าต่าง
สมัยนั้น วิหารทั้งหลายยังไม่มีหน้าต่าง ทำให้เสียสายตา มีกลิ่นอับ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ช่องสำหรับชัก คือช่องที่สอดนิ้วมือเข้าไปแล้วจับบานประตูดึงปิดจนสนิท
เชือกสำหรับชัก คือเชือกที่สอดเข้าทางช่องประตูที่เจาะไว้ผูกสำหรับปิดประตู (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๒๙๖/๔๗๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหน้าต่าง ๓ ชนิด คือ
หน้าต่างมีลวดลายทำเป็นกะบัง(ชุกชี) หน้าต่างมีตาข่าย หน้าต่างมีลูกกรง”
กระแตบ้าง ค้างคาวบ้างก็ยังเข้าไปที่ซอกหน้าต่างได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผืนผ้าเล็กสำหรับกั้น
หน้าต่าง”
กระแตบ้าง ค้างคาวบ้างก็ยังเข้าไปทางช่องหน้าต่าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม่านหน้าต่าง”
กระแตบ้าง ค้างคาวบ้างเข้าไปทางม่านหน้าต่าง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบานหน้าต่าง เครื่องอัด
บานหน้าต่าง”

เรื่องเครื่องลาดตั่งไม้เตียงถักสาน
สมัยนั้น ภิกษุนอนบนพื้นดิน เนื้อตัวบ้าง จีวรบ้างเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้หญ้ารองนั่ง”
หญ้าที่รองถูกหนูบ้าง ปลวกบ้างกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งไม้”
เมื่อนอนบนตั่งนั้น เนื้อตัวเจ็บ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงถักหรือเตียงสาน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
มัญจปีฐาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตเตียงและตั่งเป็นต้น

เรื่องเตียงและตั่ง
[๒๙๗] สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่
สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีแม่แคร่สอด
เข้าในเท้า”
ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า”
สมัยนั้น เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีแม่แคร่ติดกับ
เท้า”
ตั่งชนิดมีแม่แคร่ติดกับเท้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีแม่แคร่ติดกับเท้า”
สมัยนั้น เตียงมีเท้าดังก้ามปู ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีเท้าดังก้ามปู”
ตั่งมีเท้าดังก้ามปูที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีเท้าดังก้ามปู”
สมัยนั้น เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงชนิดมีเท้าจดแม่แคร่”
ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งชนิดมีเท้าจดแม่แคร่”

เรื่องม้านั่งชนิดต่าง ๆ
สมัยนั้น ม้านั่งสี่เหลี่ยม เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยม”
ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมสูง”
ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก
๓ ด้าน”
ม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓
ด้านชนิดสูง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ตั่งหวาย เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหวาย”
ตั่งหุ้มด้วยผ้า เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งหุ้มด้วยผ้า”
ตั่งขาทราย เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งขาทราย”
ตั่งก้านมะขามป้อม เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งก้านมะขามป้อม”
แผ่นกระดาน เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผ่นกระดาน”
เก้าอี้เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเก้าอี้”
ตั่งฟาง เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตั่งฟาง”

เรื่องห้ามนอนบนเตียงสูง
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นอนบนเตียงสูง คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหาร
เห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนอนบนเตียงสูง รูปใด
นอน ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องไม้หนุนเท้าเตียง
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนอนบนเตียงต่ำ ถูกงูกัด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียง”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้ไม้หนุนเท้าเตียงสูง สลักติดกับไม้หนุนเท้าเตียง
คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุไม่พึงใช้ไม้หนุนเท้าเตียงสูง รูปใดใช้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียงสูง ๘ นิ้วเป็นอย่างมาก”

เรื่องด้าย
สมัยนั้น ด้ายเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ด้ายถักเตียง”
ตัวแม่แคร่เปลืองด้ายมาก พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้เจาะตัวแม่แคร่แล้วถักเป็นตาหมากรุก”
ท่อนผ้าผืนเล็ก ๆ เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าปูพื้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ปุยนุ่นเกิดขึ้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
สางนุ่นแล้วทำเป็นหมอน ปุยนุ่นมี ๓ ชนิด คือ นุ่นจากต้นไม้ นุ่นจากเถาวัลย์
นุ่นจากหญ้า”

เรื่องหมอน
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย(ยาวครึ่งลำตัวคน)
คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมวิหารเห็น จึงตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “เหมือน
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำหมอนพอเหมาะกับศีรษะ”

เรื่องฟูก ๕ ชนิด
สมัยนั้น มีมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห์ คนทั้งหลายจัดฟูก ๕ ชนิดไว้
สำหรับมหาอมาตย์ คือ ฟูกขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้
ครั้นมหรสพเลิกแล้ว เขาได้ถอดเอาปลอกฟูกไป ภิกษุทั้งหลายเห็นขนสัตว์ ท่อนผ้า
เปลือกไม้ หญ้าและใบไม้เป็นจำนวนมาก ที่เขาทิ้งไว้ในที่เล่นมหรสพ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตฟูก ๕ ชนิด คือ ฟูก
ขนสัตว์ ฟูกผ้า ฟูกเปลือกไม้ ฟูกหญ้า ฟูกใบไม้”
สมัยนั้น ท่อนผ้าสำหรับใช้สอยประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุ้มฟูก”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๙๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เรื่องเตียงหุ้มด้วยฟูก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูฟูกเตียงลงบนตั่ง ปูฟูกตั่งลงบนเตียง ฟูกขาด ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงหุ้มด้วยฟูก ตั่งหุ้ม
ด้วยฟูก”
ภิกษุปูลงไม่ได้ใช้ผ้ารองข้างล่าง ฟูกย้อยลงข้างล่าง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับ
สั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้ารองปูพื้นแล้วหุ้มฟูก”
โจรเลิกผ้าหุ้มฟูกลักเอาไป ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ใช้เขียนแต้ม”
โจรก็ยังลักเอาไปอีก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ทำตำหนิไว้”
ถึงอย่างนั้นก็ยังลักเอาไปอีก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ตำหนิด้วยนิ้วมือไว้”

เสตวัณณาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตสีขาวเป็นต้น
[๒๙๘] สมัยนั้น ที่อยู่อาศัยของพวกเดียรถีย์ มีสีขาว แต่พื้นทำเป็นสีดำ ทำ
ฝาเป็นสีเหลือง คนทั้งหลายประสงค์จะดูที่อยู่อาศัยจึงเดินทางไป
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสีขาว สีดำ สีเหลืองใน
วิหาร”
สมัยนั้น ฝาเนื้อหยาบ สีขาวจึงไม่เกาะติด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบแล้วใช้
เกรียงฉาบให้เรียบ ให้สีขาวเกาะติด”
สีขาวก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินละเอียดแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีขาวเกาะติด”
สีขาวก็ยังไม่ติดสนิท ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ใช้ยางไม้ แป้งเปียก”
สมัยนั้น ฝาเนื้อหยาบ สีเหลืองจึงไม่เกาะติด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีเหลืองเกาะติด”
สีเหลืองก็ยังไม่เกาะติด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ใส่ดินปนรำแล้วใช้เกรียงฉาบให้สีเหลืองเกาะติด”
สีเหลืองก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ขี้ผึ้งเหลว”
แป้งหนาเกินไปภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดออก”
สมัยนั้น พื้นหยาบไป สีดำไม่เกาะติด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีดำเกาะติด”
สีดำก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใส่ดินขุยใส้เดือนแล้วใช้
เกรียงฉาบให้สีดำเกาะติด”
สีดำก็ยังไม่ติดสนิท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยางไม้ น้ำฝาด”

ปฏิภาณจิตตปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามภาพจิตรกรรมฝาผนัง

เรื่องทรงอนุญาตภาพดอกไม้
[๒๙๙] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม คือ ภาพสตรี
ภาพบุรุษไว้ในวิหาร คนทั้งหลายเดินเที่ยวชมเห็นจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม
คือ ภาพสตรี ภาพบุรุษ รูปใดให้เขียน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ภาพลวดลายดอกไม้ ภาพลวดลายเถาวัลย์ ภาพลวดลายฟันมังกร ภาพลวดลาย
ดอกจอก”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
อิฏฐกาจยาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตให้ก่ออิฐเป็นต้น
เรื่องวิหารพื้นต่ำ
[๓๐๐] สมัยนั้น วิหารมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วย
ไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”

เรื่องวิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง
สมัยนั้น วิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง๑ ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าม่าน”
ภิกษุทั้งหลายเลิกชายผ้าม่านมองดูกัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกั้นฝาครึ่งหนึ่ง”

เชิงอรรถ :
๑ คือมีพื้นที่มีลานเนื่องเป็นอันเดียวกับสถานที่มิใช่วิหาร มีผู้คนพลุกพล่าน (วิ.อ. ๓/๓๐๐/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายก็ยังมองผ่านข้างบนฝานั้นได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตห้องภายใน ๓ ชนิด คือ
ห้องคล้ายเสลี่ยง ห้องคล้ายอุโมงค์ ห้องบนเรือนโล้น”๑

เรื่องวิหารเล็ก
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกั้นห้องไว้ตรงกลางวิหารเล็ก ไม่มีบริเวณ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กั้นห้องไว้ด้านหนึ่งใน
วิหารเล็ก แต่กั้นห้องไว้ตรงกลางในวิหารใหญ่”

เรื่องฝาวิหารชำรุด
สมัยนั้น เชิงฝาวิหารชำรุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกรอบเชิงฝา”
ฝาผนังวิหารถูกฝนสาด ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตแผงกันสาด ฝาทำด้วยดินปนเถ้ากับมูลโค”

เรื่องทรงอนุญาตเพดาน
สมัยนั้น งูตกจากหลังคามุงหญ้าลงมาที่คอภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุนั้นตกใจกลัว
ร้องเสียงลั่น ภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปถามว่า “อาวุโส ท่านร้องทำไม”
ภิกษุนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพดาน”

เชิงอรรถ :
๑ หมฺมิยคพฺภ : ห้องบนเรือนโล้น ได้แก่ห้องเรือนยอดบนดาดฟ้า หรือห้องที่มุงหลังคาโล้น (วิ.อ. ๓/๓๐๐/
๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เรื่องทรงอนุญาตไม้แขวน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายแขวนถุงไว้ที่เท้าเตียงบ้าง ที่เท้าตั่งบ้าง หนูบ้าง ปลวก
บ้างกัดกิน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตไม้เดือยติดฝา ไม้รูปงาช้าง”

เรื่องทรงอนุญาตราวจีวร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บจีวรไว้บนเตียงบ้าง บนตั่งบ้าง จีวรเสียหาย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงใน
วิหาร”
สมัยนั้น วิหารยังไม่มีระเบียง พักอาศัยไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตระเบียง เฉลียง ลับแล
หน้ามุขมีหลังคา”
ระเบียงโล่ง ภิกษุทั้งหลายละอายที่จะนอน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตแผงเลื่อนฝาค้ำ”

อุปัฏฐานสาลาอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตหอฉัน
เรื่องภิกษุฉันร่วมกันในกลางแจ้ง
[๓๐๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารร่วมกันในกลางแจ้ง ต้องลำบากเพราะ
ความหนาวบ้างเพราะความร้อนบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหอฉัน”
หอฉันมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดิน ที่ถม ๓ ชนิด คือคันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่หอฉัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ ให้มี
สียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายปูจีวรลงบนพื้นดินกลางแจ้ง จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียงไว้
กลางแจ้ง ฯลฯ
น้ำดื่มถูกแดดจึงร้อน ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ศาลาน้ำดื่ม ปะรำน้ำดื่ม”
ศาลาน้ำดื่มมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ศาลาน้ำดื่ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียนลวด
ลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”
ไม่มีภาชนะสำหรับตักน้ำ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตสังข์ตักน้ำ ขันน้ำ”

ปาการาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตรั้วล้อมเป็นต้น
เรื่องวิหารไม่มีรั้วล้อม
[๓๐๒] สมัยนั้น วิหารยังไม่มีรั้วล้อม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ล้อมรั้ว ๓ ชนิด คือ
รั้วอิฐ รั้วศิลา รั้วไม้”

เรื่องทรงอนุญาตซุ้มประตู
ซุ้มประตูไม่มี ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตซุ้ม
ประตู”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ซุ้มประตูมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”
ซุ้มประตูไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง
ลิ่ม กลอน ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้มประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก”

เรื่องทรงอนุญาตท่อระบายน้ำ
สมัยนั้น บริเวณเป็นโคลนตม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้โรยกรวดแร่”
กรวดแร่ไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ปูศิลาเรียบ”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”

เรื่องทรงอนุญาตศาลาไฟ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายทำที่ตั้งเตาในที่ต่าง ๆ ทั่วบริเวณจึงสกปรก ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำศาลาไฟไว้ในที่สมควร
ด้านหนึ่ง”
โรงไฟมีพื้นที่ต่ำ น้ำท่วมถึง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตให้ถมพื้นให้สูง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ดินที่ถมพังทะลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ก่อคันกั้นดินที่ถม ๓ ชนิด คือ คันที่ทำด้วยอิฐ คันที่ทำด้วยศิลา คันที่ทำด้วยไม้”
ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรา
อนุญาตบันได ๓ ชนิด คือ บันไดอิฐ บันไดศิลา บันไดไม้”
เมื่อภิกษุทั้งหลายขึ้นลงพลัดตกลงมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตราวสำหรับยึด”
โรงไฟไม่มีบานประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
บานประตู กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม
กลอน ช่องดาล ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ศาลาไฟ ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก ราวจีวร สายระเดียง”

อารามปริกเขปอนุชานนะ
เรื่องทรงอนุญาตรั้วล้อมอาราม
[๓๐๓] สมัยนั้น อารามไม่มีรั้วล้อม แพะบ้าง ปศุสัตว์บ้างทำสิ่งที่ปลูกไว้เสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรั้ว ๓ ชนิด คือ รั้วไม้ไผ่
รั้วหนาม คู”
ซุ้มประตูไม่มี แพะและปศุสัตว์ก็ยังทำสิ่งที่ปลูกไว้เสียหายเหมือนเดิม ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๐๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตซุ้มประตู ไม้คร่าว บาน
ประตูคู่ เสาระเนียด กลอนเหล็ก”
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่ซุ้มประตู ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้รื้อลงแล้วเอาดินโบกฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว ให้มีสีดำ
ให้มีสียางไม้ เขียนลวดลายดอกไม้ เขียนลวดลายเถาวัลย์ จักเป็นฟันมังกร เขียน
ลวดลายดอกจอก”
พื้นอารามลื่น ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
โรยกรวดแร่”
กรวดแร่ไม่เต็ม ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ปูศิลาเรียบ”
น้ำขัง ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตท่อระบาย
น้ำ”
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างปราสาท
ฉาบปูนขาวถวายสงฆ์ เวลานั้นภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงอนุญาตเครื่องมุงหรือไม่ได้ทรงอนุญาตไว้”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องมุง ๕ ชนิด คือ
กระเบื้อง ศิลา ปูนขาว หญ้า ใบไม้”
ปฐมภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
๒. ทุติยภาณวาร
อนาถปิณฑิกวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอนาถบิณฑิกคหบดี
[๓๐๔] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี เป็นน้องเขยของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี ได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจบางอย่าง
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้นิมนต์พระสงฆ์มีพระผู้มีพระภาคเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศล
ในวันพรุ่งนี้ สั่งทาสและกรรมกรว่า “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงตื่นแต่
เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม”
ขณะนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า “คราวก่อนเมื่อเรามา คหบดี
ท่านนี้ทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับเราผู้เดียว เวลานี้เขามีท่าทีวุ่นวายสั่งทาส
และกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง ช่วยกันจัด
เตรียมแกงอ่อม’ คหบดีนี้น่าจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี หรือ
จะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารในวัน
พรุ่งนี้กระมัง”
ครั้นเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สั่งทาสและกรรมกรแล้ว เข้าไปหาอนาถบิณฑิกคหบดี
ถึงที่ ครั้นถึงแล้วได้สนทนากับอนาถบิณฑิกคหบดี แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
อนาถบิณฑิกคหบดีได้กล่าวกับเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ดังนี้ว่า “เมื่อข้าพเจ้ามา
คราวก่อน ท่านทำธุระเสร็จก็สนทนาปราศรัยกับข้าพเจ้าผู้เดียว เวลานี้ท่านมีท่าที
วุ่นวาย สั่งทาสและกรรมกรว่า ‘พวกท่านจงตื่นแต่เช้าตรู่ ต้มข้าว หุงข้าว ต้มแกง
ช่วยกันจัดเตรียมแกงอ่อม’ ท่านคงจะมีงานอาวาหมงคล วิวาหมงคล มหายัญพิธี
หรือจะทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ พร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหารใน
วันพรุ่งนี้กระมัง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า ข้าพเจ้าไม่มีงานอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล
ทั้งไม่ได้ทูลเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพร้อมด้วยกองทัพมาเลี้ยงอาหาร
ในวันพรุ่งนี้ ที่จริงข้าพเจ้าจะประกอบมหายัญพิธี คือ นิมนต์พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีถามซ้ำอีกว่า “ท่านกล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า’ หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ก็คงตอบว่า “คหบดี ข้าพเจ้ากล่าวว่า ‘พระพุทธเจ้า”
อนาถบิณฑิกคหบดีกล่าวว่า “แม้เสียงประกาศว่า ‘พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า’
นี้ก็ยากที่จะได้ยินในโลก ท่านคหบดี ข้าพเจ้าสามารถจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ในเวลานี้ได้หรือ”
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ตอบว่า “คหบดี เวลานี้ยังไม่ควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
พรุ่งนี้ท่านจะได้เข้าเฝ้า”
หลังจากนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีนอนนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ว่า “พรุ่ง
นี้เราจะได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแต่เช้าตรู่”
เล่ากันว่า คหบดีตื่นกลางดึกถึง ๓ ครั้งเพราะเข้าใจว่าสว่างแล้ว
[๓๐๕] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินไปทางประตูป่าสีตวัน พวกอมนุษย์
เปิดประตูให้ เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเดินออกจากเมืองไปแล้ว แสงสว่างพลัน
หายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยอง
เกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการจะกลับจากที่นั้น
ขณะนั้น สีวกยักษ์หายตัวอยู่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
“ช้าง ๑ แสนเชือก ม้า ๑ แสนตัว
รถม้าอัสดร ๑ แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖๑ แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
ทันใดนั้นความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างพลันหายไป ปรากฏความมืดแทน ความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าบังเกิดขึ้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีต้องการ
จะกลับจากที่นั้น
แม้ครั้งที่ ๓ สีวกยักษ์ก็หายตัวอยู่แต่ประกาศให้ได้ยินเสียงว่า
“ช้าง ๑ แสนเชือก ม้า ๑ แสนตัว
รถม้าอัสดร ๑ แสนคัน สาวน้อยประดับต่างหูเพชร ๑ แสนคน
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง
เชิญก้าวไปเถิดคหบดี ท่านก้าวไปดีกว่า อย่าถอยกลับเลย”
แม้ครั้งที่ ๓ ความมืดพลันหายไป แสงสว่างปรากฏแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง อาการขนพองสยองเกล้าพลันหายไป
ลำดับนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเดินเข้าไปยังป่าสีตวัน เช้ามืดวันนั้น พระผู้มี
พระภาคเสด็จลุกขึ้นจงกรมที่กลางแจ้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านอนาถบิณฑิก

เชิงอรรถ :
๑ เสี้ยวที่ ๑๖ ในที่นี้หมายความว่า เมื่อแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนแล้วเอาส่วนหนึ่งใน ๑๖ ส่วนนั้นมาแบ่งเป็นอีก
๑๖ ส่วน แล้วเอาส่วนหนึ่งที่แบ่งเป็น ๑๖ ส่วนครั้งที่ ๒ นั้นมาแบ่งเป็น ๑๖ ส่วนอีกครั้งหนึ่ง ส่วน ๑
ใน ๑๖ ส่วนที่แบ่งครั้งที่ ๓ นี้จัดเป็นเสี้ยวที่ ๑๖ สัตว์สิ่งของอย่างละ ๑ แสน ยังมีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖
แห่งการก้าวเท้าไปก้าวหนึ่งที่แบ่งแล้ว ๑๖ ครั้ง ๑๖ เที่ยว ๑๖ หน เพราะ ท่านอนาถบิณฑิกะก้าวเท้า
ไปถึงพระพุทธเจ้าแล้วจะสำเร็จโสดาปัตติผล จักเอาของหอมพวงมาลากระทำการบูชา จักไหว้พระเจดีย์
จักฟังธรรม จักนิมนต์พระสงฆ์แล้วถวายทาน จักตั้งมั่นในสรณะและศีล(ตาม แนวคำอธิบายแห่ง สํ.ส.อ.
๑/๒๔๒/๒๙๘, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๐๕/๔๗๔-๔๗๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
คหบดีเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงเสด็จลงจากที่จงกรมประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้น
แล้วได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “มาเถิดสุทัตตะ”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีรื่นเริงบันเทิงใจว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกชื่อเรา”
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคประทับอยู่เป็นสุขดีหรือ พระ
พุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
พราหมณ์ผู้ดับกิเลสแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ
ผู้ไม่ติดอยู่ในกาม เป็นคนเยือกเย็น
ไม่มีอุปธิกิเลส ตัดกิเลสเครื่องข้องได้ทุกอย่างแล้ว
กำจัดความกระวนกระวายในใจ
เข้าถึงความสงบ ย่อมอยู่เป็นสุข๑
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (อานิสงส์แห่งการออกจากกาม) แก่อนาถ-
บิณฑิกคหบดี
เมื่อทรงทราบว่าท่านอนาถบิณฑิกคหบดีมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์
เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา๒ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๕/๑๙๑
๒ สามุกกังสิกธรรมเทศนา หมายถึงธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง ทรงเห็น
ด้วยสยัมภูญาณ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น คือมิได้รับการแนะนำจากผู้อื่น ทรงตรัสรู้ลำพังพระองค์เองก่อนใครใน
โลก (วิ.อ. ๓/๒๙๓/๑๘๑, สารตฺถ,ฏีกา ๓/๒๖/๒๓๗, ที.สี.ฏีกา อภินว. ๒/๒๙๘/๓๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้
เกิดแก่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี ณ อาสนะนั้นแลว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาด
ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว
หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้
แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์ ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดย
ประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้
หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่วันนี้เป็นต้น
ไปจนตลอดชีวิต ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร เพื่อเจริญกุศลใน
วันพรุ่งนี้ด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้วจึง
ลุกจากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณกลับไป
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี นิมนต์พระ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้”
[๓๐๖] ครั้งนั้น เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ได้กล่าวกับท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่าท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญ
กุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของเพื่อจัด
ทำภัตตาหาร ถวายพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย คหบดี ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย
เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว”
ชาวนิคมในกรุงราชคฤห์ ได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีนิมนต์พระ
สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น ชาวนิคมในกรุง
ราชคฤห์จึงได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ทราบว่า ท่านนิมนต์
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้ ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ
ข้าพเจ้าจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวายพระสงฆ์มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “อย่าเลย พ่อเจ้า ทรัพย์ที่จะจับจ่ายใช้สอย
เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพเจ้ามีพร้อมแล้ว”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านอนาถบิณฑิกคหบดี
นิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้” ลำดับนั้น
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐได้กล่าวกับอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี
ทราบว่า ท่านนิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้
ก็ท่านเป็นอาคันตุกะ ฉันจะให้ยืมทรัพย์ที่จะจับจ่ายสิ่งของ เพื่อจัดทำภัตตาหารถวาย
พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลตอบว่า “อย่าเลย พระเจ้าข้า ทรัพย์ที่จะจับจ่าย
ใช้สอย เพื่อจัดทำภัตตาหารเลี้ยงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานของข้าพระองค์
มีพร้อมแล้ว”
ครั้นล่วงราตรีนั้นไป ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉัน
อันประณีตในนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึง
เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปนิเวศน์ของเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายพร้อม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กับภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเอง จนกระทั่งพระผู้มีพระภาค
เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่
สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคพร้อม
กับภิกษุสงฆ์จงทรงรับนิมนต์ไปอยู่จำพรรษา ณ กรุงสาวัตถีของข้าพระพุทธเจ้าเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ตถาคตทั้งหลายย่อมยินดีในสุญญาคาร”๑
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลว่า “ทราบแล้วพระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเห็นชัด ชวน
ให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จกลับไป

อนาถบิณฑิกะสร้างพระเชตวัน
[๓๐๗] สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรมาก มีสหายมาก
ประชาชนเชื่อถือคำพูด ครั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทำธุระในกรุงราชคฤห์เสร็จแล้ว
ก็เดินทางกลับไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทางได้ชักชวนคนทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
จงช่วยกันสร้างอาราม สร้างวิหาร เตรียมทาน เวลานี้พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน
โลกแล้วและข้าพเจ้าได้ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแล้ว พระองค์จะเสด็จ
มาทางนี้”
ครั้งนั้น คนทั้งหลายที่ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ได้พากันสร้างอาราม
สร้างวิหารเตรียมทาน
ครั้นท่านอนาถบิณฑิคหบดีถึงกรุงสาวัตถี เที่ยวตรวจดูรอบ ๆ กรุงสาวัตถีคิด
ว่า “พระผู้มีพระภาคควรประทับที่ไหนดีซึ่งไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้าน

เชิงอรรถ :
๑ สุญญาคาร คือ สถานที่ว่าง โอกาสที่เงียบสงัด สถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน
(วิ.อ. ๑/๑๖๕/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะเข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน
กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียงอึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวก มนุษย์จะทำ
กิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การหลีกเร้น”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็นพระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร เป็นสถานที่
ไม่ไกลจากหมู่บ้านเกินไป ไม่ใกล้หมู่บ้านเกินไป การคมนาคมสะดวก ผู้อยากจะ
เข้าเฝ้าไปมาได้ง่าย กลางวันคนไม่พลุกพล่าน กลางคืนมีเสียงรบกวนน้อย ไม่มีเสียง
อึกทึก ไร้ผู้คน เป็นสถานที่พวกมนุษย์จะทำกิจที่ลับได้ เป็นสถานที่เหมาะแก่การ
หลีกเร้น ครั้นแล้วจึงเข้าเฝ้าเจ้าเชตราชกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลเจ้าเชต
ราชกุมารดังนี้ว่า “พระลูกเจ้า ขอพระองค์ ทรงโปรดประทานพระอุทยานแก่กระหม่อม
เพื่อจัดสร้างพระอารามเถิด พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี ถึงใช้กหาปณะมาเรียงให้ริมจดกัน เราก็ให้
อุทยานไม่ได้”
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีทูลถามว่า “พระลูกเจ้า พระองค์ขายอุทยานแล้วหรือ
พระเจ้าข้า”
เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่า “คหบดี เรายังไม่ได้ขายอุทยาน”๑
เชตราชกุมารกับอนาถบิณฑิกคหบดีถามพวกมหาอมาตย์ผู้พิพากษาว่า “อุทยาน
เป็นอันขายแล้ว หรือยังไม่ได้ขาย”
พวกมหาอมาตย์ตอบว่า “พระลูกเจ้า เพราะพระองค์ตีราคาแล้ว อุทยานจึง
เป็นอันขายแล้ว”
จากนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้คนงานนำเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียง
ลาดให้ริมจดกันในเชตวัน เงินที่ขนออกมาครั้งเดียวยังไม่เพียงพอแก่พื้นที่อีกหน่อย
หนึ่งใกล้ซุ้มประตู ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีจึงสั่งพวกคนงานว่า “พวกท่านจงไปขน
เงินมา เราจะเรียงให้เต็มในที่นี้”

เชิงอรรถ :
๑ คหิโต อยฺยปุตฺต อาราโมติ. น คหปติ คหิโต อาราโมติ. แปลตามตัวอักษรว่า “พระลูกเจ้า ข้าพเจ้ารับ
สวนไปได้หรือ” คหบดี ท่านยังรับสวนไปไม่ได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ขณะนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า “การกระทำนี้ไม่ใช่ของต่ำต้อย
เพราะคหบดีนี้บริจาคเงินมากมายถึงเพียงนี้” ลำดับนั้น เจ้าเชตราชกุมารได้รับสั่งกับ
ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “พอเถอะ ท่านคหบดี ที่ว่างตรงนั้น ท่านอย่าลาด
เงินเลย ให้โอกาสแก่เราบ้าง ส่วนนี้ข้าพเจ้าจะขอร่วมถวายด้วย”
ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดำริว่า “เจ้าเชตราชกุมารพระองค์นี้ ทรงเรือง
พระนาม ประชาชนรู้จัก ความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ของผู้ที่ประชาชนรู้จัก
เช่นนี้ มีประโยชน์มาก” จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร ลำดับนั้น เจ้าเชต
ราชกุมาร รับสั่งให้สร้างซุ้มประตูที่ตรงนั้น
ต่อมา ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีให้สร้างวิหารหลายหลังไว้ในพระเชตวัน สร้าง
บริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลาหอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี๑ สร้างวัจกุฎี
สร้างสถานที่จงกรม สร้างศาลาจงกรม ขุดบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ
สร้างศาลาเรือนไฟ ขุดสระโบกขรณี สร้างมณฑป

นวกัมมทานะ
ว่าด้วยให้นวกรรม(การก่อสร้าง)
เรื่องช่างชุนผ้า
[๓๐๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ กัปปิยกุฎี คือสถานที่เก็บอาหาร (ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๒๙๕/๑๒๐) พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเพื่อให้
ภิกษุสงฆ์พ้นจากการเก็บของไว้เองและหุงต้มเอง (วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น คนทั้งหลายทำนวกรรมอย่างกระตือรือร้น อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายผู้
ดำเนินงานก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารโดย
เคารพ
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจคนหนึ่งได้มีความคิดดังนี้ว่า “การทำนวกรรมนี้ไม่ใช่
ของต่ำต้อย เพราะคนทั้งหลายช่วยกันทำนวกรรม ทางที่ดีเราพึงช่วยทำนวกรรมบ้าง”
ลำดับนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นจึงขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่ก่อ
ด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นก็ขยำโคลนก่ออิฐตั้งฝาผนังขึ้น แต่ฝาผนังที่
ก่อด้วยความไม่ชำนาญคด จึงพังทะลายลงมา
ครั้งนั้น ช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรอบรมสั่งสอนแต่พวกที่ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร อำนวยการทำนวกรรมแก่คนพวกนั้น ส่วนเราเป็นคนเข็ญใจไม่มี
ใครอบรมสั่งสอน ไม่มีคนอำนวยการทำนวกรรมให้”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินช่างชุนผ้าเข็ญใจนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมได้ ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนักทำนวกรรมต้องขวนขวายว่า ‘ทำอย่างไรหนอวิหารจึงจะสำเร็จได้เร็ว’ ต้อง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม

วิธีให้นวกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้นวกรรมอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขออนุญาตภิกษุก่อน ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
[๓๐๙] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วสงฆ์พึงใหนวกรรม
วิหาร๑ของคหบดี แก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่
ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้นวกรรมวิหารของคหบดีชื่อนี้แก่ภิกษุชื่อนี้
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นวกรรมวิหารของคหบดี สงฆ์ให้แก่ชื่อภิกษุนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

อัคคาสนาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตอาสนะเลิศเป็นต้น
เรื่องความเคารพ
[๓๑๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปยังกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ล่วงหน้าไปก่อนพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จับจองวิหาร จับจองที่นอน
โดยกล่าวว่า “ที่นี้เป็นของพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระ
อาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพวกเรา”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อ
วิหารถูกจับจองแล้ว เมื่อที่นอนถูกจับจองแล้ว เมื่อไม่ได้ที่นอน จึงนั่ง ณ ควงไม้
ต้นหนึ่ง
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตร
ก็ได้กระแอมรับ

เชิงอรรถ :
๑ นวกรรมวิหาร คือให้วิหารเพื่อก่อสร้าง หรือให้การก่อสร้างในวิหาร (วิมติ.ฏีกา ๒/๓๐๙/๓๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ใครอยู่ที่นั่น”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่นี่เล่า”
ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ

เรื่องผู้ควรได้อาสนะเลิศเป็นต้น
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์ไปก่อนภิกษุสงฆ์ แล้วจับจองวิหาร จับจองที่นอนโดยกล่าวว่า ‘ที่นี้เป็น
ของพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา
ที่นี้เป็นของพวกเรา’ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษทั้งหลาย
จึงไปก่อนภิกษุสงฆ์ แล้วจับจองวิหาร จับจองที่นอนโดยกล่าวว่า ‘ที่นี้เป็นของพระ
อุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็น
ของพวกเราเล่า’ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ใครควรได้อาสนะ
อันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้บวชจากตระกูลคหบดี
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทรงสุตตันตะควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทรงพระวินัยควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึกควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้ปฐมฌานควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้ทุติยฌานควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้ตติยฌานควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้จตุตถฌานควร
ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระอนาคามี
ควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ควร
ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้วิชชา ๓ ควรได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”
ภิกษุบางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ได้อภิญญา ๖ ควร
ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ”

เรื่องสัตว์ ๓ สหาย
[๓๑๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในแถบเชิงเขาหิมพานต์ มีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง สัตว์ ๓ สหาย
คือ นกกระทา ลิง และช้างพลาย อาศัยต้นไทรนั้นอยู่ สัตว์ ๓ สหายนั้นอยู่อย่าง
ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงกันและกัน มีการดำเนินชีวิตไม่เหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา สัตว์ ๓ สหายปรึกษากันว่า “นี่พวกเรา ทำอย่างไรจึง
จะรู้ได้ว่า ‘ในพวกเรา ๓ สหาย ผู้ใดคือผู้สูงวัยกว่ากัน’ จะได้สักการะ เคารพ นับถือ
บูชาและเชื่อฟังผู้นั้น”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น นกกระทาและลิงถามช้างพลายว่า “เพื่อนเอ๋ย ท่านจำ
เรื่องราวเก่า ๆ อะไรได้บ้างเล่า” ช้างตอบว่า “เมื่อเรายังเล็ก เราเคยเดินคร่อมต้นไทร
ต้นนี้ ยอดไทรพอระท้องของเรา เราจำเรื่องเก่านี้ได้”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น นกกระทาและช้างพลายถามลิงว่า “เพื่อนจำเรื่อง
ราวเก่า ๆ อะไรได้บ้าง”
ลิงตอบว่า “เมื่อเรายังเล็ก เราเคยนั่งบนพื้นดินเคี้ยวกินยอดไทรต้นนี้ เราจำ
เรื่องเก่านี้ได้”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ลิงและช้างพลายถามนกกระทาว่า “เพื่อนจำเรื่อง
ราวเก่า ๆ อะไรได้บ้าง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
นกกระทาตอบว่า “เพื่อนทั้งหลาย ที่โน้นมีต้นไทรใหญ่ เรากินผลของต้นไทร
นั้นแล้วถ่ายมูลไว้ที่นี้ ไทรต้นนี้เกิดจากผลของต้นไทรนั้น ดังนั้นเราจึงเป็นผู้ใหญ่โดย
ชาติกำเนิด”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ลิงกับช้างพลายได้กล่าวกับนกกระทาดังนี้ว่า “เพื่อน
บรรดาเราทั้งหลาย ท่านคือผู้ใหญ่กว่าโดยชาติกำเนิด เราทั้ง ๒ จะสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา และเชื่อฟังท่าน”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น นกกระทาได้ให้ลิงกับช้างสมาทานศีล ๕ ทั้งตนเอง
ก็รักษาศีล ๕ สหายทั้ง ๓ นั้นต่างเคารพยำเกรง ดำเนินชีวิตอยู่อย่างเสมอภาคกัน
หลังจากสิ้นชีวิตได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัตินี้ เรียกว่า
ติตติริยพรหมจรรย์
นรชนเหล่าใดฉลาดในธรรม
ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญทั้งหลาย
นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และมีสุคติภพในเบื้องหน้า๑
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานพวกนั้นยังมีความเคารพยำเกรง ดำเนินชีวิตอยู่
อย่างเสมอภาคกัน ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอเป็นผู้บวชแล้ว ในธรรมวินัยที่เรา
กล่าวดีแล้ว มีความเคารพมีความยำเกรงกันและกัน ดำเนินชีวิตอย่างเสมอภาคกัน
จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย การทำเช่นนั้นมิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ
อัญชลีกรรม สามีจิกรรม อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศตามลำดับ

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๓๗/๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พรรษา อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกีดกันเสนาสนะของสงฆ์ตามลำดับพรรษา
ภิกษุรูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

อวันทิยาทิปุคคละ
ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไหว้เป็นต้น
เรื่องบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
[๓๑๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก เหล่านี้คือ
๑. ผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ผู้อุปสมบทภายหลัง
๒. ไม่ควรไหว้อนุปสัมบัน
๓. ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นอธรรมวาที
๔. ไม่ควรไหว้มาตุคาม
๕. ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์
๖. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส
๗. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
๘. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
๙. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต
๑๐. ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก เหล่านี้แล

เรื่องบุคคลที่ภิกษุควรไหว้ ๓ จำพวก
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุควรไหว้ ๓ จำพวก คือ
๑. ผู้อุปสมบทภายหลังควรไหว้ผู้อุปสมบทก่อน
๒. ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้มีพรรษาแก่กว่า เป็นธรรมวาที

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
๓. ควรไหว้พระตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบในโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดา และมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ภิกษุควรไหว้ ๓ จำพวกเหล่านี้แล

อาสนปฏิพาหนปฏิกเขปะ
ว่าด้วยทรงห้ามการกีดกันอาสนะ
เรื่องอันเตวาสิกของพระฉัพพัคคีย์
[๓๑๓] สมัยนั้น คนทั้งหลายตกแต่งมณฑป จัดเตรียมเครื่องลาด จัดเตรียม
บริเวณไว้เจาะจงพระสงฆ์ พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “เสนาสนะ
เฉพาะที่เป็นของสงฆ์เท่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตตามลำดับพรรษา ไม่ได้ทรง
อนุญาตของที่ทำเจาะจง” ล่วงหน้าไปก่อนพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จับ
จองมณฑปบ้าง จับจองเครื่องลาดบ้าง จับจองบริเวณบ้างไว้โดยกล่าวว่า “ที่นี้เป็น ของ
พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้
เป็นของพวกเรา”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังพระสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อ
มณฑปถูกจับจองแล้ว เมื่อเครื่องลาดถูกจับจองแล้ว เมื่อบริเวณถูกจับจองแล้ว เมื่อ
ไม่ได้ที่นอนจึงนั่ง ณ ควงไม้ต้นหนึ่ง
ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นทรงพระกาสะ แม้ท่านพระสารีบุตร
ก็ได้กระแอมรับ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ใครอยู่ที่นั่น”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้า สารีบุตร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “สารีบุตร ทำไมเธอจึงมานั่งที่นี่เล่า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุอันเตวาสิกของพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์กล่าวว่า ‘เสนาสนะเฉพาะที่เป็นของสงฆ์เท่านั้นที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต
ตามลำดับพรรษา ไม่ได้ทรงอนุญาตของที่ทำเจาะจง’ แล้วล่วงหน้าไปก่อนพระสงฆ์
ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน จับจองมณฑปบ้าง จับจองเครื่องลาดบ้าง จับจอง
บริเวณบ้างไว้โดยกล่าวว่า ‘ที่นี้เป็นของพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของ
พระอาจารย์ทั้งหลายของพวกเรา ที่นี้เป็นของพวกเรา’ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกีดกันแม้ของที่เขาทำ
เจาะจงตามลำดับพรรษา รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

คิหิวิกตอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตเครื่องใช้อย่างคฤหัสถ์
[๓๑๔] สมัยนั้น คนทั้งหลายตกแต่งที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ไว้ที่โรงอาหารใน
ละแวกบ้าน คือ

๑. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด ๒. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย
๓. พรหมขนสัตว์ ๔. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร
๕. เครื่องลาดขนแกะมีสีขาว ๖. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้
๗. เครื่องลาดยัดนุ่น ๘. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้ายเช่นราชสีห์และเสือ
๙. เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒ ด้าน ๑๐. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร

๑๑. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ ๑๒. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ
๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง
ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำ
๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ
๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือ ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด
๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง๑

ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมนั่ง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องใช้อย่างคฤหัสถ์
ยกเว้นเครื่องลาด ๓ ชนิด คือ ม้านั่งสี่เหลี่ยม เตียงใหญ่ เครื่องลาดยัดนุ่น นอก
นั้นนั่งได้ แต่ไม่อนุญาตให้นอน”
สมัยนั้น คนทั้งหลายตกแต่งเตียงบ้าง ตั่งบ้างยัดนุ่นไว้ที่โรงอาหารในละแวกบ้าน
พวกภิกษุยำเกรงอยู่จึงไม่ยอมนั่ง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนเครื่องใช้อย่าง
คฤหัสถ์ได้ แต่ไม่อนุญาตให้นอน”

เชตวนวิหารานุโมทนา
ว่าด้วยทรงอนุโมทนาการถวายเชตวันวิหาร
[๓๑๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดีในกรุง
สาวัตถีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม.(แปล) ๕/๒๕๔/๒๗, ที.สี.(แปล) ๙/๑๕/๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๒๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีผู้นั่ง
ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์
ทรงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเจริญกุศลในวันพรุ่งนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ
ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีทราบการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุก
จากอาสนะถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไป
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป อนาถบิณฑิกคหบดีสั่งให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ให้คนไปกราบทูลภัตกาลว่า “ถึงเวลาภัตตาหารแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จ
แล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
ไปนิเวศน์ของอนาถบิณฑิกคหบดี ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวายพร้อมกับภิกษุสงฆ์
อนาถบิณฑิกคหบดีได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคนภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานด้วยตนเอง กระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ แล้วทรงห้ามภัตตาหารแล้ว
ละพระหัตถ์จากบาตร จึงนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระ
พุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระเชตวัน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงจัดถวายเชตวันแก่สงฆ์จากทิศทั้ง
๔ ผู้มาแล้วและยังไม่มา”
อนาถบิณฑิกะรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วได้ถวายพระเชตวันแก่สงฆ์จากทิศทั้ง
๔ ผู้มาแล้วและยังไม่มา

คาถาอนุโมทนาการถวายวิหาร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอนาถบิณฑิกคหบดี ด้วยพระคาถา
เหล่านี้ว่า
วิหารย่อมป้องกันความหนาวร้อนและสัตว์ร้าย
นอกจากนั้น ยังป้องกันงู ยุงและฝนในคราวหนาวเย็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
นอกจากนั้น ยังป้องกันลมและแดดอันร้อนจัดที่เกิดขึ้น
การถวายวิหารแก่สงฆ์เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข
เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ
เพราะฉะนั้น ผู้ฉลาดเมื่อเห็นประโยช์ของตน
พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุผู้พหูสูตให้อยู่ในที่นี้เถิด
อีกประการหนึ่ง ผู้เป็นบัณฑิตมีจิตเลื่อมใสในภิกษุพหูสูต
ผู้ปฏิบัติตรงพึงถวายข้าว น้ำ ผ้า
และเสนาสนะอันควร แก่ท่านเหล่านั้น
ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมอันเป็นเหตุบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา
ซึ่งเมื่อเขารู้ทั่วถึงแล้วจะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพานได้ในชาตินี้
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาแก่อนาถบิณฑิกคหบดีด้วยพระคาถาเหล่านี้
แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ

อาสนปฏิพาหนาทิ
ว่าด้วยการกีดกันอาสนะเป็นต้น
เรื่องบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่ยังฉัน
[๓๑๖] สมัยนั้น มหาอมาตย์ผู้หนึ่งเป็นสาวกของอาชีวกจัดถวายสังฆภัต ท่าน
พระอุปนันทศากยบุตรมาภายหลัง บังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลัง
ฉันอยู่ จึงเกิดความวุ่นวายขึ้นในโรงอาหาร
ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรมาภายหลังจึงบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉัน
อยู่เล่า ทำให้เกิดความวุ่นวายในโรงอาหาร ภิกษุผู้นั่งที่อื่นควรจะได้ฉันจนอิ่มมิใช่หรือ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายได้ยินมหาอมาตย์นั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ บรรดาภิกษุ
ผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตร
มาภายหลัง จึงบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่เล่า ทำให้เกิด
ความวุ่นวายในโรงอาหาร”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า
เธอมาภายหลังบังคับภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ ทำให้เกิดความ
วุ่นวายในโรงอาหารจริงหรือ”
พระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอมาภายหลังจึงบังคับ
ภิกษุผู้นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ ทำให้เกิดความวุ่นวายในโรงอาหารเล่า
โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรง
ตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงบังคับให้ภิกษุที่นั่งอาสนะถัดไปให้ลุกขึ้นทั้งที่กำลังฉันอยู่ รูปใดบังคับให้ลุกขึ้น
ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าบังคับให้ลุกขึ้น ภิกษุที่ลุกขึ้นนั้นย่อมเป็นผู้ห้ามภัตด้วย พึงกล่าว
กับภิกษุนั้นว่า ‘ท่านจงไปหาน้ำมา’ ถ้าพึงได้น้ำนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุ
ที่ถูกบังคับให้ลุกขึ้นนั้นพึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อยแล้วจึงให้อาสนะแก่ภิกษุผู้แก่
พรรษากว่า ภิกษุทั้งหลาย แต่เราไม่ได้กล่าวว่า “ภิกษุพึงกีดกันอาสะสำหรับภิกษุ
ผู้แก่พรรษากว่า โดยปริยายใด ๆ’ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไล่ภิกษุอาพาธ
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บังคับพวกภิกษุเป็นไข้ให้ลุกขึ้น
พวกภิกษุเป็นไข้ตอบว่า “พวกเราไม่สามารถลุกขึ้นได้ (เพราะ) พวกเราเป็นไข้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกเราจะช่วยพยุงพวกท่านให้ลุกขึ้น” แล้วช่วย
ประคองให้ลุกขึ้น แล้วก็ปล่อยให้พวกภิกษุไข้ยืนอยู่ พวกภิกษุไข้สลบล้มลง ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ พระผู้
มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบังคับภิกษุเป็นไข้ให้ลุกขึ้น รูปใดบังคับ
ให้ลุกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกกระผมเป็นไข้ไม่ควรที่จะถูกไล่ให้
ลุกขึ้น” แล้วยึดเอาที่นอนดี ๆ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อให้ที่นอนที่เหมาะสม
แก่ภิกษุเป็นไข้”
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ก็กีดกันอาสนะเอาไว้โดยอ้างเลศ ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกีดกันเสนาสนะโดยอ้างเลศ
รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ
สมัยนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์(พวกภิกษุที่อยู่ในกลุ่มภิกษุ ๑๗ รูป)ซ่อม
แซมวิหารหลังใหญ่แห่งหนึ่งอยู่สุดเขตอาราม ด้วยหมายใจว่า “พวกเราจะจำพรรษา
ในที่นี้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กำลังซ่อมแซมวิหาร ครั้นเห็น
แล้วจึงกล่าวกันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้กำลังซ่อม
แซมวิหาร มาเถิด พวกเราช่วยกันขับไล่พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์นั้นออกไป”
ภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดคอยจนกว่าพวกภิกษุ
สัตตรสวัคคีย์นั้นจะซ่อมวิหารเสร็จแล้วพวกเราค่อยไล่ออกไป”
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าวกับพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ดังนี้ว่า “พวก
ท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านควรจะบอกก่อนมิใช่
หรือ พวกเราจะได้ซ่อมแซมวิหารหลังอื่น”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “วิหารใหญ่ พวกท่านก็อยู่ได้ พวกเราก็อยู่ได้”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา”
แล้วโกรธ ไม่พอใจ จับคอฉุดลากออกไป
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เมื่อถูกพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉุดลากออกไปก็ร้องไห้
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม”
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านี้โกรธ
ไม่พอใจฉุดลากพวกกระผมออกจากวิหารของสงฆ์”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ
ฉัพพัคคีย์จึงโกรธไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโกรธไม่พอใจ ไม่พึงฉุดลาก
ภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ รูปใดฉุดลาก พึงปรับอาบัติตามธรรม๑ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุถือเสนาสนะ”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงพึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๗ แห่งภูตคามวรรค
(วิ.มหา. แปล ๒/๑๒๔-๑๒๕/๓๐๒-๓๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เสนาสนคาหาปกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงเสนาสนะ
[๓๑๗] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครจะพึงจัดแจงให้ภิกษุถือ
เสนาสนะ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักเสนาสนะที่ให้ภิกษุถือและเสนาสนะที่ยังมิได้ให้ภิกษุถือ

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ในเบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ภิกษุผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อ
นี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้
ถือเสนาสนะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือ
เสนาสนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องวิธีการให้ถือเสนาสนะเป็นต้น
[๓๑๘] ครั้งนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะทั้งหลายปรึกษากันดังนี้
ว่า “พวกเราจะให้ภิกษุถือเสนาสนะอย่างไรหนอ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นับภิกษุทั้งหลายก่อน
ครั้นนับภิกษุทั้งหลายแล้วจึงนับที่นอน แล้วจึงให้ถือตามจำนวนที่นอน”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนที่นอน ที่นอนเหลือมาก ฯลฯพระ
ผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนวิหาร”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนวิหาร วิหารก็ยังเหลือมาก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือตามจำนวนบริเวณ”
เมื่อภิกษุเจ้าหน้าที่ทั้งหลายให้ถือตามจำนวนบริเวณ บริเวณก็ยังเหลือมาก ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เพิ่มให้อีก เมื่อภิกษุรับส่วน
เพิ่มไปแล้ว ภิกษุอื่นมา เมื่อไม่ปรารถนา(จะให้)ก็ไม่ต้องให้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุผู้อยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุที่อยู่นอกสีมาถือ
เสนาสนะ รูปใดให้ถือ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถือเสนาสนะแล้วหวงไว้ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถือเสนาสนะแล้วหวงไว้
ตลอดเวลา รูปใดหวงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หวงไว้ได้
ตลอด ๓ เดือนฤดูฝน แต่จะหวงไว้ตลอดฤดูไม่ได้”

เรื่องให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “การให้ถือเสนาสนะมีกี่อย่าง” ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือเสนาสนะมี ๓ อย่าง คือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๑. ให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น ๒. ให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง
๓. ให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น
เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาต้น พึงให้ถือในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘
เสนาสนะที่จะให้ถือในวันเข้าพรรษาหลัง พึงให้ถือในเมื่อเดือน ๘ ล่วงไป ๑ เดือน
(เดือน ๙) เสนาสนะที่จะให้ถือในระหว่างพ้นจากระยะนั้น พึงให้ถือในวันถัดจากวัน
ปวารณา คือ วันแรม ๑ ค่ำ เพื่ออยู่จำพรรษาต่อไป ภิกษุทั้งหลาย การให้ถือ
เสนาสนะมี ๓ อย่างนี้”
ทุติยภาณวาร จบ

