ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ



จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อความสะดวก และสวยงาม
(เฉพาะหน้าจอใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์)
กรุณาคลิก จัดรูปหน้าใหม่
เพื่อให้กรอบ
ค้นข้อความ ปรากฎที่ด้านซ้ายของหน้า

พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร.
MCUTRAI Version 1.0

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓-๒ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก
ภิกขุนีวิภังค์
_____________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค

สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อกาลจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุณีสงฆ์
ลำดับนั้น ภิกษุณีสงฆ์ประสงค์จะแจกจีวรนั้น จึงประชุมกัน เวลานั้นพวกภิกษุณี
อันเตวาสินีของภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณี
เหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ภิกษุณีทั้งหลายหลีกไปแล้ว อย่าเพิ่งแจกจีวรเลย”
คัดค้านการแจกจีวร
พวกภิกษุณีกล่าวว่า “อย่าเพิ่งแจกจีวรเลย” แล้วแยกย้ายกันไป เมื่อเหล่า
ภิกษุณีอันเตวาสินีกลับมา ภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้แจกจีวรนั้น บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง
คัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม๑เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการ
แจกจีวรที่ชอบธรรม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา

เชิงอรรถ :
๑ “การแจกจีวรที่ชอบธรรม” คือการแจกจีวรที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน ประชุมกันแล้วดำเนินการร่วมกัน
(กงฺขา.อ. ๓๗๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ บทภาชนีย์
จึงคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๑๒] ก็ภิกษุณีใดคัดค้านการแจกจีวรที่ชอบธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๑๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
การแจกจีวรที่ชื่อว่า ชอบธรรม ได้แก่ ภิกษุณีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกัน
ประชุมกันแจก
คำว่า คัดค้าน คือ คัดค้านว่า “จะแจกจีวรนี้อย่างไร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๙๑๔] การแจกชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
การแจกชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
การแจกชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติ
การแจกชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
การแจกไม่ชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
การแจกไม่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๑๕] ๑. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วคัดค้าน๑
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “แสดงอานิสงส์แล้วคัดค้าน” หมายถึงในกรณีที่จีวรมีไม่พอแบ่งกันให้ได้ครบทุกรูป จึงแสดงอานิสงส์
คือให้เหตุผลว่า ผ้าสาฎกไม่เพียงพอยังขาดอยู่ผืนหนึ่ง โปรดรอสัก ๒-๓ วันเถิด เมื่อผ้าสาฎกมีพอที่จะ
แจกกันครบทุกรูปแล้วจึงแจกกัน (วิ.อ. ๒/๙๑๕/๕๐๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค

สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการให้สมณจีวรแก่ผู้ไม่ใช่ภิกษุณี

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๑๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวร
แก่พวกครูนักฟ้อนบ้าง พวกนักฟ้อนบ้าง พวกกระโดดไม้ค้ำบ้าง พวกมายากลบ้าง
พวกตีกลองบ้าง กล่าวว่า “พวกท่านจงกล่าวพรรณนาคุณของดิฉันในชุมนุมชน”
พวกครูนักฟ้อนบ้าง พวกนักฟ้อนบ้าง พวกกระโดดไม้ค้ำบ้าง พวกมายากลบ้าง
พวกตีกลองบ้าง ต่างกล่าวพรรณนาคุณของภิกษุณีถุลลนันทาในชุมนุมชนว่า “แม่
เจ้าถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา พวก
ท่านจงถวาย จงกระทำ(สักการะ)แก่เธอ”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง
นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้สมณจีวร
แก่ชาวบ้าน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้
สมณจีวรแก่ชาวบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๙๑๗] ก็ภิกษุณีใดให้สมณจีวรแก่ชาวบ้าน แก่ปริพาชก หรือปริพาชิกา
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๑๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ ผู้ครองเรือนคนใดคนหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ นักบวชชายคนใดคนหนึ่งผู้อยู่ในลัทธิปริพาชก ยก
เว้นภิกษุและสามเณร
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ นักบวชหญิงคนใดคนหนึ่งผู้อยู่ในลัทธิปริพาชิกา
ยกเว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี
ที่ชื่อว่า สมณจีวร พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้าที่ทำกัปปะแล้ว ภิกษุณี
ให้ผ้านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๑๙] ๑. ภิกษุณีให้แก่มารดาบิดา
๒. ภิกษุณีให้เป็นของยืม
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค

สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ตระกูลอุปัฏฐากของภิกษุณี
ถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า ถ้าพวกเราสามารถ ก็จะ
ถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์” ครั้นภิกษุณีทั้งหลายจำพรรษาแล้วประชุมกันด้วยประสงค์
จะแจกจีวร ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
โปรดรอก่อน ภิกษุณีสงฆ์มีความหวังในจีวร”
ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุณีถุลลนันทาดังนี้ว่า “แม่เจ้า เชิญท่านไป
สืบดูจีวรนั้นให้รู้เรื่อง”
ภิกษุณีถุลลนันทาเข้าไปถึงตระกูลนั้น ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับคนเหล่านั้นดังนี้
ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์”
คนเหล่านั้นกล่าวว่า “พวกเรายังไม่สามารถที่จะถวายจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์”
ภิกษุณีถุลลนันทานำเรื่องนั้นไปบอกให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้
ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล๑ด้วยความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย๒เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ สมัยแห่งจีวรกาล คือในเมื่อไม่ได้กรานกฐินนับเอาตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
รวมเวลา ๑ เดือน ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว นับเอาตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
รวมเวลา ๕ เดือน ระยะเวลาในช่วงนี้เรียกว่า สมัยแห่งจีวรกาล
๒ “ความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย” หมายถึงความหวังที่ภิกษุณีตั้งไว้เพราะได้ฟังเพียงคำของทายกว่า “ถ้า
สามารถก็จะถวาย” เป็นความหวังที่เลื่อนลอย ไม่แน่นอน (กงฺขา.อ. ๓๗๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ล่วงเลย
สมัยแห่งจีวรกาลผ่านไปด้วยความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลาย
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาลผ่านไปด้วยความ
หวังในจีวรที่เลื่อนลอยเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๒๑] ก็ภิกษุณีใดให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาลด้วยความหวังในจีวรที่เลื่อน
ลอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๒๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ความหวังในจีวรที่เลื่อนลอย ได้แก่ ที่ทายกเปล่งวาจาปวารณาว่า
“ถ้าพวกเราสามารถ ก็จะถวาย จะทำ”
ที่ชื่อว่า สมัยแห่งจีวรกาล คือ เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน มีกำหนด ๑ เดือน
ท้ายฤดูฝน เมื่อได้กรานกฐินแล้วมีกำหนด ๕ เดือน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
คำว่า ให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล ความว่า เมื่อยังไม่ได้กรานกฐิน ให้
ล่วงเลย วันสุดท้ายฤดูฝน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อได้กรานกฐินแล้ว ให้ล่วงเลย
วันที่กฐินเดาะ๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๙๒๓] (ความหวังใน)จีวรที่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่า(เป็นความหวังใน)
จีวรที่เลื่อนลอย ให้ล่วงเลยสมัยจีวรกาลไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
(ความหวังใน)จีวรที่เลื่อนลอย ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล
ต้องอาบัติทุกกฏ
(ความหวังใน)จีวรที่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น(ความหวังใน)จีวรไม่เลื่อน
ลอย ให้ล่วงเลยสมัยแห่งจีวรกาล ไม่ต้องอาบัติ
(ความหวังใน)จีวรที่ไม่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น(ความหวังใน)จีวรที่
เลื่อนลอย ต้องอาบัติทุกกฏ
(ความหวังใน)จีวรที่ไม่เลื่อนลอย ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
(ความหวังใน)จีวรที่ไม่เลื่อนลอย ภิกษุณีสำคัญว่าเป็น(ความหวังใน)จีวรที่ไม่
เลื่อนลอย ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๒๔] ๑. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วห้าม
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงยกเลิกอานิสงส์กฐินที่ภิกษุและภิกษุณีพึงได้รับ ดู เหตุให้กฐินเดาะ พระวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒
ข้อ ๔๖๓ หน้า ๔

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๓. นัคควรรค

สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการห้ามการเดาะกฐินที่ชอบธรรม

เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง
[๙๒๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งให้สร้างวิหาร
อุทิศ(ถวาย)สงฆ์ ในการฉลองวิหารนั้น อุบาสกนั้นประสงค์จะถวายอกาลจีวรแก่
สงฆ์ทั้งสองฝ่าย แต่เวลานั้นสงฆ์ทั้งสองฝ่ายกรานกฐินแล้ว ลำดับนั้น อุบาสกนั้น
เข้าไปหาสงฆ์ ขอการเดาะกฐิน๑ ภิกษุทั้งหลายจึงได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระ
ภาคทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เดาะกฐินได้”

วิธีการเดาะกฐินและกรรมวาจาเดาะกฐิน
ภิกษุทั้งหลายพึงเดาะกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๙๒๖] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงเดาะ
กฐิน นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ย่อมเดาะกฐิน ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การเดาะกฐิน ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สงฆ์เดาะกฐินแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่ง
นั้นเป็นมติอย่างนี้”

เชิงอรรถ :
๑ ขอการเดาะกฐิน ในที่นี้คือขอให้สงฆ์ยกเลิกอานิสงส์กฐินก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน ด้วยต้องการจะถวาย
ผ้าเป็นอกาลจีวรในสมัยที่ยังเป็นจีวรกาล (ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๕๐๐ หน้า ๒๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๐๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
[๙๒๗] ต่อมา อุบาสกนั้นเข้าไปหาภิกษุณีสงฆ์ ขอเดาะกฐิน ภิกษุณีถุลล
นันทากล่าวว่า “พวกดิฉันจักมีจีวร” คัดค้านการเดาะกฐิน ครั้งนั้น อุบาสกนั้น
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่ให้การเดาะกฐินแก่เราเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง
คัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรมเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอก
ภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าภิกษุณีถุลลนันทาคัดค้านการ
เดาะกฐินที่ชอบธรรม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา
จึงคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๒๘] ก็ภิกษุณีใดคัดค้านการเดาะกฐินที่ชอบธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องอุบาสกคนหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๒๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๓. นัคควรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
การเดาะกฐินที่ชื่อว่า ชอบธรรม คือ ภิกษุณีสงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันประชุม
กันเดาะ
คำว่า คัดค้าน คือ คัดค้านว่า “จะเดาะกฐินได้อย่างไร” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๙๓๐] การเดาะที่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
การเดาะที่ชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
การเดาะที่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติ
การเดาะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าชอบธรรม คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
การเดาะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุณีไม่แน่ใจ คัดค้าน ต้องอาบัติทุกกฏ
การเดาะที่ไม่ชอบธรรม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ชอบธรรม คัดค้าน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๓๑] ๑. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วห้าม
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
นัคควรรคที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค
หมวดว่าด้วยการนอนร่วมกัน

สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการนอนบนเตียงเดียวกัน

เรื่องภิกษุณีนอนร่วมกัน ๒ รูป
[๙๓๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณี ๒ รูปนอนบนเตียงเดียวกัน
คนทั้งหลายเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็นแล้วจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณี ๒ รูปจึงนอนบนเตียงเดียวกันเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณี ๒ รูปจึง
นอนเตียงเดียวกันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณี ๒ รูปนอนบนเตียง
เดียวกัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี ๒ รูปจึงนอนบนเตียง
เดียวกันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๓๓] ก็ภิกษุณีเหล่าใด ๒ รูปนอนบนเตียงเดียวกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีนอนร่วมกัน ๒ รูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๓๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงเหล่ามาตุคามที่อุปสมบทแล้ว
คำว่า ๒ รูป นอนบนเตียงเดียวกัน คือ เมื่อรูปหนึ่งนอน อีกรูปหนึ่งก็นอน
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือนอนพร้อมกัน ๒ รูป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทั้ง ๒ รูป
ลุกขึ้นแล้วกลับนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๓๕] ๑. ภิกษุณีรูปหนึ่งนอน อีกรูปหนึ่งนั่ง หรือนั่งทั้ง ๒ รูป
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม

เรื่องภิกษุณีนอนร่วมกัน ๒ รูป
[๙๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นภิกษุณี ๒ รูปใช้ผ้าผืนเดียวเป็น
ทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม นอนร่วมกัน คนทั้งหลายเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็นแล้วจึง
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณี ๒ รูปจึงใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอน
และผ้าห่ม นอนร่วมกันเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน ภิกษุณี ๒ รูปจึงใช้
ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม นอนร่วมกันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณี ๒ รูปใช้ผ้าผืนเดียว
เป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่มนอนร่วมกัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนภิกษุณี ๒ รูปจึงใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่มนอนร่วมกันเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๙๓๗] ก็ภิกษุณีเหล่าใด ๒ รูปใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม
นอนร่วมกัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีนอนร่วมกัน ๒ รูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๓๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงเหล่ามาตุคามที่อุปสมบทแล้ว
คำว่า ๒ รูปใช้ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่มนอนร่วมกัน คือ ทั้ง
๒ รูปปูผ้าผืนนั้นแล้วห่มผ้าผืนนั้นแหละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๓๙] ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม ภิกษุณีสำคัญว่าผ้าผืนเดียว
เป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม ภิกษุณีไม่แน่ใจ นอน ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปูนอนและผ้าห่ม ภิกษุณีสำคัญว่าผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้า
ปูนอนและผ้าห่ม นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ผ้าปูนอนผืนหนึ่ง ผ้าห่มนอนต่างผืน ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าปูนอนต่างผืน ผ้าห่มนอนผืนเดียวกัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
ผ้าปูนอนและผ้าห่มนอนต่างผืนกัน ภิกษุณีสำคัญว่าผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปู
นอนและผ้าห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าปูนอนและผ้าห่มนอนต่างผืนกัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าปูนอนและผ้าห่มนอนต่างผืนกัน ภิกษุณีสำคัญว่าผ้าผืนเดียวเป็นทั้งผ้าปู
นอนและผ้าห่ม ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๔๐] ๑. ภิกษุณีแสดงเครื่องกำหนดแล้วนอน
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็น
นักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถาได้ แม้พระภัททกาปิลานีก็เป็นพหูสูต
เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถาได้ ทั้งเธอก็ได้รับสรรเสริญว่ามี
คุณสมบัติยิ่งกว่า๑
คนทั้งหลายทราบว่า “แม่เจ้าภัททกาปิลานีเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า
สามารถกล่าวธรรมีกถา ทั้งได้รับสรรเสริญว่ามีคุณสมบัติยิ่งกว่า” จึงเข้าไปหาพระ
ภัททกาปิลานีก่อนแล้วไปหาภิกษุณีถุลลนันทาภายหลัง
ภิกษุณีถุลลนันทาถูกความริษยาครอบงำ คิดว่า “ทราบมาว่า ธรรมดาภิกษุณี
ผู้สาละวนอยู่กับการอภิปรายเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจ ย่อมมักน้อย สันโดษ ชอบสงัด
ไม่คลุกคลี” จึงจงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง ยกขึ้นแสดงเองบ้าง ใช้ผู้อื่น
ให้ยกขึ้นแสดงบ้าง ท่องบ่นบ้าง ต่อหน้าพระภัททกาปิลานี
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่แม่เจ้าภัททกาปิลานีเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
๑ “มีคุณสมบัติยิ่งกว่า” คือบวชจากตระกูลที่ใหญ่หรือประเสริฐกว่าและเป็นผู้ประเสริฐกว่าโดยคุณทั้งหลาย
(วิ.อ. ๒/๙๔๑/๕๐๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาจงใจก่อความ
ไม่ผาสุกแก่ภัททกาปิลานี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา
จึงจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภัททกาปิลานีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๔๒] ก็ภิกษุณีใดจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๔๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุณี คือ แก่ภิกษุณีรูปอื่น
คำว่า จงใจ คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิด
คำว่า ก่อความไม่ผาสุก คือ ภิกษุณีผู้ก่อความไม่ผาสุกนั้นคิดว่า “วิธีนี้จะ
ทำให้ภิกษุณีนี้ไม่ผาสุก” ไม่ขอโอกาส จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ยกขึ้นแสดงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นให้ยกขึ้นแสดงบ้าง ท่องบ่นบ้าง อยู่ข้างหน้า ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๔๔] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน จงใจก่อความไม่ผาสุก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ จงใจก่อความไม่ผาสุก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน จงใจก่อความไม่ผาสุก ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุณีจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๔๕] ๑. ภิกษุณีไม่ประสงค์ก่อความไม่ผาสุก ขอโอกาส จงกรม ยืน นั่ง
นอน ยกขึ้นแสดงเอง ใช้ผู้อื่นให้ยกขึ้นแสดง หรือท่องบ่นข้างหน้า
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๑๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๔.ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการไม่ใส่ใจดูแลเพื่อนภิกษุณี

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาไม่ดูแลช่วยเหลือ
สหชีวินี๑ผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลือ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงไม่ดูแลช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ทั้งไม่ใส่ใจมอบหมาย
ให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลือเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาไม่ดูแลช่วย
เหลือสหชีวินีผู้เดือดร้อน ทั้งไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลือ จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงไม่ดูแลช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความ
ลำบาก ทั้งไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลือเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๔๗] ก็ภิกษุณีใดไม่ดูแลช่วยเหลือ หรือไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดู
แลช่วยเหลือสหชีวินีผู้ได้รับความลำบาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

