เมื่อผมถูกบังคับให้เป็นช่างจำเป็น  
 

เหมือนฟ้าบันดาล หรือ กรรมเก่าแต่ปางก่อน ให้ผมได้มีโอกาสครอบครองเจ้ารถจิ๊ปซูซูกิคันน้อยนี้
จำได้ไม่รู้ลืมเลยว่า วันแรกที่ได้เป็นเจ้านายคนใหม่ของเจ้าซูน้อยที่น่ารัก รู้สึกว่าเค้าคงยังทำใจ
ที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผมยังไม่ได้ พอวิ่งเกิน 45 กม/ชั่วโมง ก็เริ่มส่ายเหมือนคนเมา แถมตัวร้อนสุดๆ
จนผมต้องส่งไปให้หมอรถที่ทางเต้นท์รถแนะนำให้ไปใช้บริการ เช็ค หมอรถก็ใจดีสุด ๆ ไม่คิดเงิน
ซักบาทเดียว ในการแก้อาการส่ายด้วยความสงสัยอย่างมีเลศนัย สอบสวน เอ้ย สอบถามได้
้ความว่าเจ้าของเต้นท์ขู่สำทับไว้ว่า หากมีหนุ่มใหญ่รูปหล่อนำรถซูซูกิ คาริเบียนสีแดงสดใส
ไปซ่อมหากเป็นอาการเล็กๆน้อยๆ ห้ามคิดเงินเด็ดขาด มิฉะนั้นจะไม่ส่งงานให้ทำ ผลหรือครับ
ก็ได้รับการบริการแบบศูนย์บาทรักษาเฉพาะโรค แต่ก็ยังดีนะครับที่ด่านแรก ไม่ได้เย็บแผล
ขอขอบคุณเจ้าซูที่น่ารักของผมที่ยังปราณีเจ้านายมันในแรกพบ พอเจอหมอหน่อยเริ่มออก
อาการมีเรี่ยวแรงหายเมาไป แต่กลับไปสวมวิญญาณนักดิ้น ส่ายเอวโยกสะโพก โยนซ้าย โยนขวา
แถมยังชอบกระโดดเรียนแบบกบอีกด้วย
ความดื้อซนของเจ้าซูน้อยทำเอาผมชักไม่มั่นใจว่า
เราสองจะหย่าขาดกันดี หรือ จะกัดฟันอดทนเพื่อมิตรภาพของเราสอง จนในที่สุดผมตัดสินใจ
ที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันต่อไป ถึงขณะที่เขียนบทความนี้เราสองเข้าใจกันมากขึ้นแล้วนะ มา
ติดตามดูกันต่อไปว่าผมเอาชนะใจเจ้าซูน้อยที่น่ารักได้อย่างไร

 
  วางแผนสยบเจ้าซูน้อย
 
 

แผนการแรกถูกวางไว้ในความคิดอย่างเงียบๆ งานนี้ผมต้องหาทางจัดการข้างหลัง เอ้ย ข้างล่าง
ให้ได้ก่อน ส่วนข้างบนรอให้มีจังหวะก่อนแล้วจะจัดการทีหลัง ฝากไว้ก่อนลูกผู้ชายสิบปีแก้แค้น
ยังไม่สาย ผมนึกกระหยิ่มในใจ เสร็จข้าแน่เจ้าซูน้อยผู้น่ารัก จากนั้นเมื่อผมมีเวลาว่าง ผมก็เริ่ม
สำรวจระบบช่วงล่างของเจ้าซูน้อย พยายามทำความรู้จักกับระบบช่วงล่างของมัน ผมเริ่มสืบค้นหา
ข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต ทั้งไทยและเทศ นำมาปะติดปะต่อแบบงูๆปลาๆ พอรู้เรื่องบ้าง
ไม่รู้เรื่องบ้าง ทำให้ผมนึกขอขอบคุณผู้จัดทำเวบเกี่ยวกับซูซูกิ หลายที่ รวมถึงผู้ถามผู้ตอบปัญหา
ที่เปรียบเสมือนครูผู้ให้ความรู้แก่ผม หลายปัญหาผมไม่ต้องถามเพราะมีผู้ถามอยู่ก่อนแล้ว
บางคำถามผมยังนึกไม่ถึง พอได้อ่านก็เกิดความรู้ขึ้นมา จนเกิดจิตสำนึกว่า หากเรายังแอบดูแอบ
อ่าน โกยความรู้ฝ่ายเดียวมันยังไงๆอยู่ เหมือนเอาเปรียบฝ่ายเดียว เพื่อเป็นการยุติธรรม ผมเริ่ม
หาอะไรเล็กๆน้อยๆ เท่าที่พอหาได้มาให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านบ้าง เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ
เหมือนกับที่เค้าว่า "ถ้าอยากให้เค้ารักเรา เราต้องรักเค้าก่อน"
และแล้วแผนแรกของผมก็เริ่มเข้ารูปเข้ารอย พอเห็นลางๆ เป็นรูปร่างขึ้นมานั้นก็คือการ
เรียนรู้แบบทางลัด เรียนจากประสบการณ์จริง ของผู้รักซูซูกิทั้งหลาย


 
  เริ่มรักและเข้าใจเจ้าซูน้อยมากขึ้น  
  หลังจากได้เลียบๆเคียงสอบถามราคาอะหลั่ยชิ้นต่างๆ พบว่าเป็นรถที่มีราคาอะหลั่ยที่ราคาถูกมาก
และใช้ระบบเครื่องยนต์แบบพื้นๆ ทำให้ง่ายต่อการซ่อมแซม ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ
งาน ถ้าเป็นรถสมัยใหม่ที่ใช้ระบบ ECU (Electronics Control Unit) ต้องเข้าศูนย์สถานเดียว ถ้ารถ
หมดประกันไปแล้วไม่อยากคิดเลยครับว่ากระเป๋าจะเบาขนาดไหน แต่มิใช่ว่า ECU จะไม่ดีนะครับมัน
เป็นการควบคุมระบบทำงานที่แม่นยำได้ประสิทธิภาพสูง และสามารถบันทึกอาการผิดปกติบางอย่างได
้ทำให้การแก้ปัญหาได้ตรงจุด ทำให้เกิดความแม่นยำในการแก้ปัญหา สร้างความมั่นใจให้ผู้เป็นเจ้าของรถ
เมื่อเทียบกับระบบธรรมดาๆ อย่างเจ้าซูน้อย

อีกประเด็นหนึ่งการที่เจ้าซูน้อยเป็นรถที่เป็นระบบคานแข็งทั้งด้านหน้าและหลัง ทำให้ง่ายต่อการ
ดัดแปลงระบบช่วงล่างให้เป็นรถสไตล์ออฟโรดได้อย่างเต็มตัว (จริงๆในใจลึกก็อยากได้เหมือน
กัน แต่ไม่มีตังค์ ตอนนี้ขออิจฉาเพื่อนสมาชิกไปก่อน สิบปีแก้แค้นก็ยังไม่สาย)

ข้อดีอีกข้อที่หลายท่านไม่อยากได้คือเรื่องความเร็วหลังจากใช้มาระยะหนึ่งพบว่าเป็นรถที่ไม่ตอบ
สนองความเร็วเสียเลย เวลาวิ่งเร็วๆ แม้แต่ลมพัดแรงๆ ยังเซเลย เพราะความเป็นรถที่มีจุดศูนย์ถ่วง
สูงนี่เองบวกกับระบบช่วงล่างที่เป็นแบบพื้นๆ ทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมาเมื่อถูกบีบให้วิ่งที่ความเร็ว
สูงๆ ทั้งทางตรงและทางโค้ง ทางเรียบเท่าที่เคยวิ่งที่ 120 กม/ชม ก็ใช้ได้ สำหรับทางโค้งไม่กล้า
ลองครับ ต้องลดความเร็วลงประมาณ 80 กม/ชม ยอมรับเลยว่าตั้งแต่ได้ใช้เจ้าซูน้อย ผมกลายเป็น
คนขับรถช้า ระมัดระวังมากขึ้น ทั้งบ้านชมว่าผมเป็นคนขับรถที่เรียบร้อยน่านั่งด้วย เห็นมั๊ยล่ะครับ
ข้อดีอีกข้อ


