Conection Internet of Rajamangala University


การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดแบบผสม (Hybrid Network)

การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดแบบผสม (Hybird Network) หมายถึง เชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกันเช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ซึ่งระบบ Hybrid Networkนี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tree ที่มีลำดับชั้นในการทำงานด้วยกัน คือ จะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยหลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้าง เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกันมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อ เครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัดหรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้


1.หน้าที่การทำงาน เชื่อมต่อผสมผสานเครือข่ายย่อยๆหลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ 2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน 2.1 โมเด็ม (Modem)ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับ-ส่งและไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆมาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่อง เมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น 2.2 สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge)เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกันสองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์และตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลก็มิได้ลดลงและติดตั้งง่าย 2.3 เร้าเตอร์ (Router)เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้ายสวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อระบบที่ใช้สื่อหรือสายสัญญาณต่างชนิด กันได้ เช่น เชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือกหรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่านและแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่งแน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น 2.4 เกทเวย์ (Gateway)เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุดในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบหรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไปเกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกันจัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงและติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัวจะรวมคุณสมบัติในการเป็นเร้าเตอร์ด้วยในตัวหรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย 3. การทำงาน คือ เป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง(WAN) เป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกันมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่หลากหลายเผ่าพันธุ์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัดหรืออาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้ ตัวอย่าง เช่น บริษัทที่มีสาขาแยกย่อยตามจังหวัดต่างๆสาขาหนึ่งอาจจะใช้เครือข่ายแบบดาวอีกสาขาอาจจะใช้เครือข่ายแบบบัส การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกันอาจจะใช้สื่อกลางเป็นไมโครเวฟหรือดาวเทียม เป็นต้น 4. ข้อดีและข้อเสียของแบบผสม(Hybrid Network) 4.1 ข้อดีของแบบผสม(Hybrid Network) 4.1.1. ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก 4.1.2. สามารถขยายระบบได้ง่าย 4.1.3. เสียค่าใช้จ่ายน้อย 4.2 ข้อเสียของแบบผสม(Hybrid Network) 4.1.1. อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย 4.1.2. การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเนตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ( Topologies )
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้นๆ ว่าโทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยีและโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ •โทโพโลยีแบบบัส •โทโพโลยีแบบดาว •โทโพโลยีแบบวงแหวน 1. แบบบัส (BUS Topology) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย

ข้อดีของการเชื่อแบบบัส •สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน •การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย •ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที •ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้ ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส •ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที •ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ 2. แบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่างๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่นๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรทอคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง

ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้ 3. แบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถานีสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป

ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้นและยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะทำให้ได้ยากด้วย
ระบบเครือข่ายไร้สายของมหาลัย( Topologies )
ระบบเครือข่ายไร้สาย ระบบเครือข่ายไร้สาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระบบเครือข่ายไร้สาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เปิดให้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาและอุปกรณ์ไร้สาย ด้วยมาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ Wi-Fi การใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ระบบเครือข่ายไร้สาย Srivijaya เปิดให้บริการโดยมีชื่อชุดการให้บริการ (SSID) 2 ชุดคือ จุดบริการ พื้นที่สงขลา •Srivijaya WiFi : ชื่อสัญญาณนี้เปิดบริการในพื้นที่สงขลา โดยสามารถเชื่อมต่อใช้งานได้ภายในมหาวิทยาลัยฯเท่านั้น วิธีการสมัครใช้งานมี 2 วิธี 1.สมัคร ณ จุดบริการ (สำหรับผู้ใช้งานที่ไม่มี e-Passport หรือบุคคลทั่วไป) 2.สมัครออนไลน์ (สำหรับผู้ใช้งานที่มีรหัส e-Passport) สามารถลงทะเบียนภายในระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยฯ เท่านั้น