๓. ตติยภาณวาร
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรจองเสนาสนะ
[๓๑๙] สมัยนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถือเสนาสนะในกรุงสาวัตถี แล้ว
เดินทางไปอาวาสใกล้หมู่บ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้ถือเสนาสนะในที่นั้นอีก
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านอุปนันทศากยบุตรนี้เป็นผู้
ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ ถ้าท่านอุปนันทศากยบุตรจะจำพรรษาในอาวาสนี้ พวกเราทั้งหมดจะอยู่
ไม่ผาสุก อย่ากระนั้นเลย พวกเราจะถามท่านอุปนันทศากยบุตร” ลำดับนั้น ภิกษุ
เหล่านั้นจึงถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่านอุปนันทะ ท่านถือเสนาสนะ
ในกรุงสาวัตถีแล้วมิใช่หรือ”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านรูปเดียว เหตุใดจึงหวงเสนาสนะไว้ถึง ๒ แห่งเล่า”
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรตอบว่า “กระผมจะสละเสนาสนะที่นี่ไปเดี๋ยวนี้แล้ว
จะถือเสนาสนะในกรุงสาวัตถีนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บรรดาภิกษุมักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน
อุปนันทศากยบุตรจึงหวงเสนาสนะไว้ถึง ๒ แห่งเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามท่านพระอุปนันทะว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอ
เพียงรูปเดียวหวงเสนาสนะไว้ ๒ แห่งจริงหรือ”
พระอุปนันทะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆะบุรุษ ไฉนเธอผู้เดียวจึงหวงเสนาสนะ
ไว้ถึง ๒ แห่งเล่า โมฆบุรุษ เธอถือในที่นั้นแล้วสละในที่นี้ ถือในที่นี้แล้วสละในที่นั้น
โมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้เธอก็จะคลาดจากเสนาสนะทั้ง ๒ แห่ง โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปเดียวไม่พึงหวง
เสนาสนะไว้ ๒ แห่ง รูปใดหวงไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องตรัสวันยกถา
[๓๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงพรรณนา
คุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณของท่านพระ
อุบาลีโดยประการต่าง ๆ
ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคตรัสวินัยกถา ทรงพรรรนา
คุณแห่งพระวินัย ตรัสสรรเสริญการเรียนพระวินัย ทรงพรรณนาคุณของท่านพระ
อุบาลีโดยประการต่าง ๆ ขอให้พวกเรามาเรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี
กันเถิด”
ภิกษุเหล่านั้นจำนวนมากเป็นเถระก็มี เป็นนวกะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มีพากันเล่า
เรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี ท่านพระอุบาลีก็ยืนสอนด้วยความเคารพ
ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ฝ่ายภิกษุเถระทั้งหลายก็ยืนเรียนด้วยความเคารพธรรม
ด้วยเหตุนี้ ภิกษุเถระทั้งหลายก็เมื่อยล้า และท่านพระอุบาลีก็เมื่อยล้า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนวกะผู้สอนนั่งบน
อาสนะเสมอกันหรือสูงกว่า(ภิกษุผู้เรียนที่เป็นเถระ)ได้ ด้วยความเคารพธรรม ให้ภิกษุ
ผู้เถระผู้เรียนนั่งบนอาสนะเสมอกันหรือต่ำกว่า(พระผู้สอนที่เป็นนวกะ)ได้ ด้วยความ
เคารพธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากยืนรอคอยจะเรียนพระวินัยในสำนักของท่านพระอุบาลี
จนเมื่อยล้า
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุมีอาสนะ๑ระดับ
เดียวกันนั่งรวมกันได้”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ที่ชื่อว่าภิกษุมีอาสนะระดับเดียวกัน
ด้วยคุณสมบัติเท่าไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า
กันอ่อนกว่ากันระหว่าง ๓ พรรษานั่งรวมกันได้”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปมีอาสนะระดับเดียวกันนั่งบนเตียงเดียวกัน ทำให้
เตียงหัก นั่งบนตั่งเดียวกัน ทำให้ตั่งหัก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๓ รูป ตั่งละ ๓
รูป”
แม้ภิกษุ ๓ รูปนั่งบนเตียงก็ทำให้เตียงหัก นั่งบนตั่งก็ทำให้ตั่งหัก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ อาสนะ ในที่นี้ มีความหมายใช้แทน พรรษา (ดู วิ.อ. ๓/๓๒๐/๓๔๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๓๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเตียงละ ๒ รูป ตั่งละ
๒ รูป”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนั่งบนอาสนะยาวร่วมกับภิกษุผู้มีอาสนะ
ต่างระดับกัน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วม
กับภิกษุที่มีอาสนะต่างระดับกันได้ ยกเว้นบัณเฑาะก์ มาตุคาม อุภโตพยัญชนก”
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อาสนะยาวที่สุดกำหนดไว้เท่าไร ฯลฯ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอาสนะยาวที่สุดนั่งได้ ๓ รูป”
สมัยนั้น นางวิสาขามิคารมาตาประสงค์จะให้สร้างปราสาทมีระเบียงและมีหลังคา
ดังเทริดตั้งอยู่บนกระพองช้างถวายสงฆ์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการใช้สอยปราสาทหรือยังไม่ได้ทรงอนุญาต”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้สอยปราสาททุกอย่าง”
สมัยนั้น สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต เพราะการทิวงคตนั้น
เครื่องอกัปปิยภัณฑ์จำนวนมากจึงเกิดขึ้นแก่สงฆ์ คือ

๑. เตียงมีเท้าสูงเกินขนาด ๒. เตียงมีเท้าเป็นรูปสัตว์ร้าย
๓. พรมขนสัตว์ ๔. เครื่องลาดขนแกะลายวิจิตร
๕. เครื่องลาดขนแกะมีสีขาว ๖. เครื่องลาดมีรูปดอกไม้
๗. เครื่องลาดยัดนุ่น ๘. เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูป
สัตว์ร้ายเช่นราชสีห์และเสือ
๙. เครื่องลาดขนแกะมีขน ๒ ด้าน ๑๐. เครื่องลาดขนแกะมีขนด้านเดียว
๑๐. เครื่องลาดปักด้วยไหมประดับรัตนะ ๑๒. เครื่องลาดผ้าไหมประดับรัตนะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร

๑๓. เครื่องลาดขนแกะขนาดใหญ่ ๑๔. เครื่องลาดบนหลังช้าง
ที่นางฟ้อน ๑๖ คนร่ายรำ
๑๕. เครื่องลาดบนหลังม้า ๑๖. เครื่องลาดในรถ
๑๗. เครื่องลาดทำด้วยหนังเสือ ๑๘. เครื่องลาดหนังชะมด
๑๙. เครื่องลาดมีเพดาน ๒๐. เครื่องลาดมีหมอน ๒ ข้าง

ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ตัดเท้าเก้าอี้นอนแล้ว
ใช้สอยได้ ให้ทำลายรูปสัตว์ร้ายเตียงใหญ่แล้วใช้สอยได้ ให้รื้อฟูกที่ยัดนุ่นทำเป็นหมอน
แล้วใช้สอยได้ นอกจากนี้ให้ทำเป็นเครื่องลาดพื้น”

อวิสสัชชิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงสละ
[๓๒๑] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ไม่ห่าง
จากกรุงสาวัตถี จัดแจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง
ได้รับความลำบาก ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “เวลานี้พวกเราจัด
แจงเสนาสนะแก่พวกภิกษุอาคันตุกะและภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทางได้รับความลำบาก
ท่านทั้งหลาย เอาเถอะ พวกเราจะมอบเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด แก่ภิกษุรูปหนึ่ง
จะใช้สอยเสนาสนะของเธอ” ภิกษุเหล่านั้นได้ให้เสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมดแก่ภิกษุรูป
หนึ่ง ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ประจำในอาวาสเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านโปรดจัดเสนาสนะให้พวกกระผมเถิด”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “เสนาสนะของสงฆ์ไม่มีหรอกท่าน
เสนาสนะทั้งหมด พวกเรามอบให้ภิกษุรูปหนึ่งไปแล้ว”
ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายถามว่า “พวกท่านมอบเสนาสนะของสงฆ์ให้ภิกษุรูป
หนึ่งไปแล้วหรือ”
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงสละเสนาสนะที่เป็นของสงฆ์เล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุสละเสนาสนะของสงฆ์ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น
จึงสละเสนาสนะของสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ของที่สละไม่ได้ ๕ หมวด สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละ
แล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ของที่ไม่ควรสละ ๕ หมวด คืออะไรบ้าง คือ
๑. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๑ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๒. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๒ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๓ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล ไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๔. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง
จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๔ สงฆ์ คณะหรือ
บุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๕. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน
เครื่องไม้และ เครื่องดินนี้เป็นของที่ไม่ควรสละอันดับที่ ๕ สงฆ์ คณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หรือบุคคลไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ
ต้อง อาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ของที่สละไม่ได้ ๕ หมวดเหล่านี้แล สงฆ์ คณะหรือบุคคล
ไม่พึงสละ แม้สละแล้วก็ไม่เป็นอันสละ รูปใดสละ ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

อเวภังคิยวัตถุ
ว่าด้วยของที่ไม่พึงแบ่ง
เรื่องพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
[๓๒๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ตามพระอัธยาศัย
แล้ว ได้เสด็จจาริกไปกีฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป
รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทราบข่าวแล้วปรึกษากันว่า “พระผู้มีพระภาค
กำลังเสด็จมากีฏาคิรีชนบท พร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้ง
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พวกเราจะแบ่งเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด พระ
สารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว
พวกเราจะไม่จัดเสนาสนะให้ท่านทั้ง ๒ นั้น” พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะนั้น จึง
แบ่งเสนาสนะของสงฆ์ทั้งหมด
ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกีฏาคิรีชนบทแล้ว ครั้น
แล้วได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปหาภิกษุอัสสชิและภิกษุ
ปุนัพพสุกะแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ขอให้ท่านทั้งหลายจง
จัดเสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาค ภิกษุสงฆ์ รวมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ”
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปหาพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
จนถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะดังนี้ว่า “พระผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระภาคเสด็จมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป รวมทั้งพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะ ขอให้ท่านทั้งหลายจงจัดเสนาสนะถวายพระผู้มีพระภาค
ภิกษุสงฆ์รวมทั้งพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ”
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะตอบว่า “ท่านทั้งหลาย เสนาสนะของสงฆ์ไม่มี
พวกเราแบ่งกันหมดแล้ว พระผู้มีพระภาคเสด็จมาดีแล้ว โปรดประทับในวิหารที่ทรง
พระประสงค์เถิด พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ใน
อำนาจความปรารถนาชั่ว พวกเราไม่จัดเสนาสนะให้ท่านทั้ง ๒ นั้น”
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านแบ่งเสนาสนะของสงฆ์หรือ”
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะตอบว่า “ใช่แล้ว ท่านทั้งหลาย”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะจึงแบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า”
ลำดับนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพระ
อัสสชิและภิกษุปุนัพพสุกะแบ่งเสนาสนะของสงฆ์จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง
แบ่งเสนาสนะของสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่ได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้
แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวด คือ
๑. อาราม พื้นที่อาราม นี้เป็นของ ที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๑ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๒. วิหาร พื้นที่วิหาร นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๒ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคล ไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๓. เตียง ตั่ง ฟูก หมอน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๓ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
๔. หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง
จอบ สว่าน นี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๔ สงฆ์ คณะหรือ
บุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติ
ถุลลัจจัย
๕. เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้าปล้อง หญ้ามุงกระต่าย หญ้าสามัญ ดิน
เครื่องไม้และ เครื่องดินนี้เป็นของที่ไม่ควรแบ่งอันดับที่ ๕ สงฆ์ คณะ
หรือบุคคลไม่พึงแบ่ง แม้แบ่ง แล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้อง
อาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุทั้งหลาย ของที่ไม่ควรแบ่ง ๕ หมวดเหล่านี้แล สงฆ์ คณะหรือบุคคลไม่
พึงแบ่ง แม้แบ่งแล้วก็ไม่เป็นอันแบ่ง รูปใดแบ่ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย”

นวกัมมทานกถา
ว่าด้วยวิธีการที่ภิกษุให้นวกรรม
เรื่องภิกษุชาวเมืองอาฬวีให้นวกรรม
[๓๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กีฏาคิรีชนบทตามพระอัธยาศัย
แล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางเมืองอาฬวี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงเมืองอาฬวี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ ในเมืองอาฬวีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมอย่างนี้ คือ ให้นวกรรม๑
ด้วยอาการเพียงวางก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงติดตั้งกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง
ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม
๒๐ ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหาร
ที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุชาวเมืองอาฬวีจึงมอบนวกรรมให้อย่างนี้ คือ ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวาง
ก้อนดินบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ติดตั้งประตูบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยูให้บ้าง ให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงติดกรอบเช็ดหน้าบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาวบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงทาสีดำบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลืองบ้าง ให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกมัดหลังคาบ้าง ให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงติดไม้หลบหลังคาบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงปฏิสังขรณ์
เสนาสนะที่ทรุดโทรมบ้าง ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถูบ้าง ให้นวกรรม ๒๐
ปีบ้าง ให้นวกรรม ๓๐ ปีบ้าง ให้นวกรรมตลอดชีวิตบ้าง ให้นวกรรมวิหารที่สร้าง
เสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟบ้าง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ ให้นวกรรม หมายถึงให้นวกรรมสมมติ (วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๓/๓๒๑) คืออนุมัติการก่อสร้าง หรืออนุญาต
ให้ก่อสร้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน ... ไม่พึงให้
นวกรรมด้วยอาการเพียงฉาบทาฝา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดตั้งประตู
... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดสายยู ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติด
ตั้งกรอบเช็ดหน้า ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีขาว ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วย
อาการเพียงทาสีดำ ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงทาสีเหลือง ... ไม่พึงให้นวกรรม
ด้วยอาการเพียงมุงหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงผูกหลังคา ... ไม่
พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงติดให้หลบหลังคา ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียง
ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ... ไม่พึงให้นวกรรมด้วยอาการเพียงขัดถู ... ไม่พึงให้
นวกรรม ๒๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรม ๓๐ ปี ... ไม่พึงให้นวกรรมตลอดชีวิต ... ไม่พึง
ให้นวกรรมวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว ชั่วเวลาแห่งควันไฟ รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง หรือที่สร้าง
ค้างไว้ ให้ตรวจดูวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม ๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนมุงแถบ
เดียวแล้ว ให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงานในวิหารใหญ่หรือปราสาทแล้วให้
นวกรรม ๑๐-๑๒ ปี”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง
รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมใน ๒ แห่งแก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้นวกรรมวิหาร ๒ แห่ง
แก่ภิกษุรูปเดียว รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วมอบให้
ผู้อื่น รูปใดรับนวกรรมแล้วมอบให้ผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะของสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
เสนาสนะของสงฆ์ รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือ
เอาที่นอนอย่างดีแห่งหนึ่ง”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอก
สีมา รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วกีดกันอยู่ตลอดเวลา ภิกษุทั้งหลายจึง
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงรับนวกรรมแล้วกีดกัน
ตลอด เวลา รูปใดกีดกัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กันไว้ชั่ว
๓ เดือน ฤดูฝน แต่ไม่ให้กีดกันไว้ตลอดฤดูกาล”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับนวกรรมแล้วหลีกไปบ้าง สึกบ้าง มรณภาพบ้าง
ปฏิญญาเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติม-
วัตถุบ้าง๑ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริตบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้

เชิงอรรถ :
๑ อันติมวัตถุ หมายถึง อาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
กระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ยอมสละทิฏฐิบาปบ้าง ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์บ้าง
ปฏิญญาเป็นคนลักเพศบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์บ้าง ปฏิญญาเป็นสัตว์
ดิรัจฉานบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดาบ้าง ปฏิญญาเป็น
ผู้ฆ่าพระอรหันต์บ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณีบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์
ให้แตกกันบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิตบ้าง ปฏิญญาเป็น
อุภโตพยัญชนกบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว
หลีกไป สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึก ฯลฯ มรณภาพ
ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ
ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่าย
เพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญา
เป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็น
ผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญา
เป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญา
เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงให้นวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่า
ได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ
สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๔๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อยังทำไม่เสร็จ
ฯลฯ มรณภาพ ฯลฯ ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์พึงมอบนวกรรมให้ภิกษุอื่น
ด้วยสั่งว่า “นวกรรมของสงฆ์อย่าได้เสียหาย”
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วหลีกไป เมื่อทำเสร็จแล้ว
นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้วสึกไปเมื่อทำเสร็จแล้ว ฯลฯ
มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ผู้บอกลาสิกขา ต้องอันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นผู้วิกลจริต ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะ
เวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ปฏิญญาเป็น
ผู้ถูกลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป นวกรรมนั้นตกเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุรับนวกรรมแล้ว พอทำเสร็จก็ปฏิญญา
เป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็น
สัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นคน
ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก
สงฆ์เป็นเจ้าของ

อัญญตรปริโภคปฏิกเขปาทิ
ว่าด้วยการห้ามใช้เสนาสนะผิดที่เป็นต้น
[๓๒๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้นำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำในวิหารของ
อุบาสกคนหนึ่งไปใช้สอยที่อื่น อุบาสกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ท่านพระคุณเจ้าทั้งหลาย จึงนำเครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่งไปใช้สอยในที่แห่งหนึ่งเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง ไม่พึงนำ
ไปใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดนำไปใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”๑

เรื่องทรงอนุญาตให้ยืมเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยำเกรงที่จะนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยไปโรงอุโบสถบ้าง
ที่ประชุมบ้าง จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวและจีวรจึงเปื้อนฝุ่น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว”๑

เรื่องทรงอนุญาตให้เก็บรักษาเสนาสนะ
สมัยนั้น วิหารหลังใหญ่ของสงฆ์เกิดชำรุด ภิกษุทั้งหลายยำเกรงอยู่จึงไม่นำ
เสนาสนะออกไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นำไปเก็บรักษาไว้”

เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๑)
สมัยนั้น ผ้ากัมพลราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”๒

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๕๗/๑๓๐
๒ ผาติกรรม หมายถึงการทำให้เพิ่มพูนโดยนำไปแลกเปลี่ยนกับเตียงตั่งเป็นต้นที่มีราคาเท่ากันหรือมีราคา
มากกว่า ไม่ให้ต่ำว่าราคาของเดิม (วิ.อ. ๓/๓๒๔/๓๕๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๓๒๔/๓๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยน(เรื่องที่ ๒)
สมัยนั้น ผ้าราคาแพงซึ่งเป็นบริขารประจำเสนาสนะเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แลกเปลี่ยนเพื่อประโยชน์
แก่ผาติกรรม”

เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดเท้า
สมัยนั้น หนังหมีเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้
มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น เครื่องเช็ดเท้าทรงกลมเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นเครื่องเช็ดเท้า”
สมัยนั้น ผ้าท่อนน้อยเกิดขึ้นแก่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า”

เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปื้อนเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ล้างเท้าไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุเท้าเปียกเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเท้าเปียกไม่พึงเหยียบเสนาสนะ
รูปใดเหยียบ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
สมัยนั้น ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ เสนาสนะเสียหาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องห้ามภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม พื้นผิวเสียหาย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
รูปใดถ่ม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้กระโถน”

เรื่องทรงอนุญาตผ้าพันเท้าเตียงและตั่ง
สมัยนั้น เท้าเตียงและตั่งครูดพื้นที่ทำบริกรรม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพัน”
สมัยนั้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม๑ ความงดงามเสียไป ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงพิงฝาที่ทำบริกรรม รูปใดพิง
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตพนักพิง”

เชิงอรรถ :
๑ ฝาที่ทำบริกรรม หมายถึงฝาสีขาว หรือฝาที่มีลวดลายจิตรกรรม (วิ.อ. ๓/๓๒๔/๓๕๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พนักพิงส่วนล่างครูดพื้น ส่วนบนครูดฝา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้ผ้าพันทั้งข้างล่างและ
ข้างบน”

เรื่องทรงอนุญาตให้ปูผ้านอน
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายล้างเท้าแล้วยำเกรงที่จะนอน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปูผ้านอน”

สังฆภัตตาทิอนุชานนะ
ว่าด้วยทรงอนุญาตสังฆภัตเป็นต้น
[๓๒๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวีตามพระอัธยาศัยแล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงราชคฤห์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น
สมัยนั้น กรุงราชคฤห์เกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนไม่สามารถจะจัดสังฆภัต
แต่ปรารถนาจัดอุทเทสภัต นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆภัต อุทเทสภัต
นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต”

ภัตตุทเทสกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งพระภัตตุเทสก์
[๓๒๖] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์รับภัตตาหารอันประณีตไว้เพื่อตัวเอง
ให้ภัตตาหารเลวแก่ภิกษุทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นพระภัตตุทเทสก์ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ภัตตุทเทศก์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นภัตตุทเทสก์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นภัตตุทเทสก์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นภัตตุทเทสก์แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

วิธีแจกภัต
ครั้งนั้น ภิกษุภัตตุทเทสก์ทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงแจกภัต
อย่างไร” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เขียนชื่อลงในสลากหรือ
แผ่นผ้ารวมกันแล้วแจกภัต”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เสนาสนปัญญาปกาทิสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะเป็นต้น
[๓๒๗] สมัยนั้น สงฆ์ยังไม่มีภิกษุผู้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้
รักษาเรือนคลัง ไม่มีภิกษุผู้รับจีวร ไม่มีภิกษุผู้แจกจีวร ไม่มีภิกษุผู้แจกข้าวต้ม ไม่มี
ภิกษุผู้แจกผลไม้ ไม่มีภิกษุผู้แจกของเคี้ยว ของเคี้ยวที่ยังไม่ได้แจกย่อมเสียหาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้แจกของเคี้ยว คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักของเคี้ยวที่แจกและของเคี้ยวที่ยังไม่ได้แจก

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้ว
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเคี้ยว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเคี้ยว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้แจกของเคี้ยว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
อัปปมัตตกวิสสัชชกสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย
[๓๒๘] สมัยนั้น สงฆ์ได้บริขารเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเรือนคลังเหลือเฟือ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่แจกและของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยังไม่ได้แจก

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็น
ผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ
น้อย ๆ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุ
นั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องของเล็กน้อยที่ควรแจก
ภิกษุผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ พึงให้เข็ม ๑ เล่ม พึงให้มีด พึงให้รองเท้า พึง
ให้ประคดเอว พึงให้สายโยกบาตร พึงให้ผ้ากรองน้ำ พึงให้ที่กรองน้ำ พึงให้ผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
กุสิ๑ พึงให้ผ้าอัฑฒกุสิ๒ พึงให้ผ้ามณฑล๓ พึงให้ผ้าอัฑฒมณฑล๔ พึงให้ผ้าอนุวาต๕
พึงให้ผ้าปริภัณฑ์ ถ้าสงฆ์มีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้งหรือน้ำอ้อยก็ควรให้ลิ้มได้คราวหนึ่ง
ถ้าต้องการอีกก็ควรให้อีก

สาฏิยัคคาหาปกาทิสมมติ
ว่าด้วยการแต่งตั้งภิกษุผู้แจกผ้าเป็นต้น
สมัยนั้น สงฆ์ยังไม่มีภิกษุผู้แจกผ้า ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้แจกบาตร ฯลฯ
ไม่มีภิกษุผู้ใช้คนวัด ฯลฯ ไม่มีภิกษุผู้ใช้สามเณร สามเณรทั้งหลายที่ภิกษุไม่ใช้ ย่อม
ไม่ทำงาน
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุผู้มีคุณสมบัติ
๕ อย่างเป็นผู้ใช้สามเณร คือ
๑. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ ๒. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
๓. ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๔. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
๕. รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุ ครั้นแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้
ใช้สามเณร นี่เป็นญัตติ

เชิงอรรถ :
๑ กุสิ คือ ผ้ายาวที่ตั้งติดขอบจีวรทั้ง ๒ ด้าน คั่นระหว่างขัณฑ์กับขัณฑ์ของจีวร
๒ อัฑฒกุสิ คือ ผ้าสั้นที่แทรกอยู่เป็นตอน ๆ ในระหว่างผ้ายาว ดุจคันนาขวาง
๓ มณฑล คือ ผ้ามีบริเวณกว้างใหญ่ในแต่ละขัณฑ์ของจีวร ๕ ขัณฑ์
๔ อัฑฒมณฑล คือ ผ้าชิ้นส่วนของจีวรที่มีบริเวณเล็ก ๆ
๕ อนุวาต คือ ผ้าขอบจีวร (คำอธิบายศัพท์เหล่านี้ทั้งหมด ดู วิ.อ.๓/๓๔๕/๒๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นผู้ใช้สามเณร ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้ใช้สามเณร สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ตติยภาณวาร จบ
เสนาสนขันธกะที่ ๖ จบ

รวมเรื่องที่มีในเสนาสนขันธกะ
เรื่องที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ทรงบัญญัติเสนาสนะ
พระสาวกของพระองค์อยู่ตามป่าและโคนไม้เป็นต้นนั้น ๆ
ตอนเช้าตรู่ออกมาจากที่อยู่ เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์เห็นแล้ว
ได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหาร
พระคุณเจ้าทั้งหลายจะอยู่หรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตเสนาสนะ ๕ ชนิด คือ
วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ
เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์สร้างวิหารถวาย ๖๐ หลัง
เรื่องประชาชนสร้างวิหาร เรื่องวิหารไม่มีบานประตู
ภิกษุไม่ระวัง งู แมงป่อง ตะขาบจึงเข้าไป
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตบานประตู
กรอบเช็ดหน้า รูครกที่รับเดือยประตู ห่วงข้างบน
ช่องสำหรับชัก เชือกสำหรับชัก สายยู ไม้หัวลิง ลิ่ม
กลอน ลูกดาลโลหะ ลูกดาลไม้ ลูกดาลเขาสัตว์ ลิ่มยนต์
ทรงอนุญาตหลังคาโบกฉาบดินทั้งภายในภายนอก
หน้าต่างมีลวดลายทำเป็นกะบัง(ชุกชี) หน้าต่างมีตาข่าย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๕๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
หน้าต่างมีลูกกรง ผ้าผืนเล็กสำหรับกั้นหน้าต่าง
ม่านหน้าต่าง
ทรงอนุญาตหญ้ารองนั่ง ตั่งไม้ เตียงสาน
เตียงชนิดมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้าที่ทิ้งไว้ในป่าช้า
ตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในเท้า เตียงมีแม่แคร่ติดกับเท้า
ตั่งมีแม่แคร่ติดกับเท้า เตียงมีเท้าดังก้ามปู ตั่งมีเท้าดังก้ามปู
เตียงมีเท้าจดแม่แคร่ ตั่งมีเท้าจดแม่แคร่ ม้านั่งสี่เหลี่ยม
ม้าสี่เหลี่ยมสูง ม้านั่งสี่เหลี่ยมสูงมีพนัก ๓ ด้าน
ม้านั่งสี่เหลี่ยมมีพนัก ๓ ด้านชนิดสูง
ทรงอนุญาตตั่งหวาย ตั่งหุ้มด้วยผ้า ตั่งขาทราย
ตั่งก้านมะขามป้อม แผ่นกระดาน เก้าอี้ ตั่งฟาง
เรื่องทรงห้ามนอนบนเตียงสูง เรื่องภิกษุนอนเตียงต่ำ
ถูกงูกัดจึงทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไม้หนุนเท้าเตียงสูง ๘ นิ้ว
เป็นอย่างมาก
ทรงอนุญาตด้ายถักเตียง ทรงอนุญาตให้เจาะตัวแม่แคร่แล้ว
ถักเป็นตาหมากรุก ทรงอนุญาตให้ทำท่อนผ้าผืนเล็ก ๆ
เป็นผ้าปูพื้น ทรงอนุญาตให้สางนุ่นแล้วทำเป็นหมอน
ทรงห้ามใช้หมอนยาวขนาดกึ่งกาย(หมอนข้าง)
เรื่องมหรสพบนยอดเขา ทรงอนุญาตฟูก ๕ ชนิด
ทรงอนุญาตผ้าสำหรับใช้สอยประจำเสนาสนะหุ้มฟูก
ทรงอนุญาตเตียงหุ้มฟูกและตั่งหุ้มฟูก
ฟูกย้อยลงข้างล่าง โจรลักเอาผ้าหุ้มฟูกไป
ทรงอนุญาตให้เขียนแต้มไว้ ให้ทำตำหนิด้วยรอยนิ้วมือไว้
เรื่องที่อยู่พวกเดียรถีย์มีสีขาวแต่พื้นสีดำ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตสีขาว สีดำ สีเหลืองในวิหาร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ทรงอนุญาตดินปนแกลบ ดินละเอียด ยางไม้
แป้งเปียก ดินปนแกลบ แป้งเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ขี้ผึ้งเหลว แป้งหนาเกินไป ทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าเช็ดออก
พื้นหยาบ สีดำไม่เกาะติด ทรงอนุญาตให้ใส่ดินปนแกลบ
ทำให้สีดำเกาะติด ทรงอนุญาตยางไม้ น้ำฝาด
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรม
เรื่องวิหารมีพื้นที่ต่ำ เรื่องดินที่ถมพังทะลาย
เรื่องภิกษุขึ้นลงลำบาก เรื่องภิกษุขึ้นลงพลัดตกลงมา
เรื่องวิหารมีพื้นเป็นลานโล่ง
ทรงอนุญาตกั้นฝาครึ่งหนึ่ง ทรงอนุญาตห้องภายใน ๓ ชนิด
ทรงอนุญาตให้กั้นห้องไว้ด้านหนึ่งในวิหารเล็ก
เรื่องเชิงฝาวิหารชำรุด ฝาผนังวิหารถูกฝนสาด
เรื่องงูตกจากหลังคามุ่งหญ้าลงมาที่คอของภิกษุ
ท่านตกใจร้องเสียงลั่น ทรงอนุญาตไม้เดือยติดฝา
ราวจีวร ระเบียงกับแผงเลื่อนฝาค้ำ
เรื่องทรงอนุญาตราวสำหรับยึดขึ้นหอฉัน
ผงหญ้าที่มุงหอฉันดังกล่าวในหนหลังตกเกลื่อน
ภิกษุปูจีวรบนพื้นดินกลางแจ้ง
น้ำดื่มถูกแดดจึงร้อน ทรงอนุญาตศาลาน้ำดื่ม
ไม่มีภาชนะสำหรับตักน้ำ
เรื่องวิหารไม่มีรั้วล้อม ซุ้มประตูไม่มี บริเวณเป็นโคลนตม
ทรงอนุญาตศาลาไฟ เรื่องอารามไม่มีรั้วล้อม
ซุ้มประตูดังกล่าวในหนหลังไม่มี ทรงอนุญาตปูนขาว
เรื่องอนาถบิณฑิกคหบดีมีศรัทธาไปป่าสีตวัน เห็นธรรมแล้ว
กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุสงฆ์
ไปจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ระหว่างทางท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้ชักชวนประชาชนสร้างอาราม
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตนวกรรมในกรุงเวสาลี
เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้ารีบไปจองเสนาสนะ
เรื่องใครควรได้ภัตอันเลิศ ทรงแสดงติตติริยพรหมจรรย์
ทรงแสดงบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก
เรื่องพวกอันเตวาสิกของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จับจองเสนาสนะ
เรื่องประชาชนตกแต่งที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ในละแวกบ้าน
ตกแต่งเตียงตั่งยัดนุ่น
พระผู้มีพระภาคเสด็จกรุงสาวัตถี
อนาถบิณฑิกคหบดีถวายอาราม
เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในโรงอาหาร
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์บังคับภิกษุเป็นไข้ให้ย้ายที่
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยึดเอาที่นอนดี ๆ
กีดกันอาสนะไว้โดยอ้างเลิศ
พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหารอยู่จำพรรษาในที่นั้น
ภิกษุปรึกษากันว่าใครจะพึงจัดแจงให้ภิกษุถือเสนาสนะ
ภิกษุเจ้าหน้าที่จัดแจงให้ถือเสนาสนะปรึกษากันว่า
ควรให้ถือเสนาสนะอย่างไร
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แจกตามจำนวนที่นอน
ตามจำนวนวิหาร ตามจำนวนบริเวณ
ทรงอนุญาตให้แจกส่วนเพิ่มอีก เมื่อไม่ปรารถนาก็อย่าให้
พวกภิกษุให้ภิกษุอยู่นอกสีมาถือเสนาสนะ
พวกภิกษุหวงเสนาสนะไว้ตลอดเวลา
ทรงแสดงการให้ถือเสนาสนะ ๓ อย่าง
ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจองเสนาสนะ
พระผู้มีพระภาคทรงพรรณนาคุณแห่งพระวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
พวกภิกษุยืนเรียนพระวินัย ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะ
เสมอกันเรียนพระวินัย ภิกษุหลายรูปนั่งบนอาสนะระดับเดียวกัน
ทำให้เตียงหัก ทรงอนุญาตให้นั่งได้เตียงละ ๓ รูป ๒ รูป
ทรงอนุญาตให้นั่งบนอาสนะยาวร่วมกับผู้มีอาสนะต่างระดับ
ทรงอนุญาตให้ใช้สอยปราสาทมีระเบียง
สมเด็จพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศลทิวงคต
เครื่องกัปปิยภัณฑ์เป็นจำนวนมากเกิดขึ้นแก่สงฆ์
ภิกษุจัดแจงเสนาสนะสงฆ์อยู่ไม่ไกลกรุงราชคฤห์
พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะอยู่ที่กีฏาคิรีชนบท
แบ่งเสนาสนะสงฆ์
ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ให้นวกรรมด้วยอาการเพียงวางก้อนดิน
ฉาบทาฝา ติดตั้งบานประตู ติดสายยู ติดตั้งกรอบเช็ดหน้า
ทาสีขาว ทาสีดำ ทาสีเหลือง มุงหลังคา ผูกมัดหลังคา
ติดไม้หลบหลังคา ปฏิสังขรณ์สิ่งชำรุดทรุดโทรม ขัดถู
ให้นวกรรม ๒๐-๓๐ ปี ให้ในวิหารที่สร้างเสร็จแล้ว
ชั่วเวลาควันไฟ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุให้นวกรรมวิหารที่ยังไม่ได้สร้าง
ที่สร้างค้างไว้ ให้ตรวจดูงานในวิหารเล็กแล้วให้นวกรรม
๕-๖ ปี ให้ตรวจดูงานในเรือนที่มุงแถบเดียว
แล้วให้นวกรรม ๗-๘ ปี ให้ตรวจดูงาน
ในวิหารหรือปราสาทใหญ่ แล้วให้นวกรรม ๑๐ ปี ๑๒ ปี
ภิกษุให้นวกรรมวิหารทั้งหลัง ภิกษุให้นวกรรม ๒ แห่ง
แก่ภิกษุรูปเดียว ภิกษุรับนวกรรมแล้วมอบให้ภิกษุอื่น
ภิกษุรับนวกรรมแล้วกีดกันเสนาสนะสงฆ์ไว้
ภิกษุให้นวกรรมแก่ภิกษุผู้อยู่นอกสีมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหวงไว้ตลอดเวลา
ภิกษุรับเอานวกรรมแล้วหลีกไป สึก มรณภาพ
ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกคืนสิกขา
ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต
ปฏิญญาเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ
ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่ามารดา
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก พึงมอบนวกรรมแก่ภิกษุอื่นด้วยสั่งว่า
ท่านอย่าให้ของสงฆ์เสียหาย เมื่อยังไม่เสร็จควรมอบให้ภิกษุอื่น
เมื่อทำเสร็จแล้วหลีกไป นวกรรมเป็นของภิกษุนั้นเอง
ภิกษุสึก มรณภาพ ปฏิญญาเป็นสามเณร ลาสิกขา
เป็นปาราชิก สงฆ์เป็นเจ้าของ ภิกษุวิกลจริต
มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายเพราะเวทนา
ถูกสงฆ์อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
นวกรรมนั้นเป็นของภิกษุนั้นเอง ภิกษุปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์
เป็นคนลักเพศ เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน
ปฏิญญาเป็นคนฆ่าบิดามารดา ปฏิญญาเป็นคนฆ่าพระอรหันต์
ปฏิญญาเป็นคนประทุษร้ายภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
ปฏิญญาเป็นคนทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
เป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของ
เรื่องภิกษุนำเสนาสนะเครื่องใช้สอยประจำวิหารไปใช้ที่อื่น
พวกภิกษุยำเกรงที่จะนำเสนาสนะไปใช้ในโรงอุโบสถ
มหาวิหารของสงฆ์ชำรุด ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้ากัมพล
เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้แลกเปลี่ยนผ้าราคาแพง
เพื่อประโยชน์แก่ผาติกรรม ทรงอนุญาตให้ทำหนังหมี
เป็นเครื่องเช็ดเท้า ทรงอนุญาตเครื่องเช็ดเท้าทรงกลม
ทรงอนุญาตให้ทำผ้าท่อนน้อยเป็นผ้าเช็ดเท้า
ภิกษุไม่ล้างเท้าเหยียบเสนาสนะ ภิกษุเท้าเปียก
เหยียบเสนาสนะ ภิกษุสวมรองเท้าเหยียบเสนาสนะ
ภิกษุถ่มน้ำลายบนพื้นที่ทำบริกรรม
เท้าเตียงและเท้าตั่งครูดพื้น ภิกษุพิงฝาที่ทำบริกรรม
พนักพิงครูดพื้น
ภิกษุล้างเท้าแล้วยำเกรงที่จะนอน
เรื่องประชาชนไม่สามารถจะจัดสังฆภัต
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ให้ภัตตาหารเลวแก่ภิกษุทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระภัตตุทเทสก์
ภิกษุภัตตุทเทสก์ปรึกษากันว่า จะแจกภัตตาหารอย่างไร
ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุเป็นเสนาสนปัญญาปกะ
ภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุผู้รับจีวร
ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้แจกข้าวต้ม
ภิกษุผู้แจกผลไม้ ภิกษุผู้แจกของเคี้ยว
ภิกษุผู้แจกของเล็ก ๆ น้อย ๆ ภิกษุผู้แจกผ้า
ภิกษุผู้แจกบาตร ภิกษุผู้ใช้คนวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๖. เสนาสน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในเสนาขันธกะ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงครอบงำสรรพธรรม
ทรงรู้แจ้งโลก มีพระหทัยเกื้อกูล เป็นผู้นำยอดเยี่ยม
ทรงอนุญาตเสนาสนะไว้เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข
เพื่อเพ่งพินิจ และเพื่อเห็นแจ้ง ดังนี้แล
เสนาสนขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๗. สังฆเภทขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
ฉสักยปัพพัชชากถา
ว่าด้วยการบรรพชาของเจ้าศากยะ ๖ องค์
[๓๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมของพวกมัลล-
กษัตริย์ ครั้งนั้น พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงออกผนวชตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรง
ผนวชแล้ว
สมัยนั้น เจ้ามหานามศากยะและเจ้าอนุรุทธศากยะทั้งสองเป็นพี่น้องกัน
เจ้าอนุรุทธศากยะเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลัง คือ ปราสาทสำหรับ
อยู่ในฤดูหนาว ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่ในฤดูร้อน ๑ หลัง ปราสาทสำหรับอยู่
ในฤดูฝน ๑ หลัง เจ้าอนุรุทธศากยะนั้นได้รับการบำรุงบำเรอด้วยดนตรีที่มีเหล่าสตรี
ล้วนขับกล่อมตลอด ๔ เดือน ในปราสาทฤดูฝน ไม่ลงมาที่ปราสาทชั้นล่างเลย
ต่อมา เจ้ามหานามศากยะได้ทรงดำริดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อ
เสียงต่างออกบวชตามเสด็จพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่
มีใครออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ถ้ากระไร เราหรืออนุรุทธะควรบวช”
ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปหาเจ้าอนุรุทธศายกะถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้ว
ได้ตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้ว่า “เวลานี้พวกศากยกุมารที่มีชื่อเสียงต่างออกบวช
ตามพระผู้มีพระภาคผู้ทรงผนวชแล้ว แต่ตระกูลของเรายังไม่มีใครออกจากเรือน บวช
เป็นบรรพชิตเลย น้องจงบวชหรือว่าพี่จะบวช”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ ไม่สามารถออกบวชได้
เจ้าพี่จงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เจ้ามหานามศากยะตรัสว่า “ดีแล้วน้องอนุรุทธะ พี่จะสั่งสอนวิธีการครองเรือน
แก่เธอเพื่อจะได้ครองเรือนต่อไป อันดับแรก ผู้ครองเรือนต้องให้ไถนา ครั้นแล้วให้
หว่านข้าว ครั้นแล้วให้ไขน้ำเข้า ครั้นแล้วให้ระบายน้ำออก ครั้นแล้วให้ถอนหญ้า ครั้น
แล้วให้เกี่ยวข้าว ครั้นแล้วให้ขนข้าว ครั้นแล้วให้ตั้งลอม ครั้นแล้วให้นวด ครั้นแล้ว
ให้สางฟางออก ครั้นแล้วฝัดข้าวลีบออก ครั้นแล้วฝัดละอองออก ครั้นแล้วให้ขนเก็บ
ในฉาง ครั้นพอถึงฤดูฝนก็ต้องทำอย่างนี้ต่อเรื่อยไป”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลถามว่า “การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของการทำงานไม่ปรากฏ
การงานจะสิ้นไปเมื่อไร ที่สุดของการงานจักปรากฏเมื่อไร เมื่อไรเล่าที่พวกเราจักว่าง
จากการงาน เพียบพร้อมสมบูรณ์ด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่”
เจ้ามหานามศากยะตรัสตอบว่า “น้องอนุรุทธะ การงานไม่มีที่จบสิ้น ที่สุดของ
การงานไม่ปรากฏ ในเมื่อการงานยังไม่จบสิ้น มารดาบิดา ปู่ย่า ตายายก็พากันตาย
จากไป”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ถ้าเช่นนั้น เจ้าพี่จงเรียนรู้ถึงวิธีครองเรือนจะดีกว่า
หม่อมฉันจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
จากนั้น เจ้าอนุรุทธศากยะเข้าไปเฝ้าพระมารดาถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้
กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อมฉันอยากจะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”
เมื่อเจ้าอนุรุทธศากยะกราบทูลอย่างนี้ พระมารดาตรัสตอบเจ้าอนุรุทธศากยะ
ดังนี้ว่า “ลูกอนุรุทธะ พวกเธอเป็นลูก ๒ คน เป็นที่รักที่ชอบใจของแม่เหลือเกิน
ถึงพวกเธอจะตายไป แม่ก็ไม่ปรารถนาจะจาก แล้วเหตุไฉนแม่จะยอมให้พวกเธอผู้
ยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนไปบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ เจ้าอนุรุทธศากยะก็กราบทูลพระมารดาดังนี้ว่า “เสด็จแม่ หม่อม
ฉันอยากออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เสด็จแม่โปรดอนุญาตให้หม่อมฉันออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องพระเจ้าภัททิยศากยะ
สมัยนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ พระองค์ทรง
เป็นพระสหายของเจ้าอนุรุทธศากยะ
ครั้งนั้น พระมารดาของเจ้าอนุรุทธศากยะทรงดำริว่า “พระเจ้าภัททิยศากยะนี้
ครองราชสมบัติของชาวศากยวงศ์ ทรงเป็นพระสหายของลูกอนุรุทธะ พระองค์จะไม่
สามารถเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตแน่” จึงตรัสกับเจ้าอนุรุทธศากยะดังนี้
ว่า “ลุกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย
ลูกก็จงบวชเถิด”
ต่อมา เจ้าอนุรุทธศากยะจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยศากยะถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ทูลพระเจ้าภัททิยศากยะดังนี้ว่า “เพื่อนรัก การบวชของเราเกี่ยวเนื่องกับ
ท่าน”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา
หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านจงบวชตามสบายเถิด”๑
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยกัน”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วย
ไม่ได้ เพื่อนบวชคนเดียวเถิด เรายินดีช่วยเหลือเรื่องที่อาจช่วยได้”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “พระมารดาของเรารับสั่งว่า ‘ลูกอนุรุทธะ ถ้าพระเจ้า
ภัททิยศากยะจะเสด็จออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิตด้วย ลูกก็จงบวชเถิด’ ก็เพื่อน
ได้กล่าววาจานี้ว่า ‘การบวชของท่านจะเกี่ยวเนื่องกับเรา หรือไม่เกี่ยวเนื่องกับเรา ก็
ช่างเถิด เรากับท่าน ท่านไปบวชตามสบายเถิด’ มาเถิด เพื่อนรัก เราทั้ง ๒ จะ
ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”

เชิงอรรถ :
๑ ด้วยความรักเพื่อน พระเจ้าภัททิยศากยะต้องการจะรับสั่งว่า “เราจะบวชกับท่าน” แต่ยังทรงห่วงราชสมบัติ
จึงรับสั่งได้เพียงว่า “อยํ ตยา : เรากับท่าน” แล้วรับสั่งไม่ออก (วิ.อ. ๓/๓๓๐/๓๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ประชาชนพูดจริงทำจริง พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสกับอนุรุทธศากยะ
ดังนี้ว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรออยู่สัก ๗ ปีเถิด พอพ้น ๗ ปี เราทั้ง ๒ จะออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ ปี นานเกินไป เราไม่สามารถจะรอถึง ๗ ปีได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก โปรดรอสัก ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี
... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี ... เมื่อล่วง ๑ ปี เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๑ ปี ก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๑ ปีได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ เดือน พอพ้น ๗
เดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “๗ เดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึง ๗ เดือน
ได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๖ เดือน ... ๕
เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... ครึ่งเดือน พอพ้น
ครึ่งเดือน เราทั้ง ๒ จะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยกัน”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “ครึ่งเดือนก็ยังนานเกินไป เราไม่สามารถรอถึงครึ่ง
เดือนได้”
พระเจ้าภัททิยศากยะตรัสว่า “เพื่อนรัก ท่านโปรดรอสัก ๗ วันเถิด พอให้เรา
ได้มอบราชสมบัติแก่พวกลูก ๆ และญาติพี่น้อง”
เจ้าอนุรุทธศากยะทูลว่า “เพื่อนรัก ๗ วันไม่นานเกินไป เราจะรอ”

เรื่องเจ้าศากยะทรงผนวช
[๓๓๑] ครั้งนั้น พระเจ้าภัททิยศากยะ เจ้าอนุรุทธะ เจ้าอานนท์ เจ้าภคุ เจ้า
กิมพิละและเจ้าเทวทัต กับอุบาลีซึ่งเป็นช่างกัลบก รวมเป็น ๗ คน เสด็จออกพร้อม
ด้วยเสนา ๔ เหล่า เหมือนเสด็จประพาสราชอุทยานพร้อมเสนา ๔ เหล่าในครั้ง
ก่อน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ทั้ง ๖ พระองค์นั้นเสด็จไปห่างไกลแล้วรับสั่งให้เสนากลับ เข้าพรมแดนของ
เจ้าเมืองอื่น ทรงเปลื้องเครื่องประดับเอาผ้าห่อแล้ว ได้ตรัสกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้
ว่า “อุบาลี เชิญท่านกลับเถิด ทรัพย์เหล่านี้พอเลี้ยงชีพได้”
ขณะเมื่ออุบาลีช่างกัลบกจะกลับได้มีความคิดดังนี้ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลาย
โหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้าพระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’
ก็พระศากยะกุมารเหล่านี้ยังออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวช
บ้างไม่ได้” อุบาลีช่างกัลบกนั้นจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้ว
กล่าวว่า “ผู้พบเห็นจงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด” แล้วเข้าไปเฝ้าศากยกุมาร เหล่านั้น
ถึงที่ประทับ ศากยกุมารเหล่านั้นได้ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีกำลังเดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้รับสั่งกับอุบาลีช่างกัลบกดังนี้ว่า “นี่ อุบาลี ท่านกลับมาทำไม”
อุบาลีช่างกัลบกจึงกราบทูลว่า “พระลูกเจ้าทั้งหลาย เมื่อหม่อมฉันกำลังกลับ
ได้มีความคิดดังนี้ ว่า “พวกเจ้าศากยะทั้งหลายโหดร้ายนัก จะพึงให้ฆ่าเราด้วยเข้า
พระทัยไปว่า ‘อุบาลีนี้ให้พระกุมารทั้งหลายหนีไป’ ก็พระศากยกุมารเหล่านี้ยังออก
จากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตได้ ไฉนเราจะบวชบ้างไม่ได’ ข้าแต่พระลูกเจ้า
หม่อมฉันนั้นแก้ห่อเครื่องประดับแล้วแขวนสิ่งของไว้บนต้นไม้แล้วกล่าวว่า ‘ผู้พบเห็น
จงนำสิ่งของที่เราให้แล้วไปเถิด’ กลับจากที่นั้นแล้ว”
ศากยกุมารทั้งหลายตรัสว่า “ท่านทำดีแล้วที่ไม่ได้กลับไป เจ้าศากยะทั้งหลาย
ผู้โหดร้ายจะพึงให้ฆ่าท่าน ด้วยเข้าใจว่า ‘อุบาลีนี้ให้กุมารทั้งหลายหนีไป”
ต่อมา เหล่าศากยกุมารทั้งหลายพาอุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร
เจ้าศากยะทั้งหลายผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีความถือตัว อุบาลีผู้นี้เป็นช่าง
กัลบกรับใช้พวกข้าพระ พุทธเจ้ามานาน ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาบวชก่อน พวกข้า
พระพุทธเจ้าจะอภิวาท ลุกต้อนรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรมแก่เขา เมื่อเป็นเช่นนี้
ความถือตัวว่าเป็นศากยะของพวกหม่อมฉันจักบรรเทาไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคจึงโปรดให้อุบาลีผู้เป็นช่างกัลบกบวชก่อน แล้วให้
ศากยกุมารบวชภายหลัง ต่อมา ในระหว่างพรรษานั้นเอง ท่านพระภัททิยะได้บรรลุ
วิชชา ๓ ท่าน พระอนุรุทธะได้บรรลุทิพยจักษุ ท่านพระอานนท์ได้บรรลุโสดาปัตติผล
พระเทวทัตได้ฤทธิ์ชั้นปุถุชน

เรื่องพระภัททิยะเปล่งอุทานว่า “สุขหนอ”๑
[๓๓๒] สมัยนั้น ท่านพระภัททิยะจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปใน
สุญญาคารก็ดี ย่อมเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า “สุขหนอ สุขหนอ” ครั้งนั้น ภิกษุ
หลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วอภิวาทพระผู้มีพระภาค
นั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ท่านพระภัททิยะ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในเรือนว่างก็ดี ก็เปล่ง
อุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ สุขหนอ’ ท่านพระภัททิยะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์
แน่ ๆ หรือคงหวนระลึกถึงสุขในราชสมบัติครั้งก่อน ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่
ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุรูปหนึ่งว่า “ภิกษุ เธอจงไปบอก
ภัททิยะว่าพระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ภิกษุนั้นทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วเข้าไปหาท่านพระภัททิยะถึงที่อยู่ ครั้น
ถึงแล้วได้กล่าวกับท่านพระภัททิยะดังนี้ว่า “พระศาสดารับสั่งหาท่าน”
ท่านพระภัททิยะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสกับท่านพระภัททิยะผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ภัททิยะ ทราบว่า เธอ
ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ก็เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า
“สุขหนอ สุขหนอ’ จริงหรือ”
ท่านพระภัททิยะทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อุ. ๒๕/๒๐/๒๐๖-๒๐๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภัททิยะ เธอเห็นประโยชน์อะไร ไม่ว่าจะไปใน
ป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี จึงเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ
สุขหนอ”
ท่านพระภัททิยะกราบทูลว่า “สมัยเมื่อข้าพระพุทธเจ้าเป็นพระราชา ได้รับการ
อารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในวัง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายนอกวัง
ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดีทั้งภายในเมือง ได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่างดี
ทั้งภายนอกเมือง ได้รับการอารักษาคุ้มครองอย่างดีทั้งในชนบท ได้รับการอารักขา
คุ้มครองอย่างดีทั้งนอกชนบท ข้าพระพุทธเจ้าถึงจะได้รับการอารักขาคุ้มครองอย่าง
ดีเช่นนี้ ก็ยังกลัว ยังหวาดหวั่นอยู่ สะดุ้ง ตกใจ แต่เวลานี้ข้าพระพุทธเจ้าไม่ว่า
จะไปในป่าก็ดี จะไปที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดีเพียงผู้เดียวก็ไม่กลัวหวาดหวั่น
ไม่สะดุ้งตกใจแต่อย่างใดเลย มีความโปร่งเบากายยิ่ง ครองชีวิตด้วยปัจจัยที่ผู้อื่นให้
มีจิตอิสระ ดุจมฤค ข้าพระพุทธเจ้าเห็นประโยชน์อย่างนี้ ไม่ว่าจะไปในป่าก็ดี จะไป
ที่ควงไม้ก็ดี จะไปในสุญญาคารก็ดี ฯลฯ จึงมักจะเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า ‘สุขหนอ
สุขหนอ’ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้กำเริบภายในจิต
และล่วงพ้นความเป็นภพและอภพต่าง ๆ ได้แล้ว
ทวยเทพไม่สามารถมองเห็นผู้นั้น
ผู้ปราศจากภัย มีความสุข ไม่เศร้าโศก

เทวทัตตวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องของพระเทวทัต
[๓๓๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคมตามพระอัธยาศัยแล้ว
เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในกรุงโกสัมพีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระเทวทัตหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นในใจว่า “เรา
จะพึงยังใครหนอให้เลื่อมใส ซึ่งเมื่อเขาเลื่อมใสเราแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก
พึงเกิดขึ้น” ลำดับนั้น พระเทวทัตได้มีความคิดดังนี้ว่า “อชาตสัตตุกุมารนี้ยังเป็น
หนุ่มจะมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ถ้ากระไร เราพึงยังอชาตศัตรูกุมารนี้ให้เลื่อมใส
เมื่อเขาเลื่อมใสแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมากจะเกิดขึ้น”
ลำดับนั้น พระเทวทัตเก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปทางกรุงราชคฤห์
จนถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ครั้งนั้น พระเทวทัตได้แปลงเพศเนรมิตตนเป็นกุมาร
น้อยเอางูพันเอวปรากฏบนพระเพลา(ตัก)ของอชาตศัตรูกุมาร
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารทรงกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกพระทัย พระเทวทัต
จึงได้ถามดังนี้ว่า “กุมาร ท่านกลัวฉันหรือ”
พระกุมารตรัสว่า “ใช่ เรากลัว ท่านเป็นใคร”
พระเทวทัตตอบว่า “ฉันคือพระเทวทัต”
พระกุมารตรัสว่า “ถ้าท่านเป็นพระคุณเจ้าเทวทัตก็กลับเป็นตามเพศเดิมเถิด”
ครั้งนั้น พระเทวทัตเปลี่ยนเพศกุมารน้อย(กลับเป็นภิกษุ) ทรงสังฆาฏิ บาตร
และจีวร ยืนอยู่ข้างหน้าพระกุมาร ลำดับนั้น พระกุมารเลื่อมใสยิ่งนักเพราะอิทธิ
ปาฏิหาริย์นี้ ได้เสด็จไปที่อุปัฏฐากทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้า พร้อมด้วยรถ ๕๐๐
คัน ได้นำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปด้วย
ต่อมา พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความต้อง
การดังนี้ว่า “เราจะปกครองภิกษุสงฆ์” พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์พร้อมกับเกิด
ความคิดเช่นนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องกกุธโกฬิยบุตร๑
สมัยนั้น บุตรเจ้าโกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ
สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้นกายมโนมัย๒ ชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่
เหมือนคามเขตในแคว้นมคธ ๒-๓ หมู่ แต่เขาก็ไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะ
การได้อัตภาพนั้น
ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ครั้นถึง
แล้วไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้วยืน ณ ที่สมควร กกุธเทพบุตรผู้ยืนอยู่ ณ ที่
สมควรได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูก
ลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะ
ปกครองภิกษุสงฆ์’ ท่านผู้เจริญ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึงเสื่อมจากฤทธิ์”
กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กระทำประทักษิณ
แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง
ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้นั่ง
ณ ที่สมควรแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า บุตรของเจ้า
โกฬิยะนามว่ากกุธะเป็นอุปัฏฐากของข้าพระองค์ สิ้นชีพิตักษัยได้ไม่นาน เข้าถึงชั้น
กายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพใหญ่เหมือนคามเขตของแคว้นมคธ ๒-๓
หมู่ แต่เขาไม่ทำตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนเพราะการได้อัตภาพนั้น ต่อมา กกุธเทพบุตร
เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ไหว้แล้วยืน ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับข้าพระองค์ดังนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตถูกลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ เกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘เราจะปกครองภิกษุสงฆ์’ พร้อมกับจิตตุปบาท พระเทวทัตจึง
เสื่อมจากฤทธิ์’ พระพุทธเจ้าข้า กกุธเทพบุตรครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้ข้าพระองค์
กระทำประทักษิณ แล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง”

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๐๐/๑๗๐-๑๗๑
๒ กายมโนมัย คือ กายแห่งพรหมที่บังเกิดด้วยฌาน (สารตฺถ. ฏีกา ๓/๓๓๓/๔๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร
แล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริงตามนั้น
ไม่เป็นอย่างอื่น”
ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า “ข้าพระองค์กำหนดรู้จิตของกกุธเทพบุตร
ด้วยจิตแล้วเชื่อว่า กกุธเทพบุตรกล่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องนั้นทั้งหมดย่อมเป็นจริง
ตามนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น โมคคัลลานะ
เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้โมฆบุรุษนั้นจะเปิดเผยตนด้วยตนเองออกมา”

ปัญจสัตถุกถา
ว่าด้วยพระศาสดา ๕ จำพวก
[๓๓๔] โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวก
รู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา
ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง
แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน
พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น
ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวัง
การรักษาโดยศีลจากพวกสาวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็น
ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง”
พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่
ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่
พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
ศาสดานั้นยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วย
กรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยอาชีพ ศาสดาเช่นนี้ก็
หวังการรักษาโดยอาชีพจากพวกสาวก
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มี
ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์
ธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยธรรมเทศนา ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยธรรมเทศนาจากพวกสาวก
๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้
มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์
เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยเวยยากรณะ ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยเวยยากรณะจากพวกสาวก
๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” สาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีญาณ-
ทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์
ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก
เราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเราจะ
กล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมา ด้วยกรรมนั้น”
โมคคัลลานะ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยญาณทัสสนะ และศาสดา
เช่นนี้ ก็หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะจากพวกสาวก
โมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
โมคคัลลานะ เรามีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของ
เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็
ไม่หวังการรักษาโดยศีลจากพวกสาวก
โมคคัลลานะ เรามีอาชีพบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ฯลฯ เรา
มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก
สาวกไม่รักษาเราไว้โดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะ
จาก พวกสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องลาภสักการะย่อมฆ่าคนชั่ว
[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพีตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จ
จาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงราชคฤห์ ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระ
เวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต ในกรุงราชคฤห์นั้น
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ สมควร ภิกษุเหล่านั้นผู้นั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชาตศัตรูกุมารเสด็จ
โดยราชรถ ๕๐๐ คัน ไปบำรุงพระเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และรับสั่งให้นำ
ภัตตาหารที่สมควรไปพระราชทาน ๕๐๐ สำรับ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ายินดีลาภสักการะ
และความสรรเสริญของเทวทัตเลย แม้อชาตศัตรูกุมารจักเสด็จโดยราชรถ ๕๐๐ คัน
ไปบำรุงเทวทัต ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า และจักรับสั่งให้นำภัตตาหารที่สมควรไปพระ
ราชทาน ๕๐๐ สำรับเพียงใด เทวทัตก็พึงหวังความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย
เพียงนั้น หวังความเจริญไม่ได้๑
ภิกษุทั้งหลาย อชาตศัตรูกุมารจะไปบำรุงพระเทวทัตในเวลาเย็นเวลาเช้า พร้อม
ด้วยราชรถ ๕๐๐ คัน จะนำภัตตาหาร ๕๐๐ สำรับไปได้สักกี่วัน ภิกษุทั้งหลาย
ความเสื่อมจากกุศลธรรมเป็นอันเทวทัตหวังได้ ความเจริญอย่าได้หวัง ลาภสักการะ
และสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตก็เพื่อฆ่าตนเอง ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิด
ขึ้นแก่เทวทัต เพื่อความเสื่อม เหมือนคนเอาดีหมีทาที่จมูกลูกสุนัขดุ ลูกสุนัขก็จะเพิ่ม
ความดุยิ่งขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นกล้วย
ออกปลีเพื่อฆ่าตนเอง ออกปลีเพื่อความเสื่อม๒

เชิงอรรถ :
๑ สํ.นิ. ๑๖/๑๘๕/๒๓๐-๒๓๑
๒ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๗๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนต้นไผ่ตกขุย
เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนไม้อ้อตกขุย
เพื่อฆ่าตนเอง ตกขุยเพื่อความเสื่อม
ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและการสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง
ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นแก่เทวทัตเพื่อความเสื่อม เหมือนแม่ม้า
อัสดรตั้งครรภ์เพื่อฆ่าตนเอง ตั้งครรภ์เพื่อความเสื่อม
พระผู้มีพระภาคครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาประพันธ์ว่า
“ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่
ดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่ม้า ฉันใด
สักการะย่อมฆ่าคนชั่ว ฉันนั้น”๑
ปฐมภาณวารที่ ๑ จบ

๒. ทุติยภาณวาร
ปกาสนียกัมมะ
ว่าด้วยสงฆ์ทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต
[๓๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดง
ธรรมแก่บริษัทซึ่งมีพระราชาประทับอยู่ด้วย ครั้งนั้น พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ห่ม
อุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วได้กราบทูลพระ

เชิงอรรถ :
๑ สํ.ส.(แปล) ๑๕/๑๘๓/๑๘๕, สํ.นิ.(แปล) ๑๖/๑๘๔/๒๘๕ และดูเทียบ อง.ฺจตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๘/๑๑๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ เป็นผู้
เฒ่าสูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดยลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดปล่อยวาง ประกอบตนอยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน โปรด
มอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลยเทวทัต เธออย่าชอบใจที่จะปกครองภิกษุสงฆ์
เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
เวลานี้พระผู้มีพระภาคทรงพระชราภาพ เป็นผู้เฒ่าสูงอายุ ล่วงกาลผ่านวัยไปโดย
ลำดับแล้ว พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดปล่อยวาง ประกอบตน
อยู่ในธรรมสำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน โปรดมอบภิกษุสงฆ์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเถิด
ข้าพระพุทธเจ้าจะปกครองภิกษุสงฆ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เทวทัต แม้แต่สารีบุตรและโมคคัลลานะเรายังไม่มอบ
ภิกษุสงฆ์ให้ เราจะมอบภิกษุสงฆ์ให้เธอซึ่งเป็นคนต่ำช้า บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลาย
ได้อย่างไรเล่า”
ขณะนั้น พระเทวทัตคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรุกรานเราท่ามกลางบริษัทที่มี
พระราชาประทับอยู่ด้วย ด้วยพระดำรัสว่าเป็นผู้บริโภคปัจจัยดุจกลืนน้ำลาย ทรง
ยกย่องแต่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ” จึงโกรธ ไม่พอใจ ถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาคแล้วทำประทักษิณจากไป นี้เป็นการผูกอาฆาตครั้งแรกในพระผู้มีพระภาค
ของพระเทวทัต

ปกาสนียกรรม
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัตโดยประกาศว่า ‘เมื่อก่อน พฤติกรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า
สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต

วิธีทำปกาสนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำปกาสนียกรรมอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๓๓๗] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงทำปกาสนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระ
เทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย
วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมหรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้น
เป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระ
เทวทัต โดยประกาศว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้
เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระ
เทวทัต ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำปกาสนียกรรมแก่พระเทวทัต โดยประกาศ
ว่า เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์
เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น พึงทักท้วง
สงฆ์ทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่พระเทวทัตแล้ว โดยประกาศว่า เมื่อ
ก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พึงเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๓๓๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับท่านพระสารีบุตรว่า “สารีบุตร
ถ้าอย่างนั้น เธอจงทำปกาสนียกรรมเทวทัตในกรุงราชคฤห์เถิด”
พระสารีบุตรกราบทูลว่า “เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้ากล่าวยกย่องพระเทวทัตใน
กรุงราชคฤห์ว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก’ ข้าพระพุทธเจ้าจะ
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอกล่าวยกย่องเทวทัตตามความเป็นจริง
มิใช่หรือว่า ‘โคธิบุตรมีฤทธิ์มาก โคธิบุตรมีอานุภาพมาก”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอก็จงทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์
แก่เทวทัต ตามความเป็นจริงอย่างนั้นเหมือนกัน” ท่านพระสารีบุตรทูลรับสนอง
พระพุทธดำรัสแล้ว
ต่อมา พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น
สงฆ์จงแต่งตั้งสารีบุตรเพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศ
ว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของ พระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระ
เทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกาย วาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระ
สงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต’

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ เบื้องต้น พึงขอร้องพระสารีบุตร ครั้น
แล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งท่านพระสารีบุตร
เพื่อทำปกาสนียกรรมพระเทวทัตในกรุงราชคฤห์ โดยประกาศว่า “เมื่อก่อน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัต
ประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็น
อย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำปกาศนีย-
กรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งพระสารีบุตรเพื่อทำ
ปกาศนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่เทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรม
ของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใด
ด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ เป็นอย่างนั้น พึงเห็น
ว่า สิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต” ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งท่านพระสารีบุตรแล้ว เพื่อทำปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์แก่
พระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง
เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่พึงเห็นว่า
พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นเรื่องส่วนตัว
ของพระเทวทัต” สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้
ครั้นพระสารีบุตรได้รับแต่งตั้งแล้วจึงเข้าไปกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป
ทำปกาสนียกรรมพระเทวทัต โดยประกาศว่า “เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัต
เป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา
ไม่พึงเห็นว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่าสิ่งนั้นเป็น
เรื่องส่วนตัวของพระเทวทัตเอง”
คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวอย่างนี้
ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้เป็นคนริษยา ริษยาลาภสักการะของ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัต” ส่วนพวกที่มีศรัทธา มีความเลื่อมใส มีความรู้ดี ก็กล่าวอย่างนี้ว่า
“เรื่องนี้คงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะพระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำปกาสนียกรรมใน
กรุงราชคฤห์ แก่พระเทวทัต”

อชาตสัตตุกุมารวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องอชาตศัตรูกุมาร
[๓๓๙] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาอชาตศัตรูกุมารถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้
กล่าวกับอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “พระกุมาร เมื่อก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน บัดนี้
มีอายุสั้น การที่พระองค์จะพึงสิ้นพระชนม์เมื่อยังเป็นพระกุมาร เป็นเรื่องที่เป็นไปได้
ถ้าเช่นนั้น พระองค์จงปลงพระชนม์พระชนกแล้วเป็นพระราชา อาตมาก็จะปลง
พระชนม์พระผู้มีพระภาคแล้วเป็นพระพุทธเจ้า”
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารดำริว่า “พระคุณเจ้าเทวทัตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
พระคุณเจ้าเทวทัตจะต้องรู้” วันหนึ่งได้เหน็บกฤชแนบพระเพลา ทรงกลัว หวาดหวั่น
สะดุ้ง ตกพระทัย เสด็จเข้าไปในพระราชวังอย่างเร่งร้อนช่วงเวลากลางวัน
พวกมหาอมาตย์ที่เฝ้าประตูพระราชวังแลเห็นอชาตศัตรูกุมารมีอาการกลัว หวาด
หวั่น สะดุ้ง ตกพระทัยเสด็จเข้าไปในราชวังอย่างเร่งรีบช่วงเวลากลางวันจึงได้จับไว้
มหาอมาตย์เหล่านั้นตรวจพบกฤชเหน็บอยู่ที่พระเพลา จึงทูลถามอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า
“พระองค์มีประสงค์จะทำอะไร พระเจ้าข้า”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “เราประสงค์จะปลงพระชนม์พระชนก”
พวกมหาอมาตย์ทูลถามว่า “พระองค์ถูกใครยุยง”
อชาตศัตรูกุมารตรัสตอบว่า “พระคุณเจ้าเทวทัต”
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระ
เทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวก
ภิกษุไม่มีความผิดอะไร ควรปลงประชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น”
มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่
ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชา
ให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง”
ลำดับนั้น มหาอมาตย์เหล่านั้นคุมอชาตศัตรูกุมารไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ
มคธรัฐถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
ทรงทราบ
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสถามว่า “ท่านทั้งหลาย พวกมหาอมาตย์
ลงมติกันอย่างไร”
พวกมหาอมาตย์กราบทูลว่า “พระเจ้าข้า มหาอมาตย์บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า
‘ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด’ มหาอมาตย์
บางพวกลงมติอย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุไม่มีความผิดอะไร
ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น’ มหาอมาตย์บางพวกลงมติ
อย่างนี้ว่า ‘ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร และไม่ควรฆ่าพระเทวทัต ทั้งไม่ควรฆ่า
ภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวกเราจะปฏิบัติ
ตามที่พระราชารับสั่ง”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ท่านทั้งหลาย พระพุทธ พระธรรม
หรือพระสงฆ์จะเกี่ยวอะไร พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ลงปกาสนียกรรมในกรุงราชคฤห์
แก่พระเทวทัตโดยประกาศว่า ‘เมื่อก่อนพฤติกรรมของพระเทวทัตเป็นอย่างหนึ่ง เวลานี้
เป็นอีกอย่างหนึ่ง พระเทวทัตประพฤติสิ่งใดด้วยกายวาจา ไม่ควรเห็นว่าพระพุทธ
พระธรรม หรือพระสงฆ์เป็นอย่างนั้น พึงเห็นว่านั่นเป็นเรื่องส่วนตัวของพระเทวทัต
ก่อนแล้วมิใช่หรือ”
บรรดาอมาตย์เหล่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งให้ถอดยศพวก
ที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ฆ่าพระเทวทัต และฆ่าภิกษุทั้งหมด”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ทรงลดตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย เพราะพวกภิกษุ
ไม่มีความผิดอะไร ควรปลงพระชนม์พระกุมารและฆ่าพระเทวทัตเท่านั้น” ทรงเลื่อน
ตำแหน่งพวกที่ลงมติอย่างนี้ว่า “ไม่ควรปลงพระชนม์พระกุมาร ไม่ควรฆ่าพระเทวทัต
ทั้งไม่ควรฆ่าภิกษุทั้งหลาย แต่ควรนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พวก
เราจะปฏิบัติตามที่พระราชารับสั่ง”
ต่อมา พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐรับสั่งถามอชาตศัตรูกุมารว่า “ลูกต้อง
การฆ่าพ่อเพื่ออะไร”
อชาตศัตรูกุมารกราบทูลว่า “หม่อมฉันต้องการราชสมบัติ พระเจ้าข้า”
พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐตรัสว่า “ถ้าลูกต้องการราชสมบัติ ราชสมบัติ
ก็เป็นของลูก” แล้วทรงมอบราชสมบัติแก่อชาตศัตรูกุมาร

อภิมารเปสนะ
ว่าด้วยพระเทวทัตส่งคนไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค
[๓๔๐] ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปเฝ้าอชาตศัตรูกุมารถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายพระพรอชาตศัตรูกุมารดังนี้ว่า “ขอถวายพระพร ขอพระองค์โปรดสั่งใช้
ราชบุรุษปลงพระชนม์พระสมณโคดม”
ครั้งนั้น อชาตศัตรูกุมารสั่งราชบุรุษทั้งหลายว่า “พวกท่านจงปฏิบัติตามคำสั่ง
ของพระคุณเจ้าเทวทัต”
ต่อมา พระเทวทัตสั่งบุรุษคนหนึ่งว่า “พระสมณโคดมประทับอยู่ที่โน้น ท่าน
จงไปปลงพระชนม์พระองค์แล้วกลับมาทางนี้” แล้วซุ่มบุรุษไว้ริมทาง ๒ คนด้วยสั่ง
ว่า “พวกท่านจงฆ่าคนที่เดินมาทางนี้เพียงลำพัง แล้วมาทางนี้” ซุ่มบุรุษไว้ริมทาง
อีก ๔ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๒ คนที่เดินมาทางนี้ แล้วมาทางนี้” ซุ่ม
บุรุษไว้ริมทางอีก ๘ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๔ คนที่เดินมาทางนี้แล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
มาทางนี้” ซุ่มบุรุษไว้ริมทางอีก ๑๖ คนด้วยสั่งว่า “พวกท่านจงฆ่าคน ๘ คนที่เดิน
มาทางนี้ แล้วมาทางนี้”

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถา
ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งนั้นถือดาบและโล่ห์สะพายธนู เข้าไปหาพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ยืนกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกใจจนตัวแข็งทื่อไม่ห่างจาก
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกับบุรุษนั้นผู้ยืนกลัว หวาดหวั่น สะดุ้ง ตกใจ
จนตัวแข็งทื่อว่า “มาเถิด ท่านอย่ากลัวเลย”
ลำดับนั้น บุรุษนั้นวางดาบและโล่ห์ ปลดธนูวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วเข้าไป
หาพระผู้มีพระภาค แล้วซบศีรษะแทบพระยุคลบาท ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำความผิด เพราะความโง่เขลา
เบาปัญญา ที่มีจิตคิดประทุษร้าย คิดจะปลงพระชนม์ จึงเข้ามาที่นี้ ขอพระองค์โปรด
ประทานอภัยโทษแก่ข้าพระพุทธเจ้า เพื่อสำรวมต่อไปเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด การที่ท่านได้ทำความผิดเพราะความโง่เขลา
เบาปัญญา ที่มีจิตคิดประทุษร้ายคิดจะปลงพระชนม์จึงเข้ามาที่นี้ เพราะเหตุที่ท่าน
เห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอมรับ เพราะการที่บุคคล
เห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัย
ของพระอริยะ” จากนั้นทรงแสดงอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)๑
๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)แก่บุรุษนั้น

เชิงอรรถ :
๑ แปลมาจากคำว่า กามานํ อาทีนวํ โอการํ สํกิเลสํ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เมื่อทรงทราบว่าบุรุษนั้นมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส
จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย
นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่บุรุษนั้น ณ
ที่นั้นแลว่า “สิ่งใด สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็น
ธรรมดา” เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรได้รับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
ครั้นบุรุษนั้นได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรรมแล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งลงสู่
ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยแล้ว ปราศจากความแคลงใจ ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระ
องค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการ
ต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือ
ตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีตาดีจักเห็นรูป พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้
ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค
จงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าไปทางนั้น จงไป
ทางนี้” แล้วส่งเขาไปทางอื่น
ครั้งนั้น บุรุษอีก ๒ คนนั้นปรึกษากันว่า “ทำไมหนอบุรุษคนหนึ่งนั้นจึงมาช้า”
แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แลัวนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่เขาทั้งสอง ฯลฯ
ครั้งนั้น บุรุษ ๒ คนนั้นเห็นธรรมแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำของสอนพระ
ศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
ไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๘๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกท่านอย่าไปทางนั้น
จงไปทางนี้” แล้วทรงส่งพวกเขาไปทางอื่น
ครั้งนั้น บุรุษอีก ๔ คน ฯลฯ ครั้งนั้น บุรุษอีก ๘ คน ฯลฯ
ครั้งนั้น บุรุษอีก ๑๖ คนปรึกษากันว่า “ทำไมหนอ บุรุษ ๘ คนนั้นจึงมาช้า”
แล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาคประทับนั่ง ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้ว
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่บุรุษเหล่านั้น คือ
ทรงประกาศ
๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
๒. สีลกถา (เรื่องศีล) ฯลฯ
ครั้งนั้น บุรุษ ๑๖ คนนั้นเห็นธรรมแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของ
พระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์
ไพเราะชัดเจนยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำพวกข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับบุรุษเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกท่านอย่าไปทางนั้น
จงไปทางนี้” แล้วทรงส่งพวกเขาไปทางอื่น
ต่อมา บุรุษคนหนึ่งนั้นเข้าไปหาพระเทวทัตถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกับพระ
เทวทัตดังนี้ว่า “กระผมไม่สามารถปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคได้ พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก”
พระเทวทัตตอบว่า “อย่าเลยท่าน ท่านอย่าปลงพระชนม์พระสมณโคดมเลย
เราจะลงมือปลงพระชนม์พระสมณโคดมเอง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
โลหิตุปปาทกกัมมะ
ว่าด้วยพระเทวทัตทำร้ายพระศาสดาจนห้อพระโลหิต
[๓๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่ร่มเงาภูเขาคิชฌกูฏ
ครั้งนั้น พระเทวทัตขึ้นภูเขาคิชฌกูฏกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ด้วยหมายใจว่า “เราจะปลง
พระชนม์พระผู้มีพระภาคด้วยก้อนศิลานี้” ยอดภูเขา ๒ ข้างมาบรรจบกันรับศิลา
ก้อนนั้นไว้ สะเก็ดศิลากระเด็นจากก้อนศิลานั้นไปกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค
จนพระโลหิตห้อ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนพระพักตร์ ได้ตรัสกับพระเทวทัตดังนี้ว่า
“โมฆบุรุษ เธอสั่งสมสิ่งที่มิใช่บุญไว้มากที่มีจิตคิดร้าย คิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคต
ให้ห้อ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
เทวทัตผู้มีจิตคิดร้าย คิดฆ่า ทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ นี้เป็นอนันตริยกรรมข้อที่ ๑
ที่เทวทัตสั่งสมไว้”
ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า “พระเทวทัตวางแผนปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค”
จึงพากันเดินจงกรมอยู่รอบ ๆ วิหารของพระผู้มีพระภาค กระทำการสาธยายเสียง
ดังอึกทึกกึกก้องเพื่ออารักขาป้องกันคุ้มครองพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงสดับเสียงสาธยายเสียงดังอึกทึกกึกก้อง จึงรับสั่งถามท่าน
พระอานนท์ว่า “อานนท์ เพราะเหตุไร เสียงสาธยายนั้นจึงดังอึกทึกกึกก้อง” ท่าน
พระอานนท์จึงกราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าวว่า พระเทวทัต
วางแผนปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค จึงพากันเดินจงกรมอยู่รอบ ๆ วิหารของ
พระผู้มีพระภาคกระทำการสาธยายเสียงดังอึกทึกกึกก้องเพื่ออารักขาป้องกันคุ้มครอง
พระผู้มีพระภาค เสียงสาธยายนั้นจึงดังอึกทึกกึกก้อง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปบอกภิกษุเหล่านั้นว่า
พระศาสดารับสั่งหาพวกท่าน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้น
แล้วแจ้งให้ทราบว่า “พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่าน
พระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่
โอกาส ที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น พระตถาคตทั้งหลายย่อม
ไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น”

เรื่องศาสดา ๕ จำพวก๑
ภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ
๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวก
รู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญา
ว่าเราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง
แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน
พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น
ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้นี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ก็หวัง
การรักษาโดยศีลจากพวกสาวก
๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เราเป็น
ผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง”
พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ แต่

เชิงอรรถ :
๑ อ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๐๐/๑๗๑-๑๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีอาชีพบริสุทธิ์ อาชีพของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่
พอใจของท่าน พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง
ศาสดานั้นยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน
ปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วย
กรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยอาชีพ ศาสดาเช่นนี้ก็หวัง
การรักษาโดยอาชีพจากพวกสาวก
๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้มี
ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์
ธรรมเทศนาของตนบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา
พึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยธรรมเทศนา ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยธรรมเทศนาจากพวกสาวก
๔. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า “เรา
เป็นผู้มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้เป็นผู้
มีเวยยากรณะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มี เวยยากรณะบริสุทธิ์
เวยยากรณะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอก
แก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน พวกเรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
จะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้นยกย่อง
พวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยเวยยากรณะ ศาสดา
เช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยเวยยากรณะจากพวกสาวก
๕. ศาสดาบางท่านในโลกนี้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่า
“เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” สาวกรู้จักเขาอย่างนี้ว่า “ศาสดาท่านนี้
เป็นผู้มีญาณสสนะไม่บริสุทธิ์ แต่ปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณ-
ทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง
แต่ถ้าพวกเราพึงบอกแก่พวกคฤหัสถ์ ก็จะไม่เป็นที่พอใจของท่าน
พวกเราจะกล่าวถ้อยคำที่ท่านไม่พอใจได้อย่างไร อนึ่ง ศาสดานั้น
ยกย่องพวกเราด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร ท่านทำกรรมใดไว้ ก็จะปรากฏตัวออกมาด้วยกรรมนั้น”
ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้ไว้โดยญาณทัสสนะ และ
ศาสดาเช่นนี้ก็หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะจากพวกสาวก
ภิกษุทั้งหลาย ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย เรามีศีลบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของ
เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยศีล และเราก็
ไม่หวังการรักษาโดยศีลจากพวกสาวก
ภิกษุทั้งหลาย เรามีอาชีพบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ฯลฯ เรา
มีเวยยากรณะบริสุทธิ์ ฯลฯ เรามีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ จึงปฏิญญาว่า “เราเป็นผู้มี
ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง” พวก
สาวกย่อมไม่รักษาเราไว้โดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังการรักษาโดยญาณทัสสนะ
จากพวกสาวก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายาม
ของผู้อื่น พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอจงไปอยู่ตามที่เดิม พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้ที่ไม่ต้องอารักขา”

นาฬาคิริเปสนะ
ว่าด้วยพระเทวทัตปล่อยช้างนาฬาคิรี
[๓๔๒] สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีช้างชื่อนาฬาคิรีดุร้าย ชอบฆ่าคน ครั้งนั้น
พระเทวทัตเข้าไปในกรุงราชคฤห์แล้วไปที่โรงช้าง ได้กล่าวกับพวกนายควาญช้างดังนี้
ว่า “พวกเราเป็นพระญาติของพระราชา สามารถจะแต่งตั้งผู้อยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ใน
ตำแหน่งสูง สามารถเพิ่มเบี้ยเลี้ยงบ้าง เงินเดือนบ้าง ท่านทั้งหลาย เอาอย่างนี้
เวลาพระสมณโคดมเสด็จมาทางตรอกนี้ พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคิรีนี้เข้าไป”
พวกนายควาญช้างรับคำพระเทวทัตแล้ว
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ
เข้าไปในกรุงราชคฤห์พร้อมภิกษุหลายรูป เสด็จดำเนินถึงตรอกนั้น พวกควาญช้าง
แลเห็นพระผู้มีพระภาคทรงดำเนินถึงตรอกนั้น ครั้นแล้วจึงปล่อยช้างนาฬาคิรีเข้าไป
ช้างนาฬาคิรีมองเห็นพระผู้มีพระภาคทรงดำเนินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงชูงวง
หูชัน หางชี้ วิ่งตรงไปที่พระผู้มีพระภาค ภิกษุเหล่านั้นเห็นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาแต่ไกล
จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ช้างนาฬาคิรีนี้ดุร้ายหยาบคายนัก ชอบฆ่าคน
กำลังตรงมาทางตรอกนี้ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดเสด็จกลับเถิด พระพุทธเจ้าข้า
ขอพระสุคตโปรดเสด็จกลับเถิด”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธออย่ากลัวไปเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายจะไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ช้างนาฬาคิรีนี้
ดุร้ายหยาบคายนัก ชอบฆ่าคน กำลังตรงมาทางตรอกนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จ
กลับเถิด พระพุทธเจ้าข้า ขอพระสุคตโปรดเสด็จกลับเถิด”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย มาเถิด พวกเธออย่ากลัวไปเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่จะปลงชีวิตตถาคตด้วยความพยายามของผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายจะไม่ปรินิพพานด้วยความพยายามของผู้อื่น”
เวลานั้น คนทั้งหลายหนีขึ้นไปบนปราสาทบ้าง เรือนโล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง
ในกลุ่มคนพวกนั้น บรรดาคนที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวอย่างนี้ว่า
“พวกเราเอ๋ย พระมหาสมณโคดมรูปงามจะถูกช้างฆ่า” ส่วนบรรดาคนที่มีศรัทธา เลื่อมใส
เป็นบัณฑิต มีความรู้ กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกเราเอ๋ย ประเดี๋ยวคอยดูสงครามระหว่าง
พระพุทธเจ้ากับช้าง”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแผ่เมตตาจิตไปที่ช้างนาฬาคิรี ลำดับนั้น ช้าง
นาฬาคิรีได้สัมผัสกระแสเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงลดงวงลงแล้วเข้าไปหา
พระผู้มีพระภาค ยืนอยู่ตรงพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบ
กระพองช้างนาฬาคิรี พลางตรัสสอนช้างนาฬาคิรีด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
กุญชรเอ๋ย เจ้าอย่าคิดเข้ามาทำร้ายพระพุทธเจ้า
กุญชรเอ๋ย การคิดเข้ามาทำร้ายพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เป็นเหตุแห่งความทุกข์
กุญชรเอ๋ย ผู้ฆ่าพระพุทธเจ้า
จากชาตินี้ไปสู่ชาติหน้าจะไม่มีสุคติภูมิเลย
เจ้าอย่ามัวเมา อย่าประมาท
เพราะคนผู้ประมาทแล้วย่อมไม่ไปสุคติ
เจ้านี่แหละจักกระทำเหตุให้เจ้าเดินทางไปสุคติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ทันใดนั้น ช้างนาฬาคิรีเอางวงสูบละอองธุลีที่ใกล้พระบาทของพระผู้มีพระภาค
แล้วพ่นลงบนกระหม่อม(ของตน) ย่อตัวถอยออกไปชั่วระยะเห็นพระองค์ ลำดับนั้น
ช้างนาฬาคิรีได้กลับไปที่โรงช้างยืนอยู่ที่เดิม ก็ช้างนาฬาคิรีได้รับการฝึกแล้วอย่างนั้น
สมัยนั้น คนทั้งหลายพากันขับร้องคาถานี้ว่า
คนฝึกช้างและคนฝึกม้าบางพวก
มีท่อนไม้ ขอและแส้จึงจะฝึกได้
พระพุทธเจ้าผู้ประสบพระคุณยิ่งใหญ่
ไม่ต้องใช้ท่อนไม้ ไม่ต้องใช้ศัสตราทรงฝึกช้างได้เลย๑
คนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระเทวทัตนี้เป็นคนบาป
เป็นคนไม่มีบุญ เพราะได้พยายามปลงพระชนม์พระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้
มีอานุภาพมากอย่างนี้” ลาภสักการะของพระเทวทัตจึงเสื่อมสิ้นไป ส่วนลาภสักการะ
ของพระผู้มีพระภาคกลับเจริญยิ่งขึ้น

ปัญจวัตถุยาจนกา๒
ว่าด้วยพระเทวทัตกราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
[๓๔๓] สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเสื่อมลาภสักการะ จึงพากันออก
ปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกพระสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตรจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า ภัตตาหารที่ดี
ใครจะไม่พอใจ ภัตตาหารอร่อยใครจะไม่ชอบเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา

เชิงอรรถ :
๑ ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๕๒/๔๓๑, ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๘/๔๘๔
๒ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๐๙/๔๔๑-๔๔๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัต
พร้อมกับบริษัทจึงเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า” จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอพร้อมกับ
บริษัทเที่ยวออกปากขอภัตตาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันจริงหรือ”
พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติโภชนะที่คน ๓ คน
พึงบริโภคในตระกูลทั้งหลายแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๓ ประการ
คือ
๑. เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๓. เพื่ออนุเคราะห์ตระกูล
ด้วยหวังว่า ‘ภิกษุที่ปรารถนาชั่วอย่าอาศัยพรรคพวกทำสงฆ์ให้แตกกัน’ (ภิกษุ)
ฉันคณโภชนะ พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑
ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวี
บุตร พระสมุททัตตะ ถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับท่านเหล่านั้นดังนี้ว่า “มาเถิด
ท่านทั้งหลาย พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักร๒ของพระสมณโคดม”
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวกับพระเทวทัตดังนี้ว่า
“ท่าน พระสมณโคดมมีฤทธานุภาพมาก พวกเราจะทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของ
พระสมณโคดม ได้อย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม คือ พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันคณโภชนะ ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๒
แห่งโภชนวรรคที่ ๔ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๒๐๙-๒๑๗/๓๗๐-๓๗๖)
๒ ทำลายสงฆ์ คือทำสงฆ์ให้แตกจากกัน
ทำลายจักร คือทำลายหลักคำสอน (วิ.อ. ๒/๔๑๐/๑๐๘, วชิร.ฏีกา ๓๔๓/๖๘๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัตกล่าวว่า “มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
แล้วทูลขอวัตถุ ๕ ประการว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคตรัสสรรเสริญความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ก็เป็นไป เพื่อความ
มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทาน วโรกาสดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”
พระสมณโคดมจะไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้แน่ พวกเราจะใช้วัตถุ ๕
ประการนี้ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือ” ท่านเหล่านั้นปรึกษากันว่า “พวกเราสามารถ
ที่จะใช้วัตถุ ๕ ประการเหล่านั้นทำลายสงฆ์ ทำลายจักรของพระสมณโคดมได้ เพราะ
ยังมีพวกมนุษย์ที่เลื่อมใสในการปฏิบัติปอน ๆ”
ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
แล้วได้ถวายอภิวาทแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร กราบทูลว่า “พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๑๙๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ประการเหล่านี้ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียรโดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลยเทวทัต ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ป่าเถิด
ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงอยู่ในละแวกบ้านเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑ-
บาตเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีกิจนิมนต์เถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงถือผ้า
บังสุกุลเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาก็จงยินดีผ้าคหบดีเถิด เทวทัต เราอนุญาตถือ
เสนาสนะตามโคนไม้ ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ
๓ อย่าง คือ
๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน
๓. ไม่ได้นึกสงสัย”
ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงดีใจว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการ
เหล่านี้” พร้อมกับบริษัทลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ
แล้วจากไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเทวทัตโฆษณาวัตถุ ๕ ประการ
สมัยนั้น พระเทวทัตพร้อมกับบริษัทเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ใช้วัตถุ ๕ ประการ
ชักชวนให้ประชาชนเชื่อถือด้วยกล่าวว่า “พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ
๕ อย่างนี้ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ ก็เป็นไปเพื่อความมักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการน่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ”
แต่พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น พวกเราจงสมาทาน
ประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านี้เถิด”
บรรดาประชาชนเหล่านั้น พวกที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ไม่ดี กล่าวว่า
“พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ ประพฤติกำจัดกิเลส ประพฤติเคร่งครัด ส่วน
พระสมณโคดมมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ส่วนพวกมีศรัทธา เลื่อมใส เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีความรู้ดี ก็ตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลาย
จักรของพระผู้มีพระภาคเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มัก
น้อยฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเทวทัตจึงเพียรพยายาม
เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระเทวทัตว่า “เทวทัต ทราบว่า เธอ
เพียรพยายามเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายจักรจริงหรือ”
พระเทวทัตทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “อย่าเลยเทวทัต เธออย่าพอใจการทำลายสงฆ์
เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก รูปใดทำลายสงฆ์ที่พร้อมเพรียงกัน ผู้นั้นจะประสบ
โทษนานตลอดกัป ถูกไฟไหม้ในนรกนานตลอดกัป ส่วนรูปใดทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้ว
ให้พร้อมเพรียงกัน ย่อมประสบบุญอันประเสริฐ ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป อย่า
เลยเทวทัต เธออย่าชอบใจการทำลายสงฆ์ เพราะการทำลายสงฆ์ มีโทษหนัก”
ต่อมาเวลาเช้า ท่านพระอานนท์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้า
ไปหา ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
เราจะทำอุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์”
ครั้นพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตฉันเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาต หลังจากฉัน
ภัตตาหารแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพบข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตจึงเข้ามา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะทำ
อุโบสถ จะทำสังฆกรรม แยกจากพระผู้มีพระภาค แยกจากภิกษุสงฆ์’ วันนี้พระ
เทวทัตจะทำลายสงฆ์ พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้นพระผู้มีพระภาคเมื่อทรงทราบเรื่องนั้น จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นว่า
“กรรมดี คนดีทำได้ง่าย
กรรมดี คนชั่วทำได้ยาก
กรรมชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย
กรรมชั่ว พระอริยะทั้งหลายทำได้ยาก๑
ทุติยภาณวาร จบ

๓. ตติยภาณวาร
สังฆเภทกถา
ว่าด้วยการทำลายสงฆ์

พระเทวทัตชักชวนพระวัชชีบุตร ๕๐๐ รูป
เข้าเป็นพรรคพวก
[๓๔๔] ครั้นถึงวันอุโบสถ พระเทวทัตลุกจากอาสนะ ประกาศให้ภิกษุจับสลาก
ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเราเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
ว่า ‘พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญความมักน้อย ฯลฯ การ ปรารภ
ความเพียรโดยประการต่าง ๆ พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ ก็เป็นไป

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.ธ. (แปล) ๒๕/๔๘/๒๗๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เพื่อความมักน้อย ฯลฯ การปรารภความเพียร พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานวโรกาส ดังนี้
๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดเข้าบ้าน ภิกษุรูปนั้น
มีโทษ
๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีกิจนิมนต์
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดยินดีผ้าคหบดี
ภิกษุรูปนั้นมีโทษ
๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดอาศัยที่มุงที่บัง ภิกษุ
รูปนั้นมีโทษ
๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุรูปใดฉันปลา
และเนื้อ ภิกษุรูปนั้นมีโทษ’
แต่พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น ก็พวกเราจง
สมาทานประพฤติตามวัตถุ ๕ ประการเหล่านั้น ท่านรูปใดเห็นด้วยกับวัตถุ ๕
ประการเหล่านี้ ท่านรูปนั้นจงจับสลาก”
สมัยนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีประมาณ ๕๐๐ รูป เป็นพระบวชใหม่
ไม่รอบรู้พระธรรมวินัย ภิกษุเหล่านั้นจับสลากเพราะเข้าใจว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นสัตถุศาสน์” ครั้งนั้นแล พระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้วพาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป
เดินทางไปทางคยาสีสประเทศ
ต่อมา พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ครั้นแล้วท่าน
พระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตทำลายสงฆ์
พาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเดินทางไปทางคยาสีสประเทศแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตรโมคคัลลานะ พวกเธอจะต้องมีความกรุณา
ภิกษุผู้บวชใหม่เหล่านั้นบ้างมิใช่หรือ พวกเธอจงไปเถิดก่อนที่ภิกษุเหล่านั้นจะเสื่อมเสีย”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุผู้เถระทั้งสองทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วเดินทางไปคยาสีสประเทศ

เรื่องภิกษุรูปหนึ่งเข้าใจผิด
ขณะนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนร้องไห้อยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอร้องไห้ทำไม”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะผู้เป็น
พระอัครสาวกของพระองค์ไปสำนักพระเทวทัต ชอบใจคำสอนของพระเทวทัต”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ที่สารีบุตรและโมคคัลลานะ
จะชอบใจคำสอนของเทวทัต สารีบุตรและโมคคัลลานะนั้นไปเพื่อแนะนำภิกษุทั้งหลาย
ให้เข้าใจ”

พระอัครสาวกพาภิกษุ ๕๐๐ รูปกลับ
[๓๔๕] ครั้งนั้น พระเทวทัตมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมนั่งแสดงธรรมอยู่ มอง
เห็นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงกล่าวกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านเห็นไหม ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วถึงขนาดพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะอัครสาวกของพระสมณโคดมยังพากันมาหาเรา ชอบใจธรรม
ของเรา”
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้ พระโกกาลิกะได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านเทวทัต ท่าน
อย่าเพิ่งวางใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว”
พระเทวทัตกล่าวว่า “ท่านอย่าคิดเช่นนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
นั้นมาดี เพราะชอบใจธรรมของเรา”
ทีนั้น พระเทวทัตเชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรด้วยอาสนะครึ่งหนึ่งว่า “มาเถิด ท่าน
สารีบุตร นิมนต์ท่านนั่งบนอาสนะนี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ท่านพระสารีบุตรห้ามว่า “อย่าเลย ท่าน” แล้วถือเอาอาสนะหนึ่งนั่ง ณ ที่
สมควร แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ถือเอาอาสนะหนึ่งนั่ง ณ ที่สมควร
ครั้งนั้น พระเทวทัตชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นรื่นเริงด้วยธรรมีกถาสิ้นราตรีไป
เป็นอันมาก ได้เชื้อเชิญท่านพระสารีบุตรว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง
ท่านสารีบุตร ธรรมีกถาของท่านภิกษุทั้งหลายเข้าใจง่าย แต่เราเมื่อยหลัง เราจัก
เอนพัก”
ท่านพระสารีบุตรรับคำพระเทวทัต จากนั้นพระเทวทัตปูสังฆาฏิ ๔ ชั้น จำวัด
โดยข้างเบื้องขวา พระเทวทัตนั้นเหน็ดเหนื่อยจนเผลอสติไม่รู้สึกตัว ครู่เดียวก็หลับไป
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวตักเตือนพร่ำสอนภิกษุทั้งหลายด้วยธรรมีกถา
ที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์๑ ท่านพระโมคคัลลานะกล่าวตักเตือน
พร่ำสอนด้วยธรรมีกถาที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
ครั้งนั้นแล ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ได้รับการกล่าวตักเตือนพร่ำสอนด้วยธรรมีกถาที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วย
อาเทสนาปาฏิหาริย์จากพระสารีบุตรและด้วยธรรมีกถาที่เป็นอนุศาสนีประกอบด้วย
อิทธิปาฏิหาริย์จากพระโมคคัลลานะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ต่อมา ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวก
เราจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ผู้ชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้นจงมา”
ลำดับนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะพาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปไป
พระเวฬุวัน
เวลานั้น พระโกกาลิกะปลุกพระเทวทัตให้ลุกขึ้นด้วยคำว่า “ท่านเทวทัต ลุกขึ้น
เถอะ พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะพาภิกษุไปหมดแล้ว ท่านเทวทัต เราบอก

เชิงอรรถ :
๑ คือรู้ว่า ภิกษุรูปนี้มีความคิดอย่างไร ภิกษุรูปนั้นมีความคิดอย่างนั้นแล้วแสดงธรรมให้เหมาะแก่ความคิด
ของภิกษุนั้น ๆ (วิ.อ. ๓/๓๔๕/๓๘๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าไว้ใจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะมีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว”
ขณะนั้นโลหิตอุ่น ๆ ก็พุ่งออกจากปากพระเทวทัตในที่นั้นเอง
ต่อมา พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระสารีบุตรได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส พวก
ภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ พึงอุปสมบทใหม่”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย สารีบุตร เธออย่าพอใจให้ภิกษุที่ประพฤติ
ตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบทใหม่เลย สารีบุตร ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้ภิกษุที่
ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย สารีบุตร ก็เทวทัตปฏิบัติต่อ
เธออย่างไร”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระเทวทัตปฏิบัติเหมือนพระผู้มี
พระภาค คือ ชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นรื่นเริงด้วยธรรมีกถาสิ้นราตรีเป็นอันมากแล้ว ได้
เชื้อเชิญข้าพระองค์ว่า ‘ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง ท่านสารีบุตร ธรรมีกถา
ของท่านภิกษุทั้งหลายเข้าใจง่าย แต่เราเมื่อยหลัง เราจักเอนพัก”
[๓๔๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่อง
เคยมีมาแล้ว มีสระใหญ่แห่งหนึ่งอยู่ชายป่า โขลงช้างอาศัยอยู่ใกล้ ๆ สระนั้น ช้าง
เหล่านั้นลงไปในสระเอางวงถอนเหง้าและรากบัว ล้างให้สะอาดจนไม่มีโคลนตมแล้ว
เคี้ยวกินเหง้าและรากบัว เหง้าและรากบัวเป็นอาหารบำรุงพรรณและกำลังของ
ช้างเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ช้างเหล่านั้นจึงไม่ล้มหรือไม่ได้รับทุกข์ปางตาย ภิกษุ
ทั้งหลาย ส่วนลูกช้างทั้งหลายเอาอย่างช้างใหญ่พากันลงสระนั้น เอางวงถอนเหง้า
และรากบัวแล้วไม่ล้างให้สะอาดเคี้ยวกินทั้งที่มีโคลนตม เหง้าและรากบัวจึงไม่บำรุง
ผิวพรรณและกำลังของลูกช้างเหล่านั้น ลูกช้างเหล่านั้นจึงล้มและได้รับทุกข์ปางตาย
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตทำเลียนแบบเรา จะเสียชีวิตอย่างน่าสมเพช” แล้วได้ตรัส
ประพันธ์คาถาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
“เทวทัตทำเลียนแบบเราจะเสียชีวิต อย่างน่าสมเพช
เหมือนลูกช้างเคี้ยวกินเหง้าบัวเปื้อนโคลนตมแล้วจึงล้มไป
เพราะทำเลียนแบบช้างใหญ่ที่ขุดดินเคี้ยวกินเหง้าบัว
เล่นอยู่ในสระใหญ่ ฉะนั้น

คุณสมบัติของทูต๑
[๓๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำ
หน้าที่ทูตได้ คุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ

๑. รู้จักฟัง ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา ๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และ ๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ไม่เป็นประโยชน์

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำหน้าที่ทูตได้
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ

๑. รู้จักฟัง ๒. สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
๓. ใฝ่ศึกษา ๔. ทรงจำได้ดี
๕. เป็นผู้รู้ได้เข้าใจชัด ๖. สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
๗. ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และ ๘. ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท
ไม่เป็นประโยชน์

ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง ควรทำหน้าที่ทูตได้
ภิกษุผู้เข้าสู่ชุมชนที่โต้เถียงกันอย่างรุนแรงก็ไม่สะทกสะท้าน
ไม่ทำคำพูดให้เสียหาย ไม่ปกปิดข่าวสาส์น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๖/๒๔๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ชี้แจงอย่างไม่มีข้อสงสัย ถูกย้อนถามก็ไม่โกรธ
ภิกษุผู้มีลักษณะเช่นนั้นแลควรทำหน้าที่ทูตได้

พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำ๑
[๓๔๘] ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ อสัทธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. เทวทัตถูกลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก
ดำรงชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๒. เทวทัตถูกความเสื่อมลาภครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๓. เทวทัตถูกยศครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก
ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๔. เทวทัตถูกความเสื่อมยศครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๕. เทวทัตถูกสักการะครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิด
ในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๖. เทวทัตถูกความเสื่อมสักการะครอบงำย่ำยีจิต จักไปเกิดในอบาย จัก
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๗. เทวทัตถูกความปรารถนาชั่วครอบงำย่ำยีจิต จักไปเกิดในอบาย จัก
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
๘. เทวทัตถูกความที่มีมิตรชั่วครอบงำย่ำยีจิต ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างเหล่านี้แลครอบงำย่ำยีจิต ต้องไป
เกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๗/๒๐๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๐๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
[๓๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ทางที่ดี ภิกษุพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ พึงครอบงำ
ความเลื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะ
ที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความ
ที่มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
พึงครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ...
สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ...
ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อภิกษุนั้นครอบงำลาภที่เกิดขึ้น
อยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อภิกษุไม่ครอบงำความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้นอยู่ ... ยศที่
เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น .... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะ
ที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความมีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและ
ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายพึงเกิดขึ้น แต่เมื่อภิกษุนั้นครอบงำความที่
มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นทั้งหลายย่อมไม่มี
แก่ภิกษุนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงพึงครอบงำลาภที่เกิดขึ้นอยู่
... ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น ... สักการะ
ที่เกิดขึ้น ...ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น ... ความที่
มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่

เชิงอรรถ :
๑ อาสวะทั้งหลาย ใรที่นี้หมายถึงอาสวะทั้ง ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฎฐาสวะ อวิชชาสวะ
ความเร่าร้อนที่ก่อให้เกิดความคับแค้นทั้งหลาย หมายถึงความเร่าร้อนคือกิเลส ความเร่าร้อนคือวิบาก
ซึ่วก่อความทุกข์ทางกายและใจ เป็นผลที่เกิดจากอาสวะ (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/
๕๘/๑๔๐, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. ๓/๕๘/๑๕๔-๑๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจะครอบงำลาภ
ที่เกิดขึ้นอยู่ ความเสื่อมลาภที่เกิดขึ้น ... ยศที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมยศที่เกิดขึ้น
... สักการะที่เกิดขึ้น ... ความเสื่อมสักการะที่เกิดขึ้น ... ความปรารถนาชั่วที่เกิดขึ้น
... ความที่มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นอยู่ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำ
[๓๕๐] ๑ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำย่ำยีจิต ต้อง
ไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อสัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ความปรารถนาชั่ว ๒. ความมีมิตรชั่ว
๓. การได้บรรลุคุณวิเศษขั้นต่ำแล้วเลิกเสียกลางคัน

นิคมคาถา
ใคร ๆ อย่าได้เกิดเป็นคนปรารถนาชั่ว
ไม่ว่าในกาลไหน ๆ ในโลก
เธอทั้งหลายจงรู้จักเทวทัตว่ามีคติเหมือนกับคนปรารถนาชั่ว
เทวทัตเป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นบัณฑิต
เป็นที่รู้กันว่า ได้อบรมตนแล้ว เราได้ฟังมาว่า
เทวทัตดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ เทวทัตนั้นสั่งสมความประมาท
เบียดเบียนตถาคตนั้น จึงต้องไปเกิดในนรกอเวจี
มีประตู ๔ ด้าน น่ากลัว
ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ
ผู้ไม่ทำกรรมชั่ว บาปย่อมถูกต้องเฉพาะผู้นั้นเท่านั้น

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อิติ. (แปล) ๒๕/๘๙/๔๕๘-๔๖๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
รูปใดเบียดเบียนตถาคตผู้เสด็จไปดี มีพระทัยสงบ
ด้วยการกล่าวตำหนิ การตำหนิพระองค์ย่อมฟังไม่ขึ้น
เปรียบเหมือนผู้ที่ตั้งใจประทุษร้ายมหาสมุทร
ด้วยยาพิษจำนวนเป็นหม้อ เขาไม่อาจประทุษร้ายได้
เพราะมหาสมุทรน่ากลัว
ภิกษุผู้ดำเนินตามมรรคาของพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกพึงถึงความสิ้นทุกข์ได้
บัณฑิตทำพระพุทธเจ้าหรือพระสาวก
ให้เป็นกัลยาณมิตรและคบหาท่านเหล่านั้น”

อุปาลิปัญหา
ว่าด้วยปัญหาของพระอุบาลี
สังฆราชี
[๓๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
ที่เรียกว่า ‘สังฆราชี สังฆราชี(ความร้าวรานแห่งสงฆ์)’ ด้วยอาการเพียงไรจึงเป็น
สังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท(ความแตกแยกแห่งสงฆ์)ก็และด้วยอาการเพียงไร จึงเป็นทั้ง
สังฆราชีและสังฆเภท”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๑ รูป อีกฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป
รูปที่ ๔ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้
จัดเป็นสังฆราชี แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๒. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป อีกฝ่ายหนึ่ง ก็มี ๒ รูป รูปที่
๕ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๓. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๒ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี ๓ รูป รูปที่ ๖
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๔. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๓ รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี ๓ รูป รูปที่ ๗
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๕. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๓ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๘
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้ก็จัดเป็นสังฆราชี
แต่ไม่เป็นสังฆเภท
๖. อุบาลี ฝ่ายหนึ่ง มีภิกษุ ๔ รูป อีกฝ่ายหนึ่งก็มี ๔ รูป รูปที่ ๙
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อย่างนี้จัดเป็นทั้งสังฆราชี
และสังฆเภท
๗. ภิกษุ ๙ รูป หรือมากกว่า ๙ รูป จัดเป็นทั้งสังฆราชีและสังฆเภท
อุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย สิกขมานา
ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... สามเณรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสกทำลายสงฆ์ไม่ได้ ... อุบาสิกาก็ทำลาย
สงฆ์ไม่ได้ ได้แต่พยายามทำลาย
อุบาลี ปกตัตตภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสีมาย่อมทำลายสงฆ์ได้

