ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖-๑ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม

พระวินัยปิฎก
จูฬวรรค ภาค ๑
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. กัมมขันธกะ
๑. ตัชชนียกรรม
เรื่องภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ

[๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะ๑ ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความ
บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์แล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน
พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุ
นั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน” ทำให้ความบาดหมาง
ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป

เชิงอรรถ :
๑ ปณฺฑุกโลหิตกา ตามศัพท์แปลว่า พระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ แต่ในที่นี้ ท่านหมายเอาพวกภิกษุผู้เป็น
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ (วิ.อ. ๓/๑/๒๕๑, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑/๔๓๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
จึงก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่าน
เป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่า
กลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมาง
ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป”

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
[๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความ
บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบ
ให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถ
กว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้
ทำให้ ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษทั้งหลายจึงก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และ
สามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอย เป็นฝ่ายพวกท่าน’
ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออก
ไป ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะ ทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใส
ไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่บางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”

ทรงรับสั่งให้ลงตัชชนียกรรม
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะโดยประการต่าง ๆ แล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก
มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน
เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการน่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถา
ให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ”

วิธีลงตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทพวกภิกษุ
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้วให้ภิกษุเหล่านั้นให้การแล้วจึงปรับ
อาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
[๓] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและ
พระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน
พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น
อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ทำให้ความบาดหมางที่
ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไป
หาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
“ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็น
บัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัว
ภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน” ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด
ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุ
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงตัชชนียกรรม
แก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่
เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า
และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์
ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุ พวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า
และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’
ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป สงฆ์
ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูป
นั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ตัชชนียกรรมสงฆ์ลงแล้วแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัชชนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๔] ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ลงลับหลัง๑ ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี๒
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๓)

เชิงอรรถ :
๑ ลงลับหลัง หมายถึงลงโดยที่สงฆ์ ธรรมวินัยและบุคคลไม่อยู่พร้อมหน้ากัน (วิ.อ. ๓/๔/๒๕๑)
๒ อาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ได้แก่ อาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส (วิ.อ. ๓/๔/๒๕๑) ที่ชื่อว่าอเทสนา-
คามินี เพราะเป็นอาบัติที่ไม่อาจพ้นได้ด้วยการแสดง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๔)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๗)

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๘)

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๐)

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๑)

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๒)
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยตัชชนียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี๑
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

เชิงอรรถ :
๑ อาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ได้แก่ อาบัติเบา ๕ อย่าง (คือ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ
ทุพภาสิต) (วิ.อ. ๓/๔๗๕/๕๒๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๔)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๖)

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๗)

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๘)

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๙)

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๐)

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๑)

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ตัชชนียกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๒)
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงตัชชนียกรรม ๖ หมวด

หมวดที่ ๑
[๖] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้๑
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ๒

เชิงอรรถ :
๑ ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ คือ เว้นจากการกำหนดอาบัติ หมายถึงต้องอาบัติไม่มีขอบเขต (วิ.อ. ๓/
๔๐๗/๒๔๒)
๒ มีสีลวิบัติในอธิสีล คือ ต้องอาบัติปาราชิก หรืออาบัติสังฆาทิเสส
มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร คือ ต้องอาบัติที่เหลืออีก ๕ มีถุลลัจจัยเป็นต้น
มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ คือ ประกอบด้วยความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลก
ไม่มีที่สุดเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๘๔/๔๘-๔๙, (แปล) ดู.ที.สี. ๙/๕๓/๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๓ เหล่านี้แล (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์
๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๓ เหล่านี้แล (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล
(๔)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล
(๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ จบ

อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในตัชชนียกรรม
[๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมพึงประพฤติชอบ การประพฤติ
ชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่ง ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
สอนภิกษุณี ลงตัชชนียกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ๑ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในตัชชนียกรรม จบ

เชิงอรรถ :
๑ ปกตัตตภิกษุ ได้แก่ ภิกษุผู้มีศีลและอาจาระเสมอกับภิกษุทั้งหลาย หรือภิกษุโดยปกติที่ไม่ถูกลงโทษ หรือ
ไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๓/๓๙๔/๒๔๐,๗๕/๒๕๖,๑๐๒/๒๗๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรม
[๘] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะ พวกเธอถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายแล้วกล่าวว่า “พวกกระผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ พวกกระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับตัชชนียกรรม
แก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะเถิด”

หมวดที่ ๑
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน
๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น
๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล (๓)
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ

ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรม

หมวดที่ ๑
[๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธะ] ๑. ตัชชนียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่งคือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน
๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น
๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล (๓)
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๑. ตัชชนียกรรม
วิธีระงับตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
[๑๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ พวกภิกษุนิสิต
ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน
ผู้เจริญ พวกกระผมถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ พวกกระผมจึงขอระงับตัชชนียกรรม”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะเหล่านี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิต
ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะเหล่านี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิต
ของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและ
พระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวก
ภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะเหล่านี้ ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม สงฆ์ระงับตัชชนีย
กรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ตัชชนียกรรมสงฆ์ระงับแล้วแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ตัชชนียกรรมที่ ๑ จบ

๒. นิยสกรรม

เรื่องภิกษุเสยยสกะ
[๑๑] สมัยนั้น ท่านพระเสยยสกะเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้อง
อาบัติกำหนดไม่ได้ ชอบอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนภิกษุเสยยสกะ ผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่
คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุ
ก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุเสยยสกะเป็นคนโง่เขลา
ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัตและอัพภานอยู่ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
นั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุเสยยสกะ ผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติ
กำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ
ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่เล่า การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สงฆ์จงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้
กลับไปถือนิสัยใหม่”

วิธีลงนิยสกรรมและกรรมวาจา
สงฆ์พึงลงนิยสกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วให้
เธอให้การแล้วปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๑๒] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต
และอัพภานอยู่ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้
กลับไปถือนิสัยใหม่ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก
ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับ ไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้น พึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นิยสกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยนิยสกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๑๓] ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๖)

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็น ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
อเทสนาคามินี
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๘)

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๙)

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๑)

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (๑๒)
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยนิยสกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรม ชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๔)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๖)

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๒๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๗)

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๘)

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๙)

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๐)

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๑)

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (๑๒)
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงนิยสกรรม ๖ หมวด
หมวดที่ ๑
[๑๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๔)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติใน
อัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ จบ

อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในนิยสกรรม

หมวดที่ ๑
[๑๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมพึงประพฤติชอบ การประพฤติ
ชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอน ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
ภิกษุณี ลงนิยสกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในนิยสกรรม จบ

[๑๗] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัย
ใหม่ ภิกษุเสยยกะนั้นถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้วเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร
ขอให้แนะนำ ซักถามอยู่ จึงเป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัด
ระวัง ใฝ่การศึกษา กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาพวกภิกษุ
แล้วกล่าวว่า “กระผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับนิยสกรรม
แก่ภิกษุเสยยสกะ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรม

หมวดที่ ๑
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงนิยสกรรม
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีก
อย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ

ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับนิยสกรรม

หมวดที่ ๑
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีก
อย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงนิยสกรรมอีก
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้
แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ จบ

วิธีระงับนิยสกรรมและกรรมวาจา
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับนิยสกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุเสยยสกะพึง
เข้าไปหา สงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับนิยสกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
พึงระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยกะ นี่เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๒. นิยสกรรม
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยส
กรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอ
ระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
ขอระงับนิยสกรรม สงฆ์ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นิยสกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
นิยสกรรมที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๓. ปัพพาชนียกรรม
เรื่องภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ๑
[๒๑] สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ๒ เป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส เป็น
ภิกษุอลัชชี เลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท ภิกษุพวกนั้น ประพฤติไม่เหมาะสม
เห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง
เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัย
ต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอก
ไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริด
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผงประดับ
อกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้
อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้ช่อ นำไปเองบ้าง
ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้เทริด นำไป
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้
แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของตระกูล เพื่อทาส
หญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่ง
บนอาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๓๑/๔๕๙-๔๖๐, วิ.จู. (แปล) ๗/๒๙๓/๗๘-๘๐
๒ ภิกษุ ๒ รูปนี้อยู่ในพวกฉัพพัคคีย์ (ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๒๔๓/๑ : เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๓๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อน
รำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้น
รำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อน
รำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมาก
เก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่นฟาด
ให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง เล่นหก
คะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง เล่น
ธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัดขี่
ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง
วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิงฟ้อน
รำอย่างนี้ว่า “น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้” ดังนี้แล้ว ให้การ คำนับบ้าง ประพฤติ
ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง

