แนวข้อสอบ

1.สหรัฐ ในฐานะที่เป็นเอกะอภิมหาอำนาจ (Unisuperpower) ควรจะมีบทบาทในการในทัศนะของท่านอย่างไร รัฐโลกที่ 3 ควรมีมาตรการในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์อย่างไรและท่านมีแนวคิดหรือทฤษฎีใดที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัฐกำลังพัฒนา

นับแต่สิ้นสงครามเย็นอย่างเป็นทางการในการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในวันที่ 25 ธันวาคม 1991 สหรัฐก็ก้าวขึ้นมาเป็นเอกะอภิมหาอำนาจ (Unisuperpower)เพียงหนึ่งเดียวในโลก แม้ว่ารัสเซีย และประเทศในเครือจักรภพรัฐเอกราช จะครอบครองอาวุธนิวเคลียสซึ่งมีศักยภาพการทำลายล้างสูงแต่จากการล้มเหลวทางเศรษฐกิจทำให้รัสเซีย และประเทศในเครือจักรภพรัฐเอกราช ถูกลดฐานะจากรัฐอภิมหาอำนาจลงเป็นรัฐมหาอำนาจอันดับหนึ่งในสายตาของประชากรและรัฐทั้งหลายในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ

เพื่อให้สหรัฐสามารถดำรงความเป็นเอกะอภิมหาอำนาจ (Unisuperpower)หนึ่งเดียวของโลกเอาไว้ได้ ต้องหันมาดำเนินนโยบายด้านความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ(Nation Economic well-being)ด้วย นับแต่ ปี พ.ศ.2191 แม้ว่าเศรษฐกิจกับอำนาจทางการเมืองจะเป็นของคู่กันมาตลอดแต่อำนาจและบทบาทาของเศรษฐกิจก็ถูกครอบงำโดยอำนาจรัฐและอำนาจทางการเมืองมาโดยตลอดเช่นกัน บทบาทของเศรษฐกิจเริ่มมีความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างมากในเวทีการเมืองระหว่างประเทศในช่วง 2513 ระบบการเมืองเกี่ยวยุทธศาสตร์ทางทหารและความมั่นคงได้ลดบทบาท ประเทศต่างๆหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโยี่ ตลอดจนการสื่อสารคมนาคาระหว่างประเทศแทนการใช้กำลังและอำนาจรัฐเข้าประหัตประหารกัน หรือแข่งขันกันสะสมอาวุธ รัฐควรเข้ามามีบทบาทเกี่ยวกับเรื่องการอยู่ดีกินดีของประชาชนของชาติให้มากขึ้นอันจะนำไปสู่ อำนาจและความเข้มแข็งของชาติที่มั่นคงถาวรกว่าในระยะยาว

ดั้งนั้น ความมั่นคงของชาติ(National Security) และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ(Nation Economic well-being) เป็นทั้งสุดยอดปรารถนาและเป็นทั้งพันธะผูกพันที่สำคัญที่สุดที่รัฐบาลจะต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อความอยู่รอดและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ รักษาไว้ซึ่งความเป็นเอกะอภิมหาอำนาจของสหรัฐ ต้องกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไปในทางที่เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของชาติ การป้องกันตนเองและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ คือ

