หน้าแรก ทำเนียบเจ้าหน้าที่ มาตรฐานข้อกำหนด ถาม-ตอบความปลอดภัย กฎหมายความปลอดภัย ชมรมความปลอดภัย อ่านคำแนะนำติชม

SA 8000 กับการส่งออก

SA8000 กับการส่งออก
SA 8000 คือมาตรฐานที่ว่าด้วย "ความรับผิดชอบต่อสังคม" หรือ "Social Accountability"
SA 8000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้น เพื่อทำการตรวจประเมินสภาพ การใช้แรงงาน การว่าจ้างแรงงาน รวมถึงความปลอดภัย สุขอนามัยและ สภาพแวดล้อม ในสถานที่ทำงาน ของสถานประกอบการต่างๆ เพื่อเป็นหลัก ประกันว่าผู้ผลิต (โรงงาน) ได้ปฏิบัติตาม "ข้อกำหนดสากล" ทางด้านแรงงาน และ สวัสดิการ
ข้อกำหนดที่ระบุไว้ใน SA 8000 จะสอดคล้องกับกฎหมาย หรือ อนุสัญญาของ
"องค์การแรงงานระหว่างประเทศ" (ILO : International Labour Organization) และกฎหมายแรงงาน ของประเทศนั้นๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถนำ ไปปรับ สภาพการจ้างแรงงาน (Employment Condition) ให้เป็น ธรรม และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน (Working Environment) ให้ เหมาะสมและปลอดภัย อันแสดงถึง "ความรับผิดชอบต่อสังคม" ของผู้ผลิต รายนั้นๆ
สาเหตุที่ต้องมีการกำหนดมาตรฐาน SA 8000 ขึ้น ก็เพราะหน่วยงาน และองค์กรระหว่างประเทศ ได้ตรวจพบว่า ผู้ผลิตสินค้าหรือบริการ จำนวนไม่ น้อย (ที่ผลิตเพื่อการส่งออก ไปยังกลุ่มประเทศยุโรป และสหรัฐอเมริกา) ยัง มีการละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน หรือสิทธิของลูกจ้างแรงงาน และไม่ได้ปฏิบัติ ตามกฎหมาย แรงงานสากล (กฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ)
อีกทั้งปรากฏว่ายังไม่มี มาตรฐานการตรวจประเมิน ที่มีประสิทธิภาพ เพียงพอที่จะ ตรวจประเมินโรงงานผู้ผลิต หรือบริษัทผู้ส่งออกว่า ได้ปฏิบัติต่อ ลูกจ้างแรงงาน อย่างเป็นธรรมตามข้อกำหนด และมาตรฐานสากลหรือไม่ จึง ได้ร่วมกันกำหนด "มาตรฐาน SA 8000" ขึ้น โดยอาศัยแนวความคิด และหลัก การจาก "ระบบการบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9000" เป็นบรรทัดฐาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐาน SA 8000 ก็คือ CEPAA (Council on Economic Priorities Accreditation Agency) ที่มี สำนักงาน ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
มาตรฐาน SA 8000 ฉบับแรกจึงเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1997
องค์กร CEPAA หรือ SAI (Social Accountability International) จะ เป็นหน่วยงาน ที่ให้การรับรองแก่ "บริษัทที่เป็นผู้ออกใบรับรองมาตรฐาน" (Certification Body : CB) เพื่อทำการตรวจประเมิน (audit) ผู้ผลิต ตามคำร้อง ขอของ "ผู้นำเข้า" หรือตามคำร้องขอ ของโรงงานผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกเอง เพื่อ ออก "ใบรับรองมาตรฐาน SA 8000"
มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม SA 8000 จะมีข้อกำหนดหลัก รวม 9 ข้อด้วยกัน อันได้แก่
1. แรงงานเด็ก
2. แรงงานบังคับ
3. สุขภาพและความปลอดภัย
4. เสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการเจรจาต่อรอง
5. การเลือกปฏิบัติ
6. การลงโทษทางวินัย
7. ชั่วโมงการทำงาน
8. ค่าตอบ แทน และ
9. ระบบการบริหารจัดการ
ข้อกำหนดที่ 1 ว่าด้วย "แรงงานเด็ก" (Child Labour) กำหนดให้บริษัท ผู้ผลิต ต้องไม่กระทำ หรือสนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก (บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี) และต้องไม่ให้เด็ก หรือแรงงานวัยรุ่นอยู่ในสภาวะที่มี อันตราย ไม่ปลอดภัย หรือไม่ถูกสุขอนามัย ทั้งภายใน หรือภายนอกสถานที่ ทำงาน
