กลับที่เดิม
[ แบบทดสอบ online ]

ใบความรู้ที่ 7 (การฟ้อนรำแบบมาตรฐาน)ชั้น ม.3
เกิดจากกิริยาท่าทางการแสดงออก ด้วยความรื่นเริงบันเทิงใจ จัดปรับปรุงกระบวนท่า ในการเต้นรำให้งดงามปราณีตยิ่งขึ้น
เน้นการเครื่อนใหวอริยาบทต่าง เรียกกันว่า " รำ " มีทั้งรำเดี่ยว รำคู่ และรำหมู่ ไม่เป็นเรื่องราว ต่อมามีผู้บัญญัติ
การรำหมู่ เรียกว่า " ระบำ " มี2 ชนิด
1. ระบำไทยมาตรฐาน หมายถึงการแสดงที่คำนึงถึงการแต่งกาย ยืนเครื่องพระนาง ตลอดจนท่าร้องและดนตรีกำหนดไว้
เป็นแบบแผน เช่น ระบำบันเทิง ระบำดาวดึงส์
2. ระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงอื่นๆ ที่แต่งกายเต็มรูปแบบ ของการแสดงนั้นๆ เช่น ระบำศรีนวล

รำวงมาตรฐาน เป็นการฟ้อนรำแบบมาตรฐานที่มีแบบแผน พัฒนามาจาก รำวง (รำโทน ) มี 10 เพลง
เดิมกรมศิลปากร แต่งไว้ 4 เพลง และท่านคุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งเพิ่มขึ้นอีก 6 เพลง


เพลง หญิงไทยใจงาม
บทร้อง คุณหญิงละเอียด พิบูลสงคราม ทำนอง กรมประชาสัมพันธ์
เดือนพราวดาวแวววาวระยับ แสงดาวประดับส่งให้เดือนงามเด่น
ดวงหน้าโสภาเพียงเดือนเพ็ญ คุณความดีที่เห็นเสริมให้เด่นเลิศงาม
ขวัญใจหญิงไทยส่งศรีชาติ รูปงามวิลาศใจกล้ากาจเรืองนาม
เกียจติยศก้องปรากฏทั่วคาม หญิงไทยใจงามยิ่งเดือนดาวพราวแพรว
อธิบายท่ารำ ท่ารำที่ 1 เดือนพราว ( ท่ารำพรหมสี่หน้า )
ชายหญิงปฏิบัติเช่นกันหญิงอยู่หน้าชายอยู่หลังก้าวเท้าซ้าย วางเท้าขวาข้างหลังปิดส้นเท้า
จีบคว่ำมือทั้งสองข้างคลายออกตั้งวงหงายมือระดับศรีษะ เอียงซ้าย
ท่ารำที่ 2. ดาวแวววาวระยับ( ท่ายูงฟ้อนหาง )
วางเท้าขวาซึงอยู่ด้านหลังลงเต็มเท้า แล้วยกเท้าซ้ายก้าวไปข้างหน้า ก้าวเท้าขวาและวางเท้าซ้ายลงด้านหลัง
เปิดส้นเท้ามือทั้งสองข้างลดระดับ แทงปลายมือไปด้านหลังคว่ำฝ่ามืออยู่ระดับเอว แขนทั้งสองตึง เอียงศรีษะทางขวา
แสงดาวประดับ ปฏิบัติเช่นท่ารำที่ 1
ส่งให้เดือนงามเด่น ปฏิบัติเช่นท่ารำที่ 2
Hosted by www.Geocities.ws

1