อุบาสกเล่าเรื่องให้ฟัง
[๒๒] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งจำพรรษาในแคว้นกาสีแล้ว เดินทางไปกรุง
สาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค เดินทางไปจนถึงกีฏาคิรีชนบท ครั้นเวลาเช้า ท่าน
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปบิณฑบาตที่กีฏาคิรีชนบท มีการก้าวไป การ
ถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออกที่น่าเลื่อมใส สายตา
มองทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ
พวกชาวบ้านเห็นภิกษุนั้นแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า “ภิกษุนี้เป็นใคร ดูคล้าย
ไม่ค่อยมีกำลัง เหมือนคนอ่อนแอ เหมือนคนขมวดคิ้วก้มหน้า เมื่อท่านรูปนี้เข้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ไปบิณฑบาต ใครเล่าจะถวายอาหารบิณฑบาต ส่วนพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ
ของพวกเรา เป็นคนอ่อนโยน พูดไพเราะ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มก่อน มักกล่าวว่า
มาเถิด และมาดีแล้ว ไม่ก้มหน้า หน้าตาชื่นบาน ทักทายก่อน ใคร ๆ ก็อยาก
จะถวายอาหารท่านเหล่านั้น”
อุบาสกคนหนึ่งเห็นภิกษุนั้นกำลังบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท ครั้นแล้วได้เข้า
ไปหาภิกษุนั้นไหว้แล้วกล่าวกับท่านว่า “พระคุณเจ้าได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม ขอรับ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “อาตมายังไม่ได้อาหารเลย”
อุบาสกกล่าวนิมนต์ว่า “นิมนต์ไปเรือนกระผมเถิด ขอรับ” แล้วพาภิกษุนั้น
ไปเรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วถามว่า “พระคุณเจ้า ท่านจะไปที่ไหน ขอรับ”
ภิกษุนั้นตอบว่า “เจริญพร อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค”
อุบาสกกล่าวว่า “ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายอภิวาทพระบาท
ของพระผู้มีพระภาค ด้วยเศียรเกล้า และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผม
อย่างนี้ด้วยว่า ,พระพุทธเจ้าข้า วัดในกีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะเป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม
พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง
รดน้ำเองบ้าง ใช้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้ เองบ้าง
ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้าน เองบ้าง
ใช้ผู้อื่นทำบ้าง จัดดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่น
ทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้ อื่นทำบ้าง
ทำดอกไม้แผงประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้
ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้ช่อ นำไป
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้เทริด
นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำ ไปบ้างซึ่ง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ดอกไม้แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ ของตระกูล
เพื่อทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน
อาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ ของ หอม
และเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำกับ
หญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้น รำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง ประโคม
กับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง ขับร้อง
กับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง เต้นรำ
กับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง เล่นหมาก
เก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง เล่น
ฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถน้อย ๆ บ้าง
เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่นรถน้อย ๆ บ้าง
เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียนคนพิการบ้าง หัด
ขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลงอาวุธบ้าง วิ่งผลัดช้างบ้าง
วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง ปรบมือบ้าง
ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูดกับหญิง ฟ้อน
รำอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี้’ ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง ประพฤติ
ไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใสทาน
ที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
พวกภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอ
พระผู้มีพระภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่กีฏาคิรีชนบทเพื่อวัดจะได้ตั้งมั่นอยู่สืบไป
ในที่นั้น”
ภิกษุนั้นรับคำของอุบาสกแล้วเดินทางไปทางกรุงสาวัตถี ไปถึงกรุงสาวัตถี ถึง
พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีโดยลำดับ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคนั่งลง ณ ที่สมควร

พุทธประเพณี
อันการที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะ
ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ เธอยังสบายดีหรือ ยัง
พอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางมาโดยไม่ลำบากหรือ เธอมาจากไหน”
ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า พอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาโดยไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจำพรรษา
ในแคว้นกาสี เมื่อจะมาเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้ เดินทางผ่านกีฏาคิรีชนบท เวลาเช้า
ครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกีฏาคิรีชนบท อุบาสกคนหนึ่ง
เห็นข้าพระพุทธเจ้ากำลังเที่ยวบิณฑบาต เข้ามาหา ไหว้แล้วถามว่า ‘พระคุณเจ้า
ได้อาหารบิณฑบาตบ้างไหม ขอรับ’ ข้าพระพุทธเจ้าตอบว่า ‘อาตมายังไม่ได้อาหารเลย’
อุบาสกกล่าวนิมนต์ว่า ‘นิมนต์ไปเรือนกระผมเถิด ขอรับ’ แล้วพาข้าพระพุทธเจ้าไป
เรือน นิมนต์ให้ฉันแล้วถามว่า ‘พระคุณเจ้า ท่านจะไปที่ไหน ขอรับ’ ข้าพระพุทธเจ้า
ตอบว่า ‘เจริญพร อาตมาจะไปกรุงสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค’ เขากล่าวว่า
‘ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
และขอจงกราบทูลตามถ้อยคำของกระผมอย่างนี้ด้วยว่า ‘พระพุทธเจ้าข้า วัดใน
กีฏาคิรีชนบททรุดโทรม ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส
อยู่ในกีฏาคิรีชนบท เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม พวกเธอประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
นี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทานที่
เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลพากันจากไป
พวกภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ขอประทานวโรกาสเถิดพระพุทธเจ้าข้า ขอพระ
ผู้มีพระภาคโปรดส่งภิกษุทั้งหลายไปสู่กีฏาคิรีชนบท เพื่อวัดจะได้ตั้งมั่นอยู่สืบไปในที่นั้น’
ข้าพระพุทธเจ้ามาจากกีฏาคิรีชนบทนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

ทรงสอบถามแล้วตำหนิ
[๒๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะเป็นผู้อยู่ประจำในอาวาส เป็นภิกษุอลัชชีเลวทราม อยู่ในกีฏาคิรีชนบท
ประพฤติไม่เหมาะสมเห็นปานนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง ฯลฯ
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยว
นี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทานที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาเลิก
ถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลทั้งหลายพากันจากไป ภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นไม่สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงประพฤติ
ไม่เหมาะสมอย่างนี้ คือ ปลูกไม้ดอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นปลูกบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้
ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยดอกไม้เองบ้าง ใช้ผู้อื่นร้อยบ้าง
ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง
จัดดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ผู้อื่นจัดบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้
เทริดเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้แผง
ประดับอกเองบ้าง ใช้ผู้อื่นทำบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ภิกษุพวกนั้นนำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยต่อก้าน นำไปเองบ้าง ใช้
ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้ช่อ นำไป
เองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม่พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้
เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ผู้อื่นนำไปบ้าง
ซึ่งดอกไม้แผงประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมารี เพื่อสะใภ้ของ
ตระกูล เพื่อทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในภาชนะเดียวกันบ้าง ดื่มน้ำในขันใบเดียวกันบ้าง นั่งบน
อาสนะเดียวกันบ้าง นอนบนเตียงเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดเดียวกันบ้าง
นอนคลุมผ้าห่มผืนเดียวกันบ้าง นอนร่วมเครื่องลาดและคลุมผ้าห่มร่วมกันบ้างกับ
กุลสตรี กุลธิดา กุลกุมารี สะใภ้ของตระกูล ทาสหญิงในตระกูล
ภิกษุพวกนั้นฉันอาหารในเวลาวิกาลบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ทัดทรงดอกไม้ของ
หอมและเครื่องลูบไล้บ้าง ฟ้อนรำบ้าง ขับร้องบ้าง ประโคมบ้าง เต้นรำบ้าง ฟ้อนรำ
กับหญิงฟ้อนรำบ้าง ขับร้องกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ประโคมกับหญิงฟ้อนรำบ้าง เต้น
รำกับหญิงฟ้อนรำบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงขับร้องบ้าง ขับร้องกับหญิงขับร้องบ้าง
ประโคมกับหญิงขับร้องบ้าง เต้นรำกับหญิงขับร้องบ้าง ฟ้อนรำกับหญิงประโคมบ้าง
ขับร้องกับหญิงประโคมบ้าง ประโคมกับหญิงประโคมบ้าง เต้นรำกับหญิงประโคมบ้าง
ฟ้อนรำกับหญิงเต้นรำบ้าง ขับร้องกับหญิงเต้นรำบ้าง ประโคมกับหญิงเต้นรำบ้าง
เต้นรำกับหญิงเต้นรำบ้าง เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตาบ้าง แถวละ ๑๐ ตาบ้าง
เล่นหมากเก็บบ้าง เล่นชิงนางบ้าง เล่นหมากไหวบ้าง เล่นโยนห่วงบ้าง เล่นไม้หึ่งบ้าง
เล่นฟาดให้เป็นรูปต่าง ๆ บ้าง เล่นสกาบ้าง เล่นเป่าใบไม้บ้าง เล่นไถ น้อย ๆ บ้าง
เล่นหกคะเมนบ้าง เล่นไม้กังหันบ้าง เล่นตวงทรายด้วยใบไม้บ้าง เล่น รถน้อย ๆ บ้าง
เล่นธนูน้อย ๆ บ้าง เล่นเขียนทายบ้าง เล่นทายใจบ้าง เล่นเลียน คนพิการบ้าง
หัดขี่ช้างบ้าง หัดขี่ม้าบ้าง หัดขี่รถบ้าง หัดยิงธนูบ้าง หัดเพลง อาวุธบ้าง วิ่งผลัด
ช้างบ้าง วิ่งผลัดม้าบ้าง วิ่งผลัดรถบ้าง วิ่งขับกันบ้าง วิ่งเปี้ยวบ้าง ผิวปากบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ปรบมือบ้าง ปล้ำกันบ้าง ชกมวยบ้าง ปูลาดผ้าสังฆาฏิท่ามกลางเวทีเต้นรำแล้วพูด
กับหญิงฟ้อนรำอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง เธอจงฟ้อนรำในที่นี่’ ดังนี้แล้ว ให้การคำนับบ้าง
ประพฤติไม่เหมาะสมต่าง ๆ บ้าง
แม้พวกชาวบ้านที่เคยศรัทธา เลื่อมใส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใสทาน
ที่เคยถวายประจำแก่สงฆ์ บัดนี้ทายกทายิกาได้เลิกถวายแล้ว ภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย
พากันจากไป พวกภิกษุผู้เลวทรามอยู่ครอบครอง ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ

รับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรม
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถาตรัสเรียกพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะมารับสั่งว่า “ไปเถิด สารีบุตร โมคคัลลานะ เธอทั้งสองจงไป
กีฏาคิรีชนบท จงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจาก
กีฏา คีรีชนบท เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นสัทธิวิหาริกของเธอทั้งสอง”
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระ
พุทธเจ้าจะลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรี
ชนบทได้อย่างไร เพราะพวกเธอดุร้าย หยาบคาย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งสองจงไปกับภิกษุหลาย ๆ รูป”
พระเถระทั้งสอง ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว

วิธีลงปัพพาชนียกรรมและกรรมวาจาลงปัพพาชนียกรรม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือ
เบื้องต้น พึงโจทภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ครั้นแล้วให้ภิกษุเหล่านั้นให้การแล้ว
จึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วย
ญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
[๒๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ๒
รูปนี้ ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติเลวทรามของภิกษุเหล่านั้น
เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่วและตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุเหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิ
และปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ
ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านี้
ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น เขาได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุเหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็น
และได้ยินกันทั่ว สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจาก
กีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า “ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏา-
คิรีชนบท” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะ
ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึง
ทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านี้ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความ
ประพฤติของภิกษุเหล่านั้น เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุ
เหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุ
ชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า “ภิกษุชื่อว่าอัสสชิ และ
ปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท” ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น
ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้าก็กล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะเหล่านี้ประทุษร้ายตระกูล ประพฤติเลวทราม ความ
ประพฤติของภิกษุเหล่านั้น เขาได้เห็นและได้ยินกันทั่ว และตระกูลทั้งหลายที่ถูกภิกษุ
เหล่านั้นประทุษร้าย เขาก็ได้เห็นและได้ยินกันทั่ว สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพวกภิกษุ
ชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิ และ
ปุนัพพสุกะ ไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏาคิรีชนบทโดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่า
อัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปัพพาชนียกรรมให้ไปจากกีฏาคิรีชนบท สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและ
ปุนัพพสุกะ โดยประกาศว่า ‘ภิกษุชื่อว่าอัสสชิและปุนัพพสุกะไม่พึงอยู่ในกีฏาคิรีชนบท’
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปัพพาชนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่า
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนา
คามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๔๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
อธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปัพพาชนียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๒๖] ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา ฯลฯ

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปัพพาชนียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

อากังขมานจุททสกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงปัพพาชนียกรรม ๑๔ หมวด

หมวดที่ ๑
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. เล่นคะนองกาย ๒. เล่นคะนองวาจา
๓. เล่นคะนองทั้งกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ประพฤติไม่สมควรทางกาย
๒. ประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. ประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ทำลายพระบัญญัตติทางกาย๑
๒. ทำลายพระบัญญัติทางวาจา
๓. ทำลายพระบัญญัติทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๖)

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ

เชิงอรรถ :
๑ ทำลายพระบัญญัติทางกาย คือทำลายด้วยการไม่ศึกษาสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัตติเกี่ยวกับ
ข้อปฏิบัติทางกาย (วิ.อ. ๓/๒๗/๒๕๓, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๓๒๓/๕๖๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๑. ประกอบมิจฉาชีพทางกาย ๒. ประกอบมิจฉาชีพทางวาจา๑
๓. ประกอบมิจฉาชีพทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๓ เหล่านี้แล (๗)

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๘)

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๙)

เชิงอรรถ :
๑ มิจฉาชีพทางกาย คือ การหุงน้ำมันและต้มยาอริฏฐะเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งเวชกรรมที่ทรงห้ามเป็นต้น
มิจฉาชีพทางวาจา คือ การรับและการบอกข่าวแก่พวกคฤหัสถ์ (วิ.อ. ๓/๒๗/๒๕๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๐)

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งเล่นคะนองกาย ๒. รูปหนึ่งเล่นคะนองวาจา
๓. รูปหนึ่งเล่นคะนองทั้งกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๑)

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป
คือ
๑. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทางกาย
๒. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทางวาจา
๓. รูปหนึ่งประพฤติไม่สมควรทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๒)

หมวดที่ ๑๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๑. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทางกาย
๒. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทางวาจา
๓. รูปหนึ่งทำลายพระบัญญัติทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๓)

หมวดที่ ๑๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป
คือ
๑. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางกาย
๒. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทางวาจา
๓. รูปหนึ่งประกอบมิจฉาชีพทั้งทางกายและวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้
แล (๑๔)
อากังขมานจุททสกะ จบ

อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในปัพพาชนียกรรม
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมพึงประพฤติชอบ การ
ประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึง ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
สั่งสอนภิกษุณี ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๕๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม

๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในปัพพาชนียกรรม จบ

[๒๙] ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะเป็นประธานเดินทาง
ไปกีฏาคีรีชนบท ได้ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะให้ไปจากกีฏา
คีรีชนบทว่า “ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะไม่ควรอยู่ในกีฏาคีรีชนบท”
ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ยอม
ประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษ
การกสงฆ์๑ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะ
ความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
อัสสชิและปุนัพพสุกะถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้วก็ยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หาย
เย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่า
ทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง
สึกไปบ้าง” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่ออัสสชิและปุนัพพสุกะ

เชิงอรรถ :
๑ การกสงฆ์ คือ ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เป็นผู้ดำเนินการในกิจการสำคัญอันเป็นสังฆกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
ถูกสงฆ์ลงปัพพชานียกรรมแล้วยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอม
กลับตัว ไม่ขอขมาพวกภิกษุ ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ
เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้น
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นถูกสงฆ์ลงปัพพชานียกรรมแล้ว
ยังไม่ยอมประพฤติชอบ ไม่หายเย่อหยิ่ง ไม่ยอมกลับตัว ไม่ขอขมาภิกษุทั้งหลาย
ยังด่าบริภาษการกสงฆ์ ใส่ความว่าทำเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความ
หลง เพราะความกลัว หลีกไปบ้าง สึกไปบ้าง ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถารับสั่ง
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับปัพพาชนียกรรม”

นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรม

หมวดที่ ๑
[๓๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้ แล

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปัพพาชนียกรรม จบ

ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรม

หมวดที่ ๑
[๓๑] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
แล

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปัพพาชนียกรรม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๓. ปัพพาชนียกรรม
วิธีระงับปัพพาชนียกรรมและกรรมวาจา
[๓๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปัพพาชนียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์
ลงปัพพาชนียกรรม พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
กระผมจึงขอระงับปัพพาชนียกรรม”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าสงฆ์
พร้อมกันแล้ว พึงระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับ
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปัพพาชนียกรรม
แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ชื่อนี้ ถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้
ขอระงับปัพพาชนียกรรม สงฆ์ระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ปัพพาชนียกรรมสงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปัพพาชนียกรรมที่ ๓ จบ

๔. ปฏิสารณียกรรม
เรื่องพระสุธรรม
[๓๓] สมัยนั้น ท่านพระสุธรรมเป็นพระนักก่อสร้าง รับภัตตาหารประจำใน
อาวาสของจิตตคหบดี เมืองมัจฉิกาสณฑ์ ทุกครั้งที่จิตตคหบดีต้องการนิมนต์สงฆ์
คณะ หรือบุคคล ถ้ายังไม่เรียนให้ท่านสุธรรมทราบ จะไม่นิมนต์
ต่อมา พระเถระหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิกะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหา
จุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอุบาลี ท่านพระอานนท์ และท่าน
พระราหุล เที่ยวจาริกไปแคว้นกาสีลุถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์