เชิงอรรถ :
๑ สหชีวินี คือภิกษุณีผู้ที่ตนเป็นอุปัชฌาย์บวชให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๔๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ได้รับความลำบาก พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผู้เป็นไข้
ที่ชื่อว่า สหชีวินี ตรัสหมายถึงสัทธิวิหารินี
คำว่า ไม่ดูแลช่วยเหลือ คือ ไม่ดูแลช่วยเหลือด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลือ คือ ไม่สั่งผู้อื่น
ภิกษุณีทอดธุระว่า “จะไม่ดูแลช่วยเหลือ จะไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแล
ช่วยเหลือ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีไม่ดูแลช่วยเหลือ ไม่ใส่ใจมอบหมายให้ผู้อื่นดูแลช่วยเหลืออันเตวาสินี
หรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๔๙] ๑. ภิกษุณีผู้ทอดธุระเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีหาผู้ช่วยไม่ได้
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑สหชีวินี คือภิกษุณีผู้ที่ตนเป็นอุปัชฌาย์บวชให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการฉุดลากออก

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระภัททกาปิลานีจำพรรษาที่
เมืองสาเกต เธอส่งทูตไปสำนักของภิกษุณีถุลลนันทาด้วยธุระบางอย่าง ให้แจ้งว่า
“ถ้าแม่เจ้าถุลลนันทาให้ที่พัก ดิฉันจะมากรุงสาวัตถี”
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “เชิญมาเถิด ดิฉันจะให้”
ลำดับนั้น พระภัททกาปิลานีเดินทางจากเมืองสาเกตไปถึงกรุงสาวัตถี ภิกษุณี
ถุลลนันทาได้ให้ที่พักแก่พระภัททกาปิลานี
สมัยนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถ
กล่าวธรรมีกถา แม้พระภัททกาปิลานีก็เป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถ
กล่าวธรรมีกถา ทั้งเธอก็ได้รับสรรเสริญว่า มีคุณสมบัติยิ่งกว่า
คนทั้งหลายเห็นว่า ภิกษุณีภัททกาปิลานีเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า
สามารถกล่าวธรรมีกถา ทั้งเธอก็ได้รับสรรเสริญว่ามีคุณสมบัติยิ่งกว่า จึงเข้าไปหา
พระเถรีก่อนแล้วไปหาภิกษุณีถุลลนันทาภายหลัง ภิกษุณีถุลลนันทารู้ว่า “ธรรมดา
ภิกษุณีผู้สาละวนอยู่กับการอภิปรายเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจ ย่อมมักน้อย สันโดษ
ชอบสงัด ไม่คลุกคลี” จึงโกรธ ขัดใจ ฉุดลากพระภัททกาปิลานีออกจากห้อง
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
เจ้าถุลลนันทาให้ที่พักแก่แม่เจ้าภัททกาปิลานีแล้วโกรธ ขัดใจ ฉุดลากออกไปเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่
ภัททกาปิลานีแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากออกไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาให้ที่พักแก่ภัททกาปิลานีแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากออกไปเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๕๑] ก็ภิกษุณีใดให้ที่พักแก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากออกไป
หรือใช้ให้ฉุดลากออกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๕๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า แก่ภิกษุณี คือ ภิกษุณีรูปอื่น
ที่ชื่อว่า ที่พัก พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงที่พักที่มีประตู
คำว่า ให้ คือ ให้ด้วยตนเอง
คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ บทภาชนีย์
คำว่า ฉุดลาก ความว่า จับในห้องแล้วฉุดลากออกมาหน้าห้อง ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ จับที่หน้าห้องแล้วฉุดลากออกข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุณีฉุด
ลากพ้นประตูหลายประตูด้วยความพยายามครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้ฉุดลาก คือ ภิกษุณีสั่งผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง
ครั้งเดียวแต่ฉุดออกไปพ้นหลายประตู ภิกษุณีผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๕๓] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้ที่พักแล้วโกรธ ไม่พอใจ
ฉุดลากหรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ให้ที่พักแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากหรือใช้ให้ฉุดลาก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้ที่พักแล้วโกรธ ไม่พอใจ ฉุด
ลากหรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ขน หรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฉุดลาก หรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากจากสถานที่ไม่มีประตู ต้องอาบัติทุกกฏ
ขน หรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ
ฉุดลาก หรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากอนุปสัมบัน จากที่มีประตูหรือไม่มีประตู ต้อง
อาบัติทุกกฏ
ขน หรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของเธอ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๕๔] ๑. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากภิกษุณีไม่มีความละอาย
๒. ภิกษุณีขนหรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของภิกษุณีไม่มีความละอายนั้น
๓. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีขน หรือใช้ผู้อื่นขนบริขารของภิกษุณีวิกลจริตนั้น
๕. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากภิกษุณีผู้ก่อความบาดหมาง ...
ก่อการทะเลาะ ... ก่อการวิวาท... ก่อความอื้อฉาว ... ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์
๖. ภิกษุณีขนหรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของภิกษุณีผู้ก่อความบาดหมาง
... ก่อการทะเลาะ ... ก่อการวิวาท ... ก่อความอื้อฉาว ...
ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์นั้น
๗. ภิกษุณีฉุดลากหรือใช้ผู้อื่นให้ฉุดลากอันเตวาสินีหรือสัทธิวิหารินี
ผู้ประพฤติไม่ชอบ
๘. ภิกษุณีขนหรือใช้ผู้อื่นให้ขนบริขารของภิกษุณีอันเตวาสินีหรือ
สัทธิวิหารินีผู้ประพฤติไม่ชอบนั้น
๙. ภิกษุณีวิกลจริต
๑๐. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ พระบัญญัติ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๙๕๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีอยู่คลุกคลีกับ
คหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าจัณฑกาลีจึงอยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้างเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีอยู่คลุกคลีกับ
คหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลี
จึงอยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๕๖] ก็ภิกษุณีใดอยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี ภิกษุณีนั้นอัน
ภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง ท่านอย่าอยู่คลุกคลี
กับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี น้องหญิงจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการ
แยกกันอยู่ของน้องหญิง’ ก็ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์
นี้ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ
๓ ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้าเธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ ๓ ครั้ง
สละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๕๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า คลุกคลี คือ คลุกคลีกันทางกายและวาจาที่ไม่สมควร
ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือนคนใดคนหนึ่ง
ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรและพี่ชายน้องชายคนใดคนหนึ่ง
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้อยู่คลุกคลีคนใดคนหนึ่ง
คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น
ภิกษุณีผู้ได้เห็นได้ทราบพึงว่ากล่าวตักเตือนภิกษุณีผู้คลุกคลีว่า “น้องหญิง
ท่านอย่าอยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี น้องหญิงจงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์
ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงเท่านั้น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่
๒ พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุณีผู้ทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณี
นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงนำตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “น้องหญิง
เธออย่าอยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี น้องหญิงจงแยกกันอยู่ สงฆ์ย่อม
สรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงเท่านั้น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๒
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ ๓ ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ บทภาชนีย์
วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์อย่างนี้ คือ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถ
พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[๙๕๘] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง
กับบุตรคหบดีบ้าง เธอยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์
ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตร
คหบดีบ้าง เธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น
แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้า
รูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ ๓
ฯลฯ
ภิกษุณีชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์แล้วเพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๕๙] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์ดังกล่าวข้างต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๖๐] ๑. ภิกษุณียังไม่ถูกสงฆ์สวดสมนุภาสน์
๒. ภิกษุณียอมสละ
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๒๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายในรัฐ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๖๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายเที่ยวจาริกไปไม่มี
กองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายในรัฐ พวกนักเลง
ข่มขืน(ภิกษุณีเหล่านั้น)
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัย
น่ากลัวภายในรัฐเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไปไม่
มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายในรัฐ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อน
ในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายในรัฐเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๖๒] ก็ภิกษุณีใดเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่า
น่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายในรัฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๖๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ภายในรัฐ คือ ในรัฐที่ตนอาศัยอยู่
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในหนทางนั้น ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน ปรากฏ
ที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในหนทางนั้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า
ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี
ที่ชื่อว่า ไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นกองเกวียน
คำว่า เที่ยวจาริกไป คือ เที่ยวจาริกไปในหมู่บ้านมีกำหนดระยะชั่วไก่บินตก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน เที่ยวจาริกไปในป่าไม่มีหมู่บ้าน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๖๔] ๑. ภิกษุณีไปกับกองเกวียน
๒. ภิกษุณีไปในสถานที่ปลอดภัย
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปในที่ที่น่าหวาดระแวงภายนอกรัฐ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๖๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไปไม่มีกอง
เกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ พวกนักเลง
ข่มขืน(ภิกษุณีเหล่านั้น)
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มี
ภัยน่ากลัวภายนอกรัฐเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไปไม่มี
กองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่
ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๖๖] ก็ภิกษุณีใดเที่ยวจาริกไปไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อนในที่ที่รู้กันว่า
น่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัวภายนอกรัฐ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๖๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ภายนอกรัฐ คือ ในรัฐของฝ่ายอื่นนอกจากรัฐที่ตนอาศัยอยู่
ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในหนทางนั้น ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน ปรากฏ
ที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร
ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในหนทางนั้น ปรากฏมีคนทั้งหลายถูกพวกโจรฆ่า
ปรากฏมีคนถูกปล้น ปรากฏมีคนถูกทุบตี
ที่ชื่อว่า ไม่มีกองเกวียนเป็นเพื่อน คือ เว้นกองเกวียน
คำว่า เที่ยวจาริกไป คือ เที่ยวจาริกไปในหมู่บ้านมีกำหนดระยะชั่วไก่บินตก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน เที่ยวจาริกไปในป่าไม่มีหมู่บ้าน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ กึ่งโยชน์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๖๘] ๑. ภิกษุณีไปกับกองเกวียน
๒. ภิกษุณีไปในสถานที่ปลอดภัย ไม่มีภัยน่ากลัว
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๖๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกภิกษุณีพากันเที่ยวจาริกไปภายใน
พรรษา คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงเที่ยวไป
ภายในพรรษาเหยียบย่ำของเขียวและหญ้า เบียดเบียนชีวิตซึ่งมีอินทรีย์เดียว ทำลาย
สัตว์เล็กน้อยเป็นจำนวนมากเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงเที่ยวจาริก
ไปภายในพรรษาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเที่ยวจาริกไป
ภายในพรรษา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเที่ยวไป
ภายในพรรษาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๗๐] ก็ภิกษุณีใดเที่ยวจาริกไปภายในพรรษา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๗๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ภายในพรรษา คือ ไม่อยู่ตลอดพรรษาต้น ๓ เดือน หรือตลอดพรรษา
หลัง ๓ เดือน
คำว่า เที่ยวจาริกไป คือ เที่ยวจาริกไปในหมู่บ้านมีกำหนดระยะชั่วไก่บินตก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ละแวกหมู่บ้าน เที่ยวจาริกไปในป่าไม่มีหมู่บ้าน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ครึ่งโยชน์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๗๒] ๑. ภิกษุณีไปด้วยสัตตาหกรณียะ๑
๒. ภิกษุณีถูกรบกวนจึงไป
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “สัตตาหกรณียะ” คือธุระที่พึงทำเสร็จได้ในเวลา ๗ วัน หมายถึงธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปค้าง
คืนที่อื่นได้ แต่ต้องกลับมาภายในเวลา ๗ วัน เป็นธุระที่ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี
อุบาสก อุบาสิกาส่งข่าวมานิมนต์ไป เช่นไปเพื่อพยาบาลภิกษุและภิกษุณีเป็นต้น(สหธรรมิก) หรือมารดาบิดา
ไปเพื่อระงับเพื่อนภิกษุเป็นต้นผู้กระสันจะสึก ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่นสร้างวิหารหรือซ่อมวิหารที่ชำรุด ไป
กิจนิมนต์ (ดู.วิ.ม. ๔/๑๘๗-๒๐๒/๒๐๕-๒๒๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๔. ตุวัฏฏวรรค

สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการไม่หลีกจาริกไป

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๗๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน
สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พวกภิกษุณีอยู่จำพรรษาในเมือง
ราชคฤห์นั่นแหละตลอดฤดูฝน อยู่ในเมืองราชคฤห์นั้นตลอดฤดูหนาว อยู่ในเมือง
ราชคฤห์นั้นตลอดฤดูร้อน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ทิศทั้งหลาย
คงคับแคบมืดมนสำหรับภิกษุณี ภิกษุณีเหล่านี้จึงมองไม่เห็นทิศทาง”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา ลำดับนั้น
ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่
ภิกษุณีทั้งหลาย โดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์
ฯลฯ
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุณีทั้งหลายพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๙๗๔] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาแล้ว ไม่หลีกจาริกไป โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ
ทาง ๕-๖ โยชน์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๗๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่จำพรรษาต้น ๓ เดือน หรือตลอด
พรรษาหลัง ๓ เดือน พอทอดธุระว่า “เราจะไม่หลีกจาริกไปโดยที่สุดแม้สิ้นระยะ
ทาง ๕-๖ โยชน์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๗๖] ๑. ภิกษุณีไม่จาริกไปเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนไม่ได้
๓. ภิกษุณีเป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ตุวัฏฏวรรคที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีออกพรรษาแล้ว เดินทางไปได้เพียง ๓ โยชน์แล้วกลับสำนักเดิมโดยใช้เส้นทางใหม่ นับว่าได้หลีก
จาริกไปสิ้นระยะทาง ๖ โยชน์ (กงฺขา.อ. ๓๘๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๕. จิตตาคารวรรค
หมวดว่าด้วยหอจิตรกรรม

สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการไปดูโรงละครหลวง

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๙๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ที่พระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล
มีการแสดงภาพจิตรกรรม ณ หอจิตรกรรม ครั้งนั้น คนทั้งหลายพากันไปดู
หอจิตรกรรม แม้พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ก็ไปดูหอจิตรกรรม คนทั้งหลายตำหนิ
ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปดูหอจิตรกรรมเหมือนหญิงคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงไปดูหอ
จิตรกรรมเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไปดูหอ
จิตรกรรม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง
ไปดูหอจิตรกรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๙๗๘] ก็ภิกษุณีใดไปดูโรงละครหลวง หอจิตรกรรม สวนสาธารณะ อุทยาน
หรือสระโบกขรณี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๗๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า โรงละครหลวง ได้แก่ สถานที่ที่เขาสร้างขึ้นไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อ
ถวายพระราชาทรงกีฬา เพื่อให้ทรงสำราญพระทัย
ที่ชื่อว่า หอจิตรกรรม ได้แก่ หอที่สร้างขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั้งหลาย
ชมเล่น รื่นเริง
ที่ชื่อว่า สวนสาธารณะ ได้แก่ สวนที่สร้างขึ้นให้คนทั้งหลายชมเล่น รื่นเริง
ที่ชื่อว่า อุทยาน ได้แก่ อุทยานที่สร้างขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั้งหลาย
ชมเล่น รื่นเริง
ที่ชื่อว่า สระโบกขรณี ได้แก่ สระน้ำที่ขุดไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั้งหลาย
ชมเล่น รื่นเริง
[๙๘๐] ภิกษุณีเดินไปเพื่อจะดู ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดู ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑
พ้นสายตาไปแล้วเหลียวกลับมาดูอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินเพื่อจะไปดูแต่ละแห่ง
ต้องอาบัติทุกกฏ ยืนดู ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พ้นสายตาไปแล้วเหลียวกลับมาดูอีก
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ ยืนอยู่ในที่แห่งเดียว มองดูสถานที่ทั้ง ๕ แห่งมีโรงละครหลวงเป็นต้น โดยไม่ก้าวเดินไปไหน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ ๑ ตัว ถ้าหันไปมองดูสถานที่เหล่านั้นซึ่งตั้งอยู่ในที่ต่าง ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ตามจำนวนสถาน
ที่มองดู (วิ.อ. ๒/๙๗๘/๕๐๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๓๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๘๑] ๑. ภิกษุณียืนอยู่ที่สวนสาธารณะมองเห็น
๒. ภิกษุณีเดินไปเดินมามองเห็น
๓. ภิกษุณีมีธุระเดินไปเห็น
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๕.จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการใช้ตั่งหรือแท่น

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๘๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ตั่งยาวบ้าง แท่น
บ้าง คนทั้งหลายเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็นแล้วจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้ตั่งยาวบ้าง แท่นบ้าง เหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้ตั่งยาว
บ้าง แท่นบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้
ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีใช้ตั่งยาวบ้าง แท่น
บ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้เตียงบ้าง ตั่งบ้าง
เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๘๓] ก็ภิกษุณีใดใช้ตั่งยาวหรือแท่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๘๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ตั่งยาว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงตั่งที่เกินขนาด
ที่ชื่อว่า แท่น ได้แก่ แท่นที่ถักด้วยขนสัตว์ที่ตนหามา
คำว่า ใช้ คือ นั่งหรือนอนบนตั่งยาว หรือบนแท่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๘๕] ๑. ภิกษุณีตัดเท้าตั่งยาวแล้วจึงใช้
๒. ภิกษุณีรื้อขนสัตว์ของแท่นแล้วจึงใช้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๓ พระบัญญัติ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการกรอด้าย

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๙๘๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กรอด้าย
อยู่ คนทั้งหลายเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็นแล้วจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงกรอด้ายเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงกรอด้ายเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กรอด้าย
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงกรอด้ายเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๘๗] ก็ภิกษุณีใดกรอด้าย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๘๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ด้าย ได้แก่ด้าย ๖ ชนิด คือ ด้ายเปลือกไม้ ด้ายฝ้าย ด้ายไหม
ด้ายขนสัตว์ ด้ายป่าน ด้ายที่ใช้วัตถุเจือกัน
คำว่า กรอ คือ กรอเอง ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่กรอ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุก ๆ ขณะที่ม้วนเข้ามา

