ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ

 ..โพชฌงค์  ซื่อสัตย์

                

                  ลำไส้ของคนเราปกตินั้นจะอยู่ภายในช่องท้อง  แต่ถ้ามีช่องทางที่ผิด

           ปกติจนเป็นเหตุทำให้มีลำไส้หรืออวัยวะภายในออกมาภายนอก  เราเรียก

           ว่า “ไส้เลื่อน” เป็นโรคซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขหรือการรักษาโดย

           การผ่าตัด เนื่องจากอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะลำไส้อุดตันหรือขาดเลือด

           ไปเลี้ยงสาเหตุจากการเกิดพังผืดหรือการบีบรัดที่แน่นมากจนไม่สามารถ

           เลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้องได้ตามปกติ   ลำไส้อาจจะเน่าและแตกจนเกิด

           การติดเชื้อที่รุนแรงทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

        ไส้เลื่อน อาจจะเกิดได้ในหลายบริเวณของช่องท้อง  เช่น   ขาหนีบ

 สะดือ ช่องกระบังลม ช่องระหว่างกล้ามเนื้อต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นเองตามธรรม

 ชาติ หรือช่องที่เกิดจากแผลผ่าตัดเก่าแยกออก เป็นต้น  แต่ที่พบได้บ่อยที่

 สุดก็คือ ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ     ซึ่งบริเวณนี้มนุษย์ทุกคนระยะที่เป็นตัวอ่อน

 หรืออยู่ในครรภ์มารดา  จะมีช่องทางติดต่อกับอัณฑะในผู้ชาย    หรือแคม

 ใหญ่ในผู้หญิง แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นมา   ส่วนใหญ่ช่องทางนี้จะปิดไปเอง

 ตามธรรมชาติ ในบางคนเท่านั้นที่ยังมีช่องทางนี้เปิดอยู่    และเกิดเป็นไส้

 เลื่อนที่ขาหนีบ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง    แต่จะพบในผู้

 ชายมากกว่า นอกจากนั้นไส้เลื่อนที่ขาหนีบอาจจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง ร่วม

 กับภาวะที่ทำให้เกิดแรงดันภายในช่องท้องเพิ่มขึ้น  เช่น  การทำงานหนัก

 ต่อมลูกหมากโต มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไอเรื้อรัง จากการสูบบุหรี่ หรือโรคปอด

 โรคท้องมานในโรคต่างๆ เช่น โรคตับ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต อาจจะ

 เกิดจากอุบัติเหตุหรือภาวะอักเสบภายใน เช่น ฝี ไส้ติ่งแตก  ปีกมดลูกอัก

 เสบ การอักเสบภายในช่องเชิงกราน เป็นต้น     

            ไส้เลื่อนที่ขาหนีบ จะพบว่ามีก้อนผิดปกติ บริเวณขาหนีบข้างใดข้าง

     หนึ่งหรือทั้งสองข้าง     สังเกตได้ชัดเจนหรือคลำพบก้อนขณะอยู่ในท่ายืน 

     และก้อนอาจจะหายไปเมื่อนอนลง แต่เมื่อปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานก้อน

     อาจจะโตขึ้น เวลานอนก้อนก็ไม่หายไป  อาการทั่วไปจะมีอาการปวดท้อง

     เล็กๆ น้อยๆ  หรือท้องอืด หรือท้องผูกเป็นบางครั้ง  แต่ถ้าเกิดปัญหาจาก

     การที่ลำไส้ถูกบีบรัดจนอุดตัน หรือขาดเลือดไปเลี้ยง  จะมีอาการปวดมาก

     ท้องแข็ง ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจจาระ มีไข้สูงจะต้องได้รับการรักษาโดยการ

     ผ่าตัดอย่างเร่งด่วน   มิฉะนั้นผู้ป่วยอาจจะถึงกับเสียชีวิตจากการติดเชื้อที่

     รุนแรงภายในช่องท้องได้ ดังนั้น  วิธีป้องกันที่ดีที่สุดจึงแนะนำให้ผู้ป่วยได้

     รับการรักษาโดยการผ่าตัดทันทีที่ทราบว่าเป็นไส้เลื่อน การรักษาในผู้ป่วย

     ที่มีช่องไม่ใหญ่มากนักหรือผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ศัลยแพทย์นิยมผ่า

     ตัดโดยวิธีเย็บปิดหลังจากตัดหรือเลาะถุงไส้เลื่อนออกไปแล้ว  แต่ในรายที่

     ขนาดใหญ่มาก  กล้ามเนื้อหย่อนไม่แข็งแรง   หรือผ่าตัดมาแล้วหลายครั้ง

     หรือเป็นไส้เลื่อนทั้งสองข้าง    จะผ่าตัดโดยใช้แผ่นใยสังเคราะห์แผ่นใหญ่

     ช่วยเย็บปิดเพื่อป้องกันไม่ให้โรคกลับเป็นซ้ำได้อีก

 

(จากหนังสือ “สาระน่ารู้ทางศัลยกรรม” 50ปี รพ.ภูมิพลดุลยเดช พ.ศ.2542)