สรุปคำบรรยาย

วิชา PS 714 การเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

International Relation in Southeast Asia

ผศ.เฉลิมชัย ผิวเรืองนนท์

สภาพทั่วไปทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมการเมืองมาประมาณ 5 ช่วงด้วยกัน

ยุคที่1 เป็นยุคโบราณ ภูมิภาคนี้ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน โดยผ่านการนับถือศาสนาพุทธ ประมาณ 400 ปีก่อนค.ศ.-ศตวรรษที่ 14

ยุคที่ 2 คือศตวรรษที่ 14-16 เป็นช่วงที่มหาอำนาจตะวันตกได้ขยายอิทิพลเข้ามาในภูมิภาคนี้ เช่นสเปนนั้นได้ขยายเข้ามายึดครองฟิลิปปินส์กว่า 300 ปี ทำให้ฟิลิปปินส์ได้รับวัฒนธรรมในแบบคริสต์ศาสนาและมีวิถีชีวิตแบบตะวันตก ขณะเดียวกันวัฒนธรรมของศาสนาอิสลามก็เข้าแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาคนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัฒนธรรมอิสลามจะอยู่ในบริเวณมาเลเซีย อินโดนีเซีย และหมู่เกาะทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์

ยุคที่ 3 คือศตวรรษที่ 17-19 เป็นยุคล่าอาณานิคม หรือยุคจักรวรรดินิยม (Imperialism) เป็นยุคที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภูมิภาคนี้มากที่สุด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมาย เช่นฮอลันดาก็เข้าปกครองอินโดนีเซีย ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีน อังกฤษเข้ามามาลายา สิงคโปร์ และพม่า ส่วนอเมริกาก็เข้ามาครอบครองฟิลิปปินส์

ส่วนประเทศไทยแม้ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นเหมือนกับเพื่อนบ้าน แต่เราต้องสูญเสียดินแดนจำนวนมากเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยเอาไว้ โดยต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส 4 ครั้งรวม 3 แสนกว่าตารางกิโลเมตร มากกว่าที่ดินแดนที่เรามีอยู่ในปัจจุบันคือ

-แคว้น 12 จุไทยปี 2431 เนื้อที่ 87,000 ตร.กม.

-ดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ปี 2436 จำนวน 143,000 ตร.กม.

-ดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงจำนวน 2447จำนวน 125,400 ตร.กม.

-สูญเสียมณฑลบูรพา (อยู่ในเขมรปัจจุบัน) ในปี 2449 จำนวน 51,000 ตร.กม.

นอกจากนี้ยังสูญเสียหัวเมืองมาลายู คือปะลิด กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ให้อังกฤษ ประมาณ 34,000 ตร.กม.

ยุคที่ 4 คือสมัยที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (1942-1945) เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ามาขับไล่กองกำลังของตะวันตกและเข้ามาปกครองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะหนึ่ง โดยพยายามเผยแพร่แนวคิดชาตินิยม และต่อต้านตะวันตก ซึ่งได้ผลในระยะแรกแต่ต่อมาก็มีการต้อต้านญี่ปุ่น เช่นของไทยก็มีขบวนการเสรีไทย

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภูมิภาคนี้จึงเป็นสนามรบระหว่างพันธมิตรกับญี่ปุ่นทำให้เป็นภูมิภาคที่ต้องได้รับความเสียหายจากสงครามอย่างใหญ่หลวง ยกเว้นประเทศไทยที่สูญเสียน้อยที่สุด

ยุคที่ 5 คือช่วงหลังสงครามโลกมาจนถึงปัจจุบัน ช่วงนี้จะผ่านยุคสงครามเย็นโดยมหาอำนาจตะวันตกพยายามกลับเข้ามายึดครองดินแดนอาณานิคม แต่ถูกต่อต้านด้วยกระบวนการชาตินิยมอย่างเข้มแข็ง ประเทศไทยของเราเองในสมัยรัฐบาลปรีดี พนมยงค์ก็มีนโยบายต่อต้านจักรวรรดินิยม โดยสนับสนุนขบวนการชาตินิยมในอินโดจีนที่เรียกว่าขบวนการเวียดมินจ์ ทำสงครามต่อต้านฝรั่งเศส

หลังสงครามโลกประเทศในภูมิภาคนี้ต่างได้รับเอกราช ทั้งได้มาโดยสันติเช่นพม่า มาลายา และฟิลิปปินส์และโดยการรบพุ่งทำสงคราม คือเวียดนาม เพราะฝรั่งเศสไม่ยอมปลดปล่อยเวียดนามทำให้เกิดการสู้รบในที่สุดฝรั่งเศสก็ยอมแพ้เมื่อที่มั่นสุดท้ายคือเดียนเบียนฟูแตก และต้องให้เอกราชกับประเทศอินโดจีน

อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็เข้ามาแทรกแซงและแบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วนและทำสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ คือสงครามเวียดนามในปี 1964 ซึ่งเป็นสงครามที่โหดร้ายรุนแรงมาก

ช่วงนั้นประเทศไทยเข้าไปมีบทบาทร่วมกับอเมริกาในสงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วยการเข้าร่วมกับองค์กรเซียโต้ และส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามเวียดนาม ในนามกองพันเสือดำและกองพันจงอางศึก

สงครามเวียดนามดำเนินอยู่เป็นระยะเวลานาน ใช้วิธีการสู้รบทุกรูปแบบ และกลายเป็นสงครามที่สร้างความเสียหายให้มวลมนุษยชาติมากมาย โดยเฉพาะในช่วงปี 2511-2513 ที่ตรงกับยุคของประธานาธิบดีนิกสัน ที่มีการทิ้งระเบิดลงไปในเวียดนามกว่า 1 แสนตันหรือ 100 ล้านกิโลกรัม มากกว่าการทิ้งระเบิดในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 รวมกัน

ต่อมานิกสันก็ประกาศนโยบาย Vitenamization เพื่อถอนทหารออกจากสงคราม เนื่องจากชาวอเมริกันต่อต้านสงครามอย่างหนักในเวลานั้น มีการเดินขบวนต่อต้านสงคราม การหนีทหารของคนอเมริกัน

สงครามเวียดนามนั้นก่อให้เกิดโศกนาถกรรมคนเวียดนามบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก เวียดนามกลายเป็นประเทศมีคนพิการมากที่สุดในโลก มีเด็กกำพร้ามากที่สุดในโลก มีแม่ม่ายมากที่สุดในโลก มีลูกครึ่งมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีเศษเหล็กจากสงครามมากที่สุดในโลก และทำรายได้ให้เวียดนามในเวลาต่อมา

หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามประเทศต่างๆหวังว่าจะเกิดความสงบสุขในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยเองที่ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับอเมริกาต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ในช่วงปลายสมัยของรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอมจึงเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง คือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ต่อมาเราก็ได้รัฐบาลประชาธิปไตยและได้ปรับนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ โดยเฉพาะนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้านในอินโดจีน

เหตุการณ์ที่สำคัญหลังสงครามเวียดนามที่ไม่สามารถทำให้ภูมิภาคนี้สงบสุขได้คือความขัดแย้งระหว่างคอมมิวนิสต์ 2สายคือสายจีนและสายสหภาพโซเวียต นั่นคือความขัดแย้งระหว่างคอมมิวนิสต์เขมรที่นิยมจีนกับคอมมิวนิสต์เวียดนามที่นิยมในสหภาพโซเวียต โดยเวียดนามได้นำกองกำลังนับแสนคนบุกเข้ายึดครองกรุงพนมเปญและขับไล่รัฐบาลเขมรแดงและสนับสนุนกลุ่มเฮงสัมรินในนามแนวร่วมแห่งชาติเพื่อการกู้ชาติกัมพูชา (Kampucean National United front for National Salvation ) ในเดือนมกราคม 1979

