การผ่าตัดด้วยกล้อง

(Laparoscopic  Surgery)

 

ความเป็นมา

        การผ่าตัดด้วยกล้อง มีวิวัฒนาการเริ่มต้นมาจาก  การใช้เครื่องมือใส่เข้าไปตรวจภายในช่องท้อง  โดยในปี  .. ๒๔๔๔ (ค.ศ.1901)ได้มีรายงานเริ่มต้นโดยการทดลองทำในสัตว์ก่อน ต่อมาได้มีรายงานการทำในมนุษย์  และการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ขึ้นมา ในระยะแรกการใช้กล้องยังไม่เป็นที่นิยมทำกันมากนัก  ส่วนใหญ่แล้วจะทำกันในด้านการวินิจฉัยโรค  หรือ การใช้กล้องเพื่อสำรวจช่องท้อง  ซึ่งต่อมาสูติแพทย์เป็นกลุ่มแรก  ที่นำมาใช้ในด้านการรักษา ได้แก่  การทำหมัน  ตัดถุงน้ำของรังไข่  เลาะพังผืด เป็นต้น  แต่ศัลยแพทย์ทั่วไปยังไม่ได้สนใจการผ่าตัดด้วยกล้อง   เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ  และอาจจะเป็นผลเสียต่อผู้ป่วย  เมื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีเดิมซึ่งมีมานานแล้วและศัลยแพทย์ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี     ต่อมาในปีพ..๒๕๒๙ (ค.ศ.1986) ได้มีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น  โดยเฉพาะเครื่องมือที่เกี่ยวกับ  คอมพิวเตอร์  โทรทัศน์  กล้องวีดีทัศน์  และ เครื่องมือที่ช่วยในการผ่าตัดด้วยกล้อง  จึงได้เริ่มมีผู้สนใจการผ่าตัดด้วยกล้องมากขึ้น  และในปีพ..๒๕๓๐ (ค.ศ.1987) ได้มีศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Mouret รายงานการผ่าตัดถุงน้ำดีด้วยกล้องสำเร็จเป็นครั้งแรก   ชึ่งหลังจากนั้นอีก ๒ ปี (ค.ศ.1989) Dubois และคณะ จากประเทศฝรั่งเศส   รวมทั้ง Reddick และคณะ  จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รายงานผลการผ่าตัดในระยะแรก  ลงในวารสารทางการแพทย์เป็นครั้งแรก และต่อจากนั้นมา  การผ่าตัดด้วยกล้องก็เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างรวดเร็ว  ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป  และกระจายไปทั่วโลก    

 

 วิวัฒนาการของการผ่าตัดด้วยกล้องและเทคโนโลยีของเครื่องมือที่ใช้

( Thomas A. Stellato.  1992 : 998 )

 

1901

1911

1929

1937

 

Kelling

Canine

 

Jacobaeus

 Man

 

Kalk

 Dual Trocars

 

Ruddock

 USA

                             

1938

 1960's

1966

1986

 

Veress Needle

Semm

 Automatic Insufflation

Hopkins

Rod-Lens System

 

Computer Chip

TV , Camera

  

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดด้วยกล้อง 

        ประกอบด้วยเครื่องมือหลายประเภท  ดังนี้

       .  เครืองมือที่ใช้ผลิตภาพ  ได้แก่  กล้องส่องช่องท้อง (rigid  endoscope)       กล้องถ่ายวิดีโอ (video camera  and  controller) เครื่องกำเนิดแสงสว่าง ( light  source ) และจอรับภาพ  ( monitor ) 

        . เครื่องมือที่ใช้ในการทำให้เกิดช่องว่างในท้อง เป็นเครื่องมือที่บรรจุแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในช่องท้อง  ซึ่งตามปกติจะไม่มีลมอยู่ภายในเลย  เมื่อแก๊สเข้าไปก็จะสามารถ  ทำให้ผนังหน้าท้องพองออกไปในทุกทิศทาง  ยกเว้นทางด้านล่างซึ่งวางอยู่บนพื้นเตียงผ่าตัด  อวัยวะภายในทั้งหลายก็จะถูกกดดันให้แบนราบลงไปด้วย ทำให้เกิดช่องว่างในท้องสะดวกต่อการผ่าตัดเป็นอันมาก

        .เครื่องเป่าและดูดน้ำออก  ใช้ในการล้างคราบเลือดหรือเศษชิ้นเนื้อ ในบริเวณที่ทำการผ่าตัดและดูดออกทิ้ง เพื่อการมองเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างการผ่าตัด