สังฆเภท
เรื่องที่ทำให้สงฆ์แตกกัน ๑๘ ประการ๑
[๓๕๒] พระอุบาลีทูลถามว่า “ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆเภท สังฆเภท’ สงฆ์
จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้ตรัสไว้
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้
ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๕/๔๖๘/๓๖๒-๓๖๓, วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๒๑๐, ๓๗๙/๕๕๗, องฺทสก. (แปล) ๒๔/๓๘/๘๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ๑
ภิกษุเหล่านั้นย่อมแยกพวกออกมา ประกาศตัวด้วยเหตุ ๑๘ อย่างนี้ แยก
กันทำอุโบสถ แยกกันทำปวารณา แยกกันทำสังฆกรรม
อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุเท่านี้แล

สังฆสามัคคี
[๓๕๓] พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ที่พระองค์ตรัสว่า ‘สังฆสามัคคี
สังฆสามัคคี’ สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่าไรหนอ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นอธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นธรรม
๓. แสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่า มิใช่วินัย
๔. แสดงวินัยว่า เป็นวินัย
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ไม่ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้ตรัสไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตได้ประพฤติมาว่า ตถาคตได้ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติชั่วหยาบ คืออาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
๑๑. แสดงอนาบัติว่า เป็นอนาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติเบา
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติหนัก
๑๕. แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่แยกพวกออกมาประกาศตัวด้วยเหตุ ๑๘ อย่างนี้ ไม่
แยกกัน ทำอุโบสถ ไม่แยกกันทำปวารณา ไม่แยกกันทำสังฆกรรม
อุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้สามัคคีกันด้วยเหตุเท่านี้แล”
[๓๕๔] ๑พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกัน จะประสบผลอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันนั้น ย่อม
ประสบผลชั่วร้าย ชั่วกัป ถูกไฟไหม้ในนรกตลอดกัป”

นิคมคาถา
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีการแตกกัน
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ เสวยผลกรรม
อยู่ในนรกตลอดกัป เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน
จะประสบผลอย่างไร”

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๓๙/๙๐, อภิ.ก. ๓๗/๖๕๗/๓๙๕-๓๙๖,๘๖๒/๔๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุทำสงฆ์ที่แตกกันให้พร้อมเพรียงกัน ย่อม
ประสบบุญอันประเสริฐ บันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป

นิคมคาถา
ความพร้อมเพรียงของสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดสุข
และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว
ผู้ยินดีในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม
ย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
ย่อมบันเทิงในสวรรค์ตลอดกัป เพราะสมานสงฆ์ให้สามัคคีกัน”

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย
[๓๕๕] พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า มีอยู่หรือที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์
ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี มีอยู่ที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้”
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า มีอยู่หรือที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไป
เกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี มีอยู่ที่ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิดใน
อบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
พระอุบาลีทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ต้องไปเกิดในอบาย
ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม
มีความเห็นอธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นอธรรม อำพราง
ความเห็น อำพรางความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์
ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้อง
ไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นธรรมนั้นว่า
เป็นอธรรม มีความเห็นในความแตกกันว่าเป็นธรรม อำพรางความเห็น อำพราง
ความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป
แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่า เป็นธรรม มีความเห็นอธรรมนั้น
ว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความเห็นชอบ
อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม มีความเห็นอธรรมนั้น
ว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่าเป็นอธรรม ... มีความเห็นอธรรมนั้นว่า
เป็นธรรม ไม่แน่ใจในความแตกกัน ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น มีความเห็นความ
แตกกันว่าเป็นอธรรม ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น มีความเห็นความแตกกันว่าเป็น
ธรรม ... ไม่แน่ใจในอธรรมนั้น ไม่แน่ใจในความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพราง
ความเห็นชอบ อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า
‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป
แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมว่า เป็นอธรรม ... แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า
เป็นวินัย แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้ตรัสไว้ว่า
ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ประพฤติมาว่า ตถาคต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ได้ประพฤติมา ... แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตประพฤติมาว่า ตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ แสดงสิ่งที่ตถาคต บัญญัติไว้
ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ
แสดงอาบัติเบาว่า เป็นอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่า เป็นอาบัติเบา แสดงอาบัติ
มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติ
มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ มีความเห็นในธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นความแตก
กันว่าเป็นอธรรม ... มีความเห็นธรรมนั้นว่าเป็นอธรรม มีความเห็นความแตกกันว่า
เป็นธรรม มีความเห็นในธรรมนั้นว่า เป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน มีความเห็น
ในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่า เป็นอธรรม มีความเห็นธรรม
นั้นว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจความแตกกัน ไม่แน่ใจ ธรรมนั้น มีความเห็น ความแตก
กันว่าเป็นอธรรม ไม่แน่ใจอธรรมนั้น มีความเห็นความแตกกันว่า เป็นอธรรม ไม่
แน่ใจในอธรรมนั้น ไม่แน่ใจความแตกกัน อำพรางความเห็น อำพรางความเห็นชอบ
อำพรางความพอใจ อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี
ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ ต้องไปเกิดในอบาย ต้องไปเกิดในนรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไข
ไม่ได้”

ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิดในอบาย
พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่ต้องไปเกิด
ในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้ เป็นอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็น
ธรรมมีความเห็นในอธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตกกันว่าเป็นธรรม ไม่
อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความเห็นชอบ ไม่อำพรางความพอใจ ไม่อำพราง
ความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’ อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นี้ไม่ต้องไป
เกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้
อุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุแสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ฯลฯ อาบัติชั่วหยาบ
ว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ มีความเห็นธรรมนั้นว่าเป็นธรรม มีความเห็นความแตก
กันว่าเป็นธรรม ไม่อำพรางความเห็น ไม่อำพรางความเห็นชอบ ไม่อำพรางความ
พอใจ ไม่อำพรางความประสงค์ ประกาศให้จับสลากว่า ‘นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย
นี้เป็นสัตถุศาสน์ พวกท่านจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้’
อุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์อย่างนี้ ไม่ต้องไปเกิดในอบาย ไม่ต้องไปเกิดในนรก
ไม่ต้องดำรงอยู่ชั่วกัป ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้”
ตติยภาณวาร จบ
สังฆเภทขันธกะที่ ๗ จบ

รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
เรื่องเจ้าศากยะผู้มีชื่อเสียงออกบวชขณะที่พระผู้มีพระภาค
ประทับที่อนุปิยนิคม เจ้าอนุรุทธศากยะผู้สุขุมาลชาติ
ไม่ปรารถนาจะทรงผนวช เจ้ามหานามะผู้พี่จึงสอนวิธีไถนา
หว่านข้าว ไขน้ำเข้า ระบายน้ำออก ถอนหญ้า
เกี่ยวข้าว ขนข้าว ตั้งลอม นวดข้าว สางฟาง
ฝัดข้าวลีบ ฝัดละอองออก ขนขึ้นฉาง
เจ้าอนุรุทธะจึงตัดสินใจออกบวช เพราะทรงเห็นการงาน
ไม่มีที่จบสิ้น แม้มารดาบิดา ปู่ย่าตายายจะตายไปหมด
พระเจ้าภัททิยศากยะ เจ้าอนุรุทธศากยะ เจ้าอานนท์
เจ้าภคุ เจ้ากิมพิละ ถือตัวว่าเป็นศากยวงศ์
เพื่อจะตัดมานะจึงยอมให้อุบาลีบวชก่อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๗. สังฆเภท ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสังฆเภทขันธกะ
พระผู้มีพระภาคประทับที่เมืองโกสัมพี
พระเทวทัตทำกรรมเลวทราม เสื่อมจากฤทธิ์
กกุธโกฬิยเทพบุตรเข้าไปแจ้งข่าวแก่พระมหาโมคคัลลานะ
สงฆ์ลงปกาสนียกรรมพระเทวทัต
อชาตศัตรูกุมารถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระชนก
พระเทวทัตส่งบุรุษไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคแต่ไม่สำเร็จ
พระเทวทัตกลิ้งศิลาหวังจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคด้วยตนเอง
สั่งให้คนปล่อยช้างนาฬาคิรีเพื่อทำร้ายพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคจึงทรงบัญญัติโภชนะที่คน ๓ คนพึงบริโภค
เพราะอำนาจประโยชน์ ๓ อย่าง
ต่อจากนั้น พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ
พยายามทำลายสงฆ์ การทำลายสงฆ์มีโทษหนัก
พระเทวทัตทำลายสงฆ์ ชักชวนภิกษุ ๕๐๐ รูปเข้าเป็นพรรค
พวกพาหนีไปอยู่ที่คยาสีสประเทศ พระผู้มีพระภาครับสั่งให้
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไปตามภิกษุ ๕๐๐ รูปกลับ
ให้พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์แสดงอาบัติถุลลัจจัย
เรื่ององค์ ๘ มี ๓ เรื่อง คือ
๑. ภิกษุผู้ควรเป็นทูตมีคุณสมบัติ ๘ อย่าง
๒. พระสารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติของทูต ๘ อย่าง
๓. พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๘ อย่างครอบงำ
พระเทวทัตถูกอสัทธรรม ๓ อย่างครอบงำ
เรื่องอาการที่เรียกว่า “สังฆราชี” “สังฆเภท”
สังฆเภทขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑. อาคันตุกวัตตกถา
๘. วัตตขันธกะ

๑. อาคันตุกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้จรมา
[๓๕๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะสวมรองเท้าเข้าสู่
อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้า
สู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษา
กว่าบ้าง ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะบ้าง
ภิกษุอาคันตุกะรูปหนึ่ง ถอดลิ่มวิหารที่ไม่มีคนอยู่แล้วผลักบานประตูเข้าไปอย่าง
รวดเร็ว งูตกจากเบื้องบนลงมาที่คอของภิกษุนั้น ท่านตกใจกลัวร้องขึ้นสุดเสียง ภิกษุ
ทั้งหลายรีบเข้าไปถามภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่าน ท่านร้องทำไม”
ภิกษุนั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลายจึงสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้า
สู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะบ้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุ
อาคันตุกะทั้งหลายสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้า
สู่อารามบ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุ
ผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ถามถึงเสนาสนะบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑. อาคันตุกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลายจึงสวมรองเท้าเข้าสู่อารามบ้าง กั้นร่มเข้าสู่อารามบ้าง คลุมศีรษะเข้าสู่อาราม
บ้าง พาดจีวรบนศีรษะเข้าสู่อารามบ้าง ใช้น้ำดื่มล้างเท้าบ้าง ไม่ยอมไหว้ภิกษุผู้อยู่
ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษากว่าบ้าง ไม่ถามถึงเสนาสนะบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๕๗] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาคันตุกะคิดว่า “เราจะเข้าไปสู่อารามเดี๋ยวนี้” พึงถอด
รองเท้าเคาะแล้วถือไปอย่างระมัดระวัง ลดร่ม เปิดศีรษะ ลดจีวรบนศีรษะลงบนบ่า
ไม่ต้องรีบร้อนเข้าสู่อารามตามปกติ เมื่อเข้าสู่อารามก็พึงสังเกตว่า “ภิกษุผู้อยู่ประจำ
ในอาวาสทั้งหลายประชุมกันที่ไหน” พึงไปที่ที่ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสประชุมกัน
ไม่ว่าจะเป็นโรงฉัน มณฑปหรือโคนไม้ แล้วเก็บบาตรไว้ ณ ที่สมควร เก็บจีวรไว้ ณ
ที่สมควร จองอาสนะที่เหมาะสมแล้วนั่ง ถามถึงน้ำดื่มน้ำใช้ว่า “อย่างไหนน้ำดื่ม
อย่างไหนน้ำใช้” ถ้าต้องการน้ำดื่มก็ตักมาดื่ม ถ้าต้องการน้ำใช้ก็ตักมาล้างเท้า เมื่อ
จะล้างเท้า ควรใช้มือข้างหนึ่งรดน้ำ มืออีกข้างหนึ่งล้างเท้า ไม่พึงใช้มือข้างที่รดน้ำล้าง
เท้า ถามถึงผ้าเช็ดรองเท้าแล้วเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อน
ใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสแก่พรรษา พึงอภิวาท ถ้าเป็นพระนวกะ พึงให้
ท่านอภิวาท ถามถึงเสนาสนะว่า “ผมได้เสนาสนะแห่งไหน” ถามถึงเสนาสนะที่มีภิกษุ
หรือที่ไม่มีภิกษุอยู่ ถามถึงโคจรคามและอโคจรคาม ถามถึงตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ๑

เชิงอรรถ :
๑ ตระกูลเสกขสมมติ คือ ตระกูลที่มีศรัทธามาก ให้ทานวัตถุมากจนหมดทุนทรัพย์ เพื่อไม่ให้ตระกูลเช่นนี้
เดือดร้อนจากการถวายสิ่งของแก่ภิกษุสงฆ์ หรือเพื่อไม่ให้ภิกษุสงฆ์รบกวนตระกูลเช่นนี้ สงฆ์จึงประกาศ
สมมติ(แต่งตั้ง)ตระกูลเช่นนี้ให้เป็น “เสกขสมมติ” (ดู วิ.อ.๒/๕๖๒/๔๔๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑. อาคันตุกวัตตกถา
ถามถึงวัจกุฎี ถามถึงน้ำดื่มและน้ำใช้ ถามถึงไม้เท้า ถามถึงกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า
“ควรเข้าเวลาไหน ควรออกเวลาไหน” ถ้าวิหารไม่มีภิกษุอยู่ก็พึงเคาะประตูรอสัก
ครู่หนึ่งแล้วถอดลิ่มผลักบานประตู ยืนอยู่ข้างนอกมองดูให้ทั่ว
ถ้าวิหารรก มีเตียงวางซ้อนเตียงหรือตั่งวางซ้อนตั่ง เสนาสนะมีละอองจับเบื้องบน
ถ้าสามารถ ก็พึงชำระให้สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนเครื่องลาดพื้น
ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง ฟูก หมอน ผ้ารองนั่งและผ้าปูนอน พึงขน
ออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน
พนักพิง พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขน
ออกมาวาง ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาสีเหลืองหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๒. อาวาสิกวัตตกถา
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรของภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย โดยที่ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
จะต้องประพฤติชอบ

๒. อาวาสิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ในอาวาส
[๓๕๘] สมัยนั้น ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่
ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่
นำน้ำดื่มมาต้อนรับ ไม่นำน้ำใช้มาต้อนรับ ไม่ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า ไม่จัด
เสนาสนะให้
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่นำน้ำดื่มมาต้อนรับ ไม่นำ
น้ำใช้มาต้อนรับ ไม่ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า ไม่จัดเสนาสนะให้เล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๒. อาวาสิกวัตตกถา
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายแล้วไม่ปูอาสนะ ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ประจำใน
อาวาสทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า
พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกรับบาตรและจีวร นำ
น้ำดื่มต้อนรับ นำน้ำใช้มาต้อนรับ ถ้าสามารถก็พึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า
ใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อนแล้วใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่
สมควร
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสพึงอภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่าจัดเสนาสนะ
ถวายว่า “เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน” บอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่หรือไม่มีภิกษุอยู่ บอก
โคจรคามและอโคจรคาม บอกตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ บอกวัจกุฎี บอกน้ำดื่มน้ำใช้
บอกไม้เท้า บอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า “พึงเข้าเวลานี้ พึงออกเวลานี้”
ถ้าภิกษุอาคันตุกะเป็นพระนวกะ ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสพึงนั่งลงบอกว่า “ท่าน
จงวางบาตรที่นั่น วางจีวรที่นั่น นั่งบนอาสนะนี้” พึงบอกน้ำดื่ม พึงบอกน้ำใช้
บอกผ้าเช็ดรองเท้า พึงให้ภิกษุอาคันตุกะที่เป็นพระนวกะให้อภิวาท บอกเสนาสนะว่า
“เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน” บอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่หรือไม่มีภิกษุอยู่ บอกโคจรคาม
และอโคจรคาม บอกตระกูลที่เป็นเสกขสมมติ บอกวัจกุฎี บอกน้ำดื่ม บอกน้ำใช้
บอกไม้เท้า บอกกติกาที่สงฆ์ตั้งไว้ว่า “พึงเข้าเวลานี้ พึงออกเวลานี้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๓. คมิกวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรของภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้
อยู่ประจำในอาวาสทั้งหลายต้องประพฤติชอบ

๓. คมิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้ออกเดินทาง
[๓๖๐] สมัยนั้น ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน
เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไป เครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดินเสียหาย ไม่มีใครดูแลรักษาเสนาสนะ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายจึงไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน เปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้
ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไปเล่า เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดินเสียหาย
ไม่มีใครดูแลรักษาเสนาสนะ”
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุ
ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายไม่เก็บเครื่องใช้ไม้ ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๖๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เตรียมจะเดิน
ทางทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทาง พึงเก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิด
ประตูหน้าต่าง บอกมอบหมายเสนาสนะแล้วพากันจากไป ถ้าไม่มีภิกษุ พึงบอก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๔. อนุโมทนาวัตตกถา
มอบหมายแก่สามเณร ถ้าไม่มีสามเณร พึงบอกมอบหมายแก่คนวัด ถ้าไม่มีคนวัด
พึงบอกมอบหมายแก่อุบาสก ถ้าไม่มีภิกษุสามเณร คนวัดหรืออุบาสก พึงยกเตียง
ขึ้นวางไว้บนศิลา ๔ แผ่น ยกเตียงซ้อนเตียง ยกตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะ
ไว้ข้างบนแล้วเก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วจึงพากันจากไป
ถ้าวิหารฝนรั่ว ถ้าสามารถก็ควรมุงหรือขวนขวายว่า “จะมุงวิหารได้อย่างไร” ถ้าทำ
ได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้พึงยกเตียงขึ้น วางไว้บนศิลา ๔ แผ่นในที่ที่
ฝนไม่รั่ว ยกเตียงซ้อนเตียง ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่อง
ใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วจึงพากันจากไป ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง ถ้า
สามารถก็พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้านหรือขวนขวายว่า “จะขนเครื่องเสนาสนะเข้า
หมู่บ้านได้อย่างไร” ถ้าทำได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี ถ้าทำไม่ได้ พึงยกเตียงขึ้นวาง
ไว้บนศิลา ๔ แผ่นในที่แจ้ง ยกเตียงซ้อนเตียง ตั่งซ้อนตั่ง กองเครื่องเสนาสนะไว้
ข้างบน เก็บเครื่องใช้ไม้เครื่องใช้ดิน แล้วใช้หญ้าหรือใบไม้คลุม พากันจากไปด้วยคิด
ว่า “อย่างไรเสีย ส่วนของเตียงตั่งคงจะเหลืออยู่บ้าง”
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลาย โดยที่ภิกษุ
ผู้เตรียมจะเดินทางทั้งหลายต้องประพฤติชอบ

๔. อนุโมทนาวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในการอนุโมทนา
[๓๖๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่กล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร คนทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายจึงไม่
กล่าวอนุโมทนาเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา ฯลฯ
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๔. อนุโมทนาวัตตกถา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร”
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้สนทนากันดังนี้ว่า “ใครควรกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร”
แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระกล่าวอนุโมทนาในโรง
อาหาร”
ต่อมา สมาคมหนึ่งถวายสังฆภัต ท่านพระสารีบุตรเป็นพระสังฆเถระ ภิกษุ
ทั้งหลายคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระกล่าวอนุโมทนาในโรงอาหาร”
จึงปล่อยให้ท่านพระสารีบุตรอยู่รูปเดียว แล้วพากันจากไป
ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรกล่าวสัมโมทนียกถาแก่คนเหล่านั้น แล้วตามไป
ทีหลังเพียงรูปเดียว
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นท่านพระสารีบุตรกำลังเดินมาแต่ไกลรูปเดียว
ครั้นแล้วรับสั่งถามดังนี้ว่า “สารีบุตร อาหารคงมีมากกระมัง”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า อาหารมีมากจริง แต่ภิกษุ
ทั้งหลายปล่อยข้าพระพุทธเจ้าไว้ผู้เดียวแล้วพากันกลับ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้พระเถรานุเถระ ๔-๕ รูปรออยู่
ในโรงฉัน”
ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งปวดอุจจาระอยู่ในโรงฉัน กลั้นอุจจาระไว้จนสลบล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีธุระ เราอนุญาตให้บอกลาภิกษุ
ผู้อยู่ถัดไปแล้วไปได้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๒๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๕. ภัตตัคควัตตกถา
๕. ภัตตัคควัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในโรงฉัน
[๓๖๓] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มี
มารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไปข้างหน้าภิกษุผู้เถระบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไป
ข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะ
ภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท ไปโรงฉัน เดินแซงไป
ข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลายบ้าง กีดกันอาสนะ
ภิกษุนวกะทั้งหลายบ้าง นั่งทับสังฆาฏิในละแวกบ้านบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในโรงฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายจะต้องประพฤติชอบในโรงฉัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภัตตุทเทสก์บอกเวลาในอาราม ภิกษุพึงนุ่งปิดมณฑล ๓ ให้
เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว
ถือไปไม่ต้องรีบร้อนเข้าหมู่บ้าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๕. ภัตตัคควัตตกถา
ไม่พึงเดินแซงไปข้างหน้าภิกษุผู้เถระทั้งหลาย พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน
พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวก
บ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดิน
โคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไป
ในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน
ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
พึงปกปิดกายให้ดีนั่งในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีนั่งในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ
ลงนั่งในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเวิกผ้าในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งหัวเราะดังในละแวกบ้าน
พึงนั่งพูดเสียงเบาในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งโคลงกายในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งแกว่งแขน
ในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งโคลงศีรษะในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเท้าสะเอวในละแวกบ้าน
ไม่พึงนั่งคลุมศีรษะในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งรัดเข่าในละแวกบ้าน ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลาย ไม่พึงกีดกันอาสนะภิกษุนวกะทั้งหลาย ไม่พึงนั่งทับสังฆาฏิ
เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับน้ำ พึงถือบาตรล้างอย่าง
ไม่ให้ครูด ถ้ามีกระโถน พึงเทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า
“กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ใกล้อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ”
ถ้าไม่มีกระโถน พึงเทน้ำลงพื้นดินอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายที่อยู่
ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ”
เมื่อเขาถวายข้าวสุก พึงใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับข้าวสุก เว้นที่ว่างไว้
สำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือแกงอ่อม ภิกษุผู้เถระพึงบอกว่า “ท่านจงจัดถวาย
ภิกษุเท่ากันทุกรูป” พึงรับบิณฑบาตโดยเคารพ พึงให้ความสำคัญในบาตรขณะรับ
บิณฑบาต พึงรับบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง พึงรับบิณฑบาตเสมอขอบปากบาตร
ภิกษุผู้เถระไม่พึงฉันก่อนจนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึงภิกษุทุกรูป พึงฉันบิณฑบาต
โดยเคารพ พึงให้ความสำคัญในบาตรขณะฉันบิณฑบาต พึงฉันบิณฑบาตไปตาม
ลำดับ พึงฉันบิณฑบาตพอเหมาะกับแกง ไม่พึงฉันบิณฑบาตขยุ้มลงแต่ยอด ไม่พึง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๕. ภัตตัคควัตตกถา
ใช้ข้าวสุกกลบแกงหรือกับข้าวเพราะอยากได้มาก ไม่เป็นไข้ไม่พึงออกปากขอแกงหรือ
ข้าวสุกมาฉันส่วนตัว ไม่พึงมุ่งตำหนิมองดูบาตรของภิกษุเหล่าอื่น ไม่พึงทำคำข้าว
ให้ใหญ่เกิน พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ขณะ
กำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ขณะที่ในปากมีคำข้าว ไม่พึงพูดคุย ไม่
พึงฉันโยนคำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย ไม่พึงฉันสลัดมือ
ไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ ไม่พึงฉันทำ
เสียงดังซู้ด ๆ ไม่ พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงจับ
ภาชนะน้ำดื่มด้วยมือเปื้อนอาหาร
ภิกษุผู้เถระไม่พึงรับน้ำก่อนจนกว่าภิกษุทั้งหมดฉันเสร็จ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงใช้
มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับน้ำ พึงถือล้างอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ถ้ามีกระโถน
พึงเทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุทั้งหลาย
ที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ถ้าไม่มีกระโถน พึงเทน้ำลงบน
พื้นดินอย่างระมัดระวัง ด้วยคิดว่า “ภิกษุทั้งหลายที่อยู่ใกล้ อย่าถูกน้ำกระเซ็น
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ” ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวในละแวกบ้าน
เมื่อจะกลับ ภิกษุนวกะทั้งหลายพึงกลับก่อน ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกลับทีหลัง
พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุลงไป
ในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน
พึงพูดเสียงเบา ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่ง
แขนไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอว
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปใน
ละแวกบ้าน
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือวัตรในโรงฉัน โดยที่ภิกษุทั้งหลายพึงประพฤติชอบในโรงฉัน
ปฐมภาณวาร จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
[๓๖๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย
ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาต ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อน
เข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง
กลับเร็วเกินไปบ้าง
ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ไม่ทันสังเกตเข้าไปบ้าน สำคัญว่าประตูบ้าน
เข้าไปยังห้องหนึ่งซึ่งมีหญิงเปลือยกายนอนหงายอยู่ ภิกษุนั้นได้เห็นหญิงเปลือยกาย
นอนหงายอยู่นั้น จึงรู้ว่า “นี้ไม่ใช่ประตู แต่เป็นห้องนอน” จึงออกจากห้องนั้นไป
สามีของหญิงนั้นเห็นนางเปลือยกายนอนหงายก็เข้าใจว่า “ภิกษุรูปนี้ทำมิดีมิร้าย
ภรรยาของเรา” จึงจับภิกษุนั้นทำร้าย
ลำดับนั้น หญิงนั้นตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น ได้ถามสามีดังนี้ว่า “พี่ ท่านทำร้าย
ภิกษุทำไม”
เขาตอบว่า “ภิกษุนี้ทำมิดีมิร้ายเธอ”
นางพูดว่า “ภิกษุนี้ไม่ได้ทำมิดีมิร้ายฉัน ภิกษุนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย” แล้วให้
ปล่อยภิกษุนั้นไป
ภิกษุนั้นกลับไปอารามแล้วบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุอื่นทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรจึงนุ่งไม่เรียบร้อย ห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท เที่ยวบิณฑบาตเล่า
ไม่สังเกตเข้าบ้านบ้าง ไม่สังเกตออกไปบ้าง รีบร้อนเข้าไปบ้าง รีบร้อนออกไปบ้าง
ยืนไกลเกินไปบ้าง ยืนใกล้เกินไปบ้าง ยืนนานเกินไปบ้าง กลับเร็วเกินไปบ้าง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า ฯลฯ จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๖. ปิณฑจาริกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า “เวลานี้ เราจักเข้าบ้าน”
พึงนุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกันไว้
กลัดลูกดุมล้างบาตรแล้วถืออย่างสำรวมเข้าบ้าน โดยไม่รีบร้อน
พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ
ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน
พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน
ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เมื่อเข้าบ้านก็พึงสังเกตว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้า ไม่
พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก
พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด
ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืน
กำหนดว่า “เขาประสงค์จะถวายหรือ“” เมื่อเขาถวายอาหารพึงใช้มือข้างซ้ายแหวก
ผ้าสังฆาฏิแล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร
ไม่มองดูหน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์
จะถวาย” ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขา
ประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้วใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตร ไม่ต้องรีบร้อน กลับ
อย่างสำรวม
พึงปกปิดกายให้ดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมดีไปในละแวกบ้าน พึงทอดจักษุ
ลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะดังไปในละแวกบ้าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๗. อารัญญิกวัตตกถา
พึงพูดเสียงเบาไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงแกว่งแขน
ไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินเท้าสะเอวไปใน
ละแวกบ้าน ไม่พึงเดินคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ผู้กลับจากบิณฑบาตมาถึงก่อน พึงปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้ากระเบื้อง
เช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉันตั้งไว้ ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ ผู้กลับจากบิณฑบาตถึงทีหลัง
ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าต้องการก็พึงฉัน ไม่ต้องการก็เททิ้งในที่ปราศจาก
ของเขียวสด หรือเทลงในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ พึงรื้อขนอาสนะเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เก็บไว้ เก็บน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดโรงฉัน
ภิกษุผู้เห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ก็พึงจัดหาไปตั้งไว้ ถ้า
เป็นเรื่องสุดวิสัยก็กวักมือเรียกเพื่อนมาให้ช่วยกันจัด แต่ไม่พึงออกคำสั่งเพราะเรื่องนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ วัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้
เที่ยวบิณฑบาตทั้งหลายต้องประพฤติชอบ

๗. อารัญญิกวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฎิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า
[๓๖๗] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปอยู่ในป่า ไม่ตั้งน้ำดื่ม ไม่ตั้งน้ำใช้ ไม่ติดไฟ
ไม่เตรียมไม้สีไฟ ไม่รู้เรื่องนักษัตร ไม่รู้จักทิศ พวกโจรพากันไปที่นั้นแล้วถามภิกษุ
เหล่านั้นดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำดื่มหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำดื่มไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีน้ำใช้หรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย น้ำใช้ก็ไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไฟหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไฟก็ไม่มี”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๗. อารัญญิกวัตตกถา
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย มีไม้สีไฟหรือ”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย ไม้สีไฟก็ไม่มี”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นฤกษ์อะไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ”
โจรทั้งหลายถามว่า “ท่านทั้งหลาย นี้ทิศอะไร”
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “โยมทั้งหลาย พวกอาตมาไม่ทราบ”
ลำดับนั้น โจรเหล่านั้นคิดว่า “คนพวกนี้ไม่มีน้ำดื่ม ไม่มีน้ำใช้ ไม่มีไฟ ไม่มี
ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ทิศ คนพวกนี้น่าจะเป็นโจร คนพวกนี้ไม่ใช่ภิกษุ” จึงทำร้าย
แล้วจากไป
ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๖๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า ควรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ สวมถุงบาตรคล้องบ่า พาด
จีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บเครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่างแล้วลงจาก
เสนาสนะ กำหนดว่า “เวลานี้เราจะเข้าบ้าน” ควรถอดรองเท้าเคาะอย่างระมัดระวัง
ใส่ถุงคล้องบ่า นุ่งปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย คาดประคดเอว ห่มผ้าสังฆาฏิ
ที่พับซ้อนกันไว้ กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้วไม่ต้องรีบร้อน ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย
พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึง
เดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
เมื่อเข้าบ้านก็พึงกำหนดว่า “เราจะเข้าทางนี้ ออกทางนี้” ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป
ไม่พึงรีบร้อนออกไป ไม่พึงยืนไกลนัก ไม่พึงยืนใกล้นัก ไม่พึงยืนนานนัก ไม่พึงกลับเร็วนัก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๘. เสนาสนวัตตกถา
พึงยืนสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายอาหารหรือไม่ประสงค์จะถวาย” ถ้าเขาหยุด
ทำงาน หรือลุกจากที่นั่ง หรือจับทัพพีหรือภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า
“เขาประสงค์จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายอาหาร พึงใช้มือข้างซ้ายแหวกผ้าสังฆาฏิ
แล้วน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือข้างขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับอาหาร ไม่มอง
หน้าผู้ถวายอาหาร พึงสังเกตว่า “เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ประสงค์จะถวาย”
ถ้าเขาจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้งภาชนะไว้ พึงยืนกำหนดว่า “เขาประสงค์
จะถวายหรือ” เมื่อเขาถวายแล้ว ใช้ผ้าสังฆาฏิคลุมบาตรแล้ว ไม่ต้องรีบร้อน กลับ
อย่างสำรวม
พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน ฯลฯ ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน
ออกจากหมู่บ้าน แล้วสวมถุงบาตร คล้องบ่า พับจีวรวางไว้บนศีรษะสวมรองเท้าเดินไป
ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงตั้งน้ำดื่ม พึงตั้งน้ำใช้ พึงติดไฟ พึงเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงเตรียม
ไม้เท้า พึงเรียนรู้เรื่องนักษัตรทุกประเภทหรือเรียนบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย โดยที่ภิกษุผู้อยู่ป่าทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบ

๘. เสนาสนวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเสนาสนะ
[๓๖๙] สมัยนั้น ภิกษุหลายรูปทำจีวรอยู่ที่กลางแจ้ง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะ
เสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงเคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลมเล่า
ภิกษุทั้งหลายถูกฝุ่นธุลีฟุ้งกลบ”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์เคาะเสนาสนะบนที่สูงเหนือลม ฝุ่นธุลีฟุ้งกลบภิกษุทั้งหลาย จริงหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๘. เสนาสนวัตตกถา
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติเสนาสนวัตรแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบ
ภิกษุทั้งหลาย ตนอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้
สะอาด เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่
สมควร พึงขนผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอนออกไปวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตูและกรอบ
ประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง พึงขนออก
มาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง ณ ที่
สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร ไม่พึงเคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ ใกล้วิหาร ใกล้
น้ำดื่ม น้ำใช้ บนเนินเหนือลม พึงเคาะเสนาสนะใต้ลม
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๙. ชันตาฆรวัตตกถา
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอยู่ในวิหารหลังเดียวกับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่สอบถามก็ไม่ควรให้อุทเทส
ปริปุจฉา การสาธยาย แสดงธรรม ไม่พึงตามหรือดับประทีป ไม่พึงเปิดหน้าต่าง
ไม่พึงปิดหน้าต่าง ถ้าเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้แก่กว่า พึงเดินตาม
หลังท่าน และไม่กระทบท่านด้วยชายสังฆาฏิ
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ วัตรในเสนาสนะของภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบ

๙. ชันตาฆรวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในเรือนไฟ
[๓๗๑] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ
ไม่ เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งที่ประตู ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อน
แผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลมสลบล้มลง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๓๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๙. ชันตาฆรวัตตกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ จึงไม่เกรงใจใส่ฟืนมาก ติดไฟ ปิดประตูแล้ว
นั่งที่ประตูเล่า ฝ่ายภิกษุผู้เถระถูกความร้อนแผดเผา จะออกก็ออกไม่ได้ จึงเป็นลม
สลบล้มลง”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ถูกภิกษุผู้เถระทั้งหลายห้ามในเรือนไฟ ไม่เกรงใจ ใส่ฟืนมาก
ติดไฟ ปิดประตูแล้วนั่งเฝ้าที่ประตู ภิกษุถูกความร้อนแผดเผาออกประตูไม่ได้จึงเป็น
ลมสลบล้มลง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถูกภิกษุผู้เถระห้ามในเรือนไฟ จะใส่ฟืนมากติดไฟโดยไม่
เกรงใจไม่ได้ รูปใดใส่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงปิดประตู
แล้วนั่งที่ประตู รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ”
[๓๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในเรือนไฟแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่พวกเธอต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปเรือนไฟก่อน ถ้ามีเถ้ามากพึงนำไปเททิ้ง ถ้าเรือนไฟรก
พึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด ถ้าบริเวณรกก็พึงกวาด ถ้าซุ้มประตูรกก็
พึงกวาด ถ้าศาลาเรือนไฟรก ก็พึงกวาด
พึงบดจุรณไว้ พึงแช่ดิน พึงตักน้ำใส่ไว้ในราง เมื่อจะเข้าไปเรือนไฟพึงเอาดิน
เหนียวทาหน้า ปิดหน้าและหลังจึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ไม่กีดกันอาสนะภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย ถ้าสามารถก็พึงบริกรรมภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ในเรือนไฟ เมื่อออกจาก เรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลังจึงออกจาก
เรือนไฟ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
ถ้าสามารถ พึงทำบริกรรม ภิกษุผู้เถระทั้งหลายในน้ำ ไม่พึงสรงน้ำข้างหน้า
ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย แม้เหนือน้ำก็ไม่พึงสรง เมื่อสรงน้ำเสร็จกำลังจะขึ้นพึงให้ทาง
ภิกษุทั้งหลายผู้จะลงสรง ภิกษุผู้ออกจากเรือนไฟภายหลัง ถ้าเรือนไฟเปรอะเปื้อน
พึงล้างให้สะอาด ล้างรางแช่ดิน เก็บตั่งในเรือนไฟ ดับไฟ ปิดประตูแล้วจึงพา
กันจากไป
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในเรือนไฟสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบในเรือนไฟ

๑๐. วัจจกุฏิวัตตกถา
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในวัจกุฎี
[๓๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีกำเนิดจากวรรณะพราหมณ์ ถ่ายอุจจาระ ไม่
ยอมชำระ เพราะรังเกียจว่า “ใครจะจับต้องของสกปรกมีกลิ่นเหม็นนี้ได้เล่า” ในทวาร
หนักของภิกษุนั้นจึงมีหนอนอยู่ ภิกษุนั้นจึงบอกให้ภิกษุทราบ
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ท่านถ่ายอุจจาระแล้วไม่ล้างหรือ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “ใช่ ขอรับ”
บรรดาภิกษุมักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุถ่ายอุจจาระ
แล้วไม่ล้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอถ่ายอุจจาระแล้ว
ไม่ล้าง จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้ว เมื่อมีน้ำอยู่จะไม่ล้างไม่ได้ รูปใดไม่ล้าง
ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลาย
ถึงก่อนปวดอุจจาระก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
ทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎีตามลำดับพรรษา ภิกษุผู้นวกะทั้งหลายถึงก่อน
ปวดอุจจาระ ก็ต้องรอ กลั้นอุจจาระจนเป็นลมสลบล้มลง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทำการถ่ายอุจจาระตามลำดับพรรษา
รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้
มาถึง”
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอน
หายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระ
นอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะ
บ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง
เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบวยชำระบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงเข้าวัจกุฎีเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าเข้าไปบ้าง ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยว
ไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ
นอกรางปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายลงในรางปัสสาวะบ้าง ชำระด้วยไม้แข็งบ้าง ทิ้งไม้
ชำระในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินไปบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียง
ดังโจ๊กโจ๊กบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้างเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ฯลฯ
จริงหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๐. วัจจกุฎิวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า
[๓๗๔] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในวัจกุฎีแก่ภิกษุทั้งหลาย
โดยที่ภิกษุทั้งหลายต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไปวัจกุฎีพึงยืนกระแอมข้างนอก แม้ภิกษุผู้นั่งอยู่ข้างในก็
ควรกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราวจีวรหรือบนสายระเดียงแล้วไม่ต้องรีบเข้าวัจกุฎี
ไม่ต้องเข้าไปเร็วนัก ไม่พึงเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียงถ่ายอุจจาระแล้วค่อยเวิกผ้า
ไม่พึงถอนใจดังพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึงเคี้ยวไม้ชำระฟันพลางถ่ายอุจจาระ ไม่พึง
ถ่ายอุจจาระนอกรางอุจจาระ ไม่พึงถ่ายปัสสาวะนอกรางปัสสาวะ ไม่พึงบ้วนน้ำลาย
ลงในรางปัสสาวะ ไม่พึงชำระด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม่พึงทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย อุจจาระ
พึงยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิดผ้า ไม่ควรออกมาเร็ว ไม่พึงเวิกผ้าออกมา พึงยืนบน
เขียงชำระแล้วจึงเวิกผ้า ไม่พึงชำระให้มีเสียงดังโจ๊กโจ๊ก ไม่พึงเหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ
พึงยืนบนเขียงชำระแล้วปิดผ้า
ถ้าภิกษุถ่ายไว้เลอะเทอะวัจกุฎี ต้องล้างให้สะอาด ถ้าตระกร้าใส่ไม้ชำระเต็ม
พึงนำไปทิ้ง ถ้าวัจกุฎีสกปรกพึงกวาด ถ้าชานภายนอกรกก็พึงกวาด บริเวณรก
ก็พึงกวาด ซุ้มประตูรกก็พึงกวาด ถ้าไม่มีน้ำในหม้อชำระ พึงตักน้ำมาไว้
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในวัจกุฎีสำหรับภิกษุทั้งหลาย โดยที่ภิกษุทั้งหลาย
ต้องประพฤติชอบในวัจกุฎี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
๑๑. อุปัชฌายวัตตกถา๑
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในพระอุปัชฌาย์
[๓๗๕] สมัยนั้น สัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอุปัชฌาย์ บรรดา
ภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติ
ชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า สัทธิ-
วิหาริกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบต่อพระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอุปัชฌาย์ทั้งหลายแก่
สัทธิวิหาริกทั้งหลาย โดยที่สัทธิวิหาริกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงประพฤติโดยชอบในอุปัชฌาย์ วิธีประพฤติโดยชอบ
ในอุปัชฌาย์นั้นมีดังนี้
สัทธิวิหาริกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว
พึงถวายน้ำ รับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง อย่าให้ครูด๒ ล้างแล้วเก็บงำไว้ เมื่อ
อุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๖๔-๖๖/๗๙-๘๗
๒ อย่าให้ครูดพื้น (วิ.อ. ๓/๖๖/๓๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวายประคด
เอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอุปัชฌาย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓๑
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉาสมณะ
ของอุปัชฌาย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่
เมื่ออุปัชฌาย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อุปัชฌาย์กล่าวถ้อยคำ
ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่ออุปัชฌาย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ
พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ
พึงม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออุปัชฌาย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้
ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร

เชิงอรรถ :
๑ มณฑล ๓ คือ ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์(ผ้าห่ม) ต้องห่มปิดหลุ่มคอ และทำชายจีวรทั้ง ๒ ข้างให้เสมอกัน
ถ้าเป็นอันตรวาสก (ผ้านุ่ง)ต้องนุ่งปิดสะดือ แบะปิดเข่าทั้ง ๒ ข้าง (ดู วินัยปิฎกมหาวิภังค์แปล ๒/๕๗๖-๕๗๗/
๖๕๐-๖๕๑, และ วิ.อ. ๒/๕๗๖-๕๗๗/๔๔๗-๔๔๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
เมื่ออุปัชฌาย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น พึง
จัดน้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
เดินตามหลังอุปัชฌาย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร
พึงถวายจุรณและดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและ
หลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดภิกษุเถระทั้งหลาย ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ
ทั้งหลาย พึงทำบริกรรม๑แก่อุปัชฌาย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือ
ตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรม๒แก่อุปัชฌาย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัว
ให้แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอุปัชฌาย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน
มาถวายอุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องการจะให้สอบถาม พึงสอบถาม
อุปัชฌาย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถพึงชำระให้สะอาด เมื่อ
จะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อนวางไว้ ณ ที่สมควร พึงขนผ้า
ปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง สัทธิวิหาริกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบาน
ประตูและกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง

เชิงอรรถ :
๑ ทำบริกรรมในเรือนไฟ หมายถึงการถวายขี้เถ้า ดินเหนียว และน้ำร้อนเป็นต้น (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)
๒ ทำบริกรรมในน้ำ หมายถึงการขัดถูร่างกาย (วิ.สงฺคห. ๑๘๓/๒๕๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง
ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่ง
แดด เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบาน
ประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน พึงผึ่ง
แดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความไม่ยินดี สัทธิวิหาริกพึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความรำคาญ สัทธิวิหาริกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์เกิดความเห็นผิด สัทธิวิหาริกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อุปัชฌาย์
ถ้าอุปัชฌาย์ต้องอาบัติหนัก๑ ควรแก่ปริวาส สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อุปัชฌาย์”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอุปัชฌาย์เข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่มานัต๒ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อุปัชฌาย์”
ถ้าอุปัชฌาย์ควรแก่อัพภาน๓ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอุปัชฌาย์”

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติหนัก ในที่นี้หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส
๒ มานัต เป็นชื่อวุฏฐานวิธี คือระเบียบการปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสส แปลว่า นับ หมายถึง
นับราตรี ๖ ราตรี ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าปกปิดไว้ ต้องอยู่ปริวาสเท่ากับวันที่ปกปิดก่อน
จึงจะขอมานัตได้ แต่ถ้าไม่ได้ปกปิดไว้ สามารถขอมานัตได้ แล้วประพฤติมานัต ๖ ราตรี (กงฺขา.อ. ๑๗๘)
๓ อัพภาน เป็นชื่อวุฏฐานวิธีที่เป็นขั้นตอนสุดท้าย ภิกษุผู้ประพฤติมานัตครบ ๖ ราตรีแล้ว ขออัพภานจาก
สงฆ์ ๒๐ รูป เมื่อสงฆ์สวดอัพภานแล้ว ถือว่าภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนั้นบริสุทธิ์ สมควรอยู่ร่วมกับ
ภิกษุสงฆ์ต่อไป (กงฺขา.อ. ๑๗๘-๑๗๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๑. อุปชฌายวัตตกถา
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม๑ คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม๒แก่อุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อุปัชฌาย์หรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอุปัชฌาย์ได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว สัทธิวิหาริกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ อุปัชฌาย์พึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องซัก สัทธิวิหาริกพึงซัก หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องตัดเย็บ สัทธิวิหาริกพึงตัดเย็บ หรือพึงทำการขวน
ขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของอุปัชฌาย์”
ถ้าน้ำย้อมของอุปัชฌาย์จะต้องต้ม สัทธิวิหาริกพึงต้ม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอุปัชฌาย์”
ถ้าจีวรของอุปัชฌาย์จะต้องย้อม สัทธิวิหาริกพึงย้อม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอุปัชฌาย์” เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อม
พลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงพากันจากไป
สัทธิวิหาริกไม่บอกอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของ
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้

เชิงอรรถ :
๑ ทำกรรม หมายถึงลงโทษ
๒ ตัชชนียกรรม คือการขู่,การปราม (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๗-๔๑๑/๒๙๗-๓๐๑)
นิยสกรรม คือการถอดยศ,การปลดออกจากตำแหน่ง (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๒/๓๐๑-๓๐๒,๔๒๓/๓๐๘)
ปัพพาชนียกรรม คือการไล่ออกจากหมู่,การไล่ออกจากวัด (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๓/๓๐๒-๓๐๓)
ปฏิสารณียกรรม คือการให้ระลึกความผิด (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๔/๓๐๓)
อุกเขปนียกรรม คือการกันออกจากหมู่,การยกออกจากหมู่(วิ.ม. (แปล) ๕/๔๑๕/๓๐๓-๓๐๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงปลงผมให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปปลงผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบาง
รูปทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำการขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้ทำ
การขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็น
ปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปถวายภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้นำ
บิณฑบาตไปถวาย
สัทธิวิหาริกไม่บอกลาอุปัชฌาย์ ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงออกไป
ต่างถิ่น๑ ถ้าอุปัชฌาย์เป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอุปัชฌาย์นั้น
จะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในอุปัชฌาย์ทั้งหลายสำหรับพวกสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
โดยที่สัทธิวิหาริกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอุปัชฌาย์ทั้งหลาย

๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา๒
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในสัทธิวิหาริก
[๓๗๗] สมัยนั้น พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า อุปัชฌาย์
ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

เชิงอรรถ :
๑ ไปต่างถิ่น หมายถึงไปอยู่ที่อื่น (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๘๓/๒๙๐)
๒ วิ.ม. (แปล) ๔/๖๗/๘๘-๙๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๗๘] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในสัทธิวิหาริกทั้งหลายแก่
อุปัชฌาย์ทั้งหลาย โดยที่อุปัชฌาย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริก วิธีประพฤติชอบใน
สัทธิวิหาริกนั้นมีดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌาย์พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์สัทธิวิหาริก ด้วยอุทเทส
ปริปุจฉา โอวาท และอนุศาสน์
ถ้าอุปัชฌาย์มีบาตร สัทธิวิหาริกไม่มีบาตร อุปัชฌาย์พึงถวายบาตรแก่สัทธิ-
วิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงเกิดขึ้นแก่
สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีจีวร สัทธิวิหาริกไม่มีจีวร อุปัชฌาย์พึงถวายจีวรแก่สัทธิวิหาริก
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าอุปัชฌาย์มีบริขาร สัทธิวิหาริกไม่มีบริขาร อุปัชฌาย์พึงถวายบริขารแก่
สัทธิวิหาริก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงเกิดขึ้น
แก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นไข้ อุปัชฌาย์พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า
ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่อสัทธิวิหาริกฉันข้าวต้ม
เสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าสัทธิวิหาริก ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ปูอาสนะไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
โดยกำหนดว่า “เวลาเพียงเท่านี้ สัทธิวิหาริกจักกลับมา” พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับ
ผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะ
พับจีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึง
ม้วนประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และสัทธิวิหาริกต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่อสัทธิวิหาริกฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมา
ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้ง
ไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
เมื่อสัทธิวิหาริกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นให้ ถ้าเธอต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร พึงถวายจุรณและ
ดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและ
หลัง จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
บริกรรมแก่สัทธิวิหาริกในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
ปิดหน้าและหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่สัทธิวิหาริกแม้ในน้ำ ตนสรงเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวสัทธิวิหาริก ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉัน
มาถวายสัทธิวิหาริก
สัทธิวิหาริกอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด
เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขน
ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อุปัชฌาย์พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่ สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมา
วางไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎีรก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อน้ำชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความไม่ยินดี อุปัชฌาย์พึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความรำคาญ อุปัชฌาย์พึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกเกิดความเห็นผิด อุปัชฌาย์พึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่สัทธิวิหาริก
ถ้าสัทธิวิหาริกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักสัทธิวิหาริกเข้าหาอาบัติเดิม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๒. สัทธิวิหาริกวัตตกถา
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่มานัต อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่สัทธิวิหาริก”
ถ้าสัทธิวิหาริกควรแก่อัพภาน อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานสัทธิวิหาริก”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่สัทธิวิหาริก อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่สัทธิวิหาริกหรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าสัทธิวิหาริกได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อุปัชฌาย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ สัทธิวิหาริกพึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องซัก อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงซักอย่างนี้” หรือพึง
ทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของสัทธิวิหาริก”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องตัดเย็บ อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงตัดเย็บอย่างนี้”
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของสัทธิ-
วิหาริก”
ถ้าน้ำย้อมของสัทธิวิหาริกจะต้องต้ม อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงต้มอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของสัทธิวิหาริก”
ถ้าจีวรของสัทธิวิหาริกจะต้องย้อม อุปัชฌาย์พึงบอกว่า “พึงย้อมอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของสัทธิวิหาริก”
เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไป
ถ้าสัทธิวิหาริกเป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าสัทธิวิหาริกนั้น
จะหาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในสัทธิวิหาริกสำหรับอุปัชฌาย์ทั้งหลาย โดยที่
อุปัชฌาย์ทั้งหลายพึงประพฤติชอบในสัทธิวิหาริกทั้งหลาย
ทุติยภาณวาร จบ