switches-catalyst-2960x-24ts-ll-switch
switches-catalyst-3650-24ts-s-switch Network Switch
Network switch หรือ switching hub, bridging hub switch เป็นอุปกรณ์ในระบบ computer network เช่นเดียวกับ Hub ทำหน้าที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆเข้าด้วยกันในระบบ โดยอาศัยการทำ packet switching ซึ่งจะรับประมวลผล และส่งข้อมูลต่อไปยังปลายทาง เพียงแค่หนึ่งหรือหลาย port ไม่ใช่การ broadcast ไปทุก port เหมือนกับ hub Switch จะมีด้วยกันหลาย port มีการระบุที่อยู่ (address) ประมวลผลก่อนที่จะส่งข้อมูลต่อไปในระดับ data link layer (layer 2) ใน OSI model บาง switch สามารถประมวลผลในระดับ network layer (layer 3) ซึ่งจะเป็นความสามารถในการทำ routing ซึ่งมักจะใช้งานกับ IP address เพื่อทำ packet forwarding เรามันจะเรียกว่า L3-Switch หรือ multilater switch คุณสมบัติของ Switch เป็นอุปกรณ์ อิเล็คทรอนิกส์ ทีเชื่ออุปกรณ์ network เข้าด้วยกัน โดยอาศัยสาย cable ต่อเข้ากับ port แต่ละอุปกรณ์ และยังสามารถจัดการเชื่อมต่อระหว่าง network ได้ อุปกรณ์แต่ละตัวที่ต่อเข้ากับ switch จะได้รับ network address เป็นตัวบอกตัวตนของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อให้การส่งข้อมูล packet ไปถึงได้ถูกต้องและเจาะจง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับ network 1. การทำงานของ switch Switch ทำงานในระดับ data link layer (layer 2) มีการแบ่ง collision domain ของแต่ละ port เพื่อให้สามารถส่งข่อมูลหากันได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ชนกันได้ แต่ด้วยคุณสมบัติ half duplex mode ทำให้ port เดียวกันทำหน้าที่ ส่ง หรือ รับ ข้อมูลได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นในช่วงเวลานั้น แต่ถ้าอุปกรณ์ที่ต่อรองรับ full duplex mode ก็จะสามารถส่งและรับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันจะเห็นได้ว่าถ้าเทียบกับ repeater hub แล้ว การส่งข้อมูลทำได้เพียงแต่ port เดียวในช่วงเวลานั้น จากคุณสมบัติที่ต้อง broadcast รวมถึงทำงานแบบ half duplex ทำให้ bandwidth ที่ได้ค่อนข้างต่ำ จากการชนกันของ packet และต้อง retransmit บ่อยครั้ง 2. การใช้งาน switch Network switch มีบทบาทใน Ethernet local area networks (LANs) อย่างมาก ตั้งแต่ระบบ ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ LAN จะประกอบด้วย switch จำนวนหนึ่ง ที่ทำหน้าที่จัดการระบบ network เช่น Small office/home office (SOHO) อาจจะใช้ switch เพียงตัวเดียว รวมถึง office ขนาดเล็ก หรือ ที่พักอาศัย ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจจะนำไปเชื่อมต่อกับ router เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อ internet หรือ ทำ Voice over