SJ413TH
  ความรู้เรื่องระบบกันสะเทือน (Suspension System)
ระบบกันสะเทือน ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของตัวรถ เครื่องยนต์ ผู้โดยสาร และสิ่งของใดๆ ที่อยู่ในรถ อีกทั้ง ยังช่วยรองรับ แรงสะเทือนจากถนน และยังช่วยทำให้ผู้ขับรถ สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ไปตามทุกสภาพ และความเร็วของถนน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย อุปกรณ์ รองรับน้ำหนักที่สำคัญ ในระบบกันสะเทือนคือ สปริง (Spring) และโช๊คอัพ (Shock Absorber)

ชนิดของระบบกันสะเทือน
- ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension)
- ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ (Independent Suspension)

ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension)
คือแบบดั้งเดิมโดยมากจะพบกับระบบกันเคลื่อนล้อหลัง เพราะจะมีเพลาหมุน (Axle shaft) ต่อออกจากชุดเฟืองท้าย (Differential) ไปสู่ล้อซ้าย และล้อขวาโดยตรง โดยไม่ผ่านข้อต่ออ่อน (Universal Joint) ดังนั้น เฟืองท้าย เพลาขับล้อซ้าย และเพลาขับล้อขวา และบริเวณเพลาขับทั้ง 2 ข้าง จะมีสปริง และโช้คอัพรองรับน้ำหนัก และแรงสะเทือนจากถนน เมื่อล้อซ้ายได้รับแรงสะเทือนใดๆ ก็จะสะท้อนแรงสะเทือนนี้ ไปยังล้ออีกข้างหนึ่งด้วย

ตัวอย่างระบบกันสะเทือนหลัง แบบคานเข็ง
ตัวอย่างระบบกันสะเทือนหลัง แบบคา


ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ (Independent Suspension)
คือระบบกันสะเทือนที่ได้รับการพัฒนาให้แยกหน้าที่ รองรับน้ำหนัก และแรงสะเทือนระหว่างล้อซ้าย และล้อขวาออกจากกัน เมื่อล้อใดล้อหนึ่งตกหลุมหรือกระแทกสิ่งกีดขวาง แรงสะเทือนที่เกิดขึ้น ก็จะกระทำต่อล้อนั้นเสียส่วนใหญ่ และจะส่งแรงสะเทือนนี้ไปสู่ตัวรถ และอุปกรณ์ต่อเนื่องกันให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลในห้องโดยสารมากที่สุด

รถที่ขับเคลื่อนล้อหน้า หรือขับเคลื่อนล้อหลัง ที่ใช้ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ จะมีข้อต่ออ่อน (Universal Joint) อยู่ระหว่างเพลาขับไปจนถึงล้อ เพื่อที่ว่า เวลาล้อเคลื่อนที่ไปตามสภาพถนนแล้ว เกิดตกหลุม หรือข้อมสิ่งกีดขวางใดๆ จุดศูนย์กลางของล้อจะไม่ตรงกับแกนเพลาหมุน ข้อต่ออ่อน ก็ยังคงส่งแรงหมุนนี้ไปตามเพลาหมุน ไปจนถึงล้อได้ แม้ว่าสภาพถนนจะเป็นอย่างไรก็ตาม



รูปแบบระบบกันสะเทือนอิสระ
- ระบบกันสะเทือนอิสระแบบปีกนกคู่ (Double Wishbone)
- ระบบกันสะเทือนอิสระแบบเมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)

ระบบกันสะเทือนแบบปีกนกคู่ (Double Wishbone)
ระบบกันสะเทือนแบบนี้ มีส่วนประกอบที่มองดูคล้ายกับปีกนกอยู่ 2 ชิ้น ติดตั้งอยู่ด้านบน และด้านล่างอย่างละ 1 ชิ้น ด้านหนึ่งยึดติดกับโครงรถ อีกด้านหนึ่ง ยึดติดกับข้อบังคับเลี้ยวที่ติดอยู่กับดุมล้อ

