ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕-๓ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก
มหาวรรค ภาค ๒
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๒๙. วัสสังวุตถานังอนุปปันนจีวรกถา
เพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ ปฏิญญา
เป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ละทิฏฐิบาป เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร สงฆ์ก็พึงให้
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้วเมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น ปฏิญญา
เป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ปฏิญญา
เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้ทำลายสงฆ์ ปฏิญญา
เป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็นอุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็น
เจ้าของจีวรนั้น
[๓๗๕] ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้วหลีกไป เมื่อจีวรเกิดขึ้น
แล้วแต่ยังไม่ได้แบ่งกัน เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร สงฆ์พึงให้
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขั้นแล้วแต่ยังไม่
ได้แบ่งกัน สึกเสีย มรณภาพลง ปฏิญญาเป็นสามเณร ปฏิญญาเป็นผู้บอกลาสิกขา
ปฏิญญาเป็นผู้ต้ออันติมวัตถุ สงฆ์เป็นเจ้าของ(จีวรนั้น)
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้
แบ่งกัน ปฏิญญาเป็นคนวิกลจริต ปฏิญญาเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่าน ปฏิญญาเป็น
คนกระสับกระส่ายเพราะเวทนา ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็น
อาบัติ ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ปฏิญญาเป็น
ผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร สงฆ์ก็
พึงให้
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรเกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่
ได้แบ่งกัน ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์ ปฏิญญาเป็นคนลักเพศ ปฏิญญาเป็นผู้ไปเข้ารีต
เดียรถีย์ ปฏิญญาเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่ามารดา ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าบิดา
ปฏิญญาเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ปฏิญญาเป็นผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ปฏิญญาเป็นผู้

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๐. สังฆภินเนจีวรุปปาทกถา
ทำลายสงฆ์ ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็น
อุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของจีวรนั้น

๒๓๐. สังฆภินเนจีวรุปปาทกถา
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งจีวรเมื่อสงฆ์แตกกัน

เรื่องสงฆ์แตกกัน
[๓๗๖] ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวาย
จีวรในฝ่ายหนึ่งด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” นั่นเป็นของสงฆ์เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้น
เหมือนกันด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” นั่นเป็นของสงฆ์เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง
ด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายเฉพาะฝ่าย” นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้น
เหมือนกันด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายเฉพาะฝ่าย” นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว
แต่ยังไม่ได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูปเท่า ๆ กัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๑. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
๒๓๑. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
ว่าด้วยจีวรที่ถือเอาไม่ดีและถือเอาดีเป็นต้น

เรื่องพระเรวตะฝากจีวร
[๓๗๗] สมัยนั้น ท่านพระเรวตะฝากจีวรไปกับภิกษูรูปหนึ่งให้นำไปถวาย
ท่านพระสารีบุตรด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวรผืนนี้แก่พระเถระ”
ลำดับนั้น ในระหว่างทาง ภิกษุรูปนั้นได้ถือเอาจีวรนั้นเพราะวิสาสะกับท่าน
พระเรวตะ ต่อมา ท่านพระเรวตะมาพบท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า “ผมฝากจีวร
มาถวาย ท่านได้รับแล้วหรือขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่าน ผมยังไม่เห็นจีวรนั้นเลย”
ต่อมา ท่านพระเรวตะได้ถามภิกษุผู้รับฝากนั้นว่า “ท่าน ผมฝากจีวรกับท่าน
ให้นำไปถวายพระเถระ จีวรนั้นอยู่ที่ไหน”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ท่าน ผมได้ถือเอาจีวรนั้นแล้วเพราะวิสาสะกับท่าน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เรื่องการถือเอาของฝากโดยวิสาสะ
และการอธิษฐานเป็นจีวรมรดก

กรณีที่ ๑ ฝากไปด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวาย...”
[๓๗๘] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวร
ไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุ
ผู้รับฝาก ถือเอาจีวรเองเพราะวิสาสะกับภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาดี แต่
ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ดี

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๑. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเองเพราะวิสาสะกับ
ผู้รับ อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอา
ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝากมรณภาพ
เสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝากนั้น อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง แต่ถือเอาเองเพราะวิสาสะกับผู้รับชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทางภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้รับมรณภาพ
เสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐานไม่
ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝากชื่อว่าถือเอาถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวร
ผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝากและผู้รับ
ทั้ง ๒ มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก อย่างนี้ชื่อว่า
อธิษฐานถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง

กรณีที่ ๒ ฝากไปด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย...”
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอ
ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเองเพราะวิสาสะ
กับผู้ฝาก อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้รับชื่อว่าถือเอา
ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอ
ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากถือเอาเองเพราะวิสาสะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๒. อัฏฐจีวรมาติกา
กับผู้รับ อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอา
ไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝาก
มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝากนั้น อย่างนี้ชื่อว่า
อธิษฐานไม่ถูกต้อง แต่ถือเอาเองเพราะวิสาสะกับผู้รับชื่อว่าถือเอาถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้รับมรณ-
ภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝากชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ท่านจง
ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝาก
และผู้รับทั้ง ๒ มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก
อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง

๒๓๒. อัฏฐจีวรมาติกา
ว่าด้วยจีวรที่เกิดขึ้นมี ๘ มาติกา

เรื่องมาติกาแห่งจีวร ๘ ข้อ
[๓๗๙] ภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจีวร มี ๘ อย่างนี้ คือ
๑. ถวายแก่สีมา ๒. ถวายตามกติกา
๓. ถวายในที่จัดภิกษาหาร ๔. ถวายแก่สงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
๕. ถวายแก่สงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ๖. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว
(คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
๗. ถวายเจาะจง ๘. ถวายแก่บุคคล
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สีมา ได้แก่ ภิกษุที่อยู่ในสีมามีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
พึงแบ่งกัน
ที่ชื่อว่า ถวายตามกติกา ได้แก่ อาวาสจำนวนมาก มีลาภเสมอกัน คือ เมื่อ
ทายกถวายในวัดหนึ่งชื่อว่าเป็นอันถวายทุกวัด
ที่ชื่อว่า ถวายในที่จัดภิกษาหาร ได้แก่ ทายกทำสักการะเป็นประจำแก่สงฆ์
ในที่ใด ถวายในที่นั้น
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ ได้แก่ สงฆ์อยู่พร้อมหน้ากันแบ่ง
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย ได้แก่ ภิกษุแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มี
ภิกษุณีอยู่รูปเดียว พึงให้ฝ่ายละครึ่ง ภิกษุณีแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มีภิกษุอยู่
รูปเดียว พึงให้ฝ่ายละครึ่ง
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ได้แก่ ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่จำพรรษา
แล้วในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นพึงแบ่งกัน
ที่ชื่อว่า ถวายเจาะจง ได้แก่ ถวายเฉพาะข้าวต้ม ภัตตาหาร ของเคี้ยว จีวร
เสนาสนะ หรือเภสัช
ที่ชื่อว่า ถวายแก่บุคคล ได้แก่ ถวายด้วยกล่าวว่า “เราถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”
จีวรขันธกะที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
จีวรขันธกะมี ๙๖ เรื่อง คือ
เรื่องคณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์พบหญิงงามเมือง
ชื่ออัมพปาลีในกรุงเวสาลีกลับมากรุงราชคฤห์แล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นให้พระราชาทรงทราบ
เรื่องบุตรของหญิงงามเมืองชื่อสาลวดี ซึ่งต่อมาเป็นโอรส
ของเจ้าชายอภัย เพราะเหตุที่ยังมีชีวิต เจ้าชายจึงประทานชื่อว่าชีวก
เรื่องชีวกเดินทางไปกรุงตักกสิลา เรียนวิชาแพทย์สำเร็จ
เป็นหมอใหญ่ได้รักษาโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐีที่เป็น
เรื้อรังอยู่ ๗ ปี จนหายด้วยการนัตถุ์ยาเพียงครั้งเดียว
เรื่องรักษาโรคริดสีดวงทวารของพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ
เรื่องพระราชทานตำแหน่งหมอชีวกเป็นแพทย์หลวงประจำ
พระองค์ พระสนม นางกำนัลและอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์
เรื่องรักษาเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ผู้ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะ
เรื่องรักษาโรคเนื้องอกในลำไส้ เรื่องรักษาโรคผอมเหลืองของ
พระเจ้าปัชโชตหายด้วยให้เสวยพระโอสถผสมเนยใส
เรื่องได้รับพระราชทานผ้าคู่สิไวยกะเป็นรางวัล เรื่องสรงพระกาย
ของพระผู้มีพระภาคซึ่งหมักหมมด้วยสิ่งเป็นโทษได้ชุ่มชื่น
เรื่องหมอชีวกทูลถวายพระโอสถ ๓๐ ครั้ง โดยอบก้านอุบล
๓ ก้านด้วยยา
เรื่องหมอชีวกกราบทูลขอพร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรง
มีพระกายเป็นปกติแล้ว เรื่องทรงรับผ้าคู่สิไวยกะ
เรื่องทรงอนุญาตคหบดีจีวร
เรื่องจีวรเกิดขึ้นมากในกรุงราชคฤห์ เรื่องทรงอนุญาตผ้าปาวาร
ผ้าไหมและผ้าโกเชาว์ เรื่องผ้ากัมพลราคาครึ่งกาสิยะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
เรื่องผ้าเนื้อดีเนื้อหยาบ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความสันโดษ
เรื่องภิกษุรอกันและไม่รอกัน เรื่องทายกนำจีวรกลับคืน
เรื่องสมมติเรือนคลัง เรื่องเจ้าหน้าที่รักษาผ้าในเรือนคลัง
เรื่องทรงห้ามย้ายเจ้าหน้าที่เรือนคลัง เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก
เรื่องส่งเสียงดังขณะแจกจีวร เรื่องวิธีแจกจีวร เรื่องวิธีให้ส่วนแบ่ง
เรื่องให้แลกส่วนของตน เรื่องให้ส่วนพิเศษ
เรื่องวิธีให้ส่วนจีวร เรื่องย้อมจีวรด้วยโคมัย เรื่องย้อมด้วยน้ำเย็น
เรื่องน้ำย้อมล้น เรื่องไม่รู้ว่าน้ำย้อมเดือดแล้วหรือยังไม่เดือด
เรื่องยกหม้อน้ำย้อมลง เรื่องไม่มีภาชนะสำหรับย้อม
เรื่องขยำจีวรในถาด เรื่องตากจีวรบนพื้น เรื่องปลวกกัดเครื่อง
รองทำด้วยหญ้า เรื่องแขวนจีวรพับกลาง เรื่องชายจีวรชำรุด
เรื่องน้ำย้อมหยดออกจากชายข้างเดียว
เรื่องจีวรแข็ง เรื่องจีวรหยาบกระด้าง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ใช้จีวรที่ไม่ได้ตัด เรื่องตัดจีวรตามแบบคันนา
เรื่องทอดพระเนตรเห็นภิกษุแบกห่อจีวร เรื่องทรงอนุญาตไตรจีวร
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทรงอติเรกจีวรชุดอื่นเข้าบ้าน
เรื่องอติเรกจีวรเกิดขึ้น เรื่องทรงอนุญาตผ้าปะเมื่ออันตรวาสกขาดทะลุ
เรื่องฝนตกพร้อมกัน ๔ ทวีป เรื่องนางวิสาขาขอพร
เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝน อาคันตุกภัต คมิกภัต คิลานภัต
คิลานุปัฏฐากภัต เภสัช ธุวยาคู และถวายผ้าอาบน้ำแก่ภิกษุณีสงฆ์
เรื่องภิกษุนอนหลับขาดสติสัมปชัญญะเพราะฉันโภชนะอันประณีต
เรื่องผ้าปูนั่งผืนเล็กเกินไป
เรื่องฝีดาษ เรื่องทรงอนุญาตผ้าเช็ดปาก
เรื่องทรงอนุญาตให้ถือวิสาสะผ้าเปลือกไม้ เรื่องไตรจีวรบริบูรณ์
เรื่องอธิษฐาน เรื่องจีวรมีขนาดเพียงไรจึงต้องวิกัป
เรื่องอุตตราสงค์ที่ทำเป็นผ้าบังสุกุลหนัก เรื่องชายสังฆาฏิไม่เสมอกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๓. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
เรื่องด้ายหลุดลุ่ย เรื่องแผ่นสังฆาฏิบลุ่ยออก เรื่องผ้าไม่พอ
เรื่องผ้าเพลาะ เรื่องจีวรเกิดขึ้นมาก เรื่องเก็บจีวรไว้ในวิหารอันธวัน
เรื่องท่านพระอานนท์เผลอสติ เรื่องภิกษุรูปเดียวจำพรรษา
เรื่องภิกษุอยู่รูปเดียวตลอดฤดูกาล
เรื่องพระเถระสองพี่น้อง เรื่องภิกษุ ๓ รูปจำพรรษาในกรุงราชคฤห์
เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาแล้วไปอาวาสใกล้บ้าน
เรื่องพระอุปนันทะจำพรรษาในอาวาส ๒ แห่ง
เรื่องภิกษุอาพาธเป็นโรคท้องร่วง
เรื่องคนไข้ที่พยาบาลได้ง่ายและพยาบาลได้ยาก
เรื่องภิกษุและสามเณรเป็นไข้
เรื่องภิกษุเปลือยกาย เรื่องภิกษุนุ่งผ้าคากรอง ผ้าเปลือกไม้
ผ้าผลไม้ ผ้าทอด้วยผมคน ผ้าทอด้วยขนสัตว์ ผ้าทอด้วยปีกนกเค้า
หนังเสือ
เรื่องภิกษุนุ่งผ้าทำด้วยก้านดอกรัก ผ้าเปลือกปอ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวห่มจีวรสีเหลือง ห่มจีวรสีแดง
ห่มจีวรสีบานเย็น ห่มจีวรสีดำ ห่มจีวรสีแสด หดจีวรสีชมพู
ห่มจีวรไม่ตัดชาย ห่มจีวรชายยาว ห่มจีวรมีชายลายดอกไม้
ห่มจีวรชายเป็นแผ่นสวมเสื้อ สวมหมวก โพกผ้า
เรื่องจีวรยังไม่เกิดขึ้นภิกษุหลีกไป เรื่องสงฆ์แตกกัน
เรื่องทายกถวายน้ำแก่สงฆ์ฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรแก่สงฆ์อีกฝ่ายหนึ่ง
เรื่องพระเรวตะฝากจีวร เรื่องการถือเอาของฝากโดยถือวิสาสะ
และการอธิษฐานเป็นจีวรมรดก เรื่องมาติกาของจีวร ๘ ข้อ
จีวรขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๘. จีวรขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
๙. จัมเปยยขันธกะ
๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ว่าด้วยพระกัสสปโคตร

เรื่องพระกัสสปโคตรผู้อยู่ประจำในอาวาส ณ วาสภคาม
[๓๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัคครา เขต
กรุงจัมปา ครั้งนั้น ในแคว้นกาสี มีหมู่บ้านชื่อวาสภคาม ภิกษุชื่อกัสสปโคตรอยู่ประจำ
ในอาวาสในที่นั้น ฝักใฝ่กังวลอยู่ ขวนขวายอยู่ว่า “ด้วยวิธีใดหนอ ภิกษุผู้มีศีลดีงาม
ที่ยังไม่มาพึงมา และภิกษุผู้มีศีลดีงามที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้จะเจริญ
งอกงามไพบูลย์ได้”
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี จนถึงวาสภคาม ภิกษุ
กัสสปโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า
กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม จัดแจงน้ำสรง แม้
ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหารก็จัดแจงให้
ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ
อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ดีจริง ได้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหาร
ก็จัดแจงให้ เอาเถอะพวกเราพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ” ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นเอง
ต่อมา ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความคิดดังนี้ว่า “ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ไม่ต้อง
ลำบากในฐานะที่เป็นพระอาคันตุกะ เวลานี้ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ที่ไม่ชำนาญทางโคจร๑
ก็ชำนาญแล้ว การทำความจัดแจงในตระกูลคนอื่นจนตลอดชีวิตทำได้ยาก อนึ่ง

เชิงอรรถ :
๑ ทางโคจร หมายถึงหนทางที่จะไปบิณฑบาต สถานที่เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว (วิ.อ. ๓/๓๕๗/๓๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
การออกปากขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย เราไม่พึงจัดแจง
ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร” แล้วเลิกจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร
ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปรึกษากันว่า “ท่านทั้งหลาย เมื่อก่อนนี้
ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดแจงให้
เวลานี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารแล้ว ท่าน
ทั้งหลาย บัดนี้ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่ดีเสียแล้ว เอาเถอะพวกเราจงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ออกไป” ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น
ประชุมกัน ได้กล่าวกะภิกษุกัสสปโคตรนั้นดังนี้ว่า “ท่าน เมื่อก่อน ท่านจัดแจง
น้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดให้ เวลานี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร
เสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม”
ภิกษุกัสสปโคตรกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น”
ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุกัสสปโคตร เพราะการ
ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ลำดับนั้น ภิกษุกัสสปโคตรได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราไม่รู้เรื่องนี้ว่า ‘นั่นเป็นอาบัติ
หรือไม่เป็นอาบัติ เราต้องอาบัติหรือไม่ต้องอาบัติ เราถูกลงอุกเขปนียกรรม หรือ
ไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ด้วยกรรมที่ชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม ถูกต้องหรือไม่
ถูกต้อง ควรแก่เหตุหรือไม่ควรแก่เหตุ’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเดินทางไปกรุงจัมปา
แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเกี่ยวกับเรื่องนั้น”
ครั้งนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวร เดินทางไปกรุงจัมปา
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง
ณ ที่สมควร