 
  ด่านแรกทำให้เจ้าซูนิ่มในทางเรียบแบบไม่ต้องลงทุนมาก  
  เมื่อตอนที่ใช้รถคันก่อนเจ้าซูน้อย รถผมช่วงล่างเป็นระบบปีกนก ซึ่งต้องยอมรับว่านิ่มดี แต่มีหลาย
ครั้งที่หลังจากผ่านการดูแลปรับแต่งตามอายุใช้งาน พบว่าจะมีอาการเครื่องยนต์เดินเรียบ เงียบ
การออกตัวลื่นไหลดี ไม่สะดุด ทั้งความเร็วต้นและปลาย นิ่มที่ผมว่านี้มิได้หมายความว่า ลดอาการ
กระโดด เด้ง หรือ สั่นสะเทือนเมื่อเจอหลุม หรือทางขรุขระ แต่เป็นอาการที่เครื่องเงียบเดินนิ่ง ออก
ตัวไหลลื่น ส่งผลให้ดูเหมือนว่าได้ขับรถเก๋งป้ายแดงยังไงยังงั้น
หลังจากที่ผมได้สำรวจคร่าวๆ พบว่ายางของเจ้าซูน้อยอยู่ในสภาพที่จะหมดอายุแล้ว มันเป็นสิ่งแรก
สิ่งเดียวที่จะทำให้ผมได้มีโอกาสเสียเงินเป็นก้อนครั้งแรก เนื่องจากรถเป็นรถสภาพเดิมๆ จึงเลือกใช้
ยางแบบเดิมๆ สุดท้ายผมเลือกใช้ MXFsport เพราะดูดอกยางแล้วคล้ายๆ ยางออฟโรดนิดๆ ใช้ได้ดี
ทีเดียวครับ แรงดันลมลองมาหลายขนาดแล้ว เอาตั้งแต่ 50ปอนด์ ก็เคยลองสุดท้ายในความรู้สึก
ส่วนตัวชอบ 28-30 ปอนด์ครับ จากนั้นก็เริ่มดูแลถ่ายและเปลี่ยนอะหลั่ยพื้นฐานดังนี้ครับ
  1.เปลี่ยนไส้กรองอากาศ เพราะของเดิมเปลี่ยนเป็นสีดำแล้ว
  2.ทำความสะอาดหัวเทียน ถ้าเสียหรือสึกหรอมากควรเปลี่ยนทั้งหมด
  3.ปรับตั้งองศาการจุดระเบิดของจานจ่าย
  4.ปรับตั้งรอบเดินเบาให้เหมาะสม
  5.เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง
  6.เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
  7.เปลี่ยนชุดกรองน้ำมันเบนซิน (ของผมของเดิมดูเก่ามากแล้ว)

ผลปรากฎว่าเครื่องเดินนิ่งเงียบ การออกตัวทั้งแรงต้นแรงปลายดีขึ้น สามารถรู้สึกได้จริงๆ ครับ
ไม่อุปทานแน่นอน แม้แต่คนที่นั่งและนอนด้วยกันทุกวันยังบอกเลยว่าทำไมรถวิ่งดีขึ้น แถมยัง
เห็นได้ชัดว่าอัตรากินน้ำมันน้อยลงด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนแึ่ต่เป็นส่วนสำคัญต่อการทำงาน
ของเครื่องยนต์ เคยพบอยู่กรณีหนึ่งเป็นรถยุโรปราคาแพง มีอาการเครื่องสั่นมาก เมื่อส่งเข้า
ศูนย์บริการ ทางศูนย์นำเข้าเครื่องอ่านข้อมูลจาก ECU พบว่าหัวเทียนมีปัญหา พอเปลี่ยนใหม่
เท่านั้น อาการเครื่องสั่นหายทันที ทั้งๆดูสภาพหัวเทียนที่ถอดออก สภาพดีมาก แถมยังแสดงให้
เห็นถึงการเผาไหม้ที่สมบูรณ์มาก ดูไม่ออกเลยว่าหัวเทียนมีปัญหา


ในการบำรุงดูแลรักษารถ หากผู้ใช้รู้จักวิธีการดูแลที่ถูกต้อง จะส่งผลให้ลดปัญหาจุกจิกลงไปได้มาก
อีกทั้งส่งผลให้เครื่องยนต์หรือระบบทนทาน และได้ประสิทธิภาพในการทำงานสูง และลดค่าใช้จ่ายใน
การซ่อมแซมลงไปได้มาก สำหรับขั้นตอนการดูแลรักษาก็ไม่มีอะไรมาก หลักๆจะมีการดูแลเรียงลำดับ
ตามความสำคัญดังนี้

1.ตรวจสอบระดับน้ำในหม้อพัก และ หม้อน้ำ และเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อเห็นสมควร
2.ตรวจสอบระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่ทุกๆ 1 เดือน
4.ตรวจเช็คระดับลมยางทุก 15 วัน หรือ 1 เดือน
5.ทำความสะอาด
ไส้กรองอากาศทุกๆ 1-3 เดือน หรือเปลี่ยนเมื่อเห็นว่าสกปรกมาก
6.ตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองทุก 10,000 - 30,000 กิโลเมตร
7.ตรวจสอบและเปลี่ยนหัวเทียนตามอายุใช้งาน หรือทุก 30,000 - 50,000 กิโลเมตร
8.ตรวจสอบและทำความสะอาดจุดสัมผัสฝาครอบจานจ่ายด้านใน และ หัวนกกระจอก ด้วยกระดาษทรายละเอียด
ทุก 30,000 - 50,000 กิโลเมตร
9.ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรคทุก 1 เดือน และเปลี่ยนถ่ายเมื่อเห็นสมควร หรือ ทุกๆ 50,000 - 100,000 กิโลเมตร
10.ทุกครั้งที่มีการซ่อมลูกหมากคันชักคันส่ง หรือ ตรวจซ่อมระบบล้อหน้า หรือ เปลี่ยนยางเส้นใหม่ หรือ สลับยาง
ควรทำการเช็คศูนย์ล้อ หรือเช็คศูนย์ล้อทุก 50,000 - 100,000 กิโลเมตร และควรเช็คที่ศูนย์ที่ได้มาตรฐานจริงๆ
แม้ค่าใช้จ่ายจะสูงไปนิดแต่คุ้มค่า
11.เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายทั้งหน้าและหลัง น้ำมันเกียร์ ทุกๆ 50,000 - 100,000 กิโลเมตร
12.ตรวจสอบระดับน้ำมันกระปุกพวงมาลัยทุก 1 เดือน หรือ ทุก 3 เดือน
13.ตรวจสอบบู๊ซลูกยางต่างๆ เช่น โช้ค,หูแหนบ,โช้คกันสบัด,กันโคลง,ลูกหมาก ทุกๆ 6 เดือน ถ้าปริ แตกร้าว
หรือเปื่อย ก็รีบทำการเปลี่ยน
14.ตรวจสอบและอัดจาระบี ยอยกากบากต่างๆ หรือทุกจุดที่มีหัวอัดจาระบี ทุก 50,000 - 100,000 กิโลเมตร
15.เปลี่ยนถ่ายจาระบีล้อทุก 50,000 - 100,000 กิโลเมตร พร้อมซีลยางและสักกระหลาดกันฝุ่น
16.ตรวจสอบท่อยางส่งน้ำมัน และ เปลี่ยนถ่ายชุดกรองเบนซินทุก 50,000 - 100,000 กิโลเมตร
17.ตรวจท่อยางแวคคั่มของคาร์บูเรเตอร์ทุก 6 เดือน หรือ เปลี่ยนใหม่ทุก 100,000 กิโลเมตร

 
  ไส้กรองอากาศด่านแรกที่ต้องได้รับการดูแลค่อนข้างบ่อย  
  สำหรับไส้กรองอากาศเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งในการทำงานของเครื่องยนต์
ผู้ใช้รถควรคำนึงอย่ามองข้ามเจ้าอุปกรณ์สำคัญตัวนี้ เพราะโดยหลักการของเครื่องยนต์จะให้ทำงาน
ได้ดีจะต้องประกอบไปด้วย น้ำมันดี อากาศดี และ ระบบไฟจุดระเบิดดี ทุกอย่างต้องทำงานร่วมกัน
อายุการใช้งานของไส้กรองอากาศ ไม่ควรใช้ระยะเวลาหรือตัวเลขระยะทางเป็นตัวกำหนดการ
เปลี่ยนหรือทำความสะอาด โดยส่วนตัวผมยึดหลักคือ หมั่นตรวจดูและทำความสะอาดทุกครั้งที่มี
โอกาส และเปลี่ยนทุกครั้งที่เห็นว่าสกปรกมาก ของแท้ราคาสองร้อยกว่าบาท
  1.ถอดไส้กรองออกมาทำการเคาะกับพื้นสะอาดๆ ให้เศษฝุ่นเม็ดใหญ่ล่วง
  2.ใช้หัวเป่าลมเป่าจากด้านในออกมา ห้ามเป่าจากข้างนอกเข้าไปข้างใน เพราะยิ่งทำให้
ฝุ่นถูกดันให้ติดแผ่นกรองหนาแน่นมากกว่าเดิม ทำให้มีสภาพแย่กว่าเดิมอีก
 


ความรู้เรื่องหัวเทียน
ภาพหัวเทียน
สัญลักษณ์ของหัวเทียน ในหัวเทียน NGK

ความโตเกลียว โครงสร้าง ค่าระดับความร้อน
A : 18 มม.
B : 14 มม.
C : 10 มม.
D : 12 มม.
U : แบบผิวหน้าเรียบ
M : แบบสั้น
P : ปลายฉนวนด้านล่าง โผล่พ้นเปลือกโลหะ
R : แบบมีความต้านทาน
2
4
5
6
7
8
9
10
ร้อน