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๘๙] ๑. ภิกษุณีกรอด้ายที่ผู้อื่นกรอไว้
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๙๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีช่วยทำการ
ขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์เล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีช่วยทำการ
ขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีช่วย
ทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๙๙๑] ก็ภิกษุณีใดช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๙๙๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ช่วยทำการขวนขวายเพื่อคฤหัสถ์ คือ ต้มข้าวต้ม หุงภัตตาหาร
หรือทำของเคี้ยว ซักผ้านุ่งหรือผ้าโพกเพื่อคฤหัสถ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๙๓] ๑. ภิกษุณีต้มข้าวต้ม จัดน้ำปานะถวายสงฆ์
๒. ภิกษุณีหุงข้าวถวายสงฆ์
๓. ภิกษุณีทำการบูชาเจดีย์
๔. ภิกษุณีต้มข้าวต้ม หุงภัตตาหารหรือทำของเคี้ยว ซักผ้านุ่งผ้าห่ม
หรือผ้าโพกให้ไวยาวัจกรของตน
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการไม่ช่วยระงับอธิกรณ์

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุณี
ถุลลนันทากล่าวว่า “แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด” ภิกษุณีถุลลนันทา
รับปากแต่ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นได้
บอกเรื่องนี้ให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาอันภิกษุณีขอร้องอยู่ว่า ‘แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด’
รับปากแล้วแต่ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาอันภิกษุณี
ขอร้องอยู่ว่า ‘แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด’ รับปากแล้วแต่ไม่ช่วยระงับ
ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา
อันภิกษุณีขอร้องอยู่ว่า ‘แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด’ รับปากแล้ว
แต่ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๙๙๕] ก็ภิกษุณีใดอันภิกษุณีขอร้องอยู่ว่า ‘แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับ
อธิกรณ์นี้ด้วยเถิด’ รับปากแล้ว ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย ไม่ช่วยระงับ
ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๙๙๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า อันภิกษุณี คือ ภิกษุณีรูปอื่น
ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่าง๑ คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์
(๒) อนุวาทาธิกรณ์ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ (๔) กิจจาธิกรณ์
คำว่า แม่เจ้าโปรดมาช่วยระงับอธิกรณ์นี้ด้วยเถิด ความว่า เชิญแม่เจ้าไป
ช่วยวินิจฉัยคดีนี้ด้วยเถิด
คำว่า ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย คือ เมื่อไม่มีอันตราย
คำว่า ไม่ช่วยระงับ คือ ไม่ระงับด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ คือ ไม่สั่งผู้อื่น เมื่อทอดธุระว่า
“เราจักไม่ระงับ จักไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ อธิกรณ์ ๔ อย่าง คือ
๑. วิวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การเถียงกันว่า นี้เป็นธรรมวินัย นี้ไม่ใช่ธรรมวินัยเป็นต้น
๒. อนุวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การโจทกันด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
๓. อาปัตตาธิกรณ์ ได้แก่ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติและแก้ต่างให้พ้นอาบัติ
๔. กิจจาธิกรณ์ ได้แก่ กิจธุระของสงฆ์ เช่น อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม มีการสวดปาติโมกข์เป็นต้น (ดู วิ.ป. ๘/๓๔๘-๒๙๑/๒๒๒-๒๒๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๙๗] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ไม่ช่วยระงับ ไม่
ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้อื่นช่วยระงับอธิกรณ์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายให้ผู้
อื่นช่วยระงับอธิกรณ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุณีไม่ช่วยระงับ ไม่ขวนขวายเพื่อการระงับอธิกรณ์ของอนุปสัมบัน ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๙๙๘] ๑. ภิกษุณีไม่ระงับในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหา(คณะผู้วินิจฉัยอธิกรณ์)ไม่ได้
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๔๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการให้ของเคี้ยวของฉันแก่นักฟ้อนเป็นต้น

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๙๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาให้ของเคี้ยวของ
ฉันด้วยมือตนแก่พวกครูนักฟ้อนบ้าง พวกนักฟ้อนบ้าง พวกกระโดดไม้ค้ำบ้าง พวก
มายากลบ้าง พวกตีกลองบ้าง กล่าวว่า “พวกท่านจงกล่าวพรรณนาคุณของดิฉัน
ในที่ชุมนุมชน” พวกครูนักฟ้อนบ้าง พวกนักฟ้อนบ้าง พวกกระโดดไม้ค้ำบ้าง พวก
มายากลบ้าง พวกตีกลองบ้าง ต่างพากันกล่าวพรรณนาคุณของภิกษุณีถุลลนันทา
ในชุมนุมชนว่า “ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถ
กล่าวธรรมีกถา พวกท่านจงถวาย จงกระทำ(สักการะ)แก่เธอ”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงให้ของเคี้ยวของฉันด้วยมือตนแก่ชาวบ้านเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาให้ของเคี้ยว
ของฉันด้วยมือตนแก่ชาวบ้าน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา
จึงให้ของเคี้ยวของฉันด้วยมือตนแก่ชาวบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๐๐] ก็ภิกษุณีใดให้ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนแก่ชาวบ้าน แก่
ปริพาชก หรือแก่ปริพาชิกา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๐๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่อยู่ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ นักบวชชายคนใดคนหนึ่งผู้อยู่ในลัทธิปริพาชก ยก
เว้นภิกษุและสามเณร
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ นักบวชหญิงคนใดคนหนึ่งผู้อยู่ในลัทธิปริพาชิกา
ยกเว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว ได้แก่ เว้นโภชนะ ๕ น้ำและไม้สีฟัน ที่เหลือชื่อว่า ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา
เนื้อ
คำว่า ให้ คือ ให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยการโยนให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้น้ำและไม้สีฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
[๑๐๐๒] ๑. ภิกษุณีใช้ให้ผู้อื่นให้
๒. ภิกษุณีมิได้ให้เอง
๓. ภิกษุณีให้โดยวางไว้ใกล้ ๆ
๔. ภิกษุณีให้ของไล้ทาภายนอก
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการใช้ผ้าซับระดูแล้วไม่สละ

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๐๐๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาใช้ผ้าซับระดู
คนเดียวไม่ยอมสละ ภิกษุณีอื่นที่มีประจำเดือนไม่มีโอกาสได้ใช้
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้า
ถุลลนันทาจึงใช้ผ้าซับระดูไม่ยอมสละเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาใช้ผ้าซับระดู
ไม่ยอมสละ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงใช้
ผ้าซับระดูไม่ยอมสละเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๐๔] ก็ภิกษุณีใดใช้ผ้าซับระดูแล้วไม่ยอมสละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๐๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผ้าซับระดู ได้แก่ ผ้าที่เขาถวายไว้ให้ภิกษุณีผู้มีประจำเดือนใช้
คำว่า ไม่ยอมสละ คือ ใช้ ๒-๓ คืนแล้ว ซักในวันที่ ๔ ยังใช้อีก ไม่
ยอมสละให้แก่ภิกษุณี สิกขมานา หรือสามเณรีรูปอื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๐๖] ผ้าที่ยังไม่สละ ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่สละ ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ผ้าที่ยังไม่สละ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ผ้าที่ยังไม่สละ ภิกษุณีสำคัญว่าสละแล้ว ใช้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ผ้าที่สละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่สละ ใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าที่สละแล้ว ภิกษุณีสงสัย ใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ผ้าที่สละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าสละแล้ว ใช้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๐๗] ๑. ภิกษุณีใช้สอยแล้วสละ
๒. ภิกษุณีใช้ผ้าที่สละแล้วอีก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
๓. ภิกษุณีใช้สอยในเมื่อไม่มีภิกษุณีอื่นผู้มีประจำเดือน
๔. ภิกษุณีถูกแย่งชิงผ้าเอาไป
๕. ภิกษุณีผ้าหาย
๖. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุณีวิกลจริต
๘. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการไม่สละที่พัก

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๐๐๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาไม่สละที่พัก
แล้วหลีกจาริกไป ต่อมาที่พักนั้นถูกไฟไหม้ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
พวกเราจงช่วยกันขนของออกมา” ภิกษุณีบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า พวก
ดิฉันไม่ขนของออกมา สิ่งใดสิ่งหนึ่งสูญหายไป แม่เจ้าจักทวงพวกดิฉัน”
เมื่อภิกษุณีถุลลนันทากลับมาสู่ที่พักนั้นอีก ถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “แม่เจ้า
พวกท่านช่วยขนของออกบ้างหรือเปล่า”
ภิกษุณีตอบว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ได้ช่วยขน”
ภิกษณีถุลลนันทาตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณี เมื่อที่
พักถูกไฟไหม้ จึงไม่ช่วยกันขนของออกมาเล่า”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาไม่สละที่พักแล้วหลีกจาริกไปเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาไม่สละที่
พักแล้วหลีกจาริกไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๘ บทภาชนีย์
ไม่สละที่พักแล้วหลีกจาริกไปเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๐๙] ก็ภิกษุณีใดไม่สละที่พักแล้วหลีกจาริกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๑๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่พัก พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงที่พักที่ติดบานประตู
คำว่า ไม่สละ ... หลีกจาริกไป ความว่า ไม่สละแก่ภิกษุณี สิกขมานา
หรือสามเณรี
เมื่อเดินพ้นเขตที่พักมีรั้วล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินพ้นบริเวณที่พักที่ไม่มี
รั้วล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๑๑] ที่พักที่ยังไม่สละ ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้สละ หลีกไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ที่พักที่ยังไม่สละ ภิกษุณีไม่แน่ใจ หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ที่พักที่ยังไม่สละ ภิกษุณีสำคัญว่าสละแล้ว หลีกไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
ติกทุกกฏ
ภิกษุณีไม่สละห้องพักไม่ได้ติดประตู หลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่พักที่สละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่สละ หลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่พักที่สละแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ หลีกไป ต้องอาบัติทุกกฏ
ที่พักที่สละแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าสละแล้ว หลีกไป ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๑๒] ๑. ภิกษุณีสละแล้วหลีกไป
๒. ภิกษุณีหลีกไปเมื่อมีอันตราย
๓. ภิกษุณีแสวงหา(ผู้ดูแลแทน)แล้วไม่ได้
๔. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุณีวิกลจริต
๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการเรียนดิรัจฉานวิชา

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๐๑๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เรียน
ดิรัจฉานวิชา๑ ชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงเรียนดิรัจฉาน
วิชาเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงเรียนดิรัจฉานวิชาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เรียน

เชิงอรรถ :
๑ ในวินัยปิฎกนี้ ดิรัจฉานวิชา คือวิชาที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นวิชาที่เบียดเบียน
ผู้อื่น เช่น (๑) วิชาฝึกช้าง, ขี่ช้าง (๒) วิชาฝึกม้า, ขี่ม้า (๓) วิชาการขับรถ (๔) วิชายิงธนู (๕) วิชาฟันดาบ
(๖) ร่ายมนตร์ทำร้ายผู้อื่นด้วยพิธีอาถรรพณ์ (๗) ร่ายมนตร์เสกตะปูฝังดินฆ่าคนหรือเสกเข้าท้อง (๘) ร่าย
มนตร์ทำผู้อื่นให้อยู่ในอำนาจ หรือให้เป็นบ้า (๙) ร่ายมนตร์ทำผู้อื่นให้เนื้อเลือดเหือดแห้ง (๑๐) ปล่อยสัตว์มี
พิษ (วิ.อ. ๒/๑๐๑๕/๕๑๑, กงฺขา.อ. ๓๘๘, สารตฺถฏีกา ๓/๑๐๑๕/๑๕๕, กงฺขา.ฏีกา ๕๐๓, ปาจิตฺยาทิโยชนา
๑๗๓ ม.) ส่วนในพระสูตร หมายถึงการทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายโชคลาง ทำนายฝัน ทำนาย
ลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ พิธีเบิกแว่นเวียนเทียน พิธีซัดแกลบบูชาไฟ พิธีซัดรำบูชาไฟ
พิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ พิธีเติมเนยบูชาไฟ พิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ พิธีพ่นเครื่องเซ่นบูชาไฟ ฯลฯ (พระ
สุตตันตปิฎกแปล ที.สี. ๙/๒๑-๒๗/๘-๑๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๕๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
ดิรัจฉานวิชา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง
เรียนดิรัจฉานวิชาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๑๔] ก็ภิกษุณีใดเรียนดิรัจฉานวิชา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๑๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ดิรัจฉานวิชา หมายถึง ศิลปวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งภายนอกพระ
ศาสนาที่ไม่มีประโยชน์
คำว่า เรียน คือ เรียนเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท เรียนเป็นอักษร
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ตัวอักษร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๑๖] ๑. ภิกษุณีเรียนวิชาเขียนหนังสือ
๒. ภิกษุณีเรียนท่องจำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
๓. ภิกษุณีเรียนพระปริตรเพื่อคุ้มครองตน๑
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คือท่องมนต์ป้องกันยักษ์ ท่องมนต์กะบริเวณกันไม่ให้งูเข้ามา (วิ.อ. ๒/๑๐๑๖/๕๑๑)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ พระบัญัติ
๕. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการสอนดิรัจฉานวิชา

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๐๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สอน
ดิรัจฉานวิชา ชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงสอนดิรัจฉานวิชาเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงสอนดิรัจฉานวิชาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สอน
ดิรัจฉานวิชา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงสอน
ดิรัจฉานวิชาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๑๘] ก็ภิกษุณีใดสอนดิรัจฉานวิชา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๕. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๑๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ดิรัจฉานวิชา หมายถึง ศิลปวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งนอกพระ
ศาสนาที่ไม่มีประโยชน์
คำว่า สอน คือ สอนเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท สอนเป็นอักษร
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ตัวอักษร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๒๐] ๑. ภิกษุณีสอนวิชาเขียนหนังสือ
๒. ภิกษุณีสอนการท่องจำ๑
๓. ภิกษุณีสอนพระปริตรเพื่อคุ้มครอง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
จิตตาคารวรรคที่ ๕ จบ

เชิงอรรถ :
๑ การท่องจำ คือศาสตร์ว่าด้วยการทรงจำ ซึ่งเมื่อปฏิบัติตามที่กล่าวไว้ จะทรงจำคัมภีร์ได้มากมาย
(กงฺขา.ฏีกา ๕๐๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค
หมวดว่าด้วยอาราม

สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการเข้าอาราม โดยไม่บอก

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปมีจีวรผืนเดียว
กำลังตัดเย็บจีวรอยู่ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน ภิกษุณีทั้งหลายเข้าไปสู่อาราม โดยไม่บอก
เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ภิกษุทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพวกภิกษุณีจึงเข้ามาสู่อารามโดยไม่บอกเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเข้าไปสู่อาราม
โดยไม่บอก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเข้าไปสู่
อารามโดยไม่บอกเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดเข้าไปสู่อารามโดยไม่บอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ พระอนุบัญญัติ
เรื่องภิกษุณีไม่กวาดอาราม
[๑๐๒๒] สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นหลีกไปจากอาวาสนั้น ภิกษุณีทั้งหลายคิดว่า
“พระคุณเจ้าทั้งหลายจากไปแล้ว” จึงไม่ไปอาราม เมื่อภิกษุเหล่านั้นกลับมาสู่อาวาส
นั้นอีก ภิกษุณีทั้งหลายรู้ว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายมาแล้ว” บอกแล้วพากันเข้าไป
หาภิกษุเหล่านั้นกราบไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้นผู้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “น้อง
หญิงทั้งหลาย เพราะเหตุไร พวกเธอจึงไม่กวาดอาราม ไม่ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้เล่า”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุณีไม่
พึงเข้าอาราม’ ดังนั้น พวกดิฉันจึงไม่มา”
ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกภิกษุณีที่
มีอยู่แล้วเข้าอารามได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุณีใดเข้าไปสู่อารามโดยไม่บอกภิกษุที่มีอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีไม่กวาดอาราม จบ
[๑๐๒๓] สมัยนั้น ภิกษุเหล่านั้นหลีกไปจากอาวาสนั้นแล้วกลับมาสู่อาวาส
นั้นอีก ภิกษุณีทั้งหลายคิดว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายจากไปแล้ว” จึงไม่บอก เข้าไป
สู่อาราม พวกเธอได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า
‘ภิกษุณีไม่บอกภิกษุที่มีอยู่ ไม่พึงเข้าอาราม ‘ พวกเรามิได้บอกภิกษุที่มีอยู่เข้าอาราม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์แล้วกระมัง” ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์
พระอนุบัญญัติ
[๑๐๒๔] อนึ่ง ภิกษุณีใดรู้อยู่ เข้าไปสู่อารามที่มีภิกษุโดยไม่บอก ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๒๕] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุณีรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกเธอ หรือภิกษุเหล่านั้นบอก
อารามที่ชื่อว่า มีภิกษุ คือ สถานที่มีภิกษุอาศัยอยู่แม้ที่โคนต้นไม้
คำว่า เข้าไปสู่อารามโดยไม่บอก คือ ไม่บอกกล่าวภิกษุ สามเณร หรือ
คนวัด เมื่อล่วงเขตอารามที่มีรั้วล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อล่วงสู่อุปจารแห่ง
อารามที่มีรั้วล้อม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
[๑๐๒๖] อารามที่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่ามีภิกษุ เข้าไปสู่อารามโดยไม่บอก
ภิกษุที่มีอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อารามที่มีภิกษุ ภิกษุณีไม่แน่ใจ เข้าไปสู่อารามโดยไม่บอกภิกษุที่มีอยู่ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
อารามที่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีภิกษุ เข้าไปสู่อารามโดยไม่บอกภิกษุที่
มีอยู่ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
อารามที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่ามีภิกษุ เข้าไปสู่อารามโดยไม่บอกภิกษุที่
มีอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
อารามที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณีไม่แน่ใจ เข้าไปสู่อารามโดยไม่บอกภิกษุที่มีอยู่
ต้องอาบัติทุกกฏ
อารามที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีภิกษุ เข้าไปสู่อารามโดยไม่บอกภิกษุ
ที่มีอยู่ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๒๗] ๑. ภิกษุณีเข้าไปโดยบอกภิกษุที่มีอยู่
๒. ภิกษุไม่มีอยู่ ภิกษุณีจึงเข้าไปโดยไม่บอก
๓. ภิกษุณีเข้าไปเดินมองศีรษะภิกษุณีผู้เข้าไปก่อน
๔. ภิกษุณีไป ณ สถานที่มีภิกษุณีกำลังประชุมกัน
๕. ภิกษุณีเดินตามทางที่ผ่านไปอาราม
๖. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๗. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๘. ภิกษุณีวิกลจริต
๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการด่าบริภาษภิกษุ