พุทธประเพณี
การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย
นั่นเป็นพุทธประเพณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุกัสสปโคตรดังนี้ว่า “ภิกษุ เธอยัง
สบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ เธอเดินทางไกลมาไม่ลำบากหรือ เธอมาจาก
ที่ไหน”
ภิกษุกัสสปโคตรกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระองค์เดินทางไกลมาไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ในชนบท
แคว้นกาสีมีหมู่บ้านชื่อวาสภะ ข้าพระองค์อยู่ประจำในอาวาสในที่นั้น ฝักใฝ่ในการ
ก่อสร้าง ขวนขวายอยู่ว่า ‘ด้วยวิธีใดหนอ ภิกษุผู้มีศีลดีงามที่ยังไม่มาพึงมา และ
ภิกษุผู้มีศีลดีงามที่มาแล้วพึงอยู่เป็นผาสุก และอาวาสนี้จะเจริญงอกงามไพบูลย์ได้’
พระพุทธเจ้าข้า ต่อมา ภิกษุจำนวนหลายรูปเที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี จนถึง
วาสภคาม ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นเดินมาแต่ไกล จึงปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า
ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ลุกไปรับบาตรและจีวร ต้อนรับด้วยน้ำดื่ม จัดแจงน้ำสรง
แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารก็จัดแจงให้
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ดีจริง ได้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยว
ภัตตาหารก็จัดแจงให้ เอาเถอะพวกเราพักอยู่ในวาสภคามนี้แหละ’ ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านั้นได้พักอยู่ในวาสภคามนั้นเอง
พระพุทธเจ้าข้า ต่อมา ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ภิกษุอาคันตุกะ
เหล่านี้ไม่ต้องลำบากในฐานะที่เป็นพระอาคันตุกะ เวลานี้ภิกษุอาคันตุกะเหล่านี้ที่ไม่
ชำนาญทางโคจรก็ชำนาญแล้ว การทำความจัดแจงในตระกูลคนอื่นจนตลอดชีวิตทำ
ได้ยาก อนึ่ง การออกปากขอย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของคนทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลย
เราไม่พึงจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร’ แล้วเลิกจัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหาร
พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นปรึกษากันว่า ‘ท่านทั้งหลาย
เมื่อก่อนนี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้จัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้มของเคี้ยวภัตตา
หารก็จัดแจงให้ เวลานี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ไม่จัดแจงข้าวต้ม ของเคี้ยว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
ภัตตาหารแล้ว ท่านทั้งหลาย บัดนี้ ภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ ไม่ดีเสียแล้ว
เอาเถอะ พวกเราจงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุที่อยู่ประจำในอาวาสรูปนี้ออกไป”
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นประชุมกัน ได้กล่าวกับ
ข้าพระองค์ดังนี้ว่า “ท่าน เมื่อก่อนท่านจัดแจงน้ำสรง แม้ข้าวต้ม ของเคี้ยว ภัตตาหาร
ก็จัดแจงให้ เวลานี้ไม่จัดแจงข้าวต้มของเคี้ยวภัตตาหารเสียแล้ว ท่านต้องอาบัติแล้ว
ท่านเห็นอาบัตินั้นไหม”
ข้าพระองค์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น”
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น พวกภิกษุอาคันตุกะได้ลงอุกเขปนียกรรมข้าพระองค์
เพราะการไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘เราไม่รู้เรื่องนี้ว่า นั่นเป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ
เราต้องอาบัติหรือไม่ต้องอาบัติ เราถูกลงอุกเขปนียกรรมหรือไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม
ด้วยกรรมที่ชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรม ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ควรแก่เหตุหรือไม่ควร
แก่เหตุ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเดินทางไปกรุงจัมปาแล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
เกี่ยวกับเรื่องนั้น’ ข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาจากวาสภคามนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ เธอ
ไม่ต้องอาบัติ เธอต้องอาบัติหามิได้ เธอไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม เธอถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้อง ไม่ควร
แก่เหตุ เธอจงไปอยู่ในวาสภคามนั่นแหละ”
ภิกษุกัสสปโคตรทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วกลับไปสู่วาสภคาม
[๓๘๑] ครั้งนั้น ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้นมีความกังวลใจ มีความเดือดร้อน
ใจปรึกษากันว่า “ไม่ใช่ลาภของพวกเรา พวกเราไม่มีลาภหนอ พวกเราได้ชั่วแล้วหนอ
พวกเราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่ต้องอาบัติ เพราะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
เรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร เอาเถอะ พวกเราจะเดินทางไปกรุงจัมปาแล้ว
แสดงโทษที่ล่วงเกินโดยยอมรับผิดในพุทธสำนัก”
ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะพวกนั้น ได้เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเดินทาง
ไปกรุงจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสนทนาปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะ
ทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ พวกเธอเดินทางไกลมาไม่ลำบากหรือ
พวกเธอมาจากที่ไหน”
พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า “สบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า และพวกข้าพระองค์เดินทางไกลมาไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า ใน
ชนบทแคว้นกาสี มีหมู่บ้านชื่อวาสภคาม พวกข้าพระพุทธเจ้าเดินทางมาจากวาสภคาม
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
ที่อยู่ประจำในอาวาสหรือ”
พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า “อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พวกเธอลงอุกเขปนียกรรมเพราะเรื่องอะไร
เพราะเหตุไร”
พวกภิกษุอาคันตุกะกราบทูลว่า “เพราะเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวก
เธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๔. กัสสปโคตตภิกขุวัตถุ
โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ
เพราะเรื่องที่ไม่สมควร เพราะเหตุที่ไม่สมควรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การทำอย่าง
นี้มิได้เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรง
แสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ไม่พึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องไม่สมควร เพราะเหตุไม่สมควร สงฆ์หมู่ใด
ลงอุกเขปนียกรรม ต้องอาบัติทุกกฏ”
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่งซบ
ศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ที่ได้ลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องที่ไม่ควร เพราะเหตุไม่สมควร ขอพระ
ผู้มีพระภาคทรงโปรดรับการขอขมา เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เอาเถิด ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอทั้งหลายได้
กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา ที่ได้ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้บริสุทธิ์
ไม่มีอาบัติ เพราะเรื่องที่ไม่ควร เพราะเหตุไม่สมควร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่
พวกเธอเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้อง ข้อนั้นเรายอมรับ ภิกษุทั้งหลาย
เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้วแก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป
นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
ว่าด้วยกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมเป็นต้น

เรื่องภิกษุชาวกรุงจัมปาทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมเป็นต้น
[๓๘๒] สมัยนั้น พวกภิกษุในกรุงจัมปาทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรม
แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรม
แบ่งพวกโดยชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป๑ ทำกรรมพร้อมเพรียง
กันโดยธรรมปฏิรูป ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุรูป
เดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
หลายรูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ภิกษุ ๒ รูปลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง
ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรม
สงฆ์บ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุหลายรูปลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง
ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง

เชิงอรรถ :
๑ ธรรมปฏิรูป แปลว่า ธรรมปลอม,ธรรมเทียม,ธรรมที่ไม่แท้ ในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงสัทธรรมที่ไม่แท้
ที่ชื่อว่าสัทธรรมปฏิรูป ๒ อย่างคือ
๑. อธิคมสัทธรรมปฏิรูป คือ ธรรมที่เป็นเหตุเศร้าหมองแห่งวิปัสสนาญาณ เช่น โอภาส ญาณ ปีติ
ปัสสัทธิ สุข เป็นต้น ที่เป็นเหตุให้จิตหวั่นไหว
๒. ปริยัตติสัทธรรมปฏิรูป ได้แก่ สิ่งที่ไม่ใช่พระพุทธพจน์ คือ คัมภีร์คุฬหวินัย คัมภีร์คุฬห
เวสสันดรชาดก คัมภีร์คุฬหมโหสธชาดก คัมภีร์วรรณปิฎก คัมภีร์องคุลิมาลปิฎก คัมภีร์เวทัลลปิฎก
คัมภีร์รัฏฐปาลคัชชิตะ คัมภีร์อาฬวกคัชชิตะ ที่ไม่ได้ยกขึ้นสู่การสังคายนา ๓ ครั้ง อยู่นอกเหนือจาก
กถาวัตถุ ๕ เหล่านี้ ธาตุกถา อารัมมณกถา อสุภกถา ญาณกถา วิชชากรัณฑกะ (สํ.นิ.อ. ๒/๑๕๖/
๒๒๓-๒๒๔)เป็นคำสอนของอธรรมวาทีนิกายต่าง ๆ ที่แสดงช่วงก่อนสังคายนาครั้งที่ ๓ และมีการสอบ
ถามเมื่อคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ ชื่อคัมภีร์เหล่านี้มีกล่าวถึงในอรรถกถา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุใน
กรุงจัมปาจึงทำกรรมเช่นนี้เล่า คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง” ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุในกรุง
จัมปาทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมสงฆ์บ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิทรงแสดงธรรมีกถา
แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

เรื่องพระผู้มีพระภาคตรัสห้ามเพราะไม่ชอบธรรม
[๓๘๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่
ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้า
กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูป
เดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียว
ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง
อุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
หลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๕. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูป ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ

กรรม ๔ ประเภท
[๓๘๔] ภิกษุทั้งหลาย กรรม มี ๔ ประเภทเหล่านี้ คือ
๑. กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมวัคคกรรม)
๒. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมสมัคคกรรม)
๓. กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม (ธัมมวัคคกรรม)
๔. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (ธัมมสมัคคกรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
นี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย
กรรมเช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ
ธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย กรรม
เช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรมนี้ก็
ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ไม่ควร
ทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม ๔ ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบ
ธรรมนี้ชื่อว่าถูกต้อง ควรแก่เหตุ เพราะชอบธรรม เพราะพร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
ทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ควรทำและเราก็อนุญาต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘พวกเรา
จะทำกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม”

๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่ญัตติวิบัติเป็นต้น
[๓๘๕] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรมแบ่งพวก
โดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดย
ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป
ทำกรรมที่ญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่อนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติ
สมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่ญัตติวิบัติอนุสาวนาวิบัติบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรม๑บ้าง ทำ
กรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจากสัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและ
ขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุบ้าง
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
จึงทำกรรมเช่นนี้เล่า คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ทำกรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ทำกรรมที่ญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์
บ้าง ทำกรรมที่อนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติสมบูรณ์บ้าง ทำกรรมที่ญัตติวิบัติอนุสาวนา
วิบัติบ้าง ทำกรรมเว้นจากธรรมบ้าง ทำกรรมเว้นจากวินัยบ้าง ทำกรรมเว้นจาก
สัตถุศาสน์บ้าง ทำกรรมที่ถูกค้านแล้วและขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง
ไม่ควรแก่เหตุบ้าง
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ เว้นจากธรรม คือ ไม่ทำกรรมด้วยเรื่องที่เป็นจริง ได้แก่ตามเรื่องที่เกิดขึ้น และไม่ทำกรรมโดยธรรม
(วิ.อ. ๓/๓๘๕/๒๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุฉัพพัคคีย์ทำ
กรรมเช่นนี้จริงหรือ คือ แบ่งพวกทำกรรมโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ ทำกรรมที่ถูกค้าน
แล้วและขืนทำ ไม่ชอบธรรม เป็นกรรมไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุบ้าง”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมี
กถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

เรื่องแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
[๓๘๖] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรม และ
ไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็น
กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ถ้าเป็นกรรมญัตติวิบัติแต่อนุสาวนาสมบูรณ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้า
เป็นกรรมอนุสาวนาวิบัติแต่ญัตติสมบูรณ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรม
ที่ญัตติวิบัติ อนุสาวนาวิบัติ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
กรรมที่เว้นจากธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ กรรมที่เว้นจากวินัย ไม่
จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ กรรมที่เว้นจากสัตถุศาสน์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ถ้ากรรมที่ถูกค้านแล้วขืนทำ ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกต้องและไม่ควรแก่เหตุ ก็ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กรรม ๖ ประเภท
[๓๘๗] ภิกษุทั้งหลาย กรรมมี ๖ ประเภทเหล่านี้ คือ

๑. กรรมไม่ชอบธรรม(อธัมมกรรม)๑ ๒. กรรมแบ่งพวก(วัคคกรรม)
๓. กรรมพร้อมเพรียงกัน(สมัคคกรรม) ๔. กรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิ-
รูป(ธัมมปฏิรูปวัคคกรรม)
๕. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม ๖. กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ปฏิรูป(ธัมมปฏิรูปสมัคคกรรม) ชอบธรรม(ธัมมสมัคคกรรม)

อธิบายกรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ
ทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๑ ครั้ง ไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่
ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๒ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๑ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๒ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
๑ ธรรม ในที่นี้ เป็นชื่อของบาลี (พระไตรปิฎก) (วิ.อ. ๓/๓๗๘/๒๓๙) ไม่ชอบธรรม จึงหมายถึง ไม่ถูกต้อง
ตามพระบาลี ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๓ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ ๔ ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๒ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๓ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๔ ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่ชอบธรรม (๑)

อธิบายกรรมที่แบ่งพวกทำ
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่แบ่งพวก อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ
ทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้มา
ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
กันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ได้นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อม
หน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ยังไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
ก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
กันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน
ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่แบ่งพวก (๒)

อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันทำ
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกัน อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ใน
ญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะ
ของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ได้นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมที่พร้อมเพรียงกัน
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะได้นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
กันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่พร้อมเพรียงกัน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่พร้อมเพรียงกัน (๓)

อธิบายกรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย
ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา
พวกที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้
ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่ง
พวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่
ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่มา ฉันทะของภิกษุผู้ควร
แก่ฉันทะก็ไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่ง
พวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว แต่ฉันทะของภิกษุ
ผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุ
ผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่
แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป (๔)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๖. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป อะไรบ้าง คือ ภิกษุ
ทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลังภิกษุผู้เข้า
กรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะ
ก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าสวดกรรมวาจาก่อน ตั้งญัตติภายหลัง
ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของภิกษุผู้ควร
แก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันไม่คัดค้าน ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียง
กันโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป (๕)

อธิบายกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุ
ทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยกรรมวาจา ๑ ครั้ง
ภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว ฉันทะของ
ภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าตั้งญัตติก่อน ทำกรรมด้วยกรรม
วาจา ๓ ครั้งภายหลัง ภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นมาแล้ว
ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็นำมาแล้ว ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้ากันแล้วก็ไม่คัดค้าน
ชื่อว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (๖)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่สงฆ์กำหนดจำนวน ๔ รูปทำเป็นต้น

เรื่องสงฆ์ ๕ ประเภท
[๓๘๘] สงฆ์มี ๕ ประเภท คือ

๑. สงฆ์จตุวรรค (กำหนดจำนวน ๔ รูป)
๒. สงฆ์ปัญจวรรค (กำหนดจำนวน ๕ รูป)
๓. สงฆ์ทสวรรค (กำหนดจำนวน ๑๐ รูป)
๔. สงฆ์วีสติวรรค (กำหนดจำนวน ๒๐ รูป)
๕. สงฆ์อติเรกวีสติวรรค (กำหนดจำนวน เกิน ๒๐ รูป)

ภิกษุทั้งหลาย ในสงฆ์เหล่านั้น สงฆ์จตุวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม
เข้ากรรมได้ทุกอย่าง ยกเว้นกรรม ๓ อย่าง คือ อุปสมบท ปวารณา อัพภาน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ปัญจวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
ยกเว้นกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมชนบท อัพภาน
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ทสวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
ยกเว้นอัพภานอย่างเดียว
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์วีสติวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์อติเรกวีสติวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง

เรื่องกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
[๓๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๔
ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๔ ทำ
กรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีสามเณรเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
กรรมและไม่ควรทำ ... มีสามเณรีเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุ
ผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๔
ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีบัณเฑาะก์
เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีคนลักเพศเป็นที่ ๔ ทำกรรม
ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ ... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีคนผู้ฆ่า
พระอรหันต์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ ... มีคนผู้ประทุษ
ร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ทำลาย
สงฆ์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดา
จนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีอุภโต
พยัญชนกเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้เป็นนานา
สังวาสเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานา
สีมาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศ
ด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... สงฆ์ทำกรรมแก่
ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
เรื่องกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
[๓๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่
๕ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๕
ฯลฯ มีสามเณรเป็นที่ ๕ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา
เป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๕ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๕ ... ... มีคนลักเพศ เป็นที่ ๕
... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๕ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๕ ... ... มีคน
ผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ฆ่าพระอรหันต์
เป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เป็น
ที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่ ๕ ... ... มี
อุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้อยู่
ในนานาสีมาเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๕ ... สงฆ์ทำ
กรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๕ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ จบ

เรื่องกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ
[๓๙๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่
๑๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๑๐ ฯลฯ
มีสามเณรเป็นที่ ๑๐ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๑๐ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีคน ลักเพศเป็นที่
๑๐ ... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ ๑๐ ...
... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ฆ่า
พระอรหันต์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุ
ผู้ทำลายสงฆ์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่
๑๐ ... ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นที่ ๑๐
... ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่
๑๐ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ จบ

เรื่องกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
[๓๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่
๒๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๒๐
... มีสามเณรเป็นที่ ๒๐ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา
เป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๒๐ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคน
ลักเพศเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉาน

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา
เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๒๐ ...
... มีคนผู้ฆ่าพระอรหันต์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๒๐ ...
... มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระ
โลหิตเป็นที่ ๒๐ ... ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานา
สังวาสเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมาเป็นที่ ๒๐ .. ... มีภิกษุผู้อยู่ใน
อากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๒๐ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๒๐ ทำ
กรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ จบ

๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น

เรื่องสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ ทำสังฆกรรมไม่ได้
และสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภานไม่ได้
[๓๙๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้นเป็นที่ ๒๐
อัพภาน ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้า
หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ

ปฏิโกสนา(การกล่าวคัดค้าน) ๒ อย่าง
เรื่องคำคัดค้านของคน ๒๗ จำพวกฟังไม่ขึ้น
[๓๙๔] ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของบางคน ฟังขึ้น ของ
บางคนฟังไม่ขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของใครเล่า ฟังไม่ขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของภิกษุณี ฟังไม่ขึ้น ... ของสิกขมานา
... ... ของสามเณร ... ... ของสามเณรี ... ... ของภิกษุผู้บอกลาสิกขา ... ... ของ
ภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุ ... ... ของภิกษุผู้วิกลจริต ... ... ของภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ...
... ของภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ... ของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ... ... ของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
ทำคืนอาบัติ ... ... ของภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ... ...
ของบัณเฑาะก์ ... ... ของคนลักเพศ ... ... ของภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ ... .. ของ
สัตว์ดิรัจฉาน ... ... ของคนผู้ฆ่ามารดา ... ... ของคนผู้ฆ่าบิดา ... ... ของคนผู้ฆ่า
พระอรหันต์ ... ... ของคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณี ... ... ของภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ... ...
ของภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ... ... ของอุภโตพยัญชนก ... ... ของ
ภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส ... ... ของภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมา ... ... ของภิกษุผู้อยู่ใน
อากาศด้วยฤทธิ์ ... ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ทำกรรมแก่ผู้ใด คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์
ของผู้นั้น ฟังไม่ขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของบุคคลเหล่านี้แล ฟังไม่ขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของใครเล่า ฟังขึ้น

เรื่องคำคัดค้านของภิกษุที่ฟังขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางของปกตัตตภิกษุ๑ ภิกษุผู้มีสังวาส
เสมอกัน ภิกษุผู้อยู่ในสมานสังวาสสีมา โดยที่สุดแม้ภิกษุผู้นั่งอยู่บนอาสนะติดกัน
บอกให้กันรู้ ฟังขึ้น
ภิกษุทั้งหลาย คำคัดค้านในท่ามกลางสงฆ์ของบุคคลเหล่านี้แล ฟังขึ้น

๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
ว่าด้วยนิสสารณา ๒ อย่างเป็นต้น

เรื่องบุคคลที่ถูกขับออกไปดีและบุคคลที่ถูกขับออกไปไม่ดี
[๓๙๕] ภิกษุทั้งหลาย นิสสารณา(การขับออกจากหมู่) มี ๒ อย่างนี้ คือ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออกไป บางคนเป็น
อันถูกขับออกดีแล้วก็มี บางคนเป็นอันถูกขับออกไม่ดีก็มี
๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออก
เป็นอันขับออกไม่ดี เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีอาบัติ ถ้าสงฆ์ขับบุคคล
นั้นออก เป็นอันขับออกไม่ดี บุคคลประเภทนี้ เรียกว่ายังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์
ขับบุคคลนั้นออก เป็นอันขับออกไม่ดี

เชิงอรรถ :
๑ ปกตัตตภิกษุ คือ ภิกษุผู้มีศีลไม่วิบัติ ไม่ต้องอาบัติปาราชิก (วิ.อ. ๓/๓๙๔/๒๔๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
๒. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกขับออก ถ้าสงฆ์ขับบุคคลนั้นออก
เป็นอันขับออกดีแล้ว เป็นอย่างไร คือ
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้อง
อาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีอันไม่ควร ถ้าสงฆ์ขับบุคคล
นั้นออก เป็นอันขับออกดีแล้ว บุคคลประเภทนี้ เรียกว่ายังไม่ถูกขับออก แต่ถ้าสงฆ์
ขับบุคคลนั้นออก เป็นอันขับออกดีแล้ว

โอสารณา ๒ อย่าง
[๓๙๖] ภิกษุทั้งหลาย โอสารณา(การเรียกเข้าหมู่) มี ๒ อย่างนี้ คือ ภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลที่ยังไม่ได้ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้นเข้าหมู่ บางคนเป็น
อันรับเข้าดีก็มี บางคนเป็นอันรับเข้าไม่ดีก็มี

เรื่องบุคคลที่ไม่ควรรับเข้าหมู่ ๑๑ จำพวก
๑. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้น
เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย บัณเฑาะก์ที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบัณเฑาะว์นั้นเข้าหมู่
เป็นอันรับเข้าไม่ดี ... ... คนลักเพศ ... ... คนเข้ารีตเดียรถีย์ ... ... สัตว์ดิรัจฉาน ...
... คนผู้ฆ่ามารดา ... ... คนผู้ฆ่าบิดา ... ... คนผู้ฆ่าพระอรหันต์ ... ... คนผู้ประทุษร้าย
ภิกษุณี ... ... คนผู้ทำลายสงฆ์ ... ... คนผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต
... ภิกษุทั้งหลาย อุภโตพยัญชนกที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับอุภโตพยัญชนนั้น
เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประเภทนี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคล
ประเภทนี้เข้าหมู่เป็นอันรับเข้าไม่ดี
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกเรียกเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับพวก
เธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๓๙. เทฺวนิสสารณาทิกถา
เรื่องบุคคลที่ควรรับเข้าหมู่ ๓๒ จำพวก
๒. ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับบุคคลนั้น
เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว เป็นอย่างไร
ภิกษุทั้งหลาย คนมือด้วนที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับ
เข้าดี ... คนเท้าด้วน ... ... คนทั้งมือทั้งเท้าด้วน ... ... คนหูวิ่น ... ... คนจมูกแหว่ง
... ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกแหว่ง ... ... คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด ... ... คนง่ามมือง่ามเท้า
ขาด ... ... คนเอ็นขาด ... ... คนมือเป็นแผ่น ... ... คนค่อม ... ... คนเตี้ย ...
... คนคอพอก ... ... คนถูกสักหมายโทษ ... ... คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย ... ... คนมี
หมายจับ ... ... คนเท้าปุก ... ... คนมีโรคเรื้อรัง ... ... คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ ...
... คนตาบอดข้างเดียว ... ... คนง่อย ... ... คนกระจอก ... ... คนเป็นโรคอัมพาต
... ... คนเคลื่อนไหวเองไม่ได้ ... ... คนชราทุพพลภาพ ... ... คนตาบอดสองข้าง ...
... คนใบ้ ... ... คนหูหนวก ... ... คนทั้งบอดทั้งใบ้ ... ... คนทั้งบอดทั้งหนวก
... ... คนทั้งใบ้ทั้งหนวก ... ภิกษุทั้งหลาย คนทั้งบอดทั้งใบ้ ทั้งหนวกที่ยังไม่ได้ถูก
รับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับเธอเข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประเภทนี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกรับเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับ
บุคคลประเภทนี้เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่านี้ เรียกว่าที่ยังไม่ถูกเรียกเข้าหมู่ ถ้าสงฆ์รับ
บุคคลเหล่านี้เข้าหมู่ เป็นอันรับเข้าดีแล้ว
วาสภคามภาณวารที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรมเป็นต้น

เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม ๗ กรณี
[๓๙๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึง
ทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว
เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีทิฏฐิบาปที่
พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือ รูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
เห็นอาบัตินั้นไหม ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่
ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ไม่มีทิฏฐิบาป
ที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว
จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบ
ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน
ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน
ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละ
ทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น
ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
นั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่า
กรรมไม่ชอบธรรม

เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรมอีก ๗ กรณี
[๓๙๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมเห็น” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๐. อธัมมกัมมาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมจะทำคืน” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมจะสละ” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน
... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาป
ที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์
ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัติ
นั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมเห็น ผมจะทำคืน ผมจะสละทิฏฐิบาป”
สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หรือ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม

เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ชอบธรรม ๗ กรณี
[๓๙๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน
... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาป
ที่พึงสละ ... ... มีอาบัติที่พึงเห็น มีอาบัติที่พึงทำคืน มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์
ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัติ
นั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผม
ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมชอบธรรม

๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
ว่าด้วยพระอุบาลีกราบทูลถามปัญหา

เรื่องกรรมไม่ชอบด้วยธรรมไม่ชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๑ รวม ๑๖ กรณี
[๔๐๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้น
ถึงแล้วได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ท่านพระอุบาลีผู้
นั่งแล้ว ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “กรรมที่ควรทำต่อหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำลับหลัง กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรม ชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วย
ธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย”
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม แต่สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำโดยไม่สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์พร้อม
เพรียงกันทำโดยไม่ตามปฏิญญา ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ...
ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ...
ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ...
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ...
... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบทให้กุลบุตร กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วย
ธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย
อุบาลี กรรมที่ควรทำต่อหน้า แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำลับหลัง อย่างนี้แล
จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมี
ความผิด
อุบาลี กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับทำ
โดยไม่สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันกลับ
ทำโดยไม่ตามปฏิญญา ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ลงตัสส-
ปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ปัพพาชนียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ...
ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ...
... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน อุปสมบทให้กุลบุตร อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็น
กรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด”

เรื่องกรรมที่ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๑ รวม ๑๖ กรณี
[๔๐๑] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “กรรมที่ควรทำต่อหน้า สงฆ์ผู้พร้อม
เพรียงกันทำต่อหน้า กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมชอบด้วยวินัย”
พระอุบาลีกราบทูลว่า “กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
กันทำโดยการสอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ก็ทำตามปฏิญญา ... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกา
กรรม ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ...
... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้
ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ...
อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ... อุปสมทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท กรรมนั้นจัด
ว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมชอบด้วยวินัย
อุบาลี กรรมที่ควรทำต่อหน้า สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำต่อหน้า อย่างนี้แล
จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มี
ความผิด
อุบาลี กรรมที่ควรทำโดยการสอบถาม สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำโดยการ
สอบถาม ... ... กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันก็ทำตามปฏิญญา
... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ...
... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม
... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเข้าหา
อาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน
... ... อุปสมบทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มีความผิด”

เรื่องกรรมไม่ชอบด้วยธรรมไม่ชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๒ อีก ๑๖ กรณี
[๔๐๒] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรสติวินัย ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่
ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่
ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยส
กรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณีย
กรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ...
... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติ
เดิม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควร
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุ
ผู้ควรมานัต ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภาน
อุปสมบทให้กุลบุตร ... ... อัพภานกุลบุตรผู้ควรอุปสมบท กรรมนั้น จัดว่าเป็น
กรรมชอบด้วยธรรม จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้นจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย
อุบาลี สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ให้สติวินัย
แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
อุบาลี อย่างนี้แลจัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย
อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด
อุบาลี สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม
... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
นิยสกรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลงนิยสกรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนีย
กรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนีย
กรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้ปริวาสแก่
ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ...
... ชักภิกษุผู้ควรมานัตเข้าหาอาบัติเดิม ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ... ...
ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ... ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบทให้กุลบุตร ... ...
อัพภานผู้ควรอุปสมบท
อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย
อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด”

เรื่องกรรมชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๒ อีก ๑๖ กรณี
[๔๐๓] ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้
ควรสติวินัย ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย กรรมนั้น จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้น จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมชอบด้วยวินัย”
ท่านพระอุบาลีทูลถามว่า “สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควร
อมูฬหวินัย ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ...
ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยส
กรรม ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม .. ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนีย
กรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
เข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน
... ... อุปสมบทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท กรรมนั้น จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมชอบด้วยวินัยหรือ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี กรรมนั้น จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม
เป็นกรรมชอบด้วยวินัย
อุบาลี สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย
อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มีความผิด
อุบาลี สงฆ์พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลง
ตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... ลง
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ
ผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ...
... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรปริวาส ... ... ชักภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเข้าหา
อาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรอัพภาน ...
... อุปสมบทให้กุลบุตรผู้ควรอุปสมบท
อุบาลี อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย
อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมไม่มีความผิด”

เรื่องกรรมไม่ชอบด้วยธรรมไม่ชอบด้วยวินัย
หมวดที่ ๓
[๔๐๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควร
สติวินัย ... ... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้
ควรสติวินัย ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ลงปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้
ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ชักภิกษุผู้ควรสติวินัยเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้
มานัตแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... อัพภานภิกษุผู้ควรสติวินัย ... ... ให้ภิกษุผู้ควร
สติวินัยอุปสมบทให้กุลบุตร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด
[๔๐๕] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่
ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
อมูฬหวินัย ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ลงอุกเขปนีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ชัก
ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยเข้าหาอาบัติเดิม ... ... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ...
... อัพภานภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ... ... ให้ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัยให้อุปสมบทกุลบุตร
... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด
[๔๐๖] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควร
ตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ...
ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงปฏิสารณียกรรม

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๑. อุปาลิปุจฉากถา
แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสส-
ปาปิยสิกากรรม ... ... ให้ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ... ให้
สติวินัย แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ... ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรตัสส-
ปาปิยสิกากรรม
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำลง ... ... แก่ภิกษุผู้ควรลงตัชชนียกรรม
... ... แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ... ... แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ... ... แก่
ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ... ... แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ... ... แก่ภิกษุผู้ควร
ปริวาส ... ... แก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ... แก่ภิกษุผู้ควรมานัต ... ... แก่
ภิกษุผู้ควรอัพภาน ... ... ให้สติวินัยแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... ให้อมูฬหวินัย
แก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ...
... ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท
... ... ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... ลงปฏิสารณียกรรมแก่
ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... ให้
ปริวาสแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... ชักกุลบุตรผู้ควรอุปสมบทเข้าหาอาบัติเดิม ...
... ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท ... ... อัพภานให้แก่ภิกษุผู้ควรอุปสมบท
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย อย่างนี้แล สงฆ์ย่อมมีความผิด”
อุปาลิปุจฉาภาณวารที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา
๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา
ว่าด้วยตัชชนียกรรม

เรื่องภิกษุแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม
[๔๐๗] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา
กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้
ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น
ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
นั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูก
สงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุนั้น” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา
เรื่องภิกษุในอาวาสอื่นพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
ลงตัชนียกรรมเป็นต้น
[๔๐๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อ
ความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเรา
จะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น
ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้นพวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วได้แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา
[๔๐๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละพวก
เราจะลงตัชชนียกรรมแก่เธอ” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น
ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
นั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป
นี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
รูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป
นี้แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย
กรรมแก่เธอ” แล้วได้พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
[๔๑๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลก่อความบาดหมาง

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๒. ตัชชนียกัมมกถา
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเรา
จะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
รูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
นั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
นั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป
นี้แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูป
นั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป
นี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
[๔๑๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา
กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๓. นิยสกัมมกถา
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
นั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูป
นี้แลถูกสงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แล
ถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
เรื่องสรุปความที่นักปราชญ์ผูกให้เป็นจักรเปยยาล จบ

๒๔๓. นิยสกัมมกถา
ว่าด้วยนิยสกรรม

เรื่องสงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด
[๔๑๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับ

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๔. ปัพพาชนียกัมมกถา
คฤหัสถ์อันไม่สมควร ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลี
กับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้น
ไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม
แก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ...
แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกัน โดย
ธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา๑

๒๔๔. ปัพพาชนียกัมมกถา
ว่าด้วยปัพพาชนียกรรม

เรื่องสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
[๔๑๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุประทุษร้ายตระกูล มีมารยาททราม
ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ประทุษร้าย
ตระกูล มีมารยาททราม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่ง
พวกโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่
อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้
แลถูกสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะลง

เชิงอรรถ :
๑ คือ พึงเพิ่มข้อควาทหมุนเวียนเหมือนในตัชชนียกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๖. อทัสสนอุกเขปนียกัมมกถา
ปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

๒๔๕. ปฏิสารณียกัมมกถา
ว่าด้วยปฏิสารณียกรรม

เรื่องสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์
[๔๑๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์
ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ด่า
บริภาษพวกคฤหัสถ์ เอาละ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่ง
พวกโดยไม่ชอบธรรมลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดย
ไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ...
พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
เรื่องพระผู้มีพระภาคตรัสอุกเขปนียกรรมในกรณีต่าง ๆ จบ

๒๔๖. อทัสสนอุกเขปนียกัมมกถา
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๑๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะ
เห็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๘. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมกถา
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดย
ไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ...แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ...
พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

๒๔๗. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมกถา
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๑๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำ
คืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนีย กรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ...
แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

๒๔๘. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมกถา
ว่าด้วยอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๔๑๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป
ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลไม่
ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
บาปแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบ
ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา๑

๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับตัชชนียกรรม
[๔๑๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น

เชิงอรรถ :
๑ กรรมทั้ง ๕ อย่างดังกล่าวมานี้ เรียกโดยรวมว่า “นิคคหกรรม” ความหมายและสาเหตุที่ทำให้ภิกษุ
ถูกทำนิคคหกรรมแต่ละอย่าง สรุปได้ดังนี้
๑. ตัชชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขู่ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ก่อ
ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
๒. นิยสกรรม แปลว่า กรรมคือการถอดยศ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มี
อาบัติมาก ไม่มีมารยาท
๓. ปัพพาชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขับไล่ สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม
๔. ปฏิสารณียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรให้กลับระลึกได้ สงฆ์ทำปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์
๕. อุกเขปนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกเสียจากหมู่ สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมแก่ภิกษุผู้แม้ต้องอาบัติก็ไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ แม้ต้องอาบัติแล้วก็ไม่ปรารถนา
จะทำคืน (แสดง) อาบัติ แม้มีทิฏฐิบาปก็ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์
แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละ พวกเราจะระงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละ พวกเราจะ
ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์
พร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรมระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละ พวกเราจะ
ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรมแก่
ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น
แม้ในอาวาสนั้น พวกภิกษุได้ปรึกษากันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย สงฆ์แบ่ง
พวกโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนี้ เอาละพวกเราจะระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
รูปนั้น
[๔๑๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... ... แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ...


