แนวข้อสอบ

ท่านเห็นว่าสภาพปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผลกระทบต่อความร่วมมือในฐานะองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างไร จงอภิปรายปัญหา

จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สรุปได้ว่า ประเทศทั้งหลายในภูมิภาคนี้ล้วนเป็นประเทศด้อยพัฒนา ยกเว้นสิงคโปร์ที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง ที่ตามมาคือมาเลเซียกลายเป็นดาวรุ่งในภูมิภาคนี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคมกำลังก้าวไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วในระดับสากล

การเป็นประเทศด้อยพัฒนาทำให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคมากมายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญทำให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเค้กที่หอมหวานยั่วยวนให้ประเทศมหาอำนาจอยากเป็นเจ้าของมาโดยตลอด ภูมิภาคนี้จึงต้องประสบกับความวุ่นวายและตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศอาณานิคม เมื่อสิ้นยุคอาณานิคมก็ต้องตกอยู่ภายใต้ยุคสงครามเย็นตามมาด้วย Neo Imperialism ซึ่งก็ยังไม่สามารถหลีกพ้นอิทธิพลของมหาอำนาจได้

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ประชากร เผ่าพันธุ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันมาก ประเทศที่นับถือศาสนาพุทธได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ในขณะที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน นับถือศาสนาอิสลาม ฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์มีวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตกแต่ตอนใต้มีกบฏชาวมุสลิม สิงคโปร์เป็นพหุสังคมมีทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ความแตกต่างทางศาสนานี้มีผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรม

นั่นคือปัญหาในการรวมกลุ่มหรือการบูรณาการระดับภูมิภาค(Regional Integration) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำว่าการรวมกลุ่มหรือ บูรณาการ (Integration) คือการดำเนินการเพื่อลด (Reduce) อุปสรรคทางการค้าให้น้อยลง เพื่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศแบบเสรี (Free Trade) ตามแนวคิดแบบเสรีนิยม (Laisser Faire) ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการรวมกลุ่ม ซึ่งได้มีนักวิชาการได้ให้แนวคิดไว้ดังนี้

Karl W. Deutch (คาร์ล ดับเบิ้ลยู ดอยช์) ให้ทัศนะไว้ว่า การบูรณาการให้เกิดประชาคม (Community) ที่มีความมั่นคงถึงระดับ Security Community ประเทศสมาชิกต้องมีจิตสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้โดยมีกลไกการตัดสินใจร่วมกันจนอาจมอบอำนาจการตัดสินใจนั้นให้องค์กรกลางทำหน้าที่แทนได้

แนวคิดของดอยช์นี้สอดคล้องกับความเป็นไปในปัจจุบัน องค์กรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือประชาคมยุโรปที่พัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปแล้ว

Ernst B. Hass (เอิร์นส บี. ฮาสส์) เน้นการศึกษาแบบ Neo-Functionalism หรือภารกิจนิยมใหม่ โดยมีความเห็นว่า การรวมกลุ่มเป็นการอธิบายว่า รัฐต่าง ๆ นั้นยินยอมที่จะสูญเสียการมีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ยอมสละอำนาจอธิปไตยไปบางส่วนเพื่อหาเทคนิควิธีการใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน

ทัศนะของฮาสส์จะคล้าย ๆ กับดอยช์ที่ว่า เมื่อตั้งองค์กรความร่วมมือขึ้นมาแล้วก็ต้องมีกลไกในการบริหารจัดการ สิ่งที่ต้องศึกษาต่อไปคือรัฐที่เข้าเป็นสมาชิกมีการสละอำนาจอธิปไตยให้องค์การความร่วมมือระดับภูมิภาคนี้อย่างไร รัฐต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกเพื่อหวังผลตอบแทนอะไรบ้าง

Keohane และ Nye (โคเฮนและนาย) ศึกษาร่วมกันเรื่องการรวมกลุ่มในภูมิภาค อธิบายได้ว่า การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่าง ๆ (Interdependence) จะนำไปสู่การบูรณาการระหว่างประเทศ

การบูรณาการในทัศนะของโคเฮนและนายหมายถึง ระดับใด ๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในมิติหนึ่งหรือมิติอื่น ๆ การบูรณาการระหว่างประเทศจะดำเนินไปเรื่อย ๆ จนถึงพัฒนาการขั้นสูงสุดคือบูรณาการทางการเมือง (Political Integration) ลักษณะนี้จะทำให้ความร่วมมือระดับภูมิภาคกลายเป็นองค์กรเหนือชาติ (Supranational Union)