จากรูปจะเป็นการติดตั้ง ปีกนกด้านบน (Upper Control Arm) ด้านหนึ่งเกาะติดกับโครงรถด้วยแกนยึดกับโครงรถ อีกด้านหนึ่ง ยึดติดกับข้อบังคับเลี้ยวด้วยลูกหมาก (Ball Joint) และปีกนกด้านล่าง (Lower Control Arm) ก็จะยึดติดด้วยวิธีเดียวกัน ขณะเดียวกัน แกนบังคับเลี้ยวจากพวงมาลัย จะมายึดเกาะติดกับข้อบังคับเลี้ยว ตราบใดที่มีการหมุนพวงมาลัยเพื่อเลี้ยวซ้ายหรือขวา แกนบังคับเลี้ยวนี้จะดึง-ดันข้อบังคับเลี้ยว ให้เปลี่ยนทิศทาง เมื่อข้อบังคับเลี้ยวเปลี่ยนทิศทาง ดุมล้อที่ยืดเกาะกับแกนบังคับเลี้ยว ก็จะเปลี่ยนทิศทางด้วย ทำให้ล้อเปลี่ยนทิศทางไปเช่นกัน (เพราะล้อยึดติดกับดุมล้อ)



สปริง และโช้คอัพ จะติดตั้งอยู่ระหว่างปึกนกด้านบน และด้านล่าง เพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือน ในขณะที่ ล้อรถตกหลุม สปริงจะดีดล้อลง และในขณะที่ขับรถข้ามสิ่งกีดขวาง สปริงจะพยายาม ส่งผ่านแรงสะเทือน ไปที่โครงรถ อย่างนุ่มนวล



ระบบปีกนกคู่ ถูกดัดแปลงไปใช้กับรถยนต์แต่ละรุ่นแตกต่างกันไป บางบริษัทออกแบบระบบ ปีกนกเพื่อเพิ่ม ความนุ่มนวลในการขับขี่มากขึ้น บางบริษัทออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการทรงตัว ของรถขณะขับขี่หรือเข้าโค้ง การออกแบบของแต่ละบริษัท ก็จะส่งผลให้มีการผลิต ชิ้นส่วนของแขนปีกนกบน และล่าง ในรูปร่างแตกต่างกันไป



แขนปีกนกในรูปลักษณะต่างๆ



ระบบกันสะเทือนแบบเมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)
ระบบกันสะเทือนแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ถูกพัฒนาให้ง่ายขึ้นกว่าระบบปีกนกคู่ คือจะใช้แกนปีกนกด้านล่าง 1 แกน ส่วนด้านบนจะใช้เป็นชุดสตรัท (Strut) เพื่อรับแรงกระแทกบนพื้นถนน ขึ้นมาที่ล้อ ต่อไปยังแกนปีกนกบน+คอยสปริง+โช้คอัพ ไปในตัว



ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ ใช้วิธีนำชุดสตรัท มาเป็นระบบกันสะเทือนอิสระกันมากขึ้น รถยนต์บางรุ่น จะใช้ชุดสตรัท เป็นระบบกันสะเทือนทั้ง 4 ล้อ หรืออาจใช้ชุดสตรัท กับระบบล้อหน้า ส่วนระบบกันสะเทือนล้อหลัง ใช้เป็นแบบอื่นก็มี


 
 
Home

เวบไซค์นี้ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวเท่านั้น มิได้มีจุดประสงค์ทางการค้าใดๆทั้งสิ้น
ข้อมูลทั้งหมดในเวบนี้เป็นการเก็บรวบรวมไว้ ไม่ได้รับประกันว่าจะถูกต้องตามหลักการด้านวิศวกรรมรถยนต์

หากมีความผิดพลาดในเรื่องของข้อมูลในเวบนี้ ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้จัดทำ
[email protected]

 
Hosted by www.Geocities.ws

1