IP (VoIP) 3. Microsegmentation การแบ่ง segment ที่ใช้ใน bridge หรือ switch (router) เพื่อแบ่ง collision domain ขนาดใหญ่ออกเป็นขนาดเล็ก เพื่อลดการชนกันของ packet รวมถึงเพิ่ม throughput ให้กับ network ในการทำงานขั้นสูง อุปกรณ์แต่ละตัวจะได้รับการเชื่อมต่อ port ของตัวเอง ซึ่งแต่ละ port จะแยก collision domain เป็นของตัวเอง ซึ่งทำให้แต่ละ อุปกรณ์สามารถใช้งาน bandwidth ต่างกันตามการรองรับได้อีกทั้งยังทำ Full-duplex mode ได้ หน้าที่เฉพาะเจาะจงของเลเยอร์ ในขณะที่สวิตช์อาจจะเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างที่มีหลายเลเยอร์ สวิตช์ก็มีแนวโน้มที่จะมีคุณสมบัติที่เหมือนๆกัน นอกจากการใช้งานที่มีประสิทธิภาพสูงแล้ว, สวิตช์ในเชิงพาณิชย์ที่ทันสมัยยังใช้อินเตอร์เฟซแบบอีเธอร์เน็ตเป็นหลัก ที่ชั้นใด ๆ สวิตช์ที่ทันสมัยอาจใช้ Power over Ethernet (PoE) เพื่อหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่แนบมาเช่นโทรศัพท์ VoIP หรือจุดเชื่อมต่อไร้สายที่จะต้องมีแหล่งจ่ายไฟแยกต่างหาก เนื่องจากสวิตช์สามารถมีวงจรไฟฟ้าสำรองที่เชื่อมต่อกับ UPS สามารถทำงานได้แม้ในขณะที่พลังงานปกติล้มเหลว Layer 1 (ฮับกับสวิตช์เลเยอร์สูง) Network Hub หรือ repeater เป็นอุปกรณ์เครือข่ายง่ายๆ Repeater Hub ไม่ได้จัดการใด ๆ ของการจราจรที่ผ่านเข้ามา แพ็คเก็ตใดเข้ามาพอร์ตหนึ่งก็ถูกปล่อยอีกทุกพอร์ตหรือ"ทำซ้ำ" เนื่องจากทุกๆแพ็คเก็ตจะถูกทำซ้ำบนพอร์ตอื่น ๆ ทุกพอร์ต การชนกันของแพ็คเก็ตย่อมเกิดขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายทั้งหมดและจำกัดความสามารถในการทำงาน สวิตช์จะสร้างการเชื่อมต่อแบบ end-to-end ที่เลเยอร์ 1 แบบเสมือนจริงเท่านั้น บริดจ์ฟังก์ชั่นจะเลือกว่าแพ็กเก็ตไหนจะถูกส่งต่อไปที่พอร์ตไหนบนพื้นฐานของข้อมูลที่นำมาจากชั้น 2 (หรือสูงกว่า) เพื่อการลบความจำเป็นที่ทุกโหนดจะได้รับข้อมูลไปด้วย สายเชื่อมต่อไม่ได้ ถูก"สวิตช์"จริงๆ มันจะเป็นเช่นนั้นในระดับแพ็คเก็ตเท่านั้น ชื่อ"Bridging ฮับ" "สวิตช์ชิ่งฮับ" หรือ "multiport bridge" อาจเป็นชื่อที่เหมาะสมกว่าชื่อ repeater ฮับจะมีประโยชน์ในงานที่พิเศษ เช่นการคัดลอกการจราจรไปให้เครือข่ายเซ็นเซอร์ทั้งหลาย สวิตช์ระดับไฮเอนด์มีคุณสมบัติที่เหมือนกันที่เรียกว่า พอร์ตมิร์เรอริ่ง(port mirroring) โดยช่วงต้นยุค 2000 ฮับและสวิตช์โลวเอนด์ ทำงานได้ไม่แตกต่างกันมากนัก Layer 2 เนทเวิร์คบริดจ์(network bridge) ทำงานที่ data link layer เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เนทเวิร์คทั้งหลายในบ้านหรือในสำนักงาน เนทเวิร์คบริดจ์จะทำงานเล็กๆของการบริด์จิ้ง นั่นคือการเรียนรู้ MAC address ของอุปกรณ์แต่ละตัวที่เชื่อมต่อกัน บริดจ์ยังสามารถให้ประสิทธิภาพสูงมากในการนำไปใช้งานเฉพาะอย่างเช่น storage area network