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๔๙. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
[๔๒๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป ... ... แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
...
[๔๒๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนีย
กรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม
เอาละ พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูประงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ... ... แบ่งพวกโดย
ไม่ชอบธรรม ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม
...
[๔๒๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนีย
กรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับ
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ... ... พร้อมเพรียง
กันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๑. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
๒๕๐. นิยสกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับนิยสกรรม
[๔๒๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับนิยสกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม .
.. ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

๒๕๑. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับปัพพาชนียกรรม
[๔๒๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง
ปัพพาชนียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนีย
กรรม เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดย
ไม่ชอบธรรมระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ
ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อม
เพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๓. อทัสสนอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
๒๕๒. ปฏิสารณียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับปฏิสารณียกรรม
[๔๒๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง
ปฏิสารณียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณีย
กรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่
ชอบธรรม ระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ
ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียง
กันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

๒๕๓. อทัสสนอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๒๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่
ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบ
ธรรม ... .... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๕. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
๒๕๔. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๒๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้
ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่ง
พวกโดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ...
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา

๒๕๕. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ละทิฏฐิบาป
[๔๒๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่าง
นี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
รูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา
แก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม
... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา
เรื่องการระงับตัชชนียกรรมเป็นต้นแก่ภิกษุผู้กลับตัวได้ จบ

๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในตัชชนียกรรม
[๔๒๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา
กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละพวกเราจะลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ
รูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรม
แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
ทำไม่ดี ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[๔๓๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อ
ความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละพวกเรา
จะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ไม่ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[๔๓๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษา
กันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ พวกเราจะลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
ทำไม่ดี ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกโดยชอบ
ธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำใหม่”
จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๖. ตัชชนียกัมมวิวาทกถา
[๔๓๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ
พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[๔๓๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เอาละ
พวกเราจะลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปลง
ตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
ทำไม่ดี ต้องทำใหม่”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๗. นิยสกัมมวิวาทกถา
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น

๒๕๗. นิยสกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในนิยสกรรม
[๔๓๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มี
อาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
อันไม่สมควร ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก มีมารยาทไม่สมควร อยู่คลุกคลี
กับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร เอาละ พวกเราจะลงนิยสกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ...
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
ทำไม่ดี ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๕๙. ปฏิสารณียกัมมวิวาทกถา
๒๕๘. ปัพพาชนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในปัพพาชนียกรรม
[๔๓๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุประทุษร้ายตระกูล มีมารยาท
เลวทราม ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม เอาละ พวกเราจะลงปัพพาชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวคัดค้านว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ
ไม่ดี ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ถูก
ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๕๙. ปฏิสารณียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในปฏิสารณียกรรม
[๔๓๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุด่าบริภาษพวกคฤหัสถ์ ถ้า
ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ด่าบริภาษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๐. อทัสสนอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
พวกคฤหัสถ์ เอาละ พวกเราจะลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวก
โดยไม่ชอบธรรมลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ
ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อม
เพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๐. อทัสสนอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๓๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะ
เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุ
รูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๑. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๑ อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๓๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะทำคืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ...
... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ
ไม่ดี ต้องทำใหม่”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๒. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๒. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๔๓๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป
ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ไม่ปรารถนา
สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
รูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่
ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ...
... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๓. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา
๒๖๓. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับตัชชนียกรรม
[๔๔๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดยไม่
ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ
ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[๔๔๑] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๓. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ไม่ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[๔๔๒] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยไม่ชอบธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
ทำไม่ดี ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดยไม่
ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[๔๔๓] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๓. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ
ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[๔๔๔] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ
ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๕. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
๒๖๔. นิยสกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับนิยสกรรม
[๔๔๕] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับนิยสกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ขอระงับนิยสกรรม เอาละ พวกเราจะ
ระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับนิยสกรรมแก่ภิกษุ
รูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ...
แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๕. ปัพพาชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับปัพพาชนียกรรม
[๔๔๖] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรม
แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปัพพาชนียกรรม ถ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๖. ปฏิสารณีกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ภิกษุทั้งหลายตกลงกันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง
ปัพพาชนียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
ปัพพาชนียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่ง
พวกโดยไม่ชอบธรรมระงับปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกัน
โดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ...
... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ
ไม่ดี ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๖. ปฏิสารณียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับปฏิสารณียกรรม
[๔๔๗] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม
แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับปฏิสารณียกรรม ถ้า
ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลง
ปฏิสารณียกรรมแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
ปฏิสารณียกรรม เอาละ พวกเราจะระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่ง
พวกโดยไม่ชอบธรรมระงับปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๗. อทัสสอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
โดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ...
พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ''กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๗. อทัสสนอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
[๔๔๘] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็น
อาบัติ เอาละ พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุรูป
นั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
แก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม
... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๘. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
โดยธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำ
ไม่ดี ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๘. อัปปฏิกัมมอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[๔๔๙] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่ทำคืนอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแล้วกลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ เอาละ พวกเรา
จะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบ
ธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียง
กันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป
... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๖๙. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ
ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
๕ วาระนี้ท่านย่อไว้

๒๖๙. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[๔๕๐] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแล้วกลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป เอาละ
พวกเราจะระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวก
โดยไม่ชอบธรรมระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อม
เพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรม
ปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
แม้ ๕ วาระนี้ท่านย่อไว้
จัมเปยยขันธกะที่ ๙ จบ

๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
จัมเปยยขันธกะ มี ๓๖ เรื่อง คือ
เรื่องพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กรุงจัมปา เรื่องพระกัสสป
โคตรในวาสภคามขวนขวายในสิ่งที่พึงปรารถนาเพื่อภิกษุอาคันตุกะ
ครั้นท่านทราบว่าพวกภิกษุอาคันตุกะชำนาญทางโคจรดีแล้ว
จึงเลิกขวนขวายในเวลานั้น แต่ถูกภิกษุอาคันตุกะลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่ทำจึงไปเฝ้าพระชินเจ้า
เรื่องภิกษุชาวกรุงจัมปาทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ทำกรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม
แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป
ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง
ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
๒ รูปบ้าง ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง
ภิกษุรูปเดียวลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง
ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูปบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
ภิกษุ ๒ รูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง ภิกษุหลายรูป
ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียวบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุ ๒ รูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุหลายรูปบ้าง ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง เรื่องพระผู้มีพระภาคได้
ทรงสดับแล้วตรัสห้ามเพราะไม่ชอบธรรม
เรื่องกรรมที่ญัตติวิบัติ อนุสาวนาสมบูรณ์ วิบัติโดยอนุสาวนา
สมบูรณ์ด้วยญัตติ วิบัติทั้งสองอย่าง ทำกรรมผิดธรรมวินัย
ผิดสัตถุศาสน์ ทำกรรมที่ถูกคัดค้านกรรมที่กำเริบ ไม่ควรแก่ฐานะ
เรื่องแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป
พระตถาคตทรงอนุญาตกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมเท่านั้น
เรื่องสงฆ์ ๕ ประเภท คือ สงฆ์จตุวรรค สงฆ์ปัญจวรรค
สงฆ์ทสวรรค สงฆ์วีสติวรรค และสงฆ์อติเรกวีสติวรรค
เรื่องยกเว้นอุปสมบทกรรม ปวารณากรรมและอัพภานกรรม
นอกนั้นสงฆ์จตุวรรคทำได้
เรื่องยกเว้นกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทกรรมใน
มัชฌิมประเทศและอัพภานกรรม นอกนั้นสงฆ์ปัญจวรรคทำได้ทั้งสิ้น
เรื่องยกเว้นอัพภานกรรมอย่างเดียว นอกนั้นสงฆ์ทสวรรคทำได้
เรื่องสงฆ์วีสติวรรคทำกรรมได้ทุกอย่าง
เรื่องสรุปคน ๒๔ จำพวกคือ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ผู้ต้องอันติมวัตถุ
ผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ
เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน
คนผู้ฆ่ามารดา คนผู้ฆ่าบิดา คนฆ่าพระอรหันต์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
คนประทุษร้ายภิกษุณี คนทำลายสงฆ์
คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก
ภิกษุผู้เป็นนานาสังวาส ภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมา ภิกษุผู้อยู่ใน
อากาศด้วยฤทธิ์
สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใดมีภิกษุนั้นครบจำนวนสงฆ์พอดี
รวม ๒๔ จำพวก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามไว้
เพราะคนพวกนั้นเป็นคณปูรกะไม่ได้
เรื่องสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัตหรืออัพภาน เป็นกรรมที่ใช้ไม่ได้และไม่ควรทำ
เรื่องสงฆ์มีผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔ สงฆ์มีภิกษุ
ผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ สงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔
สงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ สงฆ์ ๕ ประเภทนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่าทำสังฆกรรมให้ไม่ได้
เรื่องคน ๒๗ จำพวกคือ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี ภิกษุผู้บอกลาสิกขา ผู้ต้องอันติมวัตถุ วิกลจริต
มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ถูกลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ เพราะไม่สละทิฏฐิบาป
บัณเฑาะก์คนลักเพศ ภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน
คนผู้ฆ่ามารดา คนผู้ฆ่าบิดา คนผู้ฆ่าพระอรหันต์
คนประทุษร้ายภิกษุณี คนผู้ทำลายสงฆ์
คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก
ภิกษุผู้อยู่ในนานาสังวาส ภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมา ภิกษุผู้อยู่ใน
อากาศด้วยฤทธิ์ และภิกษุผู้ถูกสงฆ์ทำกรรม ๒๗ จำพวกนี้ค้านไม่ขึ้น
เรื่องคำคัดค้านของภิกษุปกตัตตะฟังขึ้น เรื่องบุคคลที่ถูกขับ
ออกไปดีและบุคคลที่ถูกขับออกไปไม่ดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
เรื่องคน ๑๑ จำพวก คือ บัณเฑาะก์ คนลักเพศ ภิกษุ
ผู้เข้ารีตเดียรถีย์ สัตว์ดิรัจฉาน คนผู้ฆ่ามารดา คนผู้ฆ่าบิดา
คนผู้ฆ่าพระอรหันต์ คนประทุษร้ายภิกษุณี คนผู้ทำลายสงฆ์
คนทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต อุภโตพยัญชนก
คน ๑๑ จำพวกนี้ไม่ควรรับเข้าหมู่
เรื่องคน ๓๒ จำพวก คือ คนมือด้วน เท้าด้วน ทั้งมือ
ทั้งเท้าด้วน คนหูวิ่น คนจมูกแหว่ง คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกแหว่ง
คนนิ้วมือนิ้วเท้าขาด คนมีง่ามมือง่ามเท้าขาด คนเอ็นขาด
คนมือเป็นแผ่น คนค่อม คนเตี้ย คนคอพอก คนถูกสักหมายโทษ
มีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย คนมีหมายจับ คนเท้าปุก
คนมีโรคเรื้อรัง คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ
คนตาบอดข้างเดียว คนง่อย คนกระจอก คนเป็นโรคอัมพาต
คนเคลื่อนไหวเองไม่ได้ คนชราทุพพลภาพ คนตาบอดทั้งสองข้าง
คนใบ้ คนหูหนวก คนทั้งบอดทั้งใบ้ คนทั้งบอดทั้งหนวก
คนทั้งใบ้ทั้งหนวก คนทั้งบอด ทั้งใบ้ ทั้งหนวก ๓๒ จำพวกนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศว่ารับเข้าหมู่ได้
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
การลงอุกเขปนียกรรมภิกษุผู้ไม่ทำคืนอาบัติ การลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุไม่สละทิฏฐิบาป ๗ กรณี เป็นกรรมไม่ชอบธรรม
เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมภิกษุที่ต้องอาบัติไม่ชอบธรรมอีก
๗ กรณี เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมภิกษุที่ชอบธรรม ๗ กรณี
เรื่องกรรมที่ควรทำต่อหน้ากลับทำลับหลัง กรรมที่ควรทำ
โดยการสอบถามกลับไม่ซักถาม กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา
กลับทำโดยไม่ปฏิญญา ให้อมูฬหวินัยแก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย
ทำตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ลงนิยสกรรม
แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม
ลงปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม
ลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ให้ปริวาสแก่ภิกษุ
ผู้ควรอุกเขปนียกรรม ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต
ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานให้อุปสมบทกุลบุตร
ทำกรรมอย่างหนึ่งแก่ภิกษุผู้ควรกรรมอย่างหนึ่ง รวม ๑๖
กรณีเป็นกรรมที่ไม่ชอบด้วยธรรม ไม่ชอบด้วยวินัย
เรื่องทำกรรมนั้น ๆ แก่ภิกษุผู้ควรแก่กรรมนั้น ๆ รวม
๑๖ กรณี เป็นกรรมที่ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย เรื่องทำกรรม
แต่ละอย่างไม่ชอบด้วยธรรม ไม่ชอบด้วยวินัย ๑๖ กรณี ๒ หมวด
เรื่องทำกรรมที่ชอบด้วยธรรม ชอบด้วยวินัย ๑๖ กรณี ๒ หมวด
เรื่องหมุนเวียนกรรมมีกรรมแต่ละข้อเป็นมูล พระชินเจ้าตรัสว่า
ไม่ชอบด้วยธรรม เรื่องสงฆ์แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง
เรื่องภิกษุในอาวาสอื่นพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมลง
ตัชชนียกรรม และภิกษุในอาวาสอื่นแบ่งพวกโดยชอบธรรมก็มี
แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูปก็มี พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูปก็มี
ลงตัชชนียกรรมเรื่องพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม แบ่งพวก
โดยชอบธรรม แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป และพร้อมเพรียงกัน
โดยธรรมปฏิรูป
นักปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงจัดแต่ละข้อเป็นมูลหมุนเวียน
เรื่องสงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลาไม่ฉลาด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ] ๒๗๐. รวมเรื่องที่มีในจัมเปยยขันธกะ
เรื่องสงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล
เรื่องสงฆ์ทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำหมู่ตรัสอุกเขปนียกรรม
แก่ภิกษุผู้ไม่เห็นอาบัติ ไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิบาป
เรื่องการระงับตัชชนียกรรมเป็นต้นแก่ภิกษุผู้กลับตัวได้
ภิกษุผู้มีปัญญาพึงลงตัชชนียกรรมให้ถูกต้องตามวินัย
ภิกษุผู้ประพฤติเรียบร้อยอนุวัตรตามระเบียบวินัยเหล่านั้น
ขอระงับกรรมเหล่านั้นตามนัยแห่งกรรมที่กล่าวไว้ก่อน
เรื่องในกรรมนั้น ๆ สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมคัดค้านว่า
กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ถูก ต้องทำใหม่ และเมื่อกรรมระงับ
ภิกษุเหล่านั้นเป็นธรรมวาที
พระมหามุนีทรงเห็นภิกษุพวกเข้ากรรมได้รับความลำบาก
โดยกรรมาวิบัติจึงทรงชี้วิธีระงับได้ ดุจนายแพทย์ผู้ชำนาญได้
บอกตัวยาไว้ฉะนั้น
จัมเปยยขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
๑๐. โกสัมพิกขันธกะ
๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวกรุงโกสัมพีทะเลาะวิวาทกัน
[๔๕๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี
ครั้งนั้นมีภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ภิกษุรูปนั้นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
แต่ภิกษุพวกอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ
ต่อมา ภิกษุรูปนั้นกลับมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ แต่ภิกษุพวก
อื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว
ท่านจงเห็นอาบัตินั้น” ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่จะพึงเห็น”
ภายหลัง ภิกษุเหล่านั้นได้ความพร้อมเพรียงแล้วจึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
รูปนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ๑

เชิงอรรถ :
๑ พวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรม เป็นอุปัชฌาย์ของพวกภิกษุวินัยธรผู้เชี่ยวชาญในพระวินัย ส่วนภิกษุที่ถูกลง
อุกเขปนียกรรมเป็นอุปัชฌาย์ของพวกภิกษุสุตตันติกะผู้เชี่ยวชาญในพระสูตร เรื่องมีอยู่ว่า
ณ อาวาสแห่งหนึ่ง ในกรุงโกสัมพี มีภิกษุอยู่ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มสุตตันติกะเชี่ยวชาญพระสูตร และ
กลุ่มวินัยธร เชี่ยวชาญพระวินัย วันหนึ่ง อุปัชฌาย์ของพวกสุตตันติกะ เข้าห้องสุขา(วัจกุฎี)เหลือน้ำชำระ
ไว้ในภาชนะแล้วออกมา อุปัชฌาย์ของพวกวินัยธรเข้าไปทีหลัง เห็นน้ำนั้นจึงออกมาถามภิกษุสุตตันติกะว่า
“ท่านเหลือน้ำไว้หรือ” ภิกษุสุตตันติกะตอบว่า “ผมเหลือน้ำไว้” “ในกรณีนี้ ท่านไม่รู้ว่าเป็นอาบัติหรือ”
“ผมไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ” “ท่าน ในกรณีนี้ มีอาบัติอยู่” “ถ้ามีอาบัติ ผมจะแสดงอาบัติ” “ท่าน ถ้าไม่จงใจ
ไม่มีสติ ก็ไม่มีอาบัติ” เมื่อภิกษุวินัยธรกล่าวอย่างนี้ ภิกษุสุตตันติกะจึงมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ
ฝ่ายภิกษุวินัยธรบอกพวกนิสิตของตนว่า “ภิกษุสุตตันติกะนี้ แม้ต้องอาบัติก็ไม่รู้” พวกนิสิตของภิกษุวินัยธร
จึงไปกล่าวกะพวกภิกษุสุตตันติกะว่า “อุปัชฌาย์ของท่าน แม้ต้องอาบัติแล้วก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ” พวก
ภิกษุสุตตันติกะ จึงไปบอกแก่อุปัชฌาย์ของตน พระอุปัชฌาย์ของพวกภิกษุสุตตันติกะกล่าวว่า “ในตอนต้น
ภิกษุวินัยธรนี้ กล่าวว่า “ไม่มีอาบัติ แต่ตอนนี้ กลับกล่าวว่า มีอาบัติ ภิกษุวินัยธรนี้พูดเท็จ” เมื่อ
อุปัชฌาย์กล่าวอย่างนี้ พวกนิสิตจึงไปกล่าวกะพวกภิกษุวินัยธรว่า “อุปัชฌาย์ของพวกท่านพูดเท็จ”
แล้วก่อความทะเลาะขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ลำดับนั้น ภิกษุวินัยธรได้โอกาส จึงลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นอาบัติแก่ภิกษุสุตตันติกะนั้น (วิ.อ. ๓/๔๕๑/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
ก็ภิกษุรูปนั้นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ต่อมา ภิกษุรูปนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมาแล้วได้กล่าวอย่างนี้
ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นหาเป็นอาบัติไม่ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้อง
อาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ แต่ถูก
ลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ ท่าน
ทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวกแล้ว
ภิกษุรูปนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักของพวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อน
คบกันมาว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้อง
อาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรม
หามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่
ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวก
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นผู้ประพฤติตามภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ได้เข้าไป
หาพวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่
เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติ
หามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้
แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ”
เมื่อพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมกล่าวอย่างนี้แล้ว
พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น
ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้
ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่เป็นความเสียหาย ควรแก่ฐานะ
ท่าน ทั้งหลายอย่าประพฤติตาม อย่าห้อมล้อมภิกษุรูปนั้นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น”
พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น แม้ถูกพวกภิกษุ
ผู้ลงอุกเขปนียกรรมว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ยังประพฤติตาม ยังห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกลง
อุกเขปนียกรรมนั้นเหมือนเดิม
[๔๕๒] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ภิกษุรูปนั้นผู้นั่งแล้ว ณ ที่
สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส
ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ ต่อมาภิกษุรูปนั้นกลับมีความ
เห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า ‘ท่าน
ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านจงเห็นอาบัตินั้น’
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่ผมจะพึงเห็น’
พระพุทธเจ้าข้า ภายหลัง ภิกษุเหล่านั้นได้ความพร้อมเพรียงแล้วจึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ
พระพุทธเจ้าข้า ก็ ภิกษุรูปนั้นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา ต่อมา ภิกษุรูปนั้นได้เข้าไปหาพวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกัน
มาแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผม
ไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ
ท่านทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็น
พรรคพวกแล้ว
ภิกษุรูปนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักของพวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบ
กันมาว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ
ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้
แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจง
เป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวกแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นผู้ประพฤติตามภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนีย
กรรม ได้เข้าไปหาพวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นหาเป็นอาบัติไม่ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูป
นั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ’
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั่น
เป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้อง
อาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ควรแก่ฐานะ ท่าน
ทั้งหลายอย่าประพฤติตาม อย่าห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น’
พระพุทธเจ้าข้า พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น
แม้อันพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ยังประพฤติตาม ยังห้อมล้อม
ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้นเหมือนเดิม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
[๔๕๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน
ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน”๑ เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปหาพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม
ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ แล้วได้ตรัสกับภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม
เหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าคิดอย่างนี้ว่า ‘เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่
พวกเรา เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่พวกเรา’ แล้วจ้องแต่จะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่า
ไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุเหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การ
ศึกษา ถ้าพวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะ
ทำอุโบสถร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องทำอุโบสถแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง
ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่ง
สงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุ
จะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้หนักในความแตกกัน ไม่พึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัติ
นั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุ
เหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา ถ้า
พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะปวารณา
ร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องปวารณาแยกจากภิกษุรูปนี้ จะทำสังฆกรรมร่วมกับภิกษุรูปนี้
ไม่ได้ ต้องทำสังฆกรรมแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งร่วมบนอาสนะเดียวกับภิกษุรูปนี้