 

 

สรุป Interdependence

â

Integration

â

Political Integration

â

Supranational Union

จะมีขั้นตอนของการรวมกลุ่มดังนี้

1. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ประเทศสมาชิกมีข้อตกลงร่วมกันที่จะลดหรือยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกให้น้อยลงหรือหมดไป เช่น กำแพงภาษี โควตา วิธีการชำระเงินระหว่างประเทศในการค้าขายกัน เดิมในการค้าระหว่างสมาชิกต้องใช้เงินดอลลาร์ อาจเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลของตัวเองในการค้าขายกันแทน ซึ่งจะช่วยทำให้การค้าคล่องตัวมากขึ้น

อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2510 แต่ไม่ได้ทำอะไรเลยในช่วงสิบปีแรกเพราะอยู่ในช่วงที่สงครามเวียดนามกำลังรุนแรง แต่ละประเทศต่างยุ่งเหยิงมีปัญหาภายใน อีกทั้งถูกมหาอำนาจบีบคั้นอยู่ จนกระทั่งเมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงใน พ.ศ.2518 อาเซียนจึงเริ่มผนึกกำลังกันนำไปสู่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2518 สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

พ.ศ.2535 (หลังจากตั้งอาเซียนนานถึง 25 ปี) นายอานันท์ ปันยารชุนได้เสนอแนวความคิดเรื่อง Asian Free Trade Area : AFTA ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่สิงคโปร์

2. สหภาพศุลกากร (Custom Union) ประเทศสมาชิกหันมาพิจารณาปรับปรุงระบบภาษีศุลกากรให้เหมือนหรือเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อนำไปใช้กับประเทศนอกกลุ่ม

3. ตลาดร่วม (Common Market) ประเทศสมาชิกตกลงกันในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิก เช่น แรงงาน เงินทุน ทรัพยากร ให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนหรือร่วมมือกันในกิจการต่าง ๆ

ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปประสบความสำเร็จในขั้นตอนนี้มาก มีโครงการร่วมมือผลิตรถยนต์โดยสามารถเคลื่อนย้ายวิศวกร ช่างเทคนิค แรงงานที่มีความชำนาญแตกต่างกันระหว่างโรงงานในประเทศสมาชิกได้

4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) ประเทศสมาชิกตกลงกันยอมรับนโยบายเศรษฐกิจภายในเป็นหนึ่งเดียวกัน รัฐบาลของประเทศสมาชิกมีความเป็นหนึ่งเดียวกันในการใช้นโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญและเกิดขึ้นได้ยาก แต่ EU ก็พัฒนามาถึงขั้นตอนนี้ได้อย่างดีทีเดียว แต่สำหรับ อาเซียนคงต้องใช้เวลานานมาก

เมื่อพัฒนาการมาถึงสหภาพเศรษฐกิจแสดงว่ามีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็น Political Integration ได้ไม่ยากนัก

5. องค์การเหนือรัฐ (Supranational Union) ประเทศสมาชิกได้มอบอำนาจอธิปไตยทั้งหมดให้กับองค์กรกลางทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการแทนสมาชิก

ปัญหาอุปสรรคด้านเศรษฐกิจ ในการรวมกลุ่มในภูมิภาคอาเซียน

  1. ผลิตสินค้าส่งออกคล้ายคลึงกันคือสินค้าขั้นปฐมเป็นสินค้าเกษตรที่ยังไม่

ได้แปรรูป ทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ เช่น อาเซียนมีสินค้าเกษตรหรือแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน เมื่อรวมตัวกันก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้เพราะสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของกันและกัน กลายเป็นการนำมะพร้าวไปขายสวน นโยบายเขตการค้าเสรีในภูมิภาคนี้จึงดำเนินไปอย่างช้ามาก จะแแก้ไขปัญหานี้ได้จะต้องมีการแบ่งการผลิตตามความถนัดของแต่ละประเทศแล้วนำมาแลกเปลี่ยนกัน จึงจะเกิดการรวมกลุ่มกันได้แต่ถ้าต่างคนต่างผลิตโดยไม่มีการกำหนดมาตรารวมกันในการวางแผนการผลิตก็ถือว่าเป็นปัญหาใหญในการรวมกลุ่ม หรือการบูรณาการ(Integration)

ll. มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศอุตสาหกรรมนอกกลุ่ม เช่น สินค้าเทคโนโลยี สินค้าประเภททุนที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะสินค้าเหล่านี้หาซื้อจากประเทศสมาชิกในกลุ่มไม่ได้ ถ้ามีขายก็คุณภาพไม่ดี ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่พอจะผลิตสินค้าเทคโนโลยีได้ก็คือสิงคโปร์ แต่ประเทศสมาชิกก็เกี่ยงว่าไม่มีคุณภาพต้องซื้อจากประเทศนอกกลุ่ม ทำให้การค้าเปลี่ยนทิศทางหันเหไปจากกลุ่มอาเซียน

