อุปกรณ์โทรศัพท์ (Telephone Set)

เครื่องรับโทรศัพท์ (Telephone)   แบ่งเป็น 3 แบบหลัก ๆ ดังนี้

                 1.    เครื่องรับโทรศัพท์ธรรมดา ซึ่งมี 3 แบบคือ

1.1      แบบกดปุ่ม (Push Button)  จะใช้กับชุมสายที่เป็นแบบ SPC  ( Stored  Program  Control )

1.2    แบบหมุน (dial) ใช้กับชุมสายทั่ว ๆ ไป

2.    เครื่องรับโทรศัพท์สาธารณะ เป็นโทรศัพท์ที่ติดตั้งเพื่อบริการบุคคลทั่วไปโดยความแตกต่างคือ

2.1    แบบหยอดเหรียญ

2.2    แบบหักมูลค่าบัตร (Magnetic cark , Chip card)

3.       เครื่องโทรศัพท์แบบตู้สาขาอัตโนมัติ PABX:  Private Automatec Branch Exchange  จะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ      Key Telephone แต่ขีดความสามารถจะมีมากกว่า กล่าวคือ  สามารถกำหนดการโทรออกของเครื่องภายในได้ เครื่องภายในสามารถติดต่อกันได้เป็นต้น

 ส่วนประกอบของเครื่องรับโทรศัพท์

1.       Hand set ประกอบด้วยปากพูดกับหูฟัง

2.       หน้าปัดDial ทั้งแบบหมุนและกดปุ่ม

3.       ฮุคสวิตซ์ Hookswetch

4.       วงจรกระดิ่ง Ringer

5.       สายต่อโทรศัพท์ Line

 

Hand Set   เป็นชุดที่ประกอบด้วยปากพูด (Transmitter) และหูฟัง โดยปากพูดก็คือ ไมโครโฟนและหูฟันก็คือลำโพงแต่ไมโครโฟนที่ใช้ในเครื่องรับโทรศัพท์มี 3 แบบ คือ

1.       Carbon

2.       Dynamic

3.       condenser ปัจจุบันนิยมใช้เพราะมีขนาดเล็ก ความไวในการตีราคาถูก

 Dial  เป็นหน้าปัดโทรศัพท์ซึ่งจะมีทั้งแบบหมุน(Rotary) และและกดปุ่ม Psuh Button) ทำหน้าที่สร้างรหัสสัญญาณพัลล์หรือโทน เป็นเลขหมายที่เรากดส่งออกไปให้ชุมสาย

Hook switch เป็น Switch 2 ทางที่ทำหน้าที่เลือกระหว่างจะให้ Line ของโทรศัพท์ต่อไปที่วงจรกระดิ่งหรือตัดเข้าไปในวงจรภายใจของโทรศัพท์

 Ringer  เป็นตัวกำเนิดเสียงในเครื่องรับโทรศัพท์เพื่อแจ้งให้ผู้รับปลายทางทราบมี 2 แบบ คือ

1. แบบธรรมดา

1.1    แบบ Magneto Ringer หลักการคือเมื่อมีสัญญาณเรียกจากชุมสายเป็นพัลส์ AC 90 V 25 Hz เข้าที่ขดลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นในขดลวดและทำให้ขั้ว P1 , P2 เสมือนเป็นแม่เหล็กที่สลับขั้วกันอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะไปตึงก้านตีให้เคลื่อนที่และตีเข้าไปที่จานกระดิ่งจนเกิดเป็นเสียงขึ้นมา

 2.แบบอิเล็กทรอนิกส์

2.1    แบบ Buzzer Ringer หลักการคือเมื่อมีสัญญาณเรียกจากชุมสายเป็นพัลส์ AC 90  V 25 Hz จะผ่านเข้าไปในวงจรบริดจ์เรียงกระแสเป็น DC จากนั้นจะถูก Regulate แรงดันให้คงที่ด้วยซีเนอร์ไดโอด และถูกกรองให้เรียบด้วยตัวเก็บประจุเพี่อเป็นไฟเลี้ยงให้กับตัวไอซีกำเนิดเป็นพัลส์ที่คววามถี่ 10 Hz และป้อนให้ Buzzer โดยมี VR1 ปรับเร่งลดเสียง

2.2    แบบ Speaker Ringer หลักการจะคล้ายกับ Buzzerส่วนที่แตกต่างคือจะมีหม้อแปลง T1 เข้าช่วยลดเหลี่ยมของพัลส์ที่ได้จากไอซี ความพิเศษของ Ringer แบบนี้คือจะใช้ความสามารถ Hand Free  ได้ (สนทนาโดยไม่ต้องยกหู)

 1. เครื่องโทรศัพท์ระบบอนาลอก( Single Line Telephone)

คือเครื่องโทรศัพท์ที่มีใช้อยู่ตามบ้านเรือนโดยที่การส่งและรับสัญญาณเสียงพูดทั้งหมดจากชุด แฮนด์เซ็ท จะเป็นสัญญาณกระแสเสียงพูดที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณกระแสไฟฟ้า  แบบอนาลอก (Analog Signal) และสัญญาณนั้นจะถูกส่งไปยังชุมสายที่ให้บริการเพื่อติดต่อระหว่างคู่สนทนาที่ใช้เครื่องโทรศัพท์แบบอนาลอกทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน แสดงวงจรพื้นฐานของเครื่องโทรศัพท์แบบอนาลอก

 

   ส่วนของวงจรกระดิ่งเข้า สามารถแบ่งเป็น2แบบด้วยกันคือ

               

-ระบบสัญญาณเรียกแบบธรรมดา(Magneto Bell)

                    

เป็นการใช้หลักการของสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำโดยจะเกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้นรอบๆตัวนำไฟฟ้าเมื่อทำการป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดตัวนำและเมื่อนำขดลวดนั้นมาขดให้อยู่ในแกนเดียวกันโดยที่แกนนั้นจะเป็นสารแม่เหล็กหรือไม่ก็จะเกิดฟลั๊กส์แม่เหล็กแพร่กระจายออกมาตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัดแกนนั้นโดยจะมีทิศทางของขั้วแม่เหล็กตามทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าและเมื่อนำเอาแม่เหล็กถาวรเข้าใกล้เส้นแรงแม่เหล็กเหนี่ยวนำจากขดลวดก็จะทำให้เกิดการดูด และพลักกันตามขั้วแม่เหล็กที่เกิดขึ้น  ดังนั้นถ้านำเอาก้านตีมาติดกับแท่งแม่เหล็กและป้อนไฟฟ้ากระแสสลับให้ขดลวดก็จะเกิดการกลับทิศทางของสนามแม่เหล็กที่ตัดกับแม่เหล็กถาวรจึงเกิดแรงโยกให้ก้านตีที่ติดอยู่กับแม่เหล็กถาวรไปตีโดนกระดิ่งทำให้เกิดเสียงขึ้น

 -ระบบสัญญาณเรียกแบบอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Bell)

                 เป็นแบบที่ใช้อุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำ เช่น ทรานซิสเตอร์ หรือ (IC) Integrated    Circuit มาสร้างเสียงกระดิ่งเรียกโดยใชัตัวลำโพงเป็นตัวกระจายเสียงแทนกระดิ่ง   เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถผลิตได้รวดเร็วและราคาถูกกว่าแบบที่ใช้กระดิ่ง  จริงๆ

 2. ระบบสนทนา  (Speech )

                เครื่องโทรศัพท์นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ transmitter ที่มีประสิทธิภาพ และความไวสูงเราจึงใช้ transmitter แบบคาร์บอน ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนชิ้นเล็กๆของคาร์บอน ( เรียกว่า carbon  granule ) แผ่น carbon electode 2 แผ่นและ diaphragm ดังแสดงในรูป

 หลักการทำงานของไมโครโฟนแบบคาร์บอนอธิบายได้ดังนี้คือ เมื่อคลื่นเสียงกระทบกับแผ่น diaphragm จะทำให้แผ่น diaphragm สั่นไปมา พลังงานเสียงก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานกล    ในตำแหน่งที่แผ่น diaphragm ถูกกด จะทำให้electode แผ่นหน้าเคลื่อนที่เข้า เป็นผลทำให้ผงถ่าน (carbon  granule) ถูกอัดติดกันมากขึ้น การอัดตัวของผงถ่านนี้จะทำให้ค่าความต้านทานระหว่างแผ่นelectode ทั้งสองมีค่าลดลง ในทางตรงกันข้ามเมื่อแผ่น diaphragm เคลื่อนที่ออกก็จะเป็นผลทำให้ electode แผ่นหน้าเคลื่อนที่ออกด้วย จึงทำให้ค่าความต้านทานของ transmitter  เพิ่มขึ้น

 เมื่อนำเอาแบตเตอรี่ต่อเข้าระหว่างแผ่น electode ทั้งสองกระแสไฟตรงจะไหลผ่านผงถ่านและเนื่องจากความต้านทานของ transmitter มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อได้รับสัญญาณเสียงดังนั้นกระแสที่ไหลผ่าน transmitter จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย นั้นคือ พลังงานเสียงสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้

 หลักการของ Receiver อธิบายได้คือ มีขดลวดพันกันอยู่ที่ขั้วแม่เหล็กถาวร แต่ขดลวดจะพันกลับทิศทางกัน แม่เหล็กถาวรนี้จะมีอำนาจแม่เหล็กดึงแผ่น diaphragm เข้ามา เมื่อมีกระแสไฟสลับ (Speech Current) ไหลผ่านขดลวดก็จะมีผลทำให้เกิดแรงแม่เหล็กขึ้น ทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็กจะมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร  ซึ่งอาจจะไปเสริมหรือต้านเส้นแรงแม่เหล็กองแม่เหล็กถาวร แผ่น diaphragm ก็จะเคลื่อนที่เข้าหรือออกตามขนาดและความถี่ของ Speech Current ซึ่งมีผลทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีขนาดและความถี่เท่ากับ Speech Current ที่ไหลเข้ามาในวงจร  คลื่นเสียงที่เกิดขึ้นนั้นย่อยจะมีการสูญเสียบ้างเนื่องจากมีการเปลี่ยนรูปพลังงาน ดังนั้น เอาท์พุท ของคลื่นเสียงจะน้อยกว่า อินพุต ของพลังงานไฟฟ้าที่รับได้ที่ Receiver

 

3. ส่วนของหน้าปัทม์หมุนหมายเลข (Dial Number)

ในขณะที่เราหมุนเลขหมายเพื่อจะใช้งานโทรศัพท์นั้น เครื่องโทรศัพท์จะสร้างสัญญาณไดอัล (Dial) ขึ้นมาเพื่อส่งไปให้ชุมสายโทรศัพท์ตรวจสอบ และค้นหาถึงผู้รับทั้งนี้สัญญาณไดอัลก็คือการเข้ารหัสที่ส่งออกไปให้ชุมสายรับทราบถึงหมายเลขที่ต้องการติดต่อ โดยชุมสายจะมีวงจรถอดรหัสเพื่อถอดรหัสอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้สัญญาณไดอัลมี 2 ชนิด คือ

 

-การทำงานในส่วนของDialing แบบ Dial pluse

              หน้าปัดแบบหมุน  เมื่อผู้เรียกยกปากพูดหูฟัง (Handest) ขึ้นจากที่รองรับ (Cradle) ทำให้ Hook Switch ( S1 และ  S2 ตามรูป ) ปิดวงจรของสายเส้น  Tip ( T ) และ Ring ( R )   ซึ่งเป็นผลทำให้ครบวงจร Relay Coil  ในชุมสายโทรศัพท์ อุปกรณ์สวิทช์ในชุมสายโทรศัพท์ก็จะส่งสัญญาณไดอัลโทนมายังเครื่องโทรศัพท์ของผู้เรียก เพื่อเป็นสัญญาณแสดงให้ผู้เรียกทราบว่าเริ่มหมุนเลขหมายได้แล้วและชุมสายโทรศัพท์ก็พร้อมที่จะรับเลขหมายที่ผู้เรียกหมุน เมื่อผู้เรียกหมุนเลขหมายใดเลขหมายหนึ่งเสร็จแล้วและปล่อยมือหน้าปัดของเครื่องโทรศัพท์จะหมุนกลับที่เดิม ในขณะที่หน้าปัดหมุนกลับที่เดิมจะมีผลคือทำให้ลูกเบี้ยว ( Cam ) หมุนตาม การหมุนของลูกเบี้ยวนี้จะทำให้                    Contact  S3 เปิด และปิดวงจรเป็นจำนวนครั้งเท่ากับเลขหมายที่หมุน การที่ Contact  S3 ปิดวงจรจะทำให้กระแสไหลได้ซื่งเรียกว่ากระแส Impulseและเมื่อ Contact  S3 เปิดวงจร กระแสก็จะหยุดไหล  การที่กระแสไหลและหยุดไหลนี้มีผลทำให้เกิด Pulseขึ้นก็จะมีจำนวน Pulseที่เกิดขึ้นก็จะมีจำนวนเท่ากับเลขที่หมุนเช่น หมุนเลข 1 จะเกิด  1 Pulse หมุนหมายเลข 5 ก็จะเกิด 5 Pulse และหมุนหมายเลข 0 จะเกิด 10 Pulse   เป็นต้นความเร็วหน้าปัด ของเครื่องโทรศัพท์ก็มีความสำคัญที่จะต้องกำหนดให้อยู่ในมาตรฐานซึ่งประกอบด้วยความเร็วของกระแส   Impulse อัตราส่วนการตัด – ต่อ ของ Contact และช่วงเวลาหยุดระหว่างเลขหมาย ตามปกติแล้วความเร็วของกระแส  Impulse จะใช้อยู่ 2 ค่าคือ 10 และ 20  ISP ( Impulse  Per  Second )ส่วนค่ามาตรฐานสำหรับอัตราส่วนการตัด – ต่อ จะมีค่าเท่ากับ 2 ต่อ 1 ซึ่งหมายความว่า Contac ต้องตัดจงจรเป็นเวลา 2 หน่วยเวลา และต้องต่อวงจรเป็นเวลา 1 หน่วยในกรณีที่ความเร็วของ Impulse เป็น 10   ก็จะทำให้ได้ค่าของเป็น Pulse  Period  เป็น100 ms  นั่นคือ

ช่วงเวลาของการตัดวงจร  =  100ms * 2/3  = 66.6  ms

ช่วงเวลาของการต่อวงจร =   100ms * 1/3 = 33.3   ms

ส่วนช่วงเวลาหยุดระหว่างเลขหมาย โดยทั่วไปมีค่าเป็น 700 msแต่ก็อาจใช้ได้ในช่วงตั้งแต่ 600 msถึง 800 ms

 การหมุนหมายเลขแบบ DTMF ( Dial Tone Multi Frequency)

          เครื่องโทรศัพท์ที่มีหน้าปัดเป็นแบบกดปุ่มและใช้กรรมวิธีของ Dual Tone  Multifrequency ( DTMF )ในการส่งเลขหมายโทรศัพท์นั้น โดยทั่วไปหน้าปัดจะมี 12 ปุ่ม แต่แบ่งออกเป็น 4  Rows และ 3 Columns และในเครื่องบางแบบอาจจะมีถึง 16 ปุ่มโดยเพิ่ม Columns ที่ 4 ขึ้นมาอีก ดังแสดงตามรความถี่ที่ใช้ในแต่ละ Row และ  Columnจะมีความถี่ต่างกัน ความถี่ของทั้ง 4 Row เรียกว่าความถี่ต่ำ และความถี่ของทั้ง 3 หรือ 4 Columnเรียกว่าความถี่สูง การกดปุ่มที่หมายเลขใดๆจะทำให้วงจอิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องโทรศัพท์ผลิตความถี่ออกมา 2 ความถี่ เช่น เมื่อกดเลข 5 ความถี่ที่ผลิตออกมาคือ  770 Hzและ 1336 Hz เป็นต้น

มาตรฐานของความถี่ที่ใช้และตำแหน่งของเลขหมายต่าง ๆ จะถูกจัดให้มีลักษณะดังแสดงตามรูปที่สำหรับความผิดพลาดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้จะเป็น 1.5 %สำหรับการผลิตความถี่และ 2 %สำหรับการรับเลขหมาย

ข้อดีของการใช้โทรศัพท์แบบกดปุ่ม คือ

-สามารถลดเวลาในการหมุนเลขหมายลงได้ ทำให้มีผลคือเวลาเฉลี่ยที่ใช้โทรศัพท์แต่ละครั้งลดลงซึ่งทำให้ชุมสายโทรศัพท์สามารถรับ Traffic ได้มากขึ้น

-สามารถใช้วงจรทางโซลิสสเตทอิเล็กทรอนิกส์ แทนอุปกรณ์ทางด้าน Mechanics จึงทำให้มีความรวดเร็วและแม่นยำในการส่งเลขหมาย

-สามารถเพิ่มปุ่มกดได้อีก 4 ปุ่ม  เพื่อให้ในการส่งสัญญาณการบริการประเภทอื่น ๆ

-มีความเหมาะสมที่จะใช้กับชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC ( Stored  Program  Control )

2. โทรศัพท์ดิจิตอล  (Digital  Telephone)

 

โทรศัพท์ดิจิตอลเป็นโทรศัพท์ใหม่ที่เข้ามาแทนที่โทรศัพท์แบบอนาลอกเพื่อให้ในการสื่อสารมีคุณภาพสูงขึ้น  โดยโทรศัพท์ระบบดิจิตอลนี้ จะมีความสามารถสูงกว่าโทรศัพท์แบบอนาลอก  เช่น  อุปกรณ์ของวงจรแบบ อนาลอกนั้นยุ่งยากกว่าวงจรแบบดิจิตอล  และดิจิตอลสามารถตรวจสอบได้ง่ายกว่าเพราะมีแค่ สถานะ  และยังสามารถส่ง  DATA  เข้าไปพร้อมกันได้   ได้แก่โทรศัพท์เครื่องที่ใช้ได้โดยการแสดงสถานะที่เครื่องรับได้   และความกว้างของแบนวิทกว้างกว่าแบบอนาลอก  โดยทั่วไปความกว้างของโทรศัพท์ดิจิตอลจะมีความกว้างอยู่ที่  64  kbps  ขึ้นไป  โดยจะเป็นการส่งแบบเสียง  64  kbps  และข้อมูลอีก  64  kbps แต่ถ้าเราส่งข้อมูลอย่างเดียวเราจะสามรถส่งได้ถึง 128  kbps  8nv

1.       เสียง = 64 kbps + DATA  64 kbps

2.       ส่งแบบข้อมูลอย่างเดียว (DATA) =64kbps +64kbps

·       bps  =  bits  per  seccond  =  บิทต่อวินาที

 

โดยการหาของระบบดิจิตอลนั้น เราจะใช้ระบบ Samplig  โดยจะมีค่าเป็นสองเท่า ของ อิมพราชั่น  ความถี่  Banwit  tel (4 KHz)  =  8 KHz / s

คือภายใน 4 KHz  นั้นจะมีการ  Samplig  8000  ครั้ง  และการ  Samplig  แต่ละครั้งจะมีค่า  8  bit  ดังนั้นจะได้

                                8000 *  8  bit  =  64000  bps

                                                              =   64  kbps

 Power  Seglator   -     จะทำหน้าที่นำไฟจากคู่สายโทรศัพท์ โดยการดีเทคมาเรกูเลเตอร์  เป็นวงจรจ่ายไฟให้แก่

                                  วงจร

 

code / decode      -    code      จะทำหน้าที่เข้ารหัสแบบดิจิตอล ตามแบบของระบบของผู้ผลิตซึ่งแต่ละบริษัท

                                  จะไม่เหมือนกันจึงไม่สามารถนำโทรศัพท์แบบดิจิตอลมาแทนกันได้

                                         -     decode   จะทำหน้าที่ถอดรหัสที่เข้ามาจากสาย  ซึ่งข้อมูลที่เข้ามานั้นจะต้องเป็นแบบ

                                 เดียวกับที่ส่งออกไป และเครื่องจะต้องรู้จักจึงจะสามารถถอดรหัสออกได้

 

A / D ,  D / A         -    A / D        จะทำหน้าที่รับเอาสัญญาณที่ได้จาก  AMP เพื่อเข้ามาเปลี่ยนสัญญาณเสียงที่

                                  เข้ามาให้เป็นสัญาณแบบ Digital  ก่อนส่งออกไป

                              -    D / A        จะรับเอาสัญญาณจาก วงจรถอดรหัสมาเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียง  เพื่อนำ

                                  สัญญาณที่ได้ออกไปสู่  AMP

 

AMP                      -   จะทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้นพอที่จะแปลงเป็นสัญญาณได้ ซึ่งจะทำให้เราสามารถได้

                                  ยินเสียงสนทนาชัดเจน

 

Control  unit             -   จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของวงจรทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็น  Code / Decode ,  A / D ,

                                 D / A  ,Amp   เพื่อ ให้วงจรทำงานได้อย่างถูกต้อง

 

Display                      -   จะทำหน้าที่แสดงสถานะของเครื่องและคู่สายโดยจะรับข้อมูลมา จากส่วนควบคุมของวง

                                 จรโทรศัพท์

 

ISDN  protocal        -   เป็นบล็อคเพิ่มเติม เข้ามาเพื่อให้สามารถใช้งานโทรศัพท์แบบดิจิตอลเข้ากับระบบ ISDN 

                                 ได้เพื่อสามารถนำโทรศัพท์ ดิจิตอลไปใช้งานอย่างอื่นได้

 

ในการมอดูเลท  ที่จะใช้งานเกี่ยวกับข้อมูลอนาลอกและดิจิตอลจะคล้ายกับการบริการ โดยการมอดูเลทสามารถทำได้ 3 วิธีดังนี้

1. การมอดูเลทดิจิตอลทางขนาด  ( Amplitude  shift  keying  :  ASK ) เทียบได้กับการมอดูเลทแบบ AM

2. การมอดูเลทดิจิตอลทางความถี่  ( Frequency shift  keying  :  FSK )  เทียบได้กับการมอดดูเลทแบบ  FM

3. การมอดูเลทดิจิตอลทางเฟส  ( Phase shift  keying  :  PSK )  เทียบได้กับการมอดูเลททาง  PM

 3.  โทรศัพท์ระบบ  ISDN

 

                “ บริการ  ISDN  เทคโนโลยีล้ำยุคแห่งโลกโทรคมนาคม ”

ISDN : ก้าวใหม่แห่งเทคโนโลยีของระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศ  มอบความสะดวก  รวดเร็ว  ทันสมัยในการติดต่อสื่อสารแก่ผู้ใช้บริการ  ISDN

 

ISDN   คืออะไร ?

