ค้นว่าอยู่เล่มใด แล้วกด [ctrl]+f หรือใช้คำสั่งของเครื่องหาตำแหน่งในเล่มอีกทีนะครับ


ทำบุญอย่างไรได้บุญมาก

การทำบุญในที่นี้จะกล่าวถึงการให้ทานเท่านั้น สำหรับการทำบุญประเภทอื่น สามารถอ่านได้ในหมวดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญประเภทนั้นๆ โดยตรง รวมทั้งในเรื่องเวลามสูตร ในหมวดธรรมทั่วไป ซึ่งเป็นสูตรที่สรุปเปรียบเทียบผลบุญที่ได้รับจากการทำบุญแทบจะทุกประเภท ว่าประเภทไหนให้ผลบุญมาก/น้อยกว่ากันอย่างไร

การให้ทานในที่นี้ จะเน้นที่การสละวัตถุสิ่งของ หรือทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้อื่นเป็นหลัก แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้กับการให้ทานอย่างอื่นๆ เช่น ธรรมทาน(การให้ธรรมเป็นทาน) อภัยทาน(การให้อภัยแก่ผู้อื่น) ได้เช่นกัน โดยการพิจารณาเปรียบเทียบกัน

การให้ทานแต่ละครั้งนั้น จะให้ผลบุญหรืออานิสงส์มากหรือน้อยอย่างไรนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน ทั้งปัจจัยจากตัวผู้ให้ วัตถุสิ่งของที่ให้ และผู้รับทานนั้นด้วย ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเอาไว้ในที่หลายๆ แห่ง ทางผู้ดำเนินการได้รวบรวมจากพระไตรปิฎกหลายๆ สูตร รวมทั้งแหล่งความรู้อื่นๆ สรุปได้ดังนี้คือ

การทำบุญให้ทานนั้น เปรียบเสมือนการทำนาปลูกข้าว โดยที่ผู้รับเป็นเหมือนนาข้าว ของที่ให้เหมือนเมล็ดพันธุ์ข้าว กิเลสของผู้รับและผู้ให้เหมือนเป็นวัชชพืชในนาข้าวนั้น ความตั้งใจของผู้ให้เหมือนความตั้งใจในการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ตกลงในนา ไม่ให้กระจัดกระจายออกนอกนา ศรัทธาของผู้ให้เปรียบเหมือนปุ๋ย ปิติที่เกิดขึ้นกับผู้ให้เปรียบเหมือนน้ำ ผลบุญที่ผู้ให้ได้รับเปรียบเสมือนผลผลิตจากการทำนานั้น ผู้รับจึงได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญ

การทำนาปลูกข้าวนั้น ถ้าใช้ข้าวพันธุ์ดี ปลูกในนาข้าวที่มีดินดี ในขณะหว่านก็ตั้งใจหว่านให้ข้าวตกลงในท้องนาอย่างพอดี ไม่กระจัดกระจายสูญหายไปนอกนา มีน้ำบริบูรณ์ มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีวัชชพืชมาคอยแย่งอาหารต้นข้าว ผลผลิตที่ได้ย่อมมากมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วยฉันใด

การทำบุญด้วยวัตถุอันเลิศ ให้กับบุคคลอันเลิศ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใดๆ ทำไปด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่มั่นคง ประกอบด้วยศรัทธาอันดี ถึงพร้อมด้วยปิติเบิกบานใจ ผลบุญที่ได้ย่อมไพบูลย์ฉันนั้น


นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส

คุณสมบัติของผู้ให้ทานที่จะได้บุญมาก

การที่ผู้ให้ทานจะได้รับผลบุญมากนั้น ตัวผู้ให้เองต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้

ลักษณะของวัตถุสิ่งของที่ใช้ให้ทานแล้วได้บุญมาก

วัตถุทานที่ใช้ทำบุญให้ทาน แล้วจะส่งผลให้ผู้ให้ทานนั้นได้รับอานิสงส์ผลบุญมาก มีลักษณะดังนี้คือ


ถวายทาน

คุณสมบัติของผู้รับที่จะทำให้ผู้ให้ได้บุญมาก

ผู้รับทาน หรือเนื้อนาบุญที่ดี อันจะส่งผลให้ผู้ที่ทำบุญด้วยได้บุญมากนั้น มีคุณสมบัติดังนี้

คุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ทั้งของผู้ให้ สิ่งของที่ให้ และผู้รับของนั้น ถ้ายิ่งมีมากและสมบูรณ์มากเท่าใด ผลบุญที่ได้รับก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าคุณสมบัติดังกล่าวลดน้อยลงไปมากเท่าใด ผลบุญที่ได้ก็จะน้อยลงตามไปด้วย

หมายเหตุ

ทั้งนี้เพราะวิปัสสนาทำให้กิเลสหมดไปได้อย่างถาวร ทั้งกิเลสขั้นละเอียด (อนุสัยกิเลส - กิเลสที่นอนเนื่องในขันธสันดาน หรือกิเลสในระดับจิตใต้สำนึก) กิเลสขั้นกลาง (กิเลสในระดับจิตสำนึก) กิเลสขั้นหยาบ (กิเลสที่ทำให้เกิดการแสดงออกทางกาย วาจา)

ในขณะที่สมาธินั้นสามารถข่มกิเลสในส่วนของนิวรณ์ 5 ได้ในระดับของกิเลสขั้นกลาง และกิเลสขั้นหยาบเท่านั้น ส่วนกิเลสขั้นละเอียดยังคงอยู่เหมือนเดิม และเมื่อสมาธิเสื่อมไปเมื่อใด กิเลสทั้งหลายก็กลับมาได้เหมือนเดิม

ส่วนศีลนั้นเป็นแค่เพียงแต่ข่มกิเลสขั้นหยาบเอาไว้เท่านั้นเอง

ผู้รวบรวม
ธัมมโชติ
28 พฤศจิกายน 2543

ขอเชิญทุกๆ ท่าน ร่วมลงนามเยี่ยม
และวิจารณ์เว็บไซต์ของเราใน สมุดเยี่ยม ด้วยนะครับ




eXTReMe Tracker