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มอาเซียนนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันอีก ทำให้การค้าขายระหว่างกันทำได้ยาก ประเทศเทศต่างก็มุ่งจะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วตามแบบอย่างตะวันตก จึงต้องมีการจัดซื้อเทคโนโลยีชั้นสูงมาจากยุโรป วิธีการแก้ไขจะต้องมีการแบ่งงานกันทำและยอมรับสินค้าประเทศนี้ในภูมิภาคเดียวกัน รวมทั้งจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพสินค้า และไม่ควรพัฒนาแบบก้าวกระโดดต้องค่อยเป็นค่อยไป

lll. มีความพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าเหมือนกัน ตามนโยบาย Import Substitution) เมื่อมารวมกลุ่มกันต้องยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดการค้าเสรี (Free Trade) แต่จริง ๆ แล้วแต่ละประเทศพยายามส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ และคุ้มกันอุตสาหกรรมนี้ที่เรียกว่า การคุ้มครองอุตสาหกรรมแรกเกิด (Infant Industry) โดยการใช้กำแพงภาษีหรือกำหนดโควต้า ซึ่งสวนทางกับหลักการในการรวมกลุ่ม(Integration)ที่ต้องยกเลิกการคุ้มกัน เห็นได้จาก AFTA ของอาเซียนที่คิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ผ่านมาแล้วสิบปีแต่ข้อตกลงหลายข้อยังไม่ได้รับการปฏิบัติ

lV. มีลักษณะการหารายได้เข้ารัฐเหมือนกัน รายได้หลักของประเทศมาจากการเก็บภาษีศุลกากร (สินค้าเข้าออก) แต่การรวมกลุ่มให้ยกเลิกหรือทำให้น้อยลงซึ่งประเทศสมาชิกไม่สามารถสละรายได้ในส่วนนี้ได้ เนื่องเป็นเงินทีต้องนำมาพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดปัญหาในการรวมกลุ่ม ซึ่งจะต้องร่วมมือกันยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าให้น้อยลงหรือหมดไป เพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศภาคีในกลุ่มตามนโยบาย นี่ก็คือปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการรวมกลุ่มหรือบูรณาการ(Integration) ในภูมิภาคอาเซียน

*********** ยังมีปัญหาอุปสรรคในด้าน การเมือง สังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ****ที่เป็นปัญหาอุปสรรคในการรวมกลุ่ม

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาการพัฒนาการเมืองที่จะไปสู่การเป็นประชาธิปไตยต้องมีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยที่เอื้ออำนวยและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ให้นักศึกษาวิเคราะห์และอธิบายโดยยกตัวอย่างประเทศใดประเทศหนึ่งยกเว้นประเทศไทย

รูปแบบการปกครองของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีรูปแบบการปกครองทุกรูปแบบทั่วโลก ประกอบด้วย

-ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา 4 ประเทศ ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ และมาเลเซีย

-ประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี 2 ประเทศ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

-ประชาธิปไตยกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี 1 ประเทศ คือติมอร์ตะวันออก มีประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งคือนายซานานา กุสเมา

-เผด็จการสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 2 ประเทศ คือลาวและเวียดนาม

-เผด็จการทหาร 1 ประเทศ คือเมียนมาร์

-สมบูรณาญาสิทธิราชย์ 1 ประเทศ บรูไน

จากคำถามข้างต้นจะขอตอบยกตัวอย่าง 2 ประเทศคือประเทศ มาเลเซียซึ่งถือว่าเป็นตู้โชว์ การปกครองระบบรัฐสภา คือเป็นการปกครองในระบบรัฐสภาที่สมบูรณ์แบบที่สุด และ ประเทศฟิลิปฟินส์ ที่ได้รับฉายาว่า เป็นตู้โชว์ ของการปกครองในระบบประธานาธิบดี (จะร้าวบ้างในสมัยของ ประธานาธิบดีมาก๊อต)