ทางเศรษฐกิจ ต้องส่งเสริมให้ทุกประเทศในโลกเป็นระบบทุนนิยมและให้ระบบการค้าเสรี(Free Trade)เหมือ สหรัฐ เพื่อให้สหรัฐและ บรรษัทข้ามชาติ ของ สหรัฐเข้าไปแสวงหาประโยชน์จากรัฐนั้นๆได้โดยไม่มีการกีดกันสหรัฐ ให้ระบบการค้าเป็นไปตามกลไกตลาดอย่างแท้จริง แต่ทั้งนั้น สหรัฐก็ต้องดูแลประเทศที่มีความอ่อนทางเศรษฐกิจให้สามารถยืนอยู่ได้ด้วย โดยการให้การช่วยเหลือด้านต่างๆ เพราะเขาเหล่านั้นคือลูกค้าของสหรัฐ ถ้าเขายังมีกำลังซื้ออยู่ก็ยังเป็นคู่ค้ากับสหรัฐได้อยู่ การช่วยเหลือจะอยู่บนพื้นฐานขององค์กรที่ดูแลโดยไม่เข้าแทรกแซง เช่น WTO กองทุน IMF ต้องลดเงื่อนไข ในการปฏิบัติต่างๆเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการของประเทศลูกหนี้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ประเทศเหล่ายืนหยันอยู่ได้ ด้วยตัวเองและพร้อมที่จะเป็นฐานในการส่งเสริมให้สหรัฐ ยังคงเป็นเอกะอภิมหาอำนาจในสังคมชุมชนระหว่างประเทศอยู่ เพราะการค้าในระบบการค้าเสรี(Free Trade) เป็นระบบการค้าที่เอื้อประโยชน์ต่อนานาประเทศ เกี่ยวกับเรื่องอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และการพึ่งพาซึ่งกันและกันในเชิงเศรษฐกิจการค้าและการให้บริหารในลักษณะต่างๆ เช่น

1.ทำให้ผลผลิตเพิ่มสูง ขึ้นเพราะ มีการแบ่งงานกันทำอย่างมีประสิทธิภาพ

2.มีแรงจุงใจในการลงทุนเพราะสามารถคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ค่อนข้างจะแน่นอนว่าอะไรจะเกิดขึ้นและมีผลอย่างไร

3.โอกาสที่จะมีการเผชิญหน้ากันทางการเมืองอย่างรุนแรงนั้นมีค่อนข้างน้อยและมักจะจำกัดขอบเขตด้วย

รัฐโลกที่สาม(กำลังพัฒนา) จะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ดังนี้

ทัศนะของประเทศโลกที่ 3 มองว่าระบบเศรษฐกิจการเมืองในสังคมชุมชนระหว่างประเทศว่าเป็นระบบที่เอื้อต่อประเทศที่พัฒนาแล้วทางด้านอุตสาหกรรม เนื่องจากระเบียบทางด้านเศรษฐกิจการเมืองโลกนั้นเป็นระเบียบที่ประเทศโลกที่ 1 กำหนดขึ้นมา จึงกำหนดระเบียบที่เอื้อต่อการรักษาประโยชน์ของตนเอง ทำให้ไม่มีความยุติธรรมในความสัมพันธ์ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ

สภาวะการณ์ที่ดำรงอยู่ทำให้ประเทศโลกที่ 3 ตกอยู่ภายใต้การควบคุมการกลุ่มโลกที่ 1 เช่นในเรื่องของการประเมินค่าของเงินตราที่เงินตราของประเทศโลกที่ 3 มักจะถูกประเมินราคาถูกกว่าเงินของประเทศโลก ที่ 1

นอกจากนี้กลุ่มประเทศโลกที่ 3 ยังถูกเอารัดเอาเปรียบในข้อตกลงทางด้านการค้า โดยเฉพาะในสินค้าเกษตร ซึ่งประเทศโลกที่ 1 มักจะออกมาตรการที่สร้างความเสียเปรียบให้กับประเทศโลกที่ 3 เสมอไม่ว่าจะเป็นการกำหนดมาตรฐานในด้านคุณภาพสินค้าสูงกว่าปกติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอามาตรฐาน ISO มาใช้เป็นมาตรฐานในการผลิตสินค้าที่จะทำให้ต้นทุนในการผลิตของประเทศโลกที่ 3 มีมากขึ้นยิ่งส่งผลต่อการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของประเทศโลกที่ 3

