จากคำถามที่ว่า “ภายใต้กระแสคลื่นโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจกับการเมืองเป็นเรื่องยากที่จะแยกออกจากกัน และเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจไทย”

เป็นคำกล่าวที่เป็นจริงตามทัศนะของ นาย Nom กระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้การแสวงหาอำนาจจากทางการทหารมาเป็นการแสวงหาอำนาจในทางเศรษฐกิจ ในยุคปัจจุบัน เศรษฐกิจจะนำหน้าการเมืองแต่ก็ไม่สามารถแยกออกจากกันระหว่างการเมืองและเศรษฐกิจ ดังคำว่า “ การเมืองดีมีเสถียรภาพ การลงทุนประกอบการค้าหรือการลงทุนในธุรกิจต่างๆก็จะตามมา เศรษฐกิจก็จะรุ่งเรือง” จะเห็นได้ว่าประเทศไหนที่การเมืองมีเสถียรภาพ ไม่เปลี่ยนแปลงบ่อย ก็จะทำให้นักลงทุนสนใจมาลงทุนในประเทศนั้น จะก่อให้มีเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศ เกิดการสร้างงาน ประชาชนมีรายได้ มีกำลังซื้อ เพิ่มอัตราการผลิต เศรษฐกิจเบ่งบาน

ดังกล่าวข้างต้นว่า กระบวนการโลกาภิวัตน์ Globalization Processes ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง มี 4 มิติ

1. Mobility การเคลื่อนย้ายถ่ายเท ทำได้อย่างรวดเร็ว การครอบโลกคือการทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียว การอพยพเคลื่อนย้ายถ่ายเทนี้เป็นไปในหลายรูปแบบ เช่น ทุน แรงงาน

2. Simultaneity ปรากฏการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ สามารถเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กันในโลก ไม่ว่าจะเป็นปรากฎการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เช่น ภาพยนตร์เรื่องไททานิคฉายพร้อมกันทั่วโลก ในประเทศไทยโกยเงินได้ถึง 200 ล้าน ผู้ชมส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณาว่าเป็นเรื่องราวความรักที่ยิ่งใหญ่ ทั้ง ๆ ที่ตำนานที่ลึกซึ้งของไทยก็มีเหมือนกัน เช่น ขวัญเรียม ตำนานของไทยยาวนานกว่าเพราะดำรงความเป็นชาติมานานกว่า สหรัฐฯเพิ่งเป็นชาติมาเมื่อ 200 ปีเศษนี่เอง แต่พยายามขยายประวัติศาสตร์เล็ก ๆ แห่งชาติตนครอบให้คนทั้งโลกเชื่อและคล้อยตาม โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

3. By-pass การลดขั้นตอนในการผลิต การติดต่อสื่อสาร การลงทุน การสั่งการ การทำธุรกิจ การแก้ไขปัญหาทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจควบคู่กันไป การลดขั้นตอนจะช่วยลดปัญหา เช่น ถ้าผู้นำกับผู้นำสามารถยกหูโทรศัพท์คุยติดต่อกันได้ หรือติดต่อผ่านอีเมล์ย่อมลดปัญหาและค่าใช้จ่ายทั้งหลายทั้งปวงลงได้

4. Pluralism ความหลากหลาย ซึ่งนำมาทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศเต็มไปด้วยความหลากหลายแต่ก็มีความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้ง ทั้ง ๆ ที่ดูเสมือนว่ามีความขัดแย้งมากกว่าความร่วมมือ

ระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบนจะหันไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม

ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม จะพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้

-ความสัมพันธ์ของนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ขาย ผู้บริโภค ดูว่ามีความยุติธรรมหรือไม่ นายจ้างต้องการกำไรสูงสุดกับทุนที่ลงไป ในขณะที่ลูกจ้างก็อยากได้ค่าจ้างมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทำอย่างไรที่จะให้ทั้งสองฝ่ายมาพบกันครึ่งทาง ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนี้ในท้ายที่สุดแล้วจะต้องมีสหภาพแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้อง

ในส่วนของผู้ขายกับบริโภค ผู้ขายย่อมต้องการกำไรมากในขณะที่ผู้บริโภคก็อยากได้ของดีราคาถูก หรือบางครั้งสินค้าราคาแพงแต่มีคุณภาพดีผู้บริโภคก็ไม่เกี่ยง ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายยังเสียเปรียบประเทศพัฒนาแล้วที่มีสหภาพแรงงานและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่ทำการคุ้มครองเป็นอย่างดี

การคุ้มครองผู้บริโภคนั้นประเทศตะวันตกและสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองผู้บริโภคของตนมาก นานมาแล้วสหรัฐฯมีปัญหาเรื่องรถฟอร์ดพินโต้ ขับไปดี ๆ แล้วเกิดไฟไหม้จึงมีการเรียกร้องบริษัทฟอร์ดให้จ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวนมหาศาล เช่นเดียวกับกรณียางไฟร์สโตนที่มีการปริที่ขอบยางได้ง่าย ทำให้ยางแตกยางระเบิดเกิดอุบัติเหตุเป็นประจำ ก็มีการเรียกร้องค่าชดเชยจำนวนมหาศาลด้วยเช่นกัน หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ฟ้องร้องค่าชดเชยจำนวนหลายล้านดอลลาร์จากบริษัทบุหรี่ที่ทำให้คนต้องเสียชีวิต ที่ทำได้เพราะสหรัฐฯเห็นว่าคุณค่าของชีวิตมนุษย์นั้นมีมากกว่าค่าของทรัพย์สิน สิ่งเหล่านี้บ้านเรายังไม่ได้สนใจมากนักแต่ก็เริ่มมีให้เห็นบ้างแล้ว