ข้อกำหนดที่ 2 ว่าด้วย "แรงงานบังคับ" (Forced Labour) กำหนดให้ บริษัทผู้ผลิต ต้องไม่กระทำ หรือสนับสนุนการใช้แรงงาน (ที่ถูก) บังคับหรือถูก เกณฑ์ หรือต้องไม่กำหนดให้แรงงาน วางเงินประกัน หรือมอบบัตรประจำตัว ให้แก่บริษัทเมื่อเริ่มจ้างงาน
ข้อกำหนดที่ 3 ว่าด้วย "สุขภาพและความปลอดภัย" (Health and Safety) กำหนดให้บริษัทผู้ผลิต ต้องตระหนักถึงลักษณะ ของอุตสาหกรรม และ อันตรายต่างๆที่มีอยู่ และจัดให้มีสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่ปลอดภัย และถูกสุขอนามัย และต้องดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุ และการป้องกันสุข ภาพ เพื่อมิให้บุคลากร ได้รับอันตรายที่เกิดจาก หรือเกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยการลดปัญหา ที่เป็นสาเหตุของอันตราย ที่อยู่ในสภาพแวดล้อม ให้เหลือ น้อยที่สุด เท่าที่สามารถปฏิบัติได้ อย่างสมเหตุสมผล
นอกจากนี้ บริษัทยังต้องแต่งตั้ง ผู้แทนผู้บริหารระดับอาวุโส ให้รับผิด ชอบ เรื่องสุขภาพและความปลอดภัย ของบุคลากรทั้งหมด และรับผิดชอบใน การดำเนินการ เรื่องสุขภาพและความปลอดภัย ทุกเรื่องที่กำหนด ในมาตร ฐาน
บริษัทต้องจัดให้บุคลากรทั้งหมด ได้รับการฝึกอบรมเรื่องสุขภาพ และ ความปลอดภัย เป็นประจำ และมีการบันทึกไว้ด้วย และให้มีการฝึกอบรมนี้ซ้ำ แก่พนักงานเข้าใหม่ และพนักงานที่เปลี่ยนหน้าที่ใหม่ด้วย
ข้อกำหนดที่ 4 ว่าด้วย "เสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการร่วมเจรจา ต่อรอง" (Freedom of Association and Right to Collective Bargaining) กำหนดให้บริษัทต้องเคารพ ในสิทธิของบุคลากรทั้งหมด ในการรวมตัว และเข้า ร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ที่ต้องการและร่วมเจรจาต่อรองได้ด้วย และ ต้องรับรองว่าผู้แทนต่างๆ ของบุคลากรในบริษัท จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และผู้ แทนบุคลากรเหล่านั้น จะสามารถเข้าถึงและติดต่อ กับสมาชิกของเขา ในสถาน ที่ทำงานได้
ข้อกำหนดที่ 5 ว่าด้วย "การเลือกปฏิบัติ" (Discrimination) กำหนดให้ บริษัทผู้ผลิต ต้องไม่กระทำหรือสนับสนุน การเลือกปฏิบัติ เกี่ยวกับการว่าจ้าง ค่าตอบแทน การเข้ารับการฝึกอบรม การส่งเสริม การเลิกจ้าง หรือการ เกษียณอายุตามเชื้อชาติ วรรณะ ชาติกำเนิด ศาสนา ความพิการ เพศ ความ เบี่ยงเบนทางเพศ สมาชิกสหภาพ หรือการสังกัดทางการเมือง
ข้อกำหนดที่ 6 ว่าด้วย "การลงโทษทางวินัย" (Disciplinary Practices) กำหนดให้บริษัทผู้ผลิต ต้องไม่กระทำหรือสนับสนุน การใช้วิธีการทำโทษ ด้วย วิธีการทำร้ายร่างกาย การบังคับขู่เข็ญทางจิตใจ หรือทางร่างกาย และ การใช้ วาจาหยาบคาย
ข้อกำหนดที่ 7 ว่าด้วย "ชั่วโมงการทำงาน" (Working Hours) กำหนดให้ บริษัทผู้ผลิตต้องปฏิบัติ ในเรื่องชั่วโมงการทำงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย และ มาตรฐานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่ากรณีใดๆ บุคลากรต้องไม่ถูกกำหนด ให้ทำงานเกินกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในการทำงานปกติ และต้องจัดให้มี วันหยุด อย่างน้อยหนึ่งวันในทุกๆ ระยะเจ็ดวัน
บริษัทต้องรับรองว่า การทำงานล่วงเวลา (ที่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อ สัปดาห์) ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต่อลูกจ้างหนึ่งคนต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ความจำเป็น ในการทำงานล่วงเวลา ต้องกระทำเฉพาะ ในสภาวะพิเศษ และเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น และต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราพิเศษเสมอ
ข้อกำหนดที่ 8 ว่าด้วย "ค่าตอบแทน" (Compensation) กำหนดให้ บริษัทผู้ผลิต ต้องรับรองว่า ค่าจ้างที่จ่ายสำหรับการทำงาน ในหนึ่งสัปดาห์นั้น อย่างน้อยต้องเท่ากับมาตรฐาน ตามกฎหมายหรือมาตรฐานขั้นต่ำ ของอุตสาหกรรม และต้องเพียงพอ สำหรับความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ของบุคลากร เพื่อเป็นราย ได้ สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นตามสมควร
ข้อกำหนดที่ 9 ว่าด้วย "ระบบการบริหารจัดการ" (Management System) กำหนดทั้งในเรื่องของ นโยบายของบริษัทผู้ผลิต การทบทวนการบริหาร จัดการการแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหาร (ผู้แทนบริษัท) การวางแผน และการนำ ไปปฏิบัติ การควบคุมผู้ส่งมอบ การดำเนินการแก้ไขปรับปรุง การติดต่อสื่อ สารกับภายนอก และการเข้าถึงการทวนสอบ
ในส่วนของ "นโยบาย" นั้น กำหนดให้ว่า ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทผู้ ผลิต ต้องกำหนด "นโยบายของบริษัท" ในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และ สภาพของแรงงาน เพื่อรับรองว่านโยบายนั้นจะ
ก) ครอบคลุมถึงคำมั่นสัญญา ที่จะปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ตาม มาตรฐาน
ข) ครอบคลุมถึงคำมั่นสัญญา ที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย ภายในประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ข้อกำหนดอื่นๆ ที่บริษัทเป็นสมาชิก และเคารพ ต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ระบุไว้
ค) ครอบคลุมถึงคำมั่นสัญญา ที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ง) มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน การดำเนินการ การรักษาไว้ การสื่อสาร และสามารถเข้าถึงแบบฟอร์มข้อมูล ของบุคลากรทั้งหมด ซึ่งรวมถึงผู้อำนวย การ นักบริหารฝ่ายจัดการ หัวหน้าผู้ควบคุมงาน และพนักงาน ทั้งที่จ้างโดย ตรง ที่อยู่ในสัญญาจ้างแรงงาน หรืออีกนัยหนึ่งที่เป็นผู้แทนบริษัท
จ) ประกาศอย่างเป็นทางการ
ข้อกำหนดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเพียงการสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญๆ เพียงบางส่วน เพื่อเป็น "หนังตัวอย่าง" เท่านั้น ซึ่งยังมีรายละเอียด ที่สำคัญๆ อีกไม่น้อยที่ยังไม่ได้พูดถึง
มาตรฐาน SA 8000 นี้ จะ มุ่งเน้นใช้กับ "บริษัทผู้ส่งออก" หรือ "โรงงาน" บางประเภท เป็นสำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาห กรรม รองเท้าหรือกีฬา อุตสาหกรรมของเด็กเล่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น
มาตรฐาน SA 8000 นี้ จะสามารถปฏิบัติได้ง่าย สำหรับบริษัท หรือกิจการที่ได้ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9000 แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ยัง ไม่ได้ใบรับรอง ISO 9000 จะทำตามมาตรฐาน SA 8000 ไม่ได้
!!!!!!! ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งปวงนี้ ผมตั้งใจจะบอกว่า ความปลอดภัยและ สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ถือเป็น "เงื่อนไขสำคัญ" ของสภาพการจ้างแรงงาน เสมอ และที่สำคัญก็คือ ถ้าเราสามารถบริหารจัดการองค์กรของเรา ให้เป็นระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว มาตรฐานอะไรๆ ก็ไม่เป็นปัญหา ครับผม!!!!!!


ที่มา : กลยุทธสู่ผลิตภาพ 2001:วิฑูรย์ สิมะโชคดี

By: Created by ว. ลีลาวิมลวรรณ



เว็บไซต์แห่งถูกจัดทำขึ้นโดย สำนักงาน ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่ 2
550/10-11 ถ.พิชัยฯ ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี 18000
โทรศัพท์ 036-319214-6 แฟ็กซ์ 036-319217
Email [email protected]
1
Hosted by www.Geocities.ws

1