สาเหตุที่โลกที่ 3 มีมุมมองว่าประเทศโลกที่ 1 เอาเปรียบโลกที่ 3 มาจากสาเหตุดังนี้

1.การที่ประเทศโลกที่ 3 มีประสบการณ์ในการตกเป็นอาณานิคมของประเทศโลกตะวันตก

2.เกิดจากความทรงจำของผู้นำในเรืองราวทางประวัติศาสตร์

3.โลกตะวันตกให้ความสนใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในโลกที่ 3 น้อยมาก แต่กติกา ระเบียบกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่กำหนดขึ้นมานั้นเอื้อต่อการพัฒนาประชากรในประเทศของตนเองมากกว่า

4.องค์กรสำคัญๆในระบบโลกมักจะถูกควบคุมด้วยกลุ่มประเทศในโลกที่ 1 และองค์กรเหล่านี้เป็นเครื่องมือหรือเป็นกลไกในการบริหารระบบเศรษฐกิจ การเงิน การค้า การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เป็นไปตามเงื่อนไขของโลกตะวันตก

เช่นเวลานี้สหรัฐกำลังออกมาตรการให้การคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กกล้าภายในประเทศ ทำให้ญี่ปุ่นยื่นฟ้องต่อ WTO เนื่องจากเป็นการกระทำที่จัดกับหลักการการค้าเสรี แต่เอาเข้าจริงแล้วอาจารย์มองว่า WTO ไม่สามารถทำอะไรอเมริกาได้มากนัก

นอกจากนี้มุมมองของประเทศโลกที่ 3 ที่มองประเทศโลกที่ 1 ยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ มองว่ากลุ่มรัฐในโลกที่ 1 มีความเข้มงวดในการให้เงินช่วยเหลือ จนดูเหมือนว่ารัฐโลกที่ 1 ขาดความจริงใจในการให้การช่วยเหลือ หรือกล่าวว่าการให้การช่วยเหลือทางการเงินของประเทศกลุ่มโลกที่ 1 ต่อรัฐในกลุ่มโลกที่ 3 เกิดขึ้นเพราะโลกที่ 1 มีประโยชน์จากการให้การช่วยเหลือนั้นๆ

นอกจากนี้พบว่าประเทศโลกที่ 1 ยังผูกขาดในเรื่องการค้า และควบคุมกลไกทางการค้า เช่นการกำหนดราคาสินค้าเกษตรที่ประเทศโลกที่ 1 เป็นผู้กำหนดแทนที่จะเป็นประเทศผู้ผลิต

จากปัญหาความไม่เป็นธรรมดังกล่าวทำให้ประเทศโลกที่ 3 รวมตัวกันในนามกลุ่ม 77 เพื่อเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบทางเศรษฐกิจของโลกใหม่ โดยเน้นให้เจ้าของรัฐมีความสามารถในการควบคุมกรรมสิทธิในทรัพย์สินภายในรัฐของตนเอง

เพราะปัจจุบันประเทศโลกที่ 1 เข้าไปครอบงำการใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินของประเทศในโลกที่ 3

ทั้งนี้ข้อเสนอของกลุ่ม 77 ประกอบด้วย

-การเสนอให้มีการใช้ GSP กับโลกที่ 3 เพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันทางการค้า

-เสนอโครงการชำระหนี้โดยให้ประเทศโลกที่ 3 มีความสามารถในการชำระโดยไม่สร้างปัญหาให้มากจนเกินไป เช่นอาจจะทำในรูปแบบการลดหนี้ การลดดอกเบี้ย การยืดระยะเวลาชำระหนี้ เนื่องจากประเทศโลกที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นหนี้

-เสนอให้มีการกำหนดราคาสินค้าเกษตรให้มีราคาเพิ่มสูงขึ้น มีการประกันราคาสินค้า แต่โลกที่ 1 ไม่ยินยอมเนื่องจากจะทำให้ประเทศโลกที่ 1 เสียเปรียบ

ดังนั้นกล่าวได้ว่าผลประโยชน์ เป็นตัวการสำคัญในการกำหนด บทบาทและพฤติกรรมระหว่างรัฐในโลกที่ 1 โลกที่ 2 และประเทศในโลกที่ 3

