เวลา:->

กฎกระทรวง

ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๑๘)

ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

_______________________________


          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๑ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

         ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๔๙๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

         ข้อ ๒ โรคซึ่งไม่สามารถจะเข้ารับราชการทหารได้ตามมาตรา ๔๑ คือ

             (๑) โรคของตา

                 (ก) ตาบอด

                 (ข) สายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาและใช้แว่นแล้วยังใช้การไม่ได้ คือ ๖/๒๔ หรือต่ำกว่านั้นทั้งสองข้าง

                 (ค) แก้วตาขุ่นทั้งสองข้าง (Bilateral Cataact)

                 (ง) กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง

                 (จ) ต้อหิน (Glaucoma)


           (๒)โรคของหู

                 (ก) หูหนวกทั้งสองข้าง หรือต้องใช้เสียงเกิน ๕๕ เดซิเบล ทุกความถี่ของคลื่นเสียงจึงจะได้ยิน
เสียงสองข้าง

                 (ข) ช่องหูมีหนองเรื้อรังทั้งสองข้าง (Chronic Otitis Media)

                 (ค) แก้วหูทะลุทั้งสองข้าง

            (๓) โรคหัวใจและหลอดเลือด

                 (ก) หัวใจหรือหลอดเลือดพิการอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง  ลิ้นหัวใจพิการ
หัวใจวายและมีเลือดคั่ง (Congestive Heart Failure)การเต้นของหัวใจผิดปกติอย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรงอะนิวริซึมของหลอดเลือดใหญ่หรือของหลอดเลือดที่อยู่ภายในกระโหลกศรีษะ

            (๔) โรคของเลือดและอวัยวะก่อกำเนิดเลือด

                (ก) โรคของเลือดหรืออวัยวะก่อกำเนิดเลือดผิดปกติอย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย

                (ข) ม้ามโตที่รักษาไม่หายและอาจเป็นอันตราย

            (๕) โรคของระบบหายใจ  วัณโรคปอด   หลอดลมอักเสบเรื้อรังพร้อมกับถุงลมโป่งพอง (Chronic Bronchitis With Emphysema)    หลอดลมขยายพอง (Bronchiectasis)   หืดหลอดลม (Bronchial Asthma)
ฝีเรื้อรังของปอด (Chronic Lugg Abscess)

             (๖) โรคของระบบปัสสาวะ  ไตอักเสบเรื้อรัง  ไตพองเป็นถุงน้ำหรือถุงหนองนิ่วในไตจนทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ
อย่างถาวร(Renal Ccalculus with permanent impairment of renal function)   ไตพองเป็นถุงน้ำแต่กำเนิด (Polycystic Kidney)

            (๗) โรคของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ  ข้ออักเสบเรื้อรังจนกระดูกเปลี่ยนรูปคอเอียงหรือแข็งทื่อเนื่องจากกระดูก
และกล้ามเนื้อพิการ (Torticollis)กระดูกสันหลังโก่งหรือคดหรือแอ่นจนเห็นได้ชัดแขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างหนึ่งอย่างใด
ผิดปกติดังต่อไปนี้

                ๑. แขน ขา มือ หรือเท้าด้วนหรือพิการถึงแม้ว่าจะรักษาด้วยวิธีใหม่ที่สุดแล้วก็ยังใช้การไม่ได้

                ๒. นิ้วชี้ของมือด้วนตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว

                ๓. นิ้วหัวแม่มือด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้ หรือนิ้วอื่น ๆ ตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไป
ในมือเดียวกันด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้

                ๔. นิ้วหัวแม่เท้าด้วน จนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้ หรือนิ้วอื่น ๆ ตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไป
ในเท้าเดียวกันด้วนจนถึงข้อปลายนิ้วหรือพิการถึงขั้นใช้การไม่ได้
             กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contracture) จนเป็นผลให้อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดใช้การไม่ได้

            (๘) โรคของต่อมไม่มีท่อ

               (ก) ธัยโรทอกซิโคซิส (Thyrotoxicosis)

               (ข) มิกซิเดม่า (Myxedema)

               (ค) เบาหวาน

               (ง) อโครเมกาลี (Acromegaly)

               (จ) โรคอ้วนพี (Obesity) ซึ่งมีน้ำหนักตั้งแต่ ๙๐ กิโลกรัมขึ้นไป

          (๙) โรคจิต โรคประสาท และโรคประสาทวิทยา

               (ก) โรคจิต หรือโรคที่ทำให้จิตผิดปกติอย่างถาวร

               (ข) จิตทราม (Mental Deficiency) เฉพาะประเภทไอดิโอซี (Idiocy) และอิมบีซิล (Imbecile)

               (ค) ใบ้ หรือพูดฟังไม่รู้เรื่องชนิดถาวร

               (ง) อัมพาตที่แขน ขา มือ หรือเท้าชนิดถาวร

               (จ) ลมบ้าหมู (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชักอย่างถาวร (Repetitive convulsions)