-การแข่งขันหรือความร่วมมือ การเมืองกับเศรษฐกิจก็ไม่แตกต่างกันนั่นคือต้องมีการแข่งขันและความร่วมมือ เช่น ปั๊มน้ำมันราคาจะเหมือนหรือใกล้เคียงกันมากเพราะร่วมมือกันทำการค้าไม่ได้แข่งขันกัน เห็นได้ว่าปั๊มคาลเท็กซ์ เชลล์ เอสโซ่ ราคาจะเหมือนกัน ปตท.อาจจะต่างกันเล็กน้อย บางจากอาจจะต่างมาอีกนิดหน่อย กล่าวได้ว่าตลาดน้ำมันเป็นตลาดผูกขาดไม่ต่างกับการเมืองที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงตอนเลือกตั้ง แต่เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วกลับร่วมมือกันเพราะต่างคนต่างก็อยากเป็นรัฐบาล ดังนั้นเศรษฐกิจกับการเมืองเป็นคนละด้านของเหรียญ

-เท่าเทียมหรือไม่เท่าเทียม สัจธรรมของทุนนิยมคือความไม่เท่าเทียมกัน ปลาใหญ่ต้องกินปลาเล็ก เห็นได้จากร้านโชห่วยหายไปเพราะพ่ายแก่ร้าน 7-11 เมื่อเทียบกับการเมืองคือพรรคใหญ่กินพรรคเล็ก ผู้มีอิทธิพลมากกว่าทางการเมืองย่อมครอบงำผู้ที่มีอิทธิพลน้อยกว่า

ระบบทุนนิยมนั้นไม่เคยให้ความเสมอภาค เปรียบเทียบได้กับนิ้วมือคนเราที่ยังไม่เท่ากัน แล้วจะหาความเสมอภาคจากระบบทุนนิยมได้อย่างไร

-ประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยม ระบบทุนนิยมปัจจุบันเน้นประชาธิปไตย แต่ในยุคสงครามเย็นไม่ได้เน้นประชาธิปไตย ไม่สนใจระบบการปกครองด้วยซ้ำ คิดเพียงว่าที่ใดที่ระบบการปกครองมีเสถียรภาพที่นั้นเหมาะสมกับการลงทุน เพราะการเมืองที่มีเสถียรภาพจะทำให้สามารถคาดการณ์ได้ถึงผลกำไรจากทุนที่ลงไปแล้ว

การเมืองที่ไร้เสถียรภาพในตอนนี้ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อาร์เจนติน่า ไม่มีใครอยากไปลงทุน สำหรับเมืองไทยนั้นนักลงทุนยังไม่ตัดสินใจว่าจะมาลงทุนดีหรือไม่ เพราะต้องเปรียบเทียบว่าที่ใดลงทุนแล้วจะได้ผลกำไรมากที่สุด ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับนายกฯว่าจะนำเสนอประเทศไทยแก่นักลงทุนในภาพอย่างไร คู่เปรียบเทียบของไทยที่น่ากลัวคือ เวียดนามที่มาแรงมากในตอนนี้ มาเลเซีย จีน

น่าภูมิใจว่า นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ดีพอสมควร ผู้นำยุคใหม่ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลก ตัวอย่าง อินเดียเป็นประเทศที่พัฒนาเรื่องคอมพิวเตอร์อย่างมาก นายกฯทักษิณก็บุกอินเดียเพื่อเจรจาตกลงต่อรองแลกเปลี่ยนกับอินเดียทันทีเรียกว่าทันเกมสหรัฐฯ ตลอดเวลา ตกลงว่าไทยจะช่วยสร้างถนนให้อินเดียช่วยสอนคอมพิวเตอร์ให้ จากนั้นไม่นานไปสหรัฐฯจนสหรัฐฯให้ไทยเป็นศูนย์ผลิตยางรถยนต์ทุกชนิดรวมทั้งล้อเครื่องบินด้วย การที่นายกฯทำงานได้รวดเร็วเพราะเคยเป็นนักธุรกิจมาก่อน จึงจับกระแสโลกได้อย่างรวดเร็ว ประเทศไทยถ้าจะอยู่รอดในระบบทุนนิยมจะมัวช้าอืดอาดเหมือนในอดีตไม่ได้อีกต่อไปแล้ว

นับตั้งแต่เศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2540 การแข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมืองยังไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย ยังไม่มีการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเน้นเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
-ส่วนรวมหรือส่วนตัว ในระบบทุนนิยมจะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Private Interest ผลประโยชน์ส่วนตัวอันหมายถึงผลประโยชน์ขององค์กร บริษัท ผลประโยชน์ส่วนรวม (Public Interest) เป็นเรื่องของภาครัฐที่ต้องทำให้มวลชน ซึ่งผลประโยชน์สองส่วนนี้ขัดกัน แต่ปัจจุบันมีกระแสเรียกร้องจากมวลชนทำให้บริษัทเอกชนหลายแห่งเริ่มมองถึงการคืนกำไรสู่สังคม เพราะยิ่งกอบโกยมากความผุกร่อนของสังคมก็ยิ่งมีมาก ทำให้ผู้บริโภคมีกำไรซื้อน้อยผู้ผลิตเองที่จะได้กำไรน้อยในภายหลัง

ตลาดระบบทุนนิยม กล่าวได้ว่าตลาดเป็นหัวใจอีกห้องหนึ่งของระบบทุนนิยม ทุนนิยมปราศจากตลาดไม่ได้ประกอบด้วย

-ระบบตลาดทำงานอย่างไร ดูขนาดของตลาดว่าใหญ่ กลาง หรือเล็ก ระบบการทำงานเป็นระบบผูกขาดหรือเปิดโอกาสให้ทุนเล็กเข้ามาแข่งขันได้

-มีปัจจัยใดเป็นตัวกำหนด เช่น ราคา อุปสงค์ อุปทาน กฎเกณฑ์ที่รัฐกำหนด เช่น Protectionism การกำหนดมาตรฐาน ISO ซึ่งอาจารย์เห็นว่าเป็นการหักหัวคิวข้ามชาติ ต่างชาติฉลาด เมื่อการแข่งขันใดที่ประเทศตนสู้ไม่ได้ก็จะสร้างกฎเกณฑ์การแข่งขันขึ้นมาใหม่ คนเอเชียไม่เคยคิดอะไรเองแต่จะรับและเชื่อในสิ่งที่ฝรั่งพูด

