สภาพยุโรป

สหภาพยุโรปเกิดจากการรวมตัวกัน แต่ไม่ใช้การรวมตัวแบบธรรมดาเหมือนกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ แต่การรวมตัวของอียูเป็นลักษณะที่มีเพียง 1 เดียวในโลก การรวมตัวของอียูเรียกว่าการบูรณาการ (Integration) และรวมกันเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ และมีเงินตราสกุลเดียวกัน

คนที่ทำให้เกิดสหภาพยุโรปขึ้นมาจริงๆนั้นคือชาวฝรั่งเศส 2 คนคือโรเบิร์ต ชูมาน รัฐมนตรีต่างประเทศและชองค์ โมเน่ โดยชูมานได้ประกาศในเดือน พค. 1950 ว่าจะต้องมีการสถาปนาระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นในยุโรป ที่เรียกว่าแผนการชูมาน และเป็นรากฐานที่ทำให้เกิดประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steel Communication) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นประชาคมของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแห่งแรกของยุโรป

ส่วนโมเน่ต์นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการคลังของฝรั่งเศส แต่เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดและเสนอแนวคิดไปยังโรเบิร์ต ชูมาน และต่อมาเขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของยุโรป

แนวคิดนักวิชาการ (ทฤษฎีบูรณาการ)

Ernst Hass “การศึกษาบูรณาการแห่งภูมิภาค ม่งหมายที่จะอธิบายแนวโน้มโดยสมัครใจของหน่วยการเมืองขนาดใหญ่ แต่ละหน่วยต่างก็มีความสำนึกในอันที่จะงดเว้นการใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยและกลุ่มที่เข้ามาร่วมมือกัน”

Karl W Deutsche ‘ Amitai Etzioni ให้คำจำกัดความของ บูรณาการว่าหมายถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่างๆ ซึ่งพึ่งพาอาศัยกันและกันและร่วมมือกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ในระบบซึ่งแต่ละหน่วยไม่สามารถทำได้โดยลำพัง” Deutsche เห็นว่าหน้าที่หลักของการรวมกลุ่มมี 4 ประการ

1.เพื่อรักษาสันติภาพ 2.เพื่อให้ได้มาซึ่งความสามารถเพื่อบรรลุวัถตุประสงค์ต่างๆ ได้มากขึ้น 3.เพื่อให้ประสบความสำเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ 4. เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพพจน์ของตน และเอกลักษณ์ในบทบาทใหม่

กรอบแนวคิดในการศึกษาการบูรณาการ(Integration)

1.แนวสหพันธ์นิยม (Federalism) เป็นแนวการศึกษาลักษระการรามตัวกันของหน่วยต่างๆจนกลายเป็นประชาคมทางการเมือง

2.แนวปริวรรตนิยม (Transactionalism ) (บางคนใช้คำว่าแนวสัมพันธ์นิยม) เป็นแนวคิดที่มีการแลกเปลี่ยนการกระทำร่วมกันจนอาจจะเกิด 2 รูปแบบคือ

-แบบที่เป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบ มีความมั่นคง มีหลักประกันร่วมกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

-แบบพหุนิยม หมายถึงการจะทำให้เกิดความร่วมมือกันโดยยอมรับความหลากหลาย

3.แนวภาระกิจนิยม (Functionalism) ต่อมาจะพัฒนามาเป็นแบบภาระกิจนิยมใหม่ (Neo-Function) นั่นคือจากการทำหน้าที่ที่สำคัญจะนำไปสู่การร่วมมมือกันในหน้าที่อื่นต่อไป และขยายไปถึงความร่วมมือในลักษณะที่อยู่เหนือกว่ารัฐขึ้นไป

ขั้นตอนการบูรณาการทางเศรษฐกิจ

Bela Balassa กล่าวว่าขั้นตอนของการบูรณาการจะเป็นเหมือนกับบันได 5 ขั้นคือ (จำไว้ให้ดีสอบ)

1.เขตเศรษฐกิจเสรี (Free Trade Area) ขั้นแรกนี้จะมีการยกเลิกกำแพงภาษี ยกเลิกระบบโควต้า และการกำหนดปริมาณสินค้า

2.สหภาพศุลกากร (Customs Union) ขั้นนี้จะมีการ ขจัดการเลือกปฏิบัติระหว่างสมาชิก นั่นคือภายในกลุ่มจะไม่มีการเก็บภาษี เคลื่อนย้ายสินค้าบริการภายในกลุ่มอย่างสะดวก ขจัดข้ออุปสรรต่างๆภายในกลุ่ม แต่ไปตั้งการกีดกัดกับภายนอกกลุ่ม