เย็น

ความยาวเกลียว โครงสร้างภายในหัวเทียน ระยะห่างเขี้ยวหัวเทียน
E : 19 มม.3/4
F : บ่าเตเตอร์ (เฉียง)
H : 12.7 มม.1/2
L : 11.2 มม.7/16
ไม่มีสัญลักษณ์
18 มม. = 12 มม.
14 มม. = 9.5 มม.
A : ออกแบบพิเศษ
B : ออกแบบสำหรับฮอนด้า
G : ใช้สำหรับรถแข่ง
GV : ใช้สำหรับรถแข่ง
K : 2 เขี้ยว สำหรับ โตโยต้า
L : ค่าระดับความร้อน มากขึ้น อีกครึ่งหนึ่ง
9 : 0.9 มม. 0.035 นิ้ว
10 : 1.0 มม. 0.040 นิ้ว
11 : 1.1 มม. 0.044 นิ้ว
13 : 1.3 มม. 0.050 นิ้ว
14 : 1.4 มม. 0.055 นิ้ว
15 : 1.5 มม. 0.060 นิ้ว
20 : 2.0 มม. 0.080 นิ้ว


ภาพหัวเทียน
สัญลักษณ์ของหัวเทียน ในหัวเทียน ND(Nippon Denso)

เบอร์แสดงค่าความร้อน ลักษณะพิเศษในการออกแบบ
9
14
16
20
21
22
24
25
27
29
31
32
34
37
ร้อน












เย็น
A : แบบพิเศษ 2 เขี้ยว
B : แบบพิเศษ 2 เขี้ยว
D : แบบพิเศษ 4 เขี้ยว
K : ออกแบบพิเศษสำหรับฮอนด้า
LM : หัวหกเหลี่ยมขนาด 20.6 มม.
M : หัวหกเหลี่ยมขนาด 19.0 มม.
Pt : ใช้สำหรับรถแข่ง
P : ออกแบบพิเศษ
S : แบบมาตรฐาน
T : แบบพิเศษ 2 เขี้ยว
X : ออกแบบพิเศษ


ลักษณะของเขี้ยวหัวเทียน
GL : แกนกลางทองคำขาว
L : ออกแบบพิเศษ
S : แบบกึ่งผิวหน้าเรียบ
U : แกนกลางร่องตัว U
V : แกนกลางดีบุก
Z : แกนกลางทองคำขาวผสมดีบุก และ บ่าเตเตอร์



หัวเทียนควรได้รับการเอาใจใส่ตามระยะเวลาการใช้งาน

ทำหน้าที่จุดประกายไฟทำให้ไอดีเกิดการเผาไหม้ การเลือกใช้หัวเทียนที่ถูกต้องกับสภาพการใช้งาน
จะเป็นผลให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุณหภูมิของหัวเทียน(heat value)
หัวเทียนร้อน คือหัวเทียนที่ระยะทางระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนวนยาว ความร้อน
จึงสะสมอยู่ในตัวได้มาก ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วต่ำระยะเวลาในการทำงานช่วงสั้น ๆ
หัวเทียนมาตราฐาน คือหัวเทียนที่มีขีดความร้อนปานกลาง เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วปานกลาง
หัวเทียนเย็น คือหัวเทียนที่มีระยะทางระบายความร้อนจากเขี้ยวหัวเทียนถึงปลายล่างฉนวนสั้นความร้อนระบายได้เร็ว
ใช้สำหรับเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วสูงหรือใช้วิ่งทางไกล การตั้งระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียน ให้ค่าถูกต้องต้อง
ใช้ฟิลเลอร์เกจแบบลวดกลม ค่ามาตราฐาน 0.6 - 0.8 มม.(0.024 - 0.031 นิ้ว) สำหรับระยะห่างของเขี้ยวหัวเทียนของ
เจ้าซูน้อยตามคู่มือระบุไว้ที่ 0.7-0.8 มิลลิเมตร หรือ 0.027-0.031 นิ้ว ดังรูป
ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 0.7-0.8 มิลลิเมตร
หรือ 0.027-0.031 นิ้ว

การใส่หัวเทียน ต้องขันด้วยมือก่อนเพื่อป้องกันการปีนเกลียว
การเลือกใช้หัวเทียนที่ถูกต้อง เลือกใช้เบอร์ให้ถูกต้องกับสภาพการใช้งาน
การสังเกตสีและลักษณะของหัวเทียน
มีสภาพสีดำแห้ง สามารถเช็ดออกได้ง่าย แสดงว่าส่วนผสมหนา
มีสภาพน้ำมันเครื่องเปียก แสดงว่าลูกสูบ กระบอกสูบ แหวนลูกสูบสึกหรอ
มีสภาพไหม้กร่อน แสดงว่าเครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิสูงเกินไป อาจใช้หัวเทียนผิดเบอร์
มีสภาพสีขาวจับหรือสีเหลืองจับ แสดงว่าไฟอ่อนเปลี่ยนหัวเทียนให้ร้อนขึ้น
รายละเอียดในการดูสภาพของหัวเทียนดูได้จากหัวข้อล่างนี้

หัวเทียน สภาพปกติ
(หมายเลข1)

ปลายฉนวนเป็นสีน้ำตาลปนเทาหรือเป็นสีดินลูกรังแห้งกรัง การสึกหรอของเขี้ยวจะปรากฎน้อยซึ่งเป็นสภาพของหัวเทียนสมบูรณ์
อันเป็นผลมาจากการใช้งานถูกต้อง เครื่องยนต์อยู่ในสภาพถูกต้อง หัวเทียนใช้ได้ดีทั้งความเร็วสูงและความเร็วต่ำ หัวเทียนอยู่ในสภาพถูกต้องทั้งค่าความร้อนและการเผาไหม้ เพื่อความมั่นใจในการใช้งานเป็นเวลานานหัวเทียนที่ใช้ควรอยู่ในสภาพ
ที่ปรับตั้งเขี้ยวถูกต้อง และทำความสะอาดทุก ๆ ระยะ 2,000 - 3,000 กม.
ในกรณีถึงกำหนดอายุเปลี่ยนหัวเทียนแล้ว ให้เปลี่ยนหัวเทียนเบอร์เดิมทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

หัวเทียน สภาพคราบเขม่า (หมายเลข2)

เขม่าดำ(คาร์บอน)แห้งจับเกาะเป็นคราบอยู่ที่ปลายฉนวนเขี้ยวไฟและที่ด้านในของเปลือกเหล็ก

อาการ เครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก ระบบจุดระเบิดขัดข้อง เครื่องยนต์เดินไม่เรียบเมื่อเบาเครื่องอาจคับได้ เร่งความเร็วไม่ดี

สาเหตุ ส่วนผสมหนาไป โช้คค้าง ระบบจุดระเบิดบกพร่อง(คอยส์เสื่อม, สายหัวเทียนรั่ว, หน้าทองขาวสึก, คอนเด็นเซอร์เสื่อม)
ไส้กรองอากาศอุดตัน ตั้งไฟจุดระเบิดอ่อนไป ขับรถช้าเป็นเวลานาน ๆ หัวเทียนที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม

หัวเทียน สภาพร้อนจัด (หมายเลข3)

ลักษณะ กระเบื้องของหัวเทียนถูกเผาจนเป็นสีขาวเงาและเขี้ยวละลาย ซึ่งหัวเทียนในสภาพนี้เขี้ยวแกนกลาง
เขี้ยวไฟพร้อมทั้ง
กระเบื้องก็ละลายด้วย เนื่องจากอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ร้อนจัดหัวเทียนไม่สามารถทนทานได้
อาการ กำลังเครื่องยนต์ตกต่ำในขณะขับขี่ด้วยความเร็วสูงหรือบรรทุกของหนัก ขึ้นทางลาดชันเป็นเวลานานและ
เร่งเครื่องด้วยความเร็วอย่างกระทันหัน เมื่อหัวเทียนมีความร้อนสูงจัดเขี้ยวของหัวเทียนจะละลายได้ ซึ่งทำให้หัว
เทียนชำรุด และอาจทำให้ลูกสูบเสียหายได้ สาเหตุ ใช้หัวเทียนไม่เหมาะสม(ชนิดร้อนเกินไป) ระบบระบายความ
ร้อนบกพร่อง ตั้งไฟจุดระเบิดแก่เกินไป ตั้งอัตราส่วนผสมบางไป ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไม่ดี(ออกเทนต่ำไป)

หัวเทียน สภาพคราบน้ำมัน(หมายเลข4)