บริดจ์ที่คลาสสิกอาจจะเชื่อมต่อระหว่างกันโดยใช้spanning tree protocolที่จะป้องกันไม่ให้การส่งข้อมูลระหว่างกันในเครือข่ายแลนเกิดการวิ่งวน(ลูป). ในทางตรงกันข้ามกับเราเตอร์, บริดจ์สแปนนิ่งทรีจะต้องมีโครงสร้างที่มีเพียงเส้นทางที่ใช้งานหนึ่งเดียวระหว่างจุดสองจุด. มาตรฐานเก่าของ IEEE 802.1D โปรโตคอลสแปนนิ่งทรีอาจจะค่อนข้างช้าด้วยการหยุดรอถึง 30 วินาทีขณะที่สแปนิ่งทรีรวมตัวใหม่. \สแปนนิ่งทรีที่เร็วกว่าจะใช้มาตรฐาน IEEE 802.1w มาตรฐานใหม่สุดสำหรับการบริดจ์เพื่อเส้นทางที่สั้นที่สุดคือ IEEE 802.1aq ซึ่งเป็นที่รวมของโปรโตคอล Spanning tree เก่าทั้งหมด (IEEE 802.1D STP, IEEE 802.1w RSTP, IEEE 802.1s MSTP) โดยจะปิดกั้นการจราจรบนเส้นทางทั้งหมดยกเว้นเส้นทางที่เลือก. IEEE 802.1aq (Shortest Path Bridging, SPB) ยอมให้ทุกเส้นทางใช้งานได้ด้วยหลายเส้นทางที่ค่าใช้จ่ายเท่ากัน ทำให้มีโครงสร้างเลเยอร์ 2 มีขนาดใหญ่กว่ามาก (สูงถึง 16 ล้านเทียบกับข้อจำกัดของ VLANs ที่ 4096 topologies), ทำให้การบรรจบกันได้เร็วขึ้นและช่วยปรับปรุงการใช้งานของ mesh topologies ผ่านแบนด์วิดท์ที่เพิ่มขึ้นและเพิ่มความซ้ำซ้อนระหว่างอุปกรณ์ทั้งหมดโดยให้การจราจรแชร์ส่วนแบ่งทั่วทุกเส้นทางของ mesh network . ในขณะที่สวิตช์เลเยอร์ 2 ยังมีชื่อทางการค้าหลายอย่าง ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการแนะนำว่าเป็น "สวิตช์" มีแนวโน้มที่จะใช้ microsegmentation และดูเพล็กซ์เต็มรูปแบบเพื่อป้องกันการชนกันระหว่างอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอีเธอร์เน็ต โดยใช้การ forward plan ภายในที่เร็วกว่าอินเตอร์เฟซใด ๆ สวิตช์ได้ให้เส้นทางระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์พร้อมกัน อุปกรณ์'non-blocking' ใช้ forwarding plane หรือวิธีการเทียบเท่าที่เร็วพอที่จะให้การจราจรดูเพล็กซ์เต็มรูปแบบสำหรับแต่ละพอร์ตพร้อมกัน เมื่อบริดจ์รู้ที่อยู่ของโหนดที่จะเชื่อมต่อแล้ว มันจะส่ง data link layer frame โดยใช้วิธีการส่งต่อเลเยอร์ 2 ซึ่งมีสี่วิธี ที่ซึ่งวิธีที่สองถึงวิธีที่สี่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ "สวิตช์" กับข้อมูลที่อินพุทพอร์ทและเอ้าท์พุทพอร์ทมี่แบนด์วิดท์เดียวกัน วิธีทั้งสี่คือ: 1.เก็บและส่งต่อ: สวิตช์เก็บข้อมูลและตรวจสอบแต่ละเฟรมก่อนที่จะส่งต่อมัน 2.ตัดผ่าน: สวิตช์อ่านที่อยู่ฮาร์ดแวร์ของเฟรมก่อนที่จะเริ่มส่งต่อไป สวิตช์ตัดผ่านต้องถอยกลับไปที่'เก็บและส่งต่อ'ถ้าพอร์ตขาออกไม่ว่างในเวลาที่แพ็คเก็ตมาถึง มีการตรวจสอบข้อผิดพลาดในวิธีนี้ด้วย 3.Fragment Free: วิธีนี้พยายามที่จะรักษาประโยชน์ของทั้งการ'เก็บและส่งต่อ'และการ'ตัดผ่าน' Fragment Free ตรวจสอบ 64 ไบต์แรกของเฟรมที่ข้อมูล address จะถูกเก็บไว้อยู่ ตามข้อกำหนดของอีเธอร์เน็ต การชนควรได้รับการตรวจพบในช่วง 64 ไบต์แรกของเฟรม นั่นคือเฟรมที่มีข้อผิดพลาดเนื่องจากการขนจะไม่ถูกส่งต่อ วิธีนี้เฟรมที่ดีจะไปถึงปลายทางที่ตั้งใจ การตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในแพ็คเก็ตจะทำโดยอุปกรณ์ปลายทาง 4.