-กำไรและค่าจ้าง

-เทคโนโลยีการผลิตแบบไหน ปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงในเรื่องเทคโนโลยี ตัวอย่างคือ ประเทศอินเดียไม่ค่อยใช้สินค้าฟุ่มเฟือยมากแต่จะเลือกใช้ที่เหมาะสมกับบ้านเมืองของตน รวมทั้งคิดเทคโนโลยีเองด้วย บังกาลอร์เป็นสุดยอดของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ประธานาธิบดีบิล คลินตันมาเห็นแล้วก็ต้องยกนิ้วให้ (ที่สหรัฐฯอยู่ที่ Silicon Valley บุคลากรส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติมากกว่าคนอเมริกัน) ตอนนี้บังการลอร์นำหน้า Silicon Valley เพราะราคาถูกกว่า ทุนนิยมชอบของถูกจึงส่งข้อมูลมาวิเคราะห์ที่บังกาลอร์เพราะทั้งถูกทั้งรวดเร็ว เหลือราคาประมาณ 1 ใน 3 ของบริษัทที่ปรึกษาในสหรัฐอเมริกา

การที่ประเทศตะวันตกประสบความสำเร็จเป็นมหาอำนาจได้นั้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือความรักชาติ คนอเมริกันเป็นตัวอย่างของความรักชาติที่ดี กล่าวคือ หลังเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ปีที่แล้ว นับเป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามอย่างเป็นทางการหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้าย สื่อมวลชนได้เชิญอัล กอร์ให้ออกมาแสดงความคิดเห็นเรื่องการประกาศสงครามแล้วถล่มอัฟกานิสถานของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช อัล กอร์ตอบว่า ถ้าตนเป็นประธานาธิบดีก็คงมีนโยบายที่แตกต่างกันออกไปบ้างเพราะพรรคเดโมแครตมีนโยบายแตกต่างจากพรรครีพับลิกัน แต่ในฐานะที่เป็นอเมริกันชน ตนขอสนับสนุนนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯทุกประการ แน่นอนว่าปรากฏการณ์เช่นนี้ย่อมไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย

สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้นั้นไม่จำเป็นต้องทันสมัยเหมือนโลกตะวันตก เช่น สมัยหนึ่งเคยมีความคิดว่าโรงเรียนต้องทันสมัยโดยต้องมีคอมพิวเตอร์ทุกโรงเรียน แม้แต่โรงเรียนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ บางโรงเรียนมีคอมพิวเตอร์ก็จริงแต่ไม่มีใครใช้เป็น ดังนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม

ลักษณะของตลาดทุนนิยม

-ความไม่เท่าเทียมกันด้านค่าจ้าง ก่อให้เกิดพลังผลักดันในการแข่งขันสูง และในขณะเดียวกันยังเป็นพลังผลักดันในการปิดตลาด สร้างนโยบายกีดกันทางการค้า ตัวอย่าง ประเทศไทยผลิตข้าวส่งขายตลาดโลกเมื่อขายไม่ได้จำต้องระบายสินค้าออก การระบายออกนี้ประเทศไทยทำในระบบทุนนิยม ในขณะที่มหาอำนาจระบายสินค้าออกภายใต้ระบบจักรวรรดินิยม โดยการใช้อำนาจบังคับ สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเอง

-ผลกระทบต่อสังคม

-ปัจจัยที่มีอิทธิพล ตลาดจะขยายตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค การขนส่ง สื่อที่กระตุ้นความอยากของผู้บริโภค

มิติของทุนนิยม

-แข่งขัน มีแน่นอนในระบบทุนนิยมแต่ทุนใหญ่มักกลืนทุนเล็ก

-ควบคุม เมื่อทุนใหญ่กลืนทุนเล็กแล้วก็สามารถควบคุมได้

-เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเกิดจากการเปลี่ยนวิธีการผลิต วิถีการบริโภค

เห็นได้ว่าระบบเศรษฐกิจก็ไม่แตกต่างกันเลยกับระบบการเมือง

เศรษฐกิจระหว่างปรเทศจะมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจไทยมากด้วยเหตุที่ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยเป็นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม การค้าขายทุกอย่างจะเป็นไปตามกลไกของตลาดตามทฤษฎีทุนนิยม และหลังจากประเทศไทยได้พบกับวิกฤติการณ์ ทางเศรษฐกิจใน 2540 จนต้องได้ขอความช่วยเหลือจาก กองทุนเงินตราระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างปรเทศในการให้เงินช่วยเหลือประเทศที่พบกับวิฤติการณ์ทางการเงิน หรือมีหนี้มาก แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IMF นั่นคือต้องเปิดเสรีทางการค้า ดังนั้น เศรษฐกิจระหว่างประเทศจึงมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจไทย

อาจกล่าวได้ว่าโครงสร้างของการพัฒนาของสังคมปัจจุบันก็คือการพัฒนาระบบการผลิตการจัดการ ความมั่นคง(อำนาจ) ซึ่งก็คือการพัฒนาการผลิต การเงิน สังคม และความรู้ให้มีสัดส่วนสมดุลกัน การจะเข้าในสภาพสังคมหรืดโลกทันสมัยใหม่นั้นจึงต้องทำความเข้าใจความสัมพันธ์เชิงการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่มาของการวิเคราะห์ในทฤษฎีเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะในกระแสกระพากษ์ว่าความสัมพันธ็ระหว่างการผลิต การเงิน ความรู้และความมั่นคงนั้นมีพัฒนาการเป็นอย่างไร และก่อให้เกิดผลอย่างไรต่อโลกที่ผ่านมา และต่อสถานการณ์โลกในปัจจุบันอย่างไร ซึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสถานการณ์โลกจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ก็จะต้องการความทันสมัย ต้องการความมั่งคั่งของประเทศของตนเป็นหลัก แต่ก่อนนั้นสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศจะเน้นในเรื่องอำนาจในทางการเมือง ความมั่งคงของชาติดังจะเห็นได้สมัย ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 มาจะมีการแข่งขันกันสะสมอาวุธนิวเคลียร์ก็เพื่ออำนาจแห่งรัฐตน และมาในช่วงเริ่มศตวรรษที่ 18 – 19 ก็ได้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยม(Imperialism) ซึงหมายถึงกระบวนการที่ชาติใดชาติหนึ่งใช้ในการครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อยึดครองและฉกฉวยประโยชน์จากดินแดนหรือทรัพยากร วัตถุดิบ และแรงงานและตลาดของชาติอื่นๆ อันเนืองจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์กระแสหลัก ที่มีรากฐานความคิดอยู่แนวความคิดเศรษฐกิจแนวทุนนิยมเสรี เช่น Adams Smith เขียนไว้ว่า “ความมั่งคั่งของชาติสร้างขึ้นโดยการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี” จึงเกิดการผลิตเกินความต้องการในการบริโภคในตะวันตกทำให้ต้องแสวงหาตลาดใหม่ในดินแดนตะวันออก จึงเกิดลัทธิอาณานิคมขึ้น(ซึ่งจะหมายถึง นโยบายต่างประเทศหรือหมายถึงการกระทำของรัฐชาติที่มีการแผ่าขยายอำนาจและอิทธิพลออกไปยังดินโพ้นทะเล ) ก็เนื่องมาจากความต้องการในการหาตลาดเพื่อจำหน่ายสินค้าและเพื่อแสวงหาอำนาจแห่งรัฐซึ่งเหตุผล ก็คือ ความมั่งคั่งของชาติ ซึ่ง Hobson ได้วิพากษ์รัฐบาลอังกฤษซึ่งเป็นจ้างแห่งยุคอาณานิคมว่าการดำเนินนโยบายผิดพลาดที่เริ่มต้นด้วยการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นขั้นตอนของที่มาของลัทธิทุนนิยมเสรีทำให้เกิดการผลิตอย่างมากมาย จนทำให้มีปริมาณเกินการบริโภคจึงต้องมีนโยบายแบบจักรวรรดินิยมออกแสวงหาดินแดนเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่าง Demand กับ Supply ผลร้ายที่เกิดขึ้นในยุคอาณานิคมแทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะภายในประเทศกลับต้องกลับต้องไปแก้ไขปัญหาในประเทศอาณานิคมของตนด้วยเพราะต้องทำให้เกิดการสู่รบเพื่อแย้งดินแดนจนทำให้เกิดการล้มตายของประเทศเหล่านั้นรวมทั้งทหารของอังกฤษด้วยและยังต้องเสียเงินซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชนชาวอังกฤษสำหรับจ่ายเป็นค่าจ้างข้าราชการที่ไปประจำอยู่ที่ประเทศอาณานิคมด้วย เกิดการแลกเปลี่ยนสิ้นสินค้าที่ไม่เท่าเทียมกันจนต้องเกิดสภาพการด้อยพัฒนาของประเทศที่ยังไม่พัฒนาจึงเกิดทฤษฎีพึ่งพิงหรือพึ่งพาหรือทฤษฎีเมืองพึ่ง โดย Andre Gunder Frank ได้วิเคราะห์ว่าความสัมพันธ์ในเชิงพึ่งพานั้นมีมานานแล้วตั้งแต่สมัยอดีตกาล และการพึ่งพิงหรือพึ่งพานั้นเป็นสาเหตุสำคัญของที่นำไปสู่การด้อยพัฒนาที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน คือการมองว่า ประเทศที่ด้อยเปรียบต้องพึ่งประเทศที่ได้เปรียบอยู่เสมอ มิใช่เป็นความสัมพันธ์สองด้าน ทฤษฎีนี้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่าเทียมกันอันมีรากฐานมาจาการแบ่งงานกันทำระหว่างประเทศหรือระหว่างตลาดที่ไม่เท่าเทียมกัน ตลาดประเทศหนึ่งหรือหลุ่มประเทศหนึ่งจะผลิตสิ้นค้าหรือให้บริการที่มีมูลค่าน้อยแม้จะผลิตสิ้นค้าที่เป็นที่ต้องการเช่นประเภทอาหารก็ตามเพราะเป็นสินค้าที่มีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากและใครๆก็ผลิตได้จึงไม่มีราคาและเป็นสาเหตุที่จะให้มีการพึ่งพิงพึ่งพาอยู่ตลอดไปโดยไม่มีทางที่จะสามารถพัฒนาการผลิตให้ทันกับประเภทที่ได้เปรียบได้

หลังจากสิ้นสุดยุคสงครามเย็น(หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต)ก็ทำให้สังคมโลกทราบว่าอำนาจในทางทหารหรือในการสะสมอาวุธนิวเคลียร์นั้นไม่ใช่อำนาจอย่างเดียวที่จะสามารถทำให้รัฐชาติมั่งคั่งได้ ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่นในช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำมัน (Oil Shock) ทำให้อาหารขาดแคลน ชั้นวางขายอาหารใน ซุปเปอร์มาเก็ต ไม่มีอาหารวางขาย การคมนาคมขนส่งต้องหยุดเป็นอัมพาต ก็เนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำ ที่จะใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง เช่นการผลิตด้านการเกษตร การขนส่ง จนทำให้ประชาคมโลกต้องหวั่นวิตก จึงต้องหันมาให้ความสนใจในเรื่องเกษตร “เศรษฐกิจจะนำการเมือง” ในปี 1980 กลุ่มผู้มั่งคั่งน้ำมันได้ใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองในทางการเมืองจนทำให้ตระหนักถึงอำนาจแห่งเศรษฐกิจและความมั่งคั่งที่สามารถท้าทายการควบคุมชะตาโลกได้จนมีคำกล่าวในยุคนั้นว่า