ลักษณะ น้ำมันเปียกและดำจับเกาะอยู่ตามปลายฉนวน เขี้ยวไฟและด้านในรอบ ๆ เปลือกเหล็ก เพราะมีน้ำมันเครื่องเข้าไปในห้องเผาไหม้
มากเกินไป ในเครื่องยนต์ 90 % ของปัญหาหัวเทียน เกิดจากมีคราบน้ำมันและเขม่าซึ่งทำให้เกิดหัวเทียนได้ง่าย
สาเหตุ ส่วนผสมหนาไป แหวนลูกสูบหลวมหรือสึก กระบอกสูบหลวมหรือสึก ปลอกวาล์วหลวมหรือสึก

ในกรณีที่จะทำการเปลี่ยนหัวเทียนแนะนำให้ทำการเปลี่ยนทีเดียวทั้งชุดเลย จะเป็นผลดีต่อการทำงานของเครื่องยนต์
และง่ายต่อการจดจำระยะเวลาในการดูแลรักษา


สายหัวเทียนตัวชอบสร้างปัญหาให้บ่อยๆ สำหับรถเก่า

สายหัวเทียนและสายจากคอลย์ไปจานจ่าย เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรตรวจสอบบ้างเมื่อใช้งานมานาน โดยเฉพาะรถ
ที่ผ่านการใช้งานมานานนับปี อาจเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพ หรือ แตกร้าวของสาย หรือสายขาดใน สำหรับสาย
จากคอลย์ไปยังจานจ่ายถ้าเป็นซูน้อยคิดว่าคงไม่ค่อยสร้างปัญหาเท่าไหร่ เพราะตำแหน่งของสายอยู่ห่างจากจุด
ที่มีความร้อนจัด และความยาวไม่มาก รถบางรุ่นที่ผมเคยใช้ก็เคยพบว่าเสียเหมือนกัน เพราะตำแหน่งระหว่างคอลย์กับจานจ่ายอยู่ไกลกันมา อีกทั้งสายนี้ถูกวางใกล้บริเวณที่มีความร้อนสูง แต่ส่วนใหญ่
แล้วปัญหาจะเกิดกับสายหัวเทียนเสียมากกว่า

อาการเสียของสายหัวเทียนที่ผมเคยพบมีดังนี้

1.รอบเดินเบาของเครื่องยนต์สดุดและเครื่องยนต์สั่นกระตุกเป็นบางครั้ง
กรณีนี้พบว่าสายเกิดการขาดใน ทำให้้การจุดระเบิดที่สูบนั้นๆ ดีบ้างไม่ดีบ้าง เมื่อถอดหัวเทียนของสูบนั้นๆออกมาดูจะ
พบว่ามีสภาพการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์และทิ้งคราบเขม่าไว้มากกว่าสูบอื่นๆที่ปกติ เมื่อเร่งขึ้นรอบสูงๆกลับพอทำงานได้
ไม่แสดงอาการให้เห็นก็มี ทั้งนี้อาจเพราะการสปาร์คที่ต่อเนื่องทำให้ไฟแรงสูงสามารถกระโดดข้ามได้อย่างต่อเนื่อง
ทำให้การวิเคราะห์อาการได้ลำบาก

2.เครื่องยนต์สะดุดเมื่อเร่งความเร็ว และเร่งไม่ขึ้นอืดขึ้นมาเฉยๆ
เท่าที่เคยประสบมา พบทั้งสายขาดใน และสายเกิดการรั่วทำให้เกิดการสปาร์คลงกราวด์ ในกรณีที่ตำแหน่งรั่วของสายอยู่
ใกล้กันกับส่วนที่เป็นโลหะ อาการเหมือนน้ำมันไม่พอ หรือระบบส่งน้ำมันปกพร่อง หรือ คาร์บูเรเตอร์สกปรก

ในกรณีที่ทำการเปลี่ยนสายใหม่ควรเลือกดูยี่ห้อหรือดูที่ราคาด้วย ทั้งนี้ผมเคยซื้อสายราคาถูกๆมาชุดหนึ่ง
ใช้ได้ประมาณ 3 เดือนก็สร้างปัญหาให้ทำให้เกิดการวิเคราะห็อาการผิดพลาดไปหมด เพราะมั้นใจว่าได้ทำ
การเปลี่ยนสายใหม่แล้ว ไม่น่ามีปัญหา จนสุดท้าย หาสาเหตุอื่นๆไม่เจอ จนต้องลองเอาสายเก่าที่เก็บไว้
มาลองสลับเปลี่ยนดูทีละเส้น ก็พบว่าสายหัวเทียนขาดใน

วิธีของการตรวจเช็คสายหัวเทียน
วิธีตรวจสอบสายหัวเทียนแบบง่ายๆ มีอยู่ 2 วิธีคือ
1.ตรวจสอบขณะเครื่องทำงานจริง โดยการติดเครื่องยนต์ไว้ จากนั้นให้ลองดึงจุ๊บยางที่เสียบเข้าที่หัวเทียนออก
โดยเริ่มจากสูบที่1ก่อน ถ้าดึงออกแล้วเครื่องมีอาการสดุด แสดงว่าสายหัวเทียนของสูบ1 ยังใช้งานได้ แต่ถ้าดึง
จุ๊บยางออกแล้วเครื่องยนต์ไม่ได้แสดงอาการอะไรเลยแสดงว่าสายหัวเทียนเส้นนั้นมีปัญหา หรือหัวเทียนอาจ
มีปัญหา จากนั้นเสียบจุ๊บยางคืนกลับเข้าที่ แล้วลองสูบที่ 2,3,4

2.การตรวจสอบสายหัวเทียนวิธีนี้คือการวัดค่าความต้านทานของสาย โดยใช้มัลติมิเตอร์วัด ถ้าสายหัวเทียนปกติจะวัดได้
โดยประมาณ 1-10K (กิโลโอห์ม) สายสั้นจะได้ค่าน้อยกว่า ถ้ามากกว่านี้แสดงว่าสายอาจเสื่อมสภาพ ถ้าวัดแล้วไม่ขึ้นแสดง
ว่าสายขาดในในขณะทำการวัด ควรขยับสายดูด้วยเพราะบางครั้งสายที่ขาดในบางจังหวะอาจติดกันอยู่ทำให้คิดว่าสายไม่เสีย
ได้ หรือใช้วิธียืดสายให้ตรงและออกแรงดึงให้ตึงนิดๆ ขณะวัดก็ได้

ใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 91 หรือ 95 ดี
 
 

ี้แบตเตอรี่มีปัญหาจะเกิดอะไรขึ้น

มีเรื่องเล่าเรื่องวุ่นๆของแบตเตอรี่กับผม ทำให้ผมต้องได้ไดชาร์ทใหม่ พร้อมแบตเตอรี่ใหม่ มีอยู่เช้าวันหนึ่ง
ผมออกไปทำภารกิจประจำวัน พอสตาร์ทเครื่อง เสียงไดสตาร์ททำงานอึกๆ ไฟหน้าปัทม์หรี่วูบ แล้วก็เงียบ
ชัวร์แบตเตอรี่หมดแน่ เปิดฝาดูระดับน้ำกลั่นปรากฎว่าแห้ง ช่วงนั้นไม่มีเวลาดูแลรถเลยจริงๆ แต่โชคก็ยังเข้า
ข้างผมเพราะผมมีน้ำกลั่นซื้อทิ้งไว้หลายขวด อีกทั้งมีเครื่องชาร์ทแบตเตอรี่ไว้ประจำบ้าน จัดการเติมน้ำกลั่น
และทำการปลดสายขั้วลบออกจากระบบของรถก่อน จากนั้นก็ทำการคีบสายจากเครื่องชาร์ทเข้าตามขั้ว
ตั้งเป็นแบบชาร์ทเร็วไว้ เดินๆดูต้นไม้ จิบกาแฟไปอีกถ้วย กะว่าพอมีไฟพอสตาร์ทติดก่อนก็พอเดี๋ยวไดชาร์ท
เค้าคงชาร์ทให้เอง ตอนเย็นถึงมาชาร์ททิ้งไว้ัสักคืน ได้ผลครับสตาร์ททีเดียวติดทันที ทั้งวันก็ใช้รถได้ไม่มีปัญหา
ตกเย็นจัดการชาร์ทอีกครั้งตอนนี้ชาร์ทแบบช้าสุด กะทิ้งไว้จนเครื่องตัดเอง งานงานได้อีกอาทิตย์ เริ่มมีอาการ
พอขับรถตอนมืด เปิดไฟหน้าเท่านั้นแหละครับกำลังเครื่องตก อืดและกระตุกทำท่าจะดับให้ได้ต้องเปิดไปหรี่วิ่ง
จนถึงบ้านก่อนถึงบ้านเครื่องเกือบจะดับอีกต้องปิดไปหรี่วิ่ง พอถึงบ้านก็ทำการชาร์ทไฟอีกครั้งรุ่งเช้าก็ทำงานปกติ
พอเที่ยงกลับสตาร์ทไม่ติด เสียงไดสตาร์ททำงานครั้งสองครั้งแล้วก็เงียบ ชัวร์อีกแล้วแบตเตอร์รี่เสียแน่ๆ
เพราะตัวนี้ใช้มาสองปีแล้ว เลยจัดการไปซื้อตัวใหม่มาใส่ ปรากฎว่าใช้ได้ปกติ

