การใช้บริการรถไฟฟ้า BTS


ชนิดและวิธีการซื้อตั๋วโดยสาร

ตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ :

 1. ตั๋วแบบเที่ยวเดียว (Single-Journey Ticket)
     ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางเพียงครั้งเดียว มูลค่าของตั๋วจะเท่ากับค่าโดยสารในแต่ละเที่ยวที่เดินทางสามารถซื้อได้จาก เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ
 2. ตั๋วแบบสะสมมูลค่า (Stored-Value Ticket)
     ซึ่งเป็นตั๋วที่ใช้เดินทางได้หลายครั้ง มูลค่าของตั๋วจะถูกหักไปเรื่อยๆ ตามค่าโดยสารที่เดินทางจนกว่ามูลค่าของตั๋วจะหมด

      หากเดินทางบ่อยๆ หรือเป็นประจำ แนะนำให้ซื้อตั๋วสะสมมูลค่า เพราะสามารถใช้เดินทาง ได้หลายเที่ยวโดยตั๋วสะสมมูลค่าสามารถซื้อได้ในราคาขั้นต่ำ 230 บาท แยกเป็นค่ามัดจำบัตร 30 บาท และใช้เดินทาง 200 บาท เงินค่ามัดจำบัตรเมื่อเลิกใช้ สามารถขอคืนได้หรือจะใช้จนหมดมูลค่าก็ได้ บัตรมีอายุการใช้งาน 2 ปี เมื่อใช้จนเกือบหมดมูลค่าเงินก็สามารถเติมเงินได้ที่ห้องตั๋วโดยสารวิธีนี้จะทำให้การเดินทางสะดวกสบายไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเหรียญหรือแลกเหรียญ และหยอดเหรียญเพื่อซื้อจากเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ

วิธีการซื้อตั๋วโดยสาร

 1. เตรียมเหรียญ 5 บาท หรือเหรียญ 10 บาท ให้เท่ากับจำนวนเงินที่จะต้องใช้เป็นค่าเดินทาง
 2. ศึกษาแผนที่ที่จะเดินทางโดยดูได้จากแผนที่อัตราค่าโดยสารที่ติดอยู่กับเครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ เช่น ขึ้นจากสถานีหมอชิต ต้องการจะเดินทางไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งก็คือโซน 4
 3. จากนั้นมาที่เครื่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ กดเลือกโซนสถานีที่หมายเลข 4
 4. หยอดเหรียญที่ช่องหยอดเหรียญตามราคาที่ระบุไว้
 5. รับตั๋ว
 6. หากหยอดเงินเกินจะได้รับเงินทอนที่ช่องทอนเงิน


 
 

 

การเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส

 1. ถือตั๋วไว้ที่มือขวา สอดตั๋วเข้าไปที่ช่องสอดตั๋วที่ประตูทางเข้าอัตโนมัติ
 2. รับตั๋วคืนแล้วเดินผ่านประตูทางเข้าอัตโนมัติ
 3. ดูป้ายบอกทิศทางที่ต้องการจะเดินทางไป เพื่อขึ้นฝั่งชานชาลาให้ถูกต้อง
 4. บนชานชาลาระหว่างยืนรอรถไฟฟ้า อย่ายืนล้ำเส้นสีเหลืองเพื่อความปลอดภัย
 5. อย่ายืนขวางประตูทางเข้าออกรถไฟฟ้าระหว่างยืนรออยู่บนชานชาลา
 6. เปิดทางให้ผู้โดยสารออกจากรถไฟฟ้าก่อน แล้วจึงเข้า
 7. อย่ายืนขวางประตูทางเข้าออกภายในรถไฟฟ้า
 8. หาที่นั่ง ยืนจับราวหรือห่วงภายในรถไฟฟ้า
 9. สังเกตป้ายสถานี หรือฟังประกาศจากพนักงานขับรถไฟฟ้ากำลังจะถึงสถานีที่ต้องการจะไปแล้วหรือยัง
 10. ออกจากรถไฟฟ้า เดินลงจากชั้นชานชาลา
 11. สังเกตป้ายบอกทิศทางที่ต้องการจะออกจากระบบ

 

การออกจากระบบรถไฟฟ้า

 1. สอดตั๋วเข้าที่ประตูทางออก ในลักษณะเดียวกับขาเข้า
 2. ตั๋วสะสมมูลค่า เมื่อสอดตั๋วเข้าไปที่ช่องเสียบตั๋วเรียบร้อยแล้ว
ก่อนรับตั๋วคืน สังเกตช่องสี่เหลี่ยมบนประตูทางเข้าเพื่อดูยอดเงินคงเหลือ (สามารถตรวจสอบได้ที่ห้องตั๋วโดยสารได้เช่นกัน)
 3. ตั๋วเที่ยวเดียว เมื่อสอดตั๋วเข้าไปแล้ว เดินออกประตูได้ทันที
เครื่องจะเก็บตั๋วไม่คืนตั๋วให้
     กรณีใช้ตั๋วสอดเข้าช่องสอดตั๋วที่ประตูทางเข้า - ออกอัตโนมัติ แล้วมีปัญหา ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ห้องตั๋วโดยสารทันที อย่าพยายามสอดตั๋วซ้ำเพราะอาจจะทำให้ ตั๋วมีปัญหาแล้วต้องเสียค่าปรับเพิ่มหรืออาจโดนหักมูลค่าตั๋วได้