          (๑๐) โรคติดต่อเชื้อ  วัณโรคของอวัยวะอื่น ๆ  โรคเรื้อน  โรคเท้าช้าง

          (๑๑) โรคอื่น ๆ

               (ก) กะเทย (Hermaphrodism)

               (ข) มะเร็ง (Malignant Tumour)

               (ค) ตับแข็ง (Cirrhosis of Liver)

               (ง)  รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่

                       ๑. จมูกโหว่

                       ๒. เพดานโหว่หรือสูง ลิ้นไก่สั้นพูดไม่ชัด

                (จ) คนเผือก (Albino)

          (๑๒) โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงนี้ และนายทหารชั้นสัญญาบัตรซึ่ง
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่มีตำแหน่งสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ หรือกองทัพอากาศ แล้วแต่กรณี เห็นว่า
ไม่สามารถจะรับราชการทหารได้

           มีความเป็นข้อ ๓ เพิ่มขึ้นโดยข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ฯ ดังต่อไปนี้

           ข้อ ๓ ทหารกองประจำการ ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนผู้ใดมีโรคตามที่กำหนดในข้อ ๒ (๑) (ก) ก่อน
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ แต่ไม่ก่อนวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ให้ถือว่าผู้นั้นมีโรคซึ่งไม่สามารถจะ
รับราชการทหารได้ตามมาตรา ๔๑

                            ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๘


                                                                 พลตรี ป.อดิเรกสาร

                                                          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม


                                                                  บุญเท่ง ทองสวัสดิ์

                                                         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

กฎกระทรวง

ฉบับที่ ๗๓ (พ.ศ. ๒๕๓๖)

ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

___________________________


         อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๙ (๓) และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

         ข้อ ๑ ให้ยกเลิก

(๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๘ (พ.ศ. ๒๕๑๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๑๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๓) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๔ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๔) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๕) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๖) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๑๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๗) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๘) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๙) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๐) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๗ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๓) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕๙ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๔) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๕) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๖) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๓ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๗) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๘) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๑๙) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๖ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๒๐) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๐ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

(๒๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

        ข้อ ๒ บุคคลซึ่งจะได้รับการผ่อนผันตามมาตรา ๒๙ (๓) คือ

            (ก) นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐดังต่อไปนี้

                (๑) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                (๒) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                (๓) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                (๔) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                (๕) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

                (๖) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                (๗) มหาวิทยาลัยนเรศวร

                (๘) มหาวิทยาลัยบูรพา

                (๙) มหาวิทยาลัยมหิดล

                (๑๐) มหาวิทยาลัยรามคำแหง เฉพาะผู้ซึ่งมีผลการศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยสอบไล่ได้ภาคละไม่น้อยกว่า
เก้าหน่วยกิตทุกภาคติดต่อกัน   เว้นแต่ภาคใดขาดสอบเพราะเหตุสุดวิสัยซึ่งมหาวิทยาลัยรับรอง

                (๑๑) มหาวิทยาลัยศิลปากร

                (๑๒) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

                (๑๓) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                (๑๔) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

                (๑๕) สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้

                (๑๖) สถาบันเทคโนโยลีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

                (๑๗) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

                (๑๘) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

                (๑๙) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

                (๒๐) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

                (๒๑) วิทยาลัยครู สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ แต่สำหรับการศึกษาภาคนอกเวลา ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งมีผลการศึกษาโดยสอบไล่ได้ภาคละไม่น้อยกว่าเก้าหน่วนกิตทุกภาคติดต่อกัน เว้นแต่ภาคใดขาดสอบ
เพราะเหตุสุดวิสัยซึ่งสถาบันการศึกษารับรอง

          ทั้งนี้ ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ไม่สูงกว่าชั้นปริญญาโทและผ่อนผันให้จนถึงอายุครบ
ยี่สิบหกปีบริบูรณ์ เว้นแต่นิสิตหรือนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ผ่อนผันให้ในระหว่างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถาบัน
ทางแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาติเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมอีกหนึ่งปี

          (ข) นักศึกษามหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ดังต่อไปนี้

                 (๑) มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ

                 (๒) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

                 (๓) มหาวิทยาลัยพายัพ

                 (๔) มหาวิทยาลัยรังสิต

                 (๕) มหาวิทยาลัยศรีปทุม

                 (๖) มหาวิทยาลัยสยาม

                 (๗) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

                 (๘) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

                 (๙) สถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก)

                 (๑๐) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

          ทั้งนี้ ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรหรือปริญญาที่ไม่สูงกว่าชั้น
ปริญญาโทและผ่อนผันให้จนถึงอายุครบยี่สิบหกปีบริบูรณ์ เว้นแต่นักศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ผ่อนผันให้ในระหว่างปฏิบัติงานใน
โรงพยาบาลหรือสถาบันทางแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วย
วิชาชีพเวชกรรมอีกหนึ่งปี

           (ค) นักเรียนหรือนักศึกษาโรงเรียนอาชีพหรือวิทยาลัย สังกัดหรืออยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง หรือองค์การของรัฐดังต่อไปนี้

                (๑) กระทรวงกลาโหม ได้แก่โรงเรียนช่างฝีมือทหาร

                (๒) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่

                      ๑. โรงเรียนการชลประทาน

                      ๒. โรงเรียนป่าไม้แพร่

                      ๓. โรงเรียนสัตว์แพทย์

                (๓) กระทรวงคมนาคม ได้แก่

                      ๑. ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี

                      ๒. โรงเรียนอุตุนิยมวิทยา

                (๔) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ

                (๕) กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่

                      ๑. สถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาทุกระดับซึ่งเรียนตามหลักสูตรที่เปิดสอนไม่น้อยกว่าหนึ่งปีการ
ศึกษา

                      ๒. โรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

                      ๓. วิทยาลัยช่างศิลป์ สังกัดกรมศิลปากร

                      ๔. วิทยาลัยนาฎศิลป์ สังกัดกรมศิลปากร

                      ๕. วิทยาลัยพลศึกษา สังกัดกรมพลศึกษา

               (๖) กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่

                      ๑. นักเรียนกายอุปกรณ์

                      ๒. นักเรียนผู้ช่วยพยาบาล

                      ๓. นักเรียนพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์

                      ๔. นักศึกษาพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์

                      ๕. โรงเรียนเจ้าพนักงานเภสัชกรรม

                      ๖. โรงเรียนเจ้าพนักงานรังสีการแพทย์

                      ๗. โรงเรียนเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาพยาธิวิทยา

                      ๘. โรงเรียนเซลล์วิทยา

                      ๙. โรงเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์

                      ๑๐. โรงเรียนผู้ช่วยเภสัชกร

                      ๑๑. โรงเรียนเวชสถิติ

                      ๑๒. วิทยาลัยการสาธารณสุข

                      ๑๓. วิทยาลัยพยาบาล

               (๗) ทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่

                       ๑. นักเรียนผู้ช่วยพยาบาล

                       ๒. วิทยาลัยเกษมบัณฑิต

                       ๓. วิทยาลัยคริสเตียน

                       ๔. วิทยาลัยเซนต์จอห์น

                       ๕. วิทยาลัยบัณฑิตพิษณุโลก

                       ๖. วิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร

                       ๗. วิทยาลัยพยาบาลเซนต์หลุยส์

                       ๘. วิทยาลัยภาคกลาง

                       ๙. วิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                       ๑๐. วิทยาลัยมหานคร

                       ๑๑. วิทยาลัยมิชชัน

                       ๑๒. วิทยาลัยโยนก

                       ๑๓. วิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

                       ๑๔. วิทยาลัยศรีโสภณ

                       ๑๕. วิทยาลัยสยามบัณฑิต

                       ๑๖. วิทยาลัยแสงธรรม

                       ๑๗. วิทยาลัยหัวเฉียว

                       ๑๘. วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

                (๘) การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ

                (๙) การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้แก่ โรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม

                (๑๐) วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ได้แก่ นักเรียนผู้ช่วยพยาบาลและนักศึกษาพยาบาล

                (๑๑) สภากาชาดไทย ได้แก่ โรงเรียนรังสีเทคนิค

            ทั้งนี้ ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรหรือปริญญาตรี หรือวิทยฐานะ
ซึ่งทางราชการรับรองว่าเทียบได้ไม่สูงกว่าชั้นปริญญาตรีและผ่อนผันให้จนถึงอายุครบยี่สิบหกปีบริบูรณ์

           (ง) นักเรียนโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่

            นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดหรือในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ
มหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยโดยให้ได้รับการผ่อนผันจนสำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ไม่เกินอายุยี่สิบสองปีบริบูรณ์

           ข้อ ๓ ให้เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย สถาบัน โรงพยาบาล หรือวิทยาลัยของรัฐ กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่อ
อย่างอื่นและมีฐานะเทียบเท่ากรม หรือองค์การของรัฐ แล้วแต่กรณี ส่งรายชื่อบุคคลที่จะได้รับการผ่อนผันตาม ข้อ ๒ ไปยังผู้ว่า
ราชการจังหวัดซึ่งผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะต้องตรวจเลือกเข้ากองประจำการ
          ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียด้วย

           ข้อ ๔ ให้เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย สถาบัน และวิทยาลัย แล้วแต่กรณีซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดม
ศึกษาเอกชน ส่งรายชื่อบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันตามข้อ ๒ ต่อทบวงมหาวิทยาลัยและให้ทบวงมหาวิทยาลัยส่งรายชื่อบุคคล
ดังกล่าวไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะต้องตรวจเลือกเข้ากอง
ประจำการ


                             ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๓๖

                                                                 พลเอก วิจิตร สุขมาก

                                                          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

                                                                พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

                                                          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๐ ตอนที่ ๓๘ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๖)

กลับหน้าแรก


 

Hosted by www.Geocities.ws

1