3.ตลาดร่วม (Common Markets) ขั้นนี้จะมีนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเดียวกัน เช่นใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน

4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) จะมีการจัดระบบตลาดร่วมที่มีนโยบายเศรษฐกิจเป็นมาตรฐานเดียวกัน ขจัดความเหลื่อมล้ำและเลือกปฏิบัติต่อกันภายในกลุ่ม เช่นกำหนดอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน

5. การบูรณาการทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ (Total Economic Integration) ขั้นนี้จะมีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ทั้งด้านการเงิน การคลัง มีการจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเหนือรัฐ หรือ Supra-National

พัฒนาการของสหภาพยุโรป

ยุโรปนั้นเกิดขึ้นมาอย่างมีพัฒนาการ นั่นคือเริ่มต้นจากการมีสนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris ปี 1952) และแผนการชูมาน ที่ทำให้เกิดประชาคมถ่านหินและเหล็กหล้า มีสมาชิก 6 ประเทศ และพัฒนามาเป็นองค์การตลาดร่วมหรือประชาคมยุโรป (European Common Market) ปี 1958 โดยสนธิสัญญาโรม

ต่อมาเกิดการรวมตัวกันเป็นตลาดเดียวกันและกลายเป็นสหภาพยุโรป ในปี 1993 โดยสนธิสัญญามาสทริชท์ (Masstricht Treaty) ซึ่งถือว่าเป็นสนธิสัญญาแห่งยุโรป หรือ Treaty of European Union –TEU และมีการแก้ไขสัญญาอีก 2 ครั้งคือสนธิสัญญาอัมเตอร์ดัมและสนธิสัญญานีช

ดังนั้นเราจะพบว่าสหภาพยุโรปเกิดมาจากกฎหมาย หรือ Rule of Law นอกเหนือไปจากความตั้งใจที่จะมาร่วมมือกันของชาติในยุโรป

ความสัมฤทธิผลของสหภาพยุโรปในปัจจุบันเกิดจากความจำเป็น กลายเป็นอาณัติที่ชาวยุโรปต้องกระทำร่วมกัน กล่าวคือการบูรณาการยุโรปเกิดจากฐานคติที่ว่า

1. ความต้องการและตั้งใจจะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งและสงคราม (Conflict Resolution)

3. ความเชื่อมั่นในรากฐานเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (ทุนนิยมเสรีและการค้าเสรี)

4. หลักการธรรมาภิบาล ฯลฯ ซึ่งหลักที่สำคัญคือการใช้กฎหมายเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมการบริหาร (เหตุผลแห่ง Rule of Law) ความโปร่งใส (Transparency) มีสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) นอกจากนี้อาจมีประชาธิปไตย (Democracy) การมีส่วนร่วม (Participation) มีความรับผิดชอบ (Responsibility)

หลักการทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการบูรณาการยุโรป

หลักการที่ยึดถือคือ การค้าเสรี (Free Trade) การได้ผลประโยชน์ร่วมกัน การคุ้มทุนและประหยัด อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันและผลประโยชน์ที่ยั่งยืน หลักการเหล่านี้มาจากแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของนักคิดชาวยุโรป 3 คนคือ

1. อดัม สมิธ บิดาแห่งลัทธิทุนนิยมเสรี (Liberal Capitalism) ถือหลัก Free & Fair Trade หลักกลไกตลาด (Demand & Supply) จะเป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการแลกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ

การจะเกิดการแลกเปลี่ยนได้อย่างเต็มที่หรือที่เรียกว่า Perfect Market (ตลาดสมบูรณ์) ได้นั้นต้องมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ไม่มีการผูกขาด ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด รัฐต้องลดหน้าที่ลงเมื่อมีกลไกทางเศรษฐกิจมากำหนดให้รัฐต้องทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจ

รัฐกลายเป็นตัวแสดงระหว่างประเทศ (International Actors) จากเดิมที่เคยมีฐานะผูกขาดในฐานะ Nation States แต่ต้องลดลงไปเป็นทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การใช้อำนาจอธิปไตยที่ลดลงโดยอาจไปฝากไว้ที่องค์การระหว่างประเทศ รัฐบาลต้องร่วมมือกัน นั่นคือองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ ได้แก่ MNCs บรรษัทหลายชาติ และ TNCs บรรษัทข้ามชาติ สององค์กรนี้เหมือนกันคือไม่ได้ตั้งมั่นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ได้มีผลประโยชน์และบริหารจัดการอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ข้ามถิ่นข้ามประเทศไปเลย

