ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผลงานวิจัยและผู้วิจัย 1) ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ AN EVALUATION OF THE PROJECT FOR BASIC EDUCATIONAL OPPORTUNITY EXTENSION IN PRIMARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF KALASIN PROVINCIAL PRIMARY EDUCATION ถ 2) คำสำคัญ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา การประเมินโครงการ โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา- ขั้นพื้นฐาน โรงเรียนประถมศึกษา ถ 3) ปีที่ทำการวิจัยเสร็จ พฤษภาคม 2539 ถ 4) ชื่อผู้วิจัย นายอัครพงษ์ ภูจริต Mr. AKKARAPONG POOJARIT ถ 5) ที่อยู่ของผู้วิจัย บ้านเลขที่ 9/7 ถ.กมลชัยพัฒนา อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 46000 ถ 6) ชื่อผู้วิจัยร่วม - ถ 7) ประเภทของการวิจัย วิทยานิพนธ์ ถ 8) ที่เก็บผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ ส่วนที่ 2 สรุปผลงานวิจัย 1) หลักการและเหตุผล/ความเป็นมา สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีภารกิจหลักที่สำคัญ คือ การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับให้กับเด็กไทยทุกคนที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การ ศึกษาภาคบังคับ และ จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อสนองนโยบายด้านความเสมอภาคทางการศึกษาและขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐให้บรรลุ ผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหน่วยงานในระดับปฏิบัติรองลงมา คือ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและกิ่งอำเภอ กลุ่มโรงเรียนและ โรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นของรัฐ จากการดำเนินงานตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรร มการ การศึกษาแห่งชาติ ในช่วงปี 2530 - 2534 พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ ขาดแคลนครูผู้สอน กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ การเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวมีปัญหาค่อนข้างมาก ขาดแคลนครุภัณฑ์ หนังสือ ห้องสมุด และวัสดุฝึกงาน ตลอดจนงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในด้าน ครุภัณฑ์ ผู้ปกครองของนักเรียนมีความยากจน และจากการศึกษาการดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2533 - 2535 ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ พบปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คือ อาคารสถานที่ไม่เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์บางประเภทยังขาดแคลน อุปกรณ์ การเรียนการสอนมีจำนวนไม่เพียงพอ บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอ และวุฒิสาขาวิชาไม่ตรงกับวิชาที่สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาบังคับ งบประมาณได้รับล่าช้าและมีจำนวนไม่เพียงพอ การประชาสัมพันธ์เพื่อ ชักจูงเข้าเรียนต่อทำได้ไม่ครอบคลุมทั้งอำเภอ การประสานงานการขยายโอกาสทางการศึกษาระหว่าง หน่วยงานต่าง ๆ ไม่ชัดเจนเป็นทางการ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีฐานะยากจนและไม่เห็นความสำคัญ ของการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำหน้าที่จัดการศึกษาภาคบังคับ รับผิดชอบโรงเรียนประถมศึกษาทั่วจังหวัด 580 โรง ได้ดำเนินงานตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานมาตั้งแต่ ปี 2533 ถึงปี 2538 โดยโรงเรียนประถมศึกษาเปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รวม 90 โรง จากข้อมูลในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2538 ของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้สรุปผลการดำเนินงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึ กษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ยังมีนักเรียนระดับนี้ ออกกลางคันร้อยละ 1.56 ผู้ปกครองบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนต่อ การพัฒนา หลักสูตรให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นยังไม่เพียงพอ ครูบางส่วนขาดความรู้ความสามารถและทักษะในการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน การนิเทศติดตามผลยังไม่ต่อเนื่องเป็นระบบโดยเฉพาะการนิเทศภายใน เนื่องจากไม่มีศึกษานิเทศก์ด้านนี้โดยตรง เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการประเมินโครงการนี้ว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่เพียงใด คุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ควรจะทำต่อไป ควรปรับปรุงแก้ไขหรือว่าควรยกเลิก การประเมินโครงการจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงอุปสรรค ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ตลอดจนแนวทางในการ ปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจในการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา > อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม ขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้เลือกใช้กา รประเมินโครงการแบบ CIPP ของสตัฟเฟิลบีม และแนวคิดการประเมินโครงการของโกวิท ประวาลพฤกษ์ ถ 2) แนวคิดทฤษฎีที่ใช้เป็นฐานในการวิจัย หรือกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี การวิจัยครั้งนี้ ใช้แนวคิดการประเมินโครงการตามแบบของ CIPP Model เป็นแนวทางในการประเมินซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1. ด้านบริบท (Context) 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) 3. ด้านกระบวนการ (Process) 4. ด้านผลผลิต (Product) ถ 3) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกั ดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ถ 4) สมมุติฐานในการวิจัย ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมและแต่ละด้าน แตกต่างกัน ถ 5) วิธีดำเนินการวิจัย 5.1 ระเบียบวิธีวิจัย หรือรูปแบบของการวิจัย วิจัยเชิงสำรวจ วิจัยเชิงปริมาณ ถ 5.2 ตัวแปร และนิยามปฏิบัติการและ/หรือวิธีการวัดตัวแปร ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ขนาดโรงเรียน แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ 1. โรงเรียนขนาดใหญ่ 2. โรงเรียนขนาดกลาง ตัวแปรตาม ได้แก่ ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1. ด้านบริบท (Context) 2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) 3. ด้านกระบวนการ (Process) 4. ด้านผลผลิต (Product) 5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและที่มาของเครื่องมือหรือการพัฒนาเครื่องมือ เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประ ถมศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 63 ข้อ ถ 5.4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเลือกตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ ครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2538 จำนวน 920 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการศึกษา 2538 จำนวน 409 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน > หลุดอีกเหรอ > อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม 5.5 วิธีการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถาม ถ 5.6 วิธีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Independent) ถ 6) สรุปผลการวิจัย 1. การประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมและรายด้านเห็นว่า โครงการมีความเหมาะสมมาก เมื่อพิจารณาตามตัวแปรขนาดโรงเรียนพบว่า ทั้งโรงเรียนขนาดใหญ่และ ขนาดกลาง โดยภาพรวมและรายด้านต่างมีระดับการประเมินตามความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2. การเปรียบเทียบการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำ นักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่าระดับการประเมินตามความคิดเห็นของครู ไม่แตกต่างกัน ถ 7) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย > โอ๊ว อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. ควรพิจารณาหลักการและแนวคิดของโครงการให้สอดคล้องกับความจำเป็นในสภาพปัจจุบัน 2. โรงเรียนขนาดใหญ่ ควรพิจารณาการจัดทำแผนงาน แผนปฏิบัติการให้เป็นไปตามขั้นตอน ด้านผลผลิต ควรพิจารณาปรับปรุงให้ผู้บริหารและครูในโรงเรียนได้รับการพัฒนาความรู้ตามกระบวนการ ของโครงการอย่างเหมาะสม 3. โรงเรียนขนาดกลาง ควรพิจารณาแผนงานและเป้าหมายในการดำเนินโครงการให้ชัดเจน ในทางปฏิบัติ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ควรพิจารณาคุณภาพของบุคลากรให้มีความเหมาะสมกับงาน และควรพิจารณาจัดหาโต๊ะ เก้าอี้ ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และควรจัดหางบประมาณให้มีจำนวน เพียงพอและเหมาะสมมากกว่านี้ ด้านกระบวนการควรพิจารณาจัดทำแผนงาน แผนปฏิบัติการให้เป็นไปตามขั้นตอน ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. ควรศึกษาการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัดอื่น เพื่อนำผลการวิจัยมาเปรียบเทียบกัน 2. ควรศึกษาการประเมินโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับเขตการศึกษา ระดับภาค ระดับประเทศ เพื่อจะได้ทราบผลการวิจัยโดยภาพรวม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