๑๓. อาจริยวัตตกถา๑
ว่าด้วยอาจริยวัตร
[๓๗๙] สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในพระอาจารย์ทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอันเตวาสิกทั้งหลายไม่
ประพฤติชอบในพระอาจารย์ทั้งหลายเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า
อันเตวาสิกทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า
[๓๘๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอาจารย์ทั้งหลายแก่
อันเตวาสิกทั้งหลาย โดยที่อันเตวาสิกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติชอบในอาจารย์ วิธีประพฤติชอบในอาจารย์
นั้นมีดังนี้
อันเตวาสิกพึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถอดรองเท้า ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๗๔-๗๘/๑๐๒-๑๑๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออาจารย์ฉันข้าวต้มเสร็จแล้ว
พึงถวายน้ำรับภาชนะมา ถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้ เมื่อ
อาจารย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอาจารย์ต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวายประคตเอว
ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ
ถ้าอาจารย์หวังจะให้เป็นปัจฉาสมณะ พึงนุ่งให้เรียบร้อยปกปิดได้มณฑล ๓
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน กลัดลูกดุม ล้างบาตรถือไป เป็นปัจฉา
สมณะของอาจารย์ พึงเดินไม่ให้ห่างนัก ไม่ให้ชิดนัก พึงรับบาตรที่มีของบรรจุอยู่
เมื่ออาจารย์กำลังกล่าว ไม่พึงกล่าวสอดขึ้นในระหว่าง อาจารย์กล่าวถ้อยคำ
ใกล้ต่ออาบัติ พึงห้ามเสีย
เมื่ออาจารย์จะกลับ พึงมาก่อนแล้วปูอาสนะไว้ พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้านุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะพับ
จีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึงม้วน
ประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอาจารย์ต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาตเข้า
ไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออาจารย์ฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับบาตรมาถือ
อย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งจับบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
เมื่ออาจารย์ลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้อง
เช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าอาจารย์ต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำเย็น พึงจัด
น้ำเย็นถวาย ถ้าท่านต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอาจารย์ต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินตามหลังอาจารย์ไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟแล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร
จึงถวายจุรณและดิน
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและหลัง
จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำบริกรรม
แก่อาจารย์ในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้าและหลัง
จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อาจารย์แม้ในน้ำ ตนสรงน้ำเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอาจารย์ ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับเรือนไฟ
มาก่อน ปูอาสนะ เตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำฉันมา
ถวายอาจารย์
ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้เรียน พึงเรียน
ถ้าอาจารย์ต้องการจะให้สอบถามอรรถ พึงสอบถาม
อาจารย์อยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด เมื่อ
จะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขนผ้า
ปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวาง ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อันเตวาสิกพึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมาวาง
ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่เขาทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา ควรใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงเอาน้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วย
ฝุ่นละออง พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้างหนึ่ง
คลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎีรก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอาจารย์เกิดความไม่ยินดี อันเตวาสิกพึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่นให้
ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์
ถ้าอาจารย์เกิดความรำคาญ อันเตวาสิกพึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๓. อาจริยวัตตกถา
ถ้าอาจารย์เกิดความเห็นผิด อันเตวาสิกพึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยให้สละเสีย หรือพึงแสดงธรรมีกถาแก่อาจารย์
ถ้าอาจารย์ต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อาจารย์”
ถ้าอาจารย์ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอาจารย์เข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอาจารย์ควรแก่มานัต อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อาจารย์”
ถ้าอาจารย์ควรแก่อัพภาน อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ สงฆ์พึงอัพภานอาจารย์”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่อาจารย์ อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อาจารย์หรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอาจารย์ได้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว อันเตวาสิกพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วย
อุบายอย่างไรหนอ อาจารย์พึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้
สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องซัก อันเตวาสิกพึงซัก หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอาจารย์”
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องตัดเย็บ อันเตวาสิกพึงตัดเย็บ หรือพึงทำการขวน
ขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของอาจารย์”
ถ้าน้ำย้อมของอาจารย์จะต้องต้ม อันเตวาสิกพึงต้ม หรือพึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอาจารย์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าจีวรของอาจารย์จะต้องย้อม อันเตวาสิกพึงย้อม หรือพึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอาจารย์” เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อม
พลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย ไม่พึงหลีกไป
อันเตวาสิกไม่บอกอาจารย์ ไม่พึงให้บาตรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบาตรของ
ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้จีวรแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับจีวรของภิกษุบางรูป ไม่พึงให้
บริขารแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงรับบริขารของภิกษุบางรูป ไม่พึงโกนผมให้ภิกษุบางรูป
ไม่พึงให้ภิกษุบางรูปโกนผมให้ ไม่พึงทำบริกรรมแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงให้ภิกษุบางรูป
ทำบริกรรมให้ ไม่พึงทำการขวนขวายแก่ภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้ทำการ
ขวนขวาย ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะของภิกษุบางรูป ไม่พึงพาภิกษุบางรูปไปเป็น
ปัจฉาสมณะ ไม่พึงนำบิณฑบาตไปถวายภิกษุบางรูป ไม่พึงสั่งภิกษุบางรูปให้นำ
บิณฑบาตไปถวาย
อันเตวาสิกไม่บอกลาอาจารย์ ไม่พึงเข้าหมู่บ้าน ไม่พึงไปป่าช้า ไม่พึงออกไป
ต่างถิ่น ถ้าอาจารย์เป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอาจารย์นั้นจะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในอาจารย์ทั้งหลายสำหรับอันเตวาสิกทั้งหลาย โดย
ที่อันเตวาสิกทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอาจารย์ทั้งหลาย

๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา๑
ว่าด้วยวัตรปฏิบัติในอันเตวาสิก
[๓๘๑] สมัยนั้น พระอาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระอาจารย์ทั้งหลาย
จึงไม่ประพฤติชอบในอันเตวาสิกเล่า”

เชิงอรรถ :
๑ วิ.ม. (แปล) ๔/๗๙/๑๑๒-๑๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า อาจารย์ทั้งหลายไม่ประพฤติ
ชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรในอันเตวาสิกทั้งหลายแก่
อาจารย์ทั้งหลาย โดยที่อาจารย์ทั้งหลายต้องประพฤติชอบในอันเตวาสิกทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงประพฤติชอบในอันเตวาสิก วิธีประพฤติชอบใน
อันเตวาสิกนั้นมีดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์อันเตวาสิกด้วยอุทเทส ปริปุจฉา
โอวาท และอนุศาสน์
ถ้าอาจารย์มีบาตร อันเตวาสิกไม่มีบาตร อาจารย์พึงถวายบาตรแก่อันเตวาสิก
หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บาตรพึงเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอาจารย์มีจีวร อันเตวาสิกไม่มีจีวร อาจารย์พึงถวายจีวรแก่อันเตวาสิก หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ จีวรพึงเกิดขึ้นแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอาจารย์มีบริขาร อันเตวาสิกไม่มีบริขาร อาจารย์พึงถวายบริขารแก่
อันเตวาสิก หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ บริขารพึงเกิดขึ้นแก่
อันเตวาสิก”
ถ้าอันเตวาสิกเป็นไข้ อาจารย์พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า
ปูอาสนะ
ถ้าข้าวต้มมี พึงล้างภาชนะใส่ข้าวต้มเข้าไปถวาย เมื่ออันเตวาสิกฉันข้าวต้ม
เสร็จแล้ว พึงถวายน้ำ รับภาชนะมาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเก็บงำไว้
เมื่ออันเตวาสิกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะเข้าหมู่บ้าน พึงถวายผ้านุ่ง รับผ้านุ่งอาศัย ถวาย
ประคดเอว ถวายสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน ล้างบาตรแล้วถวายพร้อมทั้งน้ำ ปูอาสนะไว้
โดยกำหนดว่า “เวลาเพียงเท่านี้ อันเตวาสิกจักกลับมา” พึงเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่ง
รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ พึงลุกขึ้นรับบาตรและจีวร พึงถวายผ้านุ่งอาศัย รับผ้า
นุ่งมา
ถ้าจีวรชุ่มเหงื่อ พึงผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่งทิ้งไว้ที่แดด พึงพับจีวร เมื่อจะพับ
จีวร พึงพับจีวรให้เหลื่อมมุมกัน ๔ นิ้ว ตั้งใจว่า ตรงกลางจะได้ไม่มีรอยพับ พึงม้วน
ประคดเอวใส่ขนดจีวร
ถ้าบิณฑบาตมี และอันเตวาสิกต้องการจะฉัน พึงถวายน้ำแล้วน้อมบิณฑบาต
เข้าไปถวาย นำน้ำฉันมาถวาย เมื่ออันเตวาสิกฉันเสร็จแล้ว พึงถวายน้ำรับบาตร
มาถืออย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ล้างแล้วเช็ดให้สะเด็ดน้ำผึ่งแดดครู่หนึ่ง ไม่พึงผึ่ง
ทิ้งไว้ที่แดด
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือ
ข้างหนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง
เมื่อจะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง
เอาชายไว้นอก เอาขนดไว้ในจึงเก็บจีวร
เมื่ออันเตวาสิกลุกขึ้นแล้ว พึงยกอาสนะเก็บ พึงเก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ถ้าที่นั้นรก พึงกวาด
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะสรงน้ำ พึงจัดน้ำสรงถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำเย็น
พึงจัดน้ำเย็นถวาย ถ้าเธอต้องการน้ำอุ่น พึงจัดน้ำอุ่นถวาย
ถ้าอันเตวาสิกต้องการจะเข้าเรือนไฟ พึงบดจุรณ พึงแช่ดิน ถือตั่งสำหรับเรือน
ไฟเดินไป ถวายตั่งสำหรับเรือนไฟ แล้วรับจีวรมาวาง ณ ที่สมควร พึงถวายจุรณ
และดิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าสามารถ พึงเข้าเรือนไฟ เมื่อจะเข้าเรือนไฟ พึงเอาดินทาหน้าปิดหน้าและหลัง
จึงเข้าเรือนไฟ ไม่พึงนั่งเบียดพระเถระ ไม่พึงกีดกันอาสนะพระนวกะ พึงทำบริกรรม
แก่อันเตวาสิกในเรือนไฟ เมื่อจะออกจากเรือนไฟ พึงถือตั่งสำหรับเรือนไฟปิดหน้า
และหลัง จึงออกจากเรือนไฟ
พึงทำบริกรรมแก่อันเตวาสิกแม้ในน้ำ ตนสรงเสร็จแล้ว พึงขึ้นก่อนเช็ดตัวให้
แห้งแล้วผลัดผ้า พึงเช็ดน้ำจากตัวอันเตวาสิก ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ ถือตั่งสำหรับ
เรือนไฟมาก่อน ปูอาสนะเตรียมน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ นำน้ำ
ฉันมาถวายอันเตวาสิก
อันเตวาสิกอยู่ในวิหารใด ถ้าวิหารนั้นสกปรก ถ้าสามารถ พึงชำระให้สะอาด
เมื่อจะชำระวิหารให้สะอาด พึงขนบาตรและจีวรออกก่อน วางไว้ ณ ที่สมควร พึงขน
ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน ฟูก หมอน ออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร
เตียง ตั่ง อาจารย์พึงยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบบานประตู
และกรอบประตู ขนออกไปตั้งไว้ ณ ที่สมควร เขียงรองเตียง กระโถน พนักพิง
พึงขนออกมาวางไว้ ณ ที่สมควร พรมปูพื้น พึงสังเกตที่ปูไว้เดิม ค่อยขนออกมา
วางไว้ ณ ที่สมควร
ถ้าในวิหารมีหยากเยื่อ พึงกวาดเพดานลงมาก่อน กรอบหน้าต่างและมุมห้อง
พึงเช็ด
ถ้าฝาที่ทาน้ำมันหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา พึงใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด
ถ้าเป็นพื้นไม่ได้ทา พึงใช้น้ำประพรมแล้วเช็ด อย่าให้วิหารคลาคล่ำด้วยฝุ่นละออง
พึงเก็บหยากเยื่อไปทิ้ง ณ ที่สมควร
พรมปูพื้น พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับปูไว้ตามเดิม เขียงรองเตียง พึงผึ่งแดด
เช็ด ขนกลับวางไว้ตามเดิม
เตียง ตั่ง พึงผึ่งแดด ชำระ ปัด ยกอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ครูด ไม่ให้กระทบ
บานประตูและกรอบประตู ขนกลับตั้งไว้ตามเดิม ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
พึงผึ่งแดด ชำระ ตบ ขนกลับวางปูไว้ตามเดิม กระโถน พนักพิง พึงผึ่งแดด เช็ดถู
ขนกลับวางไว้ตามเดิม
พึงเก็บบาตรและจีวร เมื่อจะเก็บบาตร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือบาตร ใช้มือข้าง
หนึ่งคลำใต้เตียงหรือใต้ตั่ง จึงเก็บบาตร ไม่พึงเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีสิ่งใดรอง เมื่อ
จะเก็บจีวร พึงใช้มือข้างหนึ่งถือจีวร ใช้มือข้างหนึ่งลูบราวจีวรหรือสายระเดียง เอา
ชายไว้นอก เอาขนดไว้ใน จึงเก็บจีวร
ถ้าลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันออก
ถ้าพัดมาทางทิศตะวันตก พึงปิดหน้าต่างด้านตะวันตก
ถ้าพัดมาทางทิศเหนือ พึงปิดหน้าต่างด้านเหนือ
ถ้าพัดมาทางทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างด้านใต้
ถ้าเป็นฤดูหนาว พึงเปิดหน้าต่างกลางวัน ปิดกลางคืน
ถ้าเป็นฤดูร้อน พึงปิดหน้าต่างกลางวัน เปิดกลางคืน
ถ้าบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี รก พึงปัดกวาด ถ้าน้ำฉันน้ำใช้ไม่มี
พึงจัดเตรียมไว้ ถ้าหม้อชำระไม่มีน้ำ พึงตักน้ำใส่หม้อชำระ
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความไม่ยินดี อาจารย์พึงช่วยระงับ หรือพึงบอกภิกษุอื่นให้
ช่วยระงับ หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความรำคาญ อาจารย์พึงช่วยบรรเทา หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยบรรเทา หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกเกิดความเห็นผิด อาจารย์พึงให้สละเสีย หรือพึงบอกภิกษุอื่น
ให้ช่วยสละเสีย หรือพึงแสดงธรรมกถาแก่อันเตวาสิก
ถ้าอันเตวาสิกต้องอาบัติหนัก ควรแก่ปริวาส อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงให้ปริวาสแก่อันเตวาสิก”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] ๑๔. อันเตวาสิกวัตตกถา
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า
“ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์พึงชักอันเตวาสิกเข้าหาอาบัติเดิม”
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่มานัต อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงให้มานัตแก่อันเตวาสิก”
ถ้าอันเตวาสิกควรแก่อัพภาน อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไร
หนอ สงฆ์พึงอัพภานอันเตวาสิก”
ถ้าสงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่อันเตวาสิก อาจารย์พึงทำการขวนขวาย
ว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์ไม่พึงทำกรรมแก่อันเตวาสิกหรือพึงเปลี่ยนไปเป็น
โทษเบา” หรือว่าอันเตวาสิกถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรม หรืออุเขปนียกรรมแล้ว อาจารย์พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบาย
อย่างไรหนอ อันเตวาสิกพึงกลับประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง พึงกลับตัวได้ สงฆ์
พึงระงับกรรมนั้นเสีย”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องซัก อาจารย์พึงบอกว่า “พึงซักอย่างนี้” หรือพึง
ทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงซักจีวรของอันเตวาสิก”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิก จะต้องตัดเย็บ อาจารย์พึงบอกว่า “พึงตัดเย็บอย่าง
นี้” หรือพึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงตัดเย็บจีวรของ
อันเตวาสิก”
ถ้าน้ำย้อมของอันเตวาสิกจะต้องต้ม อาจารย์พึงบอกว่า “พึงต้มอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงต้มน้ำย้อมของอันเตวาสิก”
ถ้าจีวรของอันเตวาสิกจะต้องย้อม อาจารย์พึงบอกว่า “พึงย้อมอย่างนี้” หรือ
พึงทำการขวนขวายว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ใคร ๆ พึงย้อมจีวรของอันเตวาสิก”
เมื่อจะย้อมจีวร พึงย้อมพลิกกลับไปกลับมาดี ๆ เมื่อหยาดน้ำย้อมยังหยดไม่ขาดสาย
ไม่พึงหลีกไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ถ้าอันเตวาสิกเป็นไข้ พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต พึงรอจนกว่าอันเตวาสิกนั้น
จะหาย
ภิกษุทั้งหลาย นี้คือวัตรในพวกอันเตวาสิกทั้งหลายสำหรับอาจารย์ทั้งหลาย
โดยที่อาจารย์ทั้งหลายต้องประพฤติชอบในพวกอันเตวาสิกทั้งหลาย
วัตตขันธกะที่ ๘ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร

รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุอาคันตุกะสวมรองเท้า กั้นร่ม คลุมศีรษะ
พาดจีวรบนศีรษะเข้าไปอาราม ใช้น้ำดื่มล้างเท้า
ไม่ไหว้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้แก่พรรษา
ไม่ต้อนรับด้วยเสนาสนะ งูตกลงมา ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติว่า ภิกษุอาคันตุกะจะเข้าอาราม
พึงถอดรองเท้า ลดร่ม ลดจีวรลงบ่า ไม่ต้องรีบเข้าอาราม
พึงสังเกตว่า ผู้อยู่ประจำในอาวาสประชุมกันที่ไหน
เก็บบาตรจีวรไว้ด้านหนึ่ง ถืออาสนะที่เหมาะสม
ถามถึงน้ำดื่ม น้ำใช้ พึงล้างเท้า
เช็ดรองเท้าด้วยผ้าแห้งก่อนแล้วเช็ดด้วยผ้าเปียกทีหลัง
อภิวาทภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้มีพรรษามากกว่า
ให้ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสผู้มีพรรษาน้อยกว่าอภิวาท
ถามเสนาสนะทั้งที่มีและไม่มีภิกษุ
ถามถึงโคจรคามและอโคจรคาม ตระกูลเสกขสมมติ
ที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ น้ำดื่มน้ำใช้ ไม้เท้า
กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า ควรเข้าออกเวลาไหน
พึงรอสักครู่ วิหารรกพึงชำระให้สะอาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พึงขนเครื่องลาดพื้นไปไว้ที่สมควร เขียงรองเตียง
ฟูก หมอนเตียง ตั่ง กระโถน พนักพิง
พึงกวาดหยากไย่ตั้งแต่เพดานลงมาก่อน
เช็ดกรอบหน้าต่างและมุมห้อง ฝาที่ทาสีเหลืองหรือพื้นทาสีดำขึ้นรา
ใช้ผ้าชุบน้ำบิดแล้วเช็ด พื้นไม่ได้ทา ใช้น้ำพรมแล้วเช็ด
เก็บหยากเยื้อทิ้ง พรหมปูพื้น เขียงรองเตียง เตียง ตั่ง
ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง กระโถน พนักพิง
ควรผึ่งแดด แล้วเก็บไว้ที่เดิม เก็บบาตรจีวร
อย่าวางบาตรไว้บนพื้นไม่มีเครื่องรอง
เก็บจีวรเอาชายไว้นอกเอกขนดไว้ใน
มีลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก ตะวันตก
ทิศเหนือหรือทิศใต้ พึงปิดหน้าต่าง
ทางทิศนั้น ๆ ฤดูหนาว กลางวันเปิดหน้าต่าง
ปิดกลางคืน หน้าร้อนตอนกลางวันปิดหน้าต่าง
เปิดตอนกลางคืน กวาดบริเวณ
ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟและวัจกุฎี
จัดเตรียมน้ำดื่มน้ำใช้และน้ำในหม้อชำระ
วัตรของภิกษุผู้จรมาดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระคุณ
อย่างไม่มีที่เปรียบทรงบัญญัติไว้แล้ว
ภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาส ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า
ไม่ลุกรับไม่ต้อนรับด้วยน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่ไหว้ ไม่จัดเสนาสนะให้
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิภิกษุผู้อยู่ประจำในอาวาสเห็นภิกษุอาคันตุกะ
ผู้แก่พรรษากว่า ควรปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า
ลุกรับ นำน้ำดื่มน้ำใช้ต้อนรับ เช็ดรองเท้าให้
ซักผ้าเช็ดรองเท้าผึ่งไว้ด้านหนึ่ง
อภิวาทภิกษุอาคันตุกะผู้แก่พรรษากว่า
จัดเสนาสนะถวาย บอกเสนาสนะที่มีและไม่มีภิกษุอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
บอกโคจรคามและอโคจรคาม ตระกูลเสกขสมมติ
วัจกุฎี น้ำดื่มน้ำใช้ ไม้เท้า กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า
เวลานี้ควรเข้าออก ภิกษุอาคันตุกะพรรษาน้อย
กว่าพึงนั่ง บอกแนะนำภิกษุอาคันตุกะพรรษาน้อยกว่าให้ไหว้
บอกเสนาสนะ นอกจากนั้น เหมือนในนัยตามที่กล่าวไว้แล้ว
วัตรของภิกษุผู้อยู่ในอาวาสดังกล่าวนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็น
ผู้นำหมู่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว
ภิกษุผู้เตรียมจะออกเดินทาง ไม่เก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดินเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ ไม่บอกมอบหมายเสนาสนะ
เครื่องใช้ไม้ เครื่องใช้ดินเสียหาย เสนาสนะ ไม่มีใครรักษา
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ ภิกษุผู้จะเดินทางพึงเก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง
มอบหมายเสนาสนะแล้วหลีกไป พึงมอบหมายภิกษุสามเณร
คนวัดหรืออุบาสกยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลา
กองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บเครื่องใช้ไม้
เครื่องใช้ดิน ปิดประตูหน้าต่าง
หากวิหารฝนรั่ว ถ้าสามารถพึงมุงบัง
หรือขวนขวาย ในวิหารที่ฝนไม่รั่วก็เหมือนกัน
ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่งพึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน
ในที่แจ้งก็เหมือนกัน คิดว่าอย่างไรเสียส่วนของเตียงตั่ง
ก็คงเหลืออยู่บ้างนี้คือวัตรของภิกษุผู้ออกเดินทาง
ภิกษุไม่อนุโมทนาในโรงอาหารทำให้คนทั้งหลายตำหนิ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนา
ภิกษุปล่อยภิกษุผู้เถระไว้ให้อนุโมทนารูปเดียว
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้พระเถรานุเถระอยู่ ๔-๕ รูป
ภิกษุรูปหนึ่งปวดอุจจาระกลั้นไว้จนสลบ
นี้คือวัตรในการอนุโมทนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาท
เดินแซง นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ กีดกันอาสนะภิกษุนวกะ
นั่งทับสังฆาฏิ ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ
ภิกษุพึงนุ่งห่มปิดมณฑล ๓ คาดประคดเอว
ห่มผ้าสังฆาฏิที่พับซ้อนกัน
กลัดลูกดุม ไม่เดินแซง ปกปิดกายให้ดี
มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง มีเสียงเบา
ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ
ไม่เท้าสะเอว ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง
ปกปิดกายให้ดี สำรวมดี มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า
ไม่หัวเราะดัง มีเสียงเบา ไม่โคลงกาย
ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่เท้าสะเอว
ไม่คลุมศีรษะ ไม่นั่งรัดเข่า ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุนวกะ ไม่นั่งทับสังฆาฏิ
เมื่อเขาถวายน้ำพึงรับไปล้างบาตร
ถืออย่างระมัดระวัง เทน้ำลงกระโถนด้วยคิดว่า
กระโถนอย่าเลอะเทอะ ผู้นั่งใกล้อย่าถูกน้ำกระเซ็นเปียก
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวายข้าวสุก
พึงประคองบาตรรับ เว้นที่สำหรับแกง
จัดถวายแกงอ่อมเท่ากันทุกรูป รับบิณฑบาตโดยเคารพ
มีความสำคัญในบาตร รับบิณฑบาตพอเหมาะสมกับแกง
รับเสมอขอบปากบาตร ภิกษุผู้เถระไม่พึงฉันก่อน
จนกว่าข้าวสุกจะทั่วถึง ภิกษุทุกรูปฉันบิณฑบาตโดยเคารพ
มีความสำคัญในบาตรขณะฉัน ฉันตามลำดับ
ฉันพอเหมาะสมกับแกง ไม่ฉันขยุ้มแต่ยอดลงไป
ไม่ฉันกลบแกงหรือกับข้าว ไม่ขอแกงหรือกับข้าวมาฉัน
ไม่แลดูบาตรของภิกษุอื่นด้วยมุ่งตำหนิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่ ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
ไม่อ้าปากไว้รอท่า ไม่สอดนิ้วมือเข้าปาก
ไม่พูดทั้งในปากมีคำข้าว ไม่ฉันโยนคำข้าว
ไม่ฉันกัดคำข้าว ไม่ฉันทำแก้มให้ตุ่ย ไม่ฉันสลัดมือ
ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว ไม่ฉันแลบลิ้น ไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บ ๆ
ไม่ฉันทำเสียงดังซู้ด ๆ ไม่ฉันเลียมือ ไม่ฉันขอดบาตร
ไม่ฉันเลียริมฝีปาก มือเปื้อนไม่ควรรับขันน้ำ
ภิกษุผู้เถระไม่รับน้ำก่อนที่ภิกษุทุกรูปยังฉันไม่เสร็จ
ล้างบาตรอย่างระมัดระวัง เทน้ำลงกระโถนอย่างระมัดระวัง
กระโถนอย่าเลอะน้ำ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น
สังฆาฏิอย่าถูกน้ำ เทน้ำลงบนพื้นดินอย่างระมัดระวัง
ไม่เทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าว
เมื่อกลับภิกษุนวกะพึงกลับก่อน ภิกษุผู้เถระกลับทีหลัง
ปกปิดกายด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง วัตรในโรงฉันนี้
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระธรรมราชาทรงบัญญัติไว้แล้ว
ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมารยาทเข้าบ้าน
ออกจากบ้านโดยไม่สังเกต เข้าออกรีบร้อนเกินไป
ยืนไกลเกินไป ใกล้เกินไป นานเกินไป กลับเร็วเกินไป
อีกรูปหนึ่งก็เช่นเดียวกัน ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
จะเข้าบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี
มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง พูดเสียงเบา
ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่เท้าสะเอว
ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง พึงสังเกตก่อน อย่ารีบเข้าออก
อย่ายืนไกลนัก ใกล้นัก นานนัก อย่ากลับเร็วนัก
พึงยืนกำหนดว่า เขาจะหยุดงานลุกจากที่นั่งจับทัพพี
ภาชนะตั้งไว้หรือไม่ แหวกผ้าสังฆาฏิน้อมบาตรเข้าไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ประคองบาตรรับอาหาร ขณะรับ ไม่มองดูหน้าผู้ถวาย
แม้ในแกงก็กำหนดเช่นเดียวกัน เมื่อเขาถวายอาหารแล้ว
ใช้สังฆาฏิคลุมบาตรกลับไป ปกปิดกายด้วยดีเดินไป
สำรวมด้วยดี มีจักษุทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะดัง
มีเสียงค่อย ไม่โคลงกาย ไม่แกว่งแขน ไม่โคลงศีรษะ
ไม่เท้าสะเอว ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระโหย่ง
รูปที่กลับมาก่อนปูอาสนะไว้รอ
ล้างภาชนะที่ใส่ของฉัน เตรียมน้ำดื่มน้ำใช้
รูปที่กลับทีหลังจะฉันก็พึงฉัน ถ้าไม่ฉันก็เททิ้ง
รื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า
เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน
หม้อน้ำใช้หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า พึงจัดหาตั้งไว้
ถ้าเป็นเรื่องสุดวิสัยพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วย
แต่ไม่ควรออกคำสั่ง นี้คือวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
ภิกษุอยู่ป่า ไม่เตรียมน้ำดื่ม น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ
ไม่รู้นักษัตรไม่รู้จักทิศ พวกโจรถามก็ตอบว่าไม่มี
ไม่รู้ทุกอย่าง จึงถูกทำร้าย ภิกษุผู้อยู่ป่า
พึงสวมถุงบาตร คล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่
ครั้นจะเข้าบ้านควรถอดรองเท้าใส่ถุง
คล้องบ่า ปกปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย
แม้ในอารัญญิกวัตรก็มีนัยเหมือนในบิณฑจาริกวัตร
ออกจากบ้านแล้ว สวมถุงบาตรคล้องบ่า
พับจีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป
เตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม้เท้า
เรียนนักษัตรทุกประเภทหรือเพียงบางส่วน รู้จักทิศ
วัตรของภิกษุผู้อยู่ป่านี้ พระผู้มีพระภาคผู้ ทรงเป็นผู้สูงสุดกว่า
สรรพสัตว์ทรงบัญญัติไว้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุหลายรูปทำจีวรในที่แจ้ง ถูกฝุ่นธุลีฟุ้งกลบ
ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ ถ้าวิหารรก เมื่อจะปัดกวาด
เริ่มต้นควรขนบาตรจีวรออกไป ขนฟูก หมอน
เตียง ตั่ง กระโถน พนักพิงออกไป
กวาดหยากเยื่อลงจากเพดาน เช็ดกรอบประตูหน้าต่างและมุมห้อง
ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำขึ้นรา ถ้าพื้นไม่ได้ทา
พึงเช็ดทำให้สะอาด ปัดกวาดหยากเยื่อทิ้ง
ไม่เคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ วิหาร น้ำดื่ม น้ำใช้
ไม่เคาะในที่สูง เหนือลม ใต้ลม พรหมปูพื้น เขียงรองเตียง
เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง กระโถน พนักพิง
ตากทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ตามเดิม เก็บบาตรจีวร
อย่าวางบาตรไว้บนพื้นที่ไม่มีเครื่องรอง
จีวรต้องพาดชายไว้ด้านนอกขนดไว้ด้านใน
หากลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือหรือทิศใต้
พัดมาปิดหน้าต่างด้านทิศนั้น ๆ
หน้าหนาวตอนกลางวันเปิดหน้าต่าง
กลางคืนปิด หน้าร้อน กลางวันเปิดหน้าต่าง กลางคืนปิด
ปัดกวาดบริเวณ ซุ้ม โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี
ตักน้ำดื่มน้ำใช้มาตั้งไว้ ตักน้ำใส่หม้อชำระไว้
อยู่กับภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า ถ้ายังไม่ได้บอก
อย่าให้อุทเทส ปริปุจฉา อย่าสาธยาย
อย่าแสดงธรรม อย่าตามประทีป อย่าเปิดหน้าต่าง
อย่าปิดหน้าต่าง ควรเดินตามภิกษุแก่พรรษากว่า
อย่ากระทบแม้ด้วยชายสังฆาฏิ วัตรในเสนาสนะ
พระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นพระมหาวีระทรงบัญญัติไว้แล้ว
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถูกภิกษุผู้เถระห้าม ปิดประตู
ภิกษุผู้เถระสลบ ภิกษุผู้มีศีลตำหนิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ภิกษุควรนำเถ้าไปเททิ้ง ปัดกวาดเรือนไฟชาน
ภายนอกบริเวณซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟ บดจุรณ
แช่ดินเหนียว ตักน้ำไว้ในราง เอาดินเหนียว
ทาหน้าปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง
ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุนวกะ
ถ้ามีความอุตสาหะควรทำบริกรรมแก่ภิกษุผู้เถระในเรือนไฟ
อย่าสรงน้ำข้างหน้า เหนือน้ำ ให้หนทาง
เรือนไฟเปรอะเปื้อน ล้างรางแช่ดินเหนียว
เก็บตั่ง ดับไฟ ปิดประตูนี้คือวัตรในเรือนไฟ
ภิกษุถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ ถ่ายอุจจาระตามลำดับพรรษา
ทรงอนุญาตให้ถ่ายตามลำดับผู้มาถึง
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เข้าวัจกุฎีเร็ว เวิกผ้านุ่งเข้าไป
ถอนหายใจพลางถ่ายอุจจาระ เคี้ยวไม้ชำระฟัน
พลางถ่ายอุจจาระ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกราง
บ้วนน้ำลายลงในราง ใช้ไม้ชำระเนื้อแข็ง
ทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่ายอุจจาระออกมาเร็วเกิน
เวิกผ้าออกมา ชำระมีเสียงดังโจ๊กโจ๊ก
เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระ ภิกษุผู้อยู่ข้างนอกพึงกระแอม
ภิกษุผู้อยู่ข้างในกระแอมรับ พาดจีวรไว้บนราว
สายระเดียง อย่ารีบเข้าไป อย่าเวิกผ้าเข้าไป ยืนบนเขียง
อย่าถอนหายใจดัง อย่าเคี้ยวไม้ชำระฟัน
อย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะออกนอกราง
อย่าบ้วนน้ำลายลงในราง อย่าใช้ไม้ชำระเนื้อแข็ง
อย่าทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย ยืนบนเขียงถ่ายแล้ว
ปิดผ้า อย่าออกมาเร็วนัก อย่าเวิกผ้าออกมา
ยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิด อย่าชำระมีเสียงดังจะปุจะปุ
อย่าเหลือน้ำชำระไว้ ยืนบนเขียงชำระแล้วปิดผ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
วัจกุฎีเลอะเทอะต้องทำความสะอาด
ตะกร้าไม้ชำระเต็มควรนำไปเท
วัจกุฎีชานภายนอกบริเวณซุ้มประตูรกก็ควรกวาด
ตักน้ำใส่หม้อชำระ นี้คือวัตรในวัจกุฏี
สัทธิวิหาริก ถอดรองเท้า ถวายไม้ชำระฟัน
น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถวายข้าวต้ม ล้างภาชนะเก็บไว้
เก็บอาสนะ ที่รกพึงกวาด เข้าบ้าน ถวายผ้านุ่ง
ประคดเอว สังฆาฏิที่ซ้อน ๒ ชั้น บาตรพร้อมทั้งน้ำ
ปัจฉาสมณะ นุ่งปิดมณฑล ๓ ให้เรียบร้อย
คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิที่ซ้อน ล้างบาตร
เป็นปัจฉาสมณะ เดินไม่ห่างนัก ไม่ชิดนักรับของในบาตร
พระอุปัชฌาย์กำลังกล่าวถ้อยคำใกล้ต่ออาบัติ
กลับมาก่อนปูอาสนะไว้รอ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับ
ถวายผ้านุ่ง ผลัด ผึ่งที่แดด ผึ่งทิ้งไว้ครู่หนึ่ง
อย่าให้มีรอยพับ ม้วนประคดเอวไว้ในขนด
พระอุปัชฌาย์ต้องการจะฉัน น้อมถวายปิณฑบาต
ถามถึงน้ำดื่ม ถวายน้ำ รับบาตรถือมาอย่างระมัดระวัง
ผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ พึงเก็บบาตรและจีวร
อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้น ไม่มีเครื่องลาด
พาดชายจีวรไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน
เก็บอาสนะและน้ำล้างเท้า ปัดกวาดที่รก
พระอุปัชฌาย์จะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำร้อน เรือนไฟ
บดจุรณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไปถวายตั่ง รับจีวร
ถวายจุรณและดิน ถ้ามีความสามารถก็ใช้ดินทา
หน้าปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดภิกษุผู้เถระ
ไม่กีดกันอาสนะภิกษุนวกะ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
ปิดทั้งข้างหน้าข้างหลัง ทำบริกรรมในน้ำ
สรงน้ำแล้วขึ้นมาก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัวให้แห้ง
เช็ดน้ำจากตัวพระอุปัชฌาย์ถวายผ้านุ่ง สังฆาฏิ
ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ถามถึงน้ำดื่ม
พึงเรียนพึงสอบถาม
ถ้ามีความอุตสาหะก็ควรปัดกวาดวิหารที่รก
ก่อนปัดกวาด ควรขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง
ผ้าปูนอน ฟูก หมอน เตียง ตั่ง เขียงรองเตียง
กระโถน พนักพิงและเครื่องลาดพื้นออกไป
ปัดกวาดหยากเยื่อตั้งแต่เพดานลงมา เช็ดกรอบหน้าต่าง
ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่ได้ทำ พรหมปูพื้นผึ่งแดด
เขียงรองเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง
ผ้าปูนอน กระโถน พนักพิง เก็บบาตรจีวร
ลมเจือฝุ่นละอองพัดมาทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือหรือทิศใต้ ควรปิดหน้าต่างด้านนั้น ๆ
หน้าหนาว หน้าร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ้ม
โรงฉัน โรงไฟ วัจกุฎี ตักน้ำดื่มน้ำใช้ หม้อชำระ
พระอุปัชฌาย์เกิดความไม่ยอนดี รำคาญ เห็นผิด
ต้องอาบัติหนัก ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
มานัต อัพภาน ถ้าถูกลงตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม
ปฏิสารณียกรรมและอุกเขปนียกรรม
จีวรของพระอุปัชฌาย์ควรซัก ทำย้อม
ย้อมให้พลิกกลับไปมา รับบาตรจีวรและบริขาร ปลงผม
ไม่ทำบริกรรมหรือ ขวนขวาย เป็นปัจฉาสมณะ
ให้บิณฑบาต เข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่ทิศ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๘. วัตต ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในวัตตขันธกะ
พระอุปัชฌาย์อาพาธ ควรพยาบาลตลอดชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย นี้คืออุปัชฌายวัตร อันสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ
พระอุปัชฌาย์สงเคราะห์ด้วยอุทเทส ปริปุจฉา โอวาท
และอนุศาสน์ ให้บาตร จีวรและบริขาร คราวอาพาธ
ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะ แม้อาจริยวัตรก็เหมือนกับอุปัชฌายวัตร
อันเตวาสิกวัตรก็เหมือนกับสัทธิวิหาริกวัตร
อาวาสิกวัตรก็เหมือนกับอาคันตุกวัตร คมิกวัตร
อนุโมทนาวัตร ภัตตัคควัตร ปิณฑจาริกวัตร
อารัญญิกวัตร เสนาสนวัตร ชันตาฆรวัตร วัจกุฎีวัตร
อุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร อาจริยวัตร
อันเตวาสิกวัตรก็เหมือนกัน
ในขันธกะนี้มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร
ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าไม่บำเพ็ญศีล
ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทรามปัญญา
ย่อมไม่ประสบเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน อารมณ์มาก
ย่อมไม่เห็นธรรมโดยชอบ เมื่อไม่เห็นพระสัทธรรม
ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ภิกษุผู้บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าบำเพ็ญศีล
ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ย่อมได้รับเอกัคคตาจิต
ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน อารมณ์เดียว ย่อมเห็นธรรมโดยธรรม
เมื่อเห็นพระสัทธรรม ย่อมพ้นจากทุกข์ได้
เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้เป็นพุทธชิโนรส มีปัญญาเห็นประจักษ์
พึงบำเพ็ญวัตร อันเป็นพระโอวาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ
แต่นั้นจะถึงพระนิพพานได้ดังนี้แล
วัตตขันธกะ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
๙. ปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ
๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
ว่าด้วยการขอให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๓๘๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทในปุพพารามของ
นางวิสาขามิคารมาตา ครั้งนั้น ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง
มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก
อาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค ได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้วพระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด”
เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์
ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาค
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยาม
ผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว พระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่
ภิกษุทั้งหลายเถิด”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว เมื่อปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ ท่าน
พระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมมือไปทางพระผู้
มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ราตรีผ่านไปแล้ว
ปัจฉิมยามผ่านไป ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว พระผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑. ปาติโมกขุทเทสยาจนะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์”
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์ ทรงหมายถึงใครกัน” ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
มนสิการกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ที่มีทั้งหมดด้วยจิต(ของตน) ได้เห็นบุคคลนั้นผู้ทุศีล มี
บาปธรรม ประพฤติไม่เรียบร้อย น่ารังเกียจ ปกปิดพฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่
ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าใน เปียกชุ่ม
เป็นดุจหยากเยื่อ นั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาบุคคลนั้น แล้วได้
กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่านจงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่าน
ไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย” เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะแม้กล่าวอย่างนี้ บุคคลนั้น
ก็ยังนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่าน ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่ง
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นดังนี้ว่า “ท่าน
จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่าน ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย”
แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่ง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับแขนบุคคลนั้นฉุดให้ออกไปนอกซุ้มประตู
ใส่กลอนแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าให้ผู้นั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระ
ผู้มีพระภาคโปรดยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์จริง โมคคัลลานะ เป็นเรื่อง
ยังไม่เคยปรากฏ โมฆบุรุษรอจนกระทั่งถูกฉุดแขนออกไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ
๒. มหาสมุทเทอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความอัศจรรย์ของมหาสมุทร ๘ ประการ๑
[๓๘๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ในมหาสมุทร มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ
ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในมหา
สมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๒. (น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๓. มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก
ทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรไม่อยู่ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึง
บนบกทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๓ ในมหาสมุทร ที่พวก
อสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๔. มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่
มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหา
สมุทรทั้งสิ้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๑๙/๒๔๖, ขุ.อุ. (แปล) ๒๕/๔๕/๒๖๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๒. มหาสมุทเทอัฎฐัจฉริยะ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหานทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลง
สู่มหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมของตน รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น นี้
เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๕. แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝน
ตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม่น้ำสายใดสายหนึ่งในโลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทรและ
สายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์
ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่
เคยปรากฏประการที่ ๖ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีใน
มหาสมุทร
๗. มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี
แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ แก้วมุกดา
แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว นี้
เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร
๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติ
มิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์
มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐
โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ
ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐
โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐ โยชน์บ้าง
นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว
ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร

๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฏฐัจฉริยะ
ว่าด้วยความมหัศจรรย์ในพระธรรมวินัย ๘ ประการ
[๓๘๕] ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘
ประการ ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ คือ
๑. ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ
มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที
เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดย
ลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไป
ตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๒. สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้
เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือน(น้ำใน)มหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติ
ไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ใน
ธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
๓. บุคคลใดทุศีลมีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิด
พฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี
แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ
สงฆ์ก็ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นออก
ไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ยังห่างไกล
จากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น เหมือนมหาสมุทรไม่อยู่
ร่วมกับซากศพ ย่อมซัดซากศพขึ้นฝั่งจนถึงบนบก ทันที
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลใดทุศีล มีบาปธรรม ประพฤติไม่สะอาด น่ารังเกียจ
ปกปิดพฤติกรรม ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีแต่ปฏิญญา
ว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน เปียกชุ่ม เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น
สงฆ์ย่อมประชุมกันนำบุคคลนั้นเธอออกไปทันที แม้บุคคลนั้นจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ก็ยังห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากบุคคลนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่
เคยปรากฏประการที่ ๓ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพา กันยินดีใน
ธรรมวินัยนี้
๔. วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและ
โคตรเดิม รวมเรียกว่าสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งสิ้น เหมือนมหา
นทีทุกสาย คือ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ไหลลงสู่มหา
สมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม รวมเรียกว่า มหาสมุทรทั้งสิ้น
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิม
รวมเรียกว่า สมณะเชื้อสายศากยบุตร นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการ
ที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๕. แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ก็
ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ เหมือนแม่น้ำสายใดสายหนึ่งใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฎฐัจฉริยะ
โลกที่ไหลรวมลงสู่มหาสมุทร และสายฝนตกลงจากฟากฟ้า ก็ไม่ทำ
ให้มหาสมุทรพร่องหรือเต็มได้
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่แม้ถ้าภิกษุจำนวนมาก ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ก็ไม่ทำให้นิพพานพร่องหรือเต็มได้ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ
ประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีธรรมวินัยนี้
๖. ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) เหมือนมหาสมุทร
มีรสเดียว คือ รสเค็ม
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียวคือวิมุตติรส(ความหลุดพ้น) นี้เป็น
ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็น
แล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๗. ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิดคือ สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘ เหมือนมหาสมุทรมีรัตนะมาก มีรัตนะหลาย
ชนิด คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม แก้วตาแมว
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมาก มีรัตนะหลายชนิด คือ สติปัฏฐาน
๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์
๘ นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ในธรรมวินัยที่ภิกษุทั้งหลายพบ
เห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้
๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุ
สกิทาคามิผล พระอนาคามี บุคคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล
พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตตผล เหมือนมหาสมุทร
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลา
ติมิติมิงคละ ปลามหาติมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๔. ปาติโมกขสวนารหะ
โยชน์บ้าง ๒๐๐ โยชน์บ้าง ๓๐๐ โยชน์บ้าง ๔๐๐ โยชน์บ้าง ๕๐๐
โยชน์บ้าง
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคล
ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล พระสกิทาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุสกิทาคามิ
ผล พระอนาคามี บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุอนาคามิผล พระอรหันต์ บุคคลผู้ปฏิบัติ
เพื่อบรรลุอรหัตตผล นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในธรรมวินัย
ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้๑
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้น จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
ยิ่งปิด ยิ่งรั่ว เปิดแล้วไม่รั่ว เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปิด
เมื่อเป็นดังนี้ สิ่งที่เปิดนั้นก็จะไม่รั่ว๒

๔. ปาติโมกขสวนารหะ
ว่าด้วยผู้ควรฟังปาติโมกข์
เรื่องทรงให้ภิกษุสงฆ์ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
[๓๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ทำอุโบสถ ไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่
นี้ไปพวกเธอพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงเอง
ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่เราจะทำอุโบสถ จะยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวไม่พึงฟังปาติโมกข์
รูปใดฟัง ต้องอาบัติทุกกฎ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดปาฎิโมกข์แก่ภิกษุผู้มีอาบัติติดตัวนั้น

เชิงอรรถ :
๑ องฺ. อฏฺ00ก. (แปล) ๒๓/๒๐/๒๕๒-๒๕๖, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๐
๒ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๔๔๗/๔๑๕, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๒๖๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๔. ปาติโมกขสวนารหะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงงดปาติโมกข์อย่างนี้ ในวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕
ค่ำนั้น เมื่อบุคคลนั้นเข้าร่วมประชุมสงฆ์ พึงประกาศขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีอาบัติติดตัว ข้าพเจ้าจะงด
ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า สงฆ์ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ปาติโมกข์เป็นอันงดแล้ว”

เรื่องพวกภิกษุฉัพพัคคีย์งดยกปาติโมกข์
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “ใคร ๆ ไม่รู้จักพวกเรา” มีอาบัติ
ติดตัว ฟังปาติโมกข์ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายผู้รู้วาระจิตของผู้อื่น บอกภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อนี้ ๆ ปรึกษากันว่า ‘ใคร ๆ ไม่รู้จักพวกเรา’
มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์”
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้ฟังข่าวว่า “ภิกษผู้เถระทั้งหลายผู้รู้วาระจิตของผู้อื่นบอก
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ‘พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อนี้ ๆ ปรึกษากันว่า ‘ใคร ๆ ไม่รู้จักพวก
เรา’ มีอาบัติติดตัว ฟังปาติโมกข์”
ภิกษุฉัพพัคคีย์พวกนั้นปรึกษากันว่า “ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลดีงามจะงดปาติโมกข์
แก่พวกเราก่อน” จึงรีบงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่อง
ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควรเพราะเหตุ
ไม่สมควรเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์งดปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร
เพราะเหตุไม่สมควร จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดปาติโมกข์แก่ภิกษุ
ผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”

๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม
[๓๘๗] ภิกษุทั้งหลาย การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง การงดปาติโมกข์ ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง การ งดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง การงด
ปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ
งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง คือ
งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๓. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยไม่มีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์ไม่มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะไม่มีมูล
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏไม่มีมูล
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตไม่มีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาราชิกมีมูล
๒. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติสังฆาทิเสสมีมูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติถุลลัจจัยมีมูล
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาจิตตีย์มีมูล
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติปาฏิเทสนียะมีมูล
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุกกฏมีมูล
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาบัติทุพภาสิตมีมูล
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๗. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะอาชีววิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทำ
๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติไม่มีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง คือ
๑. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๒. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๓. งดปาติโมกข์เพราะสีลวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๔. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ
๕. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๖. งดปาติโมกข์เพราะอาจารวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
๗. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุไม่ได้ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๕. ธัมมิกาธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๘. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทำ
๙. งดปาติโมกข์เพราะทิฏฐิวิบัติมีมูลที่ภิกษุทั้งทำและไม่ได้ทำ
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกมิได้ค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขาไม่นั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขามิได้ค้างอยู่
๕. ภิกษุร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
๖. ไม่ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมไม่ค้างอยู่
๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ไม่มีอยู่
๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ไม่มีอยู่
๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ไม่มีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง คือ
๑. ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๒. ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
๓. ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น
๔. ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
๕. ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
๖. ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
๗. ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรมค้างอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๘. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติมีอยู่
๙. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติมีอยู่
๑๐. ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติมีอยู่
นี้เป็นการงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง

๖. ธัมมิกปาติโมกขัฏฐปนะ
ว่าด้วยการงดปาติโมกข์ที่ชอบธรรม
[๓๘๘] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปาราชิกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุต้องธรรมคือปาราชิก ด้วยอาการ ด้วย
ลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ต้องธรรมคือปาราชิก ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้อง
ธรรมคือปาราชิกก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมคือ
ปาราชิก” ภิกษุไม่เห็นภิกษุผู้ต้องธรรมคือปาราชิก ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่ได้บอกภิกษุ(นั้น)
ว่า “ภิกษุชื่อนี้ต้องธรรมชื่อปาราชิก” แต่ภิกษุ(ผู้ต้องธรรมคือปาราชิก)นั้นเองบอก
ภิกษุว่า “ผมต้องธรรมคือปาราชิก”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้ต้องธรรมคือปาราชิก ข้าพเจ้างด
ปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๘๙] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ๒. โจรมาปล้น
๓. ไฟไหม้ ๔. น้ำหลากมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
๕. คนมามาก ๖. ผีเข้าสิงภิกษุ
๗. สัตว์ร้ายเข้ามา ๘. งูร้ายเลื้อยเข้ามา
๙. ภิกษุจะถึงแก่ชีวิต ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรือ
อาวาสอื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง
ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัยเรื่องนั้น”
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภปาราชิกของบุคคลชื่อนี้ยัง
ค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้น
ยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๐] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้บอกคืนสิกขานั่งอยู่ในบริษัทนั้น คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุบอกคืนสิกขา ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ
ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้บอกคืนสิกขา ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้บอกคืนสิกขา
ก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุนี้บอกคืนสิกขา” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ
ผู้บอกคืนสิกขา ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้บอกคืนสิกขา” แต่ภิกษุ
(ผู้บอกคืนสิกขา)นั้นเอง บอกภิกษุว่า “ผมบอกคืนสิกขา”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย
นึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลนี้บอกคืนสิกขา ข้าพเจ้างดปาติโมกข์
แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
[๓๙๑] เมื่องดปาติโมกข์แก่ภิกษุแล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใด
อย่างหนึ่งในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อผู้นั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาสอื่น
พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล
ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงวินิจฉัยเรื่องนั้น”
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการบอกคืนสิกขาของบุคคล
ชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคล
นั้นยังอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๒] ที่ชื่อว่า ภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมด้วย
อาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
ภิกษุ(นั้น) ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ
(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ไม่เข้าร่วม
สามัคคีที่ชอบธรรม ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคี
ที่ชอธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมไม่
เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ไม่เข้าร่วมสามัคคีที่ชอบธรรม
ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์
ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๓] ที่ชื่อว่า ภิกษุค้านสามัคคีที่ชอบธรรม คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมด้วยอาการ
ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็น
ภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรมก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้าน
สามัคคีที่ชอบธรรม” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุผู้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ภิกษุอื่นก็ไม่
บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม” แต่ภิกษุ(ผู้ค้านสามัคคีที่ชอบ
ธรรม)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมค้านสามัคคีที่ชอบธรรม”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วย
นึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้ค้านสามัคคีที่ชอบธรรม ข้าพเจ้า
งดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง”
ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๔] เมื่องดปาติโมกข์แล้ว บริษัทเลิกประชุมเพราะอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
๑. พระราชาเสด็จมา ฯลฯ ๑๐. มีอันตรายแก่พรหมจรรย์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้าในอาวาสนั้นหรืออาวาส
อื่น พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วสงฆ์พึงวินิจฉัย
เรื่องนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ถ้าพึงได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้อยคำปรารภการค้านสามัคคีที่ชอบธรรม
ของบุคคลชื่อนี้ยังค้างอยู่ เรื่องนั้นยังไม่ได้วินิจฉัย ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น
เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์
ชอบธรรม
[๓๙๕] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะสีลวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมีผู้
เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้
นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้
ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและ
มีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห็น มี
ผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัย” แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ)
นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อ
บุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น
ด้วยนึกสงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะสีลวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อมหน้า
ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๖] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจาร
วิบัติมีอยู่ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๖. ธัมมิกปาติโมกขัฎฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมายที่เป็นเหตุให้
ภิกษุนั้นมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุ
ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ
(นั้น)ว่า “ภิกษุชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ” ภิกษุ
(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ ทั้งภิกษุอื่น
ก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้ มีผู้เห้น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะ
อาจารวิบัติ แต่ภิกษุ(ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยินและมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ)นั้นเอง
บอกภิกษุว่า “ผม มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะอาจารวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึก
สงสัยเพราะอาจารวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้า ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
[๓๙๗] ที่ชื่อว่า ภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ
มีอยู่ คือ
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุเห็นภิกษุที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัย
เพราะทิฏฐิวิบัติด้วยอาการ ด้วยลักษณะ ด้วยเครื่องหมาย ที่เป็นเหตุให้ภิกษุนั้นมี
ผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติก็จริง แต่ภิกษุอื่นบอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” ภิกษุ(นั้น)ไม่เห็นภิกษุที่มีผู้เห็น
มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ทั้งภิกษุอื่นก็ไม่บอกภิกษุ(นั้น) ว่า “ภิกษุชื่อนี้
มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ” แต่ภิกษุ (ที่มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๗. อัตตาทานอังคะ
และมีผู้นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ)นั้นเองบอกภิกษุว่า “ผมมีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ”
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหวังอยู่ ในวันอุโบสถ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำนั้น เมื่อบุคคล
นั้นอยู่พร้อมหน้า พึงประกาศท่ามกลางสงฆ์ด้วยได้เห็นนั้น ด้วยได้ยินนั้น ด้วยนึก
สงสัยนั้นว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บุคคลชื่อนี้มีผู้เห็น มีผู้ได้ยิน และมีผู้
นึกสงสัยเพราะทิฏฐิวิบัติ ข้าพเจ้างดปาติโมกข์แก่บุคคลนั้น เมื่อบุคคลนั้นอยู่พร้อม
หน้าไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง” ชื่อว่า การงดปาติโมกข์ชอบธรรม
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม มี ๑๐ อย่างนี้แล
ปฐมภาณวาร จบ