การกระทำของเวียดนามจีนไม่พอใจมากจึงส่งทหารเข้ามาโจมตีเวียดนามที่เรียกว่าสงครามสั่งสอนในเดือนกุมภาพันธ์ 1979 นั่นคือส่งทหารเข้ามาโจมตีด้วยความรวดเร็วและส่งทหารกลับทันที

ต่อมาเวียดนามก็ใช้สงครามกองโจรสั่งสอนจีนกลับ ซึ่งทำให้จีนได้รับความเสียหายจนทำให้เติ้งเสี่ยวผิงผู้นำจีนต้องนำบทเรียนนี้มาปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย

เวลานั้นเวียดนามนับว่ามีกองทัพที่ยิ่งใหญ่เนื่องจากทหารเวียดนามชำนาญในการสู้รบและกรำศึกมาเป็นเวลายาวนาน

สำหรับสงครามกัมพูชาก่อให้เกิดปัญหาความไร้เสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทำให้นำไปสู่ความพยายามในการเจรจาสงบศึก ทั้งจากอาเซียน สหประชาชาติ รวมทั้งประเทศไทยก็มีบทบาทอย่างสำคัญในการดึงเอาเขมรแต่ละฝ่ายมาคุยกันจนกระทั้งนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 1993 ทำให้กัมพูชาเปลี่ยนจากคอมมิวนิสต์มาเป็นประเทศประชาธิปไตยภายใต้ระบอบรัฐสภา

สิ่งที่น่าสนใจคือหลังการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังยุติสงครามกัมพูชาเป็นประเทศแรกของโลกที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญพร้อมๆกัน 2 คนเนื่องจากในการเลือกตั้งไม่มีพรรคการเมืองใดได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทำให้ต้องประนีประนอมให้มีนายกรัฐมนตรี 2 คนคือสมเด็จฮุนเซนจากพรรคประชาชนกัมพูชาและเจ้านโรดม รณฤทธิ์จากพรรคฟุนซินเปก

ปัจจุบันการเมืองของกัมพูชา เมื่อการเลือกตั้งครั้งล่าสุดพรรคการเมือง 2 พรรคสามารถประนีประนอมกันได้แม้ว่าผลการเลือกตั้งจะไม่ชี้ขาดเช่นเดิมก็ตามนั่นคือกัมพูชามีนายกเพียง 1 คนคือสมเด็จฮุนเซ็น และเจ้ารณฤทธิ์ได้ผันตัวเองไปเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร

ความสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมาตั้งแต่อดีตทำให้ตกเป็นเป้าหมายของมหาอำนาจในการเข้ามาแสวงหาประโยชน์มาตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่ยุคจักรวรรดินิยม ยุคสงครามเย็น จนถึงปัจจุบัน ทำให้ภูมิภาคนี้มีปัญหาความขัดแย้งหลายประการ ทั้งนี้สามารถสรุปความสำคัญของภูมิภาคนี้ได้ 2 ประการคือ

1.เป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ทำเลที่เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของโลก เพราะตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง 2 ทวีป สามารถคุมเส้นทางคมนาคมทั้งทางบก ทางเรือและทางอากาศ

2.เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งน้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโลก

ปัจจุบันลาวนับว่ามีทรัพยากรที่สมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ น้ำมันและแหล่งน้ำ ต่าง ๆ จนมีการวิเคราะห์ว่าลาวจะมีอนาคตที่ดีในทางเศรษฐกิจ ในอีก 10 ปีข้างหน้า รายได้ของลาวจะสูงมากในภูมิภาคนี้และเป็นอันดับต้นของโลก เนื่องจากลาวมีพลังงานน้ำมากที่สุดในภูมิภาค เช่นสีพันดอนที่เป็นปากแม่น้ำโขง และมีน้ำตกหลี่ผีและน้ำตกดอนพะเพ็ง และลาวสามารถสร้างเขื่อนพลังน้ำและขายไฟฟ้าให้กับประเทศในภูมิภาคซึ่งจะทำให้มีรายได้มหาศาลสามารถเลี้ยงดูประชากรที่มีอยู่น้อยมากได้อย่างสบาย

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน

-ประชากร ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศเอกราช 11 ประเทศ มีประชากรรวมกันเกือบ 500 ล้านคน

    1. อินโดนีเซียมีประชากร 209.4 ล้าน เป็นประเทศมุสลิมที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และประชากร มากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียและประชากร อันดับ 4 ของโลก
    2. รองลงคือเวียดนามมีประชากร 80.3 ล้านคน
    3. ฟิลิปปินส์ประชากร 75.8 ล้านคน
    4. ประเทศไทย ประชากร 62.6 ล้านคน
    5. พม่า 46.8 ล้านคน
    6. มาเลเซีย 21 ล้านคน
    7. กัมพูชา 11.2 ล้านคน
    8. ลาว 5.1 ล้านคน
    9. สิงคโปร์ 3.5 ล้านคน
    10. ติมอร์ตะวันออก 7.5 แสนคน
    11. และประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดบรูไนมีประชากร 3 แสนคน

จากขนาดของประชากรเกือบ 500 ล้านน้อยกว่าจีนเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นทำให้ภูมิภาคนี้เป็นตลาดขนาดใหญ่ และมีพลังอำนาจต่อรองในแง่ของขนาดประชากรมากทีเดียว

สำหรับเผ่าพันธุ์และที่มาของประชากรนั้นภูมิภาคนี้จะมีหลากหลายประมาณ 4 เผ่าพันธุ์คือ

-ชนพื้นเมืองที่ถือว่าเป็นประชากรส่วนใหญ่

-ชนกลุ่มน้อย เช่นชาวเขาเผ่าต่าง มีมากในพม่า ไทย ชนพวกกะเหรี่ยง ไทยใหญ่ ซึ่งในพม่ามีปัญหาชนกลุ่มน้อยค่อนข้างมาก และส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่าในหลายๆด้าน โดยเฉพาะปัญหาที่พม่ามองว่าประเทศไทยให้การสนับสนุนชนกลุ่มน้อยเพื่อต่อต้านรัฐบาลพม่า

-ชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาจากจีนและอินเดีย โดยคนจีนนั้นหนีภัยแห้งแล้งและความอดอยากมาจากจีน ส่วนคนอินเดียนั้นส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาทำงานให้กับเจ้าอาณานิคม เช่นคนอินเดียในมาเลเซีย

-ผู้ใช้แรงงานในประเทศต่างๆ เช่นแรงานพม่า แรงงานลาวและเขมรที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย หรือแรงงานไทยในบรูไนและสิงคโปร์ โดยเฉพาะแรงงานที่ผิดกฎหมายได้สร้างปัญหาหลายประการให้กับประเทศที่อพยพเข้าไป

รูปแบบการเมืองการปกครองในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศมีรูปแบบการเมืองการปกครองถึง 5 แบบคือ

    1. ระบบรัฐสภา มี 4 ประเทศคือไทย ใช้รัฐธรรมนูญปี 2540
    2. มาเลเซียใช้รัฐธรรมนูญปี 2500
    3. สิงคโปร์ ใช้รัฐธรรมนูญปี 2508
    4. กัมพูชา รัฐธรรมนูญปัจจุบันคือฉบับปี 2536

ใน 4 ประเทศ 2 ประเทศคือไทยกับกัมพูชาประมุขของรัฐคือพระมหากษัตริย์ สืบทอดตำแหน่งโดยสืบสันติวงค์ ส่วนมาเลเซียประมุขก็เป็นกษัตริย์เช่นกันแต่ที่มีที่มาจากสุลต่านรัฐต่างๆ 9 รัฐ ส่วนสิงคโปร์มีประธานาธิบดีเป็นประมุขจะมาจากการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของสิงคโปร์คือ เอชอาร์ นาทาน (เชื้อสายอินเดีย)

