ศัลยกรรมตกแต่ง

..ปรีดา   จินดา

 

                   ศัลยกรรมตกแต่ง เป็นศัลยกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตที่ประสบ

          อุบัติเหตุ หรือมีความพิการแต่กำเนิด ดูดีขึ้น และผ่าตัดที่ทำให้เห็นรอย

          แผลเป็นน้อยที่สุด

                   ศัลยกรรมตกแต่ง แบ่งเป็นสาขาได้ ๗ สาขาวิชา

                    สาขาที่ ๑        ศัลยกรรมที่แก้ไขความพิการแต่กำเนิด เช่น

ปากแหว่ง เพดานโหว่ ใบหน้าผิดรูป

                   สาขาที่ ๒        ศัลยกรรมทางมือ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับอุบิตเหตุ

                                      ทางมือจากโรงงาน รถยนต์

                   สาขาที่ ๓        ได้แก่ การรักษาผู้ป่วยที่ถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

                   สาขาที่ ๔        ได้แก่ การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่หน้าและคอ

                   สาขาที่ ๕        ดูแลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บกระดูกหักที่หน้า

                                      ส่วนใหญ่จากอุบัติเหตุรถยนต์

                   สาขาที่ ๖        ได้แก่ จุลศัลยกรรม การผ่าตัดด้วยกล้อง

จุลทัศน์ เช่น การต่อนิ้วมือผู้ป่วย

                   สาขาที่ ๗        ได้แก่ ศัลยกรรมเสริมสวย และความงาม ได้แก่

                                      การตกแต่งให้ผู้ป่วยดูสวยงามอ่อนกว่าวัย และ

                                      ดูดีขึ้น บางครั้งคิดว่าตัวเองดูไม่สวยดูแก่ ก็

                                      อยากจะมาทำเพื่อให้หน้าตาและรูปร่างดีขึ้น

                                      การทำศัลยกรรมเสริมสวยมีทั้งการทำตา ๒ ชั้น

                                      ทำเสริมจมูกให้โด่งขึ้น,ดึงหน้าเพื่อให้หน้าตึงขึ้น

                                      ตัดและดูดไขมันหน้าท้อง,การตัดกรามใหญ่ให้

                                      เล็กลง, การจัดฟันให้อยู่ในสภาพที่ผิดปกติ มี

                                      การทำหน้าอกที่เล็กโดยการเสริมให้ใหญ่ขึ้น

                                      และมีการทำหน้าอกที่ใหญ่ให้เล็กลง

                   การทำศัลยกรรมเสริมสวยนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ป่วยเอง

          ศัลยกรรมนี้ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ป่วยเองศัลยกรรมเสริมสวยนี้ ไม่ใช่

          ศัลยกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์เรา แต่เป็นศัลยกรรมที่ทำ

          ให้ความรู้สึกและจิตใจของผู้ป่วยดีขึ้น

 

(จากหนังสือ “สาระน่ารู้ทางศัลยกรรม” 50ปี รพ.ภูมิพลดุลยเดช พ.ศ.2542)