จิตตคหบดีต้อนรับพระอาคันตุกะ
จิตตคหบดีทราบว่า “พระเถระหลายรูปเดินทางมาถึงเมืองมัจฉิกาสณฑ์แล้ว”
ครั้งนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาพระเถระทั้งหลายที่สำนัก ไหว้แล้วนั่งลง ณ ที่สมควร
ท่านพระสารีบุตรได้ชี้แจงให้จิตตคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ลำดับนั้น จิตตคหบดีผู้ซึ่งพระสารีบุตรเถระชี้แจงให้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไป
ปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว
จึงกราบอาราธนาพระเถระว่า “ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับอาคันตุก
ภัตของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นเถิด”
พระเถระรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ครั้นเขาทราบว่าพระเถระรับคำนิมนต์แล้ว ได้ลุกขึ้นไหว้พระเถระทั้งหลาย ทำ
ประทักษิณแล้วเข้าไปหาท่านพระสุธรรม ไหว้แล้วยืน ณ ที่สมควร เรียนท่านพระ
สุธรรมว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้น
พร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด”
ลำดับนั้น พระสุธรรมคิดว่า “แต่ก่อนจิตตคหบดีนี้เมื่อต้องการจะนิมนต์สงฆ์
คณะ หรือบุคคลก็ต้องบอกเราก่อนทุกครั้ง แต่เวลานี้กลับไม่บอกเราก่อนแล้วไปนิมนต์
พระเถระทั้งหลาย บัดนี้จิตตคหบดีคงจะโกรธไม่สนใจใยดี เบื่อหน่ายเราเสียแล้ว” จึง
ตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์”
แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคหบดี ก็กราบเรียนท่านพระสุธรรมดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์
รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด”
ท่านพระสุธรรมตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์”
แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคหบดี ก็กราบเรียนท่านพระสุธรรมดังนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์
รับภัตตาหารของกระผม เพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้นพร้อมกับพระเถระทั้งหลายเถิด”
ท่านพระสุธรรมตอบว่า “อย่าเลย จิตตคหบดี อาตมาไม่รับนิมนต์”
เวลานั้น จิตตคหบดีคิดว่า “พระสุธรรมจะรับหรือไม่รับนิมนต์ก็ทำอะไรเราไม่ได้”
ไหว้พระสุธรรมแล้วทำประทักษิณจากไป

พระสุธรรมวิวาทกับจิตตคหบดี
[๓๔] ครั้นล่วงราตรีนั้นไป จิตตคหบดีให้จัดเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต
ไว้ถวายภิกษุผู้เถระทั้งหลาย สมัยนั้น ท่านพระสุธรรมคิดว่า “ถ้ากระไร เราควร
ตรวจดูของเคี้ยวของฉันที่จิตตคหบดีเตรียมถวายภิกษุผู้เถระทั้งหลาย” พอถึงเวลาเช้า
จึงนุ่งอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปนิเวศน์ของจิตตคหบดี นั่งบนอาสนะที่เขา
จัดถวาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ลำดับนั้น จิตตคหบดีเข้าไปหาท่านพระสุธรรม ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ท่านพระสุธรรมบอกจิตตคหบดีผู้นั่ง ณ ที่สมควรแล้วว่า “ท่านเตรียมของเคี้ยว
ของฉันไว้อย่างเพียงพอ แต่สิ่งหนึ่ง คือ ขนมแดกงา ไม่มีในที่นี้”
จิตตคหบดีกล่าวตอบว่า “ท่านผู้เจริญ เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย แต่
พระสุธรรมกลับมาพูดว่า ขนมแดกงา ท่านผู้เจริญ เคยมีเรื่องเล่าว่า พวกพ่อค้าชาว
ทักขิณาบถ เดินทางไปค้าขายแถบตะวันออก พวกเธอนำแม่ไก่มาจากที่นั้น ต่อมา
แม่ไก่สมสู่กับพ่อกาก็ออกลูก เวลาที่ลูกไก่ตัวนั้นจะร้องอย่างกา มันก็ร้องเสียงกา
ผสมเสียงไก่ เวลาที่จะขันอย่างไก่ มันก็ขันเสียงไก่ผสมเสียงกา ฉันใด ท่านผู้เจริญ
เมื่อพระพุทธพจน์มีอยู่มากมาย พระสุธรรมมาพูดคำว่า ขนมแดกงาก็เหมือนกัน”
ท่านพระสุธรรมกล่าวว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษอาตมา นั่นวัดของท่าน
อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา
ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน”
แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่า บริภาษ
อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีก็กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้ด่าบริภาษท่าน ขออาราธนา
ท่านอยู่ในอัมพาฏกวันอันรื่นรมย์ เมืองมัจฉิกาสณฑ์เถิด กระผมจะดูแลเรื่องจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารสำหรับท่าน”
แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสุธรรมก็กล่าวกับจิตตคหบดีว่า “คหบดี ท่านด่าบริภาษ
อาตมา นั่นวัดของท่าน อาตมาจะไปละ”
จิตตคหบดีถามว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านจะไปไหน”
ท่านพระสุธรรมตอบว่า “คหบดี อาตมาจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่กรุงสาวัตถี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
จิตตคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกราบทูลคำที่ท่านและ
ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วให้พระผู้มีพระภาคทรงรับทราบทั้งหมด การที่ท่านจะกลับมาเมือง
มัจฉิกาสณฑ์อีก ไม่ใช่เรื่องน่าอัศจรรย์แต่อย่างใด”

พระสุธรรมเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
[๓๕] ต่อมา ท่านพระสุธรรมเก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรเดินทางไป
ทางกรุงสาวัตถี จนลุถึงพระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกะโดยลำดับ เข้าเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่องที่ตนกล่าว และ
เรื่องที่จิตตคบหดีกล่าวนั้นทั้งหมดให้ทรงทราบ

ทรงตำหนิพระสุธรรม
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนั้น ไม่สมควร ไม่
คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ โมฆบุรุษ จิตต
คหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ไฉนเธอ
จึงด่าด้วยคำต่ำช้า ข่มขู่ด้วยคำต่ำช้าเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใส ให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
สุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมนั้นไปขอขมาจิตตคหบดี”

วิธีลงปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้น พึงโจทภิกษุ
สุธรรม ครั้นแล้วให้ภิกษุสุธรรมให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุ
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๓๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
คำต่ำช้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้
เธอไปขอขมาจิตตคหบดี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จิตตคหบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น
ทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์ ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี
ท่านรูปใด เห็นด้วยกับการลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมคือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมา
จิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
จิตตคหบดี เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นทายก เป็นผู้ทำงาน เป็นผู้อุปถัมภ์สงฆ์
ภิกษุสุธรรมนี้ด่าด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม
คือ ให้ภิกษุสุธรรมขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงปฏิสาณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรมไปขอขมา
จิตตคหบดี สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๖๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะในปฏิสารณียกรรม จบ

ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรมที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่า
เป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสารณียกรรมประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะในปฏิสารณียกรรม จบ

อากังขมานจตุกกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงปฏิสารณียกรรม ๔ หมวด

หมวดที่ ๑
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภของพวกคฤหัสถ์
๒. ขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์
๓. ขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์
๔. ด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์
๕. ยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ เหล่านี้แล (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
๒. กล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์๑

เชิงอรรถ :
๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า,พระธรรม,พระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์ หมายถึงติเตียนต่อหน้าพวกคฤหัสถ์ (วิ.อ. ๓/๓๙/
๒๕๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
๔. ด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
๕. รับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ เหล่านี้แล (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ลาภแก่พวกคฤหัสถ์
๒. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่อไม่ใช่ประโยชน์ของพวกคฤหัสถ์
๓. รูปหนึ่งขวนขวายเพื่ออยู่ไม่ได้แห่งพวกคฤหัสถ์
๔. รูปหนึ่งด่าปริภาษพวกคฤหัสถ์
๕. รูปหนึ่งยุยงพวกคฤหัสถ์ให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูปเหล่านี้
แล (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุอื่นอีก ๕ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าแก่พวกคฤหัสถ์
๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรมแก่พวกคฤหัสถ์
๓. พวกหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์แก่พวกคฤหัสถ์
๔. รูปหนึ่งด่าพวกคฤหัสถ์ด้วยคำต่ำช้า ขู่ด้วยคำต่ำช้า
๕. รูปหนึ่งรับคำที่ชอบธรรมของคฤหัสถ์แต่ไม่ทำตาม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ ๕ รูป
เหล่านี้แล (๔)
อากังขมานจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๑๘ ข้อในปฏิสารณียกรรม
[๔๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมพึงประพฤติชอบ การ
ประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้