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุสงฆ์ยังไม่แตกกัน แต่มีเหตุคือความทะเลาะวิวาทที่บ่งบอกว่า จะแตกกันแน่นอนในโอกาสต่อไป เหมือน
เมื่อฝนตกลงมา ชาวนาทั้งหลายก็มักจะกล่าวว่า “ข้าวกล้าสำเร็จแล้ว” เพราะฝนเป็นเครื่องบ่งบอกถึง
ความสำเร็จแห่งข้าวกล้าในโอกาสต่อไปแน่นอน (วิ.อ. ๓/๔๕๓/๒๔๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
ไม่ได้ ต้องนั่งบนอาสนะแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งในที่ดื่มข้าวต้มร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้
ต้องนั่งแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งในโรงอาหารร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องนั่งแยก
จากภิกษุรูปนี้ จะอยู่ในที่มุงบังเดียวกันร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องอยู่แยกจาก
ภิกษุรูปนี้ จะกราบไหว้ ต้อนรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรมตามลำดับพรรษาร่วม
กับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องทำแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง ความทะเลาะ
ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่ง
แยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’
ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้หนักในความแตกกัน จึงไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
รูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ”

เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้ภิกษุแสดงอาบัติ
[๔๕๔] ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมแล้ว
เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปหาพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนีย
กรรมประทับบนพุทธอาสน์ที่ปูไว้แล้ว ได้ตรัสกับพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูก
ลงอุกเขปนียกรรมดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอต้องอาบัติแล้วอย่าคิดว่า
‘พวกเราหาได้ต้องอาบัติไม่ พวกเราหาได้ต้องอาบัติไม่’ สำคัญว่าอาบัติไม่ต้องทำคืน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่
เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุรูปนั้นรู้จัก
ภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา คงจะไม่
ลำเอียงเพราะความรัก เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว เพราะ
เราเป็นเหตุ หรือเพราะภิกษุอื่นเป็นเหตุ ถ้าภิกษุเหล่านี้จะลงอุกเขปนียกรรมเรา
เพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจะทำอุโบสถร่วมกับเราไม่ได้ ต้องทำอุโบสถแยก
จากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตก
แห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ
กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้ตระหนักในความแตกกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
จึงไม่พึงลงอุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้หนักในความแตกกันจึงพึงแสดงอาบัตินั้นแม้เพราะเชื่อผู้อื่น
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้น
ว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุรูปนั้นรู้
จักภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านเหล่านี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา คงจะ
ไม่ลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง เพราะความหลง เพราะความกลัว
เพราะเราเป็นเหตุ หรือเพราะภิกษุอื่นเป็นเหตุ ถ้าภิกษุเหล่านี้จะลงอุกเขปนีย
กรรมเราเพราะไม่เห็นอาบัติ ภิกษุเหล่านั้นจะปวารณาร่วมกับเราไม่ได้ ต้อง
ปวารณาแยกจากเรา จะทำสังฆกรรมร่วมกับเราไม่ได้ ต้องทำสังฆกรรมแยกจากเรา
จะนั่งร่วมบนอาสนะเดียวกับเราไม่ได้ ต้องนั่งบนอาสนะแยกจากเรา จะนั่งในที่ดื่ม
ข้าวต้มร่วมกับเราไม่ได้ ต้องนั่งแยกจากเรา จะนั่งในโรงอาหารร่วมกับเราไม่ได้
ต้องนั่งแยกจากเรา จะอยู่ในที่มุงบังเดียวร่วมกับเราไม่ได้ ต้องอยู่แยกจากเรา จะ
กราบไหว้ ต้อนรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรมตามลำดับพรรษาร่วมกับเราไม่ได้
ต้องทำแยกจากเรา ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้
เป็นต่าง ๆ กัน ซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุจะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หนักใน
ความแตกกัน จึงพึงแสดงอาบัตินั้นแม้เพราะเชื่อผู้อื่น”
ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนั้น แก่พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลง
อุกเขปนียกรรมแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะแล้วเสด็จหลีกไป

เรื่องพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
ทำอุโบสถภายในสีมา
[๔๕๕] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม ทำ
อุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมานั้นเอง ส่วนพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมไปทำ
อุโบสถ ทำสังฆกรรมนอกสีมา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
ต่อมา ภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมอีกรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่
ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ภิกษุรูปนั้นผู้นั่งแล้ว ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า พวกภิกษุผู้ประพฤติตาม
ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น ทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมานั้นเอง ส่วน
พวกข้าพระองค์ซึ่งเป็นผู้ลงอุกเขปนียกรรมกลับต้องไปทำอุโบสถทำสังฆกรรมนอกสีมา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ถ้าพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลง
อุกเขปนียกรรมนั้นจะทำอุโบสถ ทำสังฆกรรมภายในสีมานั้น กรรมเหล่านั้นของ
ภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่เสียหาย ควรแก่ฐานะตามญัตติและอนุสาวนา
ที่เราบัญญัติไว้ ภิกษุ ถ้าภิกษุเหล่านั้นเองซึ่งเป็นผู้ลงอุกเขปนียกรรมจะทำอุโบสถ
สังฆกรรมภายในสีมานั้น กรรมเหล่านั้นแม้ของพวกเธอก็เป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่
เสียหาย ควรแก่ฐานะตามญัตติและอนุสาวนาที่เราบัญญัติไว้ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุพวกนั้นเป็นนานาสังวาสจากพวกเธอ และพวกเธอก็เป็นนานาสังวาส
จากภิกษุพวกนั้น

นานาสังวาสกภูมิและสมานสังวาสกภูมิ
ภิกษุ นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้ คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นนานาสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้น เพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ภิกษุ นานาสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้แล
ภิกษุ สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้ คือ
๑. ภิกษุทำตนให้เป็นสมานสังวาสด้วยตนเอง
๒. สงฆ์พร้อมเพรียงกันรับภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่า
เป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเข้าหมู่
ภิกษุ สมานสังวาสกภูมิมี ๒ อย่างนี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑. โกสัมพิกวิวาทกถา
[๔๕๖] สมัยนั้น พวกภิกษุเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะวิวาท
แสดงกายกรรมวจีกรรมอันไม่สมควรต่อกันและกัน ฉุดรั้งกันในโรงอาหารในละแวกบ้าน
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ
ศากยบุตรจึงเกิดความบาดหมาง เกิดความทะเลาะวิวาท แสดงกายกรรม วจี
กรรมอันไม่สมควรต่อกันและกัน ฉุดรั้งกันในโรงอาหารในละแวกบ้านเล่า”
พวกภิกษุได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย
ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุทั้งหลาย จึงเกิดความ
บาดหมาง ฯลฯ ฉุดรั้งกันในโรงฉันในละแวกบ้านเล่า” แล้วนำเรื่องนั้นไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสถามพวกภิกษุว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวก
ภิกษุเกิดความบาดหมาง ฯลฯ ถึงกับฉุดรั้งกันในโรงอาหารในละแวกบ้านจริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว แต่ยัง
ทำกิจที่ไม่เป็นธรรม เมื่อคำแสลงใจเป็นไปอยู่ ภิกษุเหล่านั้นพึงนั่งบนอาสนะโดย
คิดว่า ‘เพราะเหตุเพียงเท่านี้ พวกเราจะไม่แสดงกายกรรม วจีกรรมอันไม่สมควร
ต่อกันและกัน จะไม่ฉุดรั้งกัน’ เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ทำกิจที่ไม่เป็นธรรมอยู่ เมื่อ
คำแสลงใจเป็นไปอยู่ พวกเธอพึงนั่งในแถวที่มีอาสนะคั่น”
[๔๕๗] สมัยนั้น พวกภิกษุเกิดความบาดหมาง เกิดการทะเลาะวิวาท ถึง
กับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถระงับ
อธิกรณ์นั้นได้
ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ภิกษุรูปนั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๑.โกสัมพิกวิวาทกถา
พระภาค ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานวโรกาส พวกภิกษุเกิดความบาดหมาง
เกิดการทะเลาะวิวาท ถึงกับใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุ
เหล่านั้นไม่สามารถระงับอธิกรณ์นั้นได้ พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคทรงโปรดอนุเคราะห์เสด็จไปหาพวกภิกษุเหล่านั้นเถิด”
พระผู้มีพระภาครับอาราธนาโดยดุษณีภาพ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาพวกภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ประทับ
นั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูไว้ได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย พวก
เธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุฝ่ายอธรรมวาทีรูปหนึ่ง๑ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ขอพระผู้มีพระภาคผู้ทรงเป็นธรรมสามีทรงโปรดรอไปก่อน
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหาร
ธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จะปรากฏเพราะความบาดหมาง
ความทะเลาะ ความขัดแย้ง และความวิวาทนั่งเอง”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “อย่าเลย
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุฝ่ายอธรรมวาทีรูปนั้นได้กราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงเป็นธรรมสามีทรงโปรดรอไปก่อน พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง
ขวนขวายน้อย ประกอบตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า พวก
ข้าพระองค์จะปรากฏเพราะความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง และความ
วิวาทนั่งเอง”

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุฝ่ายอธรรมวาทีรูปนี้ เป็นพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม (วิ.อ. ๓/ ๔๕๗/
๒๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ว่าด้วยทีฆาวุกุมาร
[๔๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงพาราณสี ได้มีพระเจ้ากาสีพระนามว่าพรหมทัต ทรงเป็น
กษัตริย์ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีกำลังพลมาก มีพาหนะมาก มี
อาณาจักรกว้างใหญ่ มีภัณฑาคารห้องเก็บของมีค่าและคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดม
สมบูรณ์๑
พระเจ้าโกศลทรงพระนามว่าทีฆีติทรงเป็นกษัตริย์ผู้ขัดสน มีทรัพย์น้อย มีโภค
สมบัติน้อย มีกำลังพลน้อย มีพาหนะน้อย มีอาณาจักรไม่กว้างใหญ่ มีภัณฑาคาร
ห้องเก็บของมีค่าและคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่อุดมสมบูรณ์
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชเสด็จคุมกองทหารประกอบ
ด้วยองค์ ๔ ไปโจมตีพระเจ้าทีฆีติโกศลราช
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าทีฆีติโกศลราชทรงสดับว่า “พระเจ้าพรหมทัตกาสีราช
เสด็จคุมกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ มาโจมตีเรา” จึงทรงดำริดังนี้ว่า “พระเจ้า
พรหมทัตกาสีราช ทรงเป็นกษัตริย์ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีกำลัง
พลมาก มีพาหนะมาก มีอาณาจักรกว้างใหญ่ มีภัณฑาคารห้องเก็บของมีค่าและ
คลังพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ส่วนเราเองเป็นกษัตริย์ผู้ขัดสน มีทรัพย์น้อย
มีโภคสมบัติน้อย มีกำลังพลน้อย มีพาหนะน้อย มีอาณาจักรไม่กว้างใหญ่ มี
ภัณฑาคารห้องเก็บของมีค่าและคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่อุดมสมบูรณ์ เราไม่
สามารถจะทำสงครามแม้เพียงครั้งเดียวกับพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้เลย อย่า
กระนั้นเลย เราควรรีบหนีไปจากเมืองเสียก่อน”

