; โทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถือ

ประวัติโทรศัพท์เคลื่อนที่

วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Radiotelephone) เป็นวิทยุโทรศัพท์แบบหนึ่งที่ใช้คลื่นวิทยุช่วยนำข่าวสารข้อมูลจากต้นทางไปยังไกล ๆ ปลายทางพร้อมกับสามารถพกพาเครื่องวิทยุโทรศัพท์ติดตัวไปด้วย ในขอบเขตพื้นที่ทำการที่คลื่นวิทยุเดินทางไปได้ถึง การทดลองวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2483 มรการทดลองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2489 บริษัท AT&T ได้เปิดให้บริการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นรายแรก ในเวลานั้นวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยังใช้งานได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น ในขณะนั้นจะมีช่องสัญญาณให้ใช้งานเพียง 6 ช่องสัญญาณเท่านั้น การรับส่งข่าวสารข้อมูลในการผสมคลื่นแบบ AM เครือข่ายของการสื่อสารถูกจำกัดอย่างมากเพราะช่องสัญญาณแต่ละช่องอนุญาติให้ผู้ใช้บริการใช้ได้เพียงคนเดียว และการติดต่อเลขหมายปลายทางต้องเรียกผ่านศูนย์ควบคุมให้พนักงานเป็นผู้เชื่อมต่อสัญญาณให้วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบนี้มีข้อเสียหลายประการ ประการสำคัญคือ มีข้อจำกัดในเรื่องของความจุของช่องสัญญาณต่ำ ทำให้ระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้ต้องหยุดทำการไป เนื่องจากมีความต้องการใช้วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบเพื่อให้ระบบมีความจุของสัญญาณสูงขึ้น โดยการพัฒนาเทคโนโลยีการผสมคลื่นแบบ FM ใหม่ ให้มีแถบกว้างของช่องสัญญาณสื่อสารลดลงจากเดิม 120 kHz เหลือเพียง 25 kHzช่วยให้จำนวนช่องสัญญาณใช้ในการติดต่อสื่อสารเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นในพื้นที่บริการยังได้แบ่งช่องว่างความถี่ ใช้งานหลายช่องความถี่ และได้มีการนำเอาความถี่ที่ใช้งานแล้วในพื้นที่หนึ่งกลับมาใช้งานใหม่ในอีกพื้นที่หนึ่ง สามารถใช้ช่องสัญญาณเพื่อติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมัยแรก ๆ

ในปี พ.ศ. 2490 ห้องทดลองเบลล์ได้จดสิทธิบัตรของระบบนี้ และได้พัฒนาระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลายมาเป็นโทรศัพท์แบบรวงผึ้ง (Cellular Mobile Telephone System) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าโทรศัพท์เซลลูลาร์ (Cellular Telephone) โครงสร้างของระบบประกอบด้วยอุปกรณ์ทวนสัญญาณจำนวนมากประกอบกันเครือข่าย แต่ระบบยังไม่สามารถนำมาใช้งานในทางธุรกิจได้ จนการะทั้งถึงปี พ.ศ. 2526 ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ได้ถูกติดตั้งและเปิดให้บริการ โดยพื้นที่ให้บริการทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า เซลล์ (Cell) แต่ละเซลล์จะมีรัศมีและจัดสรรความถี่ใช้งานเฉพาะเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีขนาดเล็กพ่วงต่อกันเป็นแบบรวงผึ้ง เนื่องจากพื้นที่ให้บริการมีขนาดเล็กจึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องส่งที่กำลังส่งสูง ๆ สามารถนำความถี่ซ้ำ ๆ ไปใช้งานได้เพิ่มมากขึ้น ลักษณะโทรศัพท์เซลลูลาร์