กลับที่เดิม
[ แบบทดสอบ online ]

ใบความรู้ที่ 6 (การแสดงและการละเล่นพื้นเมือง แต่ละภาคของไทย)ชั้น ม.3
1. ภาคกลาง ได้แก่ รำกลองยาว เพลงเทพทอง อีแซว เพลงฉ่อย ลำตัด เต้นกำรำเคียว รำเหย่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ
เพลงปรบไก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงทรงเครื่อง
1.1รำกลองยาว เข้ามาใน ร. 4 โดยชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามา มีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า ในการแสดงละครเรื่อง
พระอภัยมณีตอนเก้าทัพ และไทยเราเห็นเล่นง่ายสนุกสนาน จึงนิยมนำมาเล่นกันจนบัดนี้
วิธีเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
- ฝ่ายตีกลองยาว ผู้ตีมักทำท่าต่างๆ สนุกสนาน ออกท่าลีลาต่างๆ
- ฝ่ายรำ ต้องรำให้เข้ากับจังหวะกลองยาว
** เครื่องดนตรีที่ใช้ กลองยาว กรับหรือเกราะ ฉาบเล็ก โหม่ง ฉิ่ง
1.2 เพลงเทพทอง มีมาแต่โบราณ มักออกมาในรูปแบบของละคร มีต้นเสียงและลูกคู่ รับว่า " ฮ้าไฮ้ " ต่อมาใช้ปี่พาทย์บรรเลงรับลูกคู่
เรียกว่าเพลง สุโขทัย แต่ถ้าร้องโดยมีลูกคู่ร้องรับ จะเรียกว่า " เทพทอง "
1.3 เพลงอีแซว ยังนิยมเล่นกันอยู่ ใน สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี สิงห์บุรี อยุธยา สันนิษฐานว่าเกิดขึ้น หลังเพลงพื้นเมืองชนิดอื่นๆ
มีจังหวะเร็ว ผู้ร้องต้องมีปฏิภาณไหวพริบคล่องแคล่วมาก เครื่องดนตรีนิยมใช้ ฉิ่ง และกลองรำมะนา
1.4 เพลงฉ่อย เป็นเพลงพื้นบ้านกลอนเดียวแบบเพลงเรือ ไม่ต้องมีกลอนบาทส่งแบบเพลงเรือ วิธีเล่น จะสนุกสนานและรวดเร็วกว่าเพลงเรือ
ตอนขึ้นกลอนไหว้ครูและเกริ่น จะใช้กลอนแบบเพลงโคราช ตอนแก้กันจะใช้กลอนแบบเพลงเรือ การ้องจะมีต้นเสียง ลูกคู่รับและปรบมือเป็นจังหวะ
1.5 ลำตัด มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู ลำตัดเป็นการแสดงลับฝีปากของฝ่ายชายและหญิง มีทั้งต่อว่า เสียดสี เกี้ยวพาราสี ลูกขัด
ลูกหยอด เพื่อให้สนุกสนาน ตลกเฮฮา ในเชิง "สองแง่สองง่าม" การแสดง จะเริ่มตีรำมะนา โหมโรง ออกภาษาพม่า แขก มอญ ต่อจากนั้น
ผู้แสดงฝ่ายชายออกก่อน ร้องไหว้ครู ขอบคุณเจ้าภาพทักทายผู้ชม ออกตัวการแสดง ชวนเชิญกันประฝีปาก
หมดฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงก็จะออกเริ่มต้น ด้วยเพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว ซึ่งเพลงพื้นบ้านอื่นๆจะเล่นแบบนี้ไม่ได้
1.6 เต้นกำรำเคียว เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวนครสวรรค์ นิยมเล่นกันในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว หลังการเก็บเกี่ยวข้าวเมื่อรู้สึกเหน็ดเหนื่อย