สำหรับรัฐสภาของทั้ง 4 ประเทศก็จะมีความแตกต่างกัน โดยไทย มาเลเซีย และกัมพูชาเป็นระบบสภาคู่ คือมีทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ส่วนสิงคโปร์จะมีสภาเดียว

ไทย สิงคโปร์และกัมพูชาเป็นรัฐเดียว แต่มาเลเซียเป็นรัฐรวมหรือสหพันธรัฐ ซึ่งจะกระจายอำนาจการปกครองไปยังรัฐต่างๆ

-ระบบประธานาธิบดี ประกอบด้วยอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ระบบนี้ประธานาธิบดีจะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขทางการบริหาร ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอินโดนีเซียคือนางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี และของฟิลิปปินส์คือนางกลอเรีย มาเกาปาเกาอาโรโย่ ซึ่งทั้ง 2 คนล้วนเป็นลูกสาวของอดีตประธานาธิบดี

ทั้งนี้หากพม่าไม่มีปัญหาทางการเมืองภายในภูมิภาคนี้น่าจะมีผู้นำหญิงอย่างน้อย 3 คนอีกคนคือนางอองซานซูจี

-ระบอบคอมมิวนิสต์ มี 2 ประเทศคือเวียดนามและลาว ซึ่งมีระบบพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวคือพรรคคอมมิวนิสต์ เพียงแต่ทั้ง 2 ประเทศมีการปรับเปลี่ยนนโยบายไปมากหลังจากการเปลี่ยนแปลงในสหภาพโซเวียต กล่าวคือทั้ง 2 ประเทศได้เปิดกว้างออกสู่โลกภายนอกมากขึ้น

กล่าวคือทั้ง ลาวและเวียดนามต่างเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจในแบบเปิดกว้างมากขึ้น โดยเวียดนามได้ตั้งชื่อนโยบายว่าโด๋ยโม่ยตือดุ่ย และของลาวคือนโยบายจินตนาการใหม่ ซึ่งปัจจุบันลาวได้ชื่อนโยบายเป็นกลไกลใหม่เพื่อการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจ ส่วนของกัมพูชาเองก็มีเช่นกันคือแกธำรงทะไม

สำหรับการปรับเปลี่ยนนโยบายของประเทศในอินโดจีนที่เปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการเปิดโอกาสให้มีการลงทุนจากต่างชาติ และให้เสรีภาพทางเศรษฐกิจแก่ประชาชน

ทั้งนี้กล่าวได้ว่านโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจของลาวและเวียดนามนั้นไม่ต่างจากการพัฒนาประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ นั่นคือมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม โดยใช้นโยบายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import Substitution Industry) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เลียนแบบ 4 เสือแห่ง

เอเชียคือเกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์

ลาวและเวียดนามเองก็มีนโยบายส่งเสริมการลงทุน มีสำนักงานส่งเสริมการลงทุน และให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนต่างชาติ ประเทศไทยเองก็มีนักลงทุนเข้าไปลงทุนในเวียดนามเป็นอันดับ 6 และไทยถือว่าเป็นอันดับ 1 ที่เข้าไปลงทุนในลาว

อย่างไรก็ตามแม้ว่าการพัฒนาประเทศตามนโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจจะทำให้ลาวและเวียดนามมีความเจริญก้าวหน้า ประชาชนเป็นอยู่ดีขึ้น แต่ปัญหาสังคมอื่นก็เริ่มเกิดขึ้นตามมา เช่นจากเดิมจะไม่มีโสเภณีแต่ปัจจุบันผู้หญิงบริการเหล่านี้มีมากขึ้น รวมทั้งประเพณีต่างๆก็เปลี่ยนไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย

-ระบอบสมบูรณายาสิทธิราช ยังมีอยู่เพียงประเทศเดียวคือบรูไน มีสุลต่านฮัสนัน โบเคี่ยเป็นประมุขทั้งการบริหารและประมุขของประเทศ

การที่บรูไนสามารถดำรงระบบสมบูรณายาสิทธิราชไว้ได้เพราะประชาชนชาวบรูไนมีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นรัฐสวัสดิการที่ประชาชนได้รับบริการทุกอย่างจากรัฐฟรีทั้งหมด

-ระบอบเผด็จการโดยคณะบุคคล หรืออำนาจนิยมโดยคณะบุคคล (Authoritarian Rule) คือสหภาพพม่า โดยคณะบุคคลที่เป็นทหารคือสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ หรือ SPDC (The State Peace and Development Council ) ซึ่งเปลี่ยนชื่อจาก SLOCK- The State Law and Order Restoration Council หรือสภาฟื้นฟูกฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อยแห่งรัฐ เมื่อ 5ปีที่ผ่านมา แต่รูปแบบของการปกครองไม่ได้แตกต่างกันแต่อย่างใด

สำหรับประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องของพม่าก็คือเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นจุดด่างพร้อยของภูมิภาคนี้คือวิกฤติการณ์ 8/8/88 และการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1990

วิกฤติการณ์ 8/8/88 เป็นเหตุการณ์รุนแรงในพม่าที่เกิดขึ้นในวันที่ 8 สิงหาคม ปี 1988 ซึ่งเกิดจากนโยบายปิดประเทศของพม่าที่เรียกว่าสังคมนิยมแบบพม่าที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในปี 2537 ที่เศรษฐกิจของพม่าเกิดความตกต่ำ การส่งสินค้าออกลดลงเป็นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติตกต่ำ นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาทางการเงินการคลัง เช่นภาวะเงินเฟ้อข้าราชการไม่มีเงินเดือน และพม่ากลายเป็นประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในโลก หรือ LDC –Less Developed Country ซึ่งช่วยให้พม่าได้รับการประนีประนอมในเรื่องหนี้สิน

ปี 1988 ค่าเงินของพม่าตกต่ำลงถึง 500% จนพม่าต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศด้วยการกู้เงินจากญี่ปุ่น เยอรมัน และสหรัฐ

รัฐบาลพม่าได้ใช้วิธีการยกเลิกธนบัตรจั๊ตบางราคาทำให้ประชาชนที่ถือธนบัตรในมือได้รับความเดือดร้อน และประชาชนเริ่มรวมตัวกันเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาในทางเศรษฐกิจ และได้ลุกลามเป็นการเรียกร้องทางการเมือง

เดือนมีนาคมนักศึกษาเกิดการปะทะกับทหารพม่าจนถึงขั้นเสียชีวิตทำให้การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยขยายตัวไปทั่วประเทศโดยเฉพาะนักศึกษาและพระสงฆ์ในพม่าที่ถือว่ามีบทบาททางการเมืองสูงมาก

เดือนกรกฎาคม ปี 1988 นายพลเนวินที่อยู่ในตำแหน่งมายาวนานกว่า 26 ปีลาออกจากตำแหน่ง แต่การเดินขบวนก็ยังคงดำเนินต่อไป จนกระมั่งวันที่ 8 เดินสิงหาคม แต่รัฐบาลที่ขึ้นมาปกครองแทนเนวินใช้วิธีการปราบปราบประชาชนอย่างรุนแรงมีประชาชนตายนับพันคน และมีหลายส่วนที่ต้องอพยพมาอยู่ตามแนวชายแดนไทย

ต่อมานายพลซอหม่องก็เข้ายุดอำนาจในเดือนกันยายน และมีการประนีประนอมโดยประกาศจัดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญและจัดการเลือกตั้งในปี 1990 และมีการตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาจำนวนมาก และทหารเองก็ตั้งพรรค NUP-National Unity Party หรือพรรคเอกภาพแห่งชาติขึ้นมาเมื่อ 26 กันยายน 1988 นอกจากนี้ยังมีพรรค NLD –National League for Democracy Partyหรือพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย และยังมีพรรคการเมืองอื่นกว่า 200 พรรค

วันที่ 27 พฤษภาคม 1990 จึงจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ของพม่าที่จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากปกครองในระบอบเผด็จการมายาวนาน

การเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนชาวพม่ามีความตื่นตัวมากโดยผู้มีสิทธิ 28 ล้านกว่าคนออกมาใช้สิทธิถึง 70% และพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด จาก 485 ที่นั่ง คือพรรค NLP ได้ 392 ที่นั่ง โดยพรรคของทหารได้เพียง 10 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นของพรรคเล็กๆอื่นๆ

อย่างไรก็ตามปรากฎว่ารัฐบาลเผด็จการของซอหม่องในเวลานั้นไม่ยอมมอบอำนาจพรรค NLD จัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาบริหารประเทศโดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญยังร่างไม่แล้วเสร็จ ทำให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงอีกครั้งเมื่อประชาชน นักศึกษาและพระสงฆ์ออกมาประท้วง ขณะที่ผู้นำของพรรคคือนางอองซานซูจีก็ถูกกักบริเวณหลายครั้ง

การต่อสู้ของอองซานซูจีเพื่อประชาธิปไตยทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 1991 และได้รับรางวัลจากรัฐสภายุโรป

นั่นคือการปกครองของพม่าซึ่งสร้างปัญหาให้กับภูมิภาคนี้มากพอสมควร และกลายเป็นประเด็นที่อ่อนไหวในความสัมพันธ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับภูมิภาคอื่นๆ ในฐานะที่พม่าเป็นสมาชิกของอาเซียน

สภาพเศรษฐกิจ สังคม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้นั้นมีความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม เนื่องจากบางส่วนได้รับอิทธิพลจากจีนและอินเดีย คือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธคือไทย พม่า ลาวและกัมพูชา ส่วนเวียดนามนั้นได้รับอิทธิทางด้านวัฒนธรรมจากจีน จนเรียกว่าเป็นมังกรน้อยแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากจีนปกครองเวียดนามเป็นพันปี ขณะอิทธิพลของอิสลามก็ปรากฏอยู่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมแบบตะวันตกที่ปรากฏอยู่ในฟิลิปปินส์ ขณะที่สิงคโปร์นั้นเป็นสังคมพหุมีคนหลายเชื้อชาติศาสนาไปอยู่รวมกัน

ในแง่ของระดับการพัฒนาเศรษฐกิจก็มีความแตกต่างกัน นั่นคือมีบางประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูง บางประเทศก็มีระดับการพัฒนาที่ต่ำมาก

ความหลากหลายและแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาและระดับการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เป็นอุปสรรค ที่สำคัญประการหนึ่งในการรวมตัวกันของประเทศต่างๆในภูมิภาคนี้ ซึ่งพอจะสรุปปัญหาได้ดังต่อไปนี้

ปัญหาสำคัญของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

1.ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นประเทศด้อยพัฒนา เศรษฐกิจผูกพันกับการเกษตร และต้องพึ่งพาประเทศมหาอำนาจ ทำให้ถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจตลอดเวลา ยกเว้นสิงคโปร์เท่านั้นที่มีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับสูง

2.ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้ขาดความเป็นเอกภาพ ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งปัญหาความไม่เป็นเอกภาพเป็นสภาพภายในแต่ละประเทศด้วย เช่นอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จะมีปัญหาความขัดแย้งในประเทศอยู่เสมอ แม้กระทั่งมาเลเซียเองก็มีความขัดแย้งในด้านเชื้อชาติ รวมถึงในพม่าด้วย

3.ปัญหาทางการเมืองการปกครอง ประเทศในภูมิภาคนี้จะนำเอาประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาใช้การปกครองประเทศ แต่มักจะเกิดปัญหาในการนำเอามาใช้ทำให้การเมืองยังไม่มีการพัฒนา ขณะเดียวกันก็มีรูปแบบการเมืองการปกครองที่หลากหลาย

4.ประเทศในภูมิภาคนี้จะตกอยู่ในวังวนของการแทรกแซงโดยมหาอำนาจตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เช่นในยุคอาณานิคมก็ตกเป็นอาณานิคม พอหมดยุดล่าอาณานิคมก็ถูกครอบงำด้วยจักรวรรดิแบบใหม่ (Neo-Imperialism) ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของการพึ่งพากันระหว่างประเทศ แต่ในการพึ่งพากันนี้ฝ่ายมหาอำนาจจะได้เปรียบ และประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถหลุดออกจากวังวนของการพึ่งพา โดยถูกแทรกแซงทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง

โดยสรุปที่ผ่านมาอาจารย์ได้พูดถึงความสำคัญของภูมิภาคนี้ว่ามีความสำคัญทำให้เป็นที่หมายปองของมหาอำนาจและกลายเป็นประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภูมิภาค

ถ้าเราจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามทฤษฎีสนามบอกว่าในโลกนั้นเหมือนกับเวทีที่มีตัวแสดง การแสดงก็คือบทบาทในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติตนเอง แต่บางครั้งการแสดงบทบาทตรงนี้อาจจะก่อให้เกิดปัญหาและการที่รัฐจะดำเนินนโยบายอะไรขึ้นอยู่ขีดความสามารถของรัฐ ค่านิยม

นอกจากนี้เราอาจจะมองในแง่ของทฤษฎีระบบ ที่มองว่าโลกจะมีความสัมพันธ์ในหลายระดับ ประเทศมหาอำนาจ องค์การระหว่างประเทศจะเป็นผู้แสดงสำคัญในระบบใหญ่ที่เรียกว่า Dominant System ส่วนประเทศเล็กก็แสดงบทบาทในระบบย่อย หรือ Sub-System แต่ในทางปฏิบัติพบว่ามหาอำนาจจะมีแสดงบทบาทรุกล้ำเข้าไปในระบบย่อย เพื่อแสวงหาประโยชน์ ดังนั้นระบบใหญ่จึงมีอิทธิพลต่อระบบรองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เช่นวิกฤติการณ์ 11 กันยายน 2544 เหตุผลที่สำคัญมาจากประเทศเล็กต้องการตอบโต้การรุกล้ำหรือเอารัดเอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนา แต่สิ่งที่สหรัฐทำก็คือเข้าโจมตีประเทศเล็กในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องเป็นประเทศที่มีขีดความสามารถสูงมาก

ดังนั้นในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอำนาจคือธรรมมหาอำนาจก็เข้าไปรุกล้ำประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องตกอยู่ในวังวนของการพึ่งพาและการเอารัดเอาเปรียบอย่างดิ้นไม่หลุด

(ตอนที่มหาเธร์ประกาศหลั่งน้ำตาลาออกจากตำแหน่ง ก็ให้สัมภาษณ์ว่าการที่ท่านลงตำแหน่งเพราะว่าแม่สอนว่าเมื่อทานอาหารอิ่มแล้วให้หยุดทาน เช่นเดียวกับท่านที่ทานอำนาจจนอิ่มแล้วก็ต้องพอ )

1. แนวคิดการรวมกลุ่ม

การรวมกลุ่มหรือการบูรณาการทางเศรษฐกิจ (Economic Integration) ระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคได้เกิดขึ้นมากในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นแบบแผนใหม่ของเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (New International Economic Order) ประเทศต่าง ๆ แทนที่จะพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศตนอย่างลำพังดังที่เคยทำมาก็มารวมกลุ่มกันแทน แบบแผนใหม่นี้กลายเป็นปฏิญญาสากลตามมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในการประชุมสมัยวิสามัญครั้งที่ 6 เมื่อพ.ศ. 2517

สาระสำคัญของปฏิญญาดังกล่าวระบุถึงการร่วมมือกันของประเทศกำลังพัฒนา โดยใช้หลักการให้ประโยชน์พิเศษ ทั้งโดยทำเองและโดยรวมกันในเรื่องเศรษฐกิจ การค้า การเงิน และเทคนิค

แนวความคิดเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค (Regional Economic Integration/Cooperation) ได้มีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะเป็นเครื่องมือในการรวมตัวกันด้านการค้าและพัฒนาเศรษฐกิจ เกิดขึ้นมากในช่วงกลางทศวรรษ 1960 (พ.ศ. 2510-2520) อาเซียนก็ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) มีสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศคือ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ มีจุดมุ่งหมายคือ

-ความร่วมมือและพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน

-ความร่วมมือทางด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรม

อาเซียนนั้นมีผู้วิจารณ์ว่า การร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่ค่อยได้ผลเท่าใดนักจะมีความร่วมมือทางด้านการเมืองมากกว่า

การที่ประเทศทั้งหลายรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมากมายในช่วงกลางทศวรรษ 1960 เพราะในช่วงนั้นมีการรวมตัวกันของประเทศพัฒนาแล้ว โดยในยุโรปจะรวมตัวกันตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงใหม่ ๆ เพราะยุโรปได้รับความเสียหายจากสงครามมาก และยุโรปได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯตามแผนการมาร์แชลใน ค.ศ.1957 การรวมกลุ่มกันของประเทศยุโรปครั้งนี้เรียกว่า ประชาคมยุโรป (European Economic Community: EEC) เป็นการจุดประกายความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระดับภูมิภาคให้กระจายออกไปทั่วโลก เนื่องจากการรวมกลุ่มของ EEC นั้นประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

กลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจาก ECC เช่น ประชาคมถ่านหินเหล็กกล้าแห่งยุโรป

นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคนสำคัญที่ได้สรุปแนวความคิดเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไว้ประกอบด้วย

2.1 Karl W. Deutch (คาร์ล ดับเบิ้ลยู ดอยช์) ให้ทัศนะไว้ว่า การบูรณาการให้เกิดประชาคม (Community) ที่มีความมั่นคงถึงระดับ Security Community ประเทศสมาชิกต้องมีจิตสำนึกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้โดยมีกลไกการตัดสินใจร่วมกันจนอาจมอบอำนาจการตัดสินใจนั้นให้องค์กรกลางทำหน้าที่แทนได้

แนวคิดของดอยช์นี้สอดคล้องกับความเป็นไปในปัจจุบัน องค์กรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือประชาคมยุโรปที่พัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปแล้ว

2.2 Ernst B. Hass (เอิร์นส บี. ฮาสส์) เน้นการศึกษาแบบ Neo-Functionalism หรือภารกิจนิยมใหม่ โดยมีความเห็นว่า การรวมกลุ่มเป็นการอธิบายว่า รัฐต่าง ๆ นั้นยินยอมที่จะสูญเสียการมีอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ยอมสละอำนาจอธิปไตยไปบางส่วนเพื่อหาเทคนิควิธีการใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน

ทัศนะของฮาสส์จะคล้าย ๆ กับดอยช์ที่ว่า เมื่อตั้งองค์กรความร่วมมือขึ้นมาแล้วก็ต้องมีกลไกในการบริหารจัดการ สิ่งที่ต้องศึกษาต่อไปคือรัฐที่เข้าเป็นสมาชิกมีการสละอำนาจอธิปไตยให้องค์การความร่วมมือระดับภูมิภาคนี้อย่างไร รัฐต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกเพื่อหวังผลตอบแทนอะไรบ้าง

2.3 Keohane และ Nye (โคเฮนและนาย) ศึกษาร่วมกันเรื่องการรวมกลุ่มในภูมิภาค อธิบายได้ว่า การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่าง ๆ (Interdependence) จะนำไปสู่การบูรณาการระหว่างประเทศ

การบูรณาการในทัศนะของโคเฮนและนายหมายถึง ระดับใด ๆ ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในมิติหนึ่งหรือมิติอื่น ๆ การบูรณาการระหว่างประเทศจะดำเนินไปเรื่อย ๆ จนถึงพัฒนาการขั้นสูงสุดคือบูรณาการทางการเมือง (Political Integration) ลักษณะนี้จะทำให้ความร่วมมือระดับภูมิภาคกลายเป็นองค์กรเหนือชาติ (Supranational Union)

สรุป Interdependence

â

Integration

â

Political Integration

â

Supranational Union

2. วิวัฒนาการของการรวมกลุ่ม

วิวัฒนาการของสรุปได้เป็น 5 ขั้นตอนดังนี้

1. เกิดความหายนะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะประเทศที่เกี่ยวข้องกับสงคราม เช่น ยุโรปและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องบอบช้ำจากสงคราม ยกเว้นประเทศไทยที่เสียหายน้อยที่สุด นำไปสู่แนวคิดการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความยากจนอดอยาก

2. ความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทางด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ เกิดจากการที่ประเทศต่าง ๆ ได้รับเอกราช มีอำนาจอธิปไตย มีการแบ่งอาณาเขตกันชัดเจน ทำให้ขาดนโยบายที่เป็นเอกภาพต่างคนต่างทำ นำไปสู่แนวความคิดว่าทำอย่างไรที่จะสร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นในการดำเนินนโยบายทางด้านเศรฐกิจ สังคม การเมือง จึงคิดที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเอกภาพ

3. ปัจจัยทางการเมืองอันเนื่องมาจากแนวความคิดของลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

แนวความคิดชาตินิยมคือการที่ประชาชนในแต่ละรัฐคำนึงถึงผลประโยชน์ในรัฐตนมากที่สุด เหนือกว่าผลประโยชน์ส่วนตน พยายามทำทุกอย่างให้เกิดประโยชน์แก่รัฐตน ถ้าความรู้สึกนี้เกิดขึ้นรุนแรงจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะเมื่อต่างฝ่ายต่างเห็นแก่ตัวเองมากกว่าคนอื่นความร่วมมือใด ๆ ย่อมไม่เกิดขึ้น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนในประเทศเอกราชต่าง ๆ มีแนวคิดชาตินิยมรุนแรงมาก นำไปสู่ความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศต่าง ๆ ในความร่วมมือระหว่างประเทศ ทำให้เกิดแนวความคิดว่าทำอย่างไรจะให้ความร่วมมือระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

4. ความรู้สึกได้เปรียบเสียเปรียบในการดำเนินความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ โดยลำพัง ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นนานแล้วในประเทศแถบเอเชีย แอฟริกา ละติน อเมริกาเพราะต้องตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจ เมื่อได้รับเอกราชยิ่งคิดเรื่องนี้มากขึ้น ในการพึ่งพากันระหว่างประเทศทำให้ประเทศเหล่านี้เสียเปรียบโดยเฉพาะการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยลำพัง ก่อให้เกิดแนวความคิดว่าทำอย่างไรจะผนึกกำลังกันได้เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

5. ความรู้สึกภูมิภาคนิยม (Regionalism) ที่เกิดขึ้นอย่างมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศต่าง ๆ ได้รับเอกราช นำไปสู่แนวความคิดที่จะผนึกกำลังกันเป็นความร่วมมือในภูมิภาค เช่น อาเซียน ECC

ขั้นตอนของการรวมกลุ่ม

1. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area) ประเทศสมาชิกมีข้อตกลงร่วมกันที่จะลดหรือยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกให้น้อยลงหรือหมดไป เช่น กำแพงภาษี โควตา วิธีการชำระเงินระหว่างประเทศในการค้าขายกัน เดิมในการค้าระหว่างสมาชิกต้องใช้เงินดอลลาร์ อาจเปลี่ยนมาใช้เงินสกุลของตัวเองในการค้าขายกันแทน ซึ่งจะช่วยทำให้การค้าคล่องตัวมากขึ้น

อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2510 แต่ไม่ได้ทำอะไรเลยในช่วงสิบปีแรกเพราะอยู่ในช่วงที่สงครามเวียดนามกำลังรุนแรง แต่ละประเทศต่างยุ่งเหยิงมีปัญหาภายใน อีกทั้งถูกมหาอำนาจบีบคั้นอยู่ จนกระทั่งเมื่อสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงใน พ.ศ.2518 อาเซียนจึงเริ่มผนึกกำลังกันนำไปสู่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.2518 สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

