หน้าแรก                                                                                                                      

หน้าแรก                                                                    

                                                                                                                              คำศัพท์

                                                                                           1. Web browser                                         6.CMS

                                                                                           2.Web Hosting                                          7. DNS

                                                                                           3.Client/Server                                          8. Home page

                                                                                           4.URL                                                       9.Anchor

                                                                                           5. FTP                                                      10.HTML

 

1. Web browser หมายถึงอะไร Web browser คือ เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ ประโยชน์ของ Web Browser สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับคว ามนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย Internet Explorer, Mozilla Firefox ,Google Chrome,Safarid (กลับด้านบน)

2.Web Hosting คือ รูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้งานนั้นมีความต้องที่จะฝากเว็บไซต์ของตนเองไว้กับผู้ให้บริการเซิฟเวอร์ (HSP: Hosting Service Provider) เพื่อให้เว็บไซต์ของตนเองนั้น ออนไลน์อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชม. (กลับด้านบน)

3.Client/Server คืออะไร Clientคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server Server คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยอาศัยโปรแกรม Web serverแก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อข่าย server แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น 2.ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น 3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น client/serverคือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้ เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้(กลับด้านบน)

4.URL หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า URL โดยส่วนมากจะหมายถึง ชื่อหรือที่อยู่ของเว็บไซต์ แต่ URL จะครอบคลุมถึงไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับ Download ซึ่ง URL จะประกอบด้วยชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (เช่น http, https, ftp), ชื่อเครื่อง/ชื่อเว็บไซต์ (www.xxx.com), ประเภทของเว็บไซต์ (.com, .co.th, .org) ไดเร็กทอรี่ (/xxx) ชื่อไฟล์และนามสกุล (.html, .php) ตัวอย่างเช่น http://www.thaisymbol.com/symbol/degree.php หมายถึงเปิดไฟล์ degree.php ที่อยู่ในไดเร็กทอรี่ symbol จากเว็บไซต์ www.thaisymbol.com ด้วยโปรโตคอล http เป็นต้น(กลับด้านบน)

5. FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol FTPหมายถึง โปรโตคอลที่ใช้สำหรับโอนถ่ายไฟล์ (File Transfer Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องลูกข่าย (Client) กับเครื่องแม่ข่ายหรือโฮสติง (Hosting) หรือเซิร์ฟเวอร์ ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการรับส่งไฟล์โดยใช้ FTP จะใช้งานบ่อยในการดูแลเว็บไซต์ในกลุ่มของผู้ดูแลระบบเว็บไซต์ ที่ี่จะต้องอัพโหลดไฟล์เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์หรือดาวน์โหลดไฟล์เพื่อทำการสำรองข้อมูล ซึ่งในการใช้งานจะต้องทำผ่านโปรแกรมประเภท FTP เช่น FileZilla, CuteFTP เป็นต้น (กลับด้านบน)

6.CMS ย่อมาจาก Content Management System หมายถึงระบบบริหารจัดการข้อมูล CMS คือ ระบบที่ถูกเขียนขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถสร้าง บริหาร และจัดการเว็บไซต์ได้อย่างง่ายๆและครบวงจร โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เลย รวมถึงมีระบบบริหารจัดการเพื่อให้เราสามารถเพิ่มเนื้อหา ระบบสถิติ การใส่ป้ายโฆษณา ระบบการชำระเงิน และการใส่ข้อมูลอื่นๆบนเว็บไซต์ได้อย่างง่ายๆ นอกจากนี้ CMS ยังมีผู้พัฒนาเว็บเทมเพลท ปลั๊กอิน และ Add-on อื่นๆ สำหรับปรับแต่งเว็บไซต์ของเราอีกด้วย ซึ่งส่วนมากแล้ว ทั้ง CMS และปลั๊กอิน จะเปิดให้ใช้ฟรี ตัวอย่างของ CMS ยอดนิยม เช่น WordPress, Joomla, Dupal และ Mambo เป็นต้น(กลับด้านบน)

7. DNS ย่อมาจาก Domain Name System DNS หมายถึง ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) เป็นระบบที่ใช้สำหรับบริหารจัดการชื่อของหมายเลขไอพีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เนื่องจากหมายเลขไอพีเป็นเลขชุดทำให้ยากต่อการอ้างอิงในการเข้าถึงข้อมูล DNS จึงมีหน้าที่ในการตั้ง ตรวจสอบ ชื่อภาษาอังกฤษที่ตั้งขึ้นเพื่ออ้างอิงหมายเลขไอพี เช่น moe.go.th หมายถึงหมายเลขไอพี 203.146.15.9 โดยชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย ชื่อ, ประเภทโดเมน, ประเทศ(กลับด้านบน)

8. Home page หมายถึง หน้าแรกของเอกสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต ที่จะเป็นตัวแนะนำให้รู้จักหน่วยงานหรือสถาบันต่าง ๆ ในเวิร์ลด์ไวด์เว็บ (world wide web) (กลับด้านบน)

9.Anchor ความหมาย คือ สมอยึด [โยธา] ; สมอบก [ไฟฟ้ากำลัง (กลับด้านบน)

10.HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ ถูกพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) และจากการพัฒนาทางด้าน Software ของ Microsoft ทำให้ภาษา HTML เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ หรือที่เรียกว่า HTML Application HTML เป็นภาษาประเภท Markup สำหรับการการสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, Editplus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ส่วนการเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม web browserเช่น IE Microsoft Internet Explorer (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น (กลับด้านบน)

 

ที่มา http://www.mindphp.com/