จึงผ่อนคลายโดยการตั้งวงเต้นกำรำเคียว วิธีเล่น ชายหญิง จะถือเคียวคนละมือ และรวงข้าวอีกมือ เต้นรำร้องเกี้ยวพาราสีกัน ต่อมากรมศิลปากร
โดยนายมนตรี ตราโมท ได้ทำดนตรีประกอบและนำออกแสดงในงานบันเทิง
2. ภาคเหนือ (ฟ้อน) ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนสาวไหม กลองสะบัดชัย ซอเมือง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา
ฟ้อนดาบ ฟ้อนเงี้ยว
2.1 ฟ้อนเงี้ยว เป็นการเล่นสนุกสนานของชาวไทยเผ่าหนึ่งในแคว้นฉาน พม่า มีทั้งเนื้อร้องคำเมือง และภาษาภาคกลาง
2.2 ฟ้อนลาวแพน เรียกชื่อตามชื่อเพลงทางดนตรีที่บรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลง คือ จะเข้และปี่
ท่ารำประดิษฐ์ขึ้นโดยนำมาจากละครเรื่องพระลอ ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำกาหลงโดยึดท่าฟ้อนทางเหนือและอีสานเป็นแบบ
ดัดแปลงให้เข้ากับทำนอง ใช้แสดงเดี่ยว ต่อมาจึงดัดแปลงเป็นหลายคน
2.3 ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนของสาวเชียงใหม่ ที่เลียนแบบลีลาท่าทางจากอาชีพทอผ้าไหมของสาวๆ ครูพลอยศรีสรรพศรี
เป็นผู้คิด ประดิษฐ์ท่าฟ้อน จากท่าปั่นฝ้ายและสาวไหม
2.4 กลองสบัดชัย เป็นกลองศึกโบราณของชาวเหนือ เป็นการปลุกปลอบขวัญทหาร และเร้าอารมณ์ให้หึกเหิม เมื่อได้ชัยชนะ ก็บรรเลงให้คนรู้
ผู้แสดง มี 7 คน ฆ้อง 2 คน ตีฉาบ 1 คน หามกลอง 2 คน ตีกลอง 2 คน ผลัดกันตีให้เข้ากับจังหวะฆ้องฉาบ
และจังหวะการเต้นให้ทำมุมกับหน้ากลองให้พอดีใช้ไม้
3. ภาคอีสาน ได้แก่ เซิ้งกระติ๊บข้าว หมอลำ หมอแคน เพลงโคราช ฟ้อนภูไท เซิ้งกระหยัง แสกเต้นสาก เรือมอันเร ลิเกกลองยาว เซิ้งบั้งไฟ
3.1 เซิ้งกระติ๊บข้าว กำเนิดมาจาก อ. เรณูนคร จ. นครพนม ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลป์กรมศิลปากร ได้รับการถ่ายทอดจากคณะครู
และนำมาแสดงเป็นครั้งแรก ในการต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ. หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในปี ค.ศ 2509 ดนตรีที่ใช้ประกอบนั้นใช้กลองยาวเป็นหลัก แคน และกรับ การแต่งกาย หญิง ใส่เสื้อแขนกระบอกนุ่งซิ่น(คอนข้างสั้น)
สะพายกระติ๊บข้าว
3.2 หมอลำ หมอแคน ถ้ามีการขับลำอย่างเดียว โดยไม่มีแคนเป่าคลอ เรียกว่า "หมอลำ" แต่ถ้ามีการขับลำและนำแคนมาเป่าคลอด้วย เรียก
" หมอลำ หมอแคน " จะแสดงที่ลานกว้าง หรือจะยกเวทีขึ้นก็ได้ จะแสดง 3 - 4 คนเท่านั้น ไม่รวมนับถึง หมอแคน แบ่งเป็น 3 ชนิด
- ลำเรื่อง จะลำว่าเป็นเรื่องราว ว่ากันเป็นเรื่องเพื่อลับฝีปากว่าใครจะแน่กว่ากัน
