แนวทางการปฏิบัติในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางทรวงอก

.. วิชัย  รุ่งฟ้าแสงอรุณ

 

            อุบัติการทางผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุทางทรวงอกมีประมาณ 15-20 %  ของอุบัติเหตุทั้งหมดและมีเพียง 25% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่ตรงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  ในการวินิจฉัยอาการบาดเจ็บทางทรวงอกแพทย์จะทำการตรวจร่างกายและอาจจะทำการ X-rays บางครั้งจำเป็นต้องทำการ X-rays หลายๆ ครั้ง ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าใจเพื่อผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง

                ในทางการแพทย์เราแบ่งการบาดเจ็บทางทรวงอก ออกเป็น 2 ประเภท  คือ พวกที่ถูกกระแทก กับพวกที่ถูกยิงหรือแทง  ส่วนโรคที่เราพบบ่อยในทรวงอก  ที่ผู้ป่วยควรทราบ

1.        มีบาดเจ็บที่ผนังทรวงอกและซี่โครงหัก

 ปัญหาที่ผู้ป่วยจะมีคือ เรื่องอาการปวดของผู้ป่วยพวกนี้มักรุนแรงเพราะจะปวดมากจำเป็นที่แพทย์จะต้องให้ยาแก้ปวดตามอาการปวด  บางรายอาจมีอาการหายใจล้มเหลวร่วมด้วย  จำเป็นต้องได้รับการช่วยการหายใจหรือแม้แต่การฉีดยาชาเข้าระงับอาการปวดที่ผนังทรวงอก

อาการปวดจะมีอยู่นานตั้งแต่ 3 วัน ถึง 6 เดือนก็มีแต่ถ้าได้ทานยาผู้ป่วยควรจะต้องพยายามลุกเดินไม่ควรนอนนานๆ เพราะจะทำให้เกิดภาวะการหายใจเลวลง  หรือมีปอดบวมแทรก  บางครั้งแพทย์จำเป็นต้องช่วยจับผู้ป่วยลุกนั่ง

2.       ภาวะปอดแตก ( PNEUMOTHORAX )

 เป็นอาการที่มีลมรั่วจากปอดหรือหลอดลมเข้าไปในช่องปอดทำให้เนื้อปอดด้านนั้นแฟบบางส่วนหรือทั้งหมด  บางคราวอาจจะมีลมรั่วเข้ามาในชั้นใต้ผิวหนังซึ่งทำให้ผู้ป่วยอาจมีภาวะหายใจล้มเหลว

3.       ภาวะเลือดคั่งในช่องปอด ( HAEMOTHORAX )

บางครั้งเกิดอาการเลือดออกจากเส้นเลือดในปอด , ซี่โครง , เส้นเลือด  ทำให้เลือดออกเข้า

มาอยู่ในช่องทรวงอก  บางครั้งมีอาการ  Shock ร่วม  เนื่องจากเลือดที่ออกมาอาจมากจนมีปัญหาต่อการไหลเวียนโลหิตได้  เลือดสามารถคั่งในช่องปอดได้มากถึง 2000 ซีซี.

                                มีผู้ป่วยบางรายต้องทำการผ่าตัดเลยแบบฉุกเฉิน  ทำการแก้ไขภาวะ Shock  หรือเข้าไปห้ามเลือดทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการสอนในเรื่องการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดทรวงอก

 

หลักการดูแลตัวเองในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทรวงอก

 

1.       ควรงดการสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 3 สัปดาห์

2.       ทานยาตามแพทย์สั่ง

3.       ฝึกการไอ และการหายใจ โดยทำร่วมกับฝึกกล้ามเนื้อทรวงอก ,กล้ามเนื้อหัว ,กล้ามเนื้อคอ

4.       ควรรับประทานอาหารพวก เนื้อ นม ไข่ และนอนที่อากาศบริสุทธิ์

ทั้งก่อนการผ่าตัด และหลังการผ่าตัด

5.       การขับรถเก๋งควรใส่สายรัดตัวตลอดเวลา

 

(จากหนังสือ “สาระน่ารู้ทางศัลยกรรม” 50ปี รพ.ภูมิพลดุลยเดช พ.ศ.2542)