๗. อัตตาทานอังคะ
ว่าด้วยองค์แห่งอธิกรณ์ที่ตนพึงรับ
[๓๙๘] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้น
แล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ภิกษุ
ผู้ประสงค์จะรับ(ชำระ)อธิกรณ์ ควรรับอธิกรณ์ประกอบด้วยองค์เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงรับอธิกรณ์
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ภิกษุผู้ประสงค์จะรับอธิกรณ์ พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้หรือไม่ถึงหนอ” ถ้าภิกษุ
พิจารณารู้อย่างนี้ว่า “ยังไม่ใช่เวลาที่จะรับอธิกรณนี้ ถึงเวลาหา
มิได้” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๗. อัตตาทานอังคะ
๒. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “ถึงเวลาที่จะรับอธิกรณ์นี้ ไม่
ใช่ยังไม่ถึงเวลา” ภิกษุนั้นพึงจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “ข้อที่เรา
ประสงค์จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์ที่เราจะรับนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง”
ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์ที่จะรับนี้ไม่จริง ไม่ใช่เรื่อง
จริง” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๓. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่
เรื่องไม่จริง” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “ข้อที่เราประสงค์
จะรับอธิกรณ์นี้ อธิกรณ์นี้มีประโยชน์ หรือไม่มี” ถ้าภิกษุพิจารณา
รู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่ประกอบ
ด้วยประโยชน์” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น
๔. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “อธิกรณ์นี้ประกอบด้วยประโยชน์
ไม่ใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า
“เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้จะได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็น
พวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัยหรือไม่” ถ้าภิกษุพิจารณารู้
อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้เราจะไม่ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็น
เคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบด้วยวินัย” ก็ไม่
ควรรับอธิกรณ์นั้น
๕. อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ เราจะ
ได้ภิกษุผู้เคยพบเห็นเคยคบหากันมาเป็นพวกโดยชอบธรรม โดยชอบ
ด้วยวินัย” ภิกษุนั้นพึงพิจารณายิ่งขึ้นอีกว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้
อธิกรณ์นั้นจะเป็นเหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท
สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กันหรือไม่”
ถ้าภิกษุ พิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้น
จะเป็นเหตุ ให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกัน สงฆ์แตกกัน
สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่งแยก สงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน” ก็ไม่ควรรับอธิกรณ์นั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๘. โจนเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
อนึ่ง ถ้าภิกษุพิจารณารู้อย่างนี้ว่า “เราเมื่อรับอธิกรณ์นี้ไว้ อธิกรณ์นั้นจะไม่เป็น
เหตุให้สงฆ์บาดหมาง ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาท สงฆ์แตกกัน สงฆ์ร้าวราน สงฆ์แบ่ง
แยกสงฆ์เป็นต่าง ๆ กัน” ควรรับอธิกรณ์นั้น
อุบาลี อธิกรณ์ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ ที่ภิกษุรับแล้วจักไม่กระทำให้เดือดร้อน
ในภายหลัง ด้วยประการฉะนี้

๘. โจทเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
ว่าด้วยคุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงพิจารณา
[๓๙๙] ท่านพระอุบาลีกราบทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตนเท่าไร จึงจะโจทผู้อื่นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณา
คุณสมบัติภายในตน ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า “เรามีความ
ประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความประพฤติ
ทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติข้อนี้เรามี
อยู่หรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์
ประกอบด้วยความประพฤติทางกายที่บริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง
ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านสำเหนียกความประพฤติ
ทางกายเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๒. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรามี
ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราประกอบด้วยความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย ไม่บกพร่อง คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีความประพฤติทางวาจา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๘. โจนเกนปัจจเวกขิตัพพธัมมะ
บริสุทธิ์ ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่เสียหาย
ไม่บกพร่อง ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านสำเหนียก
ความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูก
ตอบโต้อย่างนี้
๓. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรามี
เมตตาจิต ไม่อาฆาตพยาบาทเพื่อนพรหมจารีหรือหนอ คุณสมบัติ
ข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้มีเมตตาจิต ไม่อาฆาต
พยาบาทเพื่อนพรหมจารี ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมถูกตอบโต้ว่า “เชิญ
ท่านมีเมตตาจิตในเพื่อนพรหมจารีเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้น
ย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
๔. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรา
เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีการสั่งสมสุตะหรือหนอ เราได้สดับมาก
ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงาม
เบื้องต้น งามท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อม
ทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่หนอ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ได้เป็นพหูสูต ทรง
สุตะ มีการสั่งสมสุตะ ได้สดับมาก ทรงจำได้แม่นยำ คล่องปาก
ขึ้นใจ รู้ชัดด้วยปัญญาซึ่งธรรมงามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามใน
ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ภิกษุผู้โจทก์นั้นนั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า
“เชิญท่านศึกษาพระปริยัติเสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นนั้นย่อมจะถูก
ตอบโต้อย่างนี้
๕. อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ “เรา
ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัด
ระเบียบถูกต้อง วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๙. โจทเกนอุปัฎฐาเปตัพพธัมมะ
คุณสมบัติข้อนี้เรามีหรือไม่มีหนอ” ถ้าภิกษุไม่ใช่ผู้ทรงจำปาติโมกข์
ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกถูกต้อง จัดระเบียบถูกต้อง
วินิจฉัยถูกต้องโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะ(ตามข้อ ตามอักษร) ภิกษุ
ผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้ว่า “เชิญท่านศึกษาพระวินัยให้ชำนาญ
เสียก่อนเถิด” ภิกษุผู้โจทก์นั้นย่อมจะถูกตอบโต้อย่างนี้
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาคุณสมบัติภายในตน ๕
อย่างนี้ จึงโจทผู้อื่น

๙. โจทเกนอุปัฏฐาเปตัพพธัมมะ
ว่าด้วยคุณสมบัติที่ผู้โจทก์พึงตั้งไว้ในตน
[๔๐๐] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติเท่าไรไว้ในตน พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้ง
คุณสมบัติ ๕ อย่างไว้ในตน คือ
๑. เราจะกล่าวโดยกาลที่ควร จะไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร
๒. เราจะกล่าวคำจริง จะไม่กล่าวคำเท็จ
๓. เราจะกล่าวคำสุภาพ จะไม่กล่าวคำหยาบ
๔. เราจะกล่าวคำมีประโยชน์ จะไม่กล่าวคำไร้ประโยชน์
๕. เราจะกล่าวด้วยเมตตาจิต จะไม่มุ่งร้าย
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ไว้ในตน
จึงโจทผู้อื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
๑๐. โจทกจุทิตกปฏิสังยุตตกถา
ว่าด้วยเรื่องของผู้โจทก์และผู้ถูกโจท
[๔๐๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความ
เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลที่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง จึงสมควรเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำสุภาพ จึงสมควรเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่
ประกอบด้วยประโยชน์ จึงสมควรเดือดร้อน
๕. ท่านมีจิตมุ่งร้าย๑โจท ไม่มีเมตตาจิต จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่ชอบธรรม พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง
เหล่านี้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุแม้อื่นไม่พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วย
เรื่องไม่จริง”

เรื่องผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือด
ร้อนด้วยอาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึง
ความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ

เชิงอรรถ :
๑ อนฺตร ใช้ในอรรถว่า จิตฺตโทสนฺตโร...ฯ ทุฏฺฐจิตฺโต หุตฺวา (วิ.อฏฺ. ๓/๔๐๐/๔๐๔) “โทสนฺตโร”ติ เอตฺถ
อนฺตรสทฺโท จิตฺตปริยาโย (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๐/๕๑๙, วิมติ.ฏีกา ๒/๔๐๐/๓๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลที่ควร จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำสุภาพ จึงไม่สมควร
เดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ถูกโจทด้วยเรื่องที่
เป็นประโยชน์ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทเพราะความมุ่งร้าย ไม่ใช่ถูกโจทเพราะเมตตาจิต จึงไม่
สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่ชอบธรรม ไม่พึงถึงความเดือดร้อนด้วยอาการ ๕
อย่างเหล่านี้”

เรื่องผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรมไม่ต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วย
อาการเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึง
เดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่โจทโดยกาลไม่ควร จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๒. ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องไม่จริง จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๓. ท่านโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่โจทด้วยคำหยาบ จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๔. ท่านโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่โจทด้วยเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์
จึงไม่สมควรเดือดร้อน
๕. ท่านมีเมตตาจิตโจท ไม่ได้มุ่งร้าย จึงไม่สมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์โดยชอบธรรม ไม่พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุอื่นก็พึงสำคัญบุคคลที่พึงโจทด้วยเรื่องจริง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] ๑๐. โจทกจุทิตกปฎิสังยุตตกถา
ผู้ถูกโจทโดยชอบธรรมต้องเดือดร้อน
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ
เท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือด
ร้อนด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ
๑. ท่านถูกโจทโดยกาลที่ควร ไม่ใช่กาลอันไม่ควร จึงสมควรเดือดร้อน
๒. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องไม่จริง จึงสมควรเดือดร้อน
๓. ท่านถูกโจทด้วยคำสุภาพ ไม่ใช่คำหยาบ จึงสมควรเดือดร้อน
๔. ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ไม่เป็นประโยชน์ จึงสมควร
เดือดร้อน
๕. ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ใช่เพราะมุ่งร้าย จึงสมควรเดือดร้อน
อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจทโดยชอบธรรม พึงเดือดร้อนด้วยอาการ ๕ อย่างนี้”

คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ ๕ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการ
คุณสมบัติภายในตนเท่าไรแล้วจึงโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึง
มนสิการคุณสมบัติภายในตน ๕ อย่าง แล้วจึงโจทผู้อื่น คือ
๑. มีความการุญ ๒. มุ่งประโยชน์
๓. มีความเอ็นดู ๔. มุ่งออกจากอาบัติ
๕. ยึดวินัยไว้เป็นแนวทาง
อุบาลี ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ประสงค์จะโจทคนอื่น พึงมนสิการคุณสมบัติภายในตน
๕ อย่างเหล่านี้ก่อน แล้วจึงโจทผู้อื่น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ อย่าง
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒
อย่าง คือ
๑. ความจริง ๒. ความไม่ขุ่นเคือง
ทุติยภาณวาร จบ
ปาติโมกขฐปนขันธกะที่ ๙ จบ
ในขันธกะนี้มี ๓๐ เรื่อง ๒ ภาณวาร

รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฏฐปนขันธกะ
เรื่องในวันอุโบสถ ภิกษุผู้มีบาปถูกไล่ ๓ ครั้ง
ไม่ยอมออกไป ถูกพระโมคคัลลานะฉุดออกไป
เรื่องความอัศจรรย์ในพระธรรมวินัย
คือ มีการศึกษาไปตามลำดับ
เปรียบด้วยมหาสมุทรที่ต่ำลาดลึกลงตามลำดับ
พระสาวกไม่ละเมิดสิกขาบท
เปรียบด้วยมหาสมุทรมีปกติไม่ล้นฝั่ง
สงฆ์ย่อมขับไล่ผู้ทุศีลออก
เปรียบด้วยมหาสมุทรซัดซากศพขึ้นฝั่ง
วรรณะ ๔ มาบวชเป็นบรรพชิตแล้ว
ย่อมละชื่อและโคตรเดิม เปรียบด้วยแม่น้ำใหญ่
ไหลลงสู่มหาสมุทรแล้วย่อมละชื่อเดิม
ภิกษุจำนวนมากปรินิพพาน
เปรียบด้วยน้ำไหลลงมหาสมุทร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
พระธรรมวินัยมีวิมุตติรสอย่างเดียว
เปรียบด้วยมหาสมุทรมีรสเค็มอย่างเดียว
พระธรรมวินัยมีรัตนะมาก
เป็นที่อยู่ของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก
เปรียบด้วยมหาสมุทรเป็นที่อยู่ของสัตว์ขนาดใหญ่
แล้วยังคุณในพระศาสนาให้ดำรงอยู่
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้งดปาติโมกข์
แก่ผู้มีอาบัติติดตัวในวันอุโบสถ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่าใคร ๆ ไม่รู้จักเรา
ทั้งที่มีอาบัติติดตัวก็ยังทำอุโบสถแล้วกลัวว่า
ภิกษุผู้มีศีลดีงามจะงดปาติโมกข์แก่ตน
จึงรีบกล่าวโทษผู้อื่นก่อน
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๒ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๓ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๔ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๕ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๖ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๗ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๗ อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๘ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๙ อย่าง
การงดปาติโมกข์ไม่ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
การงดปาติโมกข์ชอบธรรม ๑๐ อย่าง
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๔ อย่าง คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ และอาชีววิบัติ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๕ กอง คือ ปาราชิก
สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ และทุกกฏ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๖ คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะอาบัติ ๗ กอง คือ ปาราชิก
สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏและ
ทุพภาสิต(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์ เพราะวิบัติ ๘ คือ สีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติและอาชีววิบัติ ที่ภิกษุทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะวิบัติ ๙ วิธี คือ เพราะสีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ ที่ภิกษุทำ ไม่ได้ทำ ทั้งที่ทำและไม่ได้ทำ
(ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม)
พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ผู้รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้
ภิกษุงดปาติโมกข์มีลักษณะ ๑๐ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
(๑) ภิกษุเป็นปาราชิก
(๒) ถ้อยคำปรารภผู้เป็นปาราชิกได้ค้างอยู่
(๓) ภิกษุบอกคืนสิกขา
(๔) ถ้อยคำปรารภผู้บอกคืนสิกขาได้ค้างอยู่
(๕) ภิกษุไม่ร่วมสามัคคี
(๖) พูดค้านสามัคคี
(๗) คำค้านสามัคคีค้างอยู่
(๘-๑๐) มีผู้ได้เห็นได้ยินและนึกสงสัยเพราะสีลวิบัติ
อาจารวิบัติและทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุงดปาติโมกข์เพราะเห็นเอง ผู้อื่นบอกเธอหรือ
ผู้เป็นปาราชิกนั้นบอกความจริงแก่เธอ
บริษัทเลิกประชุม เพราะอันตราย ๑๐ อย่าง คือ
พระราชา โจร ไฟ น้ำ มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ร้าย
สัตว์เลื้อยคลาน ชีวิต และพรหมจรรย์ อธิบายความเรื่องงด
ปาติโมกข์ที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรมตามที่กำหนดไว้
ภิกษุผู้โจทก์พึงตั้งคุณสมบัติภายในตน คือ
กล่าวโดยกาลที่ควร กล่าวคำจริง คำที่มีประโยชน์
จะเป็นพรรคพวกมีทะเลาะกันเป็นต้น ผู้เป็นโจทก์มีกาย
วาจาบริสุทธิ์ มีเมตตาจิต เป็นพหูสูต
รู้ปาติโมกข์ทั้งสองฝ่าย
ภิกษุพึงโจทโดยกาลอันควร กล่าวด้วยเรื่องจริง
ด้วยคำสุภาพ ด้วยคำที่มีประโยชน์
ด้วยเมตตาจิตเพราะถูกโจทโดยไม่
ชอบธรรมภิกษุเดือดร้อน
ก็พึงบรรเทาความเดือดร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๙. ปาติโมกขัฎฐปน ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ
ภิกษุผู้โจทก์และผู้ถูกโจทชอบธรรม
พึงบรรเทาความเดือดร้อน
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศข้อปฎิบัติของภิกษุผู้จะโจทไว้
๕ อย่าง คือ ความการุณ มุ่งประโยชน์ มีความเอ็นดู
การออกจากอาบัติและยึดพระวินัยไว้เป็นแนวทาง
ผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในความจริงและไม่ขุ่นเคือง
ปาติโมกขัฎฐปนขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๑๐. ภิกขุนีขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
๑. มหาปชาปติโคตมีวัตถุ
ว่าด้วยเรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
[๔๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ ๑ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระ
นางประชาบดีโคตมีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ขอประทานวโรกาส มาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่
พระตถาคตประกาศไว้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลว่า “ขอประทานวโรกาส มาตุ-
คามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้แล้วเลย”
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงดำริว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรง
อนุญาตให้ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรง

เชิงอรรถ :
๑ ดู องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๑/๒๒๗/๓๓๑-๓๓๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ประกาศไว้” ทรงเป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ กันแสงอยู่พลาง
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตามพระอัธยาศัยแล้วเสด็จจาริก
ไปจากกรุงเวสาลี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงเวสาลี ทราบว่า พระผู้มีพระ
ภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ในกรุงเวสาลีนั้น
คราวนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีปลงพระเกศา ทรงนุ่งผ้ากาสายะ
พร้อมด้วย นางศากิยานีจำนวนมาก เสด็จไปทางกรุงเวสาลี เสด็จเข้าไปยังกูฏาคาร
สาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี โดยลำดับ เวลานั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระเนตร
นองพระพักตร์ ประทับ ยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก
ท่านพระอานนท์เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมีพระบาทระบม พระวรกาย
เปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนองพระพักตร์ ประทับยืน
กันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก จึงถามดังนี้ว่า “โคตมี เพราะเหตุไร พระองค์จึงมีพระ
บาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์เสียพระทัย น้ำพระเนตรนอง
พระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอก”
พระนางตรัสตอบว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “โคตมี ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงรออยู่ที่นี่สักครู่ จน
กว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้มาตุคามได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ
ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี
โคตมีมีพระบาทระบม พระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี เป็นทุกข์ เสียพระทัย น้ำพระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
เนตรนองพระพักตร์ ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูชั้นนอกด้วยคิดว่า ‘พระผู้มีพระ
ภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้’ ขอประทานวโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้เลย”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ก็ได้กราบทูลกับพระผู้มีพระภาคว่า “ขอประทาน
วโรกาส ขอมาตุคามพึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า “อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจการที่มาตุคาม
ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้เลย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า “พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคาม
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงประกาศไว้ อย่า
กระนั้นเลย เราพึงทูลขอพระองค์ให้มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระ
ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ด้วยอุบายบางอย่าง”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “มาตุคามออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ จะสามารถทำให้
แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ มาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยที่ตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล
อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ถ้ามาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตใน
พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้ สามารถทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิ
ผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผลได้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก เคยประคับประคองดูแลถวายเกษียรธาร
(น้ำนม) เมื่อพระชนนีสวรรคต ได้ให้พระผู้มีพระภาคดื่มเกษียรธาร ขอประทานวโรกาส
ขอมาตุคาม พึงได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต
ประกาศไว้แล้วด้วย เถิด พระพุทธเจ้าข้า”

๒.อัฏฐครุธัมมะ
ว่าด้วยครุธรรม ๘ ข้อ๑
[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี
รับครุธรรม ๘ ข้อ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหา
ปชาบดีโคตมีนั้น คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ
นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต

เชิงอรรถ :
๑ องฺ. อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕๑/๓๓๔-๓๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ๑ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่
ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง
สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่
พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
อานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม ๘ ข้อนี้ (การรับครุธรรม)
นั้นแหละจงเป็นการอุปสมบทของพระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อาวาสที่ไม่มีภิกษุ หมายถึงสำนักของภิกษุณีที่ไม่มีภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ หรือมี
ภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ แต่เส้นทางที่จะไปยังสำนักภิกษุณีนั้นไม่ปลอดภัย (ดู วิ.ภิกฺขุนี.
(แปล) ๓/๑๐๔๘/๒๘๐, กงฺขา.อ. ๓๙๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ จากพระผู้มีพระภาคแล้วเข้าไป
หาพระนางมหาปชาบดีโคตมีถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระนางมหาปชาบดี
โคตมีดังนี้ว่า “โคตมี ถ้าพระนางรับครุธรรม ๘ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็น
การอุปสมบทของพระนาง คือ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ
ทำอัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อ
นี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอด
ชีวิต
๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจาก
ภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ
ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรม
ข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจน
ตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่
ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ธรรมข้อนี้
ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่ง
สอนภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต
โคตมี ถ้าพระองค์รับครุธรรม ๘ นี้ (การรับครุธรรม)นั้นแหละจะเป็นการ
อุปสมบทของพระองค์”
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ดิฉันยอมรับครุธรรม ๘ ข้อนี้
ปฏิบัติไม่ละเมิดไปจนตลอดชีวิตทีเดียว เปรียบเหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มผู้ชอบ
แต่งกาย เมื่อสรงน้ำดำเกล้าแล้วได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวน ก็ใช้มือทั้ง
สองประคองรับไว้เหนือศีรษะฉะนั้น”
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระนางมหา
ปชาบดีโคตมียอมรับครุธรรม ๘ ข้อแล้ว พระมาตุจฉาของพระองค์อุปสมบทแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้ามาตุคามจะไม่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้นาน สัทธรรม
จะดำรงอยู่ถึง ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย
ที่ตถาคต ประกาศไว้แล้ว บัดนี้พรหมจรรย์จะดำรงอยู่ได้ไม่นาน สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้
เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น๑

เชิงอรรถ :
๑ สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี หมายความว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลา
ผ่านไป ๕๐๐ ปีก็จะไม่มีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ใน
ระยะเวลา ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอรหันต์
สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่
ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปีก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่าปฏิเวธสัทธรรมจะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี แม้ปริยัติธรรม
ก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธต่างเกื้อกูลกัน (วิ.อ.๓/๔๐๓/๔๐๖-๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เปรียบเหมือนตระกูลหนึ่งที่มีสตรีมาก มีบุรุษน้อยจะถูกโจรปล้นทรัพย์ทำร้ายได้ง่าย
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เหมือนหนอนขยอกที่ลงในนาข้าวสาลี ซึ่งอุดมสมบูรณ์ก็ทำให้นาข้าวนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อานนท์ ธรรมวินัยที่มีมาตุคามออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะไม่ตั้งอยู่ได้นาน
เหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่อุดมสมบูรณ์ก็ทำให้ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน
อานนท์ เราบัญญัติครุธรรม ๘ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ซึ่งภิกษุณีทั้งหลายไม่พึง
ละเมิดไปจนตลอดชีวิต ก็เหมือนคนกั้นทำนบที่สระใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหล
(เข้า)ออกไปฉะนั้น
อัฏฐครุธัมมะ จบ

๓. ภิกขุนีอุปสัมปทานุชานนะ
ว่าด้วยการอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
[๔๐๔] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางปชาบดีโคตมี
ผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “หม่อมฉันจะปฏิบัติอย่างไร
กับนางสากิยานีพวกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเห็นชัด ชวน
ใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนใจให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถา ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอุปสมบทภิกษุณี
ทั้งหลาย”
ต่อมา ภิกษุณีเหล่านั้น กล่าวกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีดังนี้ว่า “แม่เจ้ายัง
ไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า
‘ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้ว
อภิวาทได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์
ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ภิกษุณี
ทั้งหลายกล่าวกับดิฉันอย่างนี้ว่า แม่เจ้ายังไม่ได้อุปสมบท แต่พวกดิฉันอุปสมบทแล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงให้อุปสมบทภิกษุณีทั้งหลาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ในเวลาที่พระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม
๘ ก็ชื่อว่าได้อุปสมบทแล้ว”

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลขอพร
[๔๐๕] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก
ครั้นแล้วอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์ ดิฉันจะทูลขอพรอย่างหนึ่งจากพระผู้มีพระภาคว่า ‘ขอประทานวโรกาส
พระผู้มีพระภาคพึงอนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
และภิกษุณีทั้งหลายตามลำดับพรรษาเถิด พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ครั้นแล้ว
ถวายอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กล่าวกับข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ท่านอานนท์ ดิฉันจะทูล
ขอพรอย่างหนึ่งจากพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระผู้มีพระภาคพึง
อนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายและภิกษุณี
ทั้งหลายตามลำดับพรรษาเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่ตถาคตจะอนุญาต
การกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคาม อานนท์ เพราะพวกเดียรถีย์
เหล่านี้ผู้กล่าวธรรมไว้ไม่ดีก็ยังไม่กราบ ไม่ลุกรับ ไม่ไหว้ ไม่ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม
ไฉนตถาคตจะอนุญาตการกราบ การลุกรับ การไหว้ สามีจิกรรมแก่มาตุคามเล่า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกราบ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงไหว้ ไม่พึง
ทำสามีจิกรรมแก่มาตุคาม รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลถามถึงสิกขาบท
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระนางมหาปชาบดี
โคตมีผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวก
หม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นสาธารณบัญญัติ๑กับภิกษุ
ทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย
ที่เป็นสาธารณบัญญัติกับภิกษุทั้งหลาย เหมือนที่ภิกษุทั้งหลายศึกษากันฉะนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ สาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุสงฆ์บัญญัติไว้ เป็นข้อปฎิบัติสำหรับ
ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์พึงรักษาด้วย จำนวน ๑๗๔ สิกขาบท ดังที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๑ และภาค ๒

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระนางทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันจะปฏิบัติในสิกขาบทของ
ภิกษุณีทั้งหลายที่เป็นอสาธารณบัญญัติ๑ กับภิกษุทั้งหลายอย่างไร”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี พวกเธอจงศึกษาสิกขาบทของภิกษุณีทั้งหลาย
ที่เป็นอสาธารณบัญญัติ กับภิกษุทั้งหลายตามที่เราบัญญัติไว้”

ลักษณะตัดสินพระธรรมวินัย ๘ ประการ๒
[๔๐๖] ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ
ที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาท ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม
โดยย่อ ที่เมื่อหม่อมฉันฟังแล้ว จะพึงหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร
อุทิศกายใจอยู่เถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความประกอบไว้ ไม่เป็นไปเพื่อความพราก
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการสะสม ไม่เป็นไปเพื่อการไม่สะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความมักน้อย
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความ
เพียร
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงง่าย

เชิงอรรถ :
๑ อสาธารณบัญญัติ ได้แก่ บทบัญญัติที่พระผู้มีพระภาคทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้ภิกษุณีสงฆ์ไม่ต้อง
รักษาจำนวน ๔๖ สิกขาบทและที่ทรงปรารภภิกษุณีสงฆ์บัญญัติไว้เฉพาะสำหรับภิกษุณีสงฆ์บัญญัติฝ่ายเดียว
จำนวน ๑๓๐ สิกขาบท ตามที่แสดงไว้แล้วในพระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ เล่ม ๓
๒ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๒/๕๓/๓๓๙

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
โคตมี ท่านพึงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า ‘นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่วินัย นั่นไม่ใช่
สัตถุศาสน์’
โคตมี ท่านรู้ธรรมเหล่าใดว่า
๑. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความ
กำหนัด
๒. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความพราก ไม่เป็นไปเพื่อความประกอบไว้
๓. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อการไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม
๔. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก
๕. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
๖. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลีหมู่คณะ
๗. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็นไปเพื่อความ
เกียจคร้าน
๘. ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็นไปเพื่อความ
เป็นคนเลี้ยงยาก
โคตมี ท่านจงจำไว้โดยส่วนเดียวว่า “นั่นเป็นธรรม นั่นเป็นวินัย นั่นเป็น
สัตถุศาสน์”

ทรงอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[๔๐๗] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย” ต่อมา ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอควรยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปถึงสำนักของภิกษุณีทั้งหลายแล้วยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ บัดนี้ ภิกษุเหล่านี้จะอภิรมย์กับภิกษุณี
เหล่านี้”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยได้ยินคนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลายด้วยกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่ทราบว่า “จะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายอธิบาย
ให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบว่า พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงอย่างนี้”

ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีรับอาบัติของกันและกัน
[๔๐๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ทำคืนอาบัติ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ทำคืนอาบัติไม่ได้ รูปใดไม่
กระทำคืน ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “พึงทำคืนอาบัติอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลายจึงไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทำคืนอาบัติอย่างนี้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอพึงรับอาบัติของภิกษุณี
ทั้งหลาย” จึงไปนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับอาบัติ
ของภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายพบภิกษุที่ถนนบ้าง ตรอกบ้าง ทางสามแพร่งบ้าง
ได้วางบาตรไว้บนพื้น ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่งประนมมือ ทำ
คืนอาบัติ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุและภิกษุณีล่วงเกินกันตอนกลางคืน
เวลานี้กำลังขอขมา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงรับอาบัติของ
ภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดรับ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี
ทั้งหลายรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “จะพึงรับอาบัติอย่างนี้” จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงรับอาบัติอย่างนี้”

ทรงอนุญาตให้ทำกรรมเป็นต้น
[๔๐๙] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำกรรม๑ แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ กรรม ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษทางพระวินัย เช่นตัชชนียกรรมเป็นต้น (วิ.อ.๓/๔๐๙/๔๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ใครหนอพึงทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย” จึงไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายทำกรรม
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่ถูกทำกรรมแล้ว พบภิกษุที่ถนนบ้าง ตรอกบ้าง
ทางสามแพร่งบ้าง ได้วางบาตรไว้บนพื้น ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ ขอขมาว่า “จะไม่ทำอย่างนี้อีก”
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุ
เหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ล่วงเกินกันตอน
กลางคืน เวลานี้กำลังขอขมา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงทำกรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ทำกรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้ว่า “จะพึงทำกรรมอย่างนี้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายบอกภิกษุณี
ทั้งหลายว่า พวกเธอพึงทำกรรมอย่างนี้”
[๔๑๐] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปาก
ทิ่มแทงกัน ท่ามกลางสงฆ์ ไม่อาจจะระงับอธิกรณ์นั้นได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายระงับอธิกรณ์
ของภิกษุณีทั้งหลาย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๑.ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กำลังวินิจฉัยอธิกรณ์อยู่ ปรากฏมีภิกษุณีทั้งหลายที่เข้ากรรม๑บ้าง ต้องอาบัติบ้าง
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ดีแล้วท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงทำกรรม
แก่ภิกษุณีทั้งหลาย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายจงรับอาบัติของภิกษุณีทั้งหลาย เพราะ
พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงระงับอธิกรณ์ของภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมอบการ
ลงโทษภิกษุณีทั้งหลายให้แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุณีทั้งหลายลงโทษภิกษุณี
ทั้งหลายกันเอง ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายมอบการปลงอาบัติของ
ภิกษุณีทั้งหลายให้แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เพื่อให้ภิกษุณีทั้งหลายรับอาบัติกับภิกษุณี
ทั้งหลายด้วยกัน”
สมัยนั้น ภิกษุณีอันเตวาสินีของภิกษุณีอุบลวรรณา ติดตามพระผู้มีพระภาค
เรียนพระวินัยอยู่ ๗ ปี นางกลับมีสติฟั่นเฟือน พระวินัยที่เรียนไว้ก็เลอะเลือน นาง
ทราบว่า “พระผู้มีพระภาคประสงค์จะเสด็จไปกรุงสาวัตถี จึงคิดว่า “เราติดตาม
พระผู้มีพระภาค เรียนพระวินัยอยู่ ๗ ปี จนสติฟั่นเฟือน พระวินัยที่เคยเรียนไว้ ก็
เลอะเลือน การที่มาตุคามจะติดตามพระผู้มีพระภาคไปจนตลอดชีวิตเป็นเรื่องยาก เรา
จะพึงปฏิบัติอย่างไรเล่า” จึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
ภิกษุณีทั้งหลายจึงบอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายสอนวินัย
แก่ภิกษุณีทั้งหลายได้”
ปฐมภาณวาร จบ

เชิงอรรถ :
๑ ผู้เข้ากรรม ในที่นี้ หมายถึงผู้ควรแก่กรรมคือควรถูกลงโทษ (กมฺมปฺปตฺตาโยปีติ กมฺมารหาปิ-สารตฺถ ๓/
๕๓๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
๒. ทุติยภาณวาร
[๔๑๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงเวสาลีตามพระอัธยาศัย
แล้วเสด็จจาริกไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ จนถึงกรุงสาวัตถี ทราบว่า
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกคหบดี ในกรุง
สาวัตถีนั้น
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “บางที
ภิกษุณีทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้น้ำโคลนรดภิกษุณี
ทั้งหลาย รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม
ภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น”
สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงประกาศให้ทราบว่า
ภิกษุ นั้นไม่ควรไหว้”๑

ภิกษุแสดงอวัยวะอวดภิกษุณี
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกายแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย เปิดขาอ่อน
แสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พูดเกี้ยวภิกษุณี
ทั้งหลาย ชักชวนบุรุษให้มาคบหารักกับภิกษุณีทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “ภิกษุณีทั้งหลาย
จะรักพวกเราบ้าง”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีสงฆ์พึงประชุมกันในสำนักภิกษุณี ประกาศว่า “พระคุณเจ้ารูปโน้น แสดงอาการที่ไม่น่าเลื่อมใสต่อ
ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พอใจที่จะไม่กราบไหว้พระคุณเจ้ารูปนั้น” ๓ ครั้ง (วิ.อ. ๓/๔๑๑/๔๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเปิดกายแสดงแก่ภิกษุณี
ทั้งหลาย ไม่พึงเปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดองคชาตแสดงแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุณีทั้งหลาย ... ไม่พึงชักชวนบุรุษให้มาคบหา
รักกับภิกษุณีทั้งหลาย รูปใดพึงชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ลงทัณฑกรรมภิกษุผู้ประพฤติเช่นนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงประกาศให้ทราบว่า ภิกษุ
นั้นไม่ควรไหว้”
ต่อมา พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุทั้งหลาย ด้วยคิดว่า “ภิกษุ
ทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้น้ำโคลนรดภิกษุ
ทั้งหลาย รูปใดรด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่
ภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนี้”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ห้ามปราม”
เมื่อภิกษุทั้งหลายห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายก็ยังไม่ยอมเชื่อ
ภิกษุทั้งหลาย จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดการให้โอวาท”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุณีแสดงอวัยวะอวดภิกษุ
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เปิดกายแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดถันแสดง
แก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย เปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย พูดเกี้ยวภิกษุทั้งหลาย ชักชวนสตรีให้มาคบหารักกับภิกษุทั้งหลาย ด้วย
คิดว่า “ภิกษุทั้งหลายจะรักพวกเราบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเปิดกายแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดถันแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดขาอ่อนแสดงแก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ... ไม่พึงเปิดองค์กำเนิดแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ... ไม่พึงพูดเกี้ยวภิกษุทั้งหลาย
... ไม่พึงชักชวนสตรีให้มาคบหารักกับภิกษุทั้งหลาย รูปใดชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุณีผู้ประพฤติเช่นนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราพึงลงทัณฑกรรมอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ห้ามปราม”
เมื่อภิกษุทั้งหลายห้ามปรามแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายก็ยังไม่ยอมเชื่อ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้งดโอวาท”
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “การทำอุโบสถร่วมกับภิกษุณีที่ถูก
งดโอวาทแล้ว ควรหรือไม่หนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงทำอุโบสถร่วม
กับภิกษุณีที่ถูกงดโอวาท จนกว่าอธิกรณ์นั้นจะระงับไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องงดโอวาท
[๔๑๒] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกจาริกไป ภิกษุณีทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระคุณเจ้าอุทายี จึงงดโอวาทแล้วหลีกจาริก
ไปเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายไม่พึงงดโอวาทแล้ว
จาริกไป รูปใดเที่ยวจาริกไป ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาด งดโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด ไม่พึงงดโอวาท
รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาท เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงงดโอวาท เพราะเรื่องไม่
สมควร เพราะเหตุไม่สมควร รูปใดงด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดโอวาทแล้วไม่ให้คำวินิจฉัย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุงดโอวาทแล้วจะไม่ให้คำวินิจฉัย
ไม่ได้ รูปใดไม่ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
[๔๑๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ยอมไปรับโอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปรับโอวาทไม่ได้ รูปใด
ไม่ไป พึงปรับอาบัติตามธรรม”๑
สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์พากันไปรับโอวาท(พร้อมกัน)ทั้งหมด คนทั้งหลายจึงตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็น
ชู้ของภิกษุเหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ไม่พึงไปรับโอวาท(พร้อม
กัน)ทั้งหมด ถ้าไป(พร้อมกัน)ทั้งหมด ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ภิกษุณี ๔-๕ รูป ไปรับโอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุณี ๔-๕ รูปไปรับโอวาท คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ภิกษุณีเหล่านี้เป็นภรรยาของภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ภิกษุณีเหล่านี้เป็นชู้ของภิกษุ
เหล่านี้ บัดนี้ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้จะอภิรมย์กัน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงไปรับโอวาท ๔-๕ รูป
ถ้าพวกเธอไป ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูป
ไปรับโอวาท”

วิธีรับโอวาทของภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งกราบเท้า
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “พระคุณเจ้า ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์
และขอเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การเข้ารับโอวาท”

เชิงอรรถ :
๑ พึงปรับอาบัติตามธรรม หมายถึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ ตามความแห่งสิกขาบทที่ ๙ แห่งอารามวรรค ที่
กำหนดให้ภิกษุณีทั้งหลายต้องเข้าไปถามอุโบสถและฟังโอวาทจากภิกษุทั้งหลายสงฆ์ทุกครึ่งเดือน (ดู วิ.ภิกฺขุนี. แปล
๓/๑๐๕๘/๒๘๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ภิกษุณีสงฆ์กราบเท้าภิกษุสงฆ์ และขอการเข้ารับโอวาท นัยว่า ภิกษุณีสงฆ์จงได้การ
เข้ารับโอวาท”
ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงถามว่า “ภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี
มีอยู่หรือ”
ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้น
แสดงพึงกล่าวว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น”
ถ้าภิกษุบางรูปที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณีไม่มีอยู่ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
พึงถามว่า “ท่านรูปใดสามารถสอนภิกษุณีได้เล่า” ถ้าภิกษุบางรูปสามารถกล่าวสอน
ภิกษุณีได้และมีคุณสมบัติ ๘ อย่าง ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงพึงสวดแต่งตั้งแล้ว
ประกาศว่า “ภิกษุชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นผู้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเข้าไปหาภิกษุนั้น”
ถ้าไม่มีใครสามารถจะสอนภิกษุณีได้ ภิกษุผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พึงบอกว่า
“ไม่มีรูปใดที่สงฆ์แต่งตั้งให้สอนภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์จงเป็นอยู่ด้วยอาการที่น่าเลื่อมใสเถิด”
[๔๑๔] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายไม่ยอมรับให้โอวาท ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้
ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจะไม่รับให้โอวาทไม่ได้
รูปใดไม่รับ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นคนโง่เขลา ภิกษุณีทั้งหลายพากันไปหาภิกษุนั้น ได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นคนโง่เขลา จะรับให้โอวาทได้
อย่างไรกัน”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายพึงรับให้โอวาทแก่ภิกษุณีทั้งหลาย”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา เราอนุญาตให้
ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้นแล้วได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาเป็นไข้ จะรับให้โอวาทได้อย่างไรกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้
เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังเตรียมจะเดินทาง ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหา
ภิกษุนั้นได้กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมากำลังจะเดินทาง จะรับให้โอวาท
ได้อย่างไรกัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลาและภิกษุเป็นไข้ ภิกษุทั้งหลาย
ที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ยกเว้นภิกษุผู้โง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และ
ภิกษุกำลังจะเดินทาง เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายที่เหลือรับให้โอวาท”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ภิกษุณีทั้งหลายพากันเข้าไปหาภิกษุนั้น ได้
กล่าวดังนี้ว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาท”
ภิกษุนั้นตอบว่า “น้องหญิงทั้งหลาย อาตมาอยู่ในป่า จะรับให้โอวาทได้อย่างไร
กัน”
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ท่านโปรดรับให้โอวาทเถิด เพราะพระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้ว่า ยกเว้นภิกษุโง่เขลา ภิกษุเป็นไข้และภิกษุผู้กำลัง
จะเดินทาง ภิกษุทั้งหลายที่เหลือพึงรับให้โอวาท”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ป่ารับให้โอวาท
และนัดหมายว่า เราจะกลับมาในที่นั้น”
[๔๑๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่บอก(โอวาท) ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่บอกโอวาทไม่ได้ รูปใดไม่บอก
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายรับให้โอวาทแล้วไม่ยอมกลับมาบอก(โอวาท) ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่กลับมาบอกโอวาทไม่ได้ รูปใด
ไม่กลับมาบอก ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ไปที่นัดหมาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่ไปที่นัดหมายไม่ได้ รูปใด
ไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณีรัดสีข้าง
[๔๑๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ประคดเอวผืนยาว ภิกษุณีเหล่านั้นใช้ผ้านั้น
รัดสีข้าง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ประคดเอวผืนยาว รูป
ใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตประคดเอวที่รัดได้รอบเดียวแก่
ภิกษุณี ภิกษุณีไม่พึงใช้ประคดเอวนั้นรัดสีข้าง รูปใดรัด ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้แผ่นไม้สานรัดสีข้าง ใช้แผ่นหนังรัดสีข้าง ใช้แผ่นผ้า
ขาวรัดสีข้าง ใช้ช้องผ้ารัดสีข้าง ใช้เกลียวผ้ารัดสีข้าง ใช้ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้ช้อง
ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้เกลียวผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ใช้ช้องถักด้วยด้ายรัดสีข้าง ใช้เกลียว
ด้ายรัดสีข้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้แผ่นไม้สานรัดสีข้าง ...
ไม่พึงใช้แผ่นหนังรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้แผ่นผ้าขาวรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องผ้ารัดสีข้าง ...
ไม่พึงใช้เกลียวผ้ารัดสีข้าง .... ไม่พึงใช้ผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องผ้าผืนเล็กรัด
สีข้าง ... ไม่พึงใช้เกลียวผ้าผืนเล็กรัดสีข้าง ... ไม่พึงใช้ช้องถักด้วยด้ายรัดสีข้าง ... ไม่พึง
ใช้เกลียวด้ายรัดสีข้าง รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุณีนวดกาย
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้กระดูกแข้งโคขัดสีตะโพก ใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโค
นวดตะโพก นวดมือ นวดหลังมือ นวดเท้า นวดหลังเท้า นวดขาอ่อน นวดหน้า นวด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ริมฝีปาก คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้กระดูกแข้งโคสีตะโพก
... ไม่พึงใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโคนวดตะโพก ... ไม่พึงนวดมือ ... ไม่พึงนวดหลังมือ ...
ไม่พึงนวดเท้า ... ไม่พึงนวดหลังเท้า ... ไม่พึงนวดขาอ่อน ... ไม่พึงนวดหน้า ... ไม่
พึงนวดริมฝีปาก รูปใดนวด ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องภิกษุณีทาหน้า
[๔๑๗] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ... ถูหน้า ... ผัดหน้า ... เจิมหน้า
ด้วยมโนศิลา ... ย้อมตัว ... ย้อมหน้า ... ย้อมทั้งตัวและหน้า
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงทาหน้า ... ไม่พึงถูหน้า
... ไม่พึงผัดหน้า ... ไม่เจิมหน้าด้วยมโนศิลา ... ไม่พึงย้อมตัว ... ไม่พึงย้อมหน้า
... ไม่พึงย้อมทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายแต้มหน้า ... ทาแก้ม .... เล่นหูเล่นตา ... ยืนแอบที่
ประตู .... ให้ผู้อื่นฟ้อนรำ ... ตั้งสำนักหญิงแพศยา ... ตั้งร้านขายสุรา ... ตั้งร้านขายเนื้อ
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ... ประกอบการค้ากำไร ... ประกอบการค้าขาย ... ใช้ทาส
ให้ปรนนิบัติ ... ใช้ทาสีให้ปรนนิบัติ ... ใช้กรรมกรชายให้ปรนนิบัติ... ใช้กรรมกรหญิง
ให้ปรนนิบัติ... ใช้สัตว์ดิรัจฉานให้ปรนนิบัติ... ขายของสดและของสุก ... ใช้สันถัต
ขนเจียมหล่อ
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายไม่พึงแต้มหน้า ... ไม่
พึงทาแก้ม ... ไม่พึงเล่นหูเล่นตา ... ไม่พึงยืนแอบที่ประตู ... ไม่พึงให้ผู้อื่นฟ้อนรำ ...
ไม่พึงตั้งสำนักหญิงแพศยา ... ไม่พึงตั้งร้านขายสุรา ... ไม่พึงตั้งร้านขายเนื้อ ... ไม่พึง
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ... ไม่พึงประกอบการค้ากำไร ... ไม่พึงประกอบการค้าขาย
... ไม่พึงใช้ทาสให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้ทาสีให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้กรรมกรชายให้
ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้กรรมกรหญิงให้ปรนนิบัติ ... ไม่พึงใช้สัตว์ดิรัจฉานให้ปรนนิบัติ ...
ไม่พึงขายของสดและของสุก ... ไม่พึงใช้สันถัตขนเจียมหล่อ รูปใดใช้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ”

เรื่องภิกษุณีใช้จีวรสีเขียวล้วน
[๔๑๘] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ห่มจีวรสีเหลือง
ล้วน ... ห่มจีวรสีแดงล้วน ... ห่มจีวรสีบานเย็นล้วน ... ห่มจีวรสีดำล้วน ... ห่มจีวร
สีแสด ... ห่มจีวรสีชมพู ... ห่มจีวรไม่ตัดชาย ... ห่มจีวรมีชายยาว ... ห่มจีวรมีชาย
เป็นลายดอกไม้ ...ห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ... สวมเสื้อ ... สวมหมวก
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ไม่
พึงห่มจีวรสีเหลืองล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแดงล้วน ... ไม่พึงจีวรสีบานเย็นล้วน
... ไม่พึงห่มจีวรสีดำล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแสดล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีชมพูล้วน ...
ไม่พึงห่มจีวรไม่ตัดชาย ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายยาว ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายเป็นลาย ดอกไม้
... ไม่พึงห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ... ไม่พึงสวมเสื้อ ... ไม่พึงสวมหมวก รูปใดสวม
ต้องอาบัติทุกกฏ”

เรื่องพินัยกรรมของภิกษุณีสงฆ์
[๔๑๙] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่ง กำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า “เมื่อดิฉัน
ล่วงลับไป บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์” บรรดาสหธรรมิกเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กับภิกษุณีทั้งหลายโต้เถียงกันว่า “บริขารต้องเป็นของพวกเรา บริขารต้องเป็นของ
พวกเรา”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุณีกำลังจะมรณภาพสั่งอย่าง
นี้ว่า ‘เมื่อดิฉันล่วงลับไป บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ใน
บริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็นของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสิกขมานากำลังจะมรณภาพ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรีกำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า ‘‘เมื่อดิฉันล่วงลับไป
บริขารของดิฉันจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็น
ของภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุกำลังจะมรณภาพ สั่งอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราล่วงลับไป
บริขารของเราจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขารนั้นตกเป็น
ของภิกษุสงฆ์ฝายเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสามเณรกำลังจะมรณภาพ ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสกกำลังจะตาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอุบาสิกากำลังจะตาย ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าผู้อื่น(นอกเหนือจากนี้)กำลังจะตาย สั่งอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเรา
ล่วงลับไป บริขารของเราจงเป็นของสงฆ์’ ภิกษุณีสงฆ์ไม่เป็นใหญ่ในบริขารนั้น บริขาร
ตกเป็นของภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว”

เรื่องภิกษุณีใช้ไหล่กระแทกภิกษุ
[๔๒๐] สมัยนั้น สตรีคนหนึ่งเป็นอดีตภรรยาของนักมวย บวชในสำนักภิกษุณี
นางเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน จึงใช้ไหล่กระแทกให้เซ ภิกษุทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีเห็นภิกษุทุพพลภาพที่ถนน จึงใช้ไหล่กระแทกให้เซเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ไหล่กระแทกภิกษุ รูป
ใดใช้ไหล่กระแทก ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีเห็นภิกษุแล้ว
หลีกทางให้แต่ไกล”

เรื่องภิกษุณีใช้บาตรใส่ทารก
สมัยนั้น หญิงคนหนึ่งเป็นแม่ม่ายผัวร้าง ได้มีครรภ์กับชายชู้ นางทำแท้งแล้ว
ใช้ภิกษุณีผู้ที่ตนอุปถัมภ์ว่า “แม่เจ้า ท่านโปรดใช้บาตรใส่ทารกนี้ไป” ภิกษุณีวางทารก
ในบาตรแล้วใช้สังฆาฏิปิดเดินไป
สมัยนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่ง ตั้งใจสมาทานว่า “เรายังไม่ให้อาหาร
ที่ได้มาแก่ภิกษุหรือภิกษุณีก่อนแล้วจะไม่ยอมฉัน”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นได้พบภิกษุณีรูปนั้นจึงกล่าวว่า “น้องหญิงเชิญท่านรับอาหารเถิด”
นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
แม้ครั้งที่ ๒ ภิกษุรูปนั้นก็ยังกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เชิญท่าน
รับอาหารเถิด” นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุรูปนั้นก็ยังกล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “น้องหญิง เชิญท่าน
รับอาหารเถิด” นางปฏิเสธว่า “อย่าเลย พระคุณเจ้า”
ภิกษุนั้นบอกว่า “อาตมาตั้งใจสมาทานว่า ‘ยังไม่ให้อาหารที่ได้มาแก่ภิกษุหรือ
ภิกษุณีก่อนแล้วเราจะไม่ยอมฉัน’ เชิญท่านรับเถิด”
ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นถูกภิกษุนั้นรบเร้าจึงนำบาตรออกให้ดู บอกว่า “พระคุณเจ้า
ท่านจงดูทารกในบาตร ท่านอย่าบอกใครนะ”
ภิกษุจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้บาตรใส่ทารกนำออกไป
เล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีใช้บาตรใส่
ทารกนำออกไปเล่า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้บาตรใส่ทารกนำไป
รูปใดใส่ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีพบภิกษุแล้วให้นำบาตร
ออกแสดง”

เรื่องภิกษุณีแสดงก้นบาตร
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้วพลิกให้ดูก้นบาตร ภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์พบภิกษุแล้วพลิกให้ดูก้น
บาตรเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพบภิกษุแล้วไม่พึงพลิกให้ดูก้น
บาตร รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตภิกษุณีเมื่อพบภิกษุ
แล้วหงายบาตรแสดง และนิมนต์ภิกษุรับอาหารที่มีในบาตรนั้น”

เรื่องภิกษุณีเพ่งดูอวัยวะเพศบุรุษ
สมัยนั้น เขาทิ้งองคชาตของบุรุษไว้ที่ถนนในกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายเพ่งดู
อวัยวะเพศของบุรุษนั้น คนทั้งหลายพากันโห่ ภิกษุณีเหล่านั้นเก้อเขิน ครั้นภิกษุณี
เหล่านั้นกลับถึงสำนัก ได้บอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายอื่นทราบ บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อยตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงเพ่งดูอวัยวะเพศของ
บุรุษเล่า”
ครั้งนั้นแล ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงเพ่งดูอวัยวะเพศของบุรุษ
รูปใดเพ่งดู ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องภิกษุให้อามิส
[๔๒๑] สมัยนั้น คนทั้งหลายถวายอามิสแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายให้
อามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอามิส
ที่เขาถวายให้ตนฉัน พวกพระคุณเจ้าจึงให้แก่ผู้อื่นเล่า พวกเราไม่รู้จักให้ทานเองหรือ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อามิสที่เขาให้ตนฉัน ภิกษุไม่พึงให้
แก่ ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีอามิสมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายแก่สงฆ์”
อามิสก็ยังมีเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ได้”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเก็บอามิสไว้มาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายรับ
อามิสที่ภิกษุทั้งหลายเก็บไว้มาบริโภคได้”
สมัยนั้น ชาวบ้านถวายอามิสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายจึงถวายแก่
ภิกษุทั้งหลาย
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนอามิสที่เขาถวายให้ตนฉัน
ภิกษุณีทั้งหลายจึงให้แก่ผู้อื่นเล่า พวกเราไม่รู้จักให้ทานเองหรือ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อามิสที่เขาให้ตนฉัน ภิกษุณีไม่พึงให้
แก่ผู้อื่น รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีอามิสมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายสงฆ์”
อามิสก็ยังมีเหลือเฟือ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ได้”
สมัยนั้น อามิสที่ภิกษุณีทั้งหลายเก็บไว้มีมาก ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับอามิส
ที่ภิกษุณีทั้งหลายเก็บไว้มาฉันได้”

เรื่องภิกษุณียืมเสนาสนะ
[๔๒๒] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายมีเสนาสนะจำนวนมาก แต่ภิกษุณีทั้งหลายไม่มี
ภิกษุณีทั้งหลายจึงส่งทูตไปขอว่า “ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเถิด ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
จงให้พวกดิฉันยืมเสนาสนะ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีทั้งหลายนำ
เสนาสนะไปใช้ได้ชั่วคราว”