เรื่องพระกัปปิตกะ
[๑๐๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น ท่านพระกัปปิตกะผู้เป็นอุปัชฌาย์ของท่านพระ
อุบาลีพักอยู่ในป่าช้า คราวนั้นมีภิกษุณีรูปหนึ่งอายุมากกว่าพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
มรณภาพ พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ช่วยกันนำ(ศพ)ภิกษุณีนั้นออกไปเผาแล้วก่อสถูป
ไว้ไม่ไกลที่พักของพระกัปปิตกะแล้วร่ำไห้ที่สถูปนั้น ลำดับนั้น ท่านพระกัปปิตกะ
รำคาญเสียงนั้นจึงทำลายสถูปนั้นเสียแหลกละเอียด
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ปรึกษากันว่า “พระกัปปิตกะทำลายสถูปแม่เจ้าของพวก
เรา มาเถิด พวกเราจะฆ่าพระกัปปิตกะนั้น”
ภิกษุณีรูปหนึ่งบอกความนั้นให้ท่านพระอุบาลีทราบ ท่านพระอุบาลีนำเรื่องนั้น
ไปบอกท่านพระกัปปิตกะ ท่านพระกัปปิตกะหนีออกจากวิหารไปซ่อนอยู่
คราวนั้นพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เข้าไปที่วิหารของท่านพระกัปปิตกะตั้งอยู่ ครั้น
แล้วช่วยกันขนก้อนหินและก้อนดินทับวิหารของท่าน แล้วจากไปด้วยเข้าใจว่า
“พระกัปปิตกะมรณภาพแล้ว”
ครั้นราตรีนั้นผ่านไป ท่านพระกัปปิตกะครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตในกรุงเวสาลีแต่เช้า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เห็นท่านเดินเที่ยวบิณฑบาตอยู่
กล่าวกันอย่างนี้ว่า “พระกัปปิตกะยังมีชีวิตอยู่ ใครกันนะที่นำแผนการของพวกเรา
ไปบอก” ครั้นได้ทราบว่า “พระคุณเจ้าอุบาลีนำแผนการของพวกเราไปบอก” จึง
พากันด่าท่านพระอุบาลีว่า “ท่านผู้เป็นทาสรับใช้เมื่อเวลาอาบน้ำ คอยถูขี้ไคล มี
ตระกูลต่ำคนนี้ ไฉนจึงนำแผนการของเราไปบอกเล่า”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงด่าพระคุณเจ้าอุบาลีเล่า” ครั้นแล้วภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอก
ภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลี
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลีเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๒๙] ก็ภิกษุณีใดด่าหรือบริภาษภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระกัปปิตกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบัน
คำว่า ด่า คือ ด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ อย่าง๑ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บริภาษ คือ แสดงอาการที่น่ากลัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ อักโกสวัตถุ คำที่ใช้ด่า ๑๐ อย่าง ในวินัยท่านว่า ได้แก่ โอมสวาท คือคำกล่าวเสียดสี ๑๐ อย่าง (วิ.ป.
๘/๓๓๐/๒๙๗, วิ.อ. ๓/๓๓๐/๔๗๓, ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒) ส่วนในธรรมบท
อรรถกถา หมายถึงคำที่ใช้ด่า ๑๐ อย่าง คือคำด่าว่า (๑) เจ้าเป็นโจร (๒) เป็นคนพาล (๓) เป็นคนหลง
(๔) เป็นอูฐ (๕) เป็นโค (๖) เป็นลา (๗) เป็นสัตว์นรก (๘) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๙) เป็นคนไม่มีสุคติ
(๑๐) เป็นคนหวังได้เฉพาะทุคติ (ขุ.ธ.อ. ๒/๑๕/๔๖)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๖๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๓๑] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุณีด่าหรือบริภาษอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๓๒] ๑. ภิกษุณีมุ่งอรรถ
๒. ภิกษุณีมุ่งธรรม
๓. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการบริภาษคณะ

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๑๐๓๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีชอบก่อความ
บาดหมาง ก่อการทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เมื่อ
สงฆ์ทำกรรมแก่จัณฑกาลีนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาก็คัดค้าน
ต่อมา ภิกษุณีถุลลนันทาเดินทางไปยังหมู่บ้านด้วยธุระบางอย่าง ภิกษุณีสงฆ์
พอรู้ว่า “ภิกษุณีถุลลนันทาจากไปแล้ว” จึงลงอุกเปขนียกรรมแก่ภิกษุณีจัณฑกาลี
เพราะไม่เห็นอาบัติ ครั้นภิกษุณีถุลลนันทาทำธุระนั้นในหมู่บ้านเสร็จแล้วกลับมา
ยังกรุงสาวัตถี เมื่อภิกษุณีถุลลนันทากำลังมา ภิกษุณีจัณฑกาลีไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้ง
น้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตรและจีวร ไม่เอาน้ำดื่ม
ต้อนรับ
ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับภิกษุณีจัณฑกาลีนั้นดังนี้ว่า “เมื่อฉันกำลังมา
ไฉนเธอไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตร
และจีวร ไม่เอาน้ำดื่มต้อนรับเล่า”
ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า “แม่เจ้า คนไม่มีที่พึ่งก็เป็นอย่างนี้แหละ”
ภิกษุณีถุลลนันทาถามว่า “เพราะเหตุไรเธอจึงไม่มีที่พึ่ง”
ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า “แม่เจ้า ภิกษุณีเหล่านี้เข้าใจว่า ดิฉันไม่มีที่พึ่ง
ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีใครคอยกล่าวปกป้อง จึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ”
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงขึ้งเคียดบริภาษคณะว่า “ภิกษุณีพวกนี้โง่เขลา ภิกษุณี
พวกนี้ไม่ฉลาด ภิกษุณีพวกนี้ไม่รู้จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ หรือ
กรรมสมบัติ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงขึ้งเคียดบริภาษคณะเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้
ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาขึ้งเคียด
บริภาษคณะ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึง
ขึ้งเคียดบริภาษคณะเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๓๔] ก็ภิกษุณีใดขึ้งเคียด บริภาษคณะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๕] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ขึ้งเคียด พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงความโกรธ
ที่ชื่อว่า คณะ ตรัสหมายถึงภิกษุณีสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
คำว่า บริภาษ คือ บริภาษว่า “ภิกษุณีพวกนี้โง่เขลา ภิกษุณีพวกนี้ไม่ฉลาด
ภิกษุณีพวกนี้ไม่รู้จักกรรม โทษของกรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ บริภาษภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว หรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๓๖] ๑. ภิกษุณีมุ่งอรรถ
๒. ภิกษุณีมุ่งธรรม
๓. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการฉันของเคี้ยวของฉันเมื่อห้ามภัตตาหารแล้ว

เรื่องภิกษุณีฉันหลายที่ในมื้อเดียวกัน
[๑๐๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุณี
ทั้งหลายให้ฉัน พวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้ามภัตตาหารแล้ว พากันไปตระกูลญาติ
ภิกษุณีบางพวกยังฉันอีก บางพวกนำบิณฑบาตกลับไป
ครั้งนั้น พราหมณ์นั้นได้กล่าวกับเพื่อนบ้านดังนี้ว่า “นายทั้งหลาย
เราเลี้ยงภิกษุณีให้อิ่มหนำแล้ว เชิญมาเถิด เราจักเลี้ยงพวกท่านให้อิ่มหนำบ้าง”
เพื่อนบ้านผู้คุ้นเคยเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นายท่านจะเลี้ยงพวกเราให้อิ่มได้
อย่างไร แม้พวกภิกษุณีที่ท่านนิมนต์แล้วก็ยังต้องไปที่เรือนพวกเรา บางพวกยังฉัน
อีก บางพวกก็นำบิณฑบาตกลับไป”
พราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉันที่เรือนเรา
แล้วยังไปฉันที่อื่นอีกเล่า เราไม่สามารถที่จะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพราหมณ์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้าม
ภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีก” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉันแล้ว ห้าม
ภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีก จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉันแล้ว
ห้ามภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีกเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๓๘] ก็ภิกษุณีใดได้รับนิมนต์แล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของ
เคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉันหลายที่ในมื้อเดียวกัน จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๓๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์แล้ว คือ ได้รับนิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ ชนิด อย่างใด
อย่างหนึ่ง

ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหารแล้ว คือ (๑) ภิกษุณีกำลังฉัน (๒) ทายกนำ
โภชนะมาถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุณีบอกห้าม
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ข้าวต้ม ยามกาลิก สัตตาหกาลิก
และยาวชีวิก๑ นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ

เชิงอรรถ :
๑ ดู เชิงอรรถพระวินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๖

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๔๐] ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าได้รับนิมนต์แล้ว เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้รับนิมนต์ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉัน
ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๔๑] ๑. ภิกษุณีที่ทายกไม่ได้นิมนต์
๒. ภิกษุณียังไม่ห้ามภัตตาหาร
๓. ภิกษุณีดื่มข้าวต้ม
๔. ภิกษุณีบอกเจ้าของแล้วฉัน
๕. ภิกษุณีฉันของที่เป็นยาวกาลิก สัตตาหกาลิกและยาวชีวิกเมื่อมี
เหตุผลจำเป็น
๖. ภิกษุณีวิกลจริต
๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยความหวงตระกูล

เรื่องภิกษุณีหวงตระกูล
[๑๐๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตใน
ตรอกแห่งหนึ่งในกรุงสาวัตถี เข้าไปที่ตระกูลแห่งหนึ่ง นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ครั้น
คนทั้งหลายนิมนต์เธอให้ฉันแล้วกล่าวดังนี้ว่า “แม้ภิกษุณีอื่น ๆ ก็นิมนต์มาเถิด
เจ้าข้า”
ขณะนั้น ภิกษุณีนั้นคิดว่า ทำอย่างไร ภิกษุณีอื่น ๆ จึงจะไม่มา จึงเข้าไปหา
ภิกษุณีทั้งหลายบอกว่า “ในที่โน้นสุนัขดุ โคดุ สถานที่ลื่น พวกท่านอย่าไปที่นั้นเลย”
ภิกษุณีแม้อีกรูปหนึ่งได้ไปบิณฑบาตที่ตรอกนั้น เข้าไปที่ตระกูลนั้นตั้งอยู่
ครั้นแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ลำดับนั้น คนทั้งหลายนิมนต์ให้ภิกษุณีนั้นฉันแล้ว
ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้า ทำไมภิกษุณีทั้งหลายจึงไม่มา” ครั้งนั้น ภิกษุณีนั้นบอกเรื่อง
นั้นให้คนทั้งหลายทราบ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณี
จึงหวงตระกูลเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้
ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีหวงตระกูล จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงหวงตระกูลเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่ง
ขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๔๓] ก็ภิกษุณีใดหวงตระกูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหวงตระกูล จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๔๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
ที่ชื่อว่า หวง คือ ภิกษุณีกล่าวโทษของตระกูลในสำนักภิกษุณีทั้งหลายด้วย
ประสงค์ว่า “ทำอย่างไร ภิกษุณีทั้งหลายจึงจะไม่มา” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ
กล่าวโทษภิกษุณีในสำนักตระกูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๔๕] ๑. ภิกษุณีไม่ได้หวงตระกูลแต่บอกเฉพาะโทษที่มีอยู่
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปออกพรรษาแล้ว
ในอาวาสใกล้หมู่บ้าน พากันไปกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุณี
เหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายจำพรรษาที่ไหน โอวาทสัมฤทธิ์ผลดีละหรือ”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “แม่เจ้า ในอาวาสที่พวกเราจำพรรษาไม่มีภิกษุเลย
โอวาทจักสัมฤทธิ์ผลดีจากที่ไหนกัน”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า”๑ ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีจำพรรษาในอาวาส
ที่ไม่มีภิกษุ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงจำพรรษาใน
อาวาสที่ไม่มีภิกษุเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “อาวาสที่ไม่มีภิกษุ” หมายถึงสำนักภิกษุณีที่ไม่มีภิกษุผู้จะให้โอวาทอยู่ภายในระยะ ๑ โยชน์ หรือเส้นทาง
ที่จะไปยังสำนักภิกษุณีนั้น ไม่ปลอดภัย ไม่สะดวก ภิกษุไม่สามารถเดินทางไปให้โอวาทได้ (วิ.อ. ๒/๑๔๙/
๓๒๑, กงฺขา.อ. ๓๙๑) ไม่ได้หมายถึงอาวาสเดียวกันกับภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๗๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๔๗] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๔๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
อาวาสที่ชื่อว่า ไม่มีภิกษุ ได้แก่ อาวาสที่ภิกษุณีไม่สามารถไปรับโอวาท
หรือธรรมอันเป็นเหตุอยู่ร่วมกันได้๑
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะจำพรรษา” แล้วจัดแจงเสนาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้
กวาดบริเวณ ต้องอาบัติทุกกฏ พออรุณขึ้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๔๙] ๑. ภิกษุณีจำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุอยู่จำพรรษา หลีกไป สึก
มรณภาพหรือไปเข้ารีตเดียรถีย์
๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

เชิงอรรถ :
๑ “โอวาท” หมายถึงครุธรรม ๘ “ธรรมอันเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน” หมายถึงการสอบถามอุโบสถและปวารณา
(วิ.อ. ๒/๑๐๔๘/๕๑๓, ดู ข้อ ๑๐๕๖ หน้า ๒๘๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปออกพรรษาใน
อาวาสใกล้หมู่บ้านแล้วพากันไปกรุงสาวัตถี ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้น
ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจำพรรษาที่ไหน ได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์แล้วหรือ”
ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “พวกเรายังมิได้ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เลย เจ้าข้า”
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจำพรรษาแล้วไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า”๑ ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีจำพรรษาแล้วไม่
ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจำ
พรรษาแล้วจึงไม่ปวารณาต่อภิกษุสงฆ์เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ วิธีการปวารณาต่อภิกษุสงฆ์โดยย่อ คือหลังจากที่ได้ปวารณาต่อกันและกันแล้ว แต่งตั้งภิกษุณีรูปหนึ่ง
ด้วยญัตติทุติยกรรมให้เป็นผู้ไปปวารณาในสำนักภิกษุสงฆ์แทนภิกษุณีสงฆ์ (วิ.จู. ๗/๔๒๗/๒๖๑, กงฺขา.อ.
๓๙๒-๓๙๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๕๑] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาแล้ว ไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วยฐานะ
๓ คือ ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน หรือด้วยระแวงสงสัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๕๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่จำพรรษาต้น ๓ เดือน หรือพรรษาหลัง ๓
เดือน
ภิกษุณีพอทอดธุระว่า “ เราจะไม่ปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายด้วยฐานะ ๓ คือ
ด้วยได้เห็น ด้วยได้ยิน หรือด้วยระแวงสงสัย” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๕๓] ๑. ภิกษุณีไม่ปวารณาในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้๑
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ได้ภิกษุณี (วิ.อ. ๒/๑๐๕๓/๕๑๔)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการไม่ไปรับโอวาทเป็นต้น

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๐๕๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปสำนักภิกษุณีแล้ว
กล่าวสอนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
ภิกษุณีทั้งหลายได้กล่าวกับพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “มาเถิด แม่เจ้า
ทั้งหลาย พวกเราจะไปรับโอวาท”
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกเราจะไปรับโอวาททำไมกัน พระคุณเจ้า
ฉัพพัคคีย์มาให้โอวาทพวกเราถึงที่นี้แล้ว”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงไม่ไปรับโอวาทเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้
ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ไปรับ
โอวาท จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ไม่ไปรับโอวาท
เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๐๕๕] ก็ภิกษุณีใดไม่ไปรับโอวาท หรือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๕๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘ ประการ๑
ที่ชื่อว่า ธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทสที่สวด
ร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน
ภิกษุณีพอทอดธุระว่า “เราจะไม่ไปรับโอวาทหรือธรรมเป็นเหตุอยู่ร่วมกัน”
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๕๗] ๑. ภิกษุณีไม่ไปรับโอวาทในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้ภิกษุณีเป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ครุธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน
ได้ประทานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีผู้เดินทางไกลจากกรุงบิลพัสดุ์เพื่อทูลบวชเป็นภิกษุณีในพระ
พุทธศาสนา นับเป็นภิกษุณีรูปแรก และเป็นการประทานครุธรรมครั้งแรก (ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ
๑๔๙ หน้า ๓๒๒-๓๒๓, วิ.จู. ๗/๔๐๓/๒๓๓-๒๓๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการไม่ถามอุโบสถเป็นต้น

