ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ


อนาคามิผล - อนาถา

อนาคามิผล ผลที่ได้รับจากการละสังโยชน์ คือ กามราคะ และปฏิฆะด้วยอนาคามิมรรค อันทำให้เป็นพระอนาคามี

อนาคามิมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผลคือความเป็นพระอนาคามี, ญาณคือความรู้เป็นเหตุละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
ทั้ง ๕ (คือ ละได้เด็ดขาดอีก ๒ อย่าง ได้แก่ กามราคะ และปฏิฆะ เพิ่มจาก ๓ อย่างที่พระโสดาบันละได้แล้ว)

อนาคามี พระอริยบุคคลผู้ได้บรรลุอนาคามิผล มี ๕ ประเภท คือ ๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยัง
ไม่ถึงกึ่ง (หมายถึงโดยกิเลสปรินิพพาน) ๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานเมื่อจวนจะถึงสิ้นอายุ ๓. อสังขารปรินิพ-
พายี
ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก ๔. สสังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก ๕. อุท-
ธังโสโต
อกนิฏฐคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ

อนาคาริยวินัย วินัยของอนาคาริก ดู วินัย ๒

อนาจาร ความประพฤติไม่ดีไม่งามไม่เหมาะสมแก่บรรพชิต แยกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. การเล่นต่างๆ เช่นเล่นอย่าง
เด็ก ๒. การร้อยดอกไม้ ๓. การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่นทายหวย ทำเสน่ห์

อนาณัตติกะ อาบัติที่ต้องเฉพาะทำเอง ไม่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งให้ผู้อื่นทำไม่ต้องอาบัติ เช่น สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑
(แต่สั่งให้ทำแก่ตน ไม่พ้นอาบัติ)

อนาถบิณฑิก อุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อ สุทัตต์ เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี ต่อมาได้นับถือพระพุทธ
ศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างวัดพระเชตวันถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสา-
วัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง ๑๙ พรรษา ท่านอนาถบิณฑิก นอกจากอุปถัมภ์บำรุงพระ
ภิกษุสงฆ์แล้วยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่าอนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า ผู้มีก้อน
ข้าวเพื่อคนอนาถา ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสถ

อนาถา ไม่มีที่พึ่ง, ยากจน, เข็ญใจ