พ.ศ.2535 (หลังจากตั้งอาเซียนนานถึง 25 ปี) นายอานันท์ ปันยารชุนได้เสนอแนวความคิดเรื่อง Asian Free Trade Area : AFTA ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่สิงคโปร์

2. สหภาพศุลกากร (Custom Union) ประเทศสมาชิกหันมาพิจารณาปรับปรุงระบบภาษีศุลกากรให้เหมือนหรือเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อนำไปใช้กับประเทศนอกกลุ่ม

3. ตลาดร่วม (Common Market) ประเทศสมาชิกตกลงกันในการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิก เช่น แรงงาน เงินทุน ทรัพยากร ให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนหรือร่วมมือกันในกิจการต่าง ๆ

ก่อนหน้านี้สหภาพยุโรปประสบความสำเร็จในขั้นตอนนี้มาก มีโครงการร่วมมือผลิตรถยนต์โดยสามารถเคลื่อนย้ายวิศวกร ช่างเทคนิค แรงงานที่มีความชำนาญแตกต่างกันระหว่างโรงงานในประเทศสมาชิกได้

4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) ประเทศสมาชิกตกลงกันยอมรับนโยบายเศรษฐกิจภายในเป็นหนึ่งเดียวกัน รัฐบาลของประเทศสมาชิกมีความเป็นหนึ่งเดียวกันในการใช้นโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญและเกิดขึ้นได้ยาก แต่ EU ก็พัฒนามาถึงขั้นตอนนี้ได้อย่างดีทีเดียว แต่สำหรับ อาเซียนคงต้องใช้เวลานานมาก

เมื่อพัฒนาการมาถึงสหภาพเศรษฐกิจแสดงว่ามีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็น Political Integration ได้ไม่ยากนัก

5. องค์การเหนือรัฐ (Supranational Union) ประเทศสมาชิกได้มอบอำนาจอธิปไตยทั้งหมดให้กับองค์กรกลางทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการแทนสมาชิก

จุดมุ่งหมายสำคัญในการรวมกลุ่ม

1. เพิ่มอำนาจต่อรอง ประเทศสมาชิกตระหนักดีว่าถ้าดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยลำพังจะทำให้เสียเปรียบจึงต้องรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร เพื่อนำไปต่อรองกับประเทศนอกกลุ่มโดยเฉพาะมหาอำนาจ จะทำให้เกิดความเกรงอกเกรงใจสามารถต่อรองได้ในระดับที่สูงขึ้น

อาเซียนนั้นถึงแม้สมาชิกจะเป็นประเทศขี้โรค แต่ถ้ารวมกันแล้วมีประชากรกว่า 400 ล้านคนถือว่ายิ่งใหญ่ ทรัพยากรมหาศาลและอุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก และที่สำคัญคือเป็นการรวมกลุ่มของประเทศที่อยู่ในยุทธศาสตร์สำคัญคุมเส้นทางคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศระหว่างสองมหาสมุทรคือมหาสมุทรแปซิฟิกและอินเดียเพื่อไปสู่ทวีปแอฟริกาและยุโรป ความสำคัญเช่นนี้มีผลต่อการใช้ต่อรองกับประเทศอื่น ๆ

2. การขยายตัวของตลาดการค้าภายในภูมิภาค อันเป็นผลมาจากประเทศสมาชิกใช้นโยบายการค้าเสรีร่วมกันทำให้มีพลังทางเศรษฐกิจมากขึ้น

3. การพัฒนาอุตสาหกรรมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เดิมแต่ละประเทศต่างผลิตสินค้าและอุตสาหกรรมตามความพอใจของตน แต่เมื่อมารวมตัวกันประเทศสมาชิกก็จะแยกกันผลิตสินค้าตามความสามารถหรือความชำนาญของแต่ละประเทศ ใน EU ก็ทำแบบนี้แล้วประสบผลสำเร็จ อาเซียนก็ต้องทำแบบนี้โดยไทยควรจะทำอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร สิงคโปร์ชำนาญเรื่องสินค้าเทคโนโลยีก็ต้องผลิตสินค้าด้านนี้ หากแบ่งกันได้แล้วจะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรในประเทศสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา

-Price Stabilization ปัญหาหนึ่งของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือสินค้าหลักที่ส่งเป็นสินค้าออกมีคล้ายกันในทุกประเทศคือสินค้าเกษตรที่ยังไม่ได้แปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ถูกกดราคาจากประเทศผู้ซื้อซึ่งมีอยู่ไม่กี่ประเทศ นโยบายประการหนึ่งคือความพยายามผนึกกำลังทำให้สินค้าของประเทศตนมีเสถียรภาพด้านราคามากขึ้น โดยดำเนินนโยบายดังกล่าวในรูปของการขอความร่วมมือผ่านองค์การสหประชาชาติ UNCTAD องค์การการค้าโลก

-Import Substitution นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า นโยบายนี้นิยมทำกันมากในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นฐานทางเศรษฐกิจในประเทศจากประเทศเกษตรกรรมให้กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เห็นได้จากความสำเร็จของญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ทำให้แม้แต่ประเทศคอมมิวนิสต์ก็พยายามปรับแนวทางเศรษฐกิจมาสู่ระบบเสรี เช่น เวียดนาม และนโยบายจินตนาการใหม่ของลาว แนวทางของเวียดนามและลาวนี้ถูกวิจารณ์กันว่ากำลังจะแข่งขันกันไปสู่ความพินาศในอนาคต เพราะประเทศกำลังพัฒนาที่ใช้แนวทางนี้ส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จต้องถูกมหาอำนาจเอารัดเอาเปรียบเหมือนเดิม

นโยบายนี้ทำให้มีการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนามากมายในเอเชียและแอฟริกา เป็นการลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศเจ้าอาณานิคมในอดีต ซึ่งในที่สุดก็ถูกครอบงำทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง กลายเป็นลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ (Neo Imperialism)

-Protection เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากนโยบาย Import Substitution กล่าวคือเมื่อมีอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าก็ต้องคุ้มกันอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มีอุตสาหกรรมแรกเกิดหรืออุตสาหกรรมทารก (Infant Industries) เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมแต่ยังไม่เติบโตจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องคุ้มครองดูแลให้สามารถยืนอยู่ได้โดยออกกฎหมายไม่ให้สินค้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด อุตสาหกรรมทารกจึงกลายเป็นภาระให้ประเทศ

นโยบายคุ้มกันจะออกมาในรูปของการตั้งกำแพงภาษี กำหนดโควต้าสินค้าชนิดเดียวกับที่ผลิตได้ในประเทศ เช่น ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ อุปกรณ์และอะไหล่รถยนต์ รัฐบาลจึงต้องคุ้มครองโดยตั้งกำแพงภาษี การดำเนินนโยบายนี้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหลักการค้าเสรี

-Export Oriented นโยบายส่งเสริมการส่งออก จากนโยบาย Import Substitution ทำให้เกิดการผลิตสินค้าใช้ภายในประเทศและเหลือส่งขายต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอีกหลายชนิดที่ผลิตเพื่อส่งขายต่างประเทศโดยเฉพาะไม่มีขายภายในประเทศ การสนับสนุนนโยบายนี้ทำได้หลายวิธี อาทิ ลดภาษีการส่งออก หาตลาดให้ ประชาสัมพันธ์จัดแสดงสินค้าในนิทรรศการระหว่างประเทศ จัดหน่วยงานที่ปรึกษาให้กับผู้ผลิตสินค้าภายในประเทศ ตอนนี้รัฐบาลทักษิณดำเนินนโยบายเชิงรุกที่เห็นเป็นรูปธรรมคือให้ทูตทำหน้าที่หาตลาดให้ผู้ผลิตชาวไทยด้วย

