ภาษาหมอที่ชาวบ้านไม่รู้

..ปรีดา   จินดา

 

                                                                                              

                 ชาวบ้านทั่วๆไปหาหมอก็ต่อเมื่อตัวเองได้รับความเดือดร้อนคือการเจ็บป่วยทางร่างกายหรือจิตใจ ชาวบ้านบางคนได้ยินหมอและ/หรือพยาบาลพูดจากัน เมื่อตนเองไม่เข้าใจก็ย่อมทำให้เกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะผู้ป่วยทางร่างกายอยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำให้สภาพจิตใจแย่ลงไปอีก อย่างไรก็ตามถ้าผู้ป่วยสามารถเข้าใจในภาษาหมอที่พูดกันก็จะทำให้ผู้ป่วยนั้นคลายความวิตกกังวลและสบายใจไปได้บ้าง   และหมอก็ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายให้ผู้ป่วยฟังอีกหลายครั้ง ตัวอย่างเช่น หลังจากแพทย์ได้ตรวจผู้ป่วยคนหนึ่งเสร็จแล้วก็สั่งพยาบาลต่อหน้าผู้ป่วยว่าผู้ป่วยคนนี้เป็น   Chronic ulcer ที่ขามานาน  ไม่ทราบว่าจะเป็น Cancer หรือเปล่า    จะต้องส่ง OR เล็ก   under LA  เพื่อทำ Biopsy ดู  ถ้าได้ผลเป็น Malignancy  จะต้อง admit ผู้ป่วยไว้ใน ward  เพื่อทำผ่าตัดที่  OR ใหญ่     พร้อมทำ Routine  lab check up      Under GA ให้ NPO ไว้เลย อาจจะต้องเตรียม ICU ไว้     หลังผ่าตัด เพราะว่าผู้ป่วยอายุมากแล้ว อาจมี Complication เกิดขึ้นได้ จะต้อง Check Vital ตลอดหลังผ่าตัด 24 ชม.

               มีคำศัพท์หลายคำที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ เช่น คำว่า Chronic ulcer แปลว่าแผลเรื้อรัง หรือแผลที่เป็นมานาน   ในผู้ป่วยรายนี้แพทย์สงสัยว่าอาจจะมีเนื้องอก  ถ้าเป็นเนื้อร้ายเราเรียกว่า  malignancy   แต่ถ้าเป็นเนื้องอกธรรมดาเรียกว่า  Benign, คำว่า OR มาจากคำเต็มว่า Operating Room   เป็นการเรียยกแบบอเมริกัน ถ้าระบบอังกฤษจะเรียกว่า  Theater ,  OR เล็ก หมายถึงทำผ่าตัดเล็ก  ส่วนคำว่า under LA   ย่อมาจาก Local anesthesia คือการฉีดยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยรู้ตัวดีตลอดการทำผ่าตัด        GA ย่อมาจากคำว่า General Anesthesia  เป็นการดมยาสลบ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวเลยในระหว่างการทำ ผ่าตัด   เพราะฉะนั้น แพทย์จึงสั่งว่าให้ NPO ไว้เลย ซึ่งหมายถึง Nothing per oral ห้ามผู้ป่วยรับประทานอาหารใดๆเลย รวมทั้งน้ำ เป็นเวลา 6 ชั่วโมงก่อนเข้าห้องผ่าตัด  เพราะว่าผู้ป่วยอาจจะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนได้หลังจากฟื้นจากการดมยาสลบ เศษอาหารอาจจะเข้าไปอุดทางเดินหายใจของผู้ป่วยได้    การทำ Routine lab check up คือการตรวจเลือดและ chest x-ray ก่อนจะเข้าทำการผ่าตัดในผู้ป่วยทุกราย  การตรวจเลือดมีการตรวจ CBC มาจากคำว่า Complete blood  count คือการนับเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง   และดูระดับความเข้มข้นของเลือดให้อยู่ในสภาวะเหมาะสมที่จะทำการผ่าตัด  หากคิดว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสียเลือดมากในการผ่าตัด แพทย์จะเตรียมหาเลือดสำรองไว้ให้ในกรณีฉุกเฉิน    ก่อนจะให้เลือดต้องทำ Cross matching คือดูว่าเลือดที่จะให้นั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกับผู้ป่วย คือไม่สามารถที่จะถ่ายให้กับผู้ป่วยโดยไม่มีปฏิกริยาหรือผลข้างเคียง  นอกจากนี้ยังจะต้องตรวจหาเชื้อไวรัส HIV หรือการตรวจ AIDS  ถ้า HIV positive คือให้ผลเป็นบวก  ศัลยแพทย์และพยาบาลที่ร่วมทำผ่าตัดจะเตรียมตัวป้องกันเชื้อไวรัส AID   ซึ่งขบวนการนี้เราเรียกว่า Universal Precaution  คือ ศัลยแพทย์และพยาบาลจะต้องใส่เลื้อกาวน์และถุงมือชนิดพิเศษที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านได้   มีแว่นชนิดพิเศษป้องกันเลือดกระเด็นเข้าหน้าตา    การส่งเครื่องมือก็จะต้องมีถาดรองรับ

เครื่องมือ จะไม่ส่งเครื่องมือโดยตรงให้กับศัลยแพทย์  ทั้งนี้เพื่อป้องกันของแหลมหรือของมีคมบาดมือของศัลยแพทย์     ผู้ช่วยผ่าตัด    หรือพยาบาลได้  ของที่ใช้แล้วก็จะต้องแช่หรืออบฆ่าเชื้อโรค ถ้าผู้ป่วยสูงอายุคืออายุเกิน 40 ปี จะต้องตรวจเบาหวาน (FBS), ไขมัน (Cholesterol)   และตรวจ EKG ย่อมาจากคำว่า Electrocardiogram คือการตรวจคลื่นหัวใจและการเต้นของหัวใจ,   Chest x-ray ก็คือการถ่าน x-ray หน้าอกดูว่าผู้ป่วยมีโรคปอดหรือไม่          

          การ Admission คือการรับผู้ป่วยเอาไว้ในโรงพยาบาล จะต้องมี H.N. ย่อมาจากคำว่า Hospital  Number คือเบอร์ประจำตัวผู้ป่วย A.N. คือ  admission Number หมายเลขประจำตัวผู้ป่วยในโรงพยาบาล  คำว่า  ICU ย่อมาจากคำว่า Intensive Care Unit หมายถึงห้องรักษาผู้ป่วยที่ต้องการดูแลจากแพทย์และพยาบาลอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีเครื่องมือที่ทันสมัยในการช่วยชีวิตคนไข้       C.C.U. ย่อมาจาก Coronary Care Unit หมายถึงห้องรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ        Ward หมายถึงห้องและเตียง

ผู้ป่วยระหว่างที่นัดรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล  Ward แบ่งเป็น Surgical  ward  คือ หอผู้ป่วยศัลยกรรม  Medical ward คือหอผู้ป่วยทางด้านอายุรกรรม

         Complication หมายถึง โรคแทรกซ้อนหลังผ่าตัด  คำว่า  Vital sign ก็คือการ Check B.P. ย่อมาจาก Blood pressure คือความดันของผู้ป่วยเอง  ค่าปกติ 120/80 mmHg    PR  ย่อมาจากคำว่า  pulse rate ชีพจรของผู้ป่วยปกติ 72 ครั้งต่อนาที  H.R. ย่อมาจากคำว่า Heart Rate อัตราการเต้นของหัวใจ

 

(จากหนังสือ “สาระน่ารู้ทางศัลยกรรม” 50ปี รพ.ภูมิพลดุลยเดช พ.ศ.2542)