เรื่องภิกษุณีไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท
[๑๐๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีไม่ถามอุโบสถบ้าง ไม่ขอ
โอวาทบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึง
ไม่ถามอุโบสถบ้าง ไม่ขอโอวาทบ้างเล่า”

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีไม่ถามอุโบสถบ้าง
ไม่ขอโอวาทบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีไม่ถาม
อุโบสถบ้าง ไม่ขอโอวาทบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๕๙] ก็ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือ
การถามอุโบสถ ๑ การเข้าไปขอโอวาท ๑ ผู้ฝ่าฝืนธรรม ๒ อย่างนั้น ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีไม่ถามอุโบสถ ไม่ขอโอวาท จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖๐] คำว่า ทุกกึ่งเดือน คือ ทุกวันอุโบสถ
ที่ชื่อว่า อุโบสถ ได้แก่ อุโบสถ ๒ อย่าง คือ อุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ และอุโบสถ
วัน ๑๕ ค่ำ
ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘ อย่าง๑
ภิกษุณีทอดธุระว่า “เราจะไม่ถามอุโบสถบ้าง จะไม่ขอโอวาทบ้าง” ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๖๑] ๑. ภิกษุณีไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาทในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้ภิกษุณีเป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม ๒ ข้อ ๑๔๙ หน้า ๓๒๒-๓๒๓, วิ.จู. ๗/๔๐๓/๒๓๓-๒๓๕

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๖. อารามวรรค

สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการให้บ่งฝีในร่มผ้า

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๐๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งให้บ่งฝีที่เกิดใน
ร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชาย ลำดับนั้น ชายนั้นพยายามจะข่มขืนภิกษุณีนั้น เธอ
ได้ส่งเสียงร้องขึ้น ภิกษุณีทั้งหลายวิ่งเข้าไปได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า
เธอส่งเสียงร้องทำไม” เธอจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีจึงใช้ชายให้บ่งฝีที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชายเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้บุรุษให้บ่งฝีที่เกิด
ในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับบุรุษ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีจึงใช้บุรุษให้บ่งฝีที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับบุรุษเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
ให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๐๖๓] ก็ภิกษุณีใดไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ใช้ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง
ให้ทา ให้พัน หรือให้แกะฝีหรือบาดแผลที่เกิดในร่มผ้าอยู่กันสองต่อสองกับชาย
ต้องอาบัติปาจิตตีย์๑
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ในร่มผ้า ได้แก่ บริเวณใต้สะดือลงมา เหนือเข่าขึ้นไป
คำว่า ที่เกิด คือ ที่เกิดในบริเวณนั้น
ที่ชื่อว่า ฝี ได้แก่ ฝีชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่ชื่อว่า บาดแผล ได้แก่ แผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า ไม่บอก คือ ไม่แจ้งให้ทราบ
ที่ชื่อว่า สงฆ์ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงภิกษุณีสงฆ์
ที่ชื่อว่า คณะ ตรัสหมายถึงภิกษุณีหลายรูป

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีไม่บอกสงฆ์หรือคณะ ใช้ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา ให้พัน ให้แกะ ชายนั้นทำหมดทุกอย่างตามที่ใช้
ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติทุกกฏ ๖ ตัว ในขณะที่ใช้ เมื่อชายนั้นทำเสร็จ ภิกษุณีต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๖ ตัว หรือ
แม้จะใช้ให้เขาทำตามที่เห็นสมควร เมื่อเขาทำเสร็จทุกอย่าง ก็ต้องอาบัติทุกกฏ ๖ ตัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖ ตัวเช่นกัน แต่ถ้าใช้ให้ทำเพียงอย่างเดียว แม้ชายนั้นจะทำหมดทุกอย่าง ก็ต้องอาบัติทุกกฏ และ
ปาจิตตีย์เพียง ๑ ตัว (กงฺขา.อ. ๓๙๕)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๖. อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถที่จะทำมิดีมิร้ายได้
คำว่า ด้วยกัน คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ บุรุษและภิกษุณี
[๑๐๖๕] ภิกษุณีสั่งว่า “จงบ่ง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงผ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงชะล้าง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะล้างเสร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงทา” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงพัน” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงแกะ” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๖๖] ๑. ภิกษุณีบอกสงฆ์หรือคณะแล้วจึงให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา
ให้พันหรือให้แกะ
๒. ภิกษุณีมีสตรีผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
อารามวรรคที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๘๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค
หมวดว่าด้วยสตรีมีครรภ์

สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีครรภ์

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๖๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สตรีมีครรภ์
เธอเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวายภิกษาหาร
แก่แม่เจ้า แม่เจ้ามีครรภ์แก่” แล้วตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมีครรภ์เล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้
สตรีมีครรภ์เล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สตรีมีครรภ์
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมีครรภ์เล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๐๖๘] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สตรีมีครรภ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๖๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สตรีมีครรภ์ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่มีสัตว์มาถือปฏิสนธิ
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ (สวด)จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
[๑๐๗๐] สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่ามีครรภ์ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๗๑] ๑. สตรีมีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ จึงบวชให้
๒. สตรีไม่มีครรภ์ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีครรภ์ จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม

เรื่องภิกษุณีหลายรูปบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม
[๑๐๗๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สตรีมีลูก
ยังดื่มนม เธอเที่ยวบิณฑบาต คนทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงถวาย
ภิกษาหารแก่แม่เจ้า แม่เจ้ามีลูก” แล้วตำหนิว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมี
ลูกยังดื่มนมเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้
สตรีมีลูกยังดื่มนมเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สตรีมีลูก
ยังดื่มนม จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สตรีมี
ลูกยังดื่มนมเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๐๗๓] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สตรีมีลูกยังดื่มนม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูปให้สตรีมีลูกยังดื่มนมบวช จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๗๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์ว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สตรีมีลูกยังดื่มนม ได้แก่ สตรีที่เป็นมารดา หรือเป็นแม่นม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ (สวด)จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา
๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
[๑๐๗๕] สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกยังดื่มนม บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่ามีลูกยังดื่มนม บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร

ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๗๖] ๑. สตรีมีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม จึงบวชให้
๒. สตรีไม่มีลูกยังดื่มนม ภิกษุณีสำคัญว่าไม่มีลูกยังดื่มนม จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๗๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สิกขมานา
ผู้ไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ๑ตลอด ๒ ปี สิกขมานาผู้บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้น
โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า”
ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้
นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานา
ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒
ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรง

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงอนุปสัมบันหรือสามเณรีผู้ใคร่ศึกษา แต่ยังไม่มีภิกษุณีใดให้สิกขาหรือมีสิกขาเสียไป ที่ได้ชื่อว่า
สิกขมานา เพราะศึกษาในธรรม ๖ ข้อ หรือธรรมกล่าวคือสิกขาเหล่านั้น (กงฺขา.อ. ๓๙๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
แสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติ๑ในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติอย่างนี้

วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้สิกขาสมมติ
สิกขมานานั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้
เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๐๗๘] แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ขอ
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ขอสิกขาสมมติ
ในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา
๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกขาสมมติในธรรม ๖
ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่สิกขมานาชื่อนี้ แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย
แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี สงฆ์ให้แก่สิกขมานาชื่อนี้แล้ว
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
[๑๐๗๙] พึงบอกสิกขมานาผู้นั้นว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้ว่า
๑. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๒. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาสมมติ คือข้อตกลงยินยอมร่วมกันที่จะให้สิกขมานานั้นศึกษาในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์
๓. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์๑
โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๔. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการพูดเท็จ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๕. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความประมาท โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๖. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๘๐] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๘๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี

เชิงอรรถ :
๑ พฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ หมายถึงการเสพเมถุนกรรม (การร่วมสังวาส) (ขุ.ขุ.อ. ๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา คือ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือให้แล้ว
แต่เธอทำขาด
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตร หรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๘๒] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาสวดให้สิกขาสมบัติดังกล่าวข้างต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๒๙๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๘๓] ๑. ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด
๒ ปี
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สิกขมานา
ผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ภิกษุณีทั้งหลายกล่าว
อย่างนี้ว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคนสิ่งนี้ นำสิ่งนี้มา
ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”
สิกขมานาเหล่านั้นตอบว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันไม่ใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น
ภิกษุณี”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แต่สงฆ์ยัง
ไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีทั้งหลายบวชให้
สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติ๑ อย่างนี้

วิธีขอวุฏฐานสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้วนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ
กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นสิกขมานาของแม่เจ้าชื่อนี้ ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๐๘๕] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อม
กันแล้วก็พึงให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแล้ว นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สิกขมานาชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่
สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วย
กับการให้วุฏฐานสมมติแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
แล้ว แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง

เชิงอรรถ :
๑ วุฏฐานสมมติ แปลว่า สมมติการบวช หมายถึงการรับรองให้บวชได้ กรรมชนิดนี้ ภิกษุณีสงฆ์จะให้แก่
สิกขมานาผู้ศึกษาประพฤติตามธรรม ๖ ข้อ ครบ ๒ ปี วุฏฐานสมมติถือเป็นประกาศนียบัตรรับรองให้
บวชเป็นภิกษุณีได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ สิกขาบทวิภังค์
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๘๖] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๘๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อแล้ว
ที่ชื่อว่า แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ คือ แต่สงฆ์ยังไม่ได้ให้วุฏฐานสมมติด้วย
ญัตติทุติยกรรม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๘๘] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๘๙] ๑. ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒
ปีที่สงฆ์สมมติแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี๑ หญิงที่บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้นไม่อดทน ไม่อดกลั้น
ต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด
สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์
แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจแทบจะคร่าชีวิต
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน

เชิงอรรถ :
๑ หญิงที่จะได้รับการบวชเป็นภิกษุณีนั้น นอกจากจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามขั้นตอนแล้ว ยังต้อง
มีอายุครบ ๒๐ ปี แต่ในกรณีนี้ เป็นข้อยกเว้นสำหรับหญิงที่มีครอบครัวแล้วหรือเคยผ่านการแต่งงานมี
ครอบครัวมาแล้ว แม้เธอจะมีอายุเพียง ๑๒ ปี ถ้าผ่านการศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี และสงฆ์
ให้การสมมติคือรับรองแล้ว ก็สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ (กงฺขา.อ. ๓๙๘-๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ สิกขาบทวิภังค์
พวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย
เพราะว่าหญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ยังไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความเย็น ความร้อน
ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำ
กล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกาย ที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง
เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจแทบจะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๙๑] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๙๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อายุต่ำกว่า ๑๒ ปี คือ อายุไม่ถึง ๑๒ ปี
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม
กับชาย
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[๑๐๙๓] หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี
บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
หญิงอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
หญิงอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่ามีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
หญิงอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
หญิงมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๐๙๔] ๑. หญิงมีอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ จึงบวชให้
๒. หญิงมีอายุครบ ๑๒ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
แต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๐๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี หญิงที่
บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้นโง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้
ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒
ปียังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติ ในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒
ปีแก่หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้สิกขาสมมติ
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียง
บ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้ เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอ
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี ต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๐๙๖] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมี
อายุครบ ๑๒ ปี ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี
ต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี
แก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒
ปี ของแม่เจ้าชื่อนี้ ขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี ต่อสงฆ์
สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปีแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัว
มีอายุครบ ๑๒ ปี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็น
เวลา ๒ ปีแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปี แม่เจ้ารูปนั้นพึง
นิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา ๒ ปี สงฆ์ให้แล้วแก่หญิงชื่อนี้เป็น
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า
ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงบอกหญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปีนั้นว่า
“เธอจงกล่าวอย่างนี้ว่า
๑. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
ฯลฯ
๖. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๐๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ สิกขาบทวิภังค์
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้
ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๐๙๗] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปียังไม่ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๐๙๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๑๒ ปี คือ มีอายุถึง ๑๒ ปี
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม
กับชาย
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา คือ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือให้แล้ว
แต่เธอทำขาด
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๐๙๙] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๐๐] ๑. ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการบวชให้หญิงที่มีครอบครัวซึ่งสงฆ์ยังไม่ได้สมมติ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๐๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัว
มีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคนสิ่งนี้
นำสิ่งนี้มา ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”
สิกขมานาเหล่านั้นตอบว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันมิใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น
ภิกษุณี”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้หญิงที่มี
ครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่
่ได้สมมติ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้หญิงที่
มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
่ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรง
แสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์
ให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงที่มีครอบครัวมีอายุ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปีแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติอย่างนี้

วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
แล้วนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลาย
นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของ
แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอ
วุฏฐานสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๑๐๒] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของ
แม่เจ้าชื่อนี้ มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอ
วุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็น
หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว
นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวของแม่เจ้าชื่อนี้
มีอายุครบ ๑๒ ปี ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติ
ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปี
ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้
วุฏฐานสมมติแก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้า
รูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แก่หญิงชื่อนี้เป็นหญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๐๓] ก็ภิกษุณีใดบวชให้หญิงที่มีครอบครัวมีอายุครบ ๑๒ ปีผู้ได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๑๒ ปี คือ มีอายุถึง ๑๒ ปีแล้ว
ที่ชื่อว่า หญิงที่มีครอบครัว พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงหญิงที่เคยอยู่ร่วม
กับชาย
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อแล้ว
ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้การรับรองการบวชด้วยญัตติ
ทุติยกรรม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๐๕] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๐๖] ๑. ภิกษุณีบวชให้หญิงที่มีครอบครัว มีอายุครบ ๑๒ ปี ผู้ได้ศึกษา
สิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีและสงฆ์สมมติแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ พระบัญญัติ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการไม่อนุเคราะห์สหชีวินีตลอด ๒ ปี

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๐๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินี
แล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี สหชีวนีผู้บวชเป็นภิกษุณี
เหล่านั้นเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒
ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวก
ภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้งไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ทั้ง
ไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๐๘] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สหชีวินีแล้วไม่อนุเคราะห์ ไม่ให้อนุเคราะห์
ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๐๙] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สหชีวินี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัทธิวิหารินี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
คำว่า ไม่อนุเคราะห์ คือ ไม่อนุเคราะห์เองด้วยอุทเทส ปริปุจฉา โอวาท
อนุศาสนี
คำว่า ไม่ให้อนุเคราะห์ คือ ไม่สั่งภิกษุณีอื่น
พอทอดธุระว่า “จะไม่อนุเคราะห์ จะไม่ให้ผู้อื่นอนุเคราะห์ตลอด ๒ ปี” ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๑๐] ๑. ภิกษุณีผู้ไม่อนุคราะห์ในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้๑
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ

เชิงอรรถ :
๑ ไม่ได้ภิกษุณีรูปอื่น (วิ.อ. ๒/๑๑๑๐/๕๑๗)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการไม่ติดตามปวัตตินีตลอด ๒ ปี

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๑๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ติดตาม
ปวัตตินี๑ผู้บวชให้ตลอด ๒ ปี พวกเธอเป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักสิ่งควร
หรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงไม่ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตลอด ๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีไม่ติดตามปวัตตินี
ผู้บวชให้ตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีไม่
ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ไม่ติดตาม” หมายถึงไม่อุปัฏฐากด้วยจุรณ ดินเหนียว ไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า “ปวัตตินี”
หมายถึงภิกษุณีผู้เป็นอุปชฌาย์ (กงฺขา.อ. ๓๙๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๑๒] ก็ภิกษุณีใดไม่ติดตามปวัตตินีผู้บวชให้ตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๑๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ผู้บวชให้ คือ ผู้อุปสมบทให้
ที่เรียกว่า ปวัตตินี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงภิกษุณีที่เป็นอุปัชฌาย์
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
คำว่า ไม่ติดตาม คือ ไม่อุปัฏฐากเอง
พอทอดธุระว่า “จะไม่ติดตามไปตลอด ๒ ปี” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๑๔] ๑. ภิกษุณีไม่ติดตามอุปัชฌาย์เป็นคนเขลาหรือมีความละอาย
๒. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๑๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๗. คัพภินีวรรค

สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการไม่พาสหชีวินีหลีกไป
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๑๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินี
แล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไป สามีจึงจับ(สหชีวินีนั้น)
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไปเล่า สามี
จึงจับ(สหชีวินี) ถ้าภิกษุณีนั้นพึงหลีกไป สามีก็จับเธอไม่ได้” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้งไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไป สามีได้จับ(สหชีวินีนั้น) จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ทั้ง
ไม่ให้ผู้อื่นพาหลีกไป จนสามีจับได้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๑๖] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สหชีวินีแล้วไม่พาหลีกไป ไม่ให้พาหลีกไป
โดยที่สุดแม้สิ้นระยะทาง ๕-๖ โยชน์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๗. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๑๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สหชีวินี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัทธิวิหารินี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
คำว่า ไม่พาหลีกไป คือ ตนเองไม่พาหลีกไป
คำว่า ไม่ให้พาหลีกไป คือ ไม่สั่งผู้อื่น
พอทอดธุระว่า “จะไม่พาหลีกไป ทั้งจะไม่ให้พาหลีกไปแม้สิ้นระยะทาง ๕-๖
โยชน์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๑๘] ๑. ภิกษุณีไม่หลีกไปในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้ภิกษุณีเป็นเพื่อน
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
คัพภินีวรรคที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค
หมวดว่าด้วยกุมารี

สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการบวชให้กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้กุมารี
อายุต่ำกว่า ๒๐ ปี กุมารีที่บวชเป็นภิกษุณีเหล่านั้นไม่อดทน ไม่อดกลั้นต่อความ
เย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม แดด
สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์
แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำ
เรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุ
ต่ำกว่า ๒๐ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงบวชให้กุมารี
อายุต่ำกว่า ๒๐ ปีเล่า เพราะกุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปียังไม่อดทน ไม่อดกลั้น
ต่อความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย สัมผัสจากเหลือบ ยุง ลม
แดด สัตว์เลื้อยคลาน คำกล่าวร้าย คำที่ฟังแล้วไม่ดี ความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
เป็นทุกข์ แสนสาหัส รุนแรง เผ็ดร้อน ที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต
ส่วนหญิงสาวที่มีอายุครบ ๒๐ ปีย่อมอดทนต่อความเย็น ความร้อน ฯลฯ แทบ
จะคร่าชีวิต ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๒๐] ก็ภิกษุณีใดบวชให้กุมารีมีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๒๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี คือ มีอายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า กุมารี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณรี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
[๑๑๒๒] กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุต่ำ ๒๐ ปี บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าครบ บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ
กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี บวชให้ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๒๓] ๑. กุมารีอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี
จึงบวชให้
๒. กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ภิกษุณีสำคัญว่าอายุครบ ๒๐ ปี
จึงบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการบวชให้กุมารีที่ยังไม่ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้กุมารีมี
อายุครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี พวกเธอโง่เขลา
ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ
ตลอด ๒ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุ
ครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปีแต่ยังไม่ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำ ให้คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” ครั้นตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อ เป็นเวลา
๒ ปีแก่กุมารีอายุ ๑๘ ปี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงให้สิกขาสมมติอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
วิธีขอสิกขาสมมติและกรรมวาจาให้สิกขาสมมติ
กุมารีอายุ ๑๘ ปีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้
เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปีขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี
ต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแมัครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๑๒๕] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุ
๑๘ ปีขอสิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงให้สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่หญิงสาวผู้มีอายุ ๑๘ ปี นี่
เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีนี้ชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปีขอ
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีต่อสงฆ์ สงฆ์ให้สิกขาสมมติในธรรม ๖
ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปี แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปีแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุ ๑๘ ปี แม่เจ้า
รูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
สิกขาสมมติในธรรม ๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี สงฆ์ให้แล้วแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุ ๑๘
ปี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
พึงบอกกุมารีมีอายุ ๑๘ ปีนั้นว่า “เธอจงกล่าวอย่างนี้ว่า
๑. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๒. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๓. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
๔. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการพูดเท็จ โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด
๒ ปี
๕. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความประมาท โดยไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี
๖. ดิฉันขอสมาทานงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล โดย
ไม่ล่วงละเมิดตลอด ๒ ปี”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๒๖] ก็ภิกษุณีใดบวชให้กุมารีผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา
ในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๒๗] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อายุครบ ๒๐ ปี คือ มีอายุถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า กุมารี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณรี
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ยังไม่ได้ศึกษาสิกขา คือ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ได้ให้สิกขา หรือให้
แล้วแต่เธอทำขาด
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๒๘] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๒๙] ๑. ภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ศึกษาธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปี
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการบวชให้กุมารีที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๓๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้กุมารีมี
อายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคน
สิ่งนี้ นำสิ่งนี้มา ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”
กุมารีเหล่านั้นกล่าวว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันมิใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น
ภิกษุณี”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีมีอายุ
ครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๒๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่
กุมารีมีอายุ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติอย่างนี้

วิธีให้วุฏฐานสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
กุมารีมีอายุ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้วนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้
มีอายุครบ ๒๐ ปี ได้ศึกษาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๑๓๑] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุครบ
๒๐ ปีได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์
พร้อมแล้วพึงให้วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุครบ ๒๐ ปี
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้
วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด
๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ ๒๐
ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใด
ไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุครบ ๒๐ ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความ
นิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๓๒] ก็ภิกษุณีใดบวชให้กุมารีมีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๓๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีอายุครบ ๒๐ ปี คือ มีอายุถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า กุมารี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสามเณรี
คำว่า ตลอด ๒ ปี คือ สิ้น ๒ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ได้ศึกษาสิกขา คือ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อแล้ว
ที่ชื่อว่า สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้วุฏฐานสมมติด้วยญัตติทุติย
กรรม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๓๔] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๓๕] ๑. ภิกษุณีบวชให้กุมารีอายุครบ ๒๐ ปี ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖
ข้อตลอด ๒ ปีที่สงฆ์สมมติแล้ว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ เป็นปวัตตินี

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาต่ำกว่า
๑๒๑บวชให้กุลธิดา พวกเธอเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร แม้
พวกสัทธิวิหารินีก็เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ จึงบวชให้กุลธิดาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒
บวชให้กุลธิดา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้
มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีมีพรรษา
ต่ำกว่า ๑๒ จึงบวชให้กุลธิดาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ มีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ หมายถึงบวชเป็นภิกษุณียังไม่ครบ ๑๒ พรรษา (กงฺขา.อ. ๔๐๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๓๗] ก็ภิกษุณีใดมีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ บวชให้กุลธิดา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๓๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีพรรษาต่ำกว่า ๑๒ คือ พรรษายังไม่ถึง ๑๒
คำว่า บวชให้กุลธิดา คือ อุปสมบทให้กุลธิดา
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๓๙] ๑. ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ บวชให้กุลธิดา
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ เป็นปวัตตินีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาครบ ๑๒
แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติบวชให้กุลธิดา พวกเธอเป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควร
หรือไม่ควร แม้สัทธิวิหารินีก็เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติจึงบวชให้กุลธิดาเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒
แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติบวชให้กุลธิดา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จึงบวชให้กุลธิดาเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วได้ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตวุฏฐาปนสมมติ๑แก่ภิกษุณีผู้มีพรรษา
ครบ ๑๒ แล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐาปนสมมติอย่างนี้

เชิงอรรถ :
๑ “วุฏฐาปนสมมติ” แปลว่า สมมติให้เป็นผู้บวชให้กุลธิดา คือการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ นิทานวัตถุ
วิธีขอวุฏฐาปนสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐาปนสมมติ
ภิกษุณีผู้มีพรรษาครบ ๑๒ นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้าง
หนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษาแล้วนั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า
“แม่เจ้า ดิฉันมีชื่อนี้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว ขอวุฏฐาปนสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอแม้ครั้งที่ ๓
ภิกษุณีนั้นสงฆ์พึงกำหนดได้ว่า “ภิกษุณีนี้เป็นคนฉลาด มีความละอาย” ถ้า
เธอเขลา ไม่มีความละอาย ก็ไม่ควรให้วุฏฐาปนสมมติ ถ้าเธอเขลาแต่มีความละอาย
ก็ไม่ควรให้ ถ้าเป็นคนฉลาดแต่ไม่มีความละอายก็ไม่ควรให้ แต่ถ้าเป็นทั้งคนฉลาด
และมีความละอายจึงควรให้
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐาปนสมมติอย่างนี้
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[๑๑๔๑] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว
ขอวุฏฐาปนสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วพึงให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มี
พรรษาครบ ๑๒ แล้ว นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้วขอวุฏฐาปนสมมติ
ต่อสงฆ์ สงฆ์ให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แม่เจ้ารูป
ใดเห็นด้วยกับการให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว แม่เจ้า
รูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
วุฏฐาปนสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุณีชื่อนี้ผู้มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว สงฆ์เห็น
ด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๕ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๑๔๒] ก็ภิกษุณีใดมีพรรษาครบ ๑๒ แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ บวช
ให้กุลธิดา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๔๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว คือ มีพรรษาถึง ๑๒
ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้สมมติ คือ สงฆ์ยังมิได้ให้วุฏฐาปนสมมติด้วยญัตติทุติย
กรรมวาจา
คำว่า บวชให้กุลธิดา คือ อุปสมบทให้กุลธิดา
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๔๔] กรรมที่ทำถูกต้อง๑ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
๑ กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาให้วุฏฐาปนสมมติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๔๕] ๑. ภิกษุณีมีพรรษาครบ ๑๒ แล้ว และสงฆ์สมมติแล้ว จึงบวชให้
กุลธิดา
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการบ่นว่าภายหลัง

เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๑๑๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีเข้าไปหา
ภิกษุณีสงฆ์ ขอวุฏฐาปนสมมติ ลำดับนั้น ภิกษุณีสงฆ์กำหนดพิจารณาเธอในขณะ
นั้นแล้วไม่ยอมให้วุฏฐาปนสมมติ ด้วยกล่าวว่า “แม่เจ้า เธออย่าบวชให้กุลธิดาเลย”
ภิกษุณีจัณฑกาลีก็รับคำของสงฆ์
ครั้นต่อมา ภิกษุณีสงฆ์ให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีเหล่าอื่น
ภิกษุณีจัณฑกาลีจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ดิฉันเท่านั้นเป็นคนเขลา
ดิฉันเท่านั้นไม่มีความละอาย ที่ทำให้สงฆ์ให้วุฏฐาปนสมมติแก่ภิกษุณีเหล่าอื่น ไม่ให้
แก่ดิฉันเท่านั้น”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าจัณฑกาลีอันสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ‘แม่เจ้า เธออย่าบวชให้กุลธิดาเลย’ รับคำแล้ว
ภายหลังกลับบ่นว่าเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีจัณฑกาลีอันสงฆ์
กล่าวอยู่ว่า ‘แม่เจ้า เธออย่าบวชให้กุลธิดาเลย” รับคำแล้ว ภายหลังกลับบ่นว่า
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลีอันสงฆ์กล่าวอยู่ว่า ‘แม่เจ้า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๓๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
เธออย่าบวชให้กุลธิดาเลย’ รับคำแล้ว ภายหลังกลับบ่นว่าเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๔๗] ก็ภิกษุณีใดอันสงฆ์กล่าวอยู่ว่า “แม่เจ้า เธออย่าบวชให้กุลธิดา
เลย” รับคำแล้ว ภายหลังกลับบ่นว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๔๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า แม่เจ้า เธออย่าบวชให้กุลธิดาเลย ความว่า แม่เจ้า เธออย่าให้กุลธิดา
อุปสมบทเลย เธอรับคำแล้ว ภายหลังกลับบ่นว่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๔๙] ๑. ภิกษุณีผู้บ่นว่าภิกษุณีสงฆ์ที่มักกระทำไปด้วยความชอบ ด้วย
ความชัง ด้วยความหลง ด้วยความกลัว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ถวายจีวรแล้วไม่บวชให้

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สิกขมานารูปหนึ่งเข้าไปหา
ภิกษุณีถุลลนันทา ขออุปสมบท
ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกับสิกขมานานั้นว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา
เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จะบวชให้เธอ” แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ ลำดับ
นั้น สิกขมานานั้นจึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงกล่าวกับสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อ
เป็นอย่างนี้ เราก็จะบวชให้เธอ’ แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายเพื่อบวชให้เล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกับ
สิกขมานาว่า ‘แม่คุณ ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จะบวชให้เธอ’
แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงกล่าวกับสิกขมานาว่า ‘ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อเป็นอย่างนี้
เราก็จะบวชให้เธอ’ แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๕๑] ก็ภิกษุณีใดกล่าวกับสิกขมานาว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักให้จีวรแก่
เรา เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จะบวชให้เธอ” ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย
ไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๕๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว
คำว่า แม่คุณ ถ้าเธอจักให้จีวรแก่เรา เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จะบวชให้เธอ
ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจะอุปสมบทให้เธอ
คำว่า ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย คือ เมื่ออันตรายไม่มี
คำว่า ไม่บวชให้ คือ ไม่บวชให้ด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ คือ ไม่สั่งภิกษุณีรูปอื่น
พอทอดธุระว่า “จะไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๕๓] ๑. ภิกษุณีไม่บวชให้ในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้๑
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงไม่ได้ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์รูปอื่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการบอกสิกขมานาให้ติดตามตลอด ๒ ปีแล้วไม่บวชให้

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๕๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สิกขมานารูปหนึ่งเข้าไปหา
ภิกษุณีถุลลนันทาขออุปสมบท
ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวกับสิกขมานานั้นดังนี้ว่า “แม่คุณ ถ้าเธอจักติดตาม
ฉันตลอด ๒ ปี เมื่อเป็นอย่างนี้ ฉันจะบวชให้เธอ” แล้วไม่บวชให้ ไม่ขวนขวาย
ใช้ให้บวชให้ ลำดับนั้น สิกขมานานั้นบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลล นันทาพูดกับสิกขมานาแล้วว่า ‘แม่คุณ ถ้าเธอจักติดตามฉันตลอด ๒
ปี เมื่อเป็นอย่างนี้ ฉันจะบวชให้เธอ’ ไม่บวชให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาพูดกับ
สิกขมานาแล้วว่า ‘แม่คุณ ถ้าเธอจักติดตามฉันตลอด ๒ ปี เมื่อเป็นอย่างนั้น
ฉันจะบวชให้เธอ’ แล้วไม่บวชให้ ทั้งไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ จริงหรือ” พวก
ภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทากล่าวกับสิกขมานาแล้วว่า ‘แม่คุณ ถ้าเธอ
จักติดตามฉันตลอด ๒ ปี เมื่อเป็นอย่างนั้น ฉันจะบวชให้เธอ’ แล้วไม่บวชให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ สิกขาบทวิภังค์
ทั้งไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๕๕] ก็ภิกษุณีใดกล่าวกับสิกขมานาว่า ‘แม่คุณ ถ้าเธอจักติดตามเรา
ตลอด ๒ ปี เมื่อเป็นอย่างนั้น เราก็จะบวชให้เธอ’ ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มี
อันตรายไม่บวชให้ ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๕๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
คำว่า แม่คุณ ถ้าเธอจักติดตามเราตลอด ๒ ปี ความว่า เธอจักอุปัฏฐากเรา
ตลอด ๒ ปี
คำว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จะบวชให้เธอ ความว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจะ
อุปสมบทให้เธอ
คำว่า ภายหลังภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย คือ เมื่ออันตรายไม่มี
คำว่า ไม่บวชให้ คือ ไม่บวชให้ด้วยตนเอง
คำว่า ไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้ คือ ไม่สั่งภิกษุณีรูปอื่น
พอทอดธุระว่า “จะไม่บวชให้ จะไม่ขวนขวายใช้ให้บวชให้” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๘ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๕๗] ๑. ภิกษุณีผู้ไม่บวชให้ในเมื่อมีอันตราย
๒. ภิกษุณีแสวงหาแล้วแต่ไม่ได้
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๕. ภิกษุณีวิกลจริต
๖. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๙
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาผู้คลุกคลีกับชาย

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๕๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้สิกขมานา
ชื่อจัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศก
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
แม่เจ้าถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาชื่อจัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก
ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศกเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สิกขมานาชื่อจัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศก
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาชื่อ
จัณฑกาลีผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย ผู้ทำชายให้ระทมโศกเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๕๙] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้คลุกคลีกับชาย คลุกคลีกับเด็ก ดุร้าย
ผู้ทำชายให้ระทมโศก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๙ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๖๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ ชายผู้มีอายุถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า เด็ก ได้แก่ ชายผู้มีอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
ที่ชื่อว่า ผู้คลุกคลี คือ คลุกคลีด้วยกิริยาทางกายและวาจาที่ไม่เหมาะสม
ที่ชื่อว่า ดุร้าย พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผู้มักโกรธ
ที่ชื่อว่า ผู้ทำชายให้ระทมโศก คือ ผู้ก่อทุกข์ คือ นำความโศกให้แก่ชายอื่น
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือ สมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๖๑] ๑. ภิกษุณีไม่รู้จึงบวชให้
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๑๐
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาที่ยังไม่ได้รับอนุญาต

