หลักธรรมที่คนบ้านควรศึกษาปฏิบัติ 18

1. คุณพระรัตนตรัย
2. ศีล โทษของการทุศีล อานิสงส์ของศีลสมบูรณ์
3. กัลยาณธรรม ผลของการไม่มีและมีกัลยาณธรรม
4. หิริโอตตปปะ ขันติ โสรัจจะ สติสัมปชัญญะ สังวร 5
5.. อกุศลมูล 3 กุศลมูล 3 อุปกิเลส 16
6. อธิษฐานธรรม 4 ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ - ปัญญา , สัจจะ, จาคะ (เสียสละ), อุปสมะ (ทำใจให้สงบ)
7. เวสารัชชกรณธรรม ธรรมทำความกล้าหาญ - ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ - ศึกษามาก, วิริยารัมภะ - เพียรพยายามทำกิจ
อย่างจริงจัง, ปัญญา - มีความรอบรู้
8. สาราณียธรรม 6 ธรรมที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน - เมตตากายกรรม, เมตตาวจีกรรม, เมตตามโนกรรม,
สาธารณโภคี - รู้จักแบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรมแก่ผู้ควรได้, สีลสามัญญตา - ประพฤติสุจริตดีงาม, ทิฏฐิสามัญญตา
มีความเห็นชอบถูกต้องร่วมกัน
9. อบริหานิยธรรม 7 ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
1. รู้จักประชุมกันเนืองนิตย์
2. จักพร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุม และกระทำกิจที่ควรทำ
3. จักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังมิได้บัญญัติ ไม่ตัดรอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว ยอมรับศึกษาในธรรมะที่บัญญัติไว้แล้ว
4. จักเคารพนับถือผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า
5. จักไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรีที่มีสามีแล้ว และสตรีสาว
6. จักสาการะเคารพเจดีย์
7. จักให้การอารักขาคุ้มครองแก่พระอรหันและปรารภให้พระอรหันต์ที่ยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่แล้วให้อยู่เป็นสุข
10. สัปปุริสธรรม 7 คุณสมบัติคนดี 7 อย่าง 1. ธัมมัญญุตา (รู้จักเหตุ) , 2. อัตถัญญุตา (รู้จักผล) 3.อัตตัญญุตา (รู้จักตน) 4. มัตตัญญุตา (รู้จักประมาณ), 5. กาลัญญุตา (รู้จักกาล), 6. ปริสัญญุตา (รู้จักชุมชน), ปุคคลัญญุตา (เข้าใจความแตกต่างบุคคล)
11. ธรรมของผู้ครองเรือนส่วนปาหานะและภาวนา
12. หน้าที่พลเมืองเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
13. ความนับถือและเคารพ
14. ความกตัญญูกตเวที รู้คุณและตอบแทนท่าน
15. ประโยชน์ปัจจุบัน ภายหน้า อย่างยิ่ง
16. ความชนะใจตัวเองตามหลักพระพุทธศาสนา
17. ธรรมนำมาซึ่งสันติและทางแห่งสันติ

-

 

 


Hosted by www.Geocities.ws

1