ทางออกของประเทศกำลังพัฒนา

1.นำเอาระบบคืนกลับสู่ชุมชนมาใช้ (Localization) และสร้างเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองขึ้นมาเพื่อเป็นฐานรากในการสร้างอำนาจต่อรอง เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็งก็จะไม่กระทบกระเทือนมากนักหากมีปัญหาทางเศรษฐกิจ

ดังที่เราพบว่าเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบ แต่ธุรกิจขนาดย่อยของเรายังดำรงอยู่ได้ เช่นร้านก๊วยเตี๋ยว

ซึ่งแนวคิดนี้คลินตันเองก็นำไปใช้ในสหรัฐนั่นคือส่งเสริมให้เกิดธุรกิจขนาดเล็กในชุมชน เพื่อรองรับสภาวะฟองสบู่ที่อาจะแตกตัวในสหรัฐ

2.การนำเอาแนวคิดแบบชุมชนพึ่งตนเองมาใช้อาจจะเป็นไปโดยไม่ง่ายดายนัก เพราะอาจจะถูกต่อต้านโดยนักการเมืองและนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก เพราะทุกวันนี้คนเราหลงเชื่อในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก และนำเอากระแสหลักนี้มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป

การที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเชื่อในการหลักการการค้าเสรีก็เพราะไปศึกษามาจากโลกตะวันตกและยึดติดกับหลักการของโลกตะวันตก

3.การออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตร นั่นคือจะต้องเลือกออกกฎหมายในบางตัวที่เราได้ประโยชน์เท่านั้น ไม่ใช่ออกกฎหมายทุกตัวที่มหาอำนาจเรียกร้อง แต่ในบางเรื่องเราต้องมีข้อยกเว้นที่จะไม่ทำตามบ้างหากข้อยกเว้นนั้นมีประโยชน์ต่อประเทศไทย

4.การออกกฎหมายในการเก็บภาษี เช่นหากเงินทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในระยะสั้นจะต้องเก็บภาษีในอัตราที่สูง และเก็บให้ถูกลงสำหรับการลงทุนในระยะยาว เป็นต้น

5.การออกกฎหมายถ่วงเวลาในการปฏิบัติตามเงื่อนไขขององค์กรการค้าโลก

ทางออกทุกอย่างเราจะทำได้ต่อเมื่อคนไทยให้ความร่วมมือ

ทฤษฎีระบบทุนนิยมโลกสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของสหรัฐกับประเทศกำลังพัฒนาดังนี้

 

รัฐวงใน หรือCore มีอำนาจสุงสุดของระบบ เป็นที่ตั้งของรัฐพัฒนาแล้วทางอุตสาหกรรม ในปัจจุบันมีแรงงานที่มีทักษะ แรงงานที่มีราคาสูงประชากรมีความรู้ดี มีวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการผลิตสูง มีการผลิตทางอุตสาหกรรมมากว่าเกษตรกรรม มีกองทัพที่เข้มแข็ง มีศักยภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ การทำหารที่สูงและเข้มแข็ง มีพลังอำนาจในการต่อรองทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองในสังคมชุนชนระหว่างประเทศอย่างมาก พร้อมทั้งเป็นผู้ชี้นำและครอบงำเศรษฐกิจการเมืองในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ

รัฐกึ่งวงนอก หรือ Semi-periphery เปรียบเสมือนเป็นรัฐกันชนระหว่างสหรัฐกับประเทศโลกที่สาม รัฐส่วนนี้เป็นส่วนที่ระบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย่ที่เริ่มจะล้าหลังของสหรัฐ มีการผลิตทางการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมค่อนข้างใกล้เคียงกัน มีกองกำลังที่เข้มแข็ง มีอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจมากกว่าประเทศโลกที่สาม แต่น้อยกว่าสหรัฐ ทั้งยังเป็นรัฐกันชนให้กับสหรัฐไม่ให้ประเทศโลกที่สามเรียกร้องมากเกินไป ทั้งยังเป็นแหล่งระบายเทคโนโลยีไปสู่ประเทศโลกที่สาม เช่น การผลิตสิ่งทอ การผลิตรองเท้า ในปัจจุบันไทยก็ได้ถ่ายทอดไปยังเวียดนาม (แต่ต่อนไทยก็ได้ออกไปอยู่รอบนอกสุดเรียบร้อยแล้ว)