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๖๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สิกขมานาผู้ที่มารดาบิดาบ้าง สามีบ้างยังไม่ได้อนุญาต ต่อมา มารดาบิดาบ้าง
สามีบ้างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานา
ที่พวกเรายังมิได้อนุญาตเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านี้ตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง
บวชให้สิกขมานาที่มารดาบิดาบ้าง สามีบ้างยังไม่ได้อนุญาตเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สิกขมานาที่มารดาบิดาบ้าง สามีบ้างยังไม่ได้อนุญาต จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลาย
ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาที่มารดาบิดาบ้าง สามีบ้าง
ยังไม่ได้อนุญาตเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใสหรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๔๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๖๓] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาที่มารดาบิดาหรือสามียังไม่ได้อนุญาต
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๖๔] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า มารดาบิดา พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผู้ให้กำเนิด
ที่ชื่อว่า สามี ได้แก่ ผู้ที่ครอบครองหญิง
คำว่า ยังไม่ได้อนุญาต คือ ยังมิได้บอกลา
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๖๕] ๑. ภิกษุณีไม่รู้จึงบวชให้
๒. ภิกษุณีขออนุญาตก่อนค่อยบวชให้
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๑๑
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๑๑๖๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทานิมนต์ภิกษุเถระทั้งหลาย
ให้ประชุมกันด้วยกล่าวว่า “ดิฉันจักบวชให้สิกขมานา” ครั้นเห็นของเคี้ยวของฉัน
จำนวนมาก จึงนิมนต์พระเถระทั้งหลายให้กลับไปด้วยกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ดิฉัน
จะยังไม่บวชสิกขมานา” แล้วนิมนต์พระเทวทัต พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสะ
พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตตะให้ประชุมกันบวชให้สิกขมานา
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะเล่า๑” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ
ถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาด้วยปาริวาสิกฉันทะเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ “ด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ” ด้วยให้ความเห็นชอบของภิกษุค้าง หมายถึงภิกษุณีเป็นเจ้ากี้เจ้าการให้
ภิกษุสละฉันทะโดยยินยอมบ้าง ไม่ยินยอมบ้าง แล้วนิมนต์ภิกษุกลุ่มอื่นมาทำกรรมนั้นใหม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[๑๑๖๗] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ๑ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๖๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ คือ เมื่อที่ประชุมเลิกไปแล้ว๒
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อ ตลอด
๒ ปี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
๑ การให้ปาริวาสิกฉันทะ ให้ฉันทะค้าง คือภิกษุทั้งหลายประชุมกันทำสังฆกรรมแต่ล้มเลิกสละฉันทะ
เสียเพราะเหตุบางอย่าง ถ้าจะทำสังฆกรรมนั้นใหม่ ต้องนำฉันทปาริสุทธิของภิกษุผู้ควรให้ฉันทปาริสุทธิมา
จึงควรทำสังฆกรรมนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายล้มเลิกสละฉันทะในสังฆกรรมแล้วภิกษุณีจัดการให้ทำสังฆกรรม
นั้นใหม่ โดยไม่นำฉันทปาริสุทธิมา ชื่อว่าให้ทำไปด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ (กงฺขา.อ. ๔๐๓-๔๐๔)
๒ เมื่อสมาชิกที่ประชุมสละฉันทะล้มเลิก หรือลุกขึ้นด้วยเพียงแต่สละฉันทะด้วยกายหรือวาจา ชื่อว่าให้
ปาริวาสิกฉันทะ (วิ.อ. ๒/๑๑๖๘/๕๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๖๙] ๑. ภิกษุณีผู้บวชให้เมื่อบริษัทยังไม่เลิก๑
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

เชิงอรรถ :
๑ หมายถึงยังไม่สละฉันทะ ยังไม่เลิกประชุม (วิ.อ. ๒/๑๑๖๙/๕๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๑๒
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๗๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สิกขมานา
ทุก ๆ ปี ที่อยู่จึงไม่เพียงพอ คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี (ทำให้)ที่อยู่ไม่เพียงพอเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีบวชให้
สิกขมานาทุก ๆ ปีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานา
ทุก ๆ ปี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีบวชให้
สิกขมานาทุก ๆ ปีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๗๑] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาทุก ๆ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๗๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ทุก ๆ ปี คือ ในทุก ๆ ปี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา ๒
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๗๓] ๑. ภิกษุณีบวชให้เว้นระยะ ๑ ปี
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ นิทานวัตถุ
๘. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ ๑๓
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาปีละ ๒ รูป

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๑๗๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้สิกขมานา
ปีละ ๒ รูป๑ (ทำให้)ที่อยู่ไม่เพียงพอเหมือนดังที่เป็นมานั่นแหละ คนทั้งหลายก็
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาอย่างนั้นแหละว่า “ไฉนพวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานา
ปีละ ๒ รูปเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีบวชให้
สิกขมานาปีละ ๒ รูปเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานา
ปีละ ๒ รูป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีบวชให้สิกขมานา
ปีละ ๒ รูปเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ ภิกษุณีเหล่านั้นบวชให้สิกขามานา เว้นระยะ ๑ ปี เพื่อไม่ให้เป็นการล่วงละเมิดสิกขาบทที่ ๑๒ แห่งวรรคนี้
แต่บวชให้คราวละ ๒ รูป จึงเป็นเหตุให้ทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๑๓ นี้ขึ้นมาอีก (วิ.อ. ๒/๑๑๗๕/๕๒๒)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๘. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๗๕] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานา ๒ รูป ใน ๑ ปี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๗๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ใน ๑ ปี คือ ในปีเดียวกัน
คำว่า บวชให้สิกขมานา ๒ รูป คือ อุปสมบทให้สิกขมานา ๒ รูป
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้สิกขมานา ๒ รูป” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์
บาตรหรือจีวร หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบ
กรรมวาจา ๒ ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณี
ผู้เป็นอุปัชฌาย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๗๗] ๑. ภิกษุณีเว้นระยะ ๑ ปี บวชให้สิกขมานารูปเดียว
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
กุมารีภูตวรรคที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค
หมวดว่าด้วยร่มและรองเท้า

สิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยภิกษุณีผู้ไม่เป็นไข้กั้นร่มและสวมรองเท้า

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๑๗๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กั้นร่มและ
สวมรองเท้า คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงกั้น
ร่มและสวมรองเท้าเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงกั้นร่มและสวมรองเท้าเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์กั้นร่ม
และสวมรองเท้า จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้
มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงกั้นร่มและสวมรองเท้าเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึง
รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดกั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ สิกขาบทวิภังค์
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
[๑๑๗๙] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ ขาดร่มและรองเท้าแล้ว เธอจะไม่
มีความผาสุก พวกภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ฯลฯ

ทรงอนุญาตร่มและรองเท้า
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตร่มและรองเท้าแก่
ภิกษุณีผู้เป็นไข้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๑๘๐] อนึ่ง ภิกษุณีใดผู้ไม่เป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์ย์
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๘๑] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่า ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ที่ขาดร่มและรองเท้าก็ยังมีความผาสุก
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ขาดร่มและรองเท้าย่อมไม่มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า ร่ม ได้แก่ร่ม ๓ ชนิด คือ (๑) ร่มขาว (๒) ร่มลำแพน (๓) ร่มใบไม้
ที่เย็บเป็นวงกลม เย็บเข้ากับซี่
คำว่า กั้น ... สวม คือ ภิกษุณีกั้นสวมแม้ครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๕๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๘๒] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุณีกั้นร่ม แต่ไม่สวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีสวมรองเท้า แต่ไม่กั้นร่ม ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ กั้นร่มและสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ กั้นร่มและสวมรองเท้า ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๘๓] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๒. ภิกษุณีใช้ร่มอยู่ในอารามหรืออุปจารแห่งอาราม
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการเดินทางด้วยยานพาหนะ

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๑๘๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดยสาร
ยานไป คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง
โดยสารยานไปเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงโดยสารยานไปเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์โดย
สารยานไป จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงโดยสาร
ยานไปเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณี
ทั้งหลายยกสิกขาบทขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดโดยสารยานไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
[๑๑๘๕] สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นไข้ ไม่สามารถจะเดินเท้าไปได้ พวก
ภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ฯลฯ

ทรงอนุญาตยานพาหนะ
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานแก่ภิกษุณี
ผู้เป็นไข้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๑๘๖] อนึ่ง ภิกษุณีใดผู้ไม่เป็นไข้ โดยสารยานไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๘๗] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่า ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้สามารถเดินเท้าไปได้
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ไม่สามารถเดินเท้าไปได้
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ วอ รถ เกวียน คานหาม แคร่ เปลหาม
คำว่า โดยสาร...ไป คือ ไปด้วยยานแม้ครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๑๘๘] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ โดยสารยานไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ โดยสารยานไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ โดยสารยานไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ โดยสารยานไป ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ โดยสารยานไป ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ โดยสารยานไป ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๘๙] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับเอว

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๑๙๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นภิกษุณีประจำ
ตระกูลของหญิงคนหนึ่ง สมัยนั้น หญิงนั้นได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า
ท่านโปรดนำเครื่องประดับเอวนี้ไปให้หญิงชื่อโน้น” ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นคิดว่า “ถ้า
เราจะใส่บาตรเดินไป เราต้องเสียหายแน่” จึงสวมเครื่องประดับเดินไป เมื่อด้ายขาด
เครื่องประดับเอวตกเรี่ยราดลงบนถนน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้เครื่องประดับเอวเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงใช้เครื่อง
ประดับเอวเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้เครื่องประดับเอว
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงใช้เครื่องประดับเอวเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๙๑] ก็ภิกษุณีใดใช้เครื่องประดับเอว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๙๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่าชื่อว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เครื่องประดับเอว ได้แก่ เครื่องประดับที่สวมเอวชนิดใดชนิดหนึ่ง
คำว่า ใช้ คือ ภิกษุณีใช้แม้ครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๙๓] ๑. ภิกษุณีใช้สายรัดเอวเพราะมีเหตุผลคืออาพาธ
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๓ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับของสตรี

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๑๙๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่อง
ประดับของหญิง คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึง
ใช้เครื่องประดับของสตรีเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึง
ใช้เครื่องประดับของสตรีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบสวนภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้เครื่อง
ประดับของสตรี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงใช้เครื่องประดับของสตรีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๑๙๕] ก็ภิกษุณีใดใช้เครื่องประดับของสตรี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๔ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๑๙๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เครื่องประดับของสตรี ได้แก่ เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับ
ลำคอ เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว
คำว่า ใช้ คือ ภิกษุณีใช้แม้ครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๑๙๗] ๑. ภิกษุณีใช้เครื่องประดับของสตรีเพราะมีเหตุผลคืออาพาธ
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๔ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๕
ว่าด้วยการใช้ของหอมเครื่องย้อมผิว

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๑๙๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สรงสนาน
ด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิว คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีทั้งหลายจึงสรงสนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิวเหมือนหญิงคฤหัสถ์
ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงได้สรงสนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิวเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สรง
สนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิว จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ไฉนพวกภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงสรงสนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิวเล่า ภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง
ดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๕ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๑๙๙] ก็ภิกษุณีใดสรงสนานด้วยของหอมและเครื่องย้อมผิว ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๐๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ของหอม ได้แก่ ของที่มีกลิ่นหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่ชื่อว่า เครื่องย้อมผิว ได้แก่ เครื่องย้อมผิวชนิดใดชนิดหนึ่ง
คำว่า สรงสนาน คือ ภิกษุณีสรงสนาน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่สรงสนาน
สรงสนานเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๐๑] ๑. ภิกษุณีสรงสนานเพราะมีเหตุผลคืออาพาธ
๒. ภิกษุณีวิกลจริต
๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๕ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๖๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๖
ว่าด้วยการใช้ผงแป้งอบกลิ่น

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๒๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สรงสนาน
ด้วยแป้งที่อบกลิ่น คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณี
จึงสรงสนานด้วยแป้งที่อบกลิ่นเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงสรงสนานด้วยแป้งที่อบกลิ่นเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่อง
นี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์สรงสนาน
ด้วยแป้งที่อบกลิ่น จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า” พระผู้
มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงสรงสนานด้วยแป้งที่อบกลิ่นเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๒๐๓] ก็ภิกษุณีใดสรงสนานด้วยแป้งอบกลิ่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๖ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๐๔] คำว่า ก็ ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า อบกลิ่น ได้แก่ อบด้วยกลิ่นหอมชนิดใดชนิดหนึ่ง
ที่ชื่อว่า แป้ง พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงแป้งงา
คำว่า สรงสนาน คือ ภิกษุณีสรงสนาน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่สรงสนาน
สรงสนานเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๐๕] ๑. ภิกษุณีสรงสนานเพราะมีเหตุผลคืออาพาธ
๒. ภิกษุณีสรงสนานด้วยแป้งที่ใช้ตามปกติ
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๖ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการให้บีบนวด

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๒๐๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายใช้ภิกษุณีให้บีบ
บ้าง ให้นวดบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็นแล้วตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้ภิกษุณีให้บีบบ้าง ให้นวดบ้าง เหมือนหญิง
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้
ภิกษุณีให้บีบบ้าง ให้นวดบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีใช้ภิกษุณีให้บีบบ้าง
ให้นวดบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้ภิกษุณีให้บีบบ้าง ให้นวดบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๒๐๗] ก็ภิกษุณีใดใช้ภิกษุณีให้บีบหรือให้นวด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๐๘] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ใช้ภิกษุณี ได้แก่ ใช้ภิกษุณีรูปอื่น
คำว่า ให้บีบ คือ ภิกษุณีใช้ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือให้นวด คือ ใช้ให้นวด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๐๙] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๗ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐๑
ว่าด้วยการใช้(สิกขมานาฯลฯสามเณรีฯลฯ)คฤหัสถ์ให้บีบนวด

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๒๑๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลาย(ใช้สิกขมานาให้
บีบบ้าง ให้นวดบ้าง ฯลฯ ใช้สามเณรีให้บีบบ้าง ให้นวดบ้าง ฯลฯ) ใช้หญิงคฤหัสถ์
ให้บีบบ้าง ให้นวดบ้าง คนทั้งหลายเที่ยวจาริกไปตามวิหารเห็นจึงตำหนิประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้หญิงคฤหัสถ์ให้บีบบ้าง ให้นวดบ้างเหมือน
หญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้หญิง
คฤหัสถ์ ให้บีบบ้าง ให้นวดบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีใช้หญิงคฤหัสถ์
ให้บีบบ้าง ให้นวดบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึง
ใช้หญิงคฤหัสถ์ให้บีบบ้าง ให้นวดบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทที่ ๘-๙ พึงทราบว่าละไว้ ที่ปรากฏอยู่นี้ เป็นข้อความของสิกขาบทที่ ๑๐ สิกขาบทที่ ๘
ว่าด้วยการใช้สิกขมานา สิกขาบทที่ ๙ ว่าด้วยการใช้สามเณรี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[๑๒๑๑] ก็ภิกษุณีใด(ใช้สิกขมานา ฯลฯ ใช้สามเณรีฯลฯ) ใช้หญิง
คฤหัสถ์ให้บีบหรือให้นวด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๑๒] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่สตรีผู้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปี
ชื่อว่า สามเณรี ได้แก่ สตรีผู้รักษาสิกขาบท ๑๐ ข้อ
ที่ชื่อว่า หญิงคฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสตรีผู้ครองเรือน
คำว่า ให้บีบ คือ ภิกษุณีใช้ให้บีบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือให้นวด คือ ใช้ให้นวด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๑๓] ๑. ภิกษุณีใช้ให้บีบหรือนวดเพราะอาพาธเป็นเหตุ
๒. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๘-๙-๑๐ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๑๑
ว่าด้วยการนั่งบนอาสนะโดยไม่ขอโอกาสก่อน

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๒๑๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่บอกก่อน
นั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ๑ ภิกษุทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีไม่บอกก่อนนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีไม่บอกก่อนนั่งบน
อาสนะข้างหน้าภิกษุ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีไม่
บอกก่อนนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ข้างหน้าภิกษุ” ไม่ได้หมายถึงเฉพาะตรงหน้าภิกษุเท่านั้น แต่หมายรวมถึงบริเวณใกล้ ๆ ภิกษุ
บริเวณโดยรอบใกล้กับภิกษุ (กงฺขา.อ. ๔๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ บทภาชนีย์
พระบัญญัติ
[๑๒๑๕] ก็ภิกษุณีใดไม่บอกก่อนนั่งบนอาสนะข้างหน้าภิกษุ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๑๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ข้างหน้าภิกษุ คือ ข้างหน้าอุปสัมบัน
คำว่า ไม่บอกก่อน คือ ไม่ขอโอกาสก่อน
คำว่า นั่งบนอาสนะ คือ ภิกษุณีนั่งโดยที่สุดแม้บนพื้นดิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๑๗] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ อนาปัตติวาร
บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว นั่งบนอาสนะ ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
[๑๒๑๘] ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุณีบอกก่อนจึงนั่งบนอาสนะ
๒. ภิกษุณผู้เป็นไข้
๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๔. ภิกษุณีวิกลจริต
๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๑๒
ว่าด้วยการถามปัญหากะภิกษุโดยไม่ได้ขอโอกาส

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๑๒๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายถามปัญหาภิกษุ
ที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงถามปัญหาภิกษุที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาสเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้น
ได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีถามปัญหาภิกษุ
ที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาส จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณี จึง
ถามปัญหาภิกษุที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาสเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้
ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๒๒๐] ก็ภิกษุณีใดถามปัญหาภิกษุที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาส๑ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “ยังไม่ได้ขอโอกาส” หมายถึงยังไม่ระบุเรื่องที่จะถาม เพราะฉะนั้น ขอโอกาสที่จะถามปัญหาในพระ
สูตรแล้วไปถามพระวินัยหรือพระอภิธรรม หรือขอโอกาสในพระวินัยแล้วถามพระสูตรหรือพระอภิธรรม
หรือขอโอกาสในพระอภิธรรมแล้วถามพระสูตรหรือพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ (กงฺขา.อ. ๔๐๘)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๗๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๒๑] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ที่ตนยังไม่ได้ขอโอกาส คือ ตนยังมิได้บอก
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบัน
คำว่า ถามปัญหา คือ ภิกษุณีขอโอกาสในพระสูตรแต่ถามพระวินัยหรือ
พระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ขอโอกาสในพระวินัย แต่ถามพระสูตรหรือพระอภิธรรม ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ขอโอกาสในพระอภิธรรม แต่ถามพระสูตรหรือพระวินัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๒๒] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ถามปัญหา ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ ถามปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ถามปัญหา ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ถามปัญหา ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ ถามปัญหา ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ถามปัญหา ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๒ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๒๓] ๑. ภิกษุณีขอโอกาสแล้วจึงถาม
๒. ภิกษุณีขอโอกาสโดยมิได้เจาะจงแล้วจึงถามในปิฎกใดปิฎกหนึ่ง
๓. ภิกษุณีวิกลจริต
๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๒ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ นิทานวัตถุ
๙. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ ๑๓
ว่าด้วยการเข้าหมู่บ้านโดยไม่มีผ้ารัดถัน