๑. ไม่พึงให้อุปสมบท ๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึง ๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์
สั่งสอนภิกษุณี ลงปฏิสารณียกรรมอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน ๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม ๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน ๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น ๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ ๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ

อัฏฐารสวัตตะในปฏิสารณียกรรม จบ

สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม
[๔๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม โดยสั่งให้ภิกษุสุธรรม
นั้นไปขอขมาจิตตคหบดี ภิกษุสุธรรมนั้นถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว เดินทาง
ไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์ ต้องเก้อเขิน ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้จึงกลับมายังกรุง
สาวัตถีอีก
ภิกษุทั้งหลายถามเธอว่า “ท่านขอขมาจิตตคหบดีแล้วหรือ”
ภิกษุสุธรรมตอบว่า “ผมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์เพราะเรื่องนี้ ต้องเก้อเขิน
ไม่อาจขอขมาจิตตคหบดีได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๗๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงให้ภิกษุอนุทูต
แก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี”

วิธีให้พระอนุทูตและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้พระอนุทูตอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงให้ภิกษุยอมรับ
ครั้นแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงให้ภิกษุนี้เป็น
พระอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมเพื่อขอขมาจิตตคหบดี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ให้ภิกษุเป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อ
ขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ภิกษุนี้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรม เพื่อ
ขอขมาจิตตคหบดี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ภิกษุนี้สงฆ์ให้เป็นอนุทูตแก่ภิกษุสุธรรมแล้วเพื่อขอขมาจิตตคหบดี สงฆ์เห็นด้วย
เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

วิธีขอขมาของภิกษุสุธรรม
[๔๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ภิกษุสุธรรมพึงไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับ
พระอนุทูต แล้วขอขมาจิตตคหบดีว่า “จิตตคหบดี ท่านโปรดยกโทษ อาตมาจะ
ทำให้ท่านเลื่อมใส” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขายกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอม
ยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า “จิตตคหบดี ขอท่านจงยกโทษแก่ภิกษุนี้ ภิกษุนี้
จะทำให้ท่านเลื่อมใส” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายัง
ไม่ยอมยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า “จิตตคหบดี ท่านจงยกโทษแก่ภิกษุนี้
อาตมาจะทำท่านให้เลื่อมใส” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี
ถ้ายังไม่ยอมยกโทษให้ พระอนุทูตพึงกล่าวว่า “จิตตคหบดี ท่านจงยกโทษให้ตาม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
คำของสงฆ์” ถ้าเมื่อกล่าวอย่างนี้ เขายอมยกโทษให้ นั่นเป็นการดี ถ้ายังไม่ยอม
ยกโทษให้ พระอนุทูตพึงให้ภิกษุสุธรรม ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้นั่ง
กระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วให้แสดงอาบัตินั้นไม่เลยเขตที่จิตตคหบดีจะมองเห็น
จะได้ยิน
ต่อมา ท่านภิกษุสุธรรมเดินทางไปเมืองมัจฉิกาสณฑ์กับพระอนุทูตแล้วขอ
ขมาจิตตคหบดี ท่านกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ เข้าไปหาภิกษุ
ทั้งหลายแล้วกล่าวอย่างนี้ “กระผมถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์พึงระงับปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุสุธรรม”

นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรม

หมวดที่ ๑
[๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะ
ว่าด้วยองค์ ๑๘ ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรม

หมวดที่ ๑
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์
๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
เหล่านี้แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูก ๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมอีก
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น ๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๔. ปฏิสารณียกรรม

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘
เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพอัฏฐารสกะในปฏิสารณียกรรม จบ

วิธีระงับปฏิสารณียกรรมและกรรมวาจา
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับปฏิสารณียกรรมอย่างนี้ คือ ภิกษุสุธรรม
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา
ทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลง
ปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอ
ระงับปฏิสารณียกรรม
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้ว พึงระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับ
ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรมแล้ว
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุสุธรรมนี้ถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับ
ตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่าน
รูปใดเห็นด้วยกับการระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุสุธรรม ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปฏิสารณียกรรม สงฆ์ระงับแล้วแก่พระสุธรรม สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ปฏิสารณียกรรมที่ ๔ จบ

๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เรื่องภิกษุพระฉันนะ
[๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขต
กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ๑
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
ฉันนะต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติเล่า” แล้วนำเรื่องนี้ไป กราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ คือจะไม่ยอมรับว่าเป็นอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่
ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำเช่นนั้น
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้น ต้องอาบัติแล้ว จึงไม่ปรารถนา
จะเห็นว่าเป็นอาบัติเล่า การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ครั้น
ทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภค๑กับสงฆ์

วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุชื่อ
ฉันนะ ครั้นแล้วให้ภิกษุฉันนะให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้วภิกษุ
ผู้ฉลาด สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๔๗] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่
ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุชื่อฉันนะ
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะเห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห้นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะ

เชิงอรรถ :
๑ สมโภค หมายถึงการคบหากันและการให้หรือรับอามิส กินร่วมกัน อยู่ร่วมกัน นอนร่วมกัน (สารตฺถ.
ฏีกา ๓/๑๓๐/๓๒๔-๓๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมแก่
ภิกษุชื่อฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภค
กับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ลงแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุผู้อยู่ในอาวาสต่อ ๆ ไปว่า “ภิกษุชื่อฉันนะ
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วย
องค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์
๓ เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ฯลฯ

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๘๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติn
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบ
ด้วยองค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ฯลฯ

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม ๖ หมวด

หมวดที่ ๑
[๕๐] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวก คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ จำพวก คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุอื่นอีก ๓ จำพวก คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุ ๓ จำพวกเหล่านี้แล
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๕๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
พึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติโดยชอบในเรื่องนั้น ดังนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะการไม่
เห็นว่าเป็นอาบัติอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๗. ไม่พึงยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
๒๑. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒๒. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๒๓. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๒๔. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๒๕. ไม่พึงยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน
๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
๒๙. พึงคบพวกภิกษุ
๓๐. พึงศึกษาสิกขาบทของภิกษุ
๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๒. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๓๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๕๒] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ภิกษุฉันนะนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ภิกษุฉันนะนั้นได้ออกจากอาวาสนั้นไปอาวาสอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงเดินทางไปจาก
อาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงเดินทางจาก
อาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงต้องหวนกลับ
มากรุงโกสัมพีอีกตามเดิม กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้วเข้าไป
หาพวกภิกษุบอกว่า “กระผม ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนีย-
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ”

นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

หมวดที่ ๑
[๕๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๙๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่าเหล่านี้แล (๕)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติอีก
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่าเหล่านี้แล (๑๐)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
๔. ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๕)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าของปกตัตตภิกษุ
๔. ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๐)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์ ๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๐)

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓. อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๕)

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล (๔๓)
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

หมวดที่ ๑
[๕๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท
๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๐)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๑๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๐)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์ ๔. คบพวกภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๐)

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล (๓๕)

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๕. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล (๔๓)
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติและกรรมวาจา
[๕๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
อย่างนี้ คือ ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
อาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุฉันนะ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ ๕ จบ

๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ(แสดงอาบัติ)
เรื่องภิกษุชื่อฉันนะ
[๕๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
ฉันนะ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า” ดังนี้แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ทรงสอบถามแล้วตำหนิ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อฉันนะต้องอาบัติแล้ว
ไม่ปรารถนาจะทำคืน จริงหรือ”
พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ไม่
สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
ทำคืนอาบัติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อ
ฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”

วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติอย่างนี้ คือ
เบื้องต้นโจทภิกษุชื่อฉันนะครั้นแล้วให้ภิกษุชื่อฉันนะนั้นให้การปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติ
แล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะทำคืนอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะทำคืนอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๐๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่าน
รูปนั้น พึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ลงแก่ภิกษุชื่อฉันนะแล้ว ห้ามสมโภค
กับสงฆ์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติ
อย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุในอาวาสต่อ ๆ ไปว่า “ภิกษุชื่อฉันนะ
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๕๗] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วย
องค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย แลระงับไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ฯลฯ

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และ
ระงับไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๕๘] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์
๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่งที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ฯลฯ

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้
แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ ๖ หมวด

