การออกกำลังกายช่วยอะไรได้บ้าง

 นฤมล  ภู่ทอง

                              

           สภาพสังคมในปัจจุบัน เต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับภัยธรรมชาติ จากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษจากเศรษฐกิจ รวมทั้งจากการเจ็บป่วย การดำรงชีวิตจำเป็นต้องหาวิธีที่จะช่วยให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สามารถต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวได้นั้น ทุกวงการต่างก็ยอมรับแล้วว่าจำเป็นต้องมีสุขภาพและสมรรถภาพที่แข็งแกร่ง  การออกกำลังกายเป็นวิธีทางธรรมชาติ ที่มีผลให้อวัยวะมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ ชลอการเสื่อม และมีการพัฒนาทั้งรูปร่างและความสามารถในการทำงาน

           ศาสตราจารย์นายแพทย์ อวย  เกตุสิงห์  ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลแรกที่ได้นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์มาพัฒนาด้านการกีฬา โดยริเริ่มการจัดวิ่งเดินการกุศล จัดทำโครงการสวนสุขภาพ รวมทั้งคิดวิธีออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น “ลูกเดาะ” การเต้นจตุรัส และกีฬาอนามัย

           การส่งเสริมให้ประชาชนหันมาสนใจการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ทุกประเทศกำลังรณรงค์  จะพบผู้คนกินดีอยู่ดีมากเกินไปมีความเจ็บป่วยด้วยโรคขาดการเคลื่อนไหวสูงขึ้นทุกปี โรคเหล่านี้ได้แก่ โรคหัวใจ เบาหวาน แรงดันเลือด ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคเก๊าท์ โรคทางกระดูกและปวดเมื่อย

              การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หัวใจจะทำงานอย่างสม่ำเสมอ มีอัตราการทำงานร้อยละ 27 ของการเต้นสูงสุดของหัวใจ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เช่น การวิ่งเหยาะๆ ความเร็วคงที่และสามารถควบคุมได้ เช่นเดียวกับการว่ายน้ำ, การขี่จักรยาน หากปฏิบัติเป็นประจำและสม่ำเสมอมีผลให้หัวใจแข็งแรง ส่วนการเล่นกีฬาแบบ เช่น เทนนีส,  แบดมินตัน  หัวใจมีการทำงานหนัก แต่ไม่สม่ำเสมอ ตามหลักวิชาเวชศาสตร์การกีฬา แพทย์ไม่ถือว่าเป็นกีฬาที่เหมาะสมต่อการบริหารร่างกายและหัวใจ เพราะขณะที่เรายืนรอรับลูกเสริฟนั้น หัวใจเต้นอยู่ในภาวะเกือบปกติ หลังจากรับ

ลูกเสริฟข้ามตาข่ายไปแล้ว มีการเตรียมตอบโต้กันไปมา การวิ่งเข้าหาลูกแต่ละครั้ง ต้องวิ่งอย่างเต็มที่  ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นทันที  พอตีลูกโต้กลับไปได้  ก็หยุดพักหรือมีการเคลื่อนไหวน้อย ทำให้หัวใจและร่างกายทำงานแบบเดี๋ยวเร่งเดี๋ยวหยุดไม่สม่ำเสมอ  โอกาสที่หัวใจและร่างกายจะชำรุดทรุดโทรมเร็วจึงเป็นไปได้มาก  เรามักจะได้ข่าวเกี่ยวกับกนที่เล่นกอล์ฟ หรือเล่นเทนนิสเป็นประจำ เป็นโรคหัวใจหรือเกิดหัวใจวายคาสนาม

           การออกกำลังกายเป็นประจำมีผลต่อระบบไหลเวียนเลือด  ทำให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น  ลดการสะสมของกรด

แลคติค    ซึ่งเป็นสาเหตุของการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ  ป้องกันไม่ให้เส้นเลือดแข็งตัวหรือเปราะ ป้องกันโรคหัวใจเสื่อมสภาพ (Degenerative disease) หรือโรคหัวใจวายได้

           การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ อาศัยกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติได้ง่าย สะดวก และปลอดภัย การออกำลังกายของแต่ละคนอาจมีจุดมุ่งหมายต่างกัน เช่นบางคนผ่อนคลายความเมื่อยและความเครียด บางคนต้องการแค่ยืดเส้นยืดสาย แต่บางคนต้องการแก้ไขความพิการ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง  หรือความผิดปกติของร่างกาย เช่น ความอ้วน การออกกำลังกายเพื่อผลทางสุขภาพนั้น  ต้องใช้กิจกรรม 3 ต้อง คือ

1.       ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายทุกส่วน

2.       ต้องมีจังหวะการเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ

3.       ต้องให้ร่างกายทำงานหนักกว่าปกติติดต่อกันไม่น้อยกว่า 20 นาที

พลิกความเชื่อ “โรคหัวใจ”  ออกกำลังกายหนักรักษาได้

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นพไอมินลี  แพทย์มหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด ได้เปิดเผยผ่านวารสารสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐว่า   การออกกำลังกายเพียงวันละ 1 ชม. ต่อ 5 วัน ในหนึ่งอาทิตย์ สามารถลดความเสี่ยงของก้อนเลือดที่จะไปกดสมอง ซึ่งเป็นต้นเหตุอัมพฤกษ์ อัมพาต ถึง 64%  ถ้าออกกำลังกาย ครึ่ง ชม.ต่อวันลดความเสี่ยงได้แค่ 24 % นอกจากนี้ นางพาเมลล่า  ดันแคน  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย แคนซัส  ก็ได้ลงบทความในวารสารสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐ เช่นเดียวกันว่า การออกกำลังกายจะช่วยให้ หายจากโรคหัวใจได้

           ประสบการณ์ที่ทำงานมา 25 ปี จากการซักประวัติคนไข้ที่มารับการผ่าตัดจะพบว่าคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็ว และพบโรคแทรกซ้อนน้อยมาก

 

 

(จากหนังสือ “สาระน่ารู้ทางศัลยกรรม” 50ปี รพ.ภูมิพลดุลยเดช พ.ศ.2542)