ในอดีตที่ผ่านมาสินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญจะเป็นสินค้าเกษตร แต่ปัจจุบันสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังต่างประเทศมากกว่าร้อยละ 60-70 เป็นสินค้าอุตสาหกรรมอันเป็นผลมาจากนโยบาย Import Substitution และ Export Oriented

-Economic Bloc Integration นโยบายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นนโยบายที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาค นโยบายนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าระหว่างของประเทศกำลังพัฒนา

4. อุปสรรคและปัญหาสำคัญของการรวมกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สรุปได้ว่า ประเทศทั้งหลายในภูมิภาคนี้ล้วนเป็นประเทศด้อยพัฒนา ยกเว้นสิงคโปร์ที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง ที่ตามมาคือมาเลเซียกลายเป็นดาวรุ่งในภูมิภาคนี้เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคมกำลังก้าวไปสู่ความเป็นประเทศพัฒนาแล้วในระดับสากล

การเป็นประเทศด้อยพัฒนาทำให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคมากมายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญทำให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเค้กที่หอมหวานยั่วยวนให้ประเทศมหาอำนาจอยากเป็นเจ้าของมาโดยตลอด ภูมิภาคนี้จึงต้องประสบกับความวุ่นวายและตกอยู่ภายใต้การยึดครองของประเทศอาณานิคม เมื่อสิ้นยุคอาณานิคมก็ต้องตกอยู่ภายใต้ยุคสงครามเย็นตามมาด้วย Neo Imperialism ซึ่งก็ยังไม่สามารถหลีกพ้นอิทธิพลของมหาอำนาจได้

ดังนั้นการรวมตัวกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นความหวังว่าน่าจะเป็นองค์กรสำคัญที่ทำให้ต่อรองกับประเทศนอกกลุ่มได้ เป็นตัวจักรสำคัญที่ก่อให้เกิดความร่วมมือทางการค้าและการเมืองให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ปัญหาและอุปสรรคในการรวมกลุ่มของประเทศกำลังพัฒนาสรุปได้ดังนี้**ประเด็นนี้สำคัญนะคะ**

1. ปัญหาอุปสรรคด้านเศรษฐกิจ

1.1 ผลิตสินค้าส่งออกคล้ายคลึงกันคือสินค้าขั้นปฐมเป็นสินค้าเกษตรที่ยังไม่ได้แปรรูป ทำให้ราคาสินค้าตกต่ำ เช่น อาเซียนมีสินค้าเกษตรหรือแร่ธาตุที่คล้ายคลึงกัน เมื่อรวมตัวกันก็ไม่สามารถแลกเปลี่ยนสินค้ากันได้เพราะสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของกันและกัน กลายเป็นการนำมะพร้าวไปขายสวน นโยบายเขตการค้าเสรีในภูมิภาคนี้จึงดำเนินไปอย่างช้ามาก

1.2 มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศอุตสาหกรรมนอกกลุ่ม เช่น สินค้าเทคโนโลยี สินค้าประเภททุนที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะสินค้าเหล่านี้หาซื้อจากประเทศสมาชิกในกลุ่มไม่ได้ ถ้ามีขายก็คุณภาพไม่ดี ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่พอจะผลิตสินค้าเทคโนโลยีได้ก็คือสิงคโปร์ แต่ประเทศสมาชิกก็เกี่ยงว่าไม่มีคุณภาพต้องซื้อจากประเทศนอกกลุ่ม ทำให้การค้าเปลี่ยนทิศทางหันเหไปจากกลุ่มอาเซียน

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมในกลุ่มอาเซียนนั้นก็เป็นอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันอีก ทำให้การค้าขายระหว่างกันทำได้ยาก

1.3 มีความพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้าเหมือนกัน เมื่อมารวมกลุ่มกันต้องยกเลิกข้อเลือกปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อก่อให้เกิดการค้าเสรี แต่จริง ๆ แล้วแต่ละประเทศพยายามส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ และคุ้มกันอุตสาหกรรมนี้โดยการใช้กำแพงภาษีหรือกำหนดโควต้า ซึ่งสวนทางกับหลักการในการรวมกลุ่มที่ต้องยกเลิกการคุ้มกัน เห็นได้จาก AFTA ของอาเซียนที่คิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ผ่านมาแล้วสิบปีแต่ข้อตกลงหลายข้อยังไม่ได้รับการปฏิบัติ

1.4 มีลักษณะการหารายได้เข้ารัฐเหมือนกัน รายได้หลักของประเทศมาจากการเก็บภาษีศุลกากร (สินค้าเข้าออก) แต่การรวมกลุ่มให้ยกเลิกหรือทำให้น้อยลงซึ่งประเทศสมาชิกไม่สามารถสละรายได้ในส่วนนี้ได้ ทำให้เกิดปัญหาในการรวมกลุ่ม

2. ปัญหาและอุปสรรคทางด้านสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

ประเทศกำลังพัฒนาจะมีปัญหาด้านนี้มาก ส่งผลต่อความเป็นเอกภาพของรัฐ เช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ประชากร เผ่าพันธุ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันมาก ประเทศที่นับถือศาสนาพุทธได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ในขณะที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน นับถือศาสนาอิสลาม ฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์มีวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตกแต่ตอนใต้มีกบฏชาวมุสลิม สิงคโปร์เป็นพหุสังคมมีทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ความแตกต่างทางศาสนานี้มีผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรม

ทางด้านประวัติศาสตร์นั้นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความแตกต่างกันมากส่งผลต่อความผูกพัน กล่าวคือ ลาว กัมพูชา เวียดนามต้องตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสทำให้มีความผูกพันต่อเมืองแม่อยู่มาก มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน พม่าเคยตกเป็นของอังกฤษมานับร้อยปีทำให้ความผูกพันและความร่วมมือกับอังกฤษยังมีอยู่ อินโดนีเซียเคยเป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์เคยเป็นเมืองขึ้นของสเปนและสหรัฐอเมริกา ยกเว้นประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศใด ความแตกต่างตรงนี้จึงมีผลต่อความสำเร็จของการร่วมมือกันภายในภูมิภาค

สำหรับ EU 15 ชาตินั้นมีความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ภาษาน้อยมาก สภาพภูมิรัฐศาสตร์ก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้การไปมาหาสู่ระหว่างกันทำได้อย่างสะดวกส่งผลดีต่อความร่วมมือ

3. ปัญหาและอุปสรรคทางด้านการเมือง

3.1 การแทรกแซงของประเทศมหาอำนาจ ปัญหานี้มีมาโดยตลอดหนีไม่พ้นเพราะต้องพึ่งพามหาอำนาจ และภูมิภาคนี้มีความอุดมสมบูรณ์เป็นที่ต้องตาต้องใจของประเทศมหาอำนาจ ในยุคอาณานิคมทุกประเทศต้องตกเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจยกเว้นประเทศไทยเพียงประเทศเดียว ยุคสงครามโลกครั้งที่สองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กลายเป็นสมรภูมิในการทำสงคราม จนถึงปัจจุบันการแทรกแซงของมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ก็ยังดำรงอยู่ แต่มาในรูปแบบของการครอบงำทางเศรษฐกิจอันจะนำไปสู่การครอบงำทางการเมืองในที่สุด

3.2 ทัศนคติของผู้นำ (Perception) ผู้นำมักจะเป็นผู้นำเผด็จการอันเป็นผลมาจากการเมืองที่ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควร ทัศนคติของผู้นำมีอิทธิพลสูงมากในกระบวนการกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายการรวมกลุ่มถ้าผู้นำไม่เห็นด้วยการรวมกลุ่มก็จะมีอุปสรรค

