3| | |การประยุกต์ใช้ Digital Twin| | |4


Digital Twin ในอุตสาหกรรม
		Chevron เป็นหนึ่งบริษัทใหญ่ที่นำ Digital Twin มาใช้งาน โดยเน้นไปที่การตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ในบ่อเจาะน้ำมันและโรงกลั่นแบบ Real-time ทำนายเวลาที่ต้องซ่อมบำรุงและวางแผน
     เพื่อกำหนดเวลาในการซ่อมบำรุงให้น้อยที่สุดโดยไม่เบียดเบียนการดำเนินงานโดยในปี 2024 พวกเขาวางแผนจะนำ Digital Twin เข้ามาใช้ในอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินการทั้งหมด 
     ซึ่งคาดการณ์ว่าอาจช่วยลดต้นทุนได้หลายล้านเหรียญสหรัฐฯ
		ด้านสิงคโปร์ได้กลายเป็นประเทศที่มี Digital Twin ของทั้งประเทศเป็นที่แรกของโลกในปี 2018 ด้วยการจับมือกับ Dassault Systèmes ในการพัฒนาโมเดลจำลองของทั้งเมืองที่จะช่วยเฝ้าระวังภัยพิบัติ 
     วางผังเมืองและจัดการพื้นที่ในเมือง เช่น วางแผนสร้างที่จอดรถตามจำนวนผู้อยู่อาศัยในระแวกใกล้เคียง และวางแผนการปลูกต้นไม้เพื่อสร้างร่มเงา รวมไปถึงการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
	

อ้างอิง
ด้านอุตสาหกรรมการผลิต
		Digital Twins ทำให้สามารถติดตามผลิตภัณฑ์ตลอดช่วงชีวิต (Product Lifecycle) ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ การผลิต การส่งมอบ การใช้งาน และการให้บริการลูกค้า เนื่องจากมีข้อมูลทั้งในอดีต
     รวมถึงการใช้งานจริงในปัจจุบันแบบทันที ข้อมูลจากการคาดการณ์และสถานการณ์จำลอง ทำให้นำมาใช้วิเคราะห์เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการทำงานและพัฒนาการให้บริการหลัง การขายให้มีประสิทธิภาพ
     มากขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาจากฝั่งผู้ผลิตโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปพบลูกค้า
	

อ้างอิง
ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์
		Digital Twin ถูกนำมาใช้งานโดยมีบทบาทในการช่วยวิเคราะห์ คำนวณความเสี่ยงเพื่อออกแบบยานยนต์ รวบรวมข้อมูลพฤติกรรมและการดำเนินงานของยานยนต์เพื่อสร้างโมเดลเสมือนจริง
     พร้อมทั้งประเมินความเสียหายพร้อมเสนอวิธีลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
	

อ้างอิง
ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์
		 ใช้การติดเซ็นเซอร์ให้กับคนไข้เพื่อส่งสัญญาณและรวบรวมข้อมูลด้านสภาพร่างกาย โรคและการรักษารวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ มาสร้างเป็นร่างกายเสมือนของผู้ป่วยซึ่งทำให้แพทย์สามารถ
     ติดตามและตรวจสอบอาการคนไข้รวมไปถึงหาวิธีรักษาโรคให้มีความเสี่ยงน้อยสุดแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้
	

อ้างอิง
ด้านอุตสาหกรรมค้าปลีก
		 Digital Twin มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มประสบการณ์ลูกค้า รายย่อยด้วยการสร้างแบบจำลองแฟชั่นที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังช่วยในการวางแผนการติดตั้งใช้งานด้านความปลอดภัย
     และการจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
	

อ้างอิง
ด้านโครงสร้างพื้นฐานและเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
		ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งตามจุดในบริเวณที่ต้องการศึกษามาช่วยวิเคราะห์การจัดสรรทรัพยากรและวางผังเมือง รวมไปถึงระบบการจัดการต่างๆ เช่น การบริหารน้ำเสีย เป็นต้น
	

อ้างอิง