หมวดที่ ๑
[๕๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๑๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๖๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติ
พึงประพฤติชอบ การประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำ
คืนอาบัติอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๑๔. ไม่พึงยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๑๕. ไม่พึงยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๖. ไม่พึงยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๗. ไม่พึงยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๘. ไม่พึงยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๑๙. ไม่พึงยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
๒๑. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒๒. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๒๓. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๒๔. ไม่พึงใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๒๕. ไม่พึงยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน
๒๖. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์
๒๗. ไม่พึงใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๒๘. ไม่พึงคบพวกเดียรถีย์
๒๙. พึงคบพวกภิกษุ
๓๐. พึงศึกษาสิกขาบทของภิกษุ
๓๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๒. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๓๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๓๕. ไม่พึงรุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๖๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุฉันนะ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ภิกษุฉันนะนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ภิกษุ
ฉันนะนั้นได้ออกจากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น
พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำสามีจิกรรม
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงได้เดินทางจากอาวาสนั้นไป
สู่อาวาสอื่น
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำสามีจิ
กรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงได้เดินทางจากอาวาสนั้นไป
สู่อาวาสอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แม้พวกภิกษุในอาวาสอื่นนั้นก็ไม่กราบไหว้ ไม่ลุกรับ ไม่ประนมมือ ไม่ทำ
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ภิกษุฉันนะนั้นอันพวกภิกษุ
ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีใครเชื่อถือ จึงต้องหวนกลับ
มากรุงโกสัมพีอีกตามเดิม กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว เข้าไป
หาพวกภิกษุบอกว่า “กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ กลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้แล้ว กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ”

นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ

หมวดที่ ๑
[๖๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืน
อาบัติอีก
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ฯลฯ

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๔. ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ ฯลฯ

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๓. ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๔. ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. คบพวกเดียรถีย์ ๔. ไม่คบพวกภิกษุ
๕. ไม่ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ ฯลฯ

หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๓. อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วไม่ลุกจากอาสนะ
๕. รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๑
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืน
อาบัติอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ฯลฯ

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการกราบไหว้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีการลุกรับของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการประนมมือของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีสามีจิกรรมของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการนำอาสนะมาให้ของปกตัตตภิกษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ยินดีการนำที่นอนมาให้ของปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่ยินดีน้ำล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ยินดีการตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าให้ของปกตัตตภิกษุ
๔. ไม่ยินดีการรับบาตรและจีวรของปกตัตตภิกษุ
๕. ไม่ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยสีลวิบัติ
๒. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาจารวิบัติ
๓. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยทิฏฐิวิบัติ
๔. ไม่ใส่ความปกตัตตภิกษุด้วยอาชีววิบัติ
๕. ไม่ยุยงปกตัตตภิกษุให้แตกกัน ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

๑. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ ๒. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
๓. ไม่คบพวกเดียรถีย์ ๔. คบภิกษุ
๕. ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๒. ไม่อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๔. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
๕. ไม่รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๒๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๖. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติและกรรมวาจา
[๖๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติอย่างนี้
คือ ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุ
ผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผม
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะ ไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนีย กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะ
ไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ แก่ภิกษุ
ฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุ
ฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หาย
เย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด ไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ สงฆ์ระงับแก่ภิกษุฉันนะแล้ว สงฆ์เห็นด้วย
เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติที่ ๖ จบ

๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
เรื่องภิกษุอริฏฐะ๑
[๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ
ชื่ออริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย
ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”๒
ภิกษุหลายรูปได้ทราบข่าวว่า “ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุชื่ออริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถ
ก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่” ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาภิกษุอริฏฐะผู้
มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพ-
บุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งดังนี้ว่า “ท่านอริฏฐะ ได้ทราบว่า ทิฏฐิบาปเช่นนี้ได้เกิดขึ้น
แก่ท่านว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่

เชิงอรรถ :
๑ วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕, ม.มู. (แปล) ๑๒/๒๓๔/๒๔๕-๒๔๗
๒ ดู วิ.มหา. (แปล) ๒/๔๑๗/๕๒๕ (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่’ จริงหรือ”
ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งกล่าวว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น
ท่านทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตาม
ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่”
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวว่า “ท่านอริฏฐะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่ากล่าวตู่
พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ได้
ตรัสอย่างนั้น ท่านอริฏฐะ พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่อ
อันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่อง
เสพได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนความฝัน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของ
ที่ยืมมา ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ พระผู้มี
พระภาคตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัส
ว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ
อย่างยิ่ง”
ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถูกภิกษุเหล่านั้นตักเตือนแต่ก็ยัง
กล่าวด้วยความยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิบาปนั้นอยู่อย่างนั้นว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้น ท่าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่”
ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะปลดเปลื้องภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
จากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “อริฏฐะ ทราบว่า ทิฏฐิบาป
เช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่ง
ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
ภิกษุอริฏฐะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร
โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ
และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรากล่าวว่า กาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือน
เขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ เรา
กล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกาม
นี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด
ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อนั้นจัก
เป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภค
กับสงฆ์”

วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปอย่างนี้ คือ
เบื้องต้นพึงโจทภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ครั้นแล้วให้ภิกษุอริฏฐะ
ให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๖๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่อ
อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่
เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านก
แร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่ง
ว่าธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่
ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมละทิฏฐินั้น สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้
มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว จนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่อ
อันตราย ก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมละ
ทิฏฐินั้น สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษ
เป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนีย-
กรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษ
เป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสฆ์ สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงบอกภิกษุในอาวาสต่อ ๆ ไปว่า “ภิกษุอริฏฐะผู้มี
บรรพ บุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ห้ามสมโภคกับสงฆ์”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ไม่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๖๗] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์
๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่สอบถาม
๓. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ฯลฯ

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓ อีก
อย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงลับหลัง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยไม่สอบถาม ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยไม่ชอบธรรม
๓. สงฆ์แบ่งพวกกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับ
ไม่ดี
อธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๓๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ชอบธรรม ๑๒ หมวด

หมวดที่ ๑
[๖๘] ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วย
องค์ ๓ ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยสอบถามก่อน
๓. ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
๓. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ฯลฯ

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
๓. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงต่อหน้า ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงโดยสอบถามก่อน ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงตามปฏิญญา ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๗
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะต้องอาบัติ ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๙
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ลงเพราะอาบัติที่ยังไม่ได้แสดง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

หมวดที่ ๑๐
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. โจทก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๑
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ฯลฯ

หมวดที่ ๑๒
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คือ
๑. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ๒. ลงโดยชอบธรรม
๓. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ประกอบด้วยองค์ ๓
เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี
ธัมมกัมมทวาทสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ๖ หมวด

หมวดที่ ๑
[๖๙] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
๑. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๑)

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. มีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๒)

หมวดที่ ๓
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. กล่าวติเตียนพระธรรม
๓. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ เหล่านี้แล (๓)

หมวดที่ ๔
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
๓. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูป เหล่านี้แล (๔)

หมวดที่ ๕
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล ๒. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
๓. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูป เหล่านี้แล (๕)

หมวดที่ ๖
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุอื่นอีก ๓ รูป คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า ๒. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุ ๓ รูปเหล่านี้แล (๖)
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร ๔๓ ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๗๐] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
พึงประพฤติชอบ การประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๓๖. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๗. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓๘. ไม่พึงทำการไต่สวน
๓๙. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๔๐. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๔๑. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๔๒. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๔๓. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
เตจัตตาฬีสวัตตะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

สงฆ์ลงโทษและระงับกรรม
[๗๑] ต่อมา สงฆ์ได้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปจึงสึก
ภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุอริฏฐะผู้มี
บรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปจึงสึกเล่า”
แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์แล้วสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้ง ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้วสึก จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำนี้ไม่สมควร
ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
จึงสึกเล่า การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใสหรือทำคนที่เลื่อมใส
อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย
คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป” ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ
ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์
จงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป”

นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

หมวดที่ ๑
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ให้อุปสมบท ๒. ให้นิสัย
๓. ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
๑. ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะการไม่สละ
ทิฏฐิบาปอีก
๒. ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ตำหนิกรรม
๕. ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
ฯลฯ

หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ทำการไต่สวน ๔. เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. โจทภิกษุอื่น
๗. ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
นัปปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๔๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ว่าด้วยองค์ ๔๓
ของภิกษุที่สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

หมวดที่ ๑
[๗๓] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. ไม่ให้อุปสมบท ๒. ไม่ให้นิสัย
๓. ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก ๔. ไม่รับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอนภิกษุณี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

หมวดที่ ๒
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง คือ
๑. ไม่ต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ
บาปอีก
๒. ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๓. ไม่ต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๔. ไม่ตำหนิกรรม
๕. ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] ๗. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
หมวดที่ ๘
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ

๑. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ ๒. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๓. ไม่ทำการไต่สวน ๔. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๕. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ๖. ไม่โจทภิกษุอื่น
๗. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ ๘. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ เหล่านี้แล
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป จบ

วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปและกรรมวาจา
[๗๔] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปอย่างนี้
คือ ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาป”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ ๓ ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่
ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
แก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ครั้งที่ ๒ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ครั้งที่ ๓ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อ
นี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง
กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูป
นั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุนี้ สงฆ์เห็นด้วย
เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปที่ ๗ จบ
กัมมขันธกะที่ ๑ จบ
ในขันธกะนี้มี ๗ เรื่อง