                ISDN  หรือบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตัล  (Integrated  Services  Digital  Network)เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของระบบสื่อสารโทรคมนาคม  ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา  เพื่อให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง  ข้อมูล  ภาพ  เป็นระบบดิจิตัลในคู่สาย ISDN เดียวกันได้อย่างสมบูรณ์  ด้วยความเร็วต่อวงจรสูงถึง  64  kbps  (กิโลบิต/วินาที  )ส่งผลให้คุณภาพของ  เสียง ข้อมูล  ภาพ  ที่ส่งผ่านระบบ ISDN มีความชัดเจนถูกต้อง  รวดเร็ว  เป็นที่ยอมรับ ในระดับสากล  ดังนั้นบริการ ISDN จึงเหมาะสมกับการติดต่อสื่อสารของผู้ใช้บริการสื่อสารโทรคมนาคมที่ต้องการความสะดวก  รวดเร็ว  ทันสมัย และคล่องตัว  ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูล  ข่าวสารทุกรูปแบบที่จำเป็นในการตัดสินใจ ได้อย่าง  ครบถ้วน  รวดเร็ว  และทันต่อเหตุการณ์ใจโลกธุรกิจ

 

ประสิทธิภาพของบริการ ISDN

รายการ

ISDN

SPC

 

1.  สัญญาณที่ส่ง

ดิจิตอล

อนาล็อก

 

2.   ความเร็ว

เท่ากับหรือมากกว่า 64 Kbps

น้อยกว่า 64 Kbps

 

3.   การใช้งานอุปกรณ์ในคู่สาย

2 อุปกรณ์พร้อมกัน

1 อุปกรณ์

 

4.   ชนิดของสัญญาณที่ใช้งาน

เสียงข้อมูล และภาพ

เสียงข้อมูล

 

 

                จากตารางจะแสดงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของบริการ ISDN กับระบบโทรศัพท์ธรรมดา (Store Program Control-SPC) ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันให้เห็นความตกต่างได้ดังต่อไปนี้คือ

1.   สัญญาณที่ส่ง (ระหว่างผู้ใช้บริการจนถึงชุมสาย) ระบบ ISDN จะมีการส่งสัญญาณเป็นระบบ ดิจิตอลตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสารต้นทางส่ง ต่อไปยังชุมสายต้นทาง แล้วส่งสัญญาณดิจิตอลต่อเนื่องเรื่อยไปจนถึงชุมสายปลายทางก้จะส่งสัญญาณดิจิติลนี้ไปให้ถึงอุปกรณ์สื่อสารปลายทาง เรียกว่าเป็นการสื่อสารในรูปแบบ End-to End Digital ข้อดีของการส่งสัญญาณดิจิตอลในรูปแบบนี้ทำให้ขอมูลข่าวสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงข้อมูลและภาพ ส่งถึงปลายทางมีความถูกต้อง ชัดเจน ครบถ้วน สมบูรณ์ ลดปัญหาที่เกิดจากสัญญาณ รบกวนในคู่สายได้ดีกว่าระบบโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้กันอยู่ ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกจากอุปกรณ์ต้นทางเป็นสัญญาณอนาล็อกไปยัง ชุมสายต้นทางชุมสายจะแปลงสัญญาณเป็นดิจิตอลส่งต่อเรื่อยไปจนถึงชุมสายปลายทางจะแปลงสัญญาณดิจิตอลกลับเป็นสัญญาณ อนาลอกส่งไปยังอุปกรณ์ปลายทาง ซึ่งการส่งสัญญาณรูปแบบนี้ในระบบ Spc ปัญหาที่เกิดขึ้นนจะเกิดจากสัญญาณรบกวนในคู่สายขณะที่ส่งเป็ฯสัญญาณอนาล็อกทำให้ข้อมูลลข่าวสารต่าง ๆ ที่ส่งไปถึงปลายทางสำเนาเอกสารที่รับที่เครื่องปลายทางมัปัญหาเช่น โทรศัพท์มีสัญญาณรบกวน มีเสียงซ่า โทรสารส่งไปถึงปารยทางสำเนาเอกสารที่รับที่เครื่องปลายทางมีปัญหาเช่น โทรศัพท์มีสัญญาณรบกวนมีเสียงซ่า โทรสารส่งไปถึงปลายทางสำเนาเอกสารที่รับที่เครื่องปลายทางมีปัญหาเช่น ภาพมัว ไม่ชัด ได้รับไม่ครบหน้า ส่วนข้อมูลที่ส่งไปถึงปลายทางเกิด Error นำไปใช้งานไม่ได้เหล่านี้เป็นต้น  (ดูรูปปร

2.       ความเร็วที่ใช้งานผ่านระบบ ISDN  ปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารในระบบ ISDN สามารถรองรับการใช้งาน

ที่ความเร็วอย่างต่ำที่ 64 Kbps จนถึงสามารถใช้ความเร็วที่สูงสุดระดับ 2.048 Mbps (เม็กกะบิดต่อวินาที, 1 Mbps เท่ากับ1000 Kbps ได้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของอุปกรณ์สื่อสารระบบ เป็นสำคัญ ความเร็วเพียง 14.4 Kbps ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้งานได้เร็วขึ้นมาอีกก็คืออุปกรณ์  Modem ใช้งานได้สูงสุดเพียง 56 Kbps แต่ในการใช้งงานจริงความเร็วไม่สามารถทำได้ตามความสามารถสูงสุดของโมเดม ที่เป็นเช่นนี้เพราะการส่งข้อมูล ผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบันซึ่งเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะเสียงเท่านั้นไม่เหมาะสำหรับการส่งข้อมูลด้วยคววามเร็ซสูงถึงแม้จะมีการพัฒนาการ สัญญาณข้อมูลให้ส่งในรูปแบบของสัญญาณเสสียงได้ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าคู่สาย โทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่จะมีสัญญาณรบกวนมากหรือน้อยเพียงใด ก็ย่อมมีผลต่อความเร็วในการรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ SPC ทำให้ไม่สามารถใช้งานสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มที่ตามความสามารถของโมเดม ได้

               

3.       คู่สายระบบ ISDN สามารถรองรับการติดตั้งอุปกรณ์สื่อสาร  เพื่อรอการใช้งานได้สูงสุด ถึง 8 อุปกรณ์

และยังสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารในคู่สาย ISDN ได้พร้อมกันถึง 2 เครื่อง เช่น ในขณะที่มีการคใช้งานคอมพิวเตอร์เชทื่อมต่อเข่าระบบอินเตอร์เนตผ่านคู่สาย อยู่นั้นก็ยังสามารถที่จะรับสายโทรศัพท์ที่เรียกเข้ามาในคู่สาย เดียวกันได้ทันที โดยอินเตอร์เนตที่เชื่อมต่ออยู่ไม่หลุดและยังใช้งานได้ตามปกติ หรือแทนที่จะเป็นการรับสารโทรเข้าอาจจะใช้โทรศัพท์คู่สาย  ISDN ดังกล่าวโทรออกไปหาใครก็ได้ ทั้งนี้เพราะคู่สายจะมีช่องทางถึง 2 ช่องสัญญาณ แต่ละช่องสัญญาณเป็นอิสระต่อกันยกตัวอย่างเช่น ในเวลาที่อุปกรณ์เครื่อง หนึ่งเป็นคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เนตผ่านคู่สาย เดียวกันโทรออกไปหาใครก็ได้ที่เป็นหมายเลขคนละหมายเลขกับอุปกณ์สื่อสารเครื่องแรงกที่ติต่ออยู่ เข่น โทรออกไปจังหวัดเชียงใหม่ หรือในเวลาใดที่ไม่ได้มีการใช้งานอินเตอร์เนต ถ้ามีการติดตั้งโทรศัพท์ในคู่สาย ISDN เดียวกันถึง 2 เครื่อง ก็สามารถใช้งานได้ ในขณะที่การติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารในคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาจะต่อพ่วงอุปกรณ์สื่อสารกี่เครื่องก็ตาม แต่จะใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น

 

4.       คู่สาย ISDN สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งเสียงข้อมูล และภาพ เนื่องจากระบบ สามารถพัฒนา

ความเร็วในการสื่อสาร ที่สูงขึ้นจึงสามารถที่จะใช้อุปกรณ์สื่อสารพทางภาพมาใช้งานได้ ตัวอย่างเช่นปัจจุบันมีผู้ใช้บริการ เป็นจำนวนมากพอสมควรนิยมใช้อุปกรณ์ Video Conferennce  มาใช้งานผ่านคู่สาย ISDN ในขณะที่คู่สายโทรศัพท์ธรรมดาส่วนใหญ่จะใช้งานเพียงสัญญาณ ทางด้านเสียงและข้อมูลเท่านั้นเนื่องมาจากขีดจำกัดทางด้านความเร็วของระบบโทรศัพท์ ธรรมดา เป็นต้น

 อุปกรณ์เครื่องปลายทางของระบบ ISDN

                ผู้ใช้บริการ ISDN  สามารถใช้อุปกรณ์ปลายทางที่เป็นระบบ ISDN ต่อเข้ากับโครงข่ายได้ทันที  หรือใช้อุปกรณ์ปลายทางที่มีอยู่เดิม  โดยต่อผ่านเครื่องแปลงสัญญาณ (Terminal  Adapter ) ได้เช่นกัน  ซึ่งในระบบนี้  องค์การโทรศัพท์ ฯ ได้จัดอุปกรณ์เครื่องแปลงสัญญาณ  เพื่อให้บริการแก่ผู้บริการ ISDN  ได้ทันที

                อุปกรณ์เครื่องปลายทางของระบบ ISDN  ได้แก่ 

-          เครื่องโทรศัพท์ ISDN (Digital  Telephone)

 ข้อดี  เสียงดัง  ชัดเจน  ไร้เสียงรบกวน  สามรถแสดงเลขหมายต้นทางที่เรียกเข้าให้เห็นที่หน้าจอโทรศัพท์ได้

 

-          ครื่องโทรสารระบบดิจิตอล

 ข้อดี  มีความเร็วสูงกว่าโทรสารระบบธรรมดา  ( Facsimile  Group  3-G3 )  ความเร็วสูงสุด  14.4  Kbps  ถึง 3 เท่า สามารถทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง  Fax  ทางไกลได้  นอกจากนี้ สำเนาเอกสารที่ได้รับที่เครื่องปลายทางจะมีความคนชัด  ครบถ้วน  ได้ดีกว่าส่งด้วยเครื่อง  Fax ระบบธรรมดาที่ใช้งานผ่านคู่สายโทรศัพท์ธรรมดาในปัจจุบัน 

 ครื่องโทรภาพระบบ  ISDN

 

ข้อดี  เป็นโทรศัพท์รุ่นที่มีจอภาพ  โดยสามารถคุยโทรศัพท์แล้วเห็นหน้าคู่สนทนาได้

 

-          DESKTOP  VIDEO  CONFERENCE

 ข้อดี  เป็นคอมพิวเตอร์ที่นำมาต่อกล้องจับภาพ  โทรศัพท์  ต่อพ่วงรวมทั้งอุปกรณ์ ISDN  DARD  ทำให้สามารถคุยโทรศัพท์แล้วเห็นหน้าคู่สนทนาได้พร้อมทั้งใช้รับส่งข้อมูลระหว่างกันได้

  เครื่องรับส่งข้อมูลปลายทาง (Data Terminal with Terminal Adapter or  ISDN card)

 ข้อดี  มีความเร็วสูงกว่าการรับส่งข้อมูลด้วยอุปกรณ์  โมเดม  ธรรมดา ( ความเร็ว 56 Kbps แต่เวลาใช้งานจริงความเร็วจะไม่ได้ตามความสามารถของโมเดม ) ที่ใช้งานผ่านคู่สาย  โทรศัพท์ระบบธรรมดาที่ใช้กันอยู่ทั่วไป   นอกจากนี้ยังสามรถส่งสัญญาณดิจิตอล  ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ส่งผ่านระบบดิจิตอลโอกาสเกิดความผิดพลาดของข้อมูลข้าวสารจะมีน้อยกว่าส่งด้วยโมเดมแบบธรรมดา  ซึ่งยังเป็นการส่งสัญญาณอนาลอกอยู่