เรื่องผ้านุ่งของภิกษุณี
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีระดู นั่งบ้าง นอนบ้างบนเตียงที่บุไว้ บนตั่งที่บุไว้
เสนาสนะเปื้อนโลหิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่ง ไม่พึงนอนบนเตียง
ที่บุไว้ รูปใดนั่งหรือนอน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าผลัด
เปลี่ยน”
ผ้าผลัดเปลี่ยนเปื้อนโลหิต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตผ้าซับใน”
ผ้าซับในหลุด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้เชือกผูกไว้ที่ขาอ่อน”
เชือกขาด ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว”
สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เชือกฟั่นผูกสะเอวตลอดเวลา คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้เชือกผูกสะเอว
ตลอดเวลา รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเชือกฟั่นผูกสะเอว
แก่ภิกษุณี ที่มีระดู”
ทุติยภาณวาร จบ

๓. ตติยภาณวาร
เรื่องอันตรายิกธรรมของภิกษุณี
[๔๒๓] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายที่อุปสมบทแล้วปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย
เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง มีประจำเดือนไม่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง
มีลักษณะคล้ายชายบ้าง มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มีสองเพศ(อุภโตพยัญชนก)
บ้าง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรม
๒๔ ประการกับสตรีผู้จะอุปสมบท
ภิกษุทั้งหลาย พึงสอบถามอย่างนี้

วิธีสอบถามอันตรายิกธรรม
เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่
ผู้ไม่มีประจำเดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ผ้าซับเสมอหรือ
ไม่ใช่คนไหลซึมหรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มี
ลักษณะคล้ายชายหรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ
เธอมีโรคเหล่านี้หรือไม่ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
เธอเป็นมนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็น
ราชภัฏหรือ มารดาบิดาหรือสามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้ว
หรือ เธอมีบาตรและจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินี๑ของเธอชื่ออะไร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังถามอันตรายิกธรรมของภิกษุณีทั้งหลาย สตรี
อุปสัมปทาเปกขา(ผู้มุ่งจะอุปสมบท)ย่อมกระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สตรีอุปสัมปทาเปกขา
ผู้อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์แล้ว ไปอุปสมบทในฝ่าย
ภิกษุสงฆ์ได้”๒

เชิงอรรถ :
๑ ปวัตตินี คือ ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นอุปัชฌาย์
๒ ผู้จะเป็นภิกษุณีทั้งหลายต้องบวชจากสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์และฝ่ายภิกษุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสอบถามอันตรายิกธรรมสตรีอุปสัมปทาเปกขาผู้ยัง
ไม่ได้รับการสอนซ้อม พวกเธอย่อมกระดากอายเก้อเขินไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมก่อนแล้วสอบ
ถามอันตรายิกธรรมภายหลัง
ภิกษุณีทั้งหลายได้สอนซ้อมท่ามกลางสงฆ์นั่นเอง สตรีอุปสัมปทาเปกขาก็ยัง
กระดากอายเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้เหมือนเดิม
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สอนซ้อมกันได้ในที่สมควร
แล้วจึงสอบถามอันตรายิกธรรมท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายพึงสอนซ้อมอย่างนี้

คำบอกบาตรและจีวร
[๔๒๔] ในเบื้องต้น พึงให้อุปสัมปทาเปกขาถืออุปัชฌาย์ ครั้นให้ถืออุปัชฌาย์
แล้วพึงบอกบาตรและจีวรว่า “นี้บาตร นี้สังฆาฏิ นี้อุตตราสงค์ นี้อันตรวาสก นี้ผ้า
รัดถัน นี้ผ้าอาบน้ำของเธอ เธอจงออกไปยืนที่โน้น”

เรื่องภิกษุณีโง่เขลาสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายผู้โง่เขลาไม่ฉลาดสอนซ้อม สตรีอุปสัมปทาเปกขาได้รับการสอน
ซ้อมไม่ดีจึงสะทกสะท้านเก้อเขิน ไม่สามารถตอบได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้โง่เขลาไม่ฉลาดไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ
สอนซ้อม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณียังไม่ได้รับการแต่งตั้งสอนซ้อม
ภิกษุณีทั้งหลายยังไม่ได้รับแต่งตั้งก็สอนซ้อม ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณียังไม่ได้รับแต่งตั้งไม่พึงสอนซ้อม
รูปใดสอนซ้อม ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้ง
แล้วสอนซ้อม

วิธีแต่งตั้งตนและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ตนเองแต่งตั้งตนเองก็ได้ ภิกษุณี
อีกรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่งก็ได้
อย่างไรเล่า ชื่อว่าตนเองแต่งตั้งตนเอง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศ
ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าชื่อนี้จะสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าตนเองแต่งตั้ง
ตนเอง

วิธีแต่งตั้งผู้อื่นและกรรมวาจา
อย่างไรเล่า ชื่อว่าภิกษุณีรูปหนึ่งแต่งตั้งภิกษุณีอีกรูปหนึ่ง คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถพึง ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายชื่อนี้พึงสอนซ้อมผู้มีชื่อนี้ อย่างนี้ ชื่อว่าภิกษุณีอื่น
แต่งตั้งภิกษุณีอื่น
ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงเข้าไปหาอุปสัมปทาเปกขาแล้ว กล่าวอย่างนี้
ว่า แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เมื่อภิกษุณีผู้สอน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ซ้อมถามในท่ามกลางสงฆ์ถึงสิ่งที่เกิด สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี”
เธออย่าสะทกสะท้าน อย่าเก้อเขิน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมจักถามเจ้าอย่างนี้ว่า เธอไม่ใช่
ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ไม่ใช่ผู้ไม่มีประจำ
เดือนหรือ ไม่ใช่ผู้มีประจำเดือนไม่หยุดหรือ ไม่ใช่ผู้ใช้ซับเสมอหรือ ไม่ใช่คนไหลซึม
หรือ ไม่ใช่ผู้มีเดือยหรือ ไม่ใช่เป็นบัณเฑาะก์หญิงหรือ ไม่ใช่ผู้มีลักษณะคล้ายชาย
หรือ ไม่ใช่ผู้มีทวารหนักทวารเบาติดกันหรือ ไม่ใช่คนสองเพศหรือ อาพาธเหล่านี้ ของ
เธอมีอยู่หรือ คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู เธอเป็น
มนุษย์หรือ เธอเป็นหญิงหรือ เธอเป็นไทหรือ เธอไม่มีหนี้สินหรือ เธอไม่เป็นราชภัฏ
หรือ บิดามารดาหรือสามีอนุญาตเธอแล้วหรือ เธอมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้วหรือ เธอ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

เรื่องห้ามผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน
ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับสิกขมานาอุปสัมปทาเปกขาเดินมาพร้อมกัน พระผู้มี
พระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้สอนซ้อมกับอุปสัมปทาเปกขา ไม่พึงเดิน
มาพร้อมกัน ภิกษุณีผู้สอนซ้อมพึงเดินมาก่อน แล้วประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
กรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ดิฉัน
สอนซ้อมเธอแล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ผู้มีชื่อนี้พึงเข้ามาได้
พึงเรียกอุปสัมปทาเปกขาว่า “เธอจงเข้ามาเถิด”

คำขออุปสมบทต่อภิกษุณีสงฆ์
พึงให้อุปสัมปทาเปกขาห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งประนมมือ ขออุปสมบทว่า
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด
แม่เจ้า ดิฉันขออุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ สงฆ์โปรดช่วยอนุเคราะห์ยก
ดิฉันขึ้นเถิด

คำแต่งตั้งตนเพื่อถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามอันตรายิกธรรมกับผู้มีชื่อนี้ดังนี้
แน่ะผู้มีชื่อนี้ เธอฟังนะ นี้เป็นกาลสัตย์ กาลจริงของเธอ เราจะถามถึงสิ่งที่เกิด
สิ่งที่มี พึงบอกว่า “มี” ไม่มีก็พึงบอกว่า “ไม่มี” เธอไม่ใช่ผู้ไม่มีเครื่องหมายเพศหรือ
เธอไม่ใช่สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศหรือ ฯลฯ เธอชื่ออะไร ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร

ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๔๒๕] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้า
ชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรม เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบท
ต่อสงฆ์ มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้บริสุทธิ์
จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตรและจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อ
สงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี
แม่เจ้ารูปใด เห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูป
นั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ บริสุทธิ์จากอันตรายิกธรรมทั้งหลาย เธอมีบาตร
และจีวรครบแล้ว ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มี
ชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบท
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น
พึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
หลังจากนั้น ภิกษุณีพึงพาเธอเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ให้ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ข้างหนึ่งให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย แล้วให้นั่งกระโหย่ง ประนมมือ ให้กล่าวคำขอ
อุปสมบทว่า

คำขออุปสมบทต่อภิกษุสงฆ์
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ สงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นด้วยเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๒ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์แล้วในภิกษุณีสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๓ ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกดิฉันขึ้นเถิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้
เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์
มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี
ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้
อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องการวัดเงาเป็นต้น
ขณะนั้นแหละ พึงวัดเงาแดด บอกประมาณแห่งฤดู บอกส่วนแห่งวัน บอก
สังคีติ๑ สั่งภิกษุณีทั้งหลายว่า “พวกเธอพึง บอกนิสสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่
ภิกษุณีนี้”๒
อุปสมบทวิธี จบ
[๔๒๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายโยกย้ายที่นั่งในโรงฉันจนล่วงเวลา ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตตามลำดับพรรษาสำหรับ
ภิกษุณี ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปรึกษากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตตาม
ลำดับพรรษาสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา”
จึงกัน ที่ตามลำดับพรรษาไว้เฉพาะภิกษุณี ๘ รูปเท่านั้น ภิกษุณีที่เหลือกันไว้ตาม
ลำดับที่มาในที่ทุกแห่ง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในโรงฉัน เราอนุญาตตามลำดับพรรษา
สำหรับภิกษุณี ๘ รูป ภิกษุณีที่เหลืออนุญาตตามลำดับที่มา ภิกษุณีไม่พึงห้ามตาม
ลำดับพรรษาในที่อื่น รูปใดห้าม ต้องอาบัติทุกกฏ”

เชิงอรรถ :
๑ บอกสังคีติ หมายถึง บอกประชุมสงฆ์
๒ นิสสัย ๓ คือ (๑) เที่ยวบิณฑบาต (๒) ถือผ้าบังสุกุล (๓) ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า พระผู้มีพระภาค
ทรงห้ามภิกษุณีอยู่ป่า ภิกษุณีจึงไม่ต้องถือนิสสัยข้อว่า “อยู่โคนไม้” (ดูข้อ ๔๓๑ หน้า ๓๖๐-๓๖๑
ในเล่มนี้ )
อกรณียกิจ ๘ คือ ข้อที่ทรงห้ามไว้ ตามความในปาราชิกของภิกษุณีสงฆ์ ๘ สิกขาบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องปวารณา
[๔๒๗] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ปวารณากัน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะไม่ปวารณาไม่ได้ รูปใดไม่
ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณากันแล้วไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์ ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีจะปวารณาด้วยตนเองแล้วไม่
ปวารณากับภิกษุสงฆ์ไม่ได้ รูปใดไม่ปวารณา พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงเกิดชุลมุนขึ้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลาย รูปใดปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาก่อนภัตตาหาร ให้เวลาผ่านไป ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาในเวลา
หลังภัตตาหาร”
ภิกษุณีทั้งหลายเมื่อปวารณาในเวลาหลังภัตตาหาร ได้อยู่ในเวลาวิกาล ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากับภิกษุณี
สงฆ์ในวันนี้ พอวันรุ่งขึ้นปวารณากับภิกษุสงฆ์”
สมัยนั้น ภิกษุณีสงฆ์กำลังปวารณา เกิดชุลมุน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถรูปหนึ่งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์”

วิธีแต่งตั้งและญัตติกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้นพึงขอร้องภิกษุณี
จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้เป็นตัว
แทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้ปวารณากับภิกษุสงฆ์
แทนภิกษุณีสงฆ์ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชื่อนี้เป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์
ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้น
พึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งเป็นตัวแทนภิกษุณีสงฆ์ให้ไปปวารณากับภิกษุสงฆ์ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ภิกษุณีผู้ได้รับแต่งตั้งแล้ว พึงพาภิกษุณีสงฆ์เข้าไปหาภิกษุสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุแล้วนั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

คำปวารณา
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน
หรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณีสงฆ์เถิด
ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข
แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
แม้ครั้งที่ ๓ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ ด้วยได้เห็น
ด้วยได้ยินหรือด้วยนึกสงสัย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายอาศัยความกรุณาตักเตือนภิกษุณี
สงฆ์เถิด ภิกษุณีสงฆ์เมื่อเห็น(โทษ)ก็จะแก้ไข

เรื่องการงดอุโบสถ
[๔๒๘] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุทั้งหลายให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุ แม้
งดแล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุ แม้งด
แล้วก็ไม่เป็นอันงด รูปที่งดต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงทำการสอบถาม แม้ทำก็ไม่เป็น
อันทำ รูปที่ทำต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุ แม้เริ่มก็ไม่เป็น
อันเริ่ม รูปที่เริ่มต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงขอโอกาสภิกษุ แม้ขอแล้วก็ไม่เป็นอันขอ
รูปที่ขอต้องอาบัติทุกกฏ ไม่พึงโจทภิกษุ แม้โจทก็ไม่เป็นอันโจท รูปที่โจทต้องอาบัติ
ทุกกฏ ไม่พึงให้ภิกษุให้การ แม้ให้ภิกษุให้การแล้วก็ไม่เป็นอันให้การ รูปที่ให้ภิกษุ
ให้การ ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายงดอุโบสถ งดปวารณาแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ทำการ
สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส โจท ให้ภิกษุณีให้การ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุงดอุโบสถแก่ภิกษุณี
แม้งดแล้วก็เป็นอันงด รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้งดปวารณาแก่ภิกษุณี แม้งดแล้วก็
เป็นอันงดดีแล้ว รูปที่งดไม่ต้องอาบัติ ให้ทำการสอบถาม แม้ทำแล้วก็เป็นอันทำดี
แล้ว รูปที่ทำไม่ต้องอาบัติ ให้เริ่มอนุวาทาธิกรณ์แก่ภิกษุณี แม้เริ่มแล้วก็เป็นอัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เริ่มดีแล้ว รูปที่เริ่มไม่ต้องอาบัติ ให้ขอโอกาสภิกษุณี แม้ขอแล้วก็เป็นอันขอดีแล้ว
รูปที่ขอก็ไม่ต้องอาบัติ ให้โจทภิกษุณี แม้โจทแล้วก็เป็นอันโจทดีแล้ว รูปที่โจทไม่ต้อง
อาบัติ ให้ภิกษุณีให้การ แม้ให้ภิกษุณีให้การแล้วก็เป็นอันทำดีแล้ว รูปที่ให้ภิกษุณี
ให้การก็ไม่ต้องอาบัติ

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดยสารยานพาหนะ
[๔๒๙] สมัยนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ โดยสารยานพาหนะเทียมด้วยโค
เพศเมียมีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคเพศผู้มีสตรีเป็นสารถีบ้าง
คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวโดยสาร
ยานพาหนะไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาและแม่น้ำมหี” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงโดยสารยานพาหนะ
รูปใดโดยสาร พึงปรับอาบัติตามธรรม”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ไม่สามารถเดินได้ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้ โดยสาร
ยานพาหนะได้”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “ยานพาหนะที่ทรงอนุญาต
นั้น เทียมด้วยโคเพศเมียหรือเพศผู้” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วย
โคเพศเมีย ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้ ยานพาหนะที่ใช้มือลาก”๑

เชิงอรรถ :
๑ คนที่ลากยานพาหนะ จะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ (วิ.อ. ๓/๒๕๓/๑๖๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องคานหาม
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก เพราะยานพาหนะกระเทือน ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวอ(และ)เปลหาม”

เรื่องหญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสี
[๔๓๐] สมัยนั้น หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี นางต้องการไป
กรุงสาวัตถี ด้วยคิดว่า “จะอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค”
พวกนักเลงพอได้ฟังข่าวว่า “หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีจะเดินทางไปกรุงสาวัตถี”
จึงคอยดักแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง
หญิงแพศยาอัฑฒกาสีได้ทราบว่า “มีพวกนักเลงแอบซุ่มอยู่ใกล้หนทาง” จึง
ส่งข่าวไปถึงพระผู้มีพระภาคว่า “ดิฉันต้องการจะอุปสมบท จะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทได้แม้โดยทูต”
ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุเป็นทูต ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมี
ภิกษุเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ”
ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสิกขมานาเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีสามเณรเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายใหัภิกษุณีอุปสมบทโดย
มีสามเณรีเป็นทูต ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาด
เป็นทูต ฯลฯ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงให้ภิกษุณีอุปสมบท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
โดยมีภิกษุณีโง่เขลาไม่ฉลาดเป็นทูต รูปใดให้อุปสมบท ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ภิกษุณีอุปสมบทโดยมีภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถเป็นทูต”
ภิกษุณีผู้เป็นทูตพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้ขอ
อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง
พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบท
แล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง
พระคุณเจ้าทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทต่อสงฆ์ พระคุณเจ้าทั้งหลาย
ขอสงฆ์โปรดอนุเคราะห์ยกเธอขึ้นเถิด

กรรมวาจาให้อุปสมบทด้วยทูต
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย
บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้ขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้
อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ในภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตราย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
บางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้
อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผู้มี
ชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขาของแม่เจ้าชื่อนี้ อุปสมบทแล้วในสงฆ์ฝ่ายเดียว บริสุทธิ์ใน
ภิกษุณีสงฆ์ เธอมาไม่ได้เพราะมีอันตรายบางอย่าง ผู้มีชื่อนี้จึงขออุปสมบทต่อสงฆ์มี
แม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์ให้ผู้มีชื่อนี้อุปสมบทมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการอุปสมบทของผู้มีชื่อนี้มีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ผู้มีชื่อนี้ สงฆ์ให้อุปสมบทแล้วมีแม่เจ้าชื่อนี้เป็นปวัตตินี สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ขณะนั้นแหละพึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู ส่วนแห่งวัน บอกสังคีติ สั่ง
ภิกษุณีทั้งหลายว่า “พวกเธอพึงบอกนิสัย ๓ และอกรณียกิจ ๘ แก่ภิกษุณีนั้น”

เรื่องภิกษุณีทั้งหลายอยู่ป่า
[๔๓๑] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายอยู่ในป่า ถูกพวกนักเลงทำมิดีมิร้าย ภิกษุ
ทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงอยู่ในป่า รูปใดอยู่ ต้อง
อาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งถวายโรงเก็บของแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตโรงเก็บของ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
โรงเก็บของไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตที่อยู่”
ที่อยู่ไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตนวกรรม”
นวกรรมไม่เพียงพอ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำเป็นของส่วนตัวได้”

เรื่องแต่งตั้งภิกษุณีให้เป็นเพื่อนภิกษุณีลูกอ่อน
[๔๓๒] สมัยนั้น สตรีคนหนึ่งมีครรภ์แล้วบวชในสำนักภิกษุณี เมื่อนางบวช
แล้วจึงคลอดบุตร ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้
อย่างไรดี”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เลี้ยงดูจนกว่าเด็กจะ
รู้เดียงสา”๑
ต่อมา ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่น
จะอยู่กับเด็กนี้ก็ไม่ได้ เราจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น”

เชิงอรรถ :
๑ คือจนกว่า จะเคี้ยว จะกิน จะอาบน้ำ จะแต่งตัวได้ด้วยตนเอง (วิ.อ. ๓/๔๓๒/๔๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ คือ ในเบื้องต้น ต้องขอร้อง
ภิกษุณี จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น
เพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี
ชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้
แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ต่อมา ภิกษุณีเพื่อนของนางได้มีความคิดกันดังนี้ว่า “เราจะปฏิบัติต่อเด็กนี้อย่างไรดี”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปฏิบัติต่อเด็กนั้นเหมือน
ปฏิบัติต่อบุรุษอื่น โดยเว้นการนอนร่วมเรือน”
[๔๓๓] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต ลำดับ
นั้น ภิกษุณีนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราจะอยู่เพียงลำพังไม่ได้ ภิกษุณีอื่นจะอยู่กับ
เราก็ไม่ได้ เราจะพึงปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
แล้วมอบให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีนั้น”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงแต่งตั้งอย่างนี้ ในเบื้องต้น ต้องขอร้องภิกษุณี
จากนั้นภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็น
เพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณี
ผู้มีชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุณีชื่อนี้ให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีชื่อนี้
แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์แต่งตั้งให้เป็นเพื่อนของภิกษุณีผู้มีชื่อนี้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องภิกษุณีไม่บอกคืนสิกขา
[๔๓๔] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่บอกคืนสิกขา สึกออกไปแล้ว นางกลับมา
ขออุปสมบทกับภิกษุณีทั้งหลายอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่จำเป็นต้องบอกคืนสิกขา
พอสึกก็ไม่เป็นภิกษุณีแล้ว”

เรื่องภิกษุณีเข้ารีตเดียรถีย์
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งครองผ้ากาสายะไปเข้ารีตเดียรถีย์ นางกลับมาขอ
อุปสมบทกับภิกษุณีทั้งหลายอีก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีรูปใดครองผ้ากาสายะไปเข้า
รีตเดียรถีย์ ภิกษุณีรูปนั้นมาแล้ว ไม่พึงให้อุปสมบท”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายยำเกรงอยู่ จึงไม่ยินดีการกราบ การปลงผม การ
ตัดเล็บ การรักษาแผลจากพวกบุรุษ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีได้”

เรื่องภิกษุณีนั่งขัดสมาธิยินดีการสัมผัสส้นเท้า
[๔๓๕] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายนั่งขัดสมาธิ ยินดีสัมผัสส้นเท้า ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงนั่งขัดสมาธิ รูปใดนั่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ ไม่นั่งขัดสมาธิจะไม่สบาย ภิกษุทั้งหลายจึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งกึ่งขัดสมาธิ”๑

เรื่องภิกษุณีถ่ายอุจจาระ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ให้ครรภ์ตก
ไปในวัจกุฎีนั้น
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย “ภิกษุณีไม่พึงถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี
รูปใดถ่าย ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถ่ายอุจจาระในที่เปิดข้าง
ล่างปิดข้างบน”

เชิงอรรถ :
๑ นั่งกึ่งขัดสมาธิ คือ นั่งขัดสมาธิคู้ขาเข้าข้างเดียว (วิ.อ.๓/๔๓๔/๔๑๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] ๓. ตติยภาณวาร
เรื่องภิกษุณีใช้จุรณสรงน้ำ
[๔๓๖] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้จุรณสรงน้ำ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้จุรณสรงน้ำ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้รำข้าวและดินเหนียว”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ดินเหนียวอบกลิ่นสรงน้ำ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ฯลฯ เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้ดินเหนียวที่อบกลิ่น
สรงน้ำ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตดินเหนียวธรรมดา”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำในเรือนไฟ เกิดชุลมุน ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่อง
นี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำในเรือนไฟ รูปใด
สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำทวนกระแส ยินดีสัมผัสแห่งสายน้ำ ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำทวนกระแส รูปใด
สรง ต้องอาบัติทุกกฏ”
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ ถูกพวกนักเลงทำมิดีมิร้าย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ
รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของผู้ชาย คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ฯลฯ ทำเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงสรงน้ำที่ท่าอาบน้ำของ
ผู้ชาย รูปใดสรง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อาบน้ำที่ท่าอาบ
น้ำสตรี”
ตติยภาณวาร จบ
ภิกขุนีขันธกะที่ ๑๐ จบ
ในขันธกะนี้มี ๑๐๑ เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
พระนางมหาปชาบดีโคตมีทูลขอบรรพชา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต
ทรงโปรดเวไนยแล้วเสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปกรุงเวสาลี
พระนางมหาปชาบดีโคตมีออกเดินทางไปกรุงเวสาลี
มีพระวรกายเปรอะเปื้อนฝุ่นธุลี ชี้แจงความประสงค์
ต่อท่านพระอานนท์ที่ซุ้มประตู(กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน)
พระอานนท์กราบทูลแจ้งต่อพระผู้มีพระภาคว่า
มาตุคามเป็นภัพพบุคคล พระนางมหาปชาบดีโคตมี
เป็นพระมาตุจฉา เป็นผู้เลี้ยงดู
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดครุธรรม ๘ อย่าง
ที่ภิกษุณีพึงประพฤติตลอดชีวิต คือ
๑. ภิกษุณีบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้ที่บวชในวันนั้น
๒. ไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
๓. หวังธรรม ๒ อย่าง
๔. ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
๕. ต้องครุธรรมพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
๖. พึงแสวงหาอุปสมบทเพื่อสิกขมานาผู้ได้ศึกษาครบ ๒ ปี
๗. ไม่ด่าภิกษุ
๘. เปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือน
การรับครุธรรม ๘ อย่างนั้นเป็นการอุปสัมปทาของ
พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้ามาตุคามไม่ออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี แต่เพราะมาตุคามออกบวช
สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี
ความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม
เปรียบเหมือนโจรลักทรัพย์ หนอนขยอก เพลี้ย
การกำหนดให้มาตุคามผู้จะออกบวชต้องรับครุธรรม ๘ อย่าง
เปรียบเหมือนการกั้นทำนบที่ขอบสระใหญ่
เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกไป
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้อุปสมบทภิกษุณี
ต่อมา ภิกษุณีศากิยานีทั้งหลายกล่าวว่า
พระนางมหาปชาบดีโคตมียังไม่ได้อุปสมบท
เพราะรับแต่ครุธรรม พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูล
ขอให้ภิกษุและภิกษุณีอภิวาทกันตามลำดับพรรษา
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอภิวาทมาตุคาม
ตรัสวิธีปฏิบัติในสิกขาบทที่เป็นสาธารณบัญญัติ
และไม่เป็นสาธารณบัญญัติ
ทรงแสดงหลักตัดสินพระธรรมวินัย ตรัสเรื่องปาติโมกข์
และบุคคลที่ควรยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ต่อมา ภิกษุทั้งหลายเข้าไปที่สำนักภิกษุณี
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง พระผู้มีพระภาคทรงห้าม
ต่อมาภิกษุณีทั้งหลายไม่รู้วิธีทำคืนอาบัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิบายให้ภิกษุณีทราบได้
ต่อมา ภิกษุณีไม่ทำ ทรงอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย
บอกภิกษุณีเกี่ยวกับวิธีทำคืนอาบัติ วิธีรับอาบัติ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำกรรมแก่ภิกษุณี
คนทั้งหลายตำหนิ ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีทำแก่ภิกษุณีด้วยกัน
ต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุมอบการลงโทษ
ของภิกษุณีให้แก่ภิกษุณี ภิกษุณีอันเตวาสินีของ
ภิกษุณีอุบลวรรณาเรียนวินัยจนสติฟั่นเฟือน
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุณีทั้งหลาย
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้น้ำโคลนรดภิกษุทั้งหลายในกรุงสาวัตถี
ด้วยหวังจะให้ฝ่ายตรงข้ามรัก
พระผู้มีพระภาคทรงให้ภิกษุณีประกาศว่าภิกษุนั้นไม่ควรไหว้
ต่อมา พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เปิดกาย เปิดขาอ่อน
เปิดองคชาตอวดภิกษุณี พูดเกี้ยวภิกษุณี
พูดชักชวนบุรุษมาคบหาภิกษุณี ภิกษุนั้นภิกษุณีไม่ควรไหว้
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ก็ทำเช่นเดียวกัน
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม
โดยการห้ามปรามภิกษุและภิกษุณีผู้ทำเช่นนั้น
เมื่อห้ามปรามไม่เชื่อ พึงงดโอวาท ไม่ควรทำอุโบสถกับภิกษุ
ภิกษุณีผู้ถูกงดโอวาท
ต่อมา พระอุทายีงดโอวาทแล้วหลีกไป
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามทำเช่นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ทรงห้ามภิกษุโง่เขลางดโอวาท
ทรงห้ามงดโอวาทด้วยเรื่องที่ไม่สมควร
ทรงห้ามงดโอวาทโดยไม่ให้คำวินิจฉัย
ทรงกำหนดให้ภิกษุณีสงฆ์ต้องไปรับโอวาท
ทรงห้ามภิกษุณี ๕ รูปไปรับโอวาท
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี ๒-๓ รูปไปรับโอวาท
ต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่รับให้โอวาท
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดให้ภิกษุต้องรับให้โอวาท
ทรงกำหนดข้อยกเว้นไว้ว่า ภิกษุโง่เขลา
ภิกษุอาพาธ ภิกษุผู้เตรียมจะเดินทาง
ไม่ต้องรับให้โอวาท แต่ภิกษุผู้อยู่ป่าตัองรับให้โอวาท
ทรงกำหนดว่า ภิกษุทั้งหลายให้โอวาทแล้วต้องบอก
รับให้โอวาทแล้วต้องกลับมาบอก
ต่อมา ภิกษุณีใช้ประคดเอวผืนยาวรัดสีข้าง
ใช้แผ่นไม้สานแผ่นหนัง ผ้าขาว ช้องผ้า เกลียวผ้า
ผ้าผืนเล็ก ช้องผ้าผืนเล็ก เกลียวผ้าผืนเล็ก ช้องถักด้วยด้าย
เกลียวด้ายรัดสีข้าง ใช้กระดูกแข้งโค สีตะโพก
ใช้ไม้มีสัณฐานดุจคางโคนวดตะโพก นวดมือ
นวดหลังมือนวดเท้า นวดหลังเท้า นวดขาอ่อน
นวดหน้า นวดริมฝีปาก
ต่อมา พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า
ผัดหน้า ใช้มโนศิลาเจิมหน้า ย้อมตัว ย้อมหน้า
ย้อมทั้งตัวทั้งหน้า ทั้งสองอย่าง แต้มหน้า ทาแก้ม
เล่นหูเล่นตา ยืนแอบที่ประตู ให้ผู้อื่นฟ้อนรำ
ตั้งสำนักหญิงแพศยา ตั้งร้านขายสุรา ขายเนื้อ
ออกร้านขายของเบ็ดเตล็ด ประกอบการค้ากำไร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ประกอบการค้าขาย ใช้ทาสทาสี
กรรมกรชายหญิงให้ปรนนิบัติ
ให้สัตว์ดิรัจฉานปรนนิบัติ ขายของสดและของสุก
ใช้สันถัตขนเจียมหล่อ
ต่อมา ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียว
สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีดำ สีแสด
สีชมพู จีวรไม้ตัดชาย มีชายยาว
มีชายเป็นลายดอกไม้ มีชายเป็นแผ่น สวมเสื้อ สวมหมวก
ต่อมา เมื่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณรีถึงแก่มรณภาพ
ภิกษุณีสงฆ์เป็นใหญ่ในบริขารที่ภิกษุณีเป็นต้นนั้นมอบให้
เมื่อภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
และใครอื่นปลงบริขารให้ ภิกษุสงฆ์เป็นใหญ่
ภิกษุณีอดีตภรรยานักมวยใช้ไหล่กระแทกภิกษุทุพพลภาพรูปหนึ่ง
ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้บาตรใส่ทารกของหญิงคนหนึ่งที่แท้งออกมา
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดให้ภิกษุณีเมื่อพบภิกษุ
ต้องแสดงบาตรให้ดู ภิกษุณีรูปหนึ่งแสดงก้นบาตร
ภิกษุณีทั้งหลายเพ่งดูองคชาตของบุรุษที่เขาทิ้งไว้กลางถนน
ภิกษุทั้งหลายให้อามิสมากมายแก่ภิกษุณี
ภิกษุณีทั้งหลายมีอามิสเหลือเฟือ
ทรงอนุญาตให้ถวายเป็นของส่วนบุคคล
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีรับอามิสที่ภิกษุเก็บไว้มาบริโภคได้
และทรงอนุญาตให้ภิกษุรับอามิสที่ภิกษุณีทั้งหลาย
เก็บไว้มาบริโภคได้เช่นกัน
ภิกษุณีรูปหนึ่งมีระดู นั่งบ้าง นอนบ้าง ทำให้เสนาสนะ
เปื้อนโลหิต พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผ้าผลัดเปลี่ยน
ทรงอนุญาตผ้าซับใน ทรงอนุญาตให้ใช้เชือกฟั่นผูกสะเอว
ในเวลาที่มีระดู ไม่ควรผูกไว้ตลอดเวลา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ภิกษุณีบางพวกเมื่ออุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าไม่มีเครื่องหมาย
เพศบ้าง สักแต่ว่ามีเครื่องหมายเพศบ้าง ไม่มีประจำเดือนบ้าง
มีประจำเดือนไม่หยุดบ้าง ใช้ผ้าซับเสมอบ้าง เป็นคนไหลซึมบ้าง
มีเดือยบ้าง เป็นบัณเฑาะก์หญิงบ้าง มีลักษณะคล้ายชายบ้าง
มีทวารหนักทวารเบาติดกันบ้าง มี ๒ เพศบ้าง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้สอบถามอันตรายิกธรรมว่า
เธอไม่มีเครื่องหมายเพศหรือจนถึงคำว่า
เธอเป็นคน ๒ เพศหรือ
แล้วถามว่าเป็นโรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู เป็นมนุษย์หรือ เป็นหญิงหรือ เป็นไทหรือ
ไม่มีหนี้สินหรือ ไม่เป็นราชภัฏหรือ บิดามารดาหรือ
สามีอนุญาตแล้วหรือ มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์แล้วหรือ
มีบาตรจีวรครบแล้วหรือ ชื่ออะไร
ปวัตตินีของเธอชื่ออะไร รวม ๒๔ อย่าง แล้วให้อุปสมบท
ต่อมา อุปสัมปทาเปกขายังไม่ได้สอนซ้อม
เกิดความละอายท่ามกลางสงฆ์ ทรงอนุญาตให้ภิกษุณี
สอนซ้อมสตรีอุปสัมปทาเปกขาก่อน
ทรงอนุญาตให้ถืออุปัชฌาย์ในเบื้องต้น
ต่อจากนั้นจึงบอกสังฆาฏิ อุตตราสงค์
อันตราวาสก ผ้ารัดถัน ผ้าอาบน้ำแล้ว
บอกให้ยืน ณ มุมหนึ่งที่ห่างออกไป
ต่อมา ภิกษุณีโง่เขลารูปหนึ่งทำหน้าที่สอนซ้อม
พระผู้มีพระภาคทรงกำหนดว่าภิกษุณีไม่ได้รับแต่งตั้ง
ไม่ควรสอนซ้อมถามอันตรายิกธรรม
ภิกษุณีอุปสมบทในภิกษุสงฆ์ฝ่ายเดียว
ต้องอุปสมบทในภิกษุสงฆ์อื่นอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
หลังจากที่อุปสมบทในฝ่ายภิกษุสงฆ์แล้ว
พึงวัดเงาแดด บอกประมาณฤดู บอกส่วนแห่งวัน
บอกสังคีติ(ประชุมสงฆ์) บอกนิสัย ๓ อกรณียกิจ ๘
ต่อมา ภิกษุณีโยกย้ายที่นั่งจนล่วงเวลา
พระผู้มีพระภาคทรงให้นั่งตามลำดับพรรษา
สำหรับภิกษุณี ๘ รูป ที่เหลือ
อนุญาตตามลำดับที่มาในที่ทุกแห่ง
ต่อมา ภิกษุณีไม่ปวารณากัน
ทรงกำหนดให้ภิกษุณีปวารณา
เมื่อปวารณาก็ไม่ปวารณากับภิกษุสงฆ์
ทรงกำหนดให้ปวารณาในภิกษุสงฆ์ด้วย
เกิดความชุลมุนในขณะปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณาพร้อมกับภิกษุ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีปวารณากันในเวลาก่อนภัตตาหาร
ต่อมา ภิกษุณีทั้งหลายปวารณาในเวลาวิกาล
ทรงอนุญาตให้ปวารณากันเองวันหนึ่ง
วันรุ่งขึ้นจึงปวารณาในภิกษุสงฆ์
เมื่อภิกษุณีปวารณาเกิดชุลมุน ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณี
รูปหนึ่งเป็นตัวแทนปวารณาในภิกษุสงฆ์
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีงดอุโบสถ
ปวารณา สอบถาม เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ขอโอกาส
โจทและให้การ แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุทำอย่างนั้นแก่ภิกษุณีได้
ทรงห้ามภิกษุณีโดยสารยานพาหนะ
ยกเว้นภิกษุณีผู้เป็นไข้ ทรงอนุญาตยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศเมีย
ยานพาหนะที่เทียมด้วยโคเพศผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ยานพาหนะที่ใช้มือลากไปภิกษุณีรูปหนึ่งไม่สบายอย่างหนัก
เพราะยานพาหนะกระเทือน ทรงอนุญาตวอและเปลหาม
หญิงแพศยาชื่ออัฑฒกาสีบวชในสำนักภิกษุณี ต้องการจะไป
กรุงสาวัตถีเพื่ออุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค
แต่มีโจรแอบซุ่มอยู่ในหนทาง
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยทูต
โดยมีภิกษุณีเป็นทูต ทรงห้ามอุปสมบทภิกษุณีโดยมีภิกษุ
สิกขมานา สามเณร สามเณรี
หรือภิกษุณีผู้โง่เขลาเป็นทูต
ต่อมา ภิกษุณีรูปหนึ่งอยู่ในป่า ถูกโจรประทุษร้าย
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภิกษุณีอยู่ป่า
ทรงอนุญาตโรงเก็บของ ที่อยู่ นวกรรม
และเมื่อนวกรรมไม่เพียงพอก็สามารถทำเป็นของส่วนตัวได้
ต่อมา สตรีคนหนึ่งมีครรภ์ บวชในสำนักภิกษุณี คลอดบุตร
พระผู้มีพระภาคทรงห้ามอยู่เพียงลำพัง ทรงห้ามภิกษุณีนอนใน
ที่มุงบังเดียวกันกับเด็ก ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งภิกษุณีเป็นเพื่อน
ของภิกษุณีผู้ต้องอาบัติหนัก กำลังประพฤติมานัต
ทรงวางข้อกำหนดว่า ภิกษุณีสึกออกไป
โดยไม่บอกคืนสิกขาถือว่าได้สึกไปแล้ว
ไม่ทรงอนุญาตให้บวชภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์
ภิกษุณีบางพวกไม่ยินดีการกราบ การปลงผม
การตัดเล็บ การรักษาแผลจากพวกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ยินดีได้
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีนั่งขัดสมาธิ
ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้นั่งกึ่งขัดสมาธิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๐. ภิกขุนี ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในภิกขุนีขันธกะ
ไม่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีถ่ายอุจจาระในวัจกุฎี
ใช้จุรณสรงน้ำ ใช้ดินเหนียวอบกลิ่นสรงน้ำในเรือนไฟ
สรงน้ำทวนกระแส สรงน้ำในที่ไม่ใช่ท่าน้ำ
สรงน้ำที่ท่าของผู้ชาย
พระนางมหาปชาบดีโคตมีและท่านพระอานนท์กราบทูลขอ
อย่างระมัดระวัง พุทธบริษัท ๔ บรรพชาในพระศาสนา
ของพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงแสดงขันธกะนี้ไว้
เพื่อให้เกิดความสังเวช และความเจริญแห่งพระสัทธรรม
เหมือนเภสัชสำหรับระงับความกระวนกระวาย
สตรีเหล่าอื่นที่ได้ฝึกฝนดีแล้วในพระสัทธรรมอย่างนี้
ย่อมไปสู่สถานที่อันไม่จุติซึ่งไปแล้วจะไม่เศร้าโศก
ภิกขุนีขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
๑๑. ปัญจกสติกขันธกะ
๑. สังคีตินิทาน
ว่าด้วยมูลเหตุการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
[๔๓๗] ๑ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ท่าน
ทั้งหลาย คราวหนึ่งผมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปเดินทางไกล
จากกรุงปาวาไปกรุงกุสินารา ขณะที่ผมแวะลงข้างทาง นั่งพักที่ ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง
สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพจากกรุงกุสินารา เดินสวนทางจะไป
กรุงปาวา ท่านทั้งหลาย ผมได้เห็นอาชีวกนั้นเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงถามอาชีวก
นั้นดังนี้ว่า “ท่านทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างไหม”
อาชีวกตอบว่า “เราทราบ พระสมณะโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันเข้าวันนี้ เรา
ถือดอกมณฑารพดอกนี้มาจากที่ปรินิพพานนั้น”
ท่านทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ยังไม่ปราศจากราคะ บางรูปประคองแขนคร่ำครวญ
ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนคนเท้าขาดเพ้อรำพันว่า “พระผู้มีพระภาคปรินิพพาน
เร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก ดวงตาในโลกอันตรธานไปเสียแล้ว” ส่วนภิกษุ
ทั้งหลายที่ปราศจากราคะ มีสติสัมปชัญญะ ก็อดกลั้นไว้ว่า “สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง
จะหาความเที่ยงแท้ในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า”
ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผมได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอเถิด พวก
ท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญไปเลย พระผู้มีพระภาคตรัสบอกไว้ก่อนแล้วมิใช่
หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ กัน ความพลัดพราก ความผันแปรเป็นอื่นจากสิ่งที่รักใคร่
ชอบใจทุกอย่างมีอยู่เสมอ สิ่งที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกปรุงแต่งแล้ว มีความแตกสลาย
เป็นธรรมดา อย่าได้เสื่อมสลายไปเลยนั้น จะหาได้แต่ที่ไหนในฐานะนี้ นั่นไม่ใช่ฐานะ
ที่จะมีได้”

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๓๑/๑๔๑

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ท่านทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้บวชตอนแก่ชื่อสุภัททะ๑นั่งอยู่ในที่ประชุมนั้น
ได้กล่าวกับภิกษุทั้งหลายดังนี้ว่า “พอทีเถิด พวกท่านอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญ
เลย พวกเรารอดพ้นดีแล้วจากพระมหาสมณะรูปนั้นที่คอยจ้ำจี้จ้ำไชพวกเราอยู่ว่า
‘สิ่งนี้ควรแก่พวกเธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกเธอ’ บัดนี้ พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักทำ
สิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่ทำสิ่งนั้น”
ท่านทั้งหลาย เอาเถิด พวกเราจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน ก่อนที่
อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อน
ที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง
พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง

พระมหากัสสปะคัดเลือกภิกษุทำสังคายนา
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกภิกษุ
ทั้งหลายเถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงคัดเลือกพระอรหันต์ได้ ๔๙๙ รูป
ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระ
อานนท์นี้ยังเป็นเสขบุคคลก็จริง แต่ไม่ลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะ
ความหลง เพราะความกลัว อนึ่ง ท่านพระอานนท์นั้นได้ศึกษาพระธรรมและวินัย
เป็นอันมากในสำนักของพระผู้มีพระภาค ถ้าเช่นนั้น ขอพระเถระโปรดเลือกท่านพระ
อานนท์ด้วย”
ท่านพระมหากัสสปะจึงเลือกท่านพระอานนท์

กำหนดเขตการอยู่จำพรรษา
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราจะสังคายนาพระธรรม
และวินัยที่ไหนหนอ” ลำดับนั้น เห็นพร้อมกันว่า “กรุงราชคฤห์มีโคจรคามมาก

เชิงอรรถ :
๑ ดู วิ.ม. (แปล) ๕/๓๐๓/๑๓๗

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
เสนาสนะมีเพียงพอ ทางที่ดีพวกเราพึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สังคายนาพระ
ธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงอยู่จำพรรษาในกรุงราชคฤห์”
ต่อมา ท่านพระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๔๓๘] ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงแต่งตั้ง
ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุ
เหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ นี่เป็นญัตติ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์
เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อ
สังคายนาพระธรรมและวินัย ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระ
ธรรมและวินัยแล้ว ภิกษุเหล่าอื่นไม่พึงจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้เดินทางไปกรุงราชคฤห์เพื่อสังคายนาพระธรรม
และวินัย ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เถระได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค
ทรงสรรเสริญการปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรม ถ้ากระไร พวกเราจะปฏิสังขรณ์
เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก จะประชุมสังคายนาพระธรรมและวินัยตอนกลาง
เดือน”

ท่านพระอานนท์บรรลุอรหัตตผล
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ทรุดโทรมในเดือนแรก ลำดับนั้น
ท่านพระอานนท์คิดว่า “พรุ่งนี้เป็นวันประชุม การที่เราผู้ยังเป็นเสขบุคคลอยู่จะไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ร่วมประชุมด้วย ไม่สมควรเลย” จึงให้เวลากลางคืนเป็นส่วนมากล่วงไปด้วย
กายคตาสติ๑ พอถึงเวลาใกล้รุ่งก็เอนกาย ด้วยตั้งใจว่า “จะนอนพัก” แต่ศีรษะ
ยังไม่ทันถึงหมอน เท้ายังไม่ทันยกขึ้นจากพื้น ในระหว่างนี้จิตได้หลุดพ้นจากกิเลส
อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น

เรื่องท่านพระอุบาลีตอบคำถามเกี่ยวกับพระวินัย
[๔๓๙] ครั้นท่านพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ได้ไปสู่ที่ประชุม ลำดับนั้น ท่าน
พระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าจะสอบ
ถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลี”
ท่านพระอุบาลีจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหา
กัสสปะถามพระวินัย จะได้ตอบต่อไป”

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามท่านท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี พระ
ผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะเสพเมถุนธรรม”

เชิงอรรถ :
๑ กายคตาสติ คือ สติอันไปในกาย กำหนดพิจารณากายนี้ให้เห็นว่า ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ไม่สะอาด
ไม่งาม น่ารังเกียจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๑

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงราชคฤห์ ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภพระธนิยกุมภการบุตร”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะเรื่องการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๒

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภภิกษุหลายรูป”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะพรากกายมนุษย์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
ถามถึงอนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๓

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอุบาลี พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ณ กรุงเวสาลี ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “ทรงปรารภภิกษุชาวฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาทั้งหลาย”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “เพราะเรื่องอะไร”
ท่านพระอุบาลีตอบว่า “เพราะกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงวัตถุบ้าง ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึง
บุคคลบ้าง ถามถึงพระบัญญัติบ้าง ถามถึงพระอนุบัญญัติบ้าง ถามถึงอาบัติบ้าง
อนาบัติบ้างแห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๔
ท่านพระมหากัสสปะถามพระวินัยของสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย๑โดยอุบายนี้เหมือนกัน
ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม ท่านพระอุบาลีเป็นผู้ตอบ

เรื่องท่านพระอานนท์ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม
[๔๔๐] ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม
วาจาว่า “ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะสอบ
ถามพระธรรมกับท่านพระอานนท์”

เชิงอรรถ :
๑ สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๑. สังคีตินิทาน
ท่านพระอานนท์จึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าอันท่านพระมหากัสสปะถามพระ
ธรรมจะได้ตอบต่อไป”
ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะจึงถามท่านพระอานนท์ว่า “ท่านอานนท์ พระ
ผู้มีพระภาคตรัสพรหมชาลสูตร ณ ที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ณ ที่พระตำหนักในราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ระหว่าง
กรุงราชคฤห์และเมืองนาลันทา ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ทรงปรารภใคร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ทรงปรารภสุปปิยปริพาชกและพรหมทัตมาณพ”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้างในพรหม
ชาลสูตร
ท่านพระมหากัสสปะถามต่อไปว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคตรัสสามัญญ
ผลสูตรที่ไหน”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ณ ที่วิหารชีวกัมพวัน กรุงราชคฤห์ ขอรับ”
ท่านพระมหากัสสปะถามว่า “ตรัสกับใคร”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร”
จากนั้น ท่านพระมหากัสสปะได้ถามถึงนิทานบ้าง ถามถึงบุคคลบ้าง ในสามัญญ
ผลสูตร แล้วถามจนครบทั้ง ๕ นิกาย๑
ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้ถาม ท่านพระอานนท์เป็นผู้ตอบ

เชิงอรรถ :
๑ นิกาย ๕ ได้แก่ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย พระอภิธรรมปิฎก
ก็จัดเป็นขุททกนิกาย (วิ.อ. ๑/๒๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
ว่าด้วยสิกขาบทเล็กน้อย
[๔๔๑] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ในเวลาจะปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า ‘อานนท์ เมื่อเราล่วงไป
สงฆ์หวังอยู่ก็พึงถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือ
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหนที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหน ที่จัดว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท ที่เหลือจัด
เป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”
ภิกษุผู้เถระบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ยกเว้นปาราชิก ๔ สิกขาบท สังฆาทิเสส
๑๓ สิกขาบท อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท
ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ที่เหลือจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย”

เรื่องไม่บัญญัติเพิ่มเติมและไม่ถอนพระบัญญัติเดิม
[๔๔๒] ครั้งนั้น ท่านพระมหากัปปสะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรม
วาจาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่รู้กันในหมู่คฤหัสถ์๑
มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้อยู่ว่า “สิ่งนี้ควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร สิ่งนี้
ไม่ควร” ถ้าพวกเราจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ก็จะมีผู้กล่าวว่า “พระสมณะโคดม
บัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวกชั่วกาลแห่งควันไฟ” สาวกพวกนี้ศึกษาสิกขาบทอยู่ตลอด
เวลาที่พระศาสดาของตนยังมีชีวิตอยู่ พอพระศาสดาของพวกเธอปรินิพพานไปแล้ว บัดนี้
พวกเธอก็ไม่ศึกษาสิกขาบท” ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่ได้ทรงบัญญัติ
ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติตามสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขาบทของพวกเราที่รู้กันในหมู่คฤหัสถ์
มีอยู่ แม้พวกคฤหัสถ์ก็รู้อยู่ว่า “สิ่งนี้ควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร สิ่งนี้
ไม่ควร” ถ้าพวกเราจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ก็จะมีผู้กล่าวว่า “พระสมณะโคดม
บัญญัติสิกขาบทแก่พวกสาวกชั่วกาลแห่งควันไฟ สาวกพวกนี้ศึกษาสิกขาบทอยู่
ตลอดเวลาที่พระศาสดาของตนยังมีชีวิตอยู่ พอพระศาสดาของพวกเธอปรินิพพานไป
แล้ว บัดนี้พวกเธอก็ไม่ศึกษาสิกขาบท” ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็ไม่พึงบัญญัติสิ่งที่ไม่
ได้ทรงบัญญัติ ไม่พึงถอนพระบัญญัติที่ทรงบัญญัติไว้ พึงสมาทานประพฤติตาม
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ
ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติไว้ สมาทานประพฤติตามสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่ทรงบัญญัติ ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่ทรงบัญญัติไว้
สมาทานประพฤติสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ คือที่เกี่ยวข้องกับพวกคฤหัสถ์, พวกคฤหัสถ์รู้กันอยู่ (ที.ม.อ. ๒/๑๓๖/๑๕๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
เรื่องปรับอาบัติท่านพระอานนท์ ๕ กรณี
[๔๔๓] ๑.ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน
อานนท์การที่ท่านไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า
สิกขาบทข้อไหนจัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย’ เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัตินั้น
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า สิกขาบทข้อไหนที่จัดเป็นสิกขาบทเล็กน้อย’ เพราะระลึกไม่ได้
กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดงอาบัติ
ทุกกฏ”
๒. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านเหยียบ
ผ้าวัสสิกสาฏกของพระผู้มีพระภาคแล้วปะชุน เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเหยียบผ้าวัสสิกสาฏกของพระผู้มี
พระภาคไม่ใช่เพราะความไม่เคารพ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟัง
ท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏ”
๓. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านให้มาตุคาม
ถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาคก่อน พระสรีระจึงเปียก
เปื้อนน้ำตาของมาตุคามเหล่านั้นผู้ร้องไห้ เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏ
แก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมตระหนักว่า มาตุคามเหล่านี้
อย่ารออยู่จนถึงเวลาวิกาล จึงให้พวกเธอถวายอภิวาทพระสรีระของพระผู้มีพระภาค
ก่อน กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย กระผมจะแสดง
อาบัติ ทุกกฏ”
๔. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่พระผู้มี
พระภาคทรงทำนิมิตโอภาสอย่างหยาบ ๆ ท่านกลับไม่กราบทูลอ้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๒. ขุททานุขุททกสิกขาปทกถา
วอนพระองค์ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอด
กัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่
พหูชน เพื่อความสุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ เรื่องนี้ปรับ
อาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกมารดลใจจึงไม่ได้กราบทูล
อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคไว้ว่า ‘ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอด
กัป ขอพระสุคตโปรดดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพื่อเกื้อกูลแก่พหูชน เพื่อความ
สุขแก่พหูชน เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย’ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย
กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
๕. ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวต่อไปว่า “ท่านอานนท์ การที่ท่านขวน
ขวายให้มาตุคามบวชในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศไว้แล้ว
เรื่องนี้ปรับอาบัติทุกกฏแก่ท่าน ท่านจงแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”
ท่านพระอานนท์ชี้แจงว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมขวนขวายให้มาตุคามบวชใน
พระธรรมวินัยอันพระตถาคตประกาศไว้แล้ว เพราะคิดว่า ‘พระนางมหาปชาบดีโคตมี
ผู้นี้เป็นพระมาตุฉาของพระผู้มีพระภาค เคยประคับประคองดูแล ถวายเกษียรธาร
เมื่อพระชนนีสวรรคต’ กระผมไม่เห็นอาบัติทุกกฏนั้น แต่เพราะเชื่อฟังท่านทั้งหลาย
กระผมจะแสดงอาบัติทุกกฏนั้น”