รัฐวงนอกหรือ Periphery ส่วนนี้จะเป็นประเทศโลกที่สามมีการผลิตจำนวนสินค้าทางการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยี วิทยศาสตร์ ค่อนข้างต่ำแรงงานราคาถูก มีกองทัพที่เข้าแข็ง สินค้าทางอุตสาหกรรมน้อยแต่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นเพราะเป็นแหล่งระบายทุน การพัฒนาจะไปตามคลื่นทุนนิยม ลอกเลียนแบบประเทศตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐ

ความสัมพันธ์เป็นลักษณะของการพึ่งพิง(dependency) คือรัฐภายในจะผลิตสินค้าอุตสาหกรรมซึ่งมีราคาแพงมาแลกกับสินค้าเกษตรกรรมของรัฐวงนอกซึ่งมีมูลค่าต่ำและจำนวนมากทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองไม่เท่าเทียมกันเกิดมูลค่าส่วนเกินของการแลกเปลี่ยน

รัฐวงในจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้รัฐกึ่งวงนอก และรัฐกึ่งวงนอกก็จะถ่ายทอดต่อให้รัฐวงนอกเปรียบเหมือนกับรถไฟที่วิ่งไปบนรางไม่มีทางที่ตู้รถไฟจะวิ่งแซงกันได้(เว้นแต่ตกเขา)ตัวอย่างเช่น ทศวรรษ 1950 สหรัฐยังผลิดรองเท้า เสื้อผ้า พอมาทศวรรษที่ 1960 สหรัฐได้ถ่ายทอดเทคโนฯให้กับ 4 เสือเอเชีย ทศวรรษ 1970 ไทยรับการถ่ายทอดเทคโนฯการผลิตต่อจาก 4 เสือ ทศวรรษ 1990 ไทยถ่ายไปยัง อินโดนีเซีย เวียดนาม ส่วนสหรัฐได้ผลิดเทคโนฯ IT เทคโนฯคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าไม่มีทางที่รัฐวงนอก รัฐกึ่งวงนอกจะวิ่งตามเทคโนโลยีของสหรัฐ อีกอย่างประเทศกึ่งและวงนอกต่างก็ยากจนไม่มีงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาความคิดค้นใหม่ๆ รัฐวงนอกจึงต้องเป็นบริวานของวงในโดยไม่มีที่สิ้นสุด

ท่าคิดว่าระบบทุนนิยมแบบคาสิโนและแบบมาเฟีย มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร จงแสดงความเห็นคิดพร้อมยกตัวอย่วพร้อมเหตุผลประกอบ

การสะสมทุนในยุคโลกาภิวัตน์มีสองรูปแบบ

1.ทุนนิยมแบบคาสิโน (Casino Economy หรือ Casino Capitalism) ทุนนิยมคาสิโนหมายถึงการสะสมทุนและการเก็งกำไรจากการปั่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือเป็นเกมเงินตรา โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ 1980 เป็นช่วงที่ทุนนิยมแบบคาสิโนขยายตัวอย่างเต็มที่

ในที่สุดทำให้ระบบทุนนิยมเริ่มอยู่ในสภาพทำลายตนเอง รวมทั้งการเก็งกำไรและการปั่นหุ้นจะกรัดกร่อนและทำลายภาคการผลิตที่แท้จริง

