อุปกรณ์อินพุต(Input) เอ้าต์พุต(Output)


Program
in out


การทำงานของไมโครคอนโทรลเลอร์คือเมื่อรับสัญญาณอินพุตจะทำการประมวลผลตามโปรแกรมที่เขียนไว้ แล้วส่งสัญญาณไปควบคุมเอ้าต์พุต


ความหมายของ อินพุต(Input) เอ้าต์พุต(Output)
Input  คำนาม แปลว่า อินพุต , สิ่งที่ป้อนเข้า , สิ่งที่ใส่เข้า , การป้อนเข้า , การนำเข้า , ด้านเข้า
Output  คำนาม แปลว่า เอ้าต์พุต , ผลิตผล , ผลิตภัณฑ์ , ข้อมูลที่ส่งออกมา
อินพุต/เอาต์พุต ย่อว่า ไอ/โอ (อังกฤษ: input/output: I/O) หรือภาษาไทยว่า รับเข้า/ส่งออก ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงการสื่อสารระหว่างระบบประมวลผลสารสนเทศ (เช่นคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอนโทรลเลอร์) กับโลกภายนอก อินพุตหรือสิ่งรับเข้าคือสัญญาณหรือข้อมูลที่ระบบรับเข้ามา และเอาต์พุตหรือสิ่งส่งออกคือสัญญาณหรือข้อมูลที่ระบบส่งออกไป ศัพท์นี้ใช้เรียกการกระทำเพียงส่วนหนึ่ง กล่าวคือ “การกระทำไอ/โอ” หมายถึงการปฏิบัติการรับเข้าหรือส่งออกสัญญาณหรือข้อมูล ตัวอย่างเช่น
-คีย์บอร์ดหรือเมาส์จัดว่าเป็นอุปกรณ์รับเข้าสำหรับคอมพิวเตอร์
-จอภาพและเครื่องพิมพ์จัดว่าเป็นอุปกรณ์ส่งออกสำหรับคอมพิวเตอร์
-อุปกรณ์ที่สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน เช่นโมเด็มหรือแผ่นวงจรเครือข่าย โดยปกติสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
อุปกรณ์อินพุต สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์
เป็น อุปกรณ์ตรวจจับ(sensor) เพื่อให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอก อุปกรณ์ตรวจจับจะสร้างสัญญาณรับเข้า(Input)ให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ ยกตัวอย่างเช่น

  • ตรวจจับปริมาณ , ความถี่ เสียง
  • ตรวจจับปริมาณแสง
  • ตรวจจับอุณหภูมิ
  • ตรวจจับการกดสวิตช์
  • ตรวจจับระยะทาง
  • ตรวจจับการเคลื่อนไหว
  • ตรวจจับความชื้น
  • ตรวจจับก๊าซ LPG
  • ตรวจจับเข็มทิศ(ทิศทาง)
  • ตรวจจับการไหลของน้ำ
  • ตรวจจับแรงกด(แรงบีบ)

อุปกรณ์เอ้าต์พุต สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามการควบคุมของไมโครคอนโทรลเลอร์ เมื่อมีสัญญาณ รับเข้า(Input) ไมโครคอนโทรลเลอร์จะประมวลผลตามโปรแกรมที่เขียนไว้ จากนั้นก็สร้างสัญญาณส่งออก(Output) ให้กับอุปกรณ์เอ้าต์พุต ได้แก่

  • จอแสดงตัวเลข/ข้อความ
  • เสียง
  • แสง
  • มอเตอร์(หมุน)
  • เซอร์โวมอเตอร์(หมุนเป็นมุม 0 องศา ถึง 180 องศา)
  • รีเลย์(สวิตช์ไฟฟ้า)
  • ข้อมู

ทั้งนี้ผู้ที่ศึกษาทฤษฎีระบบ มีหลักการจดจำ ซึ่งสามารถสรุปเป็นองค์ประกอบหลักได้3 ส่วนใหญ่         
           สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ หรือองค์ประกอบแรกนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ  โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของระบบนั้น ๆ  ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป ได้แก่     นักเรียน สภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน สมุด ดินสอ และอื่น ๆ เป็นต้น
             กระบวนการ (Process) คือองค์ประกอบต่อมาของระบบ หมายถึง วิธีการ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ และในระบบการศึกษาได้แก่ วิธีการสอนต่าง ๆ เป็นต้น
            ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ  หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอัตถภาพ เป็นต้น
            โดยองค์ประกอบทั้ง 3 มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ ผสมผสานอย่างมีเอกภาพเพื่อบรรลุตามเป้าหมายองค์การ

  • http://2.bp.blogspot.com/-Jype7iE5-dg/VEx-vH1ZTjI/AAAAAAAADcw/IJmQ-zauo18/s1600/Systems%2BTheory.png

 

การนำไปประยุกต์ใช้
การดำเนินงานใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นอย่างมีระบบ เราจะเห็นถึงความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม องค์กรแห่งหนึ่งจัดกิจกรรมการแถลงข่าว เริ่มต้นด้วยการวางแผนงานในด้านต่าง  ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การจัดทำแผนงาน, รูปแบบการดำเนินงาน, งบประมาณ , ทีมงาน, พันธมิตร ฯลฯ ในกรอบเวลาที่กำหนด เมื่อเข้าสู้การดำเนินงานปฏิบัติ จนงานเสร็จสิ้นกระบวนการ  ต้องประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งในรูปตัวเงิน การสนับสนุนจากสปอนเซอร์ หรือพันธมิตร อาทิ สินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ของพรีเมื่ยมในการทำกิจกรรม คน หรือองค์กรที่มีส่วนร่วม สื่อแขนงต่าง ๆ ที่เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรม ฯลฯ ตลอดจน การประเมินผลจาก Feedback ในการปฏิบัติงานในลักษณะ 360 องศา ปัญหา และอุปสรรค รวมถึงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับปรุงการวางแผน การปฏิบัติในครั้งต่อไป