ต่อมลูกหมากโต

  ..วุฒิพันธ์  บรรจง

 

 

          ต่อมลูกหมากคืออะไร ?

                 ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ชาย เป็นต่อมมี

         ท่อมีหน้าที่สร้างสารเมือกหล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิรูปร่างคล้ายลูกหมากขนาดเส้น

         ผ่าศูนย์กลางประมาณ  3  เซนติเมตร  อยู่ติดกับส่วนล่างของกระเพาะปัส-

         สาวะ ท่อปัสสาวะส่วนต้นจะผ่านกลางต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมากโตคืออะไร ?

                 ต่อมลูกหมากโต เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ( ไม่มีการกระจายไป

         อวัยวะอื่น) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อต่อม กล้ามเนื้อเรียบและพังผืด

          เขาว่าต่อมลูกหมากโตเป็นคนแก่ แก่แค่ไหน ?

                 ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะขัดจากต่อมลูกหมากโต มักมีอายุเกิน  50

         ปี  อายุมากขึ้นโอกาสมีอาการผิดปกติจากต่อมลูกหมากโตก็มากขึ้น และ


         รุนแรงขึ้น

    ต่อมลูกหมากโตมีสาเหตุจากอะไร ? บางคนบอกหลั่งน้ำอสุจิบ่อย

    ต่อมลูกหมากทำงานมาก ทำให้ต่อมลูกหมากโต

              ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แท้จริงของต่อมลูกหมากโต

   ผู้ป่วยที่หมอพบ บางคนก็มีภรรยาหลายคน  บางท่านก็เป็นพระภิกษุที่

   บวชตั้งแต่เด็ก

    ต่อมลูกหมากโต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง? ทำให้เกิด

    อาการผิดปกติอย่างไร ?  จะได้รู้และรีบหาหมอ

              ต่อมลูกหมากอยู่รอบท่อปัสสาวะ  เมื่อโตขึ้นจะทำให้ท่อปัสสาวะ

   แคบลงแต่เกิดอย่างช้าๆ กระเพาะปัสสาวะจะปรับตัวโดยบีบตัวแรงขึ้นเมื่อ

   ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะ กล้ามเนื้อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เพราะทำงาน

   หนักปัสสาวะยังพุ่งแรงเหมือนเดิม  แต่จะบ่อย  ปริมาณปัสสาวะแต่ละครั้ง

   น้อยกว่าปกติกลั้นนานไม่ได้ เพราะกระเพาะปัสสาวะระยะนี้ถูกกระตุ้นได้

   ง่าย มีน้ำปัสสาวะไม่มากก็ต้องถ่ายออก   ( ปกติกระเพาะปัสสาวะเก็บน้ำ

   ปัสสาวะได้ประมาณ 1/3 ลิตร จึงกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะ)

             เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นอีกท่อปัสสาวะแคบลงอีก สุดท้ายกระเพาะ

   ปัสสาวะปรับตัวต่อไปไม่ได้จะอ่อนแรงมีแรงบีบตัวน้อย ถ่ายปัสสาวะแต่ละ

   ครั้งต้องรอนานจึงออก ต้องเบ่งช่วย พุ่งไม่แรง ลำเล็ก กินเวลานาน ตอน

   หยุดมีปัสสาวะหยดมากขึ้นจะมีน้ำปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ

    มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเรื้อรัง

             ช่วงที่มีการปรับตัวของกระเพาะปัสสาวะระดับต่างๆ นี้มีผลให้ปัส-

   สาวะผ่านจากไตมาตามท่อไตลงในกระเพาะปัสสาวะไม่สะดวก  นานเป็น

   เดือนเป็นปี มีผลให้ไตและท่อไตพอง การทำงานของไตลดลง ในที่สุดเกิด

   ภาวะไตวาย


        นอกจากอาการที่เป็นผลโดยตรงจากต่อมลูกหมากโตอาจมีภาวะ

     แทรกซ้อน ได้แก่

1.      การติดเชื้อ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไตอักเสบ

2.      ปัสสาวะไม่ออกอย่างทันทีทันใด

3.      ปัสสาวะเป็นเลือด

4.      นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

5.      ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ และริดสีดวงทวาร

ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้น สงสัยไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์

          หมอรู้ได้อย่างไร ว่าคนไหนเป็นต่อมลูกหมากโต ?

                   หมอจะสรุปและประเมินจาก

1.      ประวัติและอาการ

2.      การตรวจทางร่างกายทั่วไป การตรวจทางทวารหนัก

                         (ต่อมลูกหมากอยู่ติดด้านหน้าของทวารหนัก)

3.      การตรวจปัสสาวะ

4.      การศึกษาการไหลของน้ำปัสสาวะ

5.      การส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ

               หมอจะตรวจมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับอาการ  และความต้องการข้อ

     มูล เพื่อประกอบการรักษา บางครั้งตรวจพิเศษอย่างอื่น  เพื่อแยกโรคที่มี

     อาการคล้ายกัน

      หมอรักษาอย่างไร ?

             เมื่อแน่ใจว่าต่อมลูกหมากโตหมอจะเลือกวิธีการรักษาตามความรุน

     แรงของอาการ, ขนาดต่อมลูกหมาก,อายุ,สุขภาพ,โรคประจำตัวของผู้ป่วย

     และภาวะแทรกซ้อน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

                1.ใช้ยา

1.1   กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อเรียบของต่อมลูกหมาก

1.2   กลุ่มยาปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศ

             2. การผ่าตัด  เท่าที่ใช้ในเมืองไทย ได้แก่

2.1 ใช้เครื่องมือส่องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปตัดเนื้องอกออก

     เป็นชิ้นเล็กด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้าแล้วล้างออก

                    2.2 ใช้เครื่องมือส่องผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปจี้ทำลายเนื้องอก

                         ด้วยแสงเลเซอร์

                    2.3 ผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทางแผลหน้าท้อง

                    2.4 ใช้เครื่องมือใส่ผ่านเข้าไปทางท่อปัสสาวะทำให้เกิดความ

                         ร้อนสูงในเนื้อต่อมลูกหมากโดยใช้พลังงานไมโครเวฟ

                    2.5 คาสายถ่างท่อปัสสาวะส่วนที่ผ่านต่อมลูกหมาก

             ในผู้ป่วยที่สภาพร่างกายไม่พร้อมจะรับการผ่าตัดแต่อาการไม่สา-

   มารถรอผลการรักษาโดยใช้ยา  หรือมีภาวะแทรกซ้อน  เรายังมีทางเลือก

   ระบายน้ำปัสสาวะโดยใส่สายสวนทางท่อปัสสาวะ     หรือใส่ท่อระบายน้ำ

   ปัสสาวะผ่านทางหน้าท้อง

              นอกจากการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยปัสสาวะสะดวกขึ้น  ทั้งโดยใช้ยา

   และผ่าตัด   หมอยังรักษาผลข้างเคียงที่เกิดจากต่อมลูกหมากโตและภาวะ

   แทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย

 

 

(จากหนังสือ “สาระน่ารู้ทางศัลยกรรม” 50ปี รพ.ภูมิพลดุลยเดช พ.ศ.2542)