ทุนนิยมคาสิโนมีอิทธิพลมาก เปรียบเสมือนทุนกาฝากในระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง (Real Sector) คอยดูดความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ อาจทำให้ Real Sector ตายได้ เพราะทุนนิยมคาสิโนมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การเก็งกำไรเท่านั้น เป็เงินร้อนพร้อมที่จะโบยบินไปเมื่อไรก็ได้

2. ทุนนิยมมาเฟีย (Mafia Capitalism) คือธุรกิจนอกกฎหมายเมื่อภาคเศรษฐกิจล่มสลาย ประเทศต่างๆก็ประสบปัญหาสังคมอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เช่นเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายทำให้รัฐที่มีนิวเคลียร์ก็ส่งออกนิวเคลียร์ให้กับขบวนการก่อการร้าย หรือมีกระบวนการขายผู้หญิง ผู้หญิงต้องมาขายตัว การค้ายาเสพติด ตรงนี้เป็นการแสวงหากำไรในแบบของทุนนิยมมาเฟีย (Mafia Capitalism) โดยเป็นทุนนิยมมาเฟียข้ามชาติ เช่นการส่งแรงงานเถื่อนข้ามชาติ โสเภณีข้ามชาติ บ่อนการพนันข้ามชาติ

จะเห็นได้ว่าแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งของไทยมีการค้ายาเสพติด ค้าประเวณี บาร์เบีย คาราโอเกะ เหล่านี้มาจากธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นการทำลายวัฒนธรรมอันดีงาม

ทั้งทุนนิยมมาเฟียและทุนนิยมคาสิโนถือว่าเป็นการสะสมทุนแบบจารชน นั่นคือเป็นการค้ากำไรจากสภาพสังคมที่ยุ่งเหยิงหรือการสะสมทุนในแบบChaotic Accumulation ยิ่งสังคมมีปัญหาทุนนิยมมาเฟียและทุนนิยมคาสิโนก็จะขยายตัวมากขึ้น เช่นการค้ากำไรจากมนุษย์เป็นการค้าที่มีกำไรสูงมาก เช่นการที่คนจีนต้องลักลอบเข้าไปยุโรปจนกระทั่งต้องจบชีวิตจากกระบวนการขนส่งแรงงาน

ตั้งแต่ไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เพราะเหตุการไหลออกของเงินตราต่างประเทศของประเทศ มาจากปัจจัยการไม่มีการลงทุนจริงแต่เป็นการปั่นหุ้นในตลาดหุ้นให้มีค่าเกินจริง (Real sector) จึงให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจที่เรียกว่าเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ทำให้เกิดปัญหาสถาบันการเงิน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธรุกรรมอหาสังริมทรัพย์ได้ปิดตัวลงจำนวนมากอันมาจากการประลอยตัวค่าเงินบาท (2 ก.ค.40)ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย เช่นปัญหาการว่างงาน จึงก่อให้เกิดความเคลียส เกิดปัญหายาเสพติด เกิดการค้าสิ่งผิดกฎหมาย ทำให้เกิดการสะสมทุนแบบ ทุนมาเฟีย คือการหากินบนวิกฤตของสังคม เช่น มีคนติดยาเสพติดมากก็ขายได้มาก มีการค้าแรงงานเด็ก โสเพณีเด็ก การค้ามนุษย์เป็นต้น ทุนนิยมแบบนี้คล้ายคนเป็นโรคมะเร็ง เช่น จากวิกฤตเศรษฐกิจเป็นการทำลายตัวเองเพราะเกิดจากการไม่พัฒนาใน Real Sector แต่คนส่วนใหญ่หันไปเล่นหุ้นเพื่อเก็งกำไร ทุนนิยมมาเฟียหรือทุนนิยมคาสิโนล้วนทำลายตัวเองทั้งสิ้น

