ภาษาบาลี



ประวัติภาษาบาลี
ความหมายของ " บาลี " หรือ " ปาลิ " ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2475 คือ ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท , พระพุทธพจน์ ( ป. , ส. , ปาลิ ) และตามปทานุกรม บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษแสดงไว้ 2 รูป คือ ปาลิ, ปาฬิ ให้ความหมาย 2 นัย คือ 
1. แถว , แนว เช่น ทนตปาลิ แปลว่า แถวแห่งฟัน
2.ปริยัติธรรม , ตำราธรรมของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักดั้งเดิมและใช้เป็นภาษาที่อธิบายขยายความพระพุทธพจน์ เช่น อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และโยชนา ตามลำดับ
นักปราชญ์ทางภาษาและนักการศาสนาให้ความเห็นว่า คือ ภาษาท้องถิ่นของชาวมคธ และเป็นภาษาที่รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ในปัจจุบันเรียกว่าพระไตรปิฎก

การอ่านภาษาบาลี

1. พยัญชนะในภาษาบาลี มี 36 ตัว แบ่งเป็นพยัญชนะวรรค 5 วรรค คือ
                กะ วรรค คือ ก ข ค ฆ ง มีฐานเสียงเกิดที่คอ
                จะ วรรค คือ จ ฉ ช ฌ ญ มีฐานเสียงเกิดที่เพดานปาก
                ฏะ วรรค คือ ฏ ฐ ฑ ฒ น มีฐานเสียงเกิดที่ปุ่มเหงือก
                ตะ วรรค คือ ต ถ ท ธ น มีฐานเสียงเกิดที่ฟัน
                ปะ วรรค คือ ป ผ พ ภ ม มีฐานเสียงเกิดที่ริมฝีปาก
พยัญชนะเศษวรรค หรือ อวรรค มี 8 ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ( มีเสียงเกิดจากฐานต่างกันไป )
หมายเตุ พยัญชนะทุกตัวสระ "อะ" อยู่ในตัว เวลาอ่านต้อง อ่านว่า กะ ขะ คะ ฆะ งะ เป็นต้นเหมือนกันทุกวรรค

2. สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ เมื่อนำไปใช้ก็เขียนรูปสระคงตัว อ่านออกเสียงเหมือนในภาษาไทย

3. หลักการอ่านภาษาบาลี มีหลักกว้าง ๆ ดังนี้ 
        3.1 พยัญชนะตัวใดที่เขียนโดด ๆ โดยไม่มีสระ ให้อ่านออกเสียง " สระอะ " ( การสะกดแบบบาลีจะไม่ใช้สระอะ )    พยัญชนะที่สระอื่นกำกับก็ออกเสียงตามนั้น เช่น
                ภควา       อ่านว่า ภะ - คะ - วา
                 สุคติ       อ่านว่า สุ  -คะ - ติ
                  
        3.2 การสะกดแบบบาลี มีการใช้ " พินทุ " โดยเขียนเป็นจุดใต้พยัญชนะ(  ฺ  )มีหลักการ ดังนี้

- เมื่อใช้พินทุจุดใต้พยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด ไม่ต้องออกเสียง เช่น
                    โหนฺตุ อ่านว่า โหน - ตุ 
                    มหนฺตา อ่านว่า มะ - หัน - ตา 
                    สุขิตตฺตา อ่านว่า สุ - ขิ - ตัต - ตา 
                    องฺควรสฺส อ่านว่า อัง - คะ - วะ - รัส - สะ 

- บางครั้งใช้พินธุจุดใต้พยัญชนะ เพื่อให้เป็นตัวควบกล้ำ ในกรณีนี้ให้อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น
                   กตฺวา อ่านว่า กัต - ตวา ( เสียง ตะ หน้า วา ออก กึ่งมาตรา )
                   พฺยาธิ อ่านว่า พยา - ธิ ( เสียง พะ หน้า ยา ออกกึ่งมาตรา )
                   พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม - มะ - ณะ ( เสียง พะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา )

- ในการสะกดแบบบาลี มีการใช้ " นิคหิต " ( เขียนเป็นวงกลมเล็ก ๆ ) ถือว่าเป็นพยัญชนะ ออกเสียง แม่กง คือใช้ตัว ง เป็นตัวสะกด เช่น
                    ปรํ อ่านว่า ปะ - รัง 
                    ชีวิตํ อ่านว่า ชี - วิ - ตัง 
                    องฺคํ อ่านว่า อัง - คัง 

>>

<<

!!

Hosted by www.Geocities.ws

1