 

-          ตู้สาขาอัตโนมัติระบบ ISDN

 ข้อดี  เป็นอุปกรณ์ที่รองรับการติดต่อระหว่างบุคคลภายในองค์กรบริษัทหรือที่ทำงานเดียวกันโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ call  โดยตู้สาขาระบบ  ISDN  ที่มีจัดจำหน่ายในท้องตลาดจะมีทั้งตู้สาขารุ่นเล็กที่รองรับคู่สาย  BAI และตู้รุ่นใหญ่ที่รองรับ  PAI  ได้  นอกจากนั้นตู้สาขาระบบ  ISDN  สามารถรองรับการติดตั้งคู่สาย  ISDN  และคู่สายระบบธรรมดาภายในตู้เดียวกันได้

-          VIDEO  CONFERRENCEข้อดี  เป็นอุปกรณ์ประชุมทางไกลผ่านจอภาพ  โดยผู้ร่วมประชุมไม่ต้องรวมกันอยู่ในสถานที่เดียวกัน

 บริการของ ISDN

                บริการหลักมี 2 รูปแบบ

1.แบบ BAI (Basic  Access  Interface) เป็นรูปแบบการให้บริการโดยเดินสายตรงไปยังจุดที่ต้องการติดตั้งภายในสำนักงานของผู้ใช้บริการด้วยคู่สายเคเบิ้ลทองแดงโดยคู่สาย ISDN แบบ BAI 1 คู่สายสามารถรองรับอุปกรณ์ปลายทางชนิดต่างๆ ที่จะติดตั้งใช้งานได้ถึง 8 เครื่อง และสามารถใช้งานพร้อมกัน 2 เครื่อง เพราะภายในคู่สาย ISDN แบบ BAI นี้ประกอบด้วยช่องสัญญาณสื่อสาร 2 ช่อง แต่ละอุปกรณ์สื่อสารสามารถติดต่อสื่อสาร ด้วยความเร็วสูงถึง 64 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) ทำให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว และเพิ่มความสะดวกในการใช้งานบริการชนิดนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง

 2.แบบ  PRI (Primary  Rate  Interface)  เป็นรูปแบบการให้บริการโดยการวางเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ไปยังตู้สาขาอัตโนมัติ (ISDN PABX) ของผู้ใช้บริการภายในคู่สาย ISDN แบบ PRI มีช่องสัญญาณของผู้ใช้บริการภายในคู่สาย ISDN สื่อสารอยู่ถึง 30 ช่องสัญญาณ แต่ละช่องรับส่งสัญญาณด้วยความเร็วช่องละ 64 Kbps ซึ่งความเร็วของแต่ละช่อง สามารถมัลติเพล็กซ์เข้าด้วยกันแล้วส่งไปในคู่สายด้วยความเร็วสูงสุด 2.048 Mbps (เม็กกะบิตต่อวินาที) บริการนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการรับส่งข้อมูลข่าวสาร ปริมาณมากด้วยความเร็วสูง

 4. ระบบสื่อสัญญาณโทรศัพท์

 

1. โทรศัพท์พื้นฐานแบบแหล่งจ่ายประจำเครื่อง  (Local Battery Telphone System)

 รศัพท์แบบแบตเตอรี่ประจำเครื่องมีลักษณะสำคัญดังนี้คือ

-          มีแบตเตอรี่ขนาด  3 โวลท์ ประจำอยู่ที่เครื่องโทรศัพท์ทุกเครื่องและมีที่ตู้สลับสายด้วย

-          มีแหล่งกำเนิดสัญญาณที่เรียกว่า Magneto  Genrator  ประจำอยู่ที่เครื่องโทรศัพท์ทุกเครื่องและมีที่ตู้สลับสายด้วย

-          การเรียกจะต้องเรียกผ่านตู้สลับสาย  โดยพนักงานโทรศัพท์กลางเป็นผู้ต่อเรียกให้  แต่ถ้าโทรศัพท์ทั้งสองเครื่องต่อเข้าหากันโดยตรง การเรียกจะเรียกเข้าหากันโดยตรงก็ได้

การทำงานของโทรศัพท์แบบแบตเตอรี่ประจำเครื่อง จะมีการแยกแบตเตอร์รี่ของเครื่อง

โทรศัพท์แต่ละเครื่องถูกตัดออกจากกันดังนั้นที่จุดSwitcherจึงไม่มีSupplyต่ออยู่ถ้าที่จุดAต้องการติดต่อBตัวSwitcherก็จะทำการส่งสัญญาณกระดิ่งไปที่จุดBเมื่อมีคนรับสายก็จะทำการเชื่อมต่อกันในขณะที่พูดอยู่โทรศัพท์แต่ละเครื่องก็จะใช้แบตเตอร์รี่ของแต่ละเครื่องในขณะที่ Aพูดค่า ค.ต.ท ของ Tx A ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณเสียงพูดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำผ่าน Ta ออกไปที่ยังสายโทรศัพท์ผ่านตัวSwitcherและส่งต่อไปที่ผู้รับBโดยจะเห็นว่าในขณะที่พูดอยู่จะทำให้เกิดสัญญาณ Side Toneรบกวนผู้พูดอยู่ดังนั้นในการใช้งานจริงจึงต้องมีส่วนของวงจรป้องกันคื่อ Bridge Type และ Booster Typeซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

 จากวิธีการใช้โทรศัพท์แบบแบตเตอรี่ประจำเครื่อง  จะเห็นว่ายุ่งยากมากเพราะในการเรียกแต่ละครั้งผู้ใช้โทรศัพท์จะต้องหมุน Magneto  Genrator  ถึงสองครั้ง  ทำให้ไม่สะดวกในการต่อใช้งานเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้แบตเตอรี่ขนาด  3 โวลท์  ที่ป้อนปากพูดและหูฟัง ก็ต้องตรวจสอบกันอย่างสม่ำเสมอ