 
 

 

ระยะเวลาที่สามารถอยู่ในระบบรถไฟฟ้า

  ตั๋วราคา 10 บาท จะอยู่ในระบบได้นาน 30 นาที
  ตั๋วราคา 15 บาท จะอยู่ในระบบได้นาน 60 นาที
  ตั๋วราคา 20บาท จะอยู่ในระบบได้นาน 60 นาที
  ตั๋วราคา 25 บาท ขึ้นไปจะอยู่ในระบบได้นาน 90 นาที
  อยู่เกินกว่าเวลาที่กำหนดเสียค่าปรับ 40 บาท






 

 

กรณีต่อไปนี้ต้องเสียค่าปรับ

 1. ตั๋วหายหรือชำรุด เสียค่าปรับ 40 บาท
 2. เดินทางเกินระยะทางที่ซื้อตั๋ว ต้องชำระส่วนต่าง
 3. เข้าซ้ำ หรือออกซ้ำ ปรับ 40 บาท กรณีสอดตั๋วเข้าประตูทางเข้า / หรือทางออกมากกว่า 1 ครั้ง (ตั๋ว 1 ใบ ใช้กับ 1 คน สำหรับเดินทางเข้าระบบ และออกจากระบบเท่านั้น)

 
 

 

การผ่านประตูทางเข้า-ออกอัตโนมัติ

  เด็ก





  คนท้อง


  คนพิการ (ทั่วไป)




  คนพิการ (สมาคม)






  ผู้โดยสารที่มี ีสัมภาระ




     ความสูงเกิน 90 เซนติเมตรซื้อบัตรโดยสารและสอดเข้า-ออกประตูอัตโนมัติตามปกติความสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตรให้ผู้ปกครองอุ้มเมื่อผ่านเข้า-ออก หรือแจ้งพนักงานขอผ่านเข้า-ออกช่องทางพิเศษ (Flush Gate)

     ซื้อตั๋วโดยสารตามปกติ แล้วทำการแจ้งพนักงานเพื่อขอเข้า-ออกทางช่องทางพิเศษ

     ซื้อตั๋วโดยสารตามปกติ หากสามารถใช้ผ่านประตูทางเข้า-ออกอัตโนมัติได้ให้เข้าออกตามปกติ
     หากไม่สามารถผ่านได้ให้แจ้งพนักงานเพื่อขอผ่านเข้า-ออกทางประตูฉุกเฉิน

     ติดต่อพนักงานเพื่อแสดงสมุดประจำตัวคนพิการ สังกัดสมาคมพิการ พนักงานจะทำการลงรายละเอียดในสมุดคุมและจะออกใบส่งตัวให้ ทำการผ่านเข้าทางช่องทางพิเศษ และเมื่อถึงสถานีปลายทางแสดงใบส่งตัวกับพนักงานเพื่อขอออกช่องทางพิเศษ

     นำสิ่งของผ่านทางช่องทางพิเศษ (ด้วยวิธีการขอเปิดหรือยกข้าม) ส่วนผู้โดยสารทำการสอดบัตรเข้า-ออกประตูอัตโนมัติ ตามปกติ หากต้องการถือขณะผ่านประตูทางเข้า-ออกอัตโนมัติิ จะต้องทำการยกสัมภาระให้สูงกว่าขอบบนประตู


 

การใช้ลิฟต์สำหรับคนพิการ

  ผู้พิการกดกริ่งบริเวณลิฟท์ชั้นพื้นถนนติดต่อไปยังห้องควบคุมสถานี เพื่อแจ้งความต้องการผ่านอินเตอร์คอมกับพนักงาน
  นายสถานีจะส่งพนักงานเพื่อรับผู้พิการที่ชั้นพื้นถนน โดยนำผู้พิการมายังชั้นจำหน่ายตั๋วเพื่อซื้อบัตรโดยสาร กรณีผู้พิการของสมาคมคมพิการจะทำการลงรายละเอียดในสมุดคุม สำหรับผู้ติดตามจะต้องซื้อตั๋วสอดเข้า-ออกตามปกติ
  พนักงานจะทำการออกใบส่งตัวให้กับผู้พิการ (ทั้ง 2 ประเภทคือส่วนตัวและสังกัดสมาคม)ในการเดินทาง
  พนักงานนำส่งผู้พิการขึ้นรถไฟชั้นชานชาลา และมอบใบส่งตัว ให้กับพนักงานขับรถไฟฟ้า (กรณีผู้พิการใช้รถเข็นโดยสารได้ครั้งละ 2 คนต่อ 1 ขบวนโดยจะให้ขึ้นที่ตู้หน้าสุดของขบวนรถบริเวณด้านหลังคนขับ)
  เมื่อถึงสถานีปลายทางพนักงานขับรถไฟฟ้าจะทำการนำส่ง ผู้พิการแก่พนักงานสถานที่รับผิดชอบเพื่อนำส่งสู่ชั้นพื้นถนนต่อไป
 

ที่มา : บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) www.bts.co.th

Hosted by www.Geocities.ws

1