SJ413TH
  ความรู้เรื่องการตั้งศูนย์ล้อรถยนต์
โทอิน (Toe-in) คือระยะหน้ายางเอียงเข้าหากัน ตามทิศทางหน้ารถ (เมื่อมองจากด้านบน ลงสู่พื้นถนน) โทอิน จะมีค่าเป็นบวก (Positive) เมื่อระยะห่างของยางด้านหน้า น้อยกว่าระยะห่างของยางด้านหลัง และโทอิน จะมีค่าเป็นลบ (Negative) เมื่อระยะห่างของยางด้านหน้ามากกว่า ระยะห่างของยางด้านหลัง
โทอินจะทำไม่ให้ล้อสั่น จากความต้านทางกลิ้ง ลดระยะหลวมของลูกหมากคันส่ง และทำให้ล้อรถ เคลื่อนที่ขนานไปอย่างคงที่



มุมแคสเตอร์ (Caster angle)

คือมุมการวางตำแหน่งล้อ เมื่อมองจากด้านข้างตัวรถ เข้าไปหาตัวรถ มุมแคสเตอร์ จะเป็นมุมของแกนหมุนเลี้ยว ที่เอียงจากแนวดิ่งไปตามแนวยาวของรถ เมื่อแกนหมุนเลี้ยวส่วนบน เอียงไปทางด้านหลังรถ มุมแคสเตอร์ จะมีค่าเป็นบวก (Positive) ในทางตรงข้าม ถ้าแกนหมุนเลี้ยวส่วนบน เอียงไปทางด้านหน้ารถ มุมแคสเตอร์ จะมีค่าเป็นลบ (Negative)
มุมแคสเตอร์ ทำหน้าที่ทรงทิศทางด้วยตัวเอง เพื่อให้พวงมาลัยหมุนคืนกลับตำแหน่งทางตรงได้เอง หลังจากมีการเลี้ยว และทำให้การการทรงตัวได้ดี





มุมแคมเบอร์ (Camber angle)
คือมุมการวางตำแหน่งล้อ เมื่อมองจากด้านหน้ารถ หรือหลังรถเข้าไปหาตัวรถ ถ้าระยะห่างระหว่างด้านล่างของล้อ (ติดพื้นถนน) มีระยะน้อยกว่า ระยะห่างด้านบนของล้อทั้ง 2 ข้าง เรียกว่าแคมเบอร์มีค่าเป็นบวก (Positive) เมื่อมองดูแล้วเหมือนกับล้อเอียงสอบเข้าหากัน คล้ายรูปกรวย ในทางตรงข้าม ถ้าระยะห่างระหว่างด้านล่างของล้อ (ติดพื้นถนน) มีระยะมากกว่า ระยะห่างด้านบนของล้อทั้ง 2 ข้าง เรียกว่า แคมเบอร์มีค่าเป็นลบ (Negative) เมื่อมองดูแล้วเหมือนกับล้อ แบะออกไป
มุมแคมเบอร์ ทำหน้าที่ต้านการเอียงข้างของรถขณะขับขี่ในทางโค้ง ลดรัศมีหมุนเลี้ยวลง เพื่อให้หมุนพวงมาลัยได้เบา ทำให้ไม่เกิดการคลอนตัวลูกปืนล้อที่ระยะฟรี และลดอาการล้อลื่น

ภาพประกอบเพิ่มเรื่อง มุมแคมเบอร์






มุมเอียงแกนบังคับเลี้ยว (คิงพิน)
แกนรอบ ๆ ซึ่งล้อหมุนขณะหันไปทางซ้ายหรือทางขวา เรียกว่า แกนบังคับ
เลี้ยว แนวแกนนี้หาได้จากการลากเส้นระหว่างส่วนบนของโช๊คอัพ และ
ลูกหมากปีกนกตัวล่าง เส้นนี้เอียงเข้าด้านใน จากภาพที่มาจากด้านหน้า
รถยนต์ เรียกว่า มุมเอียงแกนบังคับเลี้ยวหรือมุมคิงพิน ส่วนเส้นแบ่งกึ่งกลาง
ของแกนบังคับเลี้ยวกับเส้นแนวกลางล้อที่พื้น เรียกว่า ระยะเยื้องศูนย์ ระยะ
เยื้องศูนย์น้อยกว่าช่วยลดแรงหมุนพวงมาลัย และแรงสั่นสะเทือนในการ
เบรค มุมเอียงแกนบังคับเลี้ยวช่วยให้มีการคืนกลับของพวงมาลัยในตำแหน่ง
ตรงเหมือนเดิม



เพิ่มเติ่มเรื่อง โท-อิน และ โท-เอาท์
เมื่อด้านหน้าของล้อหันเข้าหากันมากกว่าด้านหลังของล้อ(จากรูป) อันนี้
เรียกว่า โท-อิน ในทางตรงกันข้ามเรียกว่า โท-เอาท์ เมื่อล้อด้านหน้า
เป็นมุมแคมเบอร์บวก ส่วนบนของล้อจะเอียงออกด้านนอก เป็นเหตุให้มัน
พยายามจะกลิ้งออกทางด้านนอกเมื่อรถวิ่งไปข้างหน้า และเป็นไซด์-สลิป*
ขึ้น อันนี้ทำให้ยางสึกหรอมาก เพราะฉะนั้น มุมโท-อิน จึงจัดไว้ที่ล้อด้านหน้า
เพื่อป้องกันจุดนี้ โดยหยุดการกลิ้งออกของล้อ เนื่องจาก มุมแคมเบอร์บวก
* คำว่า ไซด์-สลิป หมายถึง ระยะรวมซึ่งยางด้านขวาและซ้ายลื่นออก
ด้านข้างขณะที่รถยนต์เคลื่อนที่



เพิ่มเติมเรื่อง มุมเลี้ยว
มุมเลี้ยว ถ้าล้อด้านหน้าขวาและซ้ายเลี้ยวเป็นมุมที่เท่ากัน คือ ทั้งสองล้อ จะมีรัศมี
วงเลี้ยวเท่ากัน (r1=r2) ทำให้แต่ล้อแต่ละข้างหมุนรอบจุดศูนย์กลางต่างกัน
(O1และ O2) เมื่อเป็นเช่นนี้การเลี้ยวโค้งที่ราบเรียบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจาก
การลื่นออกข้างของยาง เพื่อป้องกันปัญหานี้ แขนบังคับเลี้ยวและคันส่ง
จึงได้จัดไว้ให้ล้อกางออก เมื่อเลี้ยวโค้ง ล้อด้านใน จะมีมุมเลี้ยวมากกว่าล้อ
ด้านนอก เพื่อให้มีจุดศูนย์กลางของรัศมีวงเลี้ยวอันเดียวกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า
" หลักการของเอคเคอร์แมน"
รูปภาพด้านล่าง คือ การเลี้ยวที่รอบจุดศูนย์กลางที่แตกต่างกัน



 
 
Home

เวบไซค์นี้ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวเท่านั้น มิได้มีจุดประสงค์ทางการค้าใดๆทั้งสิ้น
ข้อมูลทั้งหมดในเวบนี้เป็นการเก็บรวบรวมไว้ ไม่ได้รับประกันว่าจะถูกต้องตามหลักการด้านวิศวกรรมรถยนต์

หากมีความผิดพลาดในเรื่องของข้อมูลในเวบนี้ ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้จัดทำ
[email protected]

 
Hosted by www.Geocities.ws

1