 โทรศัพท์พื้นฐานแบบระบบแหล่งจ่ายรวม Common Battery Telphone System

 โทรศัพท์ระบบแบตเตอรี่ร่วมมีลักษณะที่สำคัญดังนี้คือ

-          มีแบตเตอรี่และแหล่งกำเนิดสัญญาณเรียก  ( Ringing  Source ) อยู่ที่ตู้สลับสายเพียงแห่งเดียว

-          การเรียกระหว่างเครื่องโทรศัพท์สองเครื่อง ต้องเรียกผ่านตู้สลับสายโดยพนักงานโทรศัพท์กลางจะเป็นผู้ที่ต่อให้เท่านั้น   การทำงานในส่วนของวงจรโทรศัพท์แบบ แบตเตอร์รี่ร่วมโดยที่เครื่องโทรศัพท์แต่ละเครื่องนั้นจะไม่มีภาคจ่ายไฟเป็นของตัวเองโดยหลักการทำงานจะเหมือนกับโทรศัพท์แบบแบตเตอร์รี่ประจำเครื่องเพียงแต่ว่าจะใช้แบตเตอร์รี่จากSwitcherแทนเมื่อที่จุดAต้องการติดต่อที่จุดBชุมสายจะทำการส่งสัญญาณกระดิ่งไปยังผู้รับและเมื่อผู้รับยกหูขึ้นชุมสายจะทำการต่อเชื่อมAและBเข้าด้วยกันดังนั้นจะเห็นว่ากระแสไฟฟ้าจากแบตเตอร์รี่ที่ชุมสายจะไหลผ่านTxa และTxb เมื่อผู้เรียกAพูด Txa เกิดการสั่นสะเทือนทำให้ ค.ต.ท เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นผลทำให้ค่ากระแสที่ไหลผ่านระบบเปลี่ยนแปลงไปตามการสั่นสะเทือนของ Txa เกิดการเหนี่ยวนำไปยังTaและTbทำให้เกิดเสียงพูดที่Rxทั้งจุดAและBด้วยวิธีการนี้ก็ยังจะเกิดสัญญาณSide Tone รบกวนอยู่เช่นเคย

         จากทั้งสองวงจรจะเห็นความแตกต่างระหว่างทั้งสองระบบคือ Local Battery และแบบCommon Batteryคือในสายโทรศัพท์แบบแบตเตอร์รี่ประจำเครื่องนั้นจะไม่มีกระไฟฟ้ากระแสตรงไหลผ่านในสายโทรศัพท์ของระบบนี้เลยเพราะว่ากระแสไฟฟ้ากระแสตรงที่อยู่ภายในเครื่องโทรศัพท์ของผู้เช่าไม่สามารถทำให้เกิดการเหนี่ยวนำผ่านหม้อแปลงออกมาได้แต่จะมีเพียงสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่า ค.ต.ท ที่มาจากTxเท่านั้นส่วนในระบบแบตเตอร์รี่ร่วมนั้นก็จะตรงกันข้ามกับระบบแบตเตอร์รี่ประจำเครื่องคือจะมีไฟฟ้ากระแสตรงไหลผ่านในระบบอยู่ตลอดเวลาตราบที่ชุมสายยังทำการเชื่อมต่อผู้เช่าทั้งสองผ่ายเข้าด้วยกัน

 

                ปัจจุบันโทรศัพท์แบบแบตเตอรี่ร่วมยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่เป็นตู้สาขา  ( PABA)  เพราะมีราคาถูกมาก  การซ่อมบำรุงไม่ยุ่งยากและอะไหล่ก็หาได้ง่าย 

 

 5.      ระบบสัญญาณโทรศัพท์

 

                สัญญาณ Tone

                ในการใช้งานโทรศัพท์จะได้ยินเสียง Tone ในรูปแบบต่าง ๆ กันทั้งนี้แต่ละเสียง Tone นั้นจะสื่อความหมายถึงความพร้อมของชุมสายต่าง ๆ กันไป เช่น ซึ่งมีดังนี้

 

1.       Dial Tone เป็นสัญญาณเสียงที่แจ้งว่าชุมสายพร้อมให้ผู้เช่าใช้งานได้ โดย

ลักษณะจะดังต่อเนื่องที่ความถี่ 425 Hz ผสมด้วย 50 Hz ประมาณ 30 วินาที

                  2.  Ring Back Tone เป็นสัญญาณเสียงที่ดังในหูฟังของผู้เรียกทั้งนี้จะสอดคล้องกับสัญญาณ Ringing Tone ลักษณะจะเป็นความถี่ 425 Hz จะมีจังหวะ 1 secON และ0.1 sec OFF อย่างต่อเนื่อง

                  3. Ringing Tone เป็นสัญญาณกระดิ่งดังที่เครื่องโทรศัพท์ที่ฝ่ายรับ โดยลักษณะจะเป็น Sine wave แรงดันที่  90 V ความถี่ 25 Hz จะมีจังหวะ 1 sec On และ 4 OFF อย่างต่อเนื่อง

                4.  Non-Number หมายเลขที่ทำการเรียกไปไม่สามารถติดต่อได้เช่นไม่มีหมายเลขในระบบ หรือยังไม่เปิดให้บริการ                                                                        

 5.  Busy Tone เป็นสัญญาณเสียงที่แจ้งว่าชุมสายไม่พ้อมหรือผู้เช่าปลายสายไม่ว่าง โดยลักษณะจะดังเป็นจังหวะ 0.5 sec ONและ 0.5 sec OFF 425Hz อย่างต่อเนื่อง

                 6.  Spacial Tone เป็นสัญญาณตอบรับการทำงานในโหมดฟังก์ชั้นพิเศษบางอย่าง                                                         

                             กลับหน้าหลัก

 

Hosted by www.Geocities.ws

1