สำหรับอาเซียนนั้นโชคดีที่ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้นำของสมาชิกทั้ง 10 ประเทศมีทัศนคติที่ดีต่อการรวมกลุ่ม แต่ความร่วมมือยังไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนในแอฟริกามีการรัฐประหารเปลี่ยนรัฐบาลบ่อยมาก เมื่อได้ผู้นำที่เป็นเผด็จการไม่เห็นด้วยกับการรวมกลุ่มก็ลาออกไปเลย ทำให้กลุ่มความร่วมมือที่ตั้งขึ้นไม่เติบโต ในละตินอเมริกาก็เช่นเดียวกัน

3.3 ความรู้สึกชาตินิยม (Nationalism) มีมากในประเทศกำลังพัฒนาเป็นผลพวงมาจากการที่ประเทศเหล่านี้ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของมหาอำนาจมานาน ถูกกดขี่ข่มเหงมาโดยตลอด เมื่อได้รับเอกราชจึงหวงแหนไม่ยอมเสียผลประโยชน์ของประเทศ

3.4 ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศที่มีอยู่สูงมากในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ เช่น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 แต่ก็ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ มาโดยตลอด เพิ่งจะมีรัฐบาลทักษิณที่รัฐบาลเข้มแข็งทำให้มีเอกภาพในการดำเนินนโยบาย พม่านั้นการเมืองก็วุ่นวายมาก ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ก็มีปัญหาความวุ่นวายของการเมืองภายในมาก จะมีก็แต่สิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้นที่การเมืองมีเสถียรภาพทำให้สามารถพัฒนาประเทศได้ดี เห็นได้ว่าเมื่อการเมืองมีความมั่นคงแข็งแรงจะทำให้การพัฒนาในด้านอื่น ๆ ดีตามไปด้วย

ในการจะพัฒนาความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากจะประสานความร่วมมือกันแล้วต้องมียุทธศาสตร์ “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” และสร้างภูมิคุ้มกันให้มีความแข็งแรงในเรื่องของการขุดคอคอดกระ เพราะการขุดคอคอดกระนั้นนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยแล้วยังเป็นประโยชน์ต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียทั้งมวลด้วย

การขุดคอคอดกระมีการพูดถึงมานานแล้ว อังกฤษและฝรั่งเศสก็ต้องการให้ขุด ถึงปัจจุบันนี้สหรัฐฯก็อยากให้ขุดแต่ระแวงว่าจีนจะขยายอิทธิพลลงมาทางตอนใต้แล้วจะคุมยุทธศาสตร์ของโลกได้ ดังนั้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องดำเนินการตรงนี้เสียเอง อย่าเพิ่งมองว่าสิงคโปร์จะต้องเสียประโยชน์ไป ต้องมองว่าทุกประเทศจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด และถ้าทำสำเร็จประเทศไทยจะกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของโลก ปัญหาที่ยังติดขัดอยู่ก็คือไม่มีทุน จึงควรระดมทุนจากประชาชนหรือให้ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาร่วมถือหุ้น โดยประเทศไทยจะต้องเจรจาหยุดพักการชำระหนี้ประมาณ 3-5 ปีเพื่อนำเงินมาใช้ทำโครงการนี้ การขุดไม่ต้องใช้นิวเคลียร์แต่ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในประเทศไทยจะทำให้คนไทยมีงานทำมากขึ้น

ในเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนนั้นควรมีการชำระประวัติศาสตร์เสียใหม่ เพราะประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นการบันทึกโดยฝรั่งซึ่งอาจบิดเบือนไปจากความเป็นจริง ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย ความไม่เข้าใจกันเรื่องประวัติศาสตร์ระหว่างไทยกับพม่า การแทรกแซงกิจการการเมืองภายในประเทศลาว เป็นต้น

ในประเด็นการขุดคอคอดกระอาจารย์ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ความคิดนี้มีมาหลายสิบปี ผู้นำหลายคนพยายามยกเรื่องนี้ขึ้นมาแต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ เนื่องจากปัญหาการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ สำหรับการเมืองภายในนั้นจะเห็นว่า การขุดคอคอดกระจะทำให้ขาดเอกภาพ เพราะภาคใต้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ มีปัญหาความไม่สงบในภาคใต้เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในช่วงสงครามเย็นที่มีทั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา ขบวนการแบ่งแยกดินแดน จากสภาพภูมิรัฐศาสตร์หากมีการขุดคอคอดกระก็เท่ากับว่าเป็นการแบ่งแยกภาคใต้ออกจากประเทศไทยเป็นปัญหาทางจิตวิทยาที่มีมานานแล้ว

กรณีการเมืองระหว่างประเทศการขุดคอคอดกระจะช่วยย่นระยะทางการเดินเรือ ไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู ทำให้เกิดประโยชน์ในทางการค้า และท่าเรือสำคัญจะต้องเปลี่ยนจากสิงคโปร์มาอยู่ที่คอคอดกระแทน ความสำคัญของสิงคโปร์ต้องลดลงสิงคโปร์จึงต้องล้อบบี้เรื่องนี้มาโดยตลอด

ถ้าผลักดันนโยบายขุดคอคอดกระให้เป็นนโยบายของอาเซียนเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้รับผลประโยชน์ร่วมกันก็สามารถกระทำได้ โดยต้องดูด้วยว่ามาเลเซียและสิงคโปร์มีความพอใจแค่ไหน การขุดคอคอดกระเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากในเรื่องของการเมืองภายในและการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งมุมมองของมหาอำนาจต่อเรื่องนี้ สหรัฐฯระแวงจีนจริง ๆ กลัวว่าจีนจะขยายอิทธิพลลงมา ดังนั้นถ้ามีการขุดคอคอดกระขึ้นมาจริง ๆ มหาอำนาจที่ได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือจีน ทำให้มหาอำนาจตะวันตกหวาดระแวงมาก อาจสร้างอุปสรรคขัดขวางต่าง ๆ ขึ้นมาได้

เมืองไทยมีผู้นำที่กล้าคิดแต่ไม่กล้าทำ คอคอดกระมีปัญหามานานอย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการแบ่งแยกดินแดน แต่ก็มีหลายประเทศที่สภาพภูมิศาสตร์เป็นเกาะแต่ก็ไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ในยุคนี้มีความเจริญทางเทคโนโลยีดังนั้นปัญหาการแบ่งแยกดินแดนจึงไม่น่าจะมีอีกแล้ว ตนเชื่อว่าปัญหาเรื่องการขุดคอคอดกระนั้นต้องมีการแทรกแซงจากสิงคโปร์และมาเลเซียอย่างแน่นอน รวมทั้งการแทรกแซงของมหาอำนาจโดยการใช้อิทธิพลผ่านสิงคโปร์มาล้อบบี้นักการเมืองไทย

การขุดคอคอดกระถ้าทำสำเร็จจะช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากสภาวะหนี้สินภายในเวลาไม่กี่ปี และเสริมสร้างศักยภาพให้ประเทศมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น

ประเทศไทยมักมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์แต่ขาดความต่อเนื่อง เห็นได้จากประเทศไทยเป็นผู้นำในการก่อตั้งอาเซียน โดยนายถนัด คอมันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร แต่เมื่อการเมืองภายในเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้นำและนโยบายเปลี่ยนไป อินโดนีเซียกลายเป็นผู้นำของอาเซียนแทน

กรณี AFTA นายกฯอานันท์ เป็นผู้นำเสนอครั้งเปลี่ยนผู้นำทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง จนบัดนี้ AFTA ก็ยังไปไม่ถึงไหน ปัจจุบันนายกฯทักษิณได้ริเริ่ม ACD มีการประชุมที่กรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งก็ยังไม่แน่ใจว่าแนวคิดนี้จะไปได้ไกลเพียงใด และประเทศไทยจะยังคงรักษาความเป็นผู้นำได้หรือไม่

ประเทศในอาเซียนมักมีความขัดแย้งกันตลอดเวลา เช่น ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจประเทศอาเซียนต่างคนต่างแก้ปัญหา ไม่หันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ไขปัญหