ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ


เวฬุวะ- ไวยาวัจมัย

เวฬุวะ ผลมะตูม

เวฬุวคาม ชื่อตำบลหนึ่งใกล้นครเวสาลีแคว้นวัชชี เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาในพรรษาที่ ๔๕ นับแต่ได้ตรัสรู้
คือพรรษาสุดท้ายที่จะเสด็จปรินิพพาน; เพฬุวคาม ก็เรียก

เวฬุวัน ป่าไผ่ สวนที่ประพาสพักผ่อนของพระเจ้าพิมพิสาร อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากพระนครราชคฤห์ เป็นที่ร่มรื่นสงบ
เงียบ มีทางไปมาสะดวก พระเจ้าพิมพิสารถวายเป็นสังฆาราม นับเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา

เวิกผ้า ในประโยคว่า “เราจักไม่ไปในละแวกบ้านด้วยทั้งเวิกผ้า” เปิดสีข้างให้เห็น เช่นถกจีวรขึ้นพาดไว้บนบ่า

โวหาร ถ้อยคำ, สำนวนพูด, ชั้นเชิงหรือกระบวนแต่งหนังสือ หรือพูด

ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกันแต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็น
ไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น

ไวยากรณ์ 1. ระเบียบของภาษา, วิชาว่าด้วยระเบียบแห่งภาษา 2. คำหรือข้อความที่เป็นร้อยแก้ว, ความร้อยแก้ว ดู
นวังคสัตถุศาสน์

ไวยาวัจกร ผู้ทำกิจธุระแทนสงฆ์, ผู้ช่วยขวนขวายทำกิจธุระ, ผู้ช่วยเหลือรับใช้พระ

ไวยาวัจจะ การขวนขวายช่วยทำกิจธุระ, การช่วยเหลือรับใช้

ไวยาวัจมัย ดู เวยยาวัจจมัย