การพัฒนาการทางการเมือง (Political Development) มีนักวิชาการหลายท่าน เช่น ลูเชียน พาย, ฮันติงตัน.อัลมอน.เวอร์บ่า .เดวิด อิสตัน เป็นต้น ต่างให้ความหมายประการหนึ่งว่า การที่ทำให้ประเทศไปสู่ความทันสมัยหรือความเป็นประชาธิปไตยก็คือการที่ประเทศได้มีความพยายามนำรูปแบบการปกครองและสาระเนื้อหาของการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศ โดยเฉพาะการเปิดโอกาสโดยการจัดทำรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างทมี่เปิดโอกาสให้ประเทศได้มีสิทธิเสรีภาพในการปกครอง ในการแสดงออกทางการเมือง ในการปกครองตนเอง และการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากขึ้น ซึ่งกิจกรรมและกระบวนการเหล่านี้ก็จะนำไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศต่อไป

ดังนั้นปัจจัยที่เอื้อและไม่เอื้อต่อการพัฒนาการทางเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ในภาพรวมก็อาจพิจารณาได้ 2 ประเด็นหลักใหญ่ๆคือ 1.ปัจจัยภายในประเทศ 2.ปัจจัยภายนอกประเทศ ที่มีผลกระทบต่อการเป็นประชาธิปไตย ซึ่งสามารถพิจารณาในรายละเอียดได้ดังนี้

ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียปกครองในระบอบประชาธิปไตยรูปแบบระบบรัฐสภา (Parliamentary System)

หลักการของระบบรัฐสภาก็คือเป็นการรวมอำนาจนิติบัญญัติและบริหารรวมอยู่ในมือของคณะบุคคลเดียวกัน นั่นคืออำนาจอธิปไตยมีการแบ่งแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ แต่ไม่มีการแบ่งแยกแบบไม่เด็ดขาด แต่มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน

ภายใต้ระบบนี้รัฐสภาจะเป็นองค์กรที่สำคัญที่สุดในฐานะองค์กรที่แสดงถึงเจตนารมย์ของประชาชน ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลจะมาจากการแต่งตั้งของฝ่ายนิติบัญญัติ การบริหารของรัฐบาลจะต้องอยู่ภายใจใต้ความไว้วางใจจากสภา

ขณะเดียวกันก็มีการถ่วงดุลระหว่างรัฐสภาและรัฐบาล นั่นคือรัฐสภามีสิทธิที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางในรัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจในการยุบสภา

สำหรับตำแหน่งต่างๆในระบบรัฐสภาประกอบด้วย

- ตำแหน่งประมุขของรัฐ หรือ Head of State จะไม่มีอำนาจทางการเมือง แต่จะเป็นประมุขในทางพิธีการ โดยไม่มีอำนาจทางการเมือง แต่จะต้องเป็นกลางทางการเมือง มีบทบาทในลักษณะการเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ

ประมุขของรัฐ ของประเทศ มาเลเซียจะเรียกว่าพระราชาธิบดี หรือยังดีเปอตวนอากง และที่มาของประมุขจะใช้การเลือกจากสุลต่านของรัฐต่างๆทั้ง 9 รัฐ โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี

-ตำแหน่งประมุขหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารจะเป็นคนละคนกับประมุขของรัฐ ใน 4 ประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภาคือนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของมาเลเซียคือ ดร.มหาเธร์ (มีวาระในการดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี)

นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ในทางการเมือง กำหนดนโยบาย จัดสรรงบประมาณ และบริหารราชการแผ่นดิน

-รัฐสภา มาเลเซียนั้นมี 2 สภา

-ระบบพรรคการเมืองในมาเลเซียนั้น เป็นระบบพรคคเด่นพรรคเดียว โดยในมาเลเซียพรรคที่ได้เป็นรัฐบาลมาตลอดคือพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยพรรคต่างๆถึง 14 พรรคและมีพรรคอัมโนเป็นแกนนำ ขณะที่สิงคโปร์นั้นพรรคที่ครองอำนาจมาตลอดคือพรรค PAP-People Action Party

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการทางการเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยของมาเลเซีย

    1. มาเลเซียภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งถือเป็นต้นแบบการปกครองรูป
    2. แบบรัฐสภา อังกฤษได้สอนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรูปแบบรัฐสภาให้กับประเทศมาเลเซีย จนได้รับฉายาว่า เป็นตู้โชว์ของการปกครองรูปแบบรัฐสภา วิ๔ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็คุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย

      รัฐธรรมนูญทีใช้ในการปกครองประเทศ อังกฤษก็เป็นผู้ร่างให้กับมาเลเซีย โดยได้กำหนดการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary System) โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (Constitutional Monarchy)

      ฝ่ายบริหารประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยคณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบร่วมกันในการบริหารประเทศ

      1.สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) มีสมาชิก 194 คน เลือกมาจากเขตละ 1 คน

      2.วุฒิสภา (Senate) ประกอบด้วยสมาชิก 2 กลุ่ม จำนวน 68 คน โดย 26 มาจากการเลือกโดยสภานิติบัญญัติของ 13 รัฐ ส่วนอีก 42 มาจากการเสนอรายชื่อของนายก มีวาระ 6 ปี

      ฝ่ายตุลาการ เนื่องจากมาเลเซียเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ การบริหารงานด้านยุติธรรมจึงอาศัยแบบอย่างของกฎหมายอังกฤษ หรือ Common Law และสถาบันตุลาการทั้งประเทศ

    3. ขบวนการกู้เอกราชของชาติ (UMNO) ประเทศมาเลเซียถึงแม้จะเป็นเมือง
    4. ขึ้นของอังกฤษแต่ก็มีความสงบเรียบร้อย มาเลเซียได้พัฒนาทางการเมืองการปกครองตามระบบที่อังกฤษได้วางไว้ จนได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1957 การต่อต้านการปกครองและการเรียกร้องเอกราชก็ทำด้วยวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย ด้วยการที่ชาวมาลายาและเชื้อชาติอื่นๆ ในมาเลเซีย ต่างก็ได้ก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อเจรจากับรัฐบาลอังกฤษที่ลอนดอน

      การต่อต้านเรียกร้องเอกราชของ องค์การเอกภาพแห่งชาติมาลายา หรือ อัมโน (United Malays National Organization: UMNO) โดยจัดตั้งขึ้นในเดือน มีนาคม 1946 พร้อมกันนี้ก็ได้เรียกร้องอย่างแข็งขันให้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตนเอง

      อังกฤษได้ให้เอกราชแก่มาเลเซียในเดือนสิงหาคม 1957 ซึ่งก็ได้มีพรรคอัมโนและพรรคพันธมิตร รวม 14 พรรค (ซึ่งต่อมาเรียกว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติ) ก็ได้ดำเนินบริหารประเทศโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตามแนวทางที่อังกฤษได้วางรากฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

    5. ระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง สังคมมาเซีย เป็นสังคมพหุนิยม ซึ่งมี
    6. การจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาก่อนที่จะได้รับเอกราชในปี 1957 ทำให้มีพรรคการเมืองหลายพรรค ซึ่งก็แบ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน และพรรคฝ่ายรัฐบาล และได้วิวัฒนาการระบบพรรคการเมืองเป็นพรรคเด่นพรรคเดียว ทำให้ประชาธิปไตยในระบบพรรคการเมืองได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ

      พรรคฝ่ายรัฐบาลที่ปกครองมาเลเซียในปัจจุบันคือ พรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งมีพรรคอัมโนเป็นแกนนำ จะชนะการเลือกตั้งมาตลอด คือพรรคอัมโน เป็นตัวแทนของชาวมาลายา พรรคเอ็มซีเอ เป็นตัวแทนของชายจีนบางส่วน พรรคเอ็มไอซี เป็นตัวแทนของกลุ่มชาวอินเดีย ซึ่งก็ชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง ทำให้การเมืองในมาเลเซียมีเสถียรภาพในการบริหารงานมาตลอดจนปัจจุบัน

    7. ผู้นำในการแกครองประเทศ นับแต่ได้รับเอกราชในปี 1957 เป็นมา นายกรัฐ

มนตรีมีจิตใจและสนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซียจบกฎหมายมาจากอังกฤษ คือ ตวนกู อับดุล ราห์มาน ได้เป็นผู้วางรากฐานการปกครองและการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ได้มีส่วนจัดทำร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายต่างๆ และได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลอังกฤษซึ่งถือเป็นแม่แบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา

ปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการทางการเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยของมาเลเซีย

1.กฎหมายความมั่นคงภายใน กฎหมายก่อกวนความไม่สงบและกฎหมายว่าด้วยความลับทางราชการ นับแต่ได้รับเอกราชมารัฐบาลมาเลเซียเชื่อว่าความคิดและแนวนโยบายทางสังคมจะไม่ได้รับการต่อต้าน เพราะรัฐบาลได้ปลูกฝังความเชื่อที่คนทุกคนจะต้องเคารพกฎหมาย ทั้งนี้รัฐบาลก็ใช้กฎหมายบังคับเต็มที่ด้วย และได้นำกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายใน (Internal Security Act) หรือ ISA เพื่อแสดงถึงการที่รัฐบาลสามารถควบคุมประชาชนได้ มีการนำกฎหมายว่าด้วยการปลุกปั่นเพื่อก่อความไม่สงบ (Sedition Act) และกฎหมายว่าด้วยความลับทางราชการ( Official Secrets Act) มีการนำกฎหมายว่าด้วยการควบคุมให้ข่าวและการสื่อสาร พฤติกรรมของรัฐไม่เป็นประชาธิปไตย คือการใช้กฎหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคสมาชิกของแนวร่วมแห่งชาติสมารถรักษาที่นั่งในสภาได้มากที่สุดในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง

2.ปัญหาความขัดแย้งเชื้อชาติ มาเลเซีย เป็นสังคมพหุสังคมที่ประกอบไปด้วยชาวมาลายา จีนและอินเดีย เป็นประชากรส่วนใหญ่ และมีชาวพื้นเมืองและชาติพันธ์อื่นกีประมาณ 0.8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือเป็นของ 3 เชื้อชาติ ความขัดแย้งเชื้อชาติมีอยู่เป็นประจำ เช่น เคยมีชาวมาลายา เผ่าอาคารบ้านเรือน และปล้นสดมภ์ คนมาเลเซียเชื้อชาติจีนมี คน บาดเจ็บ ล้มตามเป็นจำนวน มาก เกือบเป็นการจราจลล้างเผ่าพันธ์

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศฟิลิปปินส์

ระบบประธานาธิบดี (Presidential System)

หลักการของระบบประธานาธิบดี จะเป็นระบบที่มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกจากกันโดยเด็ดขาด หรือ Separation Power ระหว่างฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

ฝ่ายบริหารจะมีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้า ประธานาธิบดีจะมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนจะเป็นการเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ ขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเช่นกัน ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายมีอิสระต่อกันไม่ก้าวก่ายกัน

สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นแม่แบบของระบบประธานาธิบดีการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็อาจจะกล่าวว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อมเนื่องจากมีคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) ทำหน้าที่เลือกประธานาธิบดี ด้วยและเสียงของคณะผู้เลือกตั้งจะเป็นเสียงที่ตัดสินว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี แม้ว่าเสียงมหาชนจะเป็นไปอีกทางก็ตาม

ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่รับเอามรดกนี้มาจากอเมริกาแต่การเลือกตั้งประธานาธิบดีในฟิลิปปินส์จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน นอกจากนี้ตำแหน่งรองประธานาธิบดีอาจจะมาจากคนละพรรคกับประธานาธิบดีจะแตกต่างจากอเมริกาที่ประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจะอยู่พรรคเดียวกัน

ระบบประธานาธิบดีนั้นประธานาธิบดีจะทำหน้าที่ประมุขของรัฐและประมุขของรัฐบาลด้วย (จะไม่มีนายกรัฐมนตรี) ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ดำรงตำแหน่งได้เพียงสมัยเดียว 6 ปี

รัฐสภาในระบอบประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์นั้นมี 2 สภาคือสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 250 คนดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี และมีวุฒิสภาจำนวน 24 คน ถ้าประธานาธิบดีทำงานผิดพลาดหรือมีความผิดร้ายแรงรัฐสภามีอำนาจในการถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือ Impeachment ได้

ขณะเดียวกันประธานาธิบดีก็มีอำนาจที่จะไม่ลงนามในกฎหมายที่รัฐสภาออกมาหากประธานาธิบดีไม่เห็นชอบด้วย

ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการทางการเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยของฟิลิปปินส์

