ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ


อาราธนาธรรม - อาลัย

อาราธนาธรรม กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้แสดงธรรม (ให้เทศน์) ว่าดังนี้:
พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสตุ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ ฯ

พึงสังเกตว่า กตฺอญฺชลี อนฺธิวรํ คำปกติเป็น กตญฺชลี (กตอญฺชลี) อนธิวรํ
(ในพระไตรปิฎก ๓๓/๑๘๐/๔๐๓ ก็ใช้รูปปกติตามไวยากรณ์อย่างนั้น)
แต่ที่มีรูปแปลกไปอย่างนี้ เนื่องจากท่านทำตามฉันทลักษณ์ ที่บังคับครุ-ลหุ เมื่อจะอ่านหรือนำไปสวดเป็นทำนอง จะได้ไม่ขัด

(หมายเหตุ คำอาราธนาธรรมนี้ ในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ฯ และในหนังสือมนต์พิธี ของพระครูอรุณธรรมรังษี [เอี่ยม สิริวณฺโณ] มีข้อความตรงกัน เพียงแต่พจนานุกรมพุทธศาสน์ฯ ใช้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย ในขณะที่หนังสือมนต์พิธีเป็นคำอ่านภาษาบาลีแต่เขียนแบบภาษาไทย ดังนี้
พรัหมา จะ โลกาธิปะตี สะหัมปะติ
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

แต่ในพระไตรปิฎก 3 ฉบับ มีบางคำที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย ฉบับสยามรัฐ
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๓๓/๔๐๓/๑, ปาฬิ (สยามรัฐ)
พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ
กตญฺชลี อนธิวรํ อยาจถ
สนฺตีธ สตฺตา อปฺปรชกฺขชาติกา
เทเสหิ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชนฺติ

2. พระไตรปิฏก ฉบับฉัฏฐสังคายนา (ของประเทศพม่า/เมียนม่า)
ซึ่งทำขึ้นเนื่องในโอกาสฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500 :
Based on the digital edition of the Chaṭṭha Saṅgāyana,
published by the Vipassana Research Institute,
with corrections and proofreading by the Dhamma Society.

Ratana­caṅka­ma­na­kaṇḍa
Namo tassa Bhagavato Arahato Sammā­sambud­dhassa.
Brahmā ca lokādhipatī sahampatī,
Katañjalī anadhivaraṃ ayācatha;
“Santīdha sattāp­pa­rajak­kha­jātikā,
Desehi dhammaṃ anukampimaṃ pajaṃ”.

ที่มา : suttacentral.net

3. พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับศรีลังกา
electronic version by : Sri Lanka Tipitaka Project SLTP
รายละเอียดโครงการ : Pali/SLTP
Suttantapiṭake khuddakanikāye
Buddhavaṃsapāḷi

Namo tassa bhagavato arahato sammāsambuddhassa
Ratanacaṅkamanakaṇḍo
Brahmā ca lokādhipatī sahampati
Katañjalī anadhivaraṃ ayāvatha
Santīdha sattā apparajakkhajātikā
Desehi dhammaṃ anukampimaṃ pajaṃ.

ที่มา : Pali/Bv

สรุป : พระไตรปิฎกทั้ง 3 ฉบับ ล้วนมีจุดที่แตกต่างกัน

ขอขอบคุณคำแนะนำจาก : ChYasiri Bhikku

ธัมมโชติ)

อาราธนาพระปริตรกล่าวคำเชิญหรือขอร้องให้พระสวดพระปริตร ว่าดังนี้:
วิปตฺติปฏิพาหาย
สพฺพสมฺปตฺติสิทฺธิยา
สพฺพทุกฺขวินาสาย
ปริตฺตํ พฺรูถ มงฺคลํ
(ว่า ๓ ครั้ง แต่ครั้งที่ ๒ เปลี่ยน ทุกฺข เป็น ภย; ครั้งที่ ๓ เปลี่ยนเป็น โรค)

อาราธนาศีล กล่าวคำเชิญหรือขอร้องพระให้ให้ศีล, สำหรับศีล ๕ ว่าดังนี้: มยํ ภนฺเต, (วิสุง วิสุง รกฺขณตฺถาย),
ติสรเณน สห, ปญฺจ สีลานิ ยาจาม; ทุติยมฺปี มยํ....., ตติยมฺปิ มยํ......
(คำในวงเล็บ จะไม่ใช้ก็ได้)
คำอาราธนาศีล ๘ ก็เหมือนกันเปลี่ยนแต่ ปญฺจ เป็น อฏฺฐ

อาราธนาศีลอุโบสถ กล่าวคำเชิญพระให้ให้อุโบสถศีล ว่าพร้อมกันทุกคนดังนี้ : มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐงฺคสม
นฺนาคตํ, อุโบสถํ ยาจาม
(ว่า ๓ จบ)

อาราม วัด, ที่เป็นที่มายินดี, สวนเป็นที่รื่นรมย์, ความยินดี, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลิน; ในทางพระวินัย เกี่ยวกับ
ของสงฆ์ หมายถึง ของปลูกสร้างในอารามตลอดจนต้นไม้

อารามวัตถุ ที่ดินวัด, ที่ดินพื้นวัด

อารามิก คนทำงานวัด, คนวัด

อารามิกเปสกะ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ แต่งตั้งจากสงฆ์ให้มีหน้าที่เป็นผู้ใช้คนทำงานวัด

อาลกมันทา ราชธานีซึ่งเป็นทิพยนครของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา

อาลปนะ คำร้องเรียก

อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย, การถอนอาลัยคือตัณหาได้เด็ดขาด (เป็นไวพจน์แห่งวิราคะ)

อาลัย 1. ที่อยู่, ที่อาศัย, แหล่ง 2. ความมีใจผูกพัน, ความเยื่อใย, ความติดใจปรารถนา, ความพัวพัน มักหมายถึงตัณหา;
ในภาษาไทยใช้ว่าห่วงใย หวนคิดถึง