แต่แล้ววันรุ่งขึ้นก็เกิดอาการเก่ากำเริบอีก
ตอนนี้ลงมติเลยว่าไดชาร์ทพังแน่ เลยจัดแจงถอดออกไปส่งซ่อมทางร้านนัดวันรุ่งขึ้นมารับได้ หลังจากรับไดชาร์ทมาติดตั้งตอนรับเค้าทำการเอาเข้าเครื่องทดสอบให้ดูว่าใช้งานได้ตามปกตินะ
พร้อมกับย้ำการทดสอบให้ดูอีกรอบ เหมือนเตือนความทรงจำของผม หลังจากติดตั้งไดชาร์ทเรียบ
ร้อยใช้ได้อีกสองหรือสามวัน ก็กลับมาอาการเดิมอีก คราวนี้ต้องลงมือเช็คแล้วล่ะ จะเล่นซ่อม
เปลี่ยนแบบนี้ไม่ไหว เลยยอมเสียเวลาไล่ดูวงจรชาร์ท จนถึงชุดเร็คกูเรเตอร์ หรือที่ช่างเค้าเรียกว่าคัทเอ้าท์
ใช้แอมป์มิเตอร์ต่ออนุกรมดูกระแสการชาร์ทก็ปกติ การชาร์ทไม่มีปัญหา แล้วอะไรเกิดขึ้นล่ะ สายตา
เหลือบมองดูเจ้าแบตเตอรี่อย่างจะจับผิดมัน และแล้วก็ต้องยกให้มันเป็นแพะในงานนี้ จัดการยกแบตเตอร
ี่สภาพใหม่เอี่ยมไปที่ร้านที่ซื้อ จัดการเจรจาด้วยคำพูดที่นอบน้อม ไพเราะสะเดาะหูสุดๆ เพื่อขอเปลี่ยน
แบตเตอรี่ตัวใหม่ ในที่สุดเจ้าของร้านก็เลยยอมเปลี่ยนแต่ขอเวลา 1 อาทิตย์เพื่อส่งแบตเตอรี่ให้กับทาง
บริษัทใหญ่ แล้วรอคำตอบว่าเค้าให้เปลี่ยนหรือไม่ แบตเตอรี่เสียจริงตามที่ผมยืนยันหรือไม่
(คิดว่าอาจเสื่อมสภาพไปบ้างเพราะผมเล่นแบบชาร์ทเร็วสุดๆ หลายครั้งติดกัน ถ้าเช็คคงได้ไม่เต็ม 100%)

ผจญภัยต่ออีก 1 อาทิตย์ พร้อมสัมภาระอีรุงตุงนังเต็มรถ
ตกลงผมต้องกลับไปใช้เจ้าแบตเตอรี่ตัวเก่าอายุสองปีเช่นเดิม อาการนี้ยังคงเล่นงานผม มีทั้งอาการไดสตาร์ททำงานบ้าง
ไม่ทำงานบ้าง เปิดไฟหน้า หรือ ไฟหรี่แล้วเครื่องพาลจะดับให้ได้ แอร์ไม่ต้องพูดถึงหมดสิทธิ์เปิดเลย ตลอดเวลาที่รอคอย
แบตเตอรี่ตัวใหม่ ผมต้องติดเจ้าเครื่องชาร์ท สายพ่วงแบตเตอรี่ รวมถึงสายปลั๊กไฟฟ้ารุ่นยาวสุดๆ ติดรถไปด้วยทุกที่
และมันก็ได้ใช้งานจริงตอนที่พาแม่บ้านไปหาหมอพอตอนจะกลับดันสตาร์ทไม่ติดเสียเฉยๆเมื่อครู่ยังวิ่งอยู่ดีๆเลยจะขอพ่วง
แบตเตอรี่กับรถคุณหมอก็เกรงใจเค้าเพราะไม่อยากไปยุ่งกับรถเบนซ์คันงาม ก็เลยขอรบกวนใช้ไฟฟ้าซักนิดเดียว
จัดการลากสายปลั๊กที่เตรียมไว้เข้าร้านหมอ จัดการชาร์ทไว้สิบห้านาที ลองสตาร์ททีเดียวก็ติดเลย ตอนนั้นยอมรับว่า
ผมเป็นโรคใหม่คือโรคกลัวเสียงไดสตาร์ท ทุกครั้งจะบิดกุญแจเพื่อสตาร์ทเครื่องต้องใจระทึกไปทุกครั้ง ถ้า เสียง คึกๆๆๆ
คึกๆๆ แล้วก็ คิกๆ พร้อมกับไฟเตือนหน้าปัทม์หรี่วูบ แล้วก็เงียบ ก็ต้องวิ่งโร่หาที่เสียบไฟ หรือ มองหารถที่ใจดีให้พ่วงแบตเตอรี่

ในที่สุดวันที่รอคอยก็มาถึง
เมื่อทางร้านที่ซื้อแบตเตอรี่โทรศัพท์แจ้งให้ไปรับแบตเตอรี่ตัวใหม่คือเค้าให้ผมเลือกเอาตัวใหม่ที่วางขายอยู่เพราะรุ่น
ที่ผมซื้อไม่มีของมีแต่รุ่นที่ขนาดเท่ากันกับตัวเดิมแต่กระแสสูงกว่าเลยต้องเพิ่มเงินให้เค้าอีกห้าสิบบาท แต่ก็ดีเพราะดู
ตามตรารางแสดงคุณสมบัติเป็นรุ่น
ที่ดีกว่ารุ่นเดิม เดินออกจากร้านแบตเตอรี่ด้วยความโล่งใจ พอถึงบ้านจัดการเปลี่ยนทันท
ีทุกอย่างทำงานเป็นปกติ และแล้วอีกวันต่อมาขณะที่จอดรถไปแวะซื้อของไม่ถึงสิบนาที กลับมาถึงรถเอาอีกแล้วสตาร์ท
สองทีเงียบไฟเตือนหน้าปัทม์หรี่วูบ เห็นทีงานนี้ต้องหาหมอแล้ว พอดีเยื้องไม่ไกลนักกับที่รถผมเสียอยู่มีร้านรับซ่อมพวก
มอเตอร์ ไดนาโ์ม ไดชาร์ท ไดสตาร์ท อยู่เลยตามช่างมาดูให้ ช่างก็ไม่อยู่ออกไปซ่อมงานข้างนอกหมด เหลือแึต่เถ้าแก่ร้าน
ตกลงงานนี้เถ้าแก่ลุยเอง เห็นแกงมดูจับโน้นจับนี้ ลองให้ผมสตาร์ทเครื่องดูอาการ อาการมันฟ้องว่าแบตเตอรี่หมดจริงๆ
แกถามผมว่ามีสายไฟโตๆมั๊ย พอดีผมมีสายพ่วงแบตเตอรี้อยู่ แกจัดการหนีบสายเข้าขั้วลบแบตเตอรี่ อีกด้านเอามาจี้ที่ขา
ไดสตาร์ท ไดสตาร์ททำงานอย่างปกติทันที ทีนี้พอรถติดก็ให้ผมเอารถไปที่ร้าน พอไปถึงร้านแกจัดการถอดหม้อแบตเตอร
ี่ออก ขยับหาสายจากขั้วลบซึ่งรถของผมเป็นเก๋งเก่าๆ เตี้ยๆแถมยังสายจากขั้วลบแบตเตอรี่ลงแท่นหลบมุมลงไปใกล้ๆกับ
หม้อน้ำ และยังมีพัดลมไฟฟ้าของแอร์ขวางเกะกะอยู่ งานนี้ต้องรื้อชุดพัดลมออก กว่าจะถอดออกมาได้ทีละอย่าง
เถ้าแก่ทำไปบ่นไป