1.ฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา

ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากอเมริกาในวันที่ 4 กรกฎาคม 1946 (วันชาติอเมริกา) หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน 300 ปีและเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอีก 65 ปี ทำให้ฟิลิปปินส์ได้รับการถ่ายทอดการปกครองในระบบประธานาธิบดีจากอเมริกาและมีการเมืองที่เข้มแข็งและได้รับฉายาว่าเป็นตู้โชว์ของระบบประธานาธิบดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แต่ในสมัยของมาร์กอสสมญานามนี้ก็ถูกกระทบกระเทือนเพราะมาร์กอสใช้แนวคิดแบบเผด็จการเข้ามาปกครองประเทศ)

สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเศรษฐกิจในประเทศฟิลิปปินส์เป็นอย่างมากโดยการเปิดการค้าเสรีระหว่างกัน รวมทั้งยังได้ให้สิทธิพิเศษในการส่งสินค้าเข้า นอกจากนี้ยังได้สอนให้ชาวฟิลิปปินส์ได้รู้จักกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ฝึกให้มีส่วนร่วมใรการปกครองให้รู้จักสิทธิเสรีภาพ และยังสร้างระบบการศึกษาแบบสหรัฐให้ฟิลิปปินส์

การพัฒนาประชาธิปไตยในฟิลิปปินส์ นั้นได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกาทำให้ฟิลิปปินส์ มีวัฒนธรรมทางการเมืองสูง เพราะถือว่าเสียงของประชาชนเป็นส่วนที่ทำให้รัฐบาลนำไปตัดสินใจ กำหนดนโยบาย

2.รัฐธรรมนูญในการกำหนดระเบียบการปกครองประเทศ

ปัจจุบันรัฐธรรมนูญของฟิลิปปินส์คือรัฐธรรมนูญ ปี 1987 (11 กุมภาพันธ์)

ประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์จะทำหน้าที่ทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปีและเป็นได้เพียงสมัยเดียวเท่านั้น ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือประธานาธิบดี กลอเรีย มาเกาปาเกา อาโรโย่ เป็นลูกสาวของอดีตประธานาธิบดีมาเกาปาเกา

รัฐสภาของฟิลิปปินส์ มี 2 สภาคือสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่เกิน 250 คน มาจากการเลือกตั้งตามระบบบัญชีรายชื่อดำรงตำแหน่งวาระละ 3 ปีและดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 3 สมัย

ส่วนส.ว. มี 24 คนมาจากการเลือกตั้งของประชาชนและดำรงตำแหน่งวาระละ 6 ปี

ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป

สหรัฐอเมริกาได้ฝึกให้ชาวฟิลิปปินส์ ได้รู้จักคำว่า ๆ “ รัฐธรรมนูญ” และการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ถึงระดับชาติ ซึ่งแสดงไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแรก จากรัฐธรรมนูญ สหรัฐฯได้วางรากฐานการปกครองระบบประธานาธิบดีมีการถ่วงดุลอำนาจระหว่าง นิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ

3.ระบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง

ระบบพรรคการเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นระบบ 2 พรรคใหญ่ (1946-1972 ) คือพรรคเสรีนิยม (Liberal Party) และพรรคชาตินิยม (NATIONAL PARTY)

และหลังโค่นอำนาจจาก มาร์กอส การพัฒนาพรรคการเมืองของฟิลิปปินส์ จึงเป็นระบบหลายพรรค การเลือกตั้งของฟิลิปปินส์เป็นการเลือกตั้งทุกตำแหน่ง พรรครัฐบายอาจมีเสียงหรือ รัฐบาลอาจจะมีปัจจัยไทยทาน รัฐสภาของฟิลิปปินส์ได้ลงมิติให้พรรคคอมมิวนิสต์ เป็นพรรคที่ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเลย ซึ่งเป็นประชาธิไตยของประเทศ และให้ประชาธิไปตยของประเทศเข้าแข็งด้วย

ปัจจัยที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการทางการเมืองไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยของฟิลิปปินส์

ช่วงที่ประชาธิปไตยของฟิลิปปินส์ หยุดชงักคือยุคของประธานาธิบดี มาร์กอส ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและประกาศใช้กฎอัยการศึกษาในเดือน กันยายน 1972 ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐธรรมนูญใหม่ให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากกว่าเดิมจนกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการในทางการเมือง มีการแก้รัฐธรรมนูญรวมอำนาจเอาไว้ที่ประธานาธิบดีมาร์กอส ถือเป็นยุคเดียวที่ตู้โชว์ระบบประธานาธิบดีร้าว

*********** เนื้อหาในหนังสือมีอีก***********

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1