        . เครื่องมือที่ใช้ในการเข้าสู่ช่องท้อง  เรียกว่า  trocar  and  canula  เป็นเครื่องมือที่ใช้แทงผนังหน้าท้องที่มีแก๊สบรรจุอยู่ภายใน  แต่ไม่เกิดการรั่วของแก๊สขณะที่กำลังทำงานอยู่  สามารถสอดเครื่องมือผ่านท่อเครื่องมือนี้  เข้าไปในช่องท้องได้โดยไม่สูญเสียแก๊สออกไปมากมายนัก  และไม่เสียจังหวะในกระบวนการของการผ่าตัด  ลักษณะเป็นท่อยาวกลวง ที่นิยมใช้กันมาก  ได้แก่เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ มิลลิเมตร  และ ๑๐มิลลิเมตร มีแท่งเหล็กปลายแหลมสอดอยู่ตรงกลาง ซึ่งใช้ในการแทงครั้งแรกแล้วถอดออก  และใช้เครื่องมือชนิดอื่นสอดเข้าไปแทนในการทำงานโดยไม่มีแก๊สรั่วออกมาระหว่างทำการผ่าตัดเลย

        . เครื่องมือผ่าตัด  ส่วนใหญ่แล้วลักษณะจะเป็นแท่งเล็กๆยาวๆ  ขนาดประมาณ  ๓๓ เซ็นติเมตร  และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ มิลลิเมตร  หรือ ๑๐มิลลิเมตร  แล้วแต่ลักษณะ และ จุดประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะแบ่งออกเป็น  ประเภทต่างๆ ได้แก่ เครื่องมือจับ (Grasping  forceps)  เครื่องมือฉีก  (Dissecting  forceps) กรรไกร  (Scissors)  เครื่องมือจับเข็ม  (Needle  holder)  เครื่องมือจี้ไฟฟ้า(Cauterizing  electrode) เครื่องมือหนีบ(Clipping  and stapling instruments) และ อุปกรณ์เบ็ดเตล็ด อื่นๆอีกหลายอย่าง

( ไพศาล พงศ์ชัยฤกษ์ : ตำราศัลยกรรมส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร เล่ม ๓, ๒๕๓๘ ) 

 

 จอรับภาพ , Video camera and controller , เครื่องกำเนิดแสงสว่าง , เครื่องเป่าแก๊ส

 

   

 กล้องส่องช่องท้อง และเครื่องมือผ่าตัดชนิดต่างๆได้แก่ Trocar and canula , Grasping forcep , Dissecting forcep , Scissor, etc.

หลักของการผ่าตัดด้วยกล้อง

        ศัลยแพทย์พยายามทำให้มีแผลที่บริเวณหน้าท้องเล็กที่สุด และลดการใช้มือหรือเครื่องมือขนาดใหญ่  เข้าไปสัมผัสอวัยวะภายในโดยไม่จำเป็น  และลดผลกระทบของการผ่าตัดเปิดหน้าท้องอีกหลายประการ  การเตรียมผู้ป่วยเพื่อผ่าตัดด้วยกล้อง มีความยุ่งยากน้อยกว่า การผ่าตัดวิธีเดิม    เช่นไม่ต้องเตรียมเลือดไว้ระหว่างทำการผ่าตัดเลย  เนื่องจากโอกาสเสียเลือดมีน้อย แต่ยังจำเป็นต้องใช้การ ดมยาสลบให้ผู้ป่วยหมดความรู้สึกทั่วไปเช่นเดียวกัน  การผ่าตัดวิธีนี้ใช้ประโยชน์จากการพัฒนาการทางเทคโนโลยี  ของกล้องส่องภายในช่องท้องซึ่งลักษณะเป็นแท่งยาว  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๑๐  มิลลิเมตร  สอดเข้าไปในช่องท้องซึ่งเป่าด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จนโป่งพอง  ทำให้กระเพาะอาหาร ,ลำไส้ และ อวัยวะภายในอื่นๆ ตกลงไปกองอยู่ด้านล่าง ศัลยแพทย์จะมองเห็นทุกอย่างภายในช่องท้อง  ได้จากจอโทรทัศน์ซึ่งถ่ายทอดสัญญานมาจากกล้องวีดิทัศน์ที่สอดเข้าไปในช่องท้องทางรูที่หน้าท้องขนาดเล็กๆ  นอกจากนั้นยังสามารถใช้เครื่องมือซึ่งลักษณะเป็นแท่งยาว และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕มิลลิเมตร  หรือ ๑๐  มิลลิเมตร   อีกหลายชิ้น   สอดเข้าไปในช่องท้อง  การผ่าตัดวิธีนี้ศัลยแพทย์ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ผู้ช่วยเป็นจำนวนมาก  เหมือนการผ่าตัดวิธีเดิม  แต่เครื่องมือที่ใช้นั้นมีราคาค่อนข้างแพง เนื่องจากพัฒนามาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่   ผลดีของการผ่าตัดด้วยกล้อง  ที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งในระยะเริ่มแรกและในการศึกษาต่อมา เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดวิธีเดิมก็คืออาการปวดจากแผลผ่าตัดน้อยกว่า     การอยู่ภายในโรงพยาบาลสั้นกว่า     การกลับไปปฏิบัติหน้าที่การงานหลังการผ่าตัดเร็วกว่า   และแผลผ่าตัดสั้นกว่ามีผลต่อความสวยงามของหน้าท้อง  แต่มีข้อแม้ว่าศัลยแพทย์ต้องมีความชำนาญ  จึงจะไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดขึ้นมาได้