รวมสาระสำคัญที่มีในกัมมขันธกะ
เรื่องภิกษุชื่อปัณฑุกะและชื่อโลหิตกะก่อความบาดหมางเอง
ได้เข้าไปหาภิกษุผู้ประพฤติเหมือนกัน แล้วก่อความบาดหมาง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ยิ่งขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิด ที่เกิดแล้วก็ขยายตัวออกไป
ภิกษุผู้มักน้อยมีศีลเป็นที่รักพากันตำหนิท่ามกลางบริษัท
พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงเป็นพระสยัมภูอัครบุคคล
ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลงตัชชนียกรรมที่กรุงสาวัตถี
ตัชชนียกรรมที่เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย คือ

หมวดที่ ๑
ลงลับหลัง ลงโดยไม่สอบถาม ไม่ลงตามปฏิญญา

หมวดที่ ๒
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว

หมวดที่ ๓
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง

หมวดที่ ๔
ลงลับหลัง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ ๕
ลงโดยไม่สอบถาม ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ ๖
ไม่ลงตามปฏิญญา ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ ๗
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ ๘
ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
หมวดที่ ๙
ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ ๑๐
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ ๑๑
ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ ๑๒
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง
นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิด
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ จำพวก คือ
๑. ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๒. ผู้วิบัติในอธิสีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ
๓. ผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ
๑. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
๒. รูปหนึ่งวิบัติในศีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ
๓. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้
คือ ไม่ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่สั่งสอนภิกษุณี ถึงได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ
นั้นอีก ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้นและที่เลวทรามกว่านั้น
ไม่ตำหนิกรรม ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ไม่งดอุโบสถและปวารณา
แก่ปกตัตตภิกษุ ไม่ทำการสอบถาม ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
และไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ
สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕
คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ใช้สามเณรอุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอน และองค์ ๕ อีกอย่างหนึ่ง
คือ ต้องอาบัตินั้น ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้น ต้องอาบัติ
ที่เลวทรามกว่านั้น ตำหนิกรรม ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ งดอุโบสถ ปวารณา
ทำการไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น
ให้ภิกษุอื่นให้การและให้ต่อสู้อธิกรณ์กัน ย่อมไม่พ้นความผิด
จากตัชชนียกรรม
นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิดนั้น
ภิกษุเสยยสกะโง่เขลา มีอาบัติมากและคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ พระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระมหามุนี รับสั่งให้ลง
นิยสกรรม
ภิกษุชื่ออัสสชิและชื่อปุนัพพสุกะอยู่ในกีฏาคีรีชนบท
ไม่สำรวม ประพฤติไม่สมควรต่าง ๆ พระสัมพุทธชินเจ้า
รับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมในกรุงสาวัตถี
ภิกษุสุธรรมอยู่ประจำในอาวาสของจิตตคหบดี ในเมือง
มัจฉิกาสณฑ์ ด่าจิตตอุบาสกด้วยคำหยาบ กระทบชาติกำเนิด
พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณียกรรม
ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะรู้เห็นอาบัติ พระชินเจ้าผู้อุดม
รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติในกรุงโกสัมพี
ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้น พระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นนายกพิเศษรับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๑. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ภิกษุอริฏฐะเกิดทิฏฐิบาปไปเพราะความเขลา พระชินเจ้า
รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรมและปฏิสารนียกรรมก็เหมือนกัน
บทเหล่านี้มีเกินในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง
ประพฤติไม่สมควร(อนาจาร) ลบล้างพระบัญญัติและมิจฉาชีพ
เพราะไม่เห็นไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิบาป
บทเหล่านี้มีเกินในปฏิสารณียกรรม คือ มุ่งความไม่มีลาภ
กล่าวตำหนิ มีชื่อว่าปัญจกะ ๒ หมวด ๆ ละ ๕
แม้ตัชชนียกรรมและนิยสกรรมก็เหมือนกัน ปัพพาชนียกรรม
และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน ๘ ข้อ ๒ หมวด
การจำแนกอุกเขปนียกรรม ๓ อย่างก็เช่นเดียวกัน
นักวินัยพึงทราบกรรมที่เหลือตามนัยแห่งตัชชนียกรรม
กัมมขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๒. ปาริวาสิกขันธกะ

๑. ปาริวาสิกวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
[๗๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสยินดี
การที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะ
มาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับ
บาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ
ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้ง
กระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส
ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำ
อาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า
การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลาย
ผู้อยู่ปริวาสจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
สามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้ง
กระเบื้องเช็ดเท้า รับบาตรและจีวร ถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงยินดีการที่ปกตัตต
ภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำ
ที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร
การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการที่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกันกราบไหว้
ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้อยู่ปริวาสตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสโดยวิธีที่
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสทั้งหลายพึงประพฤติ

วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส
[๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติโดย
ชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ให้ปริวาสนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๕๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
[๗๗] ๒๖. เป็นอาคันตุกะไปก็พึงบอกให้ทราบ๑
๒๗. มีอาคันตุกะมาก็พึงบอกให้ทราบ
๒๘. พึงบอกในวันอุโบสถ
๒๙. พึงบอกในวันปวารณา
๓๐. ถ้าอาพาธ พึงส่งทูตให้ไปบอก
๓๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้น
แต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่ง
ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๖. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๘. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถาน
ที่มิใช่อาวาสที่ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย

เชิงอรรถ :
๑ คือเป็นอาคันตุกะไปวัดอื่น พึงบอกภิกษุทั้งหลายในวัดนั้น (วิ.อ. ๓/๗๗/๒๖๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๓๙. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
[๗๘] ๔๐. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็น
นานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๔๓. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นนานาสังวาสอยู่ดัวย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย
๔๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๔๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
[๗๙] ๔๖. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มี
ภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๔๗. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิ
ใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๘. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
[๘๐] ๔๙. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปอาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมาน
สังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๐. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๑. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”
๕๒. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุ
เป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๓. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”
๕๔. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๕. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๕๖. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๗. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถาน
ที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เรา
สามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
[๘๑] ๕๘. ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับ
ปกตัตตภิกษุ
๕๙. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๐. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๑. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๖๒. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๖๓. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๔. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๕. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๖๖. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๗. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๘. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
[๘๒] ๖๙-๘๙. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสที่มีพรรษา
แก่กว่า ... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุผู้ควรแก่
มานัต ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานไม่พึง
อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ...
ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้
ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
๙๐. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๙๑. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๙๒. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๙๓. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๙๔. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้น
ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส จบ

รัตติเฉท
ว่าด้วยเหตุให้ขาดราตรี ๓ อย่าง
[๘๓] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้
ว่า “รัตติเฉท๑ ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่าง คือ
(๑) สหวาสะ (การอยู่ร่วมกัน) (๒) วิปปวาสะ (การอยู่ปราศ) (๓) อนาโรจนา
(การไม่บอก)๒ อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
๑ รัตติเฉท แปลว่า ความขาดราตรี หมายถึงเหตุให้ขาดราตรี นับราตรีที่อยู่ปริวาสไม่ได้ พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาสและภิกษุผู้ประพฤติมานัต (วิ.อ. ๓/๔๗๕/๕๒๘)
๒ สหวาสะ การอยู่ร่วมกัน หมายถึงการอยู่ในที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
วิปปวาสะ การอยู่ปราศ หมายถึงการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นอยู่รูปเดียว
อนาโรจนา การไม่บอก หมายถึงการไม่บอกแก่พวกภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น (วิ.อ. ๓/๘๓/๒๖๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๑. ปาริวาสิกวัตตะ
ทรงอนุญาตให้เก็บปริวาส
[๘๔] สมัยนั้น ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันเป็นจำนวนมากในกรุงสาวัตถี ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสไม่สามารถจะทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บปริวาส”

วิธีเก็บปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเก็บปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้
ว่า “ข้าพเจ้าเก็บปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเก็บ
วัตร” วัตรย่อมเป็นอันเก็บแล้ว

ทรงอนุญาตให้สมาทานปริวาส
[๘๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางออกจากกรุงสาวัตถีไปในที่ต่าง ๆ ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้อยู่ปริวาสสามารถทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานปริวาส”

วิธีสมาทานปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสมาทานปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
อย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าสมาทานปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวว่า
“ข้าพเจ้าสมาทานวัตร” วัตรย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว
ปาริวาสิกวัตตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๘๖] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ยินดีการที่
ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้
นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและ
จีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้
ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
เล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่การชักเข้าหา
อาบัติเดิม ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราว
อาบน้ำ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “การกระทำของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้า
หาอาบัติเดิม ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้า
หาอาบัติเดิมยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ ถูหลังให้ในคราว
อาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การทำอย่างนี้มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ
ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
“ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุ
ทั้งหลายกราบ ไหว้ ลุกรับ ฯลฯ ถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ ผู้ใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการที่ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมด้วยกัน
กราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้คราวอาบน้ำตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหา
อาบัติเดิมโดยวิธีที่ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมทั้งหลายต้องประพฤติ

วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
[๘๗] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมพึงประพฤติชอบ
การประพฤติชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ต้องทำให้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติ
เดิมนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้เธอ
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”
๒๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๘. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๒๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตต ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๑. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถาน
ที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มี
อันตราย
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถาน
ที่มิใช่อาวาสไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๔. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็น
นานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๓๘. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๓๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๖๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๔๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตต-
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิ
ใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๔. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ
๔๕. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๖. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึงใน
วันนั้นแหละ”
๔๗. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๘. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๔๙. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๐. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๒. มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ
๕๑. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๒. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุไปสู่อาวาสหรือ
สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า
“เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๔. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๕. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๖. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๕๗. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๕๘. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๙. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๐. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๖๑. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๒. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๓. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
๖๔-๗๔. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับ
ภิกษุ ผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมที่มีพรรษาแก่กว่า ... กับภิกษุ
ผู้ควรแก่มานัต ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่
อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้
ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบัง
เดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับ
ภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๕. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๗๖. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๗๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๘. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๗๙. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นรูปที่ ๔ พึง
ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติ
เดิมนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม จบ
มูลายปฏิกัสสนารหวัตตะ จบ

๓. มานัตตารหวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
[๘๘] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่มานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย
กราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ควรแก่มานัตจึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ
การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์ เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามพวกภิกษุว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ควรแก่มานัต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “การกระทำของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
ไม่สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ควรแก่มานัตจึงยินดีการที่ปกตัตต
ภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว
ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่
มานัตไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้
ในคราวอาบน้ำ รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราว
อาบน้ำของภิกษุผู้ควรแก่มานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ควรแก่มานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ควรแก่มานัต โดยวิธี
ที่ภิกษุผู้ควรแก่มานัตทั้งหลายต้องประพฤติ

วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่มานัต
[๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ควรแก่มานัตพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติ
โดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ควรแก่มานัต
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ต้องทำให้เป็นผู้ควรแก่มานัตอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้เธอ
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๔ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๒๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๘. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๒๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
ฯลฯ
๓๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๑. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถาน
ที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๔. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ
เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ฯลฯ
๓๖. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ
ฯลฯ
๓๗. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับปกตัตต
ภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๕ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๓๘. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสมีภิกษุซึ่งมี
ภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย ฯลฯ
๓๙. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมี
ภิกษุ ฯลฯ
๔๐. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับ
ปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
มีภิกษุ ฯลฯ
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๓. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับปกตัตตภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย
๔๔. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๕. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๖. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไป
ถึงในวันนั้นแหละ”
๔๗. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๘. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๔๙. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๖ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๓. มานัตตารหวัตตะ
๕๐. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ฯลฯ
๕๑. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๒. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า
“เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๓. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๔. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๕. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๕๖. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๕๗. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๕๘. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๕๙. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๐. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๖๑. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๒. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๓. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรม
๖๔-๗๔. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับ
ภิกษุ ผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุผู้ควรแก่มานัตที่มี
พรรษาแก่กว่า ... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต ... กับภิกษุผู้ควรแก่
อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๗ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบัง
เดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกัน
กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๕. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๗๖. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๗๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๗๘. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๗๙. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่มานัตเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้า
หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่มานัตนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน
กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๗๙ ข้อของภิกษุผู้ควรแก่มานัต จบ
มานัตตารหวัตตะ จบ

๔. มานัตตจาริกวัตตะ
ว่าด้วยวัตรของภิกษุผู้ประพฤติมานัต
[๙๐] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้ประพฤติมานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย
กราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้
ตั้งน้ำล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรและจีวร การถูหลัง
ให้ในคราวอาบน้ำ
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุผู้ประพฤติมานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๘ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์ เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุผู้ประพฤติมานัต
ยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่
สมควร ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุผู้ประพฤติมานัตยินดีการที่ปกตัตตภิกษุ
ทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว
ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้
ประพฤติมานัต ไม่พึงยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลายกราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ
ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้ นำที่นอนมาให้ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
รูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ ลุกรับ ฯลฯ การถูหลังให้ในคราวอาบ
น้ำของภิกษุผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน
การสละภัต ภัตเพื่อภิกษุผู้ประพฤติมานัตด้วยกันตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เราจะบัญญัติวัตรแก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตโดยวิธี
ที่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตทั้งหลายต้องประพฤติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๗๙ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้ประพฤติมานัต
[๙๑] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประพฤติมานัตพึงประพฤติโดยชอบ การประพฤติ
โดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้ ภิกษุผู้ประพฤติมานัต
๑. ไม่พึงให้อุปสมบท
๒. ไม่พึงให้นิสัย
๓. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้สงฆ์ให้มานัตนั้นอีก
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงตำหนิกรรม
๑๐. ไม่พึงตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงงดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๒. ไม่พึงงดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ
๑๓. ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔. ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕. ไม่พึงขอโอกาสภิกษุอื่น
๑๖. ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
๑๙. ไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๐. ไม่พึงนั่งข้างหน้าปกตัตตภิกษุ
๒๑. พึงพอใจอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ที่จะ
ให้เธอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๐ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๒๒. ไม่พึงมีปกตัตตภิกษุเป็นปุเรสมณะ หรือเป็นปัจฉาสมณะเข้าตระกูล
๒๓. ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์
๒๔. ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์
๒๕. ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้นด้วยคิดว่า “คนอย่า
ได้รู้จักเรา”
๒๖. เป็นอาคันตุกะไปก็พึงบอกให้ทราบ
๒๗. มีอาคันตุกะมาก็พึงบอกให้ทราบ
๒๘. พึงบอกในวันอุโบสถ
๒๙. พึงบอกในวันปวารณา
๓๐. พึงบอกทุกวัน
๓๑. ถ้าอาพาท พึงส่งทูตให้ไปบอก
๓๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับ
สงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๓. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๔. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่ง
ไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ
ฯลฯ
๓๖. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๓๗. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถาน
ที่มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๓๘. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๑ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๓๙. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสซึ่งไม่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๐. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสซึ่งมีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาส ซึ่งไม่มีภิกษุ เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มี
อันตราย
๔๑. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๔๒. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๓. ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้น
แต่มีอันตราย
๔๔. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๕. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุ ฯลฯ
๔๖. ไม่พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย เว้นแต่ไปกับสงฆ์
เว้นแต่มีอันตราย
๔๗. ไม่พึงออกจากอาวาส หรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
มีภิกษุ ฯลฯ
๔๘. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่
มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๔๙. ไม่พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
หรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ซึ่งมีภิกษุเป็นนานาสังวาสอยู่ด้วย
เว้นแต่ไปกับสงฆ์ เว้นแต่มีอันตราย
๕๐. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๒ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๕๑. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๒. พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาส
มีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถไปถึง
ในวันนั้นแหละ”
๕๓. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ ฯลฯ
๕๔. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ
ฯลฯ
๕๕. พึงออกจากสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือสถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า “เราสามารถ
ไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๖. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ
ฯลฯ
๕๗. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่สถานที่มิใช่
อาวาสมีภิกษุ ฯลฯ
๕๘. พึงออกจากอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือ
สถานที่มิใช่อาวาสมีภิกษุซึ่งมีภิกษุเป็นสมานสังวาสอยู่ด้วย ถ้ารู้ว่า
“เราสามารถไปถึงในวันนั้นแหละ”
๕๙. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๐. ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๑. ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกัน
๖๒. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วพึงลุกจากอาสนะ
๖๓. พึงนิมนต์ปกตัตตภิกษุให้นั่ง
๖๔. ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๕. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๖๖. เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๓ }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [๒. ปาริวาสิกขันธกะ] ๔. มานัตตจาริกวัตตะ
๖๗. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
๖๘. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรมสูง
๖๙. เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรมในที่
จงกรม
๗๐-๘๙. ไม่พึงอยู่ในอาวาสที่มุงบังดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาส ... กับภิกษุ
ผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม ... กับภิกษุควรแก่มานัต ... กับ
ภิกษุผู้ประพฤติมานัตที่มีพรรษาแก่กว่า ... กับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
... ไม่พึงอยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่
อัพภาน ... ไม่พึงอยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มุงบังเดียว
กันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน ... ไม่พึงนั่งบนอาสนะเดียวกันกับภิกษุ
ผู้ควรแก่อัพภาน
๙๐. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
๙๑. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
๙๒. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
๙๓. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
๙๔. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นรูปที่ ๔ พึงให้ปริวาสชักเข้า
หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้นเป็นรูปที่ ๒๐ พึงอัพภาน
กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร ๙๔ ข้อของภิกษุผู้ประพฤติมานัต จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๖ หน้า :๑๘๔ }


>>>>> หน้าต่อไป >>>>>





eXTReMe Tracker