เรื่องพระปุราณะ
[๔๔๔] สมัยนั้น ท่านพระปุราณะเที่ยวจาริกอยู่ในทักขิณาคิรีชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ครั้นเมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายสังคายนา
พระธรรมและวินัยเสร็จแล้ว ท่านพระปุราณะพักอยู่ที่ทักขิณาคิรีชนบทตามอัยธาศัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุง
ราชคฤห์ ครั้นแล้วได้นั่งสนทนาอย่างบันเทิงใจกับภิกษุผู้เถระอยู่ ณ ที่สมควร
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระปุราณะดังนี้ว่า “ท่านปุราณะ ภิกษุผู้
เถระทั้งหลายได้สังคายนาพระธรรมและวินัยแล้ว ท่านจงรับทราบเรื่องที่สังคายนานั้น”
ท่านพระปุราณะกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระทั้งหลายสังคายนา
พระธรรมและวินัยดีแล้ว แต่ผมจะทรงจำไว้ตามที่ได้ยินเฉพาะพระพักตร์ ตามที่ได้
รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค”

๓. พรหมทัณฑกถา
ว่าด้วยการลงพรหมทัณฑ์
[๔๔๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายดังนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ ในเวลาจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเราล่วงไป สงฆ์จงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านทูลถามพระผู้มีพระภาคหรือว่า
‘พระพุทธเจ้าข้า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร”
๑ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมทูลถามพระผู้มีพระภาคแล้ว
ว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า พรหมทัณฑ์เป็นอย่างไร’ พระองค์รับสั่งว่า ‘อานนท์ ภิกษุฉันนะ
พึงพูดได้ตามที่ปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอน
ภิกษุฉันนะ”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ท่านนั่นแลจงลง
พรหมทัณฑ์แก่ภิกษุฉันนะ”

เชิงอรรถ :
๑ ที.ม. ๑๐/๒๑๖/๑๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมจะลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ
ได้อย่างไรกัน เพราะเธอเป็นคนดุร้าย เป็นคนหยาบคาย”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายตอบว่า “ท่านอานนท์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปพร้อมกับภิกษุ
ทั้งหลายจำนวนมาก”
ท่านพระอานนท์รับบัญชาภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว โดยสารเรือไปพร้อมกับภิกษุ
สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ถึงกรุงโกสัมพี ขึ้นจากเรือแล้วนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง
ใกล้ราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน

เรื่องพระเจ้าอุเทน
สมัยนั้น พระเจ้าอุเทนกับพระมเหสีประทับอยู่ในราชอุทยานพร้อมข้าราชบริพาร
พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนได้สดับว่า “พระคุณเจ้าพระอานนท์ผู้เป็นอาจารย์ของพวกเรา
นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ราชอุทยาน”
ลำดับนั้น พระมเหสีได้กราบทูลพระจ้าอุเทนดังนี้ว่า “ขอเดชะ ทราบว่า พระ
คุณเจ้าพระอานนท์ผู้เป็นอาจารย์ของหม่อมฉัน นั่งอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ราชอุทยาน
ขอเดชะ หม่อมฉันปรารถนาจะเยี่ยมพระคุณเจ้าพระอานนท์”
พระเจ้าอุเทนตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอไปเยี่ยมท่านพระอานนท์เถิด”
ต่อมา พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
อภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระอานนท์ชี้แจงพระมเหสีให้เห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าอุเทนผู้ซึ่งท่านพระอานนท์ชี้แจงให้เห็นชัด
ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้ถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ
อานนท์ลุกจากอาสนะ อภิวาทแล้วทำประทักษิณกลับไป เข้าไปเฝ้าพระเจ้าอุเทน ณ
ที่ประทับ พระเจ้าอุเทนทอดพระเนตรเห็นพระนางเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัส
ถามพระมเหสีดังนี้ว่า “เธอเยี่ยมพระคุณเจ้าพระอานนท์แล้วหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
พระนางกราบทูลว่า “ขอเดชะ เยี่ยมแล้ว”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “เธอถวายอะไรแก่สมณะอานนท์บ้าง”
พระนางกราบทูลว่า “ขอเดชะ พวกหม่อมฉันถวายผ้าห่ม ๕๐๐ ผืนแก่พระ
คุณเจ้าพระอานนท์”
พระเจ้าอุเทนทรงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสมณะอานนท์จึงรับผ้า
มากมายอย่างนั้นเล่า สมณะอานนท์จะทำการค้าขายผ้าหรือตั้งร้านค้ากระมัง”
ต่อมา พระเจ้าอุเทนเสด็จไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้วทรงปราศรัย
กับท่านพระอานนท์ ครั้นทรงปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว
ประทับนั่ง ณ ที่สมควรตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ มเหสีของ
ข้าพเจ้ามาแล้วหรือ”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “พระมเหสีของพระองค์มาแล้ว มหาบพิตร”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “พระนางได้ถวายอะไรแก่ท่านอานนท์บ้าง”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า“มหาบพิตร พระนางถวายผ้าห่มอาตมา ๕๐๐
ผืน”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ผ้ามากมายอย่างนั้น ท่านจะเอาไปทำ
อะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า“มหาบพิตร อาตมาจะแจกภิกษุทั้งหลายผู้มี
จีวรเก่า”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาจีวรเก่าที่มีอยู่เดิมไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำจีวรเก่าที่มีอยู่เดิม
นั้นให้เป็นผ้าเพดาน”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเพดานเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าเพดานเก่านั้นให้
เป็นปลอกฟูก”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าปลอกฟูกเก่าไปทำอะไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] ๓. พรหมทัณฑกถา
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าปลอกฟูกเก่านั้น
ให้เป็นผ้าปูพื้น”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าปูพื้นเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะทำผ้าปูพื้นเก่าให้เป็น
ผ้าเช็ดเท้า”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไป
เช็ดธุลี”
พระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า “ท่านอานนท์ ท่านจะเอาผ้าเช็ดธุลีเก่าไปทำอะไร”
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า “มหาบพิตร อาตมาจะโขลกผ้าเหล่านั้นขยำ
กับโคลนแล้วฉาบทาฝา”
ลำดับนั้น พระเจ้าอุเทนทรงดำริว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหมดนี้
นำผ้าไปใช้คุ้มค่า ไม่ใช่เก็บเข้าคลัง” จึงได้ถวายผ้าอีกจำนวน ๕๐๐ ผืนแก่ท่าน
พระอานนท์
อนึ่ง เวลานั้น บริขารคือจีวร ๑,๐๐๐ ผืน เกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์เป็น
ครั้งแรก

เรื่องท่านพระอานนท์แจ้งพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ
ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปที่โฆสิตาราม ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ลำดับนั้น
ท่านพระฉันนะได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก ครั้นแล้วอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับท่านพระฉันนะดังนี้ว่า “ท่านฉันนะ สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์
แก่ท่านแล้ว”
ท่านพระฉันนะถามว่า “ท่านอานนท์ พรหมทัณฑ์ที่สงฆ์ลงแล้วเป็นอย่างไร ขอรับ”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านฉันนะ ท่านพึงพูดได้ตามที่ปรารถนา ภิกษุ
ทั้งหลายจะไม่ว่ากล่าว ไม่ตักเตือน ไม่พร่ำสอนท่าน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๘๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
ท่านพระฉันนะถามว่า “ท่านอานนท์ เพราะเหตุที่ภิกษุทั้งหลายไม่ว่ากล่าว ไม่
ตักเตือน ไม่พร่ำสอนผม เพียงแค่นี้ผมชื่อว่าถูกกำจัดแล้ว” แล้วสลบล้มลงที่นั้นเอง

พระฉันนะบรรลุอรหัตตผล
ต่อมา ท่านพระฉันนะอึดอัด เบื่อระอา รังเกียจด้วยพรหมทัณฑ์ จึงหลีกเร้น
อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายใจ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญายิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบันแน่แท้ รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก
ต่อไป”
จึงเป็นอันว่าท่านพระฉันนะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์
ทั้งหลาย
ครั้งนั้น ท่านฉันนะได้บรรลุอรหัตตผลแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พัก
ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่านอานนท์ เวลานี้ ท่านโปรด
ระงับพรหมทัณฑ์แก่ผมเถิด”
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “ท่านฉันนะ เมื่อท่านบรรลุอรหัตตผลแล้ว พรหม
ทัณฑ์ของท่านก็เป็นอันระงับไป”
ก็ในการสังคายนาพระ(ธรรม)วินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่หย่อนไม่ยิ่ง
ดังนั้น การสังคายนาพระ(ธรรม)วินัยครั้งนี้ จึงเรียกว่า “ปัญจสติกา”
ปัญจสติกขันธกะที่ ๑๑ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๓ เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระมหากัสสปะ
ผู้รักษาพระสัทธรรม ชี้แจงต่อหมู่สงฆ์ถึงถ้อยคำที่พระสุภัททะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
กล่าวดูหมิ่นพระธรรมวินัย เมื่อเดินทางจากเมืองปาวา
พระมหากัสสปะจึงกล่าวว่า พวกเราจะสังคายนาพระสัทธรรม
ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง
พระมหากัสสปะคัดเลือกภิกษุทำสังคายนา ๔๙๙ รูป
ต่อมา สงฆ์แนะนำให้เลือกท่านพระอานนท์ด้วย
ภิกษุสงฆ์จำพรรษาอยู่ในถ้ำอันเหมาะที่จะทำสังคายนา
พระธรรมวินัย เมื่อคราวสังคายนา
พระมหากัสสปะถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลี
ถามพระสูตรกับท่านพระอานนท์ผู้ชาญฉลาด
สาวกของพระชินเจ้าได้สังคายนาพระไตรปิฎก
สงฆ์ได้สอบถามเกี่ยวกับพุทธดำรัสที่ว่าด้วยอาบัติเล็กน้อย
ต่อจากนั้น จึงลงมติว่าจะปฏิบัติตามที่ทรงบัญญัติ
ต่อจากนั้น สงฆ์ปรับอาบัติท่านพระอานนท์เพราะไม่กราบทูล
ถามเกี่ยวกับอาบัติเล็กน้อย เพราะเหยียบผ้าของพระพุทธองค์
เพราะอนุญาตให้มาตุคามให้ไหว้พระพุทธสรีระจนน้ำตาเปียก
พระพุทธสรีระ เพราะไม่กราบทูลขอให้พระพุทธองค์
ดำรงพระชนม์ชีพอยู่ตลอดกัป เพราะกราบทูลขออนุญาตให้
มาตุคามออกบวช
ท่านพระอานนท์ยอมรับอาบัติทุกกฏเพราะเชื่อฟังภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลาย ต่อมา ท่านพระปุราณะเดินทางมาจาก
ทักขิณาคิรีชนบท ไม่ยอมรับผลการสังคายนา
สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ พระมเหสีของ
พระเจ้าอุเทนถวายลาภสักการะแก่ท่านพระอานนท์ ผ้าได้เกิดขึ้น
เป็นจำนวนมาก ท่านพระอานนท์เอาผ้าจีวรเก่าทำเป็นเพดาน
ทำเป็นปลอกฟูก เป็นผ้าปูพื้น เป็นผ้าเช็ดเท้า เป็นผ้าเช็ดธุลี
ต่อจากนั้นขยำกับโคลนฉาบทาฝา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๑. ปัญจสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปัญจสติกขันธกะ
จีวร ๑,๐๐๐ ผืนเกิดแก่ท่านพระอานนท์เป็นครั้งแรก
พระฉันนะถูกลงพรหมทัณฑ์ได้บรรลุสัจธรรม
ภิกษุผู้เถระผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ รูปสังคายนา
จึงเรียกว่า ปัญจสติกะ
ปัญจสติกขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๑๒. สัตตสติกขันธกะ
๑. ปฐมภาณวาร
เรื่องภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
[๔๔๖] สมัยนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงไปได้ ๑๐๐
ปี ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

เรื่องพระยสกากัณฑกบุตร
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเที่ยวจาริกอยู่ในแคว้นวัชชี ไปถึงกรุงเวสาลี
ทราบว่า ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพักอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี

เชิงอรรถ :
๑ เขนง คือ เขาสัตว์, กลักหรือกระบอกเขาควายที่นิยมใช้บรรจุดินปืน หรือสิ่งของอื่น บางทีใช้เป่าบอก
อาณัติสัญญาณ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมัยนั้น ภิกษุวัชชีบุตรทั้งหลายชาวกรุงเวสาลี ในวันอุโบสถนั้น ใช้ถาดทอง
สำริดตักน้ำไว้จนเต็มท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วแนะนำพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุง
เวสาลี ผู้ผ่านมาผ่านไปว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่ง
กหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง สงฆ์มีธุระที่ต้องทำ
ด้วยบริขาร”
เมื่อพวกภิกษุวัชชีบุตรกล่าวอย่างนี้ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงบอกพวก
อุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่าถวายรูปิยะแก่
สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง หนึ่งมาสกบ้าง ทองและเงิน
ไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทั้งหลายปล่อยวาง
แก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแม้อันท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวเตือน
อย่างนี้ ก็ยังขืนถวายรูปิยะแก่สงฆ์ หนึ่งกหาปณะบ้าง กึ่งกหาปณะบ้าง หนึ่งบาทบ้าง
หนึ่งมาสกบ้างอยู่นั่นเอง
เมื่อผ่านคืนนั้นไป พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้แบ่งเงินนั้นตามจำนวน
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้กล่าวกับท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรดังนี้ว่า “ท่านยสะ เงินจำนวนนี้เป็นส่วนแบ่งของท่าน”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีส่วนแบ่งเงิน ผมไม่
ยินดีเงิน”
ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ท่านพระยสกา-
กัณฑกบุตรรูปนี้ด่าบริภาษพวกอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาไม่มีศรัทธา
เอาเถอะ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรม๑แก่เธอ” แล้วได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ท่าน
พระยสกากัณฑกบุตร

เชิงอรรถ :
๑ ปฏิสารณียกรรม หมายถึงการที่สงฆ์ลงโทษให้ภิกษุทั้งหลายไปขอขมาคฤหัสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ลงปฏิสารณียกรรมโดยไม่ชอบธรรม
ลำดับนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรบอกพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีดังนี้
ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘สงฆ์พึงให้อนุทูตแก่ภิกษุผู้ถูก
ลงปฏิสารณียกรรม’ พวกท่านจงให้อนุทูตแก่เรา”
ครั้งนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจึงแต่งตั้งภิกษุรูปหนึ่งให้เป็นอนุทูต
แก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตร ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพร้อมพระอนุทูตพา
กันเข้าไปกรุงเวสาลี แล้วชี้แจงพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีดังนี้ว่า “อาตมา
กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใข่
วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มี
ศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา

เครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ
[๔๔๗] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุง
สาวัตถี
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็น
เหตุให้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการ
สิ่งมัวหมอง ๔ ประการคือ
๑. เมฆเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๒. หมอกเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ มัวหมอง
ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
๓. ควันและฝุ่นละอองเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
๔. ราหูผู้เป็นจอมอสูรเป็นสิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
มัวหมอง ไม่ส่องแสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย สิ่งมัวหมองที่เป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์มัวหมอง ไม่ส่อง
แสง ไม่สว่าง ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการเหล่านี้แล
เช่นเดียวกัน ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัว
หมอง ไม่สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ๔ ประการนี้
อุปกิเลส ๔ ประการคือ
๑. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดื่มสุรา และเมรัย ไม่เว้น
ขาดจากการดื่มสุราและเมรัย
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๑
๒. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเสพเมถุนธรรม ไม่เว้นขาด
จากการเสพเมถุนธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๒
๓. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน ไม่เว้น
ขาดจากการยินดีทองและเงิน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๓
๔. ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ ไม่
เว้นขาดจากมิจฉาชีพ
ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอุปกิเลสที่เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่
สง่า ไม่ผ่องใส ไม่รุ่งเรือง ประการที่ ๔”
ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พระสุคตครั้นตรัสพระดำรัส
นี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสประพันธ์คาถาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ถูกราคะและโทสะปกคลุม
ถูกอวิชชาหุ้มห่อยินดีรูปที่น่ารัก ดื่มสุราและเมรัย
เสพเมถุน โง่เขลา ยินดีเงินและทอง
สมณพราหมณ์พวกหนึ่งดำเนินชีวิตด้วยมิจฉาชีพ
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์
ตรัสอุปกิเลสที่ทำให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมัวหมอง ไม่สง่า
ไม่ผ่องใส เป็นที่รู้กัน ไม่บริสุทธิ์ มีธุลี ถูกความมืดปกคลุม
เป็นทาสแห่งตัณหา ถูกตัณหาชักนำให้อัตภาพหยาบ
เจริญเติบโต ย่อมยินดีการเกิดใหม่๑
อาตมามีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม
กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า
บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา

เรื่องผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะ
[๔๔๘] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์
ครั้งนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้
สนทนากันดังนี้ว่า “ทองและเงินย่อมสมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
หรือพวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ พวกพระสมณะเชื้อ
สายศากยบุตรรับทองและเงินได้หรือ”
ท่านทั้งหลาย สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ลำดับนั้น
ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า “นายท่านทั้งหลาย พวกท่าน
อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวก

เชิงอรรถ :
๑ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๐/๘๑-๘๓

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะ
เชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ท่านทั้งหลาย ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจ
ครั้นผู้ใหญ่บ้านชื่อมณีจูฬกะชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้
มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอพระวโรกาส พวกข้าราชบริพาร
นั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวังได้สนทนากันดังนี้ว่า ‘ทองและเงิน
สมควรแก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรหรือ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร
ยินดีทอง และเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบริษัทนั้นกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้น
ดังนี้ว่า ‘นายท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่
พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดีทอง
และเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณีและ
ทอง ปราศจากทองและเงิน
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์สามารถชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อชี้แจง
อย่างนี้ ชื่อว่าชี้แจงตามพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จ
แต่ชี้แจง ตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ๑ของพระองค์จะไม่ถูก
ตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ผู้ใหญ่บ้าน เอาเถอะ ท่านเมื่อชี้แจงอย่างนี้ชื่อว่าชี้แจง
ตามเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ แต่ชี้แจงตามสมเหตุสมผล และคำกล่าวที่เหมาะ
แก่วาทะของเราจะไม่ถูกตำหนิบ้างหรือแม้น้อยหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินไม่สมควร
แก่พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรโดยแท้ พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรไม่ยินดี

เชิงอรรถ :
๑ คำกล่าวที่เหมาะแก่วาทะ คือคำเดิมของพระองค์สมเหตุสมผลกับเหตุที่ผู้อื่นกล่าว หรือคำกล่าวตามคำ
ของพระองค์นั้นต่อ ๆ กัน แม้ มีประมาณน้อยจะไม่ถูกวิญญูชนตำหนิได้หรือ (วิ.อ. ๓/๒๙๐/๑๘๐, สารตฺถ.ฏีกา
๓/๒๙๐/๓๙๔, วิมติ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๒๔๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปล่อยวางแก้วมณี
และทอง พวกพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรปราศจากทองและเงิน ผู้ใหญ่บ้าน ทอง
และเงินควรแก่รูปใด แม้กามคุณ ๕ ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ ๕ ควรแก่รูปใด ท่านพึง
ทรงจำผู้นั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่มีสมณธรรม ไม่มีธรรมของเชื้อสายศากยบุตร อนึ่ง
เรากล่าวเปรียบเทียบอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง
แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการรู้จักตนเองพึงแสวงหา
ตนเอง แต่เราไม่เคยกล่าวถึงทองและเงินว่า ‘เป็นสิ่งที่ควรยินดี ควรแสวงหา’ ไม่ว่า
กรณีใด ๆ”๑
อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็นอธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม
กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่าเป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่า
บริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เขาหมดศรัทธา

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๔๔๙] (ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวต่อไปว่า) “ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคทรงปรารภท่านพระอุปนันทศากยบุตร ทรงห้ามทองและเงิน และ
ทรงบัญญัติสิกขาบทในกรุงราชคฤห์ อาตมาผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวอธรรมว่าเป็น
อธรรม กล่าวธรรมว่าเป็นธรรม กล่าวสิ่งมิใช่วินัยว่าเป็นสิ่งมิใช่วินัย กล่าววินัยว่า
เป็นวินัย แต่กลับถูกกล่าวหาว่า ด่าบริภาษอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
ทำให้เขาหมดศรัทธา”
เมื่อท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวอย่างนี้ พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลี
ได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรูปเดียวเท่านั้นที่เป็นพระ
สมณะเชื้อสายศากยบุตร พวกท่านทั้งหมดนี้ไม่ใช่พระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ขอ
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจงอยู่กรุงเวสาลี พวกเราจะอุปัฏฐากท่านพระยสกากัณฑก
บุตรด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร”

เชิงอรรถ :
๑ สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๖๒/๔๑๕-๔๑๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๓๙๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้นท่านพระยสกากัณฑกบุตรชี้แจงแก่พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีให้
เข้าใจดีแล้ว จึงเดินทางไปอารามพร้อมกับภิกษุอนุทูต

ลงอุกเขปนียกรรมโดยไม่ชอบธรรม
ครั้งนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ถามภิกษุอนุทูตว่า “ท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรขอโทษพวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงเวสาลีแล้วหรือ”
ภิกษุอนุทูตตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกอุบาสกอุบาสิกาทำพวกเราให้เป็นคน
เลว ยกย่องท่านพระยสกากัณฑกบุตรผู้เดียวให้เป็นพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร ทำ
พวกเราไม่ให้เป็นพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร”
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย
พระยสกากัณฑกบุตรซึ่งพวกเรายังไม่ได้แต่งตั้งเลยก็ประกาศตัวแก่พวกชาวบ้าน
เอาเถอะ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่าน” พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี
เหล่านั้นประสงค์จะลงอุกเขปนียกรรมแก่ท่านพระยสกากัณฑกบุตรนั้น จึงประชุม
ปรึกษากัน
สมัยนั้น ท่านพระยสกากัณฑกบุตรเหาะไปปรากฏที่กรุงโกสัมพี
[๔๕๐] ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรส่งทูตไปหาภิกษุทั้งหลายชาวเมือง
ปาเฐยยะและภิกษุทั้งหลายชาวอวันตีและทักขิณาบถ โดยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย
พวกเราจงมาช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน
สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวก
ธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง”

เรื่องพระสัมภูตสาณวาสี
สมัยนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสีอยู่ที่อโหคังคบรรพต ต่อมา ท่านพระยส
กากัณฑกบุตรเข้าไปหาท่านพระสัมภูตสาณวาสี ณ ที่อโหคังคบรรพต๑ ครั้นแล้วอภิวาท

เชิงอรรถ :
๑ อโหคังคบรรพต อยู่ในอินเดียตอนเหนือ บริเวณแม่น้ำคงคาตอนบน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระสัมภูตสาณวาสีดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุ
วัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีเหล่านี้แสดงวัตถุ ๑๐ ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเราจงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะ
รุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวก
อธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อนกำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวก
วินยวาที จะอ่อนกำลัง
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว

เรื่องภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะและทักขิณาบถ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะประมาณ ๖๐ รูป ทั้งหมดถือธุดงค์
คือ อยู่ป่าเป็นวัตร ทั้งหมดเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ทั้งหมดทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
ทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต ภิกษุทั้งหลายชาวอวันตีทักขิณาบถประมาณ ๘๐ รูป บางพวกถือธุดงค์ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
อยู่ป่าเป็นวัตร บางพวกเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร บางพวกทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
บางพวกมีไตรจีวรเป็นวัตร ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ประชุมปรึกษาหารือกันที่อโหคังค
บรรพต
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากัน ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
นี้หยาบช้ารุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้พวกเราเข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”

เรื่องพระเรวตะ
[๔๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความ
ระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่เมืองโสเรยยะ
ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต
เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พักอยู่ที่
เมืองโสเรยยะ ถ้าพวกเรา ได้ท่านพระเรวตะมาเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ท่านพระเรวตะได้ยินภิกษุผู้เถระทั้งหลายกำลังปรึกษากันด้วยทิพยโสตธาตุอัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นแล้วได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์นี้หยาบช้ารุนแรง การที่
เราจะดูดายต่ออธิกรณ์นี้ไม่สมควร เวลานี้ภิกษุเหล่านั้นกำลังมาหาเรา เรานั้นคลุกคลี
กับภิกษุเหล่านั้นจะอยู่ไม่ผาสุก ถ้ากระไรเราควรไปเสียก่อน”
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงเดินทางจากเมืองโสเรยยะไปเมืองสังกัสสะ
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินทางไปเมืองโสเรยยะ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองสังกัสสะ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองสังกัสสะไปเมืองกัณณกุชชะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองสังกัสสะ ถามว่า “ท่านพระเรวตะพัก
อยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองกัณณกุชชะ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองกัณณกุชชะไปเมืองอุทุมพระ
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองกัณณกุชชะ ถามว่า “พระเรวตะพัก
อยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองอุทุมพระ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองอุทุมพระไปเมืองอัคคฬปุระ
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองอุทุมพระ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปเมืองอัคคฬปุระ”
ต่อมา ท่านพระเรวตะเดินทางจากเมืองอัคคฬปุระไปสู่สหชาตินคร๑
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปเมืองอัคคฬปุระ ถามว่า “ท่านพระเรวตะ
พักอยู่ที่ไหน”
พวกเขาตอบว่า “ท่านพระเรวตะเดินทางไปสหชาตินคร”
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเดินตามไปพบท่านพระเรวตะที่สหชาตินคร

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ
[๔๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระสัมภูตสาณวาสี บอกท่านพระยสกากัณฑกบุตรว่า
“ท่าน ท่านพระเรวตะรูปนี้ เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง
มาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่
การศึกษา ถ้าพวกเราจะถามปัญหา ท่านสามารถจะแก้ปัญหาข้อเดียวได้ตลอดทั้งคืน
แต่เวลานี้ท่านพระเรวตะจะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้นสวด
สรภัญญะจบ ท่านควรเข้าไปหาท่านพระเรวตะถามวัตถุ ๑๐ ประการเหล่านี้”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรรับคำท่านพระสัมภูตสาณวาสีแล้ว

เชิงอรรถ :
๑ สหชาตินคร เป็นเมืองเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่(น้ำคง) เป็นนิคมหนึ่งแห่งแคว้นเจตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะเชิญภิกษุอันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะ เมื่อภิกษุรูปนั้น
สวดสรภัญญะจบ ท่านพระยสกากัณฑกบุตรจึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ ครั้นแล้ว
อภิวาท นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สิงคิโลณกัปปะ
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน สิงคิโลณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การเก็บเกลือไว้ในเขนงด้วย
ตั้งใจว่า ‘จะฉันกับอาหารรสไม่เค็ม’ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทวังคุลกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน ทวังคุลกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การฉันโภชนะในเวลาวิกาล
เมื่อเงา(ของดวงอาทิตย์)เลย(เวลาเที่ยง)ไป ๒ องคุลี ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ คามันตรกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน คามันตรกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้าม
ภัตตาหารแล้วคิดว่า ‘จะเข้าไปละแวกหมู่บ้านในบัดนี้’ แล้วฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาวาสกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสหลายแห่งที่มีสีมาเสมอกัน
จะแยกกันทำอุโบสถ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อนุมติกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อนุมติกัปปะคืออะไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๑. ปฐมภาณวาร
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์แบ่งพวกกันทำกรรมด้วย
ตั้งใจว่า ‘พวกเราจะให้ผู้มาแล้วอนุมัติ’ ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาจิณณกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อาจิณณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การประพฤติตามด้วยเข้าใจ
ว่า ‘สิ่งนี้พระอุปัชฌาย์ของเราประพฤติมา สิ่งนี้พระอาจารย์ของเราประพฤติมา’
ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน สิ่งที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ประพฤติมา บางอย่าง
ควร บางอย่างไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “อมถิตกัปปะควรหรือ”
ท่านพระเรวตะย้อนถามว่า “ท่าน อมถิตกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ นมสดที่ละความเป็นนมสด
แล้วแต่ยังไม่ถึงกับเป็นนมเปรี้ยว ภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว จะ
ดื่มนมนั้นที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญการดื่มชโลคิควรหรือ”
พระเรวตะย้อมถามว่า “ท่าน ชโลคินั้นคืออะไร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มสุราชนิดอ่อนที่ยังไม่
แปรเป็นน้ำเมา ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทองและเงิน ควรหรือ”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี
แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนี้ในกรุงเวสาลี ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ พวกเรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
จงช่วยกันวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ ก่อนที่อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกคัดค้าน สิ่งมิใช่วินัย
จะรุ่งเรือง วินัยจะถูกคัดค้าน ก่อนที่พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะอ่อน
กำลัง พวกอวินยวาทีจะมีกำลัง พวกวินยวาทีจะอ่อนกำลัง
ท่านพระเรวตะรับคำของท่านพระยสกากัณฑกบุตรแล้ว
ปฐมภาณวาร จบ

๒. ทุติยภาณวาร
[๔๕๓] พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีพอได้ทราบข่าวว่า “ท่านพระยส-
กากัณฑกบุตรประสงค์จะรับหน้าที่วินิจฉัยอธิกรณ์นี้ กำลังหาพรรคพวก และได้
พรรคพวกแล้ว”
ครั้งนั้นแล พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “อธิกรณ์
เรื่องนี้หยาบคายรุนแรง ทำอย่างไรพวกเราจึงจะได้พรรคพวกที่ทำให้เข้มแข็งมากกว่า
นี้เล่า”
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “ท่าน
พระเรวตะรูปนี้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็น
บัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ถ้าพวกเราได้ท่านพระเรวตะมาร่วมเป็นพรรคพวก ก็จะเข้มแข็งยิ่งกว่านี้”
ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีจัดเตรียมสมณบริขารอย่างเพียงพอ คือ
บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง
กระบอกกรองน้ำบ้าง
ลำดับนั้น พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีขนสมณบริขารนั้นโดยสารเรือไป
สหชาตินคร ขึ้นจากเรือ หยุดพักผ่อนฉันอาหารร่วมกันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
เรื่องพระสาฬหะ
เวลานั้น ท่านพระสาฬหะหลีกเร้นอยู่ที่สงัด เกิดความคิดคำนึงขึ้นในจิตอย่าง
นี้ว่า “ภิกษุพวกไหนที่เป็นฝ่ายธรรมวาที ภิกษุชาวปราจีนหรือชาวเมืองปาเฐยยะ”
ครั้งนั้น ขณะที่กำลังพิจารณาพระธรรมวินัย ท่านพระสาฬหะได้ปรึกษากัน
ต่อไปอีกว่า “ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่าย
ธรรมวาที”
ขณะนั้น เทวดาชั้นสุทธาวาสตนหนึ่ง ทราบความคิดคำนึงในจิตของท่านด้วย
จิต(ของตน) จึงหายไปจากเทวโลกชั้นสุทธาวาสแล้วมาปรากฏต่อหน้าท่านพระสาฬหะ
เหมือนคนมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ได้กล่าวกับท่านพระสาฬหะดัง
นี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ดีแล้ว ดีแล้ว ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาว
เมืองปาเฐยยะเป็นฝ่ายธรรมวาที ท่านโปรดวางตนตามความถูกต้องเถิด”
ท่านพระสาฬหะกล่าวว่า “เทวดา ทั้งในกาลก่อนและเวลานี้ อาตมาก็วางตน
ตามความถูกต้อง แต่อาตมาจะยังไม่เปิดเผยความเห็น ถ้ากระไร สงฆ์น่าจะแต่งตั้ง
อาตมา(ให้เข้าร่วมวินิจฉัย)ในอธิกรณ์นี้บ้าง”

เรื่องพระอุตตระ
[๔๕๔] ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลี ถือสมณบริขารนั้นเข้าไป
หาท่านพระเรวตะถึงที่พัก ครั้นแล้วได้กล่าวกับท่านพระเรวตะดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
ขอพระเถระโปรดรับสมณบริขาร คือ บาตรบ้าง จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง
ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรองน้ำบ้าง”
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า “ไม่ละคุณ เรามีไตรจีวรครบบริบูรณ์แล้ว” ไม่ปรารถนา
จะรับ
สมัยนั้น พระอุตตระมีพรรษา ๒๐ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระเรวตะ ครั้งนั้น
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้เข้าไปหาท่านพระอุตตระถึงที่พัก ครั้นแล้วได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กล่าวกับท่านพระอุตตระดังนี้ว่า “ขอท่านพระอุตตระจงรับสมณบริขาร คือ บาตรบ้าง
จีวรบ้าง ผ้าปูนั่งบ้าง กล่องเข็มบ้าง ประคดเอวบ้าง ผ้ากรองน้ำบ้าง กระบอกกรอง
น้ำบ้าง”
ท่านพระอุตตระกล่าวว่า “ไม่ละคุณ เรามีไตรจีวรครบบริบูรณ์แล้ว” ไม่ปรารถนา
จะรับ
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ท่านอุตตระ คนทั้งหลายน้อม
ถวายสมณบริขารแด่พระผู้มีพระภาค ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับ พวกเขาก็ดีใจ ถ้า
พระผู้มีพระภาคไม่ทรงรับ พวกเขาก็จะน้อมถวายท่านพระอานนท์ โดยกราบเรียนว่า
‘ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระโปรดรับสมณบริขาร สิ่งที่พระเถระรับก็เป็นเหมือนกับที่
พระผู้มีพระภาคทรงรับ’ ขอท่านพระอุตตระโปรดรับสมณบริขารเถิด สิ่งที่ท่านพระ
อุตตระรับก็จะเป็นเหมือนกับสิ่งที่พระเถระรับเหมือนกัน”
ครั้งนั้น ท่านพระอุตตระถูกพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีบีบคั้น จึงรับ
จีวรผืนหนึ่งแล้วกล่าวว่า “พวกท่านพึงแจ้งความประสงค์”
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีกล่าวว่า “ขอท่านพระอุตตระจงบอกพระ เถระ
ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระพูดเพียงเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติในปุรัตถิมชนบท ภิกษุทั้งหลายชาวปราจีนเป็นฝ่ายธรรมวาที
ภิกษุทั้งหลายชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่ายอธรรมวาที”
พระอุตตระรับคำของพวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแล้วเข้าไปหาท่านพระ
เรวตะถึงที่พัก ครั้นแล้วได้กราบเรียนดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระโปรดพูด
เพียงเท่านี้ในท่ามกลางสงฆ์ว่า “พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นใน
ปุรัตถิมชนบท ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะเป็นฝ่าย
อธรรมวาที”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ท่านชักชวนเราในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมหรือ” แล้ว
กล่าวประณามท่านพระอุตตระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ต่อมา พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีถามท่านพระอุตตระดังนี้ว่า “ท่าน
อุตตระ พระเรวตะพูดอย่างไรบ้าง”
ท่านพระอุตตระตอบว่า “ท่านทั้งหลาย พวกเราทำบาปเสียแล้ว พระเรวตะพูด
ว่า ‘ภิกษุ ท่านชักชวนเราในสิ่งที่ไม่ชอบธรรมหรือ’ แล้วประณามเรา”
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีถามว่า “ท่านอุตตระ ท่านเป็นผู้ใหญ่มีพรรษา
๒๐ แล้วมิใช่หรือ”
ท่านพระอุตตระตอบว่า “ใช่แล้วท่านทั้งหลาย แต่กระผมถือนิสัยอยู่ในท่านพระ
เรวตะผู้เป็นครู”

เรื่องสงฆ์มุ่งจะวินิจฉัยอธิกรณ์
[๔๕๕] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น จึงได้ประชุมกัน ลำดับนั้น
ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าพวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ บางทีจะ
มีภิกษุผู้ถือว่าอธิกรณ์มีมูลรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอธิกรณ์นี้ในที่
ที่อธิกรณ์นี้เกิดขึ้น”
ต่อมา ภิกษุผู้เถระทั้งหลายพากันเดินทางไปกรุงเวสาลีเพื่อวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น
ครั้งนั้น ท่านพระสัพพกามีเป็นพระสังฆเถระทั่วสังฆมณฑล มีพรรษา ๑๒๐
นับแต่อุปสมบทมา เป็นสัทธิวิหาริกของท่านพระอานนท์ พักอยู่ในกรุงเวสาลี
ครั้งนั้น ท่านพระเรวตะบอกท่านพระสัมภูตสาณวาสีดังนี้ว่า “ท่าน ผมจะไป
วิหารที่ท่านพระสัพพกามีอยู่ ท่านเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีก่อน แล้วเรียนถาม
วัตถุ ๑๐ ประการ”
พระสัมภูตสาณวาสีรับเถระบัญชาแล้ว ต่อมา ท่านพระเรวตะเข้าไปยังวิหารที่
ท่านพระสัพพกามีอยู่ เสนาสนะของท่านพระสัพพกามีเขาจัดเตรียมไว้ในห้อง
ส่วนเสนาสนะของท่านพระเรวตะเขาจัดเตรียมไว้ที่หน้ามุขห้อง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๐๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ขณะนั้น ท่านพระเรวตะคิดว่า “พระผู้เฒ่ารูปนี้ยังไม่จำวัด” จึงไม่จำวัด
ท่านพระสัพพกามีคิดว่า “ภิกษุอาคันตุกะรูปนี้เหนื่อยมาแต่ยังไม่จำวัด” จึงไม่
เข้าจำวัดเหมือนกัน
ครั้นพอใกล้สว่าง ท่านพระสัพพกามีลุกขึ้น ได้กล่าวกับท่านพระเรวตะดังนี้ว่า
“ท่านเรวตะ เวลานี้คุณอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเป็นส่วนมาก”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “พระคุณท่าน เวลานี้ผมอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมเป็น
ส่วนมาก”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านเรวตะ ทราบว่า เวลานี้คุณอยู่ด้วยวิหารธรรม
ที่เรียบง่าย นั่นก็คือเมตตา”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนคราวเป็นคฤหัสถ์ ผมได้ประพฤติ
สั่งสมเมตตา ฉะนั้นเวลานี้ผมก็ยังอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรมเป็นส่วนมาก แต่ผมบรรลุ
อรหัตตผลนานแล้ว ท่านผู้เจริญ เวลานี้พระเถระอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเล่าเป็นส่วน
มาก”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่านเรวตะ เวลานี้ผมอยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรม
เป็นส่วนมาก”
ท่านพระเรวตะกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ทราบว่า เวลานี้ พระเถระอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมของพระมหาบุรุษ นั่นก็คือ สุญญตสมาบัติ”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านเรวตะ เมื่อก่อนคราวเป็นคฤหัสถ์ ผมได้ประพฤติ
สั่งสมสุญญตสมาบัติ ฉะนั้นเวลานี้ ผมก็ยังอยู่ด้วยสุญญตวิหารธรรมเป็นส่วนมาก
แต่ผมบรรลุอรหัตตผลนานแล้ว”

พระสัมภูตสาณวาสีถามวัตถุ ๑๐ ประการ
ภิกษุผู้เถระทั้งสองสนทนาค้างอยู่เพียงเท่านี้ ลำดับนั้น พระสัมภูตสาณวาสี
มาถึง จึงเข้าไปหาท่านพระสัพพกามีถึงที่พัก ครั้นแล้วอภิวาท นั่ง ณ ที่สมควรได้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๐ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
กล่าวกับท่านพระสัพพกามีดังนี้ว่า “พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีแสดงวัตถุ ๑๐
ประการในกรุงเวสาลี คือ

๑. สิงคิโลณกัปปะ (เก็บเกลือไว้ในเขนง๑ แล้วฉันกับอาหารรสไม่เค็มได้)
๒. ทวังคุลกัปปะ (ฉันอาหารเมื่อเงาเลยเวลาเที่ยงไป ๒ องคุลีได้)
๓. คามันตรกัปปะ (เข้าบ้านฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนได้)
๔. อาวาสกัปปะ (ทำอุโบสถแยกกันในอาวาสที่มีสีมาเดียวกันได้)
๕. อนุมติกัปปะ (ทำสังฆกรรม ในเมื่อภิกษุทั้งหลายยังมาไม่พร้อม
แล้วขออนุมัติภายหลังได้)
๖. อาจิณณกัปปะ (ประพฤติตามแบบที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์เคย
ประพฤติมาได้)
๗. อมถิตกัปปะ (ฉันนมสดที่แปรไปแล้ว แต่ยังไม่เป็นนมเปรี้ยวได้)
๘. ชโลคิ (ดื่มสุราอ่อน ๆ ได้)
๙. อทสกนิสีทนะ (ใช้ผ้ารองนั่งไม่มีชายได้)
๑๐. ชาตรูปรชตะ (รับทองรับเงินได้)

ท่านพระสัพพกามีถามว่า “ท่านผู้เจริญ พระเถระศึกษาพระธรรมและวินัยไว้
เป็นอันมากจากพระอุปัชฌาย์ ท่านผู้เจริญ เมื่อพระเถระพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ เห็นอย่างไรว่า ‘ภิกษุพวกไหนเป็นฝ่ายธรรมวาที คือ ภิกษุชาวปราจีนหรือชาว
เมืองปาเฐยยะ”
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและ
วินัยอยู่ ก็เห็นอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”
ท่านพระสัพพกามีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อผมพิจารณาพระธรรมและวินัย
อยู่ก็เห็นอย่างนั้นว่า ‘ภิกษุชาวปราจีนเป็นฝ่ายอธรรมวาที ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
เป็นฝ่ายธรรมวาที’ แต่ยังชี้ขาดไม่ได้ สงฆ์น่าจะแต่งตั้งผมเข้าวินิจฉัยอธิกรณ์นี้บ้าง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๑ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
พระเรวตะประกาศระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี๑
[๔๕๖] ครั้งนั้น สงฆ์ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ จึงประชุมกัน และเมื่อกำลัง
วินิจฉัยอธิกรณ์นั้นอยู่ มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีใครทราบความหมาย
แห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะจึงประกาศให้สงฆ์ทราบว่า

ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วได้
แม้แต่เรื่องเดียว ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอธิกรณ์เรื่องนี้ด้วยอุพพาหิกวิธี
สงฆ์จึงคัดเลือกภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป คือ ท่านพระสัพพกามี ท่านพระ
สาฬหะ ท่านพระอุชชโสภิตะ และท่านพระวาสภคามิกะ และภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ
อีก ๔ รูป คือ ท่านพระเรวตะ ท่านพระสัมภูตสาณวาสี ท่านพระยสกากัณฑกบุตร
และท่านพระสุมนะ
ต่อมา ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียงเซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
แต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับอธิกรณ์นี้
ด้วยอุพพาหิกวิธี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เมื่อพวกเรากำลังวินิจฉัยอธิกรณ์นี้อยู่มีเสียง
เซ็งแซ่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีใครทราบความหมายแห่งถ้อยคำที่กล่าวแล้วนั้น

เชิงอรรถ :
๑ อุพพาหิกวิธี คือ วิธีระงับอธิกรณ์ ในกรณีที่ประชุมสงฆ์มีความไม่สะดวกด้วยเหตุบางอย่าง สงฆ์จึงเลือก
ภิกษุบางรูปในที่ประชุมนั้น ตั้งเป็นคณะทำงานแล้วมอบเรื่องให้นำไปวินิจฉัย (วิ.อ. ๓/๒๓๑/๒๙๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๒ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับ
อธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการแต่งตั้งภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป
ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป เพื่อระงับอธิกรณ์นี้ด้วยอุพพาหิกวิธี ท่านรูปนั้น
พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป สงฆ์แต่งตั้งเพื่อ
ระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความ
นิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องพระอชิตะ
สมัยนั้น ภิกษุอชิตะ มีพรรษา ๑๐ เป็นผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่สงฆ์ ต่อมา
สงฆ์แต่งตั้งท่านพระอชิตะให้เป็นผู้ปูอาสนะเพื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายคิดว่า “พวกเราจะระงับอธิกรณ์นี้ที่ไหนเล่า” ลำดับนั้น
ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ปรึกษากันต่อไปดังนี้ว่า “วาลิการามเป็นที่น่ารื่นรมย์ เงียบสงบ
ไม่อึกทึก พวกเราน่าจะระงับอธิกรณ์นี้ที่วาลิการาม”
[๔๕๗] ครั้งนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ประสงค์จะวินิจฉัยอธิกรณ์นั้นพากันเดิน
ทางไปวาลิการาม
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

ญัตติกรรมวาจา
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัย
กับท่านพระสัพพกามี”
ท่านพระสัพพกามีจึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า

ญัตติกรรมวาจา
“ท่านทั้งหลาย ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าอันท่าน
พระเรวตะถามพระวินัย จะได้ตอบต่อไป”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๓ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการ
ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะถามท่านพระสัพพกามีว่า “ท่านผู้เจริญ สิงคิโลณ
กัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน สิงคิโลณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การเก็บเกลือไว้ในเขนงเพราะตั้งใจว่า ‘จะ
ฉันกับอาหารรสไม่เค็ม’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะสะสมโภชนะ”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๑ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจักสลาก
ที่ ๑ นี้” (๑)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทวังคุลกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน ทวังคุลกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การฉันโภชนะในเวลาวิกาล เมื่อเงา (ของ
ดวงอาทิตย์)เลย(เวลาเที่ยง)ไป ๒ องคุลี ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในเวลาวิกาล”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๔ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๒ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลาก
ที่ ๒ นี้” (๒)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ คามันตรกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน คามันตรกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว
คิดว่า ‘จะเข้าละแวกหมู่บ้าน ในบัดนี้’ แล้วฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๓ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลาก
ที่ ๓ นี้” (๓)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อาวาสกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ อาวาสหลายแห่งที่มีสีมาเดียวกัน จะแยก
กันทำอุโบสถ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในอุโบสถสังยุต”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะล่วงพระวินัย”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๕ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๔ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๔ นี้” (๔)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อนุมติกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อนุมติกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ สงฆ์แบ่งเป็นพวกกันทำกรรมด้วยตั้งใจว่า
‘จะให้ผู้มาแล้วอนุมัติ’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ปรากฏในเรื่องพระวินัย ในจัมเปยยขันธกะ”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะละเมิดพระวินัย”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๕ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๕ นี้” (๕)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อาจิณณกัปปะควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อาจิณณกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การประพฤติล่วงเกินด้วยเข้าใจว่า ‘สิ่งนี้
พระอุปัชฌาย์ของเราประพฤติมา สิ่งนี้พระอาจารย์ของเราประพฤติมา’ ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน สิ่งที่พระอุปัชฌาย์อาจารย์ประพฤติมาบาง
อย่างควร บางอย่างไม่ควร”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๖ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ข้าพเจ้าขอลงคะแนน
ที่ ๖ นี้” (๖)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ อมถิตกัปปะควรหรือ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๖ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน อมถิตกัปปะนั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ นมสดที่ละความเป็นนมสดแล้วแต่ยังไม่
ถึงกับเป็นนมเปรี้ยว ภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว จะดื่มนมสดที่ไม่เป็นเดน
ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๗ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๗ นี้” (๗)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มชโลคิ ควรหรือไม่”
ท่านพระสัพพกามีย้อนถามว่า “ท่าน ชโลคินั้นคืออะไร”
ท่านพระเรวตะตอบว่า “ท่านผู้เจริญ การดื่มสุราชนิดอ่อนที่ยังไม่แปรเป็นน้ำเมา (ชื่อว่าชโลคิ)
ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามี “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ เมืองโกสัมพี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๘ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๘ นี้” (๘)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๗ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] ๒. ทุติยภาณวาร
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ผ้าปูนั่งไม่มีชาย ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ ณ ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ณ กรุงสาวัตถี ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ที่ชื่อว่าเฉทนกะ”๑
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๙ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๙ นี้” (๙)
ท่านพระเรวตะถามว่า “ท่านผู้เจริญ ทองและเงิน ควรหรือ”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ท่าน ไม่ควร”
ท่านพระเรวตะถามว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามไว้ที่ไหน”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “กรุงราชคฤห์ ปรากฏในสุตตวิภังค์”
ท่านพระเรวตะถามว่า “ต้องอาบัติอะไร”
ท่านพระสัพพกามีตอบว่า “ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะรับทองและเงิน”
ท่านพระเรวตะประกาศว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า เรื่องที่ ๑๐ นี้
สงฆ์วินิจฉัยแล้วว่า เรื่องนี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ ผมขอจับสลากที่
๑๐ นี้ (๑๐)
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์วินิจฉัยวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้แล้วว่า
เรื่องเหล่านี้นอกธรรม นอกวินัย เลี่ยงสัตถุศาสน์ เพราะเหตุอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ เฉทนกะ แปลว่า มีการตัดออก เป็นชื่อเฉพาะอาบัติปาจิตตีย์สิกขาบทที่ ๕, ๗-๙ แห่งรตนวรรค ที่
ว่าด้วยการทำของใช้สอยเกินขนาด ภิกษุทั้งหลายทำเตียงตั่ง ผ้ารองนั่ง ผ้าปิดฝี หรือผ้าอาบน้ำฝนเกิน
ขนาด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ที่ชื่อว่า เฉทนกะ (ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๕๒๒/๖๐๘,๕๓๓,๕๓๘,๕๔๓/๖๑๕,๖๑๘,
๖๒๑) ต้องตัดวัตถุนั้นให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติตก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๘ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
[๔๕๘] ท่านพระสัพพกามีกล่าวต่อไปว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์วินิจฉัยอธิกรณ์
นั่นสำเร็จเรียบร้อยดีแล้ว อนึ่ง ท่านพึงถามถึงวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้กับข้าพเจ้า
ท่ามกลางสงฆ์ เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นยอมรับทั่วกัน”
ต่อมา ท่านพระเรวตะได้สอบถามวัตถุ ๑๐ ประการนี้กับท่านพระสัพพกามี ใน
ท่ามกลางสงฆ์ ท่านพระสัพพกามีเมื่อถูกถามได้ตอบแล้ว
ในคราวสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ มีภิกษุ ๗๐๐ รูปพอดี ดังนั้น บัณฑิตจึงเรียก
การสังคายนาพระวินัยครั้งนี้ว่า “สัตตสติกา”
สัตตสติกขันธกะที่ ๑๒ จบ
ในขันธกะนี้มี ๒๕ เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
พวกภิกษุวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ
บรรจุน้ำให้เต็มถาดสำริดวางไว้ในโรงอุโบสถ
แนะนำให้อุบาสกอุบาสิกาถวายรูปิยะ
เมื่อพระยสกากัณฑกบุตรไม่เห็นด้วยก็ลงปฏิสารณียกรรม
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรพร้อมด้วยอนุทูตเข้าไปกรุงเวสาลี
ท่านพระยสกากัณฑกบุตรกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสเครื่องมัวหมอง ๔ อย่างของสมณพราหมณ์
เปรียบเหมือนเครื่องมัวหมองของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
สมณพราหมณ์รับทองและเงินย่อมเศร้าหมอง
ต่อมา ท่านพระยสกากัณฑกบุตรไปปรากฏตัวที่กรุงโกสัมพี
ภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะ ชาวอวันตีและทักขิณาบถปรึกษากัน
แสวงหาพรรคพวก ในขณะที่ท่านพระเรวตะพักอยู่ที่เมืองโสเรยยะ
ต่อไปเมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ เมืองอุทุมพระ สหชาตินคร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๑๙ }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [๑๒. สัตตสติก ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในสัตตสติกขันธกะ
ท่านพระสัมภูตสาณวาสีบอกท่านพระยสกากัณฑกบุตร
ให้ไปถามปัญหากับท่านพระเรวตะในขณะที่ท่านเชิญภิกษุ
อันเตวาสิกให้สวดสรภัญญะจบ
พวกภิกษุวัชชีบุตรชาวกรุงเวสาลีได้ทราบข่าวว่า
พระยสกากัณฑกบุตรจะวินิจฉัยอธิกรณ์
จึงแสวงหาพรรคพวก
จัดเตรียมสมณบริขารมีบาตรเป็นต้นโดยสารเรือไปสหชาตินคร
พระอุตตระรับคำของพวกภิกษุวัชชีบุตร
ถูกท่านพระเรวตะตำหนิร้ายแรง
สงฆ์มุ่งจะวินิจฉัยอธิกรณ์ไปกรุงเวสาลี
ในขณะที่ท่านพระเรวตะตอบท่านพระสัพพกามีว่า
ตัวท่านเองอยู่ด้วยเมตตาวิหารธรรม
เมื่อจะวินิจฉัยอธิกรณ์ ได้ประกาศให้สงฆ์ทราบทั่วกันว่า
จะระงับอธิกรณ์ด้วยอุพพาหิกวิธี
สัตตสติกขันธกะ จบ
จูฬวรรค จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า :๔๒๐ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒ จบ





eXTReMe Tracker