บรรษัทข้ามชาติและบรรษัทหลายชาติเป็นเอกชนที่มีบทบาทในการค้าอย่างมาก สอดคล้องกับทฤษฎีเศรษฐกิจเสรีที่ต้องให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ แต่บรรษัทข้ามชาติก็ต้องอาศัยรัฐบาลในการอำนวยความสะดวกให้ด้วย สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการค้าเสรีของอดัม สมิธที่ว่า การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเอกชน รัฐจะมีบทบาทแค่อำนวยความสะดวกโดยไม่ต้องมาทำการค้าขายเอง สหภาพยุโรปนั้นรัฐก็ไม่ได้เป็นพ่อค้า แต่มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทุนและเทคโนโลยีอย่างเสรี เพื่อความสะดวกในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดกำไรหรือประโยชน์สูงสุด

สมิธกล่าวว่ารัฐมีหน้าที่ที่สำคัญคือ

1. สร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทั้งที่เป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ เช่น สภาพแวดล้อมที่ดี มี Rule of Law นอกเหนือจากสร้างถนน ไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา ไฟเบอร์ออพติก

2. ให้การศึกษาเพื่อช่วยให้ประชาชนคิดเป็นทำเป็น เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใน

3. ให้การรักษาความปลอดภัย ดูแลความสงบเรียบร้อยภายใน เช่น กองทัพ ตำรวจ ให้ความคุ้มครองป้องกันในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน

ในเมื่อรัฐมีหน้าที่ 3 ประการดังกล่าว ดังนั้นหน้าที่การทำมาหากินจึงต้องปล่อยให้เอกชนเป็นคนทำ

2. ริคาโด กล่าวว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะดำเนินไปได้อย่างเต็มที่ต้องดูที่การได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ทำอย่างไรจึงจะผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำอันจะทำให้เกิดกำไรสูงสุด ประเทศใดผลิตสิ่งใดแล้วได้เปรียบก็ต้องผลิตสิ่งนั้น แต่ก็มีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรอะไรแต่มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ญี่ปุ่นจึงเข้ามารุกรานเอเชียเพื่อสร้างวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา เป็นการแสวงหาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเพื่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

ดังนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจะต้องมีการแบ่งงานกันทำ ทำให้ต้นทุนต่ำ กำไรสูง ประเทศไทยและประเทศในเขตร้อนนั้นได้เปรียบในการผลิตอาหารเพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพ ดิน น้ำ อากาศ อำนวยต่อการทำการเกษตร แต่ทำไมเกษตรกรไทยยังยากจน ผู้บริโภคเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ชั่วคราว เพราะการผลิตผลผลิตเหมือน ๆ กันทำให้ราคาตก

แต่ในสหภาพยุโรปนั้นเริ่มจากแนวคิดเรื่องการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ โดยเริ่มที่เกษตรกรรมก่อนโดยกำหนดให้เกษตรกรต้องมีการจัดการที่ดี รัฐไม่ต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือแต่เกษตรกรต้องสามารถยืนบนลำแข้งของตนเองได้ จากหลักการการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบก็ค่อย ๆ พัฒนามาเรื่อย ๆ ท้องถิ่นใดทำเกษตรดีก็ทำเกษตร ท้องถิ่นใดทำอุตสาหกรรมดีก็ทำอุตสาหกรรม แบ่งงานกันทำตามหลักการ Economy of Scale คือผลิตแล้วต้องประหยัด ผลิตแล้วต้องได้กำไร

เคนส์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องลงมาสร้างงาน ต้องช่วยให้ประชาชนรู้จักการออมและนำเงินไปลงทุนมากขึ้น รวมทั้งสามารถพยากรณ์เศรษฐกิจล่วงหน้าได้ แต่รัฐไม่ต้องไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง

เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรป (ประกาศไว้เมื่อ ค.ศ.1993)

1. เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและสมดุล ความก้าวหน้าแห่งสังคมโดยยุโรปตลาดเดียว สหภาพการเงิน เศรษฐกิจ และเงินตราสกุลเดียว