ในที่สุดก็พบตัวการที่เสีย
หลังจากรื้อออกมาได้อย่างทุลักทุเล ยอมรับว่าน็อตไม่กี่ตัว แต่เนื้อที่ในการที่จะใช้ประแจขันมันลำบากจริงๆ จุดที่ต่อสายดินหรือสายกราวด์จากขั้วลบของแบตเตอรี่ถูกคราบน้ำกรดกัดจนเป็นสนิมเขอะกรังไปหมด ทำให้กระ
แสไม่พอที่จะฉุดโหลดหนักๆ แต่น่าเจ็บใจที่น่าจะเป็นถาวรเลย นี่เล่นแบบเป็นๆหายๆ ได้พอจัดการเปลี่ยนสายและ
จุดยึดใหม่เรียบร้อย ประกอบทุกอย่างเข้าที่พอถามราคาเห็นแก่อึดอัดเรื่องราคา ผมเลยขอซื้อน้ำยาหล่อเย็นเติมหม้อน้ำ
ซื้อขายึดแบตเตอรี่อีกชุด แก่เลยคิดราคาทั้งหมดสามร้อยบาท พร้อมกับอบรมผมอีกหนึ่งยกว่า
ทีหลังเวลาเติมน้ำกลั่นระวังอย่าเติมให้มากเอาแค่พอท่วมแผ่นธาตุุก็พอ ไม่ต้องกลัวไม่พอ
ถ้าเติมมาก เวลาที่มันถูกชาร์ทน้ำกลั่นจะเดือดและล้นออกมาทางช่องระบาย แล้วก็สร้างปัญหา
ให้อย่างที่เห็น
ดีนะที่ผมไม่ได้เล่าสิ่งที่ผมเปลี่ยนและซ่อมมาให้แกฟัง ไม่งั้นแกหัวเราะลั้นแน่ หลังจากนั้นมาเป็นปี
ีก็ไม่เกิดอาการอีกเลย ดีนะผมไม่ได้ถอดไดสตาร์ทไปซ่อมด้วย เหตุการณ์แม้จะผ่านมาหลายปีแล้ว
แต่ทำให้ผมจำไม่รู้ลืมจนบัดนี้

ผลสรุปของงานนี้คือ
1.แบตเตอรี่ทั้งหมดทุกลูกไม่เสีย
2.ไดสตาร์ทไม่เสีย
3.ผมมั่วเอง มองข้ามเรื่องง่ายๆ พื้นฐานเสียสนิท (จริงๆแล้วเป็นเรื่องหมูสำหรับหลายๆท่าน)
4.เติมน้ำกลั่นมากเกินไป
5.ได้ประสบการณ์ว่าถ้าแบตเตอรี่ไฟอ่อนขณะที่วิ่งอยู่จะเป็นอาการอย่างไร พยายามประคองเครื่องยนต์เอาไว้อย่าให้ดับเด็ดขาด
6.ได้เรียนรู้วิธีถอดแบตเตอรี่จนคล่อง ถือว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัว ห้ามเลียนแบบ และห้ามถอดเข้าออกเกินวันละสองรอบ
 
  หลักการทำงานพื้นฐานของระบบจุดระเบิด

โดยทั่วๆไปแล้วไม่ว่าจะเป็นระบบจุดระเบิดทุกแบบที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน (แก๊สโซลีน) ล้วนแต่อาศัย
หลักการพื้นฐานเหมือนกันทั้งนั้น อุปกรณ์พื้นฐานของระบบจุดระเบิดประกอบด้วย
 

1.แหล่งจ่ายแรงดัน ถ้าเป็นรถยนต์อย่างของเจ้าซูน้อยก็คือ แรงดันจากหม้อแบตเตอรี่ 12 โวลท์
2.ชุดหน้าทองขาว
3.คอนเดนเซอร์
4.คอลย์จุดระเบิด


แสดงวงจรพื้นฐานของระบบจุดระเบิด


ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบจุดระเบิดแบบอิเล็คทรอนิคส์ขึ้นมา สมัยก่อนเห็นเรียกว่า CDI เพื่อให้ผลการทำงานดียิ่งขึ้น
ส่งผลให้ให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ได้กำลังเครื่องที่ดี ระบบอิเล็คทรอนิคส์ที่ว่าก็คือวงจรที่ควบคุมไฟที่จ่ายให้คอลย์
จุดระเบิด โดยอาศัยการตรวจจับจังหวะการทำงานจากชุดหน้าทองขาว หรือ อุปกรณ์อื่นที่แทนหน้าทองขาว โดยสัมพันธ์
กับจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ (ดูด-อัด-ระเบิด-คาย) อุปกรณ์การตรวจจับจังหวะการทำงานของระบบจุดระเบิดแบบ
อิเล็คทรอนิคส์ มี 2 แบบคือ


1. ระบบที่ใช้ชุดหน้าทองขาวเหมือนเดิม ระบบนี้ยังคงใช้หน้าทองขาวเหมือนระบบพื้นฐานทั่วๆไป

แต่ลดปัญหาเรื่องการสึกกร่อนของหน้าทองขาวตามอายุการใช้งานลงไปมาก ทำให้หน้าทองขาวมีอายุใช้งานนาน
กว่าระบบปกติหลายเท่าตัว ทั้งนี้เพราะ ระบบนี้จะมีกระแสที่ไหลบริเวณหน้าทองขาวน้อยมาก (ไม่ปรากฎประกายไฟ
หรือที่เรียกว่าการสปาร์ค ที่หน้าทองขาว) ส่งผลให้ปัญหาเรื่องไหม้ของหน้าทองขาวหมดไป การดูแลก็เพียงแต่
่การใช้กระดาษทรายระเอียดขัดคราบสกปรกเป็นครั้งคราวเท่านั้น โดยส่วนตัวแล้วผมชอบระบบนี้นะเพราะ
หากกล่องวงจรจุดระเบิดที่เป็นแบบอิเล็คทรอนิคส์เสียเรายังสามารถตัดต่อวงจรให้ให้เป็นการจุดระเบิด
แบบปกติได้ง่าย เพียงแต่อาศัยพื้นฐานความเข้าใจเรื่องระบบจุดระเบิดนิดหน่อยเท่านั้นเอง หรือแม้แต่การดัดแปลง
หรือเปลี่ยนแปลงวงจรจุดระเบิด ก็ทำได้สะดวกและง่ายกว่า

2. ระบบไม่ใช้ชุดทองขาว

ระบบนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ ใช้หลักการของแม่เหล็ก
และตัวตรวจจับเส้นแรงแม่เหล็ก (Hall IC) แทนชุดหน้าทองขาว ดังรูปข้างบนนี้

และอีกระบบหนึ่งที่เจ้าซูน้อยใช้คือใช้หลักการสร้างแรงดันไฟฟ้าจากตัวสร้างแรงดันไฟฟ้า (Generator)
ส่งไปทำการควบคุมวงจรจุดระเบิด แทนชุดหน้าทองขาว ดังรูปล่างนี้



ทั้งหมดนี้มีข้อดีในเรื่องของการลดปัญหาเรื่องการสึกกร่อนของหน้าทองขาว และ ปัญหาเรื่องความชื้นที่ทำให้เกิดสนิม
หรืออ็อกไซค์ ที่หน้าทองขาวได้ เป็นผลให้ระบบนี้ไม่ค่อยกลัวน้ำที่อาจกระเซ็นเข้าจานจ่าย ในกรณีที่ขับรถลุยน้ำ
(ไม่ใช้ลอยน้ำนะครับ) ดังที่เห็นบ่อยๆ คือเวลาฝนตกน้ำท่วมแค่คืบ ไม่ถึงครึ่งล้อ เห็นเครื่องดับจอดกันบ่อยๆ สำหรับรถรุ่นเก่าๆ

การใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์ที่ออกแบบมาดีๆ จะช่วยให้การจุดระเบิดได้สมบูรณ์การเผาไหม้หมดจด ได้กำลังเครื่องที่ดี
ห้องเผาไหม้สะอาด ลดปัญหาการน็อคของเครื่องอันเนื่องจากคราบเขม่าที่จับในห้องเผาไหม้ได้ เหตุผลก็คือระยะเวลาในการเกิดประกายไฟที่เขี้ยวหัวเทียนจะยาวนานกว่าระบบที่ไม่ได้ใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์ ในการจุดระเบิด
ส่วนระบบจุดระเบิดของเจ้าซูน้อยเท่าที่ทราบมา ไม่กล้ายืนยันนะครับ แต่เท่าที่เห็นขนาดแล้ว ไม่น่าจะเป็นระบบที่ออกแบบให้ได้
ผลการทำงานที่สูงสุดอย่างวงจรในรถชั้นเยี่ยมอื่นๆ ใช้กัน เพราะเท่าที่เคยเห็นวงจรของรถยี่ห้ออื่นๆ แผงวงจรจะใหญ่มาก
มีวงจรการทำงานที่ซับซ่อนกว่า สำหรับของเจ้าซูน้อยคิดว่าคงออกแบบแค่ใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์ง่ายๆบังคับการปิดเปิดไฟให้กับ
คอลย์เท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องของการลดค่าใช้จ่าย และลดอัตราเสี่ยงในการเสียหายอันอาจเกิดกับอุปกรณ์ที่มีมากขึ้น
 
 




เบื้องต้นก่อนเกิดประกายไฟแรงสูง

เมื่อเราทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ จะมีไฟบวกมาเลี้ยงที่คอลย์ขั๋วบวก (มาตั้งแต่ตอน ON สวิทซ์แล้ว) และที่ขั๋วลบของคอลย์จะถูกต่อกับชุดหน้าทองขาวที่ติดตั้งภายในจานจ่าย เพื่อทำหน้าที่ปิดและเปิด(เหมือนสวิทซ์ไฟ)
ในการจ่ายไฟให้กับคอลย์จุดระเบิด โดยอาศัยแกนลูกเบี้ยวเป็นตัวเตะบังคับให้มีการเปิดปิด โดยสัมพันธ์กับจังหวะการ
ทำงานของเครื่องยนต์ (ดูด-อัด-ระเบิด-คาย)ถ้าหน้าทองขาวปิดหรือแตะกันอยู่ก็เท่ากับขั๋วลบของคอลย์ถูกต่อลงกราวด์
จะเกิดการไหลของกระแสไฟในขดลวดของคอลย์ ระหว่างขั๋วบวก และ ขั๋วลบของคอลย์ ที่เรียกว่าขดลวดปฐมภูมิ
(Primary coil) ถ้าเปรียบเทียบให้คอลย์คือหลอดไฟตอนนี้หลอดไฟก็จะต้องสว่าง การไหลของกระแสไฟในขดลวดของคอลย์ เป็นผลให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นภายในแกนร่วมของคอลย์ ขณะนี้จะยังไม่เกิดประกายไฟแรงสูงที่เขี้ยวหัวเทียน

 
 


เกิดประกายไฟแรงสูงตอนไหน
เมื่อถึงจังหวะที่หน้าทองขาวเปิดคือจากออกจากกัน โดยกลไกของลูกเบี้ยวที่ดันให้หน้าทองขาวจาก ซึ่งเป็นจังหวะจุดระเบิดของ
ลูกสูบเครื่องยนต์พอดี (ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบนเล็กน้อย ที่บอกว่า 8 องศาบ้าง 10 องศาบ้าง หรือ 5 องศา สำหรับ
น้ำมันสมัยเก่า หรือ คนเรียนเครื่องยนต์สมัยเก่า) การที่หน้าทองขาวเปิด ทำให้กระแสที่ไหลในขดลวดของคอลย์หยุดการไหลทันที
(ขาดวงจร เพราะขั๋วลบของคอลย์ไม่ได้ถูกต่อลงกราวด์) ทำให้เกิดการยุบตัวของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ส่งผลให้เกิดไหลของกระแสขึ้นที่ขดทุติยภูมิ (Secondary coil) สูงขึ้นเป็นหลายพัน จนถึง หลักหมื่นโวลท์ ทันท
(แรงดันไฟแรงสูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิ รวมถึงอัตราส่วนระหว่างขดปฐมภูมิ (Primary coil) ด้วย) แรงดันไฟแรงสูงที่ได้นี้ก็จะถูกส่งไปที่เขี้ยวหัวเทียนเพื่อทำการจุดระเบิดต่อไป
กระแสที่เกิดจากการยุบตัวของสนามแม่เหล็กที่แหละ ที่มักทำลายวงจรอิเล็คทรอนิคส์บางชนิดพัง ในช่วงที่ปิดเครื่องอย่างเช่นเครื่อง
รับโทรทัศน์เป็นต้น อาการเสียส่วนมากจะพบว่าเมื่อคืนหรือก่อนนี้ยังดูดี พอจะเปิดใช้งานอีกครั้งไม่ทำงานเสียแล้ว น้อยครั้งที่จะพบว่า
เสียต่อหน้าต่อตา


สรุปอาการเสียของคอลย์จุดระเบิด
ส่วนใหญ่แล้วการเสียของคอลย์ตุดระเบิดมักจะเสียด้านขอลวดทุติยภูมิหรือขดที่สร้างไฟแรงสูงนี่แหละ โดยอาการเสีย
มักจะเป็นช็อตรอบหรืออาร์คภายใน ส่งผลให้เกิดการโหลดที่ขดลวดปฐมภูมิหรือขดไฟแรงต่ำ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการ
คอลย์ร้อนจัด และกำลังไฟแรงสูงตกลงนั้นเอง เป็นเหตุให้เครื่องกำลังตกและถึงขั้นดับทันทีที่คอลย์ร้อนจัด
ส่วนการช็อตรอบที่ขดไฟแรงต่ำหรือขดลวดปฐมภูมิ จะไม่มีไฟแรงสูงออก และอาจส่งผลทำให้ฟิวส์ในระบบที่จ่ายให้ระบบ
ขาดได้ แต่ในกรณีที่คอลย์มีอาการทำงานบ้างไม่ทำงานบ้างอาจเป็นเพราะเกิดการขาดของจุดต่อภายใน ซึ่งโอกาสเกิดขึ้น
ได้น้อยมาก

วิธีการตรวจสอบคอลย์จุดระเบิด
ถ้าจะให้ดีหาหลอดไฟ 12โวลท์ ขนาดเล็กสักหลอด ต่อสายไฟออกมาสองเส้น ที่ปลายสายต่อปากคีบไว้ทั้งสองเส้นดังรูป
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือง่ายๆในการตรวจเช็คระบบไฟของรถ มีประโยชน์มากยามฉุกเฉิน เคยเห็นช่างตามอู่บางคน ใช้วิธีเอาสาย
ไฟเส้นเดียวโดยเอาด้านหนึ่งแตะที่ตัวถังรถไว้ และปลายสายอีกด้านหนึ่งมาทำการเขี่ยจุดต่างๆ ที่ต้องการหาว่ามีไฟบวกมา
หรือไม่ โดยส่วนตัวเป็นวิธีที่ผมไม่ชอบเลย เพราะหากไปเขี่ยบริเวณที่เป็นเกลี่ยวหรือสกรู เช่นขั้วของคอลย์ เป็นต้น อาจทำ
ให้เกลียวถูกอาร์คจนละลาย ทำให้ร่องเกลียวเสียหายได้


วิธีตรวจสอบการจ่ายไฟให้ระบบจุดระเบิด
1.เข้าเกียร์ว่างไว้
2.บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ ON ไว้
3.ใช้ปากคีบด้านใดด้านหนึ่งหนีบจับไว้ที่ขั้วลบของแบตเตอรี่ หรือ บริเวณตัวถังที่เป็นโลหะ ที่ไม่มีสีเคลือบอยู่
4.ใช้ปากครีบอีกด้านที่เหลือ จับที่ขั้วบวกของคอลย์ ถ้าระบบจ่ายไฟปกติหลอดไฟจะต้องติดสว่าง ถ้าไม่ติดแสดงว่า
ระบบการจ่ายไฟมีปัญหา ให้ย้อนไปดูตามข้อ 2 ถ้ายังไม่ได้ แสดงว่าฟิวส์ที่วงจรจ่ายไฟให้ระบบจุดระเบิดขาด

วิธีตรวจสอบคอลย์จุดระเบิด (การตรวจเช็คนี้จะต้องมั้นใจว่ามีไฟบวก 12 โวลท์ มาที่ขั้วบวกของคอลย์แล้ว)
1.เข้าเกียร์ว่างไว้
2.ปลดสายไฟที่ต่อกับขั้วลบของคอลย์ออกก่อน (ลอยขั้วลบของคอลย์ไว้) หรืออาจใช้วิธีตามรูปข้างล่างนี้ โดยทำ
การปลดสายที่ต่อกับคอลย์ทั้งขั้วบวก และ ลบ ออก แล้วใช้สายอีกเส้นต่อจากขั้วบวกของแบตเตอรี่โดยตรงเลย
3.ปลดสายไฟแรงสูงที่หัวจานจ่ายออก(เป็นสายที่ต่อออกมาจากจุดจ่ายไฟแรงสูงของคอลย์ High tension terminal)
4.หาสายไฟอ่อนไม่ต้องใหญ่เส้นเล็กๆ มาปลอกปลายสายทั้งสองด้านออกให้เห็นทองแดง นำสายด้านหนึ่งมาต่อเข้า
กับขั้วลบของคอลย์ อีกด้านหนึ่งลอยไว้ก่อน อย่าให้แตะถูกส่วนที่เป็นโลหะใดๆของรถ
5.บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ ON ไว้
6.ตอนนี้จะมีปลายสายลอยอยู่สองจุดคือ จากขั้วไฟแรงสูงของคอลย์ และ จากขั้วลบของคอลย์ จากนั้นจับปลายสาย
ด้านไฟแรงสูง อย่าใช้นิ้วจับใกล้ขั้วโลหะที่ปลายสายจับห่างไว้ ระวังไฟแรงสูงดูด จ่อปลายส่วนที่เป็นโลหะไว้ใกล้ๆกับ
ตัวถังของเครื่องยนต์หรือ ของรถ บริเวณที่ไม่มีสีเคลือบอยู่ จ่อให้ได้ระยะห่างประมาณ 2-3มิลลิเมตร ไม่ควรให้ห่าง
เกิน 5 มิลลิเมตร
7.ใช้มือที่ว่างอีกข้างหนึ่งจับปลายสายที่ต่อจากขั้วลบของคอลย์ มาเขี่ยบริเวณที่เป็นโลหะบริเวณที่ไม่มีสีเคลือบอยู่
ห้ามแตะปลายสายแช่ให้ใช้เขี่ย หรือ แตะแล้วยกห่างแล้วแตะแล้วยกห่าง ใช้ระยะเวลาถี่สักหน่อย
8.ถ้าคอลย์จุดระเบิดไม่เสีย จะเกิดประกายไฟแรงสูงสปาร์คลงแท่น ที่ปลายสายตามข้อ 6