เชิงอรรถ :
๑ อีกอย่างหนึ่ง มีกองทัพ ๔ คือ กองทัพช้าง กองทัพม้า กองทัพรถ พลเดินเท้า และมีคลังสมบัติ
คลังธัญชาติ คลังผ้าบริบูรณ์ (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๖๓/๔๒๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงทรงพาพระมเหสีเสด็จหนี
ไปจากเมืองเสียก่อน
ฝ่ายพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงยึดกำลังพล พาหนะ ชนบท คลังอาวุธ-
ยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชไว้ได้แล้วเสด็จเข้า
ครอบครองแทน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราช พร้อมด้วยพระมเหสีได้เสด็จ
หนีไปทางกรุงพาราณสี เสด็จจาริกไปตามลำดับ ลุถึงกรุงพาราณสีแล้ว ทราบว่า
ท้าวเธอพร้อมกับพระมเหสีทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้คนรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยง
ปริพาชก ประทับอยู่ในบ้านช่างหม้อซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่งในกรุงพาราณสี
ภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นานนัก พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชทรงมี
พระครรภ์ พระนางเกิดอาการแพ้ท้องเช่นนี้ คือ ในยามรุ่งอรุณ พระนางปรารถนา
จะทอดพระเนตรกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิ และ
จะทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงได้กราบทูล
ดังนี้ว่า “ขอเดชะ หม่อมฉันมีครรภ์ หม่อมฉันนั้นเกิดอาการแพ้ท้องเช่นนี้ คือ
ยามรุ่งอรุณปรารถนาจะทอดพระเนตรกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะ
ยืนอยู่ในสมรภูมิ และจะทรงเสวยน้ำล้างพระแสงขรรค์”
พระเจ้าทีฆีติตรัสว่า “แม่เทวี เรากำลังตกยาก จะได้กองทหารประกอบด้วย
องค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิและน้ำล้างพระแสงขรรค์จากที่ไหนเล่า”
พระราชเทวีกราบทูลว่า “ขอเดชะ ถ้าหม่อมฉันไม่ได้คงตายแน่”
[๔๕๙] ภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยนั้น พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต
กาสีราชเป็นพระสหายของพระเจ้าทีฆีติโกศลราช ลำดับนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราช
เสด็จเข้าไปหาพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช ณ ที่พัก แล้วตรัสกับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชดังนี้ว่า “เพื่อนเอ๋ย สหายหญิงของ
ท่านมีครรภ์ นางเกิดอาการแพ้ท้องเช่นนี้ คือ เมื่อยามรุ่งอรุณ เธอปรารถนาจะ
ชมกองทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนในสมรภูมิ และจะดื่มน้ำล้างพระ
แสงขรรค์”
ปุโรหิตกราบทูลว่า “ขอเดชะ ถ้าอย่างนั้น หม่อมฉันขอเฝ้าพระเทวีก่อน”
ลำดับนั้น พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้เสด็จไปหาพราหมณ์ปุโรหิต
ของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช ณ ที่พัก
ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้แลเห็นพระ
มเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงลุกจากอาสนะห่มผ้าเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางพระมเหสีแล้วอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า “ท่านผู้เจริญ พระเจ้า
โกศลประทับอยู่ในพระอุทรแน่แล้ว ท่านผู้เจริญ พระเจ้าโกศลประทับอยู่ในพระ
อุทรแน่แล้ว พระเทวีอย่าได้ท้อพระทัยเลย เมื่อยามรุ่งอรุณจะได้ทอดพระเนตรกอง
ทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิและจะได้เสวยน้ำล้างพระ
แสงขรรค์”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชเข้าไป
เฝ้าพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช ณ ที่ประทับ แล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอเดชะ
นิมิตทั้งหลายปรากฏอย่างนั้น คือ พรุ่งนี้ยามรุ่งอรุณ กองทหารประกอบด้วยองค์
๔ จะสวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิ และเจ้าพนักงานจะเอาน้ำล้างพระแสงขรรค์”
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชจึงรับสั่งกับเจ้าพนักงานว่า “พนาย พวก
เจ้าจงทำตามที่พราหมณ์ปุโรหิตสั่งการเถิด”
ภิกษุทั้งหลาย พระมเหสีของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงได้ทอดพระเนตรกอง
ทหารประกอบด้วยองค์ ๔ ผู้สวมเกราะยืนอยู่ในสมรภูมิ และได้เสวยน้ำล้างพระ
แสงขรรค์ในเวลารุ่งอรุณสมความปรารถนา ต่อมาเมื่อพระครรภ์แก่ครบกำหนดจึง
ประสูติพระโอรส พระประยูรญาติได้ขนานพระนามให้ว่า ทีฆาวุ ต่อมาไม่นานนัก
พระกุมารได้ทรงเจริญวัยรู้เดียงสา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าทีฆีติโกศลราชทรงมีดำริดังนี้ว่า “พระเจ้า
พรหมทัตกาสีราชนี้ได้ก่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ให้แก่เรามากมาย ได้ช่วงชิงเอากองทหาร
พาหนะ ชนบท คลังอาวุธยุทโธปกรณ์ตลอดถึงคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเรา
ไป ถ้าท้าวเธอจะทรงสืบทราบถึงพวกเรา จะรับสั่งให้ประหารชีวิตหมดทั้ง ๓ คนแน่
อย่ากระนั้นเลย เราควรให้พ่อทีฆาวุกุมารหลบอยู่นอกเมือง” แล้วได้ให้ทีฆาวุกุมาร
หลบอยู่นอกเมือง ทีฆาวุกุมารอาศัยอยู่นอกเมืองไม่นานก็ได้ศึกษาศิลปวิทยาจบทุก
สาขา
[๔๖๐] ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ช่างกัลบกของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้
สวามิภักดิ์อยู่ในสำนักของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราช เขาได้เห็นพระเจ้าทีฆีติโกศลราช
พร้อมกับพระมเหสีทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก
ประทับอยู่ในบ้านช่างหม้อซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่งในกรุงพาราณสี จึงได้เข้าไปเฝ้า
พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชแล้วกราบทูลว่า “ขอเดชะ พระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมด้วย
พระมเหสีทรงปลอมแปลงพระองค์มิให้ใครรู้จัก ทรงนุ่งห่มเยี่ยงปริพาชก ประทับอยู่
ในบ้านช่างหม้อซึ่งตั้งอยู่ชายแดนแห่งหนึ่งในกรุงพาราณสี”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชจึงรับสั่งเจ้าพนักงานว่า
“พนาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปจับพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมด้วยพระมเหสีมา”
พวกเจ้าพนักงานกราบทูลรับสนองพระดำรัส แล้วไปจับพระเจ้าทีฆีติโกศลราช
พร้อมพระมเหสีมาถวาย
พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชรับสั่งเจ้าพนักงานว่า “พวกเจ้าจงเอาเชือกที่เหนียวแน่น
มัดพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อมกับพระมเหสี มัดพระพาหาไพล่หลังให้แน่นกล้อน
พระเกศาแล้วพาตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทุกแห่งพร้อมกับตีกลองให้ดัง สนั่น
พาออกไปทางประตูด้านทิศทักษิณแล้วบั่นร่างออกเป็น ๔ ท่อนวางเรียงไว้ในหลุมทั้ง
๔ ทิศทางด้านทิศทักษิณแห่งเมือง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย พวกเจ้าพนักงานทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วได้เอาเชือกที่
เหนียวแน่นมัดพระเจ้าทีฆีติพร้อมกับพระมเหสี มัดพระพาหาไพล่หลังให้แน่น กล้อน
พระเกศาแล้วพาตระเวนไปตามถนน ตามตรอกทุกแห่งพร้อมกับตีกลองให้ดังสนั่น
เวลานั้น ทีฆาวุราชกุมารทรงดำริดังนี้ว่า “นานแล้วที่เราได้เยี่ยมพระชนกชนนี
อย่ากระนั้นเลย เราควรไปเยี่ยมท่านทั้งสอง” จึงเดินทางเข้ากรุงพาราณสี ได้ทอด
พระเนตรเห็นเจ้าพนักงานเอาเชือกอย่างเหนียวมัดพระชนกชนนี มัดพระพาหาไพล่
หลังให้แน่น กล้อนพระเกศาแล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอกทุกแห่งพร้อมกับ
ตีกลองให้ดังสนั่น จึงเสด็จเข้าไปใกล้พระชนกชนนี
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าทีฆีติโกศลราชทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุกุมารดำเนินมา
แต่ไกลจึงได้ตรัสดังนี้ว่า “พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อม
ไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร”
เมื่อพระเจ้าทีฆีติโกศลราชตรัสอย่างนี้ พวกเจ้าพนักงานได้กราบทูลดังนี้ว่า
“พระเจ้าทีฆีติโกศลราชพระองค์นี้ทรงวิกลจริตจึงบ่นเพ้อ ใครคือทีฆาวุของพระเจ้า
ทีฆีติโกศลราชนี้ พระองค์ตรัสกับใครอย่างนี้ว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว
อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร”
พระเจ้าทีฆีติโกศลราชจึงตรัสตอบว่า “เราไม่ได้วิกลจริตบ่นเพ้อ ผู้ใดรู้แจ้ง
ผู้นั้นจะเข้าใจ”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ พระเจ้าทีฆีติโกศลราชได้ตรัสกะทีฆาวุกุมารดังนี้ว่า “พ่อทีฆาวุ
เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้
ด้วยการไม่จองเวร”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ พวกเจ้าพนักงานก็ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระเจ้า
ทีฆีติโกศลราชพระองค์นี้ทรงวิกลจริตจึงบ่นเพ้อ ใครคือทีฆาวุของพระเจ้าทีฆีติโกศล
ราชนี้ พระองค์ตรัสกับใครอย่างนี้ว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น
เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
พระเจ้าทีฆีติโกศลราชก็ยังคงตรัสว่า “เราไม่ได้วิกลจริตบ่นเพ้อ ผู้ใดรู้แจ้ง ผู้นั้น
จะเข้าใจ”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกเจ้าพนักงานได้นำพระเจ้าทีฆีติโกศลราชพร้อม
กับพระมเหสีตระเวนไปตามถนนตามตรอกทุกแห่งแล้วให้ออกไปทางประตูด้านทิศ
ทักษิณแล้วบั่นพระกายเป็น ๔ ท่อนแล้ววางเรียงไว้ในหลุมทั้ง ๔ ทิศทางด้านทิศ
ทักษิณแห่งเมือง วางยามคอยระวังเหตุการณ์ไว้แล้วพากันกลับ
ต่อมา ทีฆาวุกุมารลอบเสด็จเข้าไปยังกรุงพาราณสี นำสุรามาเลี้ยงพวกอยู่ยาม
เมื่อพวกยามเมาฟุบลง จึงจัดหาฟืนมาวางเรียงกันแล้วหาไม้มาสร้างจิตกาธานยก
พระบรมศพของพระชนกชนนีขึ้นสู่จิตกาธาน ถวายพระเพลิงแล้วประนมพระหัตถ์
ทำประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบ
[๔๖๑] ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชประทับอยู่ชั้นบน
ปราสาท ทอดพระเนตรเห็นทีฆาวุกุมารกำลังประนมพระหัตถ์ทำประทักษิณจิตกาธาน
๓ รอบ จึงทรงดำริดังนี้ว่า “พนักงานผู้นั้นคงเป็นญาติหรือคนร่วมสายโลหิตของ
พระเจ้าทีฆีติโกศลราชแน่ น่ากลัวจะก่อความพินาศแก่เรา ช่างไม่มีใครบอกเราเลย”
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ทีฆาวุกุมารเสด็จหลบเข้าป่า ทรงกันแสงด้วยความ
โศกเศร้าพระทัย ทรงซับน้ำพระเนตรแล้วเสด็จเข้ากรุงพาราณสี ถึงโรงช้างใกล้
พระบรมมหาราชวัง ตรัสแก่นายหัตถาจารย์ดังนี้ว่า “ท่านอาจารย์ ผมอยากเรียน
ศิลปวิทยา”
นายหัตถาจารย์ตอบว่า “ถ้าอย่างนั้น เชิญพ่อหนุ่มมาเรียนเถิด”
เช้ามืดวันหนึ่ง ทีฆาวุกุมารทรงตื่นบรรทม ทรงขับร้องดีดพิณคลอเสียงเจื้อย
แจ้วอยู่ที่โรงช้าง พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงตื่นบรรทมเวลานั้นพอดี ได้ทรงสดับ
เสียงเพลงและเสียงพิณที่ดังแว่วมาทางโรงช้าง จึงตรัสถามพวกเจ้าพนักงานว่า “ใคร
กันตื่นแต่เช้าขับร้องดีดพิณแว่วมาทางโรงช้าง”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
พวกเจ้าพนักงานกราบทูลว่า “ขอเดชะ ชายหนุ่มศิษย์ของนายหัตถาจารย์
คนโน้นตื่นแต่เช้า ขับร้องดีดพิณคลอเสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้าง”
พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสว่า “ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงพาชายหนุ่มมาเฝ้า”
พวกเจ้าพนักงานทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว พาทีฆาวุกุมารมาเฝ้า
ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสถามทีฆาวุกุมารดังนี้ว่า “พ่อหนุ่ม
เธอตื่นแต่เช้า ขับร้องดีดพิณคลอเสียงเจื้อยแจ้วอยู่ที่โรงช้างหรือ”
ทีฆาวุกุมารกราบทูลว่า “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ท้าวเธอตรัสว่า “ถ้าเช่นนั้น เธอจงขับร้องดีดพิณไปเถิด”
ทีฆาวุกุมารกราบทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้ว ปรารถนาจะให้ทรงโปรดจึง
ขับร้องและดีดพิณด้วยเสียงอันไพเราะ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้ตรัสกับทีฆาวุกุมารดังนี้
ว่า “พ่อหนุ่ม เธอจงอยู่รับใช้เราเถิด”
ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วจึงได้ประพฤติทำนองตื่นก่อนนอนทีหลัง
คอยเฝ้าปรนนิบัติ ทำให้ถูกพระอัธยาศัย พูดไพเราะ
ภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงแต่งตั้งทีฆาวุกุมารไว้
ในตำแหน่งมหาดเล็กคนสนิทภายใน
[๔๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ต่อมา พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสกับทีฆาวุกุมาร
ดังนี้ว่า “พ่อหนุ่ม เธอจงเทียมรถ พวกเราจะไปล่าเนื้อ”
ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วจัดเทียมรถไว้ได้กราบทูลว่า “ขอเดชะ
รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว เวลานี้ขอได้ทรงโปรดทราบเวลาอันควรเถิด”
ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชเสด็จขึ้นราชรถ ทีฆาวุกุมารขับราชรถ
แยกไปทางหนึ่งจากกองทหาร เมื่อท้าวเธอเสด็จไปไกลจึงตรัสกับทีฆาวุกุมารว่า
“พ่อหนุ่ม เธอจงจอดรถ เราเหน็ดเหนื่อยจะนอนพัก”
ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วจอดราชรถนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชทรงพาดพระเศียร
บรรทมอยู่บนตักของทีฆาวุกุมารเพราะทรงเหน็ดเหนื่อยมา เพียงครู่เดียวก็บรรทม
หลับสนิท
ขณะนั้น ทีฆาวุกุมารได้ทรงดำริดังนี้ว่า “พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชนี้แลทรง
ก่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่พวกเรามากมาย ทรงช่วงชิงกองทหาร พาหนะ ชนบท
คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเราไป ได้ปลงพระชนม์
ชีพของพระชนกชนนีของเราอีก บัดนี้เป็นเวลาที่เราพบคู่เวร” จึงชักพระแสงขรรค์
ออกจากฝัก
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ทีฆาวุกุมารได้ทรงดำริดังนี้ว่า “พระชนกได้ตรัสสั่ง
เราไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อม
ไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระดำรัส
สั่งของพระชนกนั้นไม่ควรเลย” จึงสอดพระแสงขรรค์กลับเข้าฝักตามเดิม
ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ
แม้ครั้งที่ ๓ ทีฆาวุกุมารก็ทรงดำริดังนี้ว่า “พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชนี้แลทรง
ก่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่พวกเรามากมาย ทรงช่วงชิงกองทหาร พาหนะ ชนบท
คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกเราไป ได้ปลงพระชนม์ชีพ
ของพระชนกชนนีของเราอีก บัดนี้เป็นเวลาที่เราพบคู่เวร” จึงชักพระแสงขรรค์ออก
จากฝัก
ภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ทีฆาวุกุมารได้ทรงดำริดังนี้ว่า “พระชนกได้ตรัส
สั่งเราไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘พ่อทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวร
ย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับได้ด้วยการไม่จองเวร การที่เราจะละเมิดพระ
ดำรัสสั่งของพระชนกนั้นไม่ควรเลย” จึงสอดพระแสงขรรค์กลับเข้าฝักตามเดิม
ภิกษุทั้งหลาย พอดีกับที่พระเจ้าพรหมทัตทรงสะดุ้งพระทัย หวาดหวั่น รีบ
เสด็จลุกขึ้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ลำดับนั้น ทีฆาวุกุมารทูลถามพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชดังนี้ว่า “ขอเดชะ
เพราะอะไรพระองค์จึงทรงสะดุ้งพระทัย หวาดหวั่น รีบเสด็จลุกขึ้น”
ท้าวเธอตรัสตอบว่า “พ่อหนุ่ม ฉันฝันว่าทีฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติ
โกศลราชฟันฉันด้วยพระแสงขรรค์ ณ ที่นี้ ดังนั้นฉันจึงตกใจสะดุ้ง หวาดหวั่น รีบ
ลุกขึ้น”
ทีนั้น ทีฆาวุกุมารจับพระเศียรของพระเจ้าพรหมทัตกาสีราชด้วยพระหัตถ์ซ้าย
ชักพระแสงขรรค์ด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วกล่าวขู่ว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้านี่
แหละคือทีฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น พระองค์ทรงก่อสิ่งที่มิใช่
ประโยชน์แก่พวกข้าพระองค์มากมาย ทรงช่วงชิงกองทหาร พาหนะ ชนบท
คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และคลังพืชพันธุ์ธัญญาหารของพวกข้าพระองค์ไป มิหนำซ้ำ
ยังปลงพระชนม์ชีพพระชนกชนนีของข้าพระองค์อีก เวลานี้เป็นเวลาที่ข้าพระองค์ได้
เจอคู่เวร”
พระเจ้าพรหมทัตได้ซบพระเศียรลงแทบบาทของทีฆาวุกุมาร ตรัสอ้อนวอนว่า
“พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิตแก่ฉันเถิด พ่อทีฆาวุ พ่อจงให้ชีวิตแก่ฉันเถิด”
ทีฆาวุกุมารกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่อาจจะถวายชีวิตแด่สมมติเทพได้ องค์
สมมติเทพต่างหากควรพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระองค์”
ท้าวเธอตรัสว่า “พ่อทีฆาวุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ชีวิตฉัน และฉันก็ให้ชีวิต
แก่เธอ”
ดังนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชและทีฆาวุกุมารจึงต่างได้ให้ชีวิตแก่กันและกัน
จับพระหัตถ์กันและได้สาบานเพื่อจะไม่ทำร้ายกันและกัน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้ตรัสกับทีฆาวุกุมารดัง
นี้ว่า “พ่อทีฆาวุ ถ้าอย่างนั้นเธอจงเทียมรถกลับกันเถอะ”
ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุกุมารทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเทียมรถได้กราบทูลว่า
“ขอเดชะ รถพระที่นั่งเทียมเสร็จแล้ว บัดนี้พระองค์โปรดทรงทราบเวลาอันควรเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ท้าวเธอเสด็จขึ้นราชรถแล้ว ทีฆาวุกุมารขับราชรถไปไม่นานก็มาพบกองทหาร
เมื่อเสด็จเข้ากรุงพาราณสีแล้ว รับสั่งให้เรียกประชุมอมาตย์ราชบริษัทแล้วตรัสถาม
ว่า “ถ้าพวกท่านพบทีฆาวุกุมารโอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชจะทำอะไรแก่เขา”
อมาตย์บางพวกกราบทูลอย่างนี้ว่า “ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดมือ
ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดเท้า ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดทั้งมือและเท้า
ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดหู ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดจมูก ขอเดชะ
พวกข้าพระองค์จะตัดทั้งหูและจมูก ขอเดชะ พวกข้าพระองค์จะตัดศีรษะ”
พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสว่า “นาย ชายหนุ่มผู้นี้แล คือ ทีฆาวุกุมาร
โอรสของพระเจ้าทีฆีติโกศลราชคนนั้น ใครจะทำร้ายชายหนุ่มคนนี้ไม่ได้ เขาให้ชีวิต
แก่เราและเราก็ได้ให้ชีวิตแก่เขา”
[๔๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชได้ตรัสกับทีฆาวุ
กุมารดังนี้ว่า “พ่อทีฆาวุ คำสั่งที่พระชนกของเธอได้ตรัสไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘พ่อ
ทีฆาวุ เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว อย่าเห็นแก่สั้น เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรแต่ระงับ
ได้ด้วยการไม่จองเวร’ พระชนกของเธอตรัสไว้หมายความว่าอย่างไร”
ทีฆาวุกุมารกราบทูลว่า “ขอเดชะ คำสั่งที่พระชนกของข้าพระองค์ตรัสไว้เมื่อ
ใกล้จะสวรรคตว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว’ นี้หมายความว่า ‘อย่าได้จองเวรให้ยืดเยื้อ’
ดังนั้น พระชนกของข้าพระองค์จึงตรัสไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่ยาว’
คำสั่งที่พระชนกของข้าพระองค์ตรัสไว้อีกว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น’ นี้หมายความ
ว่า ‘เจ้าอย่าแตกร้าวจากมิตรเร็วนัก’ ดังนั้น พระชนกของข้าพระองค์จึงตรัสไว้เมื่อ
ใกล้จะสวรรคตว่า ‘เจ้าอย่าเห็นแก่สั้น’
คำสั่งที่พระชนกของข้าพระองค์ตรัสไว้อีกว่า ‘เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร
แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จองเวร’ นี้หมายความว่า ‘พระชนกชนนีของข้าพระองค์
ถูกพระองค์ปลงพระชนม์ชีพแล้ว ถ้าข้าพระองค์ปลงพระชนม์ชีพของพระองค์บ้าง
คนที่มุ่งประโยชน์แก่พระองค์ก็จะพึงฆ่าข้าพระองค์ คนที่มุ่งประโยชน์แก่ข้าพระองค์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
ก็จะพึงฆ่าคนพวกนั้นอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ เวรนั้นไม่พึงระงับด้วยการจองเวร แต่มา
บัดนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานชีวิตแก่ข้าพระองค์ และข้าพระองค์
ก็ได้ทูลถวายพระชนมชีพแก่พระองค์ จึงเป็นอันว่าเวรนั้นระงับแล้วด้วยการไม่จองเวร
ดังนั้น พระชนกของข้าพระองค์จึงตรัสไว้เมื่อใกล้จะสวรรคตว่า ‘เวรย่อมไม่ระงับด้วย
การจองเวร แต่ย่อมระงับได้ด้วยการไม่จองเวร”
ภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าพรหมทัตกาสีราชตรัสว่า “น่าอัศจรรย์จริง
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นเรื่องที่ไม่เคยมี ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ทีฆาวุกุมารผู้นี้
เฉลียวฉลาดจึงเข้าใจความหมายแห่งคำพูดที่พระชนกตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดาร”
แล้วได้โปรดพระราชทานคืนกองทหาร พาหนะ ชนบท คลังอาวุธยุทโธปกรณ์และ
คลังพืชพันธุ์ธัญญาหารอันเป็นพระราชสมบัติของพระชนกและได้พระราชทานพระ
ราชธิดาให้อภิเษกสมรสด้วย
ภิกษุทั้งหลาย ขันติและโสรัจจะเช่นนี้ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระราชาเหล่านั้นผู้ทรง
อาญาทรงถือศัสตราวุธ การที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยอันเรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้
จะพึงมีความอดทนและความสงบเสงี่ยมนั้น ก็จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้แน่
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “อย่าเลย ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธออย่าบาดหมาง อย่าทะเลาะ อย่าขัดแย้ง อย่าวิวาทกันเลย”
ภิกษุอธรรมวาทีรูปนั้นก็ยังกราบทูลอีกเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้ทรงเป็นธรรมสามีทรงโปรดรอไปก่อน ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อยประกอบ
ตามสุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าจะปรากฏเพราะความบาด
หมาง เพราะความทะเลาะ เพราะความขัดแย้ง เพราะการวิวาทนั้นเอง พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า “พวกโมฆบุรุษเหล่านี้ดื้อรั้นนัก จะทำ
ให้สามัคคีกันไม่ใช่ง่าย” แล้วทรงลุกจากอาสนะแล้วเสด็จจากไป
ทีฆาวุภาณวารที่ ๑ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๒. ทีฆาวุวัตถุ
[๔๖๔] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลัง
เสวยเสร็จแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวรประทับยืนท่ามกลางสงฆ์ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
ภิกษุมีเสียงดังเป็นเสียงเดียวกัน ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น
ไม่มีเลยสักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกันก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น
พวกเธอขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต เจ้าคารม พูดได้
ตามที่ปรารถนา จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ
คนเหล่าใดผูกใจเจ็บว่า
“มันได้ด่าเรา มันได้ทำร้ายเรา
มันได้ชนะเรา มันได้ลักของของเรา”
เวรของคนเหล่านั้น ย่อมระงับไม่ได้เลย
ส่วนคนเหล่าใดไม่ผูกใจเจ็บว่า
“มันได้ด่าเรา มันได้ทำร้ายเรา
มันได้ชนะเรา มันได้ลักของของเรา”
เวรของเขาเหล่านั้น ย่อมระงับได้
ไม่ว่ายุคไหน ๆ ในโลกนี้
เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร
แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร
นี้เป็นของเก่า๑
คนเหล่าอื่นไม่รู้ชัดว่า
“พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ทีนี้
ส่วนคนเหล่าใด ในหมู่นั้นรู้ชัด