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๑๒๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งไม่มีผ้ารัดถัน
เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ขณะที่เธอเดินอยู่บนถนนลมบ้าหมูพัดเปิดสังฆาฏิเวิกขึ้น
คนทั้งหลายส่งเสียงว่า “ถันและท้องของแม่เจ้าสวยจริง” ภิกษุณีนั้นถูกคนทั้งหลาย
เยาะเย้าจึงเก้อเขิน ครั้นเธอไปถึงที่อยู่จึงบอกเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันจึงเข้าไปหมู่บ้านเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไป
บอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันเข้าไป
หมู่บ้าน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระ
ภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีไม่มีผ้ารัดถันจึง
เข้าไปหมู่บ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[๑๒๒๕] ก็ภิกษุณีใดไม่มีผ้ารัดถันเข้าหมู่บ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] ๙. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๓ อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๒๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ไม่มีผ้ารัดถัน คือ เว้นผ้ารัดถัน
ที่ชื่อว่า ผ้ารัดถัน ได้แก่ ผ้าที่ใช้ปกปิดอวัยวะใต้รากขวัญลงมาถึงสะดือ
คำว่า เข้าหมู่บ้าน คือ สำหรับหมู่บ้านที่มีรั้วล้อม เดินเลยเขตรั้วล้อม
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สำหรับหมู่บ้านที่ไม่มีรั้วล้อม ก้าวพ้นอุปจารไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๒๗] ๑. ภิกษุณีถูกชิงจีวรไป
๒. ภิกษุณีจีวรหาย
๓. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีผู้หลงลืม
๕. ภิกษุณีไม่รู้ตัว
๖. ภิกษุณีวิกลจริต
๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
ฉัตตุปาหนวรรคที่ ๙ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๓ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท๑ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบทนั้นว่า
“ท่านทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาจิตตีย์ทั้ง ๑๖๖ สิกขาบทเหล่านี้
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ขุททกสิกขาบท จบบริบูรณ์
ปาจิตติยกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ มุสาวรรค ๑๐ สิกขาบท มีเนื้อความเหมือนกับมุสาวาทวรรคของภิกษุสงฆ์
ภูตคามวรรค ๑๐ สิกขาบท มีเนื้อความเหมือนกับภูตคามวรรคของภิกษุสงฆ์
โภชนวรรค ๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๑-๖ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่ ๑,๒,๔,๗,๘,๑๐ แห่ง
โภชนวรรคของภิกษุสงฆ์ สิกขาบทที่ ๗-๑๐ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบท
ที่ ๒-๕ แห่งอเจลกวรรคของภิกษุสงฆ์
จาริตวรรค ๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๑-๕ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่ ๖-๑๐ แห่งอเจลกวรรค
ของภิกษุสงฆ์ สิกขาบทที่ ๖-๑๐ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่ ๑-๕
แห่งสุราปานวรรคของภิกษุ
โชติวรรค ๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๑-๕ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่ ๖-๑๐ แห่งสุราปานวรรค
ของภิกษุสงฆ์ สิกขาบทที่ ๖-๑๐ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่ ๑,๒,๓,๖,๘
แห่งสัปปาณกวรรคของภิกษุสงฆ์
ทิฏฐิวรรค ๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๑-๒ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่ ๙-๑๐ แห่งสัปปาณก
วรรคของภิกษุสงฆ์ สิกขาบทที่ ๓-๑๐ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่
๑-๘ แห่งสหธรรมิกวรรคของภิกษุสงฆ์
ธรรมิกวรรค ๑๐ สิกขาบท สิกขาบทที่ ๑-๔ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่ ๙-๑๒ แห่งสหธรรมิก
วรรคของภิกษุสงฆ์ สิกขาบทที่ ๕-๑๐ มีเนื้อความเหมือนกับสิกขาบทที่
๒,๔,๕,๖,๘,๑๐ แห่งรตนวรรคของภิกษุสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยก
ขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑
ว่าด้วยการออกปากขอเนยใส

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๒๒๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปากขอ
เนยใสมาฉัน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงออก
ปากขอเนยใสมาฉัน ใครเล่าจะไม่ชอบใจอาหารที่ปรุงดีพร้อม ใครเล่าจะไม่ชอบของ
เอร็ดอร่อย”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงออกปากขอเนยใสมาฉันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปาก
ขอเนยใสมาฉัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงออกปากขอเนยใสมาฉันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง
ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
รับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดออกปากขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า
ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะเป็นธรรมที่น่าติเตียน ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอ
แสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
[๑๒๒๙] สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายเป็นไข้ พวกภิกษุณีผู้ถามอาการไข้ได้กล่าว
กับภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
พวกภิกษุณีผู้เป็นไข้กล่าวว่า “แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันออกปากขอเนยใสมา
ฉันได้ เพราะเหตุนั้น พวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้พวกดิฉันยำเกรงอยู่ว่า
พระผู้มีพระภาคทรงห้าม จึงไม่กล้าออกปากขอ เพราะเหตุนั้นจึงไม่มีความผาสุก”
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ฯลฯ

ทรงอนุญาตเนยใส
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีผู้เป็นไข้
ออกปากขอเนยใสมาฉันได้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๒๓๐] อนึ่ง ภิกษุณีใดผู้ไม่เป็นไข้ออกปากขอเนยใสมาฉัน ภิกษุณีนั้น
พึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าติเตียน
ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๓๑] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า อนึ่ง ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ขาดเนยใสก็ยังมีความผาสุก
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ขาดเนยใสย่อมไม่มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่เกิดจากโค เนยใสจากแพะ เนยใสจากกระบือ
หรือเนยใสของสัตว์ที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเพื่อประโยชน์ตน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ รับ
ประเคนมาด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏเพราะได้มา เธอฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๑๒๓๒] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๓๓] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๒. ภิกษุณีเป็นไข้ ออกปากขอมา หายแล้วฉัน
๓. ภิกษุณีฉันเนยใสที่เหลือเดนของภิกษุณีผู้เป็นไข้
๔. ภิกษุณีฉันเนยใสของญาติ
๕. ภิกษุณีฉันเนยใสของคนที่ปวารณาไว้
๖. ภิกษุณีออกปากขอเพื่อผู้อื่น
๗. ภิกษุณีจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๘. ภิกษุณีวิกลจริต
๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๑ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ๒-๘. ทุติยาทิปาฏิเทสนียสิกขาบท นิทานวัตถุ
ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘๑
ว่าด้วยการออกปากขอน้ำมันเป็นต้น

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๒๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์(ออกปาก
ขอน้ำมันมาฉัน ฯลฯ ออกปากขอน้ำผึ้งมาฉัน ฯลฯ ออกปากขอน้ำอ้อยมาฉัน ฯลฯ
ออกปากขอปลามาฉัน ฯลฯ ออกปากขอเนื้อมาฉัน ฯลฯ ออกปากขอนมสดมาฉัน
ฯลฯ) ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า
“ไฉนพวกภิกษุณีจึงออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันเล่า ใครเล่าจะไม่ชอบใจอาหารที่ปรุง
ดีพร้อม ใครเล่าจะไม่ชอบใจของที่เอร็ดอร่อย”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง
ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ออกปาก
ขอนมเปรี้ยวมาฉัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณี
ฉัพพัคคีย์จึงขอนมเปรี้ยวมาฉันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่
ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
๑ สิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการออกปากขอน้ำมัน สิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการออกปากขอน้ำผึ้ง สิกขาบทที่ ๔
ว่าด้วยการออกปากขอน้ำอ้อย สิกขาบทที่ ๕ ว่าด้วยการออกปากขอปลา สิกขาบทที่ ๖ ว่าด้วยการ
ออกปากขอเนื้อ สิกขาบทที่ ๗ ว่าด้วยการออกปากขอนมสด พึงทราบว่าละข้อความเต็มไว้ ที่ปรากฏอยู่
นี้ เป็นข้อความของสิกขาบทที่ ๘

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๘๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘ พระอนุบัญญัติ
พระบัญญัติ
ก็ภิกษุณีใดออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า
ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรมที่น่าติเตียน ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอ
แสดงคืนธรรมนั้น”
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
[๑๒๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นไข้ ภิกษุณีผู้ถามอาการไข้ได้กล่าวกับ
ภิกษุณีเหล่านั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า พวกท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ”
ภิกษุณีผู้เป็นไข้กล่าวว่า “แม่เจ้า เมื่อก่อนพวกดิฉันออกปากขอนมเปรี้ยว
มาฉันได้ เพราะเหตุนั้นพวกดิฉันจึงมีความผาสุก แต่บัดนี้พวกดิฉันยำเกรงอยู่ว่า
‘พระผู้มีพระภาคทรงห้าม” จึงไม่กล้าออกปากขอ เพราะเหตุนั้นจึงไม่มีความผาสุก”
พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ ฯลฯ

ทรงอนุญาตนมเปรี้ยว
พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณีเป็นไข้
ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉันได้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
[๑๒๓๖] อนึ่ง ภิกษุณีใดผู้ไม่เป็นไข้ออกปากขอ (น้ำมัน ฯลฯ น้ำผึ้ง
ฯลฯ น้ำอ้อย ฯลฯ ปลา ฯลฯ เนื้อ ฯลฯ นมสด ฯลฯ) นมเปรี้ยวมาฉัน
ภิกษุณีนั้นพึงแสดงคืนว่า “แม่เจ้า ดิฉันต้องธรรมคือปาฏิเทสนียะ เป็นธรรม
ที่น่าติเตียน ไม่เป็นสัปปายะ ดิฉันขอแสดงคืนธรรมนั้น”
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๐ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘ บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๓๗] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ขาดนมเปรี้ยวก็ยังมีความผาสุก
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ขาดนมเปรี้ยวย่อมไม่มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่ น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดงา น้ำมันจากเมล็ดผักกาด
น้ำมันจากผลมะซาง น้ำมันจากเมล็ดละหุ่ง น้ำมันจากเปลวสัตว์
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่ น้ำรสหวานที่ผึ้งทำ
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่ น้ำรสหวานที่เกิดจากอ้อย
ที่ชื่อว่า ปลา พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัตว์ที่เกิดในน้ำ
ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่ เนื้อของสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่ น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือน้ำนมสัตว์
ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า นมเปรี้ยว ได้แก่ นมเปรี้ยวของสัตว์มีโคเป็นต้นเหล่านั้นแหละ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ รับประเคนไว้
ด้วยตั้งใจว่า “จักฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏเพราะได้มา เธอฉันต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[๑๒๓๘] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๑ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๒-๘ อนาปัตติวาร
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติ
ทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอนมเปรี้ยวมาฉัน ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ ไม่ต้องอาบัติ คือ
[๑๒๓๙] ๑. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๒. ภิกษุณีขอได้มาเมื่อตอนเป็นไข้ ฉันเมื่อไม่เป็นไข้
๓. ภิกษุณีฉันนมเปรี้ยวที่เหลือเดนของภิกษุณีไข้
๔. ภิกษุณีฉันนมเปรี้ยวของญาติ
๕. ภิกษุณีฉันนมเปรี้ยวของคนที่ปวารณาไว้
๖. ภิกษุณีออกปากขอเพื่อผู้อื่น
๗. ภิกษุณีจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
๘. ภิกษุณีวิกลจริต
๙. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ ๘ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๒ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๕. ปาฏิเทสนียกัณฑ์] บทสรุป
บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคือปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบทเหล่านั้น
ว่า “ท่านทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” .
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือปาฏิเทสนียะทั้ง ๘ สิกขาบทเหล่านี้
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

ปาฏิเทสนียกัณฑ์ในภิกขุนีวิภังค์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๓ }


หน้าว่าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๔ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์] ๑. ปริมัญฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๖. เสขิยกัณฑ์
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะเหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ
ตามลำดับ

๑. ปริมัณฑลวรรค
หมวดว่าด้วยการนุ่งห่มเรียบร้อย

สิกขาบทที่ ๑
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๒๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ครอง
อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีทั้งหลายจึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้าง
หลังบ้างเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ย้อยข้างหลังบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ครอง
อันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๕ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์] ๑. ปริมัญฑลวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุณีพึงครองอันตรวาสกให้เรียบร้อย คือนุ่งปิดบริเวณสะดือ บริเวณเข่า
ภิกษุณีใดไม่เอื้อเฟื้อ ครองอันตรวาสกย้อยข้างหน้าหรือข้างหลัง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
๑. ภิกษุณีไม่จงใจ
๒. ภิกษุณีไม่มีสติ
๓. ภิกษุณีผู้ไม่รู้
๔. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๖. ภิกษุณีวิกลจริต
๗. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
เป็นข้อความที่ย่อไว้๑

เชิงอรรถ :
๑ เสขิยสิกขาบทที่เหลือเป็นสาธารณบัญญัติ คือสิกขาบทที่ทรงบัญญัติทั่วไปทั้งแก่ภิกษุและภิกษุณี พึงทราบ
โดยนัยที่แสดงไว้ในภิกขุวิภังค์ พระไตรปิฎกเล่ม ๒ ท่านละข้อความวรรคเหล่านี้ คือ (๒) อุชชัคฆิกวรรค
(๓) ขัมภกตวรรค (๔) สักกัจจวรรค (๕) กพฬวรรค (๖) สุรุสุรุวรรค พึงทราบว่า ในเสขิยกัณฑ์ทั้งของ
ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ มีจำนวนวรรคและสิกขาบทเท่ากัน (ดู วินัยปิฎกแปล ๒/๕๗๖-๖๕๔/๖๔๙-๗๓๙)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๖ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์] ๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิทานวัตถุ
๗. ปาทุกาวรรค
หมวดว่าด้วยรองเท้า

สิกขาบทที่ ๑

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๒๔๑] สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ
บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ พวกชาวบ้านจึงตำหนิ ประณาม
โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง
ลงในน้ำเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำเล่า” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกให้ภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงน้ำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ถ่าย
อุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้างลงในน้ำ จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า
“จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงใน
น้ำเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือ
ทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลาย
ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๗ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์] ๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑ อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย
ลงในน้ำ
สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

เรื่องภิกษุณีเป็นไข้
สมัยนั้น ภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นไข้ ยำเกรงอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะ
บ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ พวกภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาค
ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุณี
ผู้เป็นไข้ถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำได้” แล้วรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เรื่องภิกษุณีเป็นไข้ จบ

สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
ภิกษุณีใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงใน
น้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๘ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๖. เสขิยกัณฑ์] บทสรุป
๑. ภิกษุณีไม่จงใจ
๒. ภิกษุณีไม่มีสติ
๓. ภิกษุณีผู้ไม่รู้
๔. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
๕. ภิกษุณีถ่ายบนบกแล้วไหลลงน้ำ
๖. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
๗. ภิกษุณีวิกลจริต
๘. ภิกษุณีมีจิตฟุ้งซ่าน
๙. ภิกษุณีกระสับกระส่ายเพราะเวทนา
๑๐. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๕ จบ
ปาทุกาวรรคที่ ๗ จบ

บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยทั้งหลายข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นไว้เป็นมติอย่างนี้

เสขิยกัณฑ์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๓๙๙ }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๗. อธิกรณสมถะ] บทสรุป
๗. อธิกรณสมถะ
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
[๑๒๔๒] เพื่อระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ (๑) พึงให้สัมมุขาวินัย (๒) พึง
ให้สติวินัย (๓) พึงให้อมูฬหวินัย (๔) พึงให้ปฏิญญาตกรณะ (๕) พึงให้เยภุยยสิกา
(๖) พึงให้ตัสสปาปิยสิกา (๗) พึงให้ติณวัตถารกวินัย๑

บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ อย่าง ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

อธิกรณสมณะ จบ

เชิงอรรถ :
๑ สัมมุขาวินัย วิธีตัดสินในที่พร้อมหน้าสงฆ์ พร้อมหน้าบุคคล พร้อมหน้าวัตถุ และพร้อมหน้าธรรม สติวินัย
วิธีตัดสินโดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นพระอริยะผู้มีสติสมบูรณ์ อมูฬหวินัย วิธีตัดสินโดยยกประโยชน์ให้
ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า ปฏิญญาตกรณะ วิธีตัดสินตามคำรับของจำเลย เยภุยยสิกา วิธีตัดสิน
ตามเสียงข้างมาก ตัสสปาปิยสิกา วิธีตัดสินโดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิด ติณวัตถารกะ วิธีตัดสินโดยการ
ประนีประนอม
อธิกรณ์ ๔ ประการระงับด้วยอธิกรณสมณะแต่ละอย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและ
เยภุยยสิกา อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย
ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย (กงฺขา.อ. ๓๓๘-๓๓๙ ดู องฺ.ทุก.
๒๐/๒๐๒-๒๐๓/๑๒๓)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๔๐๐ }


คำนิคม
คำนิคม
แม่เจ้าทั้งหลาย นิทาน ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว คือ
ธรรม คือ ปาราชิก ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๗ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาจิตตีย์ ๑๖๖ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ ๘ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ เสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคนั้นมีเท่านี้มาในสูตร๑ นับเนื่องในพระสูตร มาสู่
วาระที่จะพึงยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตร
นั้นเทอญ

ภิกษุนีวิภังค์ จบ

เชิงอรรถ :
๑ คำว่า “พระสูตร” หมายถึงพระปาติโมกข์นั่นเอง (ดู วิ.อ. ๑/๔๕/๒๔๗-๒๕๐)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า :๔๐๑ }


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์ จบ





eXTReMe Tracker