ทำอย่างไรไทยจึงจะพ้นจากทุนนิยมมาเฟียและคาสิโน

1.ต้องกลับสู่ชุมชน(Localization) สร้างชุมชนให้เข้มแข็งตามทฤษฎีเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง(Theory of Self-reliance Economy) คือให้ประชาชนในระดับรากหญ้าระยะต้นพอมีพอกิน ต่อมาจะอยู่ดีมีสุข ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำรงชีพอย่างอดทน ไม่ฮวบฮาบ ค่อยเป็นค่อยไป เป็นการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เช่นนโยบาย กองทุนหมู่บ้านของรัฐบาล

2.หยุดพักชำระหนี้ (Debt Moratorium) คือการให้มีการหยุดพักชำระหนี้เงินยืมทั้งหมด เพื่อเป็นการสร้างให้ประเทศมีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจมากขึ้นกว่านี้ก่อนแล้วค่อยชำระคืนภายใน 5 ปีข้างหน้า

3.ชลอกาารปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยการค้าและการลงทุน ของ WTO จนกว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะฟื้นตัว

4.สร้างภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจไทยโดยออกกฎหมายคุ้มครอง เช่น คุ้มกันภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)

การหารายได้เข้ารัฐ

1.การปรับปรุงการท่องเที่ยว

2.การขุดคอคอดกระ (โครงการนี้แม้ว่าจะเป็นประโยชน์แต่ต้องใช้ทุนมหาศาล และอาจจะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและอื่นๆจึงต้องพิจารณาอย่ารอบคอบ)

3.การสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อเชื่อมอันดามันและอ่าวไทย

4.สร้างกองเรือพาณิชย์นาวี การพาณิชยนาวีหมายถึงการค้าทางทะเล รวมทั้งการผลิตสินค้าพื่อการค้าต่างประเทศเพื่อการส่งออกสินค้าทางเรือ รวมทั้งการดำเนินการต่างๆให้มีการขนส่ง การคุ้มครองสินค้าเพื่อให้สินค้าไปถึงปลายทางอย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย รวมทั้งการประกันภัยสินค้า ประกันภัยเรือ การบรรจุและหีบห่อสินค้า การขนถ่ายและเก็บรักษาสินค้าก่อนการจำหน่าย

5.การเปิดบ่อนพนันเสรี เรื่องนี้แม้จะเป็นทางเลือกแต่ต้องมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากพอสมควร และต้องทำประชาพิจารณ์

นโยบายการลดรายจ่ายของประเทศ

1.ปรับปรุงโครงสร้างคมนาคม เช่นลดโครงสร้างคมนาคมที่ก่อให้เกิดภาระในการซ่อมบำรุง จัดระบบการขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

2.ปรับปรุงโครงสร้างการใช้พลังงาน เช่นการวิจัยเกี่ยวกับ bio –Diesel การนำ Solar Energy มาใช้ การหาแหล่งพลังงานทดแทนน้ำมันเป็นต้น

3.ลดการกู้ยืมหนี้ต่างประเทศ คัดค้านการสร้างหนี้ต่างประเทศ

คุณสมบัติของผู้บริหารประเทศที่จะนำพาประเทศให้อยู่รอด

1.มี Vision

2.มีจุดยืนในการทำเพื่อประชาชนในระดับรากหญ้าเป็นสำคัญ เพราะประเทศไทยมีคนจนอยู่จำนวนมากที่จะต้องยกระดับความเป็นอยู่

3.ผู้นำต้องเป็นคนที่มี Concept มีแนวคิด มีกรอบความคิด ต้องเข้าใจ มองเห็นปัญหา และวิเคราะห์ปัญหาเป็น

4.ต้องมีความชำนาญและมีศักยภาพ ต้องมี Potential และ Skill ในการบริหารจัดการ เพราะทักษะและศัยกภาพในการบริหารงานจะทำให้ยุทธศาสตร์ วิจัยทัศน์ อุดมการณ์ และนโยบายที่มีอยู่เป็นความจริงขึ้นมาได้

ทางออกหรือยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

-การพัฒนาคุณภาพสินค้าส่งออก

-คนไทยจะต้องอดออม อดทน ไม่ฟุ้งเฟ้อ

-ต้องพยายามยืนบนขาตนเอง หรือใช้หลักการเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง (Self Reliance)

-การนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง

-การรวมตัวกันในชุมชนทำไร่นาสวนผสม

-ไม่ปฏิเสธเศรษฐกิจแบบการตลาด แต้ต้องเน้นการขยายสินค้าโดยตรง หรือจัดระบบสหกรณ์ คือสร้างตลาดที่มีคุณธรรม จริยธรรมมากกว่าตลาดที่มีแต่การกดขี่

นโยบายเร่งด่วน 9 ประการของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่ประกอบไปด้วย

1.การจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน

2.นโยบายพักหนี้

3.การจัดตั้งธนาคารประชาชน

4.การจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนขนาดกลางและขนาดย่อม

5.การตั้ง TAMC

6.การใช้รัฐวิสาหกิจหลักๆในการกู้วิกฤติเศรษฐกิจ เช่นการท่องเที่ยว

7.นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค

8.นโยบายต่อต้านยาเสพติด

9.การปราบปรามการทุจริตและการคอรับชัน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของข้าราชการและนักการเมือง

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบโลกาภิวัตน์(Theory of Globalize Economy) เน้นเรื่องเงิน ผลกำไร ความพึงพอใจของผู้บริโภค มากกว่าคน เน้นลัทธิเสรีนิยมใหม่(Neo – Liberalism) คือ เน้นเศรษฐกิจการตลาด ตลาดเสรี แข่งขันกันเพื่อมุ่งผลกำไรตามลักษณะของทุนนิยม อาศัยอุปสงค์ อุปทานเป็นกลไกควบคุมการดำเนินไปของตลาดให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยไม่มีอะไรมาแทรกแซง ยึดยุทธศาสตร์การส่งออกเป็นหลักให้ความชนใจชนชั้นผู้นำทางเศรษฐกิจ (Economic Elite)

ข้อดี คือการใช้ยุทธศาสตร์การส่งออก ข้อเสียคือ เน้นเงิน ทุน กำไรมากไป

ทฤษฎีเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง(Theory of Self-reliance Econcomy)เน้นการรวมกลุ่มของประชาชนให้เข้มแข้ง ในระยะแรกให้พอมีพอกิน ต่อมาจะอยู่ดีมีสุข ต้องใช้เวลาในการดำรงชีพอย่างอดทน ไม่ฮวบฮาบ ค่อยเป็นค่อยไป เกษตรกรต้องร่วมกลุ่มเพื่อต่อรองราคากับพ่อค้า จากระบบการค้าแบบ Individualism To Individualism มาเป็น Collectivism TO Individualism ถ้าชุมชนยิ่งเข้มแข็งขยายกว้างอำนาจในการต่อรองก็จะมากด้วย

ข้อดี เป็นความหวังของคนทั้งชาติ ข้อเสีย ไม่มีแต่เห็นผลช้าต้องอดทน

ทั้งสองทฤษฎีรวมกันก็จะออกมาเป็น การเดินสายกลางคือ ระยะแรกให้น้ำหนักที่กระแสรอง พยายามพัฒนาเศรษฐกิจกระแสรองให้ผงานขึ้นมาเทียบเคียงกระแสหบักให้ได้คือต้องมีการพัฒนาสินค้าจากภูมิปัญญาชาวบ้านให้มีคุณภาพสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศได้ ถ้าทำได้ประชาชนในระดับรากหญ้าจะมีความมั่นคงเข้มแข็ง รายได้มั่งคง เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศก็จะดีขึ้นด้วย เมื่อนั้นประเทศไทยก็จะหลุดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องทุ่มเทอุ้มกระแสรองใหสามารถขึ้นมาเทียบเคียงกับกระแสหลักให้ได้

Hosted by www.Geocities.ws

1