เชิงอรรถ :
๑ เป็นของเก่า หมายถึงเป็นข้อปฏิบัติสืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพ
(ขุ.ธ.อ. ๑/๔/๔๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๓. พาลกโลณกคมนกถา
ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น
พวกคนที่บั่นกระดูก ฆ่า ลักทรัพย์ คือ โคและม้า
ถึงจะช่วงชิงแว่นแคว้นกันก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก
ไฉนพวกเธอจึงคบหากันไม่ได้เล่า
ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี๑ เป็นปราชญ์
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น
ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว
เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
ประพฤติอยู่พระองค์เดียว
และเหมือนช้างมาตังคะทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น
การเที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า
เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
บุคคลนั้นพึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่ทำบาป
เหมือนช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อยอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น

๒๗๓. พาลกโลณกคมนกถา
ว่าด้วยการเสด็จไปพาลกโลณกคาม

เรื่องท่านพระภคุอยู่ ณ พาลกโลณกคาม
[๔๖๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์นั่นแหละ ตรัสพระ
คาถาเหล่านี้แล้วเสด็จไปทางพาลกโลณกคาม

เชิงอรรถ :
๑ สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยนิโรธสมาบัติ (ขุ.จู.๓๐/๑๓๒/๒๖๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๔. ปาจีนวังสทายคมนกถา
สมัยนั้น ท่านพระภคุพักอยู่ที่พาลกโลณกคาม ท่านพระภคุได้เห็นพระผู้มี
พระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกลจึงได้จัดที่ประทับ ตั้งน้ำล้างพระบาท ตั่งรองพระบาท
กระเบื้องเช็ดพระบาท ไปต้อนรับเสด็จแล้วรับบาตรและจีวร
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูไว้แล้วทรงล้างพระบาท ฝ่ายท่าน
พระภคุถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระภคุผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “ภิกษุ
เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ บิณฑบาตไม่ลำบากหรือ”
ท่านพระภคุกราบทูลว่า “ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นอยู่ได้
พระพุทธเจ้าข้า และข้าพระองค์บิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ท่านพระภคุเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ
เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุก
จากอาสนะ เสด็จไปทางปาจีนวังสทายวัน

๒๗๔. ปาจีนวังสทายคมนกถา
ว่าด้วยการเสด็จไปปาจีนวังสทายวัน

เรื่องท่านพระอนุรุทธะท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ
[๔๖๖] สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละ
พักอยู่ที่ปาจีนวังสทายวัน
คนเฝ้าสวนได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่สมณะ ท่านอย่าเข้ามาสู่สวนนี้ เพราะในที่นี้มีกุลบุตร ๓
คนต่างกำลังมุ่งประโยชน์ของตนอยู่ อย่าได้ทำความไม่สงบแก่พวกท่านเลย”
ท่านพระอนุรุทธะได้ยินเสียงคนเฝ้าสวนทูลปรึกษากับพระผู้มีพระภาค จึงได้กล่าว
กับคนเฝ้าสวนดังนี้ว่า “นี่แน่คนเฝ้าสวน ท่านอย่าห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระองค์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๔. ปาจีนวังสทายคมนกถา
เป็นพระศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว” แล้วเข้าไปหาท่านพระนันทิยะและ
ท่านพระกิมพิละ บอกว่า “พวกท่านจงรีบออกไป พระบรมศาสดาของพวกเรา เสด็จ
มาถึงแล้ว”
ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละพากัน
ไปต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่ง
ปูอาสนะ รูปหนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท ตั่งรองพระบาท กระเบื้องเช็ดพระบาท
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้วให้ล้างพระบาท ท่านเหล่านั้น
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถาม
ท่านพระอนุรุทธะผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่สมควรว่า “อนุรุทธะ พวกเธอยังสบายดีหรือ ยัง
พอเป็นอยู่ได้หรือ บิณฑบาตไม่ลำบากหรือ”
พวกพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “พวกข้าพระองค์ยังสบายดี พระพุทธเจ้าข้า ยัง
พอเป็นอยู่ได้ พระพุทธเจ้าข้า และบิณฑบาตไม่ลำบาก พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุรุทธะ นันทิยะและกิมพิละ ก็พวกเธอยังพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่
ทะเลาะกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันดุจนมสดกับน้ำ มองหน้ากันด้วยความชื่นบาน
อยู่หรือ”
“พวกข้าพระองค์ยังพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่ทะเลาะกัน เป็นน้ำหนึ่ง
ใจเดียวกันดุจนมสดกับน้ำ มองหน้ากันด้วยความชื่นบานอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
“อนุรุทธะ นันทิยะ และกิมพิละ ก็พวกเธอยังพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันดุจนมสดกับน้ำ มองหน้ากันด้วยความชื่นบาน
อยู่ด้วยวิธีใด”
ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์มี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อน
พรหมจารีเช่นนี้’
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งเมตตากายกรรมทั้งต่อหน้าและลับหลัง
เข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรมทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งเมตตามโนกรรมทั้งต่อหน้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๔. ปาจีนวังสทายคมนกถา
และลับหลังในท่านเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอเราพึงวาง
จิตตนไปตามอำนาจจิตของท่านทั้งสองนี้เท่านั้น’ แล้ววางจิตตนให้เป็นไปตามอำนาจ
จิตของท่านเหล่านี้แล กายของพวกข้าพระพุทธเจ้าต่างกันก็จริงแล แต่จิตเป็นเหมือน
ดวงเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า”
ฝ่ายท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เป็นลาภของเราหนอ
เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจารีเช่นนี้’
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งเมตตากายกรรมทั้งต่อหน้าและลับหลัง
เข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรมทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งเมตตามโนกรรมทั้งต่อหน้า
และลับหลังในท่านเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ไฉนหนอเราพึงวาง
จิตตนไปตามอำนาจจิตของท่านเหล่านี้เท่านั้น’ แล้ววางจิตตนให้เป็นไปตามอำนาจ
จิตของท่านเหล่านี้แล กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันก็จริงแล แต่จิตเป็นเหมือน
ดวงเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน
ไม่ทะเลาะกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันดุจนมสดกับน้ำ มองหน้ากันด้วยความชื่นบาน
ด้วยวิธีอย่างนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ก็พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส
มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่หรือ”
พวกพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ
เพียรเผากิเลส มีใจเด็ดเดียวอยู่ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส
มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ด้วยวิธีใดเล่า”
พวกพระอนุรุทธะกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ในเรื่องนี้ บรรดาพวกข้าพระองค์
ผู้ที่กลับจากบิณฑบาตมาถึงก่อนก็ปูอาสนะ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้อง
เช็ดเท้า ล้างสำรับกับข้าวแล้วตั้งไว้ ตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๕. ปาริเลยยกคมนกถา
ผู้กลับจากบิณฑบาตภายหลัง ถ้ามีอาหารที่เป็นเดน ถ้าต้องการก็ฉันได้ ถ้า
ไม่ต้องการก็เททิ้งในที่ปราศจากของเขียวสด หรือล้างในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ เธอเก็บ
อาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ล้างสำรับกับข้าวแล้วเก็บไว้
เก็บน้ำดื่ม น้ำใช้กวาดโรงฉัน
ผู้ใดเห็นหม้อน้ำดื่ม หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำในวัจกุฎีว่างเปล่าก็ตักน้ำตั้งไว้
ถ้าเธอไม่อาจทำได้ พวกข้าพระองค์ก็กวักมือเรียกเพื่อนมาแล้วช่วยกันตักยกเข้าไป
ตั้งไว้ แต่ไม่ได้บ่นว่าเพราะเรื่องนั้นเลย และทุก ๆ ๕ วันพวกข้าพระองค์จะนั่งประชุม
สนทนาธรรมตลอดคืนยันรุ่ง
พวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่
ด้วยวิธีนี้แล พระพุทธเจ้าข้า”

๒๗๕. ปาริเลยยกคมนกถา
ว่าด้วยการเสด็จไปป่าปาริไลยกะ

เรื่องพญาช้างปาริไลยกะ
[๔๖๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระ
นันทิยะ และท่านพระกิมพิละเห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ
เสด็จจาริกไปทางป่าปาริไลยกะ เสด็จจาริกไปตามลำดับ จนถึงป่าปาริไลยกะแล้ว
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ควงไม้รัง ในราวป่ารักขิตวัน เขตป่าปาริไลยกะนั้น
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดความคิดคำนึงใน
พระทัยอย่างนี้ว่า “เมื่อก่อนเราคลุกคลีกับพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีที่ก่อความบาด
หมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ อยู่ไม่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๕. ปาริเลยยกคมนกถา
ผาสุกเลย เวลานี้เราว่างเว้นจากพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเหล่านั้น ที่ก่อความบาด
หมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ อยู่ผู้
เดียวไม่มีเพื่อน อยู่ผาสุกดี”
แม้พญาช้างตัวหนึ่งอยู่คลุกคลีกับพวกช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และ
ลูกช้างเล็ก กินหญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่พญาช้างนั้นหักลงมากองไว้ ช้างเหล่านั้น
ก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่น ๆ เมื่อพญาช้างนั้นเดินลงหรือขึ้นจากท่าน้ำ ช้างพังก็เดิน
เสียดสีกายไป
ต่อมา พญาช้างนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เราอยู่ปะปนกับพวกช้างพลาย
ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่เราหักลงมา
กองไว้ ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่น ๆ เมื่อเราเดินลงหรือขึ้นจากท่าน้ำ
ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป อย่ากระนั้นเลย เราพึงหลีกออกจากโขลงอยู่แต่ผู้เดียว”
แล้วได้หลีกออกจากโขลงเดินไปทางเขตป่าปาริไลยกะ ราวป่ารักขิตะ ควงไม้รัง เข้า
ไปหาพระผู้มีพระภาคแล้วใช้งวงตักน้ำดื่มน้ำใช้เข้าไปตั้งไว้เพื่อพระผู้มีพระภาค และ
ปรับพื้นที่ให้ปราศจากของเขียวสด
ครั้งนั้น พญาช้างนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “เมื่อก่อนเราอยู่ปะปนกับพวก
ช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้างใหญ่ และลูกช้างเล็ก กินหญ้ายอดด้วน ส่วนกิ่งไม้ที่เรา
หักลงมากองไว้ช้างเหล่านั้นก็กินหมด ได้ดื่มแต่น้ำขุ่น ๆ เมื่อเราเดินลงหรือขึ้นจาก
ท่าน้ำ ช้างพังก็เดินเสียดสีกายไป เวลานี้เราว่างเว้นจากช้างพลาย ช้างพัง ลูกช้าง
ใหญ่ และลูกช้างเล็กอยู่แต่ผู้เดียวไม่มีเพื่อน อยู่ผาสุกดี”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความสงัดของพระองค์ และทรงทราบ
ความคิดคำนึงในใจของพญาช้างนั้นด้วยพระทัย จึงทรงเปล่งพระอุทานในขณะนั้นว่า
“จิตของพญาช้างผู้มีงางามดุจงอนรถนั้น
เสมอกับจิตของพระพุทธเจ้า เพราะอยู่ผู้เดียวยินดีในป่าเหมือนกัน”๑

เชิงอรรถ :
๑ ขุ.อุ. ๒๕/๓๕/๑๕๐

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๕. ปาริเลยยกคมนกถา
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าปาริไลยกะตามพระอัธยาศัยแล้วเสด็จจาริก
ไปทางกรุงสาวัตถี เสด็จจาริกไปตามลำดับ ลุถึงกรุงสาวัตถีแล้ว ทราบว่า พระผู้มี
พระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตกรุงสาวัตถีนั้น
ครั้งนั้น พวกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีปรึกษากันว่า “พวกภิกษุชาว
กรุงโกสัมพีเหล่านี้ทำความพินาศใหญ่โตให้พวกเรา พระผู้มีพระภาคถูกภิกษุพวกนี้
รบกวนจึงเสด็จหลีกไป เอาละ พวกเราจะไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลีกรรม
สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่คบหา ไม่บูชาภิกษุชาวเมือง
โกสัมพีพวกนี้ แม้พวกเธอเข้ามาบิณฑบาตก็จะไม่ถวายก้อนข้าว ท่านพวกนี้ เมื่อ
ถูกพวกเราไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่คบหา ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะ
อย่างนี้ก็จะพากันหลีกไป สึกไปหรือจะให้พระผู้มีพระภาคทรงโปรด”
ครั้งนั้น อุบาสกและอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ ไม่ทำอัญชลี
กรรม สามีจิกรรม ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่คบหา ไม่บูชาพวกภิกษุ
ชาวกรุงโกสัมพี แม้พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเข้ามาบิณฑบาตก็ไม่ถวายก้อนข้าว
ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีถูกอุบาสกอุบาสิกาชาวกรุงโกสัมพีไม่สักการะ
ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่คบหา ไม่บูชา เป็นผู้ไม่มีสักการะ พูดกันอย่างนี้ว่า “ท่าน
ทั้งหลาย เอาเถิด พวกเราพึงเดินทางไปกรุงสาวัตถีแล้วระงับอธิกรณ์นี้ใน สำนักของ
พระผู้มีพระภาค”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
ว่าด้วยเรื่องที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ๑๘ ประการ

เรื่องทรงแสดงเหตุแห่งความแตกแยก
แก่ท่านพระสารีบุตร ณ กรุงสาวัตถี
[๔๖๘] ต่อมา พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีเก็บเสนาสนะแล้วถือบาตรและจีวร
พากันเดินทางไปกรุงสาวัตถี
ท่านพระสารีบุตรได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง
เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่าพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมา
สู่กรุงสาวัตถี ข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพวกเธออย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “สารีบุตร เธอจงวางตนอยู่อย่างชอบธรรมเถิด”
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า ชอบธรรม
หรือไม่ชอบธรรม พระพุทธเจ้าข้า”