น้ำมัน คือ พลังงาน Oil is energy

พลังงาน คือ เงิน Energy is money

เงิน คือ อำนาจ Money is power

อำนาจ คือ การควบคุม Power is control

และในยุคสหัสวรรษที่ 2000 ก็มีการกล่าวว่า

เงิน คือ ข้อมูล- ไฮเทค Money is information/Hi - technology

ข้อมูล- ไฮเทค คือ อำนาจ Information/Hi – technology is power

อำนาจ คือ การควบคุม Power is control

จะเห็นได้ว่า ความมั่งคั่งร่ำรวย หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจก็ยังเป็นสื่อให้ขุมพลังงานอำนาจไม่ว่าจะเป็นอำนาจในตัวเองหรือเป็นฐานไปสู่อำนาจ เช่น เป็นฐานไปสู่ข้อมูลข่าวสาร(Information) ซึ่งก่อให้เกิดความรู้ (Knowledge)ที่จะแปรไปสู่อำนาจมากที่สุดข้อมูลคือความรู้ (Information is Knowledge)ความรู้คืออำนาจ Knowledge is power ดังนั้นความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจจึงก่อให้เกิดอำนาจ

โลกาภิวัฒน์ (Globalization) คือโลกาไร้พรมแดนหรือฟ้ามิอาจกั้นก็ได้เพราะผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 2 นั่นคือการปฎิวัติการสื่อสารทำให้โลกนี้ทั้งโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่นาทีแม้จะอยู่กันคนละขั้วโลกทำให้โลกทั้งใบเสมือนเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆหมู่บ้านเดียวในโลกนี้ ถ้ามองในแนวเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศก็จะเห็นเป็น ตลาดโลก Global Market ซึ่งเป็นสภาพของโลกที่ไร้พรมแดนอันเกิดจากระยะเวลาและระยะทางได้สลายไป เนื่องมาจากความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ทำให้ทราบข้อมูลต่างๆได้ทั่วโลกถ้าต้องการจะทราบ และในกระแสโลกาภิวัฒน์นี้ก็มีผลกระทบต่อประเทศอื่นๆทั่วโลกที่ในด้านต่างๆเช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและด้านอื่นๆรวมทั้งประเทศไทยด้วย เช่น

ในด้านสังคมวัฒนธรรม เช่น 1) ทำให้โครงสร้าง สังคมชนบทสังคมชนบทเปลี่ยนไปมีการอพยพแรงงานจากชนบทเข้าไปทำงานในเขตเมืองหรือเขตอุตสหกรรมทำให้กลายเป็นปัจเจกชนนิยมหรือวัถตุนิยม วัฒนธรรมของชนบทเปลี่ยนไป มีการแต่งกายเลียนแบบตะวันตก ใช้ของที่ผลิตจากต่างประเทศ

2) สังคมไทยได้กลายเป็นเครือข่ายหนึ่งของสังคมโลก โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้เกิดปัญหาภาคประชาชนคือปัญหาทรัพยากร ปัญหาคุณภาพชีวิต มีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มีการบริโภคเกินความจำเป็น วัฒนธรรมการบริโภคเปลี่ยนไป เช่น แต่ก่อนกินข้าวในบ้านทำทานเองแต่ปัจจุบัน ต้องทาน Fast Food หรือแต่ก่อนเคยทานส้มตำไก่ย่าง 10 บาท แต่ปัจจุบันทาน ไก่ KFC กับ มันฝรั่งทอด ราคา 99 บาท เป็นต้น

3)ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายมากกว่าการฟื้นฟู เพราะการบริโภคที่เกินความจำเป็น

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เช่น 1) ทำให้ตลาดสินค้าของไทยถูกโยงใยต่อตลาดโลกอย่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ทำให้เกิดปัญหาการใช้จ่ายตามแบบตะวันตก มีการติดต่อซื้อขายสินค้าจากต่างประเทศได้โดยตรงทาง Internet Network หรือที่เรียกว่า Electronic cameral

2) เศรษฐกิจไทยผูกพันกับเศรษฐกิจโลก ทั้งทางด้านโครงสร้างและปัญหา

3) ประเทศไทยต้องเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเพราะว่าโลกาภิวัฒน์ ที่ผู้นำไทยและผู้ดูแลด้านเศรษฐกิจประมาท ต่อนักค้าเงินเก็งกำไรข้ามชาติ

และยังมีปัญหาด้านอื่นๆอีกมาก กระแสโลกาภิวัฒน์นั้นมีทั้งดีและไม่ดีขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกบริโภคอย่างใดประเทศไทยควรจะเลือกบริโภคอย่างมีสติรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี ของไทย ต้องรณรงค์ให้คนไทย “เที่ยวเมืองไทย กินของไทย ใช้ของไทย ร่วมใจประหยัด” เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทยที่จะสามารถยืนอยู่บนเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้อย่างสง่างามดังเช่นประเทศญี่ปุ่นที่รับเอาเทคโนโลยีของตะวันตกเข้ามาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจนก้าวขึ้นมาเป็นประเทศระดับนำในด้านเศรษฐกิจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศแต่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นยังคงอยู่เพราะใช้การผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างกลมอื่นกับวัฒนธรรมต่างชาติแต่ยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมของตนเอง ไทยต้องมีความเป็นไทยทุกสถานการณ์…………..

สังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) นั้นจะประกอบไปด้วย รัฐชาติ (Nation State) องค์กรพัฒนาเอกชน (Non Governmental Organization )องค์การและหน่วยงานของรัฐ(Governmental Organization) องค์กรที่เป็นสากลทั้งองค์การเฉพาะด้านเช่น ASEAN OPEC APEC EU WTO หรือองค์กรทั่วไป เช่น UN ซึ่งองค์กรต่างๆเหล่านี้จะเข้ามาบทบาทในเวที สังคมชุมชนระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินนโยบายต่างๆของตนเอง แต่บทบาทของรัฐชาตินั้นถือได้ว่าสำคัญมากที่อาจจะก่อให้เกิดสันติภาพและสงครามได้มากกว่าองค์กรอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น เพราะรัฐในฐานะรัญเอกราชการเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย(Final Arbiter) ในการที่จะนำรัฐเข้าสู่สงคราม หรือสร้างพันธมิตรกับรัฐอื่น อันนำซึ่งสันติภาพ ความมั่งคั่งและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข (ดังคำกล่าวที่ว่า “จงถักทอสายใยแห่งความรัก ฝากไว้ในเวทีสังคมการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อสันติาภพโลก”ของ นายNOM นักศึกษารัฐศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัยรุ่น 4 รามฯอำนาจ)

ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) จะมีลักษณะเด่นๆอยู่หลายประการในการ เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐจะมีทั่งความร่วมมือ(Cooperation) ความประนีประนอม(Compromise) หรือความขัดแย้ง(Conflict)ซึ่งจะแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

ความสัมพันธ์จะเป็นในรูปแบบใดนั้นมีผลประโยชน์ของชาติ(Nation Interest) เป็นตัวแปรที่สำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ ถ้ารัฐสองรัฐหรือหลายรัฐมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้วก็จะอยู่ด้วยกันอย่างราบรื่นไม่มีความขัดแย้งจะสามารถตกลงกันได้อย่างดี เช่น องค์การอาเซียน(ASEAN) มีการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นแม้บางครั้งจะมีการขัดแย้งกันบ้าง แต่ถ้าผลประโยชน์ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็อาจถึงกับต้องเกิดสงครามก็ได้ เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างบอสเนียกับเฮอร์เชโกวินนา หรือกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับเชคชเนีย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์เป็นตัวกำหนดว่าจะมีความสัมพันธ์กันออกมาในรูปแบบใดความขัดแย้งหรือความร่วมมือ แต่ความขัดแย้งนั้นใน ในเวทีสังคมชุมชนระหว่างประเทศจะเป็นปรากฎการที่เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าความขัดแย้งกันไม่จำเป็นจะต้องก่อให้เกิดสงครามได้เสมอไปขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่ขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องใด ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือการขัดแย้งในเรื่องการค้า(Trade conflict ) ก็อาจจะไม่ถึงกับต้องเกิดสงครามเช่น ไทยขัดแย้งกับสหรัฐอเมริการในเรื่อง ภาษีท่อเหล็ก ภาษียาสูบหรือกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา หรือก่อกรณีที่จีนขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งขัดแย้งในเรื่องการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งถ้าแก้ไขก็ตกลงกันได้ ด้วยวิธีการต่อรองประนีประนอมกัน(Compromise) แล้วก็จะสมารถอยู่ร่วมกันได้ (Co-existence) แล้วก็สามารถเกิดสันติภาพได้ สาเหตุของความขัดแย้งจะมาจากพื้นฐานของผลประโยชน์เพราะการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศ นั่นจะกำหนดและดำเนินในแง่มุมที่เป็นจริงและเพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก คงจะไม่มีผู้นำของประเทศใดที่ก้าวขึ้นมาสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศในสังคมชุมชนระหว่างประเทศแล้วบอกว่าไม่ต้องการผลประโยชน์ ทุกประเทศต้องการผลประโยชน์ของชาติตนเป็นหลักทั้งนั้น คำกล่าวที่สามารถยืนยันความหมายนี้ได้ก็เช่น จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนที่หนึ่งของ สหรัฐอเมริการ นายอเล็กซานเดอร์ แฮมิงตัน รัฐมนตรีคลังคนแรกรวมทั้งนายเจมส์ เมดิสัน กล่าวว่า “อย่าเข้าใจผิดว่าการที่สหรัฐอเมริกาทำความดีเอื้อเฟื้อนั้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นนักบุญแต่การกระทำของสหรัฐอเมริกาเป็นการกระทำเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง” มาถึงตรงนี้เราจะต้องตระหนักว่าไม่มีรัฐใดในสังคมชุมชนระหว่างประเทศที่ต้องการให่ประเทศอื่นเจริญก้าวหน้าและรัฐของตนเองตกต่ำ

ดังนั้นถ้าข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี นโยบายต่างประเทศที่ข้าพเจ้าจะต้องดำเนินการเป็นประการแรกคือการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศโดยอาศัยความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) เพื่ออำนาจในการต่อรองทางการค้ากับกลุ่มประเทศในตะวันตกหรือ สหรัฐอเมริการ โดยจะไม่มองข้ามความสำคัญของอาเซียนแล้วหันไปครบกับสหรัฐอเมริการร่วมทั้งยุโรป เพราะประเทศเหล่านั้นอยู่ไกลเกินไปและขาดความจริงใจในความสัมพันธ์ระหว่างกันโดยจะไม่แทรกการเมืองภายในของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อความสัมพันธ์อันดีต่อกัน จะเชิญชวนนักลงทุนชาวต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทยเพื่อเป็นการสร้างงานกับแรงงานไทย (แต่เป็นการลงทุนเท่านั้นไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน) และดำเนินการตามโครงการหกเหลี่ยมเศรษฐกิจให้สำเร็จเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาคนี้ และเพื่อความมั่งคั่งรำรวยของชาติและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยเผยแพร่ยังอารยประเทศ และจะต้องดำเนินการนโยบายที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยไม่ก้าวตามอย่างตะวันตกทุกด้านไปโดยรับแต่สิ่งที่ดีในลักษณะของการผสมผสานวัฒนธรรมประเพณีของไทยกับวัฒนธรรมตะวันตกและดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย

WTO , IBRD , IMF

อาจารย์ให้สมญานามว่า แฝดสามสยามสยอง เพราะเหตุว่า…องค์กรระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยอย่างมากก่อให้ประเทศไทยเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ การเมืองกับประเทศตะวันออกเป็นอย่างมากในการที่องค์กรทั้งสามก้าวอย่างเข้ามาให้ประเทศไทย

IBRD คือธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา มาจากคำเต็มในภาษาอังกฤษว่า International Bank for Reconstruction and Development ตั้งขึ้นจากการประชุมกันของ 44 ในเมือง Bretton Woods รัฐ New Hamshire ในวันที่ 1-22 ก.ค. 1944 โดยก่อตั้งขึ้นพร้อมกันกับ IMF หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1946 มีสมาชิก 151 ประเทศมีสถาบันการเงินอยู่ในเครือข่าย 2 องค์กร

1.สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Assocition:IDA) ตั้ง ก.ย.1960

2.บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation :IFC) ตั้งในปี 1957

