ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ


อกุศลกรรมในอดีต

ผู้สนใจท่านหนึ่งได้เมล์มาถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางผู้ดำเนินการเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ แก่ท่านอื่นๆ ด้วย จึงขออนุญาตนำมาลงเอาไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้


คำถาม

Sent: Tuesday, June 25, 2002 10:15 AM

สวัสดีครับ

ขอรบกวนคุณธัมมโชติดังนี้ครับ

เรื่องการพิจารณาอกุศลกรรมที่ผ่านไปแล้ว คือคำสอนๆ ให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่เศร้าหมองกับสิ่งที่ล่วงไปแล้ว แต่สงสัยครับว่า อาจเป็นการทำให้คนนั้นก่ออกุศลกรรมใหม่อีก หากเขาไม่รู้สึกเศร้าหมองในแง่ที่ว่า สำนึกผิดและละอายต่อบาปที่ได้ทำไป อีกทั้งไม่ได้พิจารณา หรือวิเคราะห์สาเหตุที่พลาดไปเพื่อจะได้นำมาใช้เป็นบทเรียนไม่ให้พลาดไปอีก

มีคำสอนเกี่ยวกับเรื่องการพิจารณาอดีต ในแง่ให้บทเรียนเพื่อการปรับปรุงตน อย่างไร หรือในแง่มุมอื่นใดไหมครับ

ขอบคุณมากครับ


ตอบ

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับที่ให้ความสนใจเว็บไซต์ ธัมมโชติ

เรื่องการรักษาจิตให้ได้ผลดีนั้น ต้องทำหลายๆ อย่างประกอบกันครับ เพราะแต่ละอย่างที่ทำนั้นก็จะให้ผลในแง่ที่ต่างกันออกไป ถ้าใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียวก็จะให้ผลไม่สมบูรณ์ อย่างที่คุณ ... ได้แสดงความเห็นมา วิธีการที่ควรใช้ประกอบกัน เช่น

  1. การพิจารณาอกุศลกรรมที่ผ่านไปแล้ว คือคำสอน ๆ ให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่เศร้าหมองกับสิ่งที่ล่วงไปแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เรื่องที่ผ่านไปแล้วย้อนกลับมาทำให้เกิดอกุศลจิตในปัจจุบันอีก อันจะเป็นการทำให้บาปกรรมนั้นมีกำลังที่แรงขึ้นโดยไม่จำเป็น แต่ขณะเดียวกันก็ควรใช้วิธีในข้ออื่นๆ ร่วมกันไปด้วย ดังจะได้กล่าวถึงในข้อต่อไป

    (เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ในข้อนี้ และให้ได้ประโยชน์ที่มากขึ้น แต่อาจจะทำได้ยากสำหรับคนทั่วไป ก็คือการพิจารณาสิ่งที่ผ่านมาแล้วด้วยความไม่ยึดมั่น คือคิดว่าสิ่งเหล่านั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว กลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะไม่ทำจิตให้เศร้าหมองเพราะเรื่องนั้นอีก แต่เราจะใช้เหตุการณ์เหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ โดยพิจารณาเพื่อให้เกิดข้อคิด เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่านั้นเกิดซ้ำขึ้นมาอีก ใช้อดีตเป็นบทเรียนเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นต่อไป)

  2. โปรดองคุลิมาล ภาพจากวัดศรีลังกา พุทธคยา

  3. การรักษาศีลที่สมควรแก่ตน เช่น ฆราวาสทั่วไปก็รักษาศีล 5

  4. การสำรวมอินทรีย์ คือ สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้อกุศลธรรมเข้าครอบงำได้ (ดูเรื่องอินทรียสังวร ในหมวดศีล ประกอบ)

  5. มีหิริ และโอตตัปปะ

  6. ทำสมาธิ และวิปัสสนาตามสมควรแก่กำลัง

  7. ฯลฯ ตามกำลัง และศรัทธาที่จะทำได้

ถ้าสามารถใช้วิธีการต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมก็จะเป็นผลดีกับผู้ประพฤติปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนกับการอ้างเรื่องไม่ยึดมั่น แล้วไปเที่ยวทำสิ่งไม่ดีต่างๆ ด้วยความไม่ยึดมั่น การใช้ธรรมะอย่างผิดวัตถุประสงค์นั้นก็จะเป็นผลเสียแก่ตัวผู้นั้นเอง

ถ้ายังไม่กระจ่าง หรือมีข้อสงสัยอะไรอีก ก็เชิญถามมาได้ใหม่นะครับ ไม่ต้องเกรงใจ

ธัมมโชติ
29 มิถุนายน 2545

ขอเชิญทุกๆ ท่าน ร่วมลงนามเยี่ยม
และวิจารณ์เว็บไซต์ของเราใน สมุดเยี่ยม ด้วยนะครับ




eXTReMe Tracker