- ลำเกี้ยว เป็นการลำในเชิงเกี้ยวพาราสีกััันบางที่จะพรรณาถึงคู่ครองอาจจะติชมกันถึงแก่น คนชอบฟังกันมาก
ประเภทเพลง "ลำ" อีสานมีหลายประเภท เช่น ลำกลอน ลำโจทย์แก้ ลำเกี้ยว ลำชิงชู้ ลำพื้น ( ลำเรื่อง) ลำหมู่ ลำเพลิน ลำเต้ย และลำผีฟ้า
โอกาสแสดง งานบวช ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า โกนจุก งานมงคลต่างๆ
3.3 เพลงโคราช นิยมในจังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียง มีลักษณะเป็นกลอนเพลง ปฏิพากย์ ที่ใช้ไหวพริบ
ในการแก้ปัญหาในการร้องตอบโต้ เพลงโคราชเป็นเพลงครูของเพลงเรือ การเล่น ชายหญิงจะเริ่มต้นไหว้ครู บทเกริ่น บทเกี้ยว บทลักหาพาหนี
แต่มีเพลงโคราชหลายเพลงที่ใช้แง่คิด ในรูปของ สุภาษิต ปรัชญา และสะท้อนแง่คิดในชีวิตประจำวัน
3.4 ฟ้อนภูไท นิยมเล่นในจังหวัด สกลนคร และใกล้เคียง ในงานรื่นเริง วันนักขัตฤกษ์โดยจะเริ่มด้วยผู้ ตีกลองจึง( กลองชนิดหนึ่งของชาวภูไทย )
และ แคน กลองยาว ฉาบ โหม่ง เป็นต้น
3.5 เซิ้งกระหยัง เป็นการแสดงของ กาฬสินธุ์ อำเภอกุฉินารายณ์ ได้นำเอา ท่ารำจากเซิ้งอื่น เช่น เซิ้งกระติ๊บ เซิ้งสาละวัน
เข้าผสมกันจัดกระบวนท่าใหม่ รวม 19 ท่า แต่ละท่า มีชื่อเรียกต่างกัน เช่น เซิ้งท่าไหว้ เซิ้งภูไท
เนื่องจาก ผู้รำถือกระหยัง ( ภาชนะอย่างหนึ่งทำด้วยำม้ไผ่สานมีลักษณะคล้ายกระบุงใช้ใส่สิ่งของต่างๆ)
จึงได้ชื่อว่า " เซิ้งกะหยัง " ดนตรีที่ใช้ กลองยาว ฉาบ ฉิ่ง และ ใช้แคนพิณ ปี่แจ้ เป็นเครื่องดำเนินทำนอง
4. ภาคใต้ เป็นดินแดนที่มีมรสุมตลอดปี และเป็นแหล่งอารยธรรมที่รุ่งโรจน์ในอดีต มีรำพื้นเมืองรูปแบบต่างๆ เช่น
รองเง็ง เพลงบอก เพลงนา กริช มโนห์หรา หนังตะลุง มะโย่ง ลิละ เพลงตัก
4.1 รองเง็ง เดิมเป็นการแสดงในราชสำนักมาเลเซีย เจ้าเมืองจะจัดหาหญิงสาวให้ฝึกเต้นรองเง็ง เพื่อเอาไว้ ต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
ต่อมาได้ออกมาสู่ประชาชน แพร่หลายเข้าสู่ตอนใต้ของไทย ใช้ผู้แสดง ชายและหญิงรวมกัน
การแต่งกาย หญิงนุ่งโสร่ง มีลวดลายดอกดวงต่างๆ กัน สวมเสื้อแขนยาวคอกลม หรือ คอชวา ยาว ปิดโสร่ง ผ่าอกตลอด
ตัวเสื้อต้องเข้ารูปตรงเอวมาก ๆ แลเห็นสะโพกผาย มีผ้าคลุมไหล่
วิธีเล่น ดนตรีใช้ ฆ้อง กลองรำมะนา และไวโอลิน เมื่อดนตรีเร่มบรรเลง ฝ่ายหญิงจะเริ่มร้องเชื้อเชิญ ให้ผู้ชมเข้าสู่วง
เต้นด้วยเนื้อร้องจะชมธรรมชาติความสวยงาม และเกี้ยวพาราสี ที่นิยมร้อง จะมี 6 - 7 เพลงเท่านั้น จังหวะเต้นจะต่างกันไป
ความเด่นของรองเง็ง อยู่ที่ความพร้อมเพรียงและการก้าวหน้าถอยหลัง ชายและหญิงต้องอยู่ในครึ่งวงกลมกลางเวที

Hosted by www.Geocities.ws

1