ปรับเปลี่ยน: วิธีการเลือกโดยอัตโนมัติระหว่างสามโหมดอื่น ๆ ในขณะที่มีการใช้งานเฉพาะเช่น storage area networks ที่ๆอินพุทและเอาท์พุทอินเตอร์เฟสมีแบนด์วิดธ์เดียวกัน ซึ่งไม่ใช่กรณีทั่วไปในระบบ LAN ทั่วไป ใน LANs, สวิตช์ถูกใช้สำหรับการเข้าถึงของผู้ใช้ที่มักจะมุ่งเน้นที่แบนด์วิดธ์ที่ต่ำกว่าและ uplinks เป็นแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่า Layer 3 ภายในขอบเขตของ physical layer ของ Ethernet, สวิตช์เลเยอร์ 3 สามารถทำงานบางส่วนหรือทั้งหมดของเราเตอร์ ความสามารถที่พบมากที่สุดคือการรับรู้ของ IP Multicast ผ่านทาง IGMP Snooping (การสอดแนม) ด้วยการรับรู้นี้ สวิตช์เลเยอร์ 3 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยการส่งการจราจรของ multicast group ไปที่พอร์ตเฉพาะอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณมาว่ามันต้องการที่จะคุยด้วยเท่านั้น Layer 4 ในขณะที่ความหมายที่แน่นอนของสวิตช์ชั้น 4 คือ'ขึ้นอยู่กับผู้ขาย' ส่วนมากมักจะเริ่มต้นด้วยความสามารถในการแปลที่อยู่เครือข่าย แต่หลังจากนั้นก็เพิ่มบางประเภทของการกระจายโหลดที่ขึ้นอยู่กับ Transmission Control Protocol session. อุปกรณ์อาจรวมถึงไฟร์วอลล์ stateful, VPN concentrator, หรือเป็น gateway ของ IPSec security Layer 7 สวิตช์ชั้น 7 อาจกระจายโหลดขึ้นอยู่กับ Uniform Resource Locator URL หรือโดยบางเทคนิคที่จะยอมรับการทำธุรกรรมระดับโปรแกรมประยุกต์ สวิตช์ชั้น-7 อาจรวมถึงเว็บแคชและมีส่วนร่วมใน content delivery network การตรวจสอบการจราจรบนเครือข่าย Switched ถ้าไม่ได้ใช้วิธีการตรวจสอบการจราจรเช่น การทำ port mirroring, RMON, SMON หรือ Flow ในสวิตช์, มันเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบการจราจรที่เป็น bridged ใช้สวิตช์เพราะมีแต่พอร์ตที่ส่งและรับเท่านั้นที่เห็นการจราจร คุณสมบัติเหล่านี้ไม่ค่อยปรากฏในสวิตช์ระดับผู้บริโภค มีสองวิธีที่นิยมใช้ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อช่วยให้นักวิเคราะห์เครือข่ายตรวจสอบการจราจรคือ •พอร์ตมิร์เรอริ่ง - สวิตช์จะส่งสำเนาของแพ็คเก็ตเครือข่ายไปให้เครือข่ายการตรวจสอบ •SMON - switch monitoring "การตรวจสอบสวิตช์" ถูกอธิบายโดย RFC 2613 และเป็นโปรโตคอลสำหรับอำนวยความสะดวกในการควบคุมเช่น mirroring port วิธีการตรวจสอบอื่นๆอาจจะต่อฮับเลเยอร์ 1 ระหว่างอุปกรณ์ตรวจสอบและสวิตช์พอร์ต นี้จะทำให้เกิดความล่าช้าเล็กน้อย แต่จะช่วยให้การเชื่อมต่อหลายที่สามารถใช้ในการตรวจสอบแต่ละสวิตช์พอร์ต

หน้าหลัก

หน้า2

หน้า3

ผู้จัดทำ