3| | |ความเป็นมาของ Digital Twin| | |4



อ้างอิง
จุดเริ่มต้นของ Digital Twin
		ต้นแบบของ digital twin ถูกนำมาทดลองใช้ครั้งแรกในช่วงปี 1970 โดย NASA จากเคสที่โด่งดังอย่างยาน Apollo 13 ที่ถังออกซิเจนได้ระเบิดระหว่างภารกิจ ทว่าโชคยังดีที่ทุกสถานการณ์เกี่ยวกับ
     ยานลำนี้ได้ถูกจำลองไว้แล้วก่อนออกเดินทาง ทำให้เหล่าวิศวกรภาคพื้นสามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้แม้ว่าจะอยู่ห่างกว่า 200,000 ไมล์ห่างออกไป แน่นอนว่าหลังจากที่เทคโนโลยีสามารถเข้าถึง
     ได้ง่ายมากขึ้น digital twin ก็ได้ถูกนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ทั้งในด้านการซ่อมบำรุง ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์  ตลอดจนการวางแผนระบบการผลิต ซึ่งบทบาทของ digital twin ก็ได้เริ่ม
     เข้ามามีความสำคัญมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา Gartner ได้คาดการณ์ไว้ว่าการใช้งานเทคโนโลยีนี้จะเพิ่มขึ้นกว่าถึง 3 เท่าภายในปี 2022 ก่อนหน้าที่จะมาเป็น digital twin ในยุคแรก สิ่งของกายภาพ ยกตัวอย่าง
     เช่น เครื่องจักร ยังไม่ได้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ ทำให้มีเฉพาะฃส่วนที่เป็น physical เท่านั้น ส่งผลให้การตรวจสอบและการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ ต่อยอดและพัฒนาเป็นไปได้ยากและ
     ใช้เวลามาก ในยุดถัดมาจึงได้เริ่มมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อช่วยในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล แต่ยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อทั้งสองระบบเข้าหากัน แปลว่ายังต้องอาศัยมนุษย์เป็นหลักในการป้อน
     ข้อมูลเข้าไปเพื่อใช้ในการวิเคราะห์แต่เมื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของเซ็นเซอร์ที่มาพร้อมกระแส IoT  จึงทำให้การตรวจสอบและติดตามสถานะ และการเก็บข้อมูลของเครื่องจักร
     เป็นไปได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น และเมื่อนำเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้มาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ อย่าง big data จึงทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่าง ๆ มาไว้เป็นหนึ่งเดียวแล้วจำลองฝาแฝดของ
     สิ่งของนั้นๆ ออกมาได้เป็น digital twin ที่สมบูรณ์ในที่สุด
อ้างอิง
Digital Twin คือ
Digital Twin เป็นชื่อเรียกของแนวคิดการทำสำเนาหรือแบบจำลองของสิ่งต่างๆทางกายภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากการบูรณาการเทคโนโลยีหลายอย่าง เช่น AI Algorithm, IoT, Cloud Computing และเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าด้วยกัน ทว่า Digital Twin เหล่านี้ไม่เพียงเป็นภาพจำลองที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังมีกลไกเชื่อมต่อกับวัตถุของจริงผ่านระบบเซ็นเซอร์ที่คอยเก็บข้อมูลสถานะทางกายภาพของวัตถุ แบบ Real-time ทำให้แบบจำลองนั้นเป็นเสมือนการย้ายวัตถุไปไว้ในโลกดิจิทัลนั่นเอง
เมื่อมีแบบจำลองวัตถุที่สมจริง สิ่งที่ตามมาคือความสามารถในการตรวจสอบสถานะของวัตถุอย่างละเอียดโดยมีสื่อที่เป็นภาพคอยนำทางและความสามารถในการจำลองสถานการณ์ขึ้นว่า หากสภาพแวดล้อม หรือสถานะจุดใดจุดหนึ่งภายในตัววัตถุเปลี่ยนไป จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างกับวัตถุ โดยที่มากไปกว่านั้นคือ Digital Twin ของวัตถุแต่ละชิ้นนั้นเราย่อมสามารถนำมาเชื่อมต่อกันให้ กลายเป็นระบบจำลองขนาดย่อมๆได้ ทำให้เราสามารถจำลองสถานการณ์และทำนายความเป็นไปได้ในภาพที่สมบูรณ์มากขึ้น
สำหรับธุรกิจ ความสามารถเช่นนี้ของ Digital Twin หมายความว่าพวกเขาจะสามารถเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำลองเหตุการณ์และวางแผนการดำเนินการ เช่น การกะเวลาที่ควรซ่อมบำรุง การสร้างสถานการณ์สมมติ การตรวจสอบการทำงานร่วมกันของเครื่องจักรหลายชิ้น เป็นต้น นอกจากนี้ Digital Twin อาจสามารถช่วยแจ้งเตือน และเริ่มดำเนินขั้นตอน ในการทำงานแบบอัตโนมัติเมื่อสถานะของวัตถุบ่งบอกว่าต้องการ Action อะไรบางอย่างต่อระบบ