 
 

แล้วเจ้าคอนเดนเซอร์ทำหน้าที่ตอนไหน

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าคอนเดนเซอร์ทำหน้าที่ลดการสปาร์คของประกายไฟที่หน้าทองขาวในขณะเปิด แล้วคอนเดนเซอร
์เสียทำไมทำให้เครื่องยนต์ไม่ติดได้ จากรูปภาพจะเห็นว่าคอนเดนเซอร์จะถูกต่อคร่อมหน้าทองขาวอยู่ หรือเรียกว่าต่อขนาน
กับหน้าทองขาวอยู่ ในขณะที่หน้าทองขาวปิด คอนเดนเซอร์ก็อยู่ในสภาพที่ลอยๆ คือช็อตตัวเองอยู่ ในสภาวะนี้ถ้ามอง
คอนเดนเซอร์ ในแง่ของความต้านทานก็คือความต้านทานต่ำ เพราะคอนเดนเซอร์ไม่ได้ทำการเก็บประจุไฟไว้ในตัว
และเมื่อหน้าทองขาวจากหรือเปิด กระแสที่เหนี่ยวนำในขดลวดส่วนหนึ่งจะวิ่งย้อนมาเกิดการสปาร์คที่หน้าทองขาว ดังนั้นเมื่อหน้าทองขาวเปิดกระแสส่วนหนึ่งจะวิ่งผ่านตัวคอนเดนเซอร์ นั้นก็คือคอนเดนเซอร์เริ่มทำการประจุไฟเข้าไว้ในตัว
เป็นผลให้ลดการสปร์คที่หน้าทองขาวลงไปได้ จนถึงจุดหนึ่งที่คอนเดนเซอร์ประจุไฟเต็มแล้วก็จะทำไหลหยุดการรั่วไหลของ
กระแสที่ไหลผ่านคอลย์ (กระแสที่รั่วไหลผ่านคอนเดนเซอร์นี้จะมีค่าน้อยไม่มีค่ามากพอที่จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่
ขดปฐมภูมิที่คอลย์ได้ เหมือนตอนที่หน้าทองขาวปิด(แตะกัน เหมือนคอลย์ขั๋วลบต่อลงกราวด์โดยตรง)
 
 

แล้วเจ้าคอนเดนเซอร์เสียจะเป็นอย่างไร
ถ้ามองในแง่ที่ไม่มีคอนเดนเซอร์ในวงจร เมื่อหน้าทองขาวจากหรือเปิดกระแสที่ย้อนกลับมาสปาร์คที่หน้าทองขาวจะ
สูงมาก มากพอที่จะเกิดสนามแม่เหล็กบนขดลวดปฐมภูมิในคอลย์ได้ เหมือนคอลย์ทำงานครึ่งตัว หรือเหมือนกับหน้า
ทองขาวไม่ได้จากจริงๆ ทั้งๆที่ขณะเวลานี้ (หน้าทองขาวจากหรือเปิด) ไม่ควรจะมีีกระแสไหลในขดลวดปฐมภูมิในคอลย
์ทั้งสิ้น การที่มีกระแสไหลในขดลวดปฐมภูมิในคอลย์ช่วงนี้เองทำให้มีผลต่อค่าของไฟแรงสูงที่จะเกิดขึ้นที่เขี้ยวหัวเทียน
ต่ำกว่าในสภาวะปกติ และยังอาจส่งผลถึงการจุดระเบิดผิดจังหวะได้ อันเนื่องมาจากผลของการสปร์คที่หน้าทองขาว
เป็นสาเหตุให้การปิดเปิดของหน้าทองขาวผิดพลาด บางครั้งจะเกิดอาการน็อคให้เห็น หรือ ไฟแลบย้อนออกทาง
คาร์บูเรเตอร์ก็มี

แสดงรูปการทำงานของระบบจุดระเบิด
(ตามระบบของเจ้าซูน้อยจะเริ่มจากสูบที่ 1,3,4,2)


 
 

วิธีตรวจสอบระบบช่วงล่างด้วยตนเอง
+

 
     
 

วิธีตรวจสอบระบบช่วงล่างด้วยตนเอง
ระบบช่วงล่างของรถยนต์เป็นสิ่งหนึ่งที่มักสร้างปัญหาให้กับทั้งผู้ใช้รถ และ ช่าง เพราะเป็นปัญหาที่ต้องใช้การคาดคะเน
วิเคราะห์ในปัญหานั้นๆยกเว้นกรณีที่เสียหายให้เห็นโดยชัดเจน เช่นหัก แตก ร้าว หรือ หลวมอย่างน่าเกลียด อีกทั้งต้อง
อาจใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการวิเคราะห์ปัญหา มิฉะนั้นจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ลุกลามและปานปลายจน
กว่าจะเจอปัญหาจริง แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีของผู้ใช้เจ้าซูน้อยที่ระบบช่วงล่างเป็นระบบพื้นฐานธรรมดาๆ ไม่มีกลไก
สลับซับซ่อน อย่างรถรุ่นใหม่ๆ ทำให้การวิเคราะห์ปัญหาได้ค่อนข้างแม่นยำ และ ประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือ
เปลี่ยน เรื่องซ่อมแล้วปานปลายค่อนข้างน้อย ในที่นี้ผมหมายถึงการใช้อะหลั่ยมาตรฐาน(รุ่นเดิมๆ)ของเจ้าซูนะครับ
ส่วนการปรับเปลี่ยนไปใช้แบบอื่นๆ ที่มีการออกแบบเป็นพิเศษ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมากเกินไปยอมรับว่าดี
กว่าของเดิมๆ แต่ราคาก็ก็สูงตามคุณภาพของชิ้นส่วนนั้นๆ ส่วนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมอย่างมาก ก็จำเป็นต้อง
อาศัยคุณภาพและการตอบสนองการทำงานของชิ้นส่วนนั้นๆ เหมาะกับลักษณะวัตถุประสงค์การใช้งานมากเพียงใด และ
อาศัยความชำนาญของช่าง หรือผู้ลงมือทำ สามารถทำได้ครับผมว่าไม่มีทางเกินความสามารถของมนุษย์หรอกครับ เพียง
แต่ว่าอาจต้องใช้งบประมาณสูงหน่อย เท่านั้นเอง

ตัวอย่างภาพแสดง Coil Over Chock หรือภาษาไทยที่เรียกว่า สตรัทปรับเกลียว เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้ในการดัดแปลงรถ


วิธีเปลี่ยนลูกยางหูโช็คด้วยตนเอง
การเปลี่ยนลูกยางหูโช็คเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยากเลย ทั้งโช็คคู่หน้าและคู่หลัง ส่วนใหญ่เท่าที่ทำมาไม่ได้ใช้แม่แรงเลย
จะมีเพียงบางครั้งเท่านั้นที่ไม่อยากฝืนหรือออกแรง ก็เพียงใช้แม่แรงยกแซสซีเพียงเล็กน้อย เพื่อลดการกดของน้ำ
หนักตัวถังรถและให้โช็คคลายตัว วิธีเปลี่ยนลูกยางหูโช็คมีขั้นตอนดังนี้
วิธีการเปลี่ยนลูกยางโช็คคู่หน้า
1.ใช้ประแจแหวนเบอร์17 คลายน็อตตัวเมียหูโช็คด้านล่างออก
2.ใช้มือจับที่แขนของโช็คบริเวณเหนือหูโช็คที่คลายน็อตตัวเมียออก หมุนขยับซ้ายขวาไปมา หูโช็คก็จะหลุดออกมาจาก
แกนยึด จะเห็นว่ามีลูกยางอยู่ 2 ตัว แหวนรองด้านในสุดอีกตัว
3.ที่ด้านบนของโช็คจะมีน็อตตัวเมียขันยึดไว้ 2 ตัว ใช้ประแจปากตายเบอร์14 จับที่น็อตตัวในสุดแล้วใช้มือจับล็อคไว้กับที่
จากนั้นใช้ประแจแหวนเบอร์14 จับที่น็อตตัวบนแล้วใช้แรงหมุนคลายออก
4.ใช้มือจับที่กระบอกโช็คไว้ให้แน่น แล้วใช้ประแจแหวนเบอร์14 คลายน็อตตัวที่เหลือออก
 
     
  วิธีการเปลี่ยนลูกยาง หรือ บู๊ซ ของแหนบ  
     
     
  วิธีการปรับตั้งคลัทซ์  
     
     
 
 
Hosted by www.Geocities.ws

1