องค์กร 3 องค์กรคือ IBRD , IMF , IDA มีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือ มุ่งส่งเสริมความก้าวหน้าทาง ศก.และ สค.ของประเทศที่กำลังพัฒนาโดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต เพื่อให้ประชาชนของประเทศเหล่านั้นได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและสมบูรณ์

IBRD และIDA รวมกันเรียกว่า ธนาคารโลก (World Bank)เป็นหน่วยงานให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศสมาชิกโดยต้องค้ำประกันการชำระคืน สำหรับ IFC ให้เงินกู้ยืมแก่เอกชนโดยรัฐไม่ต้องค้ำประกัน

IBRD ตั้งขึ้นมาเพื่อปล่อยเงินกู้ให้แก่ประเทศยุโรปที่ได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ประเทศเหล่านั้นไม่ต้องการกู้เพราะจะเป็นภาระในอนาคต จึงได้หันไปของเงินแบบให้เปล่าจากโครงการ Mashall Plan ของสหรัฐ มากกว่า เกือบ 10 ธนาคารโลกปล่อยเงินได้เพียง 500 เหรียญ จึงได้เปลี่ยนเป้าหมายการให้กู้มายังประเทศโลกที่ 3 แต่ประเทศเหล่านี้ก็ไม่ทราบว่าจะกู้ไปทำไมทำให้ธนาคารโลกต้องจัดส่งเจ้าหน้าที่ เข้ามาศึกษาและให้คำแนะนำว่าถ้าต้องการพัฒนาประเทศให้พ้นจากความยากจน หรือ หิว จน โง่ เจ็บ ก็ต้องพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยต้องมีการวางแผนการพัฒนา มีการลงทุนด้าน โครงสร้างพื้นฐาน(Inflation)เพื่อรองรับอุตสาหกรรม เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม ประเทศไทยธนาคารก็เข้ามาสำรวจและช่วยทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509 มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเพื่อรองรับ เช่น สภาพัฒน์ฯ กรมการส่งเสริมการส่งออก กรมส่งเสริมการลงทุน การไฟฟ้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา สถาบัน นิดา เป็นต้น เงินกู้ของะนาคารโลกส่วนใหญ่จะเป็นโครงการขนาดใหญ่

IMF คือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) มีวัตถุประสงค์ดำเนินงาน 1)ในการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเงินระหว่างประเทศผ่านทางสถาบันการเงิน ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือทางปัญหาการเงินระหว่างประเทศ 2) อำนวยความสะดวกและส่งเสริมการขยายตัวอย่างสมดุลของการค้าระหว่างประเทศอันจะเป็นการส่งเสริมการขยายตัวอย่างสมดุลของการค้าระหว่างประเทศอันจะเป็นการส่งเสริมและดำรงไว้ซึ่งการจ้างงานในระดับสูง รายได้และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพของสมาชิกทั้งหมด

กล่าวโดยสรุปก็คือการให้การช่วยเหลือในด้านการเงินแต่ต้องปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขของ IMF บางครั้งเรียกว่า “ใบสั่งยา” ใบสั่งยานี้มียา 10 ขนานเอก

1. การจัดงบประมาณประจำปีต้องไม่ให้เกินดุล เพื่อมิให้รัฐบาลต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้มากขึ้น อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ

2. การจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณประจำปีต้องเป็นไปตามความจำเป็นอย่างแท้จริง ไม่ให้การเมือง กองทัพ หรือกลุ่มผลประโยชน์มามีอำนาจเหนือ ทั้งนี้ก็เพื่อความโปร่งใส

3. ปฏิรูปการเก็บภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีที่ดิน ภาษีมรดก แต่ให้ลดภาษีสินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค

4. ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวโดยขึ้นอยู่กับกลไกตลาด

5. ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินลอยตัวตามกลไกตลาด

6. ยกเลิกระบบโควต้า ระบบภาษีศุลกากรที่ใช้เพื่อการปกป้องอุตสาหกรรมภายใน อันจะเป็นผลดีเพราะอุตสาหกรรมจะได้แข่งขันกับอุตสาหกรรมภายนอกได้ ช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ (แต่ในประเทศพัฒนาแล้วมีการใช้ Protectionism เสมอ)

7. ยกเลิกการกีดกันการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะเป็นหัวใจในการควบคุมและครอบครองเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนา หมายความว่าให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างทุนภายในกับทุนต่างประเทศ

ในประเด็นนี้เห็นได้ว่าทุนภายในประเทศกับทุนต่างชาตินั้นเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย ดูง่าย ๆ คือธุรกิจค้าปลีก โลตัส คาร์ฟูร์ เบ่งบานมาก ในรัฐบาลที่แล้วโลตัสขออนุญาตเปิดสาขา 18 สาขาในกรุงเทพฯ พร้อมกัน

8. โอนกิจการของรัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ รัฐวิสาหกิจขายให้ต่างชาติได้ยิ่งดี

9. ยกเลิกกฎหมายที่เป็นปฏิปักษ์กับการลงทุนของต่างชาติทุกประการ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันอย่างเสรี

10. ปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยการถือครองที่ดินเพื่อเป็นหลักประกันว่า ประชาชนพื้นฐานจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดินไม่แพ้กลุ่มทุนขนาดใหญ่

นี่คือยา 10 ขนานที่เกิดจาก Washington Consensus ที่ IMF ใช้เป็นประจำ

WTO: World Trade Organization) หรือองค์กรการค้าโลก

องค์กรการค้าโลกพัฒนามาจากความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) จัดตั้ง 1 ม.ค.1995 สมาชิกก่อตั้ง 80 ประเทศปัจจุบัน 141 ประเทศ สำนักงานอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวา มีหน้าที่โดยสรุปคือเป็นเวทีเจรจาปัญหาอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศทั้งมาตรการภาษีศุลกากรและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในด้านข้อมูลและคำแนะนำต่างๆในการประสานงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก

Globalization เป็นคลื่นลูกที่ 3 ของ Neo-liberalism อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับองค์การระหว่างประเทศด้วย เพราะในยุคของ Globalization องค์การระหว่างประเทศได้รับการสร้างพลังให้แข็งแกร่ง เพื่อสามารถปฏิบัติงานตามที่ประเทศใหญ่ ๆ จัดตั้งได้ โดยเฉพาะ IMF, IBRD, WTO การเสริมสร้างพลังความแข็งแกร่งให้องค์การเหล่านี้เพื่อว่าประเทศพัฒนาแล้วจะได้ได้เปรียบในทางเศรษฐกิจ

WTO นั้นถือว่าทุกประเทศต้องมีความเท่าเทียมกันทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วไม่เท่า อาจจะมีการผ่อนผันให้บ้างในระยะแรก ๆ เท่านั้น ในที่สุดแล้วทุกประเทศที่เป็นสมาชิกต้องเท่าเทียมกัน เห็นได้ว่าแค่หลักการนี้ประเทศพัฒนาแล้วก็เอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย

นอกจาการค้าแล้วยังมีการลงทุนจากต่างประเทศโดยบรรษัทข้ามชาติและบรรษัททุนที่อาศัยเงินเข้าไปหากำไรในกิจการเก็งกำไร เช่น หุ้น ส่วนต่างในอัตราแลกเปลี่ยน (ค่าเงิน) รวมทั้งการเข้าไปเกี่ยวข้องกับระเบียบแบบแผนทางเศรษฐกิจของโลก การตั้งกฎเกณฑ์ในอัตราการแลกเปลี่ยนว่าจะเป็นแบบคงที่หรือลอยตัว เงินสกุลใดบ้างที่จะใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ปัจจุบันใช้ทองคำและเงินสกุลหลัก (Key Currency) อันเป็นสกุลเงินของประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐฯ เงินยูโร

ปัญหาที่ยุ่งยากของไทยคือการเข้าไปเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศในองค์การระหว่างประเทศสามองค์การคือ IMF, IBRD และ WTO

วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียที่เกิดขึ้นใน พ.ศ.2540 ทำให้เห็นภาพของโลกาภิวัตน์และตลาดเสรีได้อย่างชัดเจน เพราะประเทศเอเชียทั้งหลายได้เข้าไปร่วมในตลาดทุน ตลาดเงิน ตลาดการค้า ทำให้ในที่สุดต้องประสบกับความพังพินาศของเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรืองมั่นคง แสดงว่าโลกาภิวัตน์ไม่ได้นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองจริง ๆ

สำหรับประเทศไทยนั้น วิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 ที่ถือว่าเป็นยุคของ Globalization ทำให้ IMF เข้ามาช่วยแก้วิกฤต แล้วตั้งเงื่อนไขเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ ติดตามมาด้วยทุนต่างชาติ

ประเทศกำลังพัฒนาที่เพลิดเพลินกับการกู้เงินธนาคารโลก เมื่อไม่มีเงินใช้คืนธนาคารโลกจึงต้องส่ง IMF เข้าไป เพราะฉะนั้น IMF จึงมีหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือประเทศที่เป็นหนี้ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นหนี้จาก IMF สถาบันการเงิน หรือหนี้จากประเทศอื่น IMF ช่วยหมด ในที่สุด IMF จึงมีแผน Structural Adjustment Program :SAP ซึ่งบีบให้ประเทศลูกหนี้เปิดเสรีทางการเงิน การค้า และวัฒนธรรม บีบให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ เหมือน Washington Consensus

ยุค Globalization อันเป็นคลื่นลูกที่ 3 ของ Neo-liberalism เป็นยุคที่องค์การระหว่างประเทศได้รับการสร้างเสริมอำนาจให้แข็งแกร่งขึ้นมา ในขณะที่บทบาทอำนาจรัฐของประเทศกำลังพัฒนาลดลง เพราะการกำหนดนโยบายการค้า การเงิน การคลัง การลงทุนของชาติไม่สามารถดำเนินไปได้ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์การระหว่างประเทศ

ปัจจุบันแทบจะไม่มีรัฐใดที่ไม่เป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ WTO IMF และ IBRD เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีส่วนในการดึงให้บรรษัทข้ามชาติให้เข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ

IBRD นั้นตั้งขึ้นมาเพื่อปล่อยเงินกู้ให้กับประเทศที่สูญเสียจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตามพบว่าหลังจากตั้งมา 10 ปีประเทศในยุโรปกลับไม่ได้กู้จาก IBRD มากนัก เพราะยุโรปจะหันไปขอความช่วยเหลือจากอเมริกาตามแผนการมาร์แชล

IBRD ได้ปล่อยเงินกู้ไปเพียง 500 US ดอลลาร์ จึงหันมาปล่อยกู้ในประเทศเอเชียโดยเข้ามาทำการศึกษาให้คำปรึกษาในการพัฒนาประเทศและปล่อยเงินกู้ตามโครงการพัฒนาที่เขียนขึ้นมาตามแผนพัฒนา ประเทศกำลังพัฒนา จะพ้นจากความยากจน จะต้องพัฒนาประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศอันส่งผลให้ประเทศเหล่านี้ขาดดุลทางการค้า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่นถนน ไฟฟ้า ประปา เขื่อน

นั่นคือจุดเริ่มต้นของการกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่มีเป้าหมายเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรมให้ได้ ดังนั้นเมื่อแต่ละประเทศกู้เงินจาก IBRD ทำให้ประเทศต่างๆเป็นหนี้ต่างประเทศมหาศาล ในช่วงที่เศรษฐกิจบูมก็มีการลงทุนมากมายจนเกิดภาวะฟองสบู่ เมื่อฟองสบู่แตก IMF ก็จะเข้ามาแทรกแซง ส่วน WTO ก็เข้ามาแทรกแซงในเรื่องของการค้า

จึงเรียก WTO IMF และ IBRD ว่าแฝด 3 สยามสยอง เพราะเข้ามาเมืองไทยแล้วทำให้เมืองไทยย่อยยับ รวมทั้งที่เคยเกิดปัญหามาแล้วในลาติอเมริกา และเอเชียอื่นๆ

Hosted by www.Geocities.ws

1