ยืนหนอ...ยืนอย่างไร

ยืนหนอ ยืนอย่างไร สำรวมปักจิตไว้ที่ปลายผมลงไปนั้น ก็มีการหายใจเข้าออกให้ได้จังหวะ เช่นสำรวมเท้าขึ้นมา หายใจอย่างไร “ยืนหนอ” หายใจขึ้น ยืนลงไปหายใจอย่างไร หายใจเข้า ยืนหนอขอให้ทำให้ได้ ยืนอีกหายใจออกให้ยาว เรียกว่าอัสสาสะ-ปัสสาสะให้ยาย หายใจยาว แล้วจิตจะไม่ฟุ้งซ่าน

อันนี้พูดกันมานาน เท่าที่ถามโยม โยมตอบไม่ได้ แสดงว่าทำไม่ได้ตามจุดที่สอน ตรงนี้สำคัญมาก “ยืนหนอ” หายใจเข้าไว้ ยืนนี่ตั้งแต่ศีรษะให้หายใจเข้า หายใจเข้าไปเลย ให้ยาวไปถึงเท้า ยืนหายใจเข้ายาว ๆ สูดยาว ๆ อย่างที่ไสยศาสตร์เขาใช้กัน เรียกว่า คาบลม

คาบลมสำคัญมาก คาบลมนี่อยู่ในจุดสมาธิ เรียกว่า อัสสาสะ-ปัสสาสะ ที่พระพุทธเจ้าทรงทำมา แต่ทุกคนหรือพระอาจารย์ที่ทำไม่เป็น ก็สอนกันอย่างนั้น หายใจเข้ายาว ๆ ไปถึงปลายเท้า แล้วก็ยืนสูดหายใจเข้ามาให้ยาวไปถึงกระหม่อม อัสสาสะ-ปัสสาสะ แล้วจิตจะเป็นกุศล ทำให้ยาวรับรองอารมณ์ของโยมที่เคยฉุนเฉียว จะลดลงไปเลย แล้วก็จิตจะไม่ฟุ้งซ่านด้าย โรคภัยไข้เจ็บมันจะค่อยเบา อวัยวะเลือดลมจะเดินได้อย่างปกติถึงศีรษะลงไปสู่ปลายเท้า ตจปัญจกกรรมฐานข้อนี้เอง พระพุทธเจ้าทรงสอนนักสอนหนา มูลกรรมฐานอยู่ตรงนี้ มูลฐานของชีวิตอยู่ตรงนี้ หายใจยาว ๆ ยืนหนอลงไป หายใจออก ยืนหนออย่างนี้เป็นต้น

“ยืนหนอ” กว่าอาตมาจะทำได้ ๑๐ ปี ที่ว่ากว่าจะรู้จากพระอุปัชฌาย์ว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา ก็คือ “ยืนหนอ” ๕ ครั้ง นี่เอง กว่าจะรู้เรื่องใช้เวลานานเหลือเกิน “ยืน” หายใจยาว ๆ ฝึกตรงนี้หายใจลงไป สูดหายใจยืนหนอหายใจลงไปถึงเท้า หยุดลมหายใจ สูดลมหายใจสูดเข้ายาว ๆ

“ยืน” แล้ว ก็ “หนอ” ว่าในใจนะ ไอ้ปากว่านั่นมันฝึก ที่ครูเขาบอกว่า “ยืน...หนอ...” นี่ฝึกให้เราทำตามหลักวิชานี้ แล้วคนฝึกไม่เป็น ก็ว่าปากเอาเอาเลย ให้ว่าในใจว่า ยืน...หนอ... อย่างนั้นเอง ถ้าจิตไปได้สักครั้งหนึ่งนะ รู้ภาวะของเราเลย ยืนหายใจยาว ๆ ยืนอย่าให้ขาดลมอัสสาสะ-ปัสสาสะ

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1