ลักษณะของภิกษุผู้เป็นอธรรมวาที ๑๘ อย่าง๑
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “สารีบุตร เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘
ประการ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่า เป็นธรรม
๒. แสดงธรรมว่า เป็นอธรรม

เชิงอรรถ :
๑ วิ.จู. ๗/๓๕๒/๑๔๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
๓. แสดงสิ่งมิใช่วินัยว่า เป็นวินัย
๔. แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้
ได้กล่าวไว้
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่าตถาคตได้ประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตประพฤติมาว่าตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่าตถาคตได้บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่าเป็นอาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่าเป็นอนาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติเบา
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
สารีบุตร เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล

ลักษณะของภิกษุผู้เป็นธรรมวาที ๑๘ อย่าง
สารีบุตร เธอพึงรู้จักธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการ คือ ภิกษุในธรรม
วินัยนี้
๑. แสดงอธรรมว่าเป็นอธรรม
๒. แสดงธรรมว่าเป็นธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
๓. แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่ามิใช่วินัย
๔. แสดงวินัยว่าเป็นวินัย
๕. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ ไม่ได้กล่าวไว้ว่าตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้
ไม่ได้กล่าวไว้
๖. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่าตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้
๗. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตไม่ได้ประพฤติมาว่าตถาคตไม่ได้ประพฤติมา
๘. แสดงจริยาวัตรที่ตถาคตประพฤติมาว่าตถาคตได้ประพฤติมา
๙. แสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่าตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
๑๐. แสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่าตถาคตได้บัญญัติไว้
๑๑. แสดงอนาบัติว่าเป็นอนาบัติ
๑๒. แสดงอาบัติว่าเป็นอาบัติ
๑๓. แสดงอาบัติเบาว่าเป็นอาบัติเบา
๑๔. แสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติหนัก
๑๕. แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติที่มีส่วนเหลือ
๑๖. แสดงอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือว่าเป็นอาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
๑๗. แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติชั่วหยาบ
๑๘. แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าเป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
สารีบุตร เธอพึงรู้จักธรรมวาทีภิกษุด้วยวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล

เรื่องทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่อพวกภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท
พระเถระกราบทูลถามถึงวิธีปฏิบัติ
[๔๖๙] ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหากัสสปะ
ได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหากัจจานะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหา
โกฏฐิตะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระมหากัปปินะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
มหาจุนทะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระอนุรุทธะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระ
เรวตะได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระอุบาลีได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ ท่านพระอานนท์
ได้ทราบข่าวว่า ฯลฯ
ท่านพระราหุลได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง
เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมา
สู่กรุงสาวัตถี ข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อพวกเธออย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราหุล เธอจงวางตนอยู่อย่างชอบธรรมเถิด”
ท่านพระราหุลกราบทูลถามว่า “ข้าพระองค์จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า ชอบธรรม
หรือไม่ชอบธรรม พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ราหุล เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘
ประการ ฯลฯ ราหุล เธอพึงรู้จักอธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล
ราหุล เธอพึงรู้จักธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘ ประการ ฯลฯ ราหุล เธอ
พึงรู้จักธรรมวาทีภิกษุเพราะวัตถุ ๑๘ ประการนี้แล”

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลถามวิธีปฏิบัติ
[๔๗๐] พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพี
ผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่
ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถาม
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โคตมี บรรดาภิกษุทั้งฝ่ายธรรมวาทีและฝ่ายอธรรม
วาที เธอจงฟังธรรมในภิกษุทั้ง ๒ ฝ่าย ครั้นฟังแล้วจงพอใจความเห็น ความถูกใจ
ความชอบใจและความเชื่อถือของพวกภิกษุฝ่ายธรรมวาที อนึ่ง วัตรที่ภิกษุณีสงฆ์
พึงหวังจากภิกษุสงฆ์ทุกอย่างนั้นก็พึงหวังจากภิกษุฝ่ายธรรมวาทีเท่านั้น”

อนาถบิณฑิกคหบดีกราบทูลถามวิธีปฏิบัติ
[๔๗๑] อนาถบิณฑิกคหบดีได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อ
ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค
ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง
เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี ข้าพระองค์จะปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้น อย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ท่านจงถวายทานในภิกษุทั้งสองฝ่าย ครั้น
แล้วจงฟังธรรมในภิกษุทั้งสองฝ่าย แล้วจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ
และความเชื่อถือของพวกภิกษุฝ่ายธรรมวาทีเท่านั้น”

นางวิสาขามิคารมาตากราบทูลถามวิธีปฏิบัติ
[๔๗๒] นางวิสาขามิคารมาตาได้ทราบข่าวว่า “พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อ
ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ใน
สงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๖. อัฏฐารสวัตถุกถา
ดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ทราบว่าพวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง
ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลัง
เดินทางมาสู่กรุงสาวัตถี หม่อมฉันจะปฏิบัติต่อภิกษุเหล่านั้นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วิสาขา เธอจงถวายทานในภิกษุทั้งสองฝ่าย ครั้นแล้ว
จงฟังธรรมในภิกษุทั้งสองฝ่าย แล้วจงพอใจความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจและ
ความเชื่อถือของพวกภิกษุฝ่ายธรรมวาทีเท่านั้น”

เรื่องให้เสนาสนะที่ว่างแก่พวกภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท
[๔๗๓] ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีได้เดินทางไปโดยลำดับ จนถึงกรุง
สาวัตถี ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระ
พุทธเจ้าข้า ทราบว่า พวกภิกษุชาวกรุงโกสัมพีผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ
ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์เหล่านั้นกำลังเดินทาง มาสู่กรุง
สาวัตถี ข้าพระองค์จะจัดเสนาสนะต่อพวกเธออย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร เธอพึงให้เสนาสนะที่ว่าง”

เรื่องจัดเสนาสนะให้ว่าง
สำหรับพวกภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลถามว่า “ก็ถ้าไม่มีเสนาสนะว่าง จะปฏิบัติอย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอพึงจัดเสนาสนะให้ว่าง
แล้วให้ แต่เราไม่กล่าวว่า ‘พึงห้ามเสนาสนะแก่ภิกษุผู้มีพรรษามากโดยปริยายไร ๆ’
(เพราะ)ผู้ใดห้ามต้องอาบัติทุกกฏ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๗. โอสารณานุชานนา
เรื่องให้อามิสเท่า ๆ กัน
ท่านพระสารีบุตรกราบทูลถามว่า “ในอามิส จะปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร พึงแบ่งอามิสให้ภิกษุเท่า ๆ กันทุกรูป”

๒๗๗. โอสารณานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตรับเข้าหมู่ซึ่งภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
[๔๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมรูปหนึ่งกำลังพิจารณาพระธรรม
วินัยว่า “นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ เราต้องอาบัติ เราไม่ต้องอาบัติ
หามิได้ เราถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว เราไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ เราถูก
ลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่เสียหาย ควรแก่ฐานะ”
ลำดับนั้น ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุผู้ประพฤติตาม
กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ผมต้องอาบัติ
ผมไม่ต้องอาบัติหามิได้ ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม
หามิได้ ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่เสียหาย ควรแก่ฐานะ
เชิญพวกท่านมารับผมเข้าหมู่ด้วยเถิดขอรับ”
ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้นพา
ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมรูปนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ
นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ผมต้องอาบัติ ผมไม่ต้องอาบัติหามิได้ ผมถูกลงอุกเขปนีย
กรรมแล้ว ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรม
ที่ชอบธรรม ไม่เสียหาย ควรแก่ฐานะ เชิญพวกท่านมารับผมเข้าหมู่ด้วยเถิดขอรับ’
พวกข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๘. สังฆสามัคคีกถา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้
ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกลง
อุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ เธอถูกลง
อุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่เสียหาย ควรแก่ฐานะ เพราะเธอ
ต้องอาบัติ ถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้วและเห็นอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น พวกเธอ
จงรับภิกษุรูปนั้นเข้าหมู่เถิด”

๒๗๘. สังฆสามัคคีกถา
ว่าด้วยสังฆสามัคคี
[๔๗๕] ครั้งนั้นพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น
รับเธอผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเข้าหมู่แล้วเข้าไปหาพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่
อยู่กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท
ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้
เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติถูกลงอุกเขปนียกรรม
แล้ว เห็นอาบัติและสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับ
เรื่องนั้น”
ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ
ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความ
วิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำ
สงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติถูกลงอุกเขปนีย
กรรมแล้ว เห็นอาบัติและสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว เอาละ พวกเราจะทำสังฆสามัคคีเพื่อ
ระงับเรื่องนั้น’ พวกข้าพระพุทธเจ้าจะพึงปฏิบัติอย่างไร”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๘. สังฆสามัคคีกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติ ถูก
ลงอุกเขปนียกรรมแล้ว เห็นอาบัติและสงฆ์รับเข้าหมู่แล้ว ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงทำสังฆ
สามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น”

วิธีทำสังฆสามัคคีและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงทำสังฆสามัคคีอย่างนี้ คือ พวกภิกษุทั้งที่เป็นไข้และ
ไม่เป็นไข้พึงประชุมกันทุกรูป รูปไหนจะให้ฉันทะไม่ได้ จากนั้นภิกษุผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความ
ขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยก
แห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติ
ถูกลงอุกเขปนียกรรม เห็นอาบัติและสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว สงฆ์
พึงทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง
ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์
การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันได้มีแล้วเพราะเรื่องใด ภิกษุรูปนั้นผู้ต้องอาบัติ ถูกลง
อุกเขปนียกรรม เห็นอาบัติและสงฆ์เรียกเข้าหมู่แล้ว สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้น ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน
รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์ทำสังฆสามัคคีเพื่อระงับเรื่องนั้นแล้ว ความแตกแห่งสงฆ์ถูกกำจัดแล้ว
ความร้าวรานแห่งสงฆ์ถูกกำจัดแล้ว ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ถูกกำจัดแล้ว การทำ
สงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันถูกกำจัดแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
สงฆ์พึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในขณะนั้นทีเดียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๙. อุปาลิสังฆสามัคคีปุจฉา
๒๗๙. อุปาลิสังฆสามัคคีปุจฉา
ว่าด้วยพระอุบาลีกราบทูลถามถึงสังฆสามัคคี

เรื่องทรงแสดงสังฆสามัคคี ๒ อย่างแก่ท่านพระอุบาลี
[๔๗๖] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ ถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“พระพุทธเจ้าข้า ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความ
แตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็น
ต่าง ๆ กันมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ได้วินิจฉัย ยังไม่ได้สืบสวนเรื่องนั้นแล้วทำสังฆ
สามัคคี สังฆสามัคคีนั้นชอบธรรมหรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความขัดแย้ง
ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์
การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ยังไม่ได้วินิจฉัย ยังไม่ได้สืบสวน
เรื่องนั้นแล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้นไม่ชอบด้วยธรรม
ท่านพระอุบาลีกราบทูลถามว่า “พระพุทธเจ้าข้า ก็ความบาดหมาง ความ
ทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์
ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ได้
วินิจฉัย สืบสวนเรื่องนั้นแล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้นชอบด้วยธรรมหรือหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความ
ขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแบ่งแยก
แห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ได้วินิจฉัย สืบสวน
เรื่องนั้นแล้วทำสังฆสามัคคี สังฆสามัคคีนั้นชอบด้วยธรรม

สังฆสามัคคี ๒ อย่าง
ท่านพระอุบาลีกราบทูลถามว่า “สังฆสามัคคีมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๙. อุปาลิสังฆสามัคคีปุจฉา
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่าง คือ สังฆสามัคคี
ผิดไปจากอรรถ แต่ได้พยัญชนะ และสังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถและได้ทั้งพยัญชนะ
สังฆสามัคคีผิดไปจากอรรถแต่ได้พยัญชนะอย่างไรบ้าง คือ ความบาดหมาง
ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์
ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ไม่ได้
วินิจฉัย ไม่ได้สืบสวนเรื่องนั้นแล้วทำสังฆสามัคคี อย่างนี้เรียกว่าสังฆสามัคคีผิดไป
จากอรรถแต่ได้พยัญชนะ
สังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถและได้ทั้งพยัญชนะเป็นอย่างไร คือ ความบาดหมาง
ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่งสงฆ์
ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันย่อมมีเพราะเรื่องใด สงฆ์ได้
วินิจฉัยสืบสวนเรื่องนั้นแล้วทำสังฆสามัคคี อย่างนี้เรียกว่าสังฆสามัคคีได้ทั้งอรรถและ
ได้ทั้งพยัญชนะ
อุบาลี สังฆสามัคคีมี ๒ อย่างนี้แล

เรื่องไม่ถูกตำหนิโดยศีลอุบาลีคาถา
[๔๗๗] ลำดับนั้น ท่านพระอุบาลีลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้าง
หนึ่ง ประนมมือไปทางพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาดังนี้ว่า
[๔๗๘] พระอุบาลีกราบทูลถามว่า “เมื่อมีกิจการปรึกษา
การตีความและการวินิจฉัยความเรื่องวินัยเกิดขึ้นแก่สงฆ์
ในพระธรรมวินัยนี้ ภิกษุเช่นไรจึงจัดว่าเป็นผู้มีอุปการะมาก
และควรแก่การยกย่อง”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “เบื้องต้น ภิกษุมีศีลไม่ด่างพร้อย
มีมารยาทสงบเสงี่ยม ศัตรูตำหนิไม่ได้โดยธรรม
เพราะไม่มีความผิดที่จะตำหนิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๗๙. อุปาลิสังฆสามัคคีปุจฉา
เธอผู้เช่นนั้น ตั้งอยู่ในสีลวิสุทธิ กล้าหาญ พูดจาฉะฉาน
เข้าที่ประชุมก็ไม่หวาดหวั่น ไม่ประหม่า พูดมีเหตุผลไม่เสียความ
เมื่อเธอถูกถามปัญหาในที่ประชุมก็คงเป็นเช่นนั้น
ไม่นิ่งอึ้ง ไม่เก้อเขิน เป็นผู้ชำนาญการ พูดถูกกาล สามารถตอบได้
เป็นที่ชอบใจของวิญญูชน เคารพภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า
แกล้วกล้าในอาจริยวาทของตน วิพากษ์วิจารณ์ได้
พูดได้คล่อง สามารถจับข้อผิดพลาดของศัตรูได้
เป็นเหตุให้ศัตรูต้องพ่ายแพ้และมหาชนก็นิยม
เธอย่อมไม่ลบล้างความเชื่อคืออาจริยวาทของตน
สามารถในการแก้ปัญหา
สามารถทำงานทูตและรับทำกิจของสงฆ์
ดุจรับบิณฑบาตของที่มีคนนำมาบูชาฉะนั้น
เมื่อถูกสงฆ์ส่งไปเจรจาก็ไม่ทะนงตัวว่าตนทำได้
เพราะการทำหน้าที่เจรจานั้น
ภิกษุต้องอาบัติเพราะวัตถุมีประมาณเท่าใด
และการออกจากอาบัติย่อมมีด้วยวิธีใด
วิภังค์ทั้งสองนั้นมาแล้วด้วยดีแก่ภิกษุรูปนั้น
ผู้ซึ่งฉลาดในวิธีออกจากอาบัติ
อนึ่ง ภิกษุทำกรรมมีก่อความบาดหมางเป็นต้นเหล่าใด
ย่อมถึงการขับออกและถูกขับออกด้วยเรื่องเช่นใด
เธอฉลาดในวิภังค์ ย่อมเข้าใจวิธีการรับเข้าหมู่แม้นั้น
ที่ควรทำแก่ภิกษุผู้ประพฤติวัตรนั้นเสร็จแล้ว
เธอเคารพภิกษุทั้งหลายผู้มีพรรษามากกว่า
คือ ทั้งที่เป็นเถระ มัชฌิมะ และนวกะ
เป็นบัณฑิต ทำประโยชน์แก่มหาชนในโลกนี้
ภิกษุเช่นนี้จึงควรแก่การยกย่องในธรรมวินัยนี้แล”
โกสัมพิกขันธกะที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑๐. โกสัมพิกขันธกะ] ๒๘๐. รวมเรื่องที่มีในโกสัมพิกขันธกะ
๒๘๐. รวมเรื่องที่มีในโกสัมพิกขันธกะ
โกสัมพิกขันธกะ มี ๑๔ เรื่อง คือ
เรื่องสมเด็จพระชินวรประทับในกรุงโกสัมพี
ภิกษุทะเลาะวิวาทกันเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
และลงอุกเขปนียกรรมแก่กันเพราะเหตุเล็กน้อย
เรื่องพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำให้ภิกษุแสดงอาบัติ
เรื่องพวกภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
ทำอุโบสถภายในสีมา เรื่องท่านพระภคุอยู่ ณ พาลกโลณกคาม
เรื่องท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมพิละอยู่
ณ จีนวังสทายวัน เรื่องพญาช้างปาริไลยกะ เรื่องทรงแสดงเหตุแห่ง
ความแตกแยกแก่ท่านพระสารีบุตร ณ กรุงสาวัตถี
เรื่องทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่อพวกภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท
ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ
ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ
ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอุบาลี
ท่านพระอานนท์ ท่านพระราหุล พระนางมหาปชาบดีโคตมี
อนาถบิณฑิกคหบดี และนางวิสาขามิคารมาตา เข้าเฝ้ากราบทูล
ถามวิธีปฏิบัติ เรื่องให้เสนาสนะที่ว่างแก่พวกภิกษุผู้ก่อความ
ทะเลาะวิวาท เรื่องจัดเสนาสนะให้ว่างสำหรับพวกภิกษุ
ผู้ก่อความทะเลาะวิวาท เรื่องแบ่งอามิสให้เท่า ๆ กัน
เรื่องวิธีและกรรมวาจาทำสังฆสามัคคี เรื่องทรงแสดงสังฆสามัคคี
๒ อย่างแก่ท่านพระอุบาลี เรื่องไม่ถูกตำหนิโดยศีล
โกสัมพิกขันธกะ จบ
มหาวรรค จบบริบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า :๓๗๔ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒ จบ





eXTReMe Tracker