2. การเสริมสร้างเอกลักษณ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน อันจะนำไปสู่การปกครองและนโยบายการทหารเดียวกัน

สหภาพยุโรปกลายเป็นเอกลักษณ์ระหว่างประเทศใหม่ที่จะมาแทนที่ Nation State แม้จะยังแทนที่ไม่ได้ทั้งหมด แต่ตอนนี้ยุโรปเป็นสิ่งที่เหนือกว่า Nation State แล้ว

3. สถานะพลเมืองแห่งสหภาพ (European Citizenship) เพื่อความแข็งแกร่งและสิทธิประโยชน์แห่งสมาชิก

4. การพัฒนาความร่วมมืออันใกล้ชิดในกิจการภายในและการยุติธรรม

5. การธำรงรักษาไว้ซึ่งพันธะแห่งชุมชน

หลังจากการเซ็นสนธิสัญญามาสทริชท์ (Masstricht Treaty) ทำให้เกิดสหภาพยุโรปขึ้นมาใน ค.ศ.1993 โดยมีพัฒนาการมาจากสนธิสัญญาหลายฉบับเริ่มจากสนธิสัญญาปารีส สนธิสัญญาโรม สนธิสัญญามาสทริชท์ สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม 1997 และสนธิสัญญานีซ 2000 (ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน) ระหว่างนั้นมีข้อตกลงต่าง ๆ เช่น Schengen Agreement ยกเลิกพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิก ยกเว้นอังกฤษกับไอร์แลนด์ที่ยังขอมีพรมแดนอยู่ เพราะเกรงปัญหาการลักลอบเข้าเมือง

สนธิสัญญามาสทริชท์ สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม 1997 และสนธิสัญญานีซ 2000 รวมเรียกว่าสนธิสัญญาสหภาพ (Treaty of European Union : TEU)

พัฒนาการของสหภาพยุโรป

เริ่มต้นด้วยประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community) มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก แต่ไม่มีประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามอังกฤษนั้นเห็นด้วยกับความร่วมมือนี้ เห็นได้จากวินส์ตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยนั้นพูดไว้ชัดเจนว่า อยากเห็นอนาคตของความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวยุโรปเป็น United State of Europe

ลักษณะของการรวมตัว สนธิสัญญามาสทริชท์ เน้น "เสาหลัก" 3 ประการ (the three pillars of the European Union) คือ
3.1 เสาหลักที่หนึ่ง การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ (Economic Integration)
3.2 เสาหลักที่สอง นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศ และความมั่นคง (CFSP) และนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (Common Security and Defense Policy)
3.3 เสาหลักที่สาม ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน (มหาดไทย) รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด การจัดตั้งกองตำรวจร่วม (Europol) และการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน ฯลฯ

นโยบายสำคัญของสหภาพยุโรป

1.นโยบายการค้าร่วม

2.นโยบายเกษตรร่วม

3.นโยบายประมงร่วม

4.นโยบายอุตสาหกรรมร่วมกัน

5.นโยบายการให้ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา ฝึกอบรม อาชีพการจ้างงานและการประกันสังคม ทั้งนี้เพื่อให้พลเมืองของยุโรปไดรับการประกันเทียบเท่ากับประกันของชาติรัฐของตนเอง

6.นโยบายความร่วมมือระดับมหภาคและสภาพทางการเงิน

7.นโยบายสิ่งแวดล้อมร่วม เป็นนโยบายที่ยุโรปให้ความสำคัญดัง

จะเห็นกรณีที่ยุโรปลงนามในการประชุมที่ริโอเดอจาเนโร และสนธิสัญญาโตเกียวที่ว่าด้วยภาวะเรือนกระจก

8.นโยบายสังคมสารสนเทศการวิจัยและเทคโนโลยี

9.นโยบายบูรณาการยุโรปทั้งหมด โดยนโยบายทั้งหมดของยุโรปก็จะมามีส่วนร่วมในนโยบายข้อที่ 9 นี่เอง

ดังนั้นยุโรปจึงมีความต้องการที่จะให้เกิดสังคมที่มี 4 ลักษณะ

1.เป็นสังคมที่มีการจัดการด้วยกฎหมาย Rule of law Community

2.เป็นสังคมทีมีการแบ่งสรรทรัพยากร Resource Sharing Community

3.เป็นสังคมที่ทุกส่วนต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน Mutual Benefit Community

4.เป็นสังคมที่มีความร่วมมือกันด้วยการประชุม Diplomacy by Conference Community

เวลานี้อียูมีเพลงแห่งสหภาพยุโรป คนยุโรปจะมีสัญชาติยุโรป เป็นพลเมืองยุโรป มีพาสปอร์ตยุโรป

เป้าหมายและวิธีการของอียู

1.ต้องการเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจ

2.ต้องการกระจายและจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง

3.ต้องการการแข่งขันกับโลก

4.ต้องการผลิตอย่างเต็มที สร้างงานเต็มที่เพื่อกำไรสูงสุด เพื่อจัดระเบียบโลกใหม่

5.เพื่อสร้างระบบความร่วมมือที่สามารถแข่งขันกันได้

6.สร้างกฎระเบียบใหม่

7.สร้างบูรณาการที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็น 1 เดียวของโลก ซึ่งยากที่ภูมิภาคอื่นจะเอาอย่างได้ เช่นอาเซี่ยนมีความพยายามแต่ความแตกต่างของอาเซียนมีมากเกินไป

สุดท้ายต้องการสร้างยุโรปให้เป็น 1 เดียว

โดยสรุปเวลานี้อียูเป็นทั้งหน่วยที่เหนือกว่าชาติ เป็นทั้งองค์การระหว่างประเทศ และยังเป็นรัฐชาติด้วย

โดยสรุปยุโรปก็คือกระบวนการบูรณาการที่มาจากความร่วมมือในการทำงานโดยมีเป้าหมายที่จะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และในอนาคตอาจจะเป็นสหรัฐในยุโรป

ความร่วมมือ สหรัฐ อียู

JOINT U.S.-EU ACTION PLAN(แผนปฎิบัติการความร่วมมือ สหรัฐและอียู on December 3, 1995.

This Action Plan for expanding and deepening U.S.-EU relations reflects a framework with four shared goals:

-- Promoting peace and stability, democracy and development around the world;

-- Responding to global challenges;

-- Contributing to the expansion of world trade and closer economic relations;

-- Building bridges across the Atlantic.

ความขัดแย้งของสหรัฐอเมริกากับสหภาพยุโรป

1.ทางด้านการทหาร เกี่ยวการลดบทบาทของสหรัฐอเมริกา ในกองกำลัง NATO โดยปัจจุบัน โดยเฉพาะ เยอรมันและฝรั่งเศสต้องการจะกันอิทธิพลของสหรัฐออกไป จาก อียู ต้องการให้อียูมีอิสระภาพในการเรื่องของกองกำลัง

2.เรื่องการค้า อียูและ สหรัฐมีความขัดแย้งกันในเรื่องทางการค้าหลายเรื่องเช่น สงครามกล้วยหอม ปี 1999 อียูกีดกันสินค้า GMO จากสหรัฐ

“สหรัฐได้ตำหนิสหภาพยุโรปครั้งแล้วครั้งเล่า ในเรื่องที่สหภาพยุโรป มีคำสั่งให้ติดฉลากผลิตภัณฑ์ โดยสหรัฐถือว่า มาตรการดังกล่าว เป็นเครื่องกีดขวางทางการค้า เจ้าหน้าที่สหรัฐอ้างว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ทำจากพืชตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกได้ เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ของมนุษย์ สัตว์ หรือพืชแต่อย่างใด และเสริมว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ไม่น่าจะต้องมีฉลากกำกับ หรือมีรายชื่อส่วนผสมที่ระบุว่า เป็นผลิตภัณฑ์ตัดต่อพันธุกรรม ปัญหาอย่างหนึ่ง ของข้อกำหนด เรื่องการติดฉลากก็คือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการแยก ผลิตภัณฑ์ตัดต่อพันธุกรรม ออกจากผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ตัดต่อพันธุกรรม และการติดฉลากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว”

อียูจับมือกับญี่ปุ่นต่อต้านเหล็กกล้าจาก สหรัฐ

อียูดำเนินนโยบายความสัมพันธ์กับภายนอกแบบพหุภาคี แต่สหรัฐ ชอบแบบทวิภาคี

3.การประกาศใช้เงิน ยูโรทำให้กระทบต่อค่าเงิน ของสหรัฐ การที่เงินยูโรเป็นสกุลเงินของเขตเศรษฐกิจและการค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในเงินสกุลนี้ ธนาคารกลางของหลายประเทศต่างพยายามที่จะกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์หลากหลายสกุลเงินรวมถึงทองคำ เงินเหรียญสหรัฐ และเงินสกุลอื่นๆ ของโลก ดังนั้น ธนาคารกลางจะหันมาใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสำรองระหว่างประเทศมากขึ้น

4.การบูรณาการของยุโรปจะทำให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในตลาดการท่องเที่ยวยุโรปจำนวนมาก ประเทศในยูโรโซนที่รวมตัวกันแล้วจัดได้ว่าเป็นกลุ่มประเทศจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกในทุกแง่มุม และจะมีผลกระทบต่อคู่แข่งที่ใกล้ตัวที่สุด คือ สหรัฐอเมริกา ในแง่ของจำนวนนักท่องเที่ยว รายได้จากการท่องเที่ยว และการเดินทางออกของคนในประเทศ เป็นที่คาดหมายกันว่าเงินยูโรจะได้รับการต้อนรับอย่างกว้างขวางในวงการท่องเที่ยวทั่วโลกเช่นเดียวกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ

5.การขัดแย้งในเวที WTO อียูเองก็มีบทบาทในการจัดตั้ง WTO บทบาทของอียูใน WTO ก็มีสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างของการแข่งขันเช่นการเลือกตั้งผู้อำนวยการ WTO ที่อียูสนับสนุนคุฯศุภชัย แต่อเมริกาสนับสนุนไมค์ มัวร์

นอกจากนี้อียูและอเมริกามีความขัดแย้งกันในเวที WTO หลายเรื่อง เช่น ปี 1996 ที่อียูมองว่าอเมริกาทำให้อียูมีความเสียเปรียบในการค้ากับคิวบา

6. สหรัฐและอียูต่างก็ให้เงินอุดหนุน(Subsidy) เกษตรกรภายในของตนซึ่งถือว่าเป็นการขัดต่อระบบการค้าเสรี ทำให้กระทบกับประเทศกำลังพัฒนาส่งสินค้าไปขายให้ประเทศทั้งได้น้อยก็มีผลทำให้ซื้อสินค้าจากทั้ง 2 ได้น้อยเช่นกัน

โครงการความร่วมมือ สหรัฐและอียู

JOINT U.S.-EU ACTION PLAN(แผนปฎิบัติการความร่วมมือ สหรัฐและอียู on December 3, 1995.

This Action Plan for expanding and deepening U.S.-EU relations reflects a framework with four shared goals:

we attach the highest importance to perfecting a new transatlantic community reflecting our joint interest in promoting stability and prosperity throughout the whole continent of Europe, based on the principles of democracy and free markets. We will cooperate both jointly and multilaterally to resolve tensions, support civil societies, and promote market reforms.

Our partnership is also global. We accept our responsibility to act jointly to resolve conflicts in troubled areas, to engage in preventive diplomacy together, to coordinate our assistance efforts, to deal with humanitarian needs and to help build in developing nations the capacity for economic growth and self-sufficiency. In this global partnership we are guided by the firm belief that the strengthening of democratic institutions and respect for human rights are essential to stability, prosperity, and development.

We share a common concern to address in an effective manner new global challenges which, without respect for national boundaries, present a serious threat to the quality of life and which neither of us can overcome alone. We pledge our actions and resources to meet together the challenges of international crime, terrorism and drug trafficking, mass migration, degradation of the environment, nuclear safety, and disease. Together we can make a difference.

1. Fight against organized crime, terrorism and drug trafficking

We will cooperate on the fight against illegal drug trafficking, money laundering, terrorism, organized crime, and illicit trade in nuclear materials.

We are each other s largest trading and investment partners. Our economic prosperity is inextricably linked. At the same time, our economic and trade relations affect third countries and regions. It is our responsibility to contribute effectively to international economic stability and growth and to broaden our bilateral economic dialogue.

We have a special responsibility to strengthen the multilateral trading system, to support the World Trade Organization and to lead the way in opening markets for trade and investment.

We will create a New Transatlantic Marketplace by progressively reducing or eliminating barriers that hinder the flow of goods, services and capital between us.

We recognize that the transatlantic relationship can be truly secure in the coming century only if future generations understand its importance as well as their parents and grandparents did. We are committed to fostering an active and vibrant transatlantic community by deepening and broadening the commercial, social, cultural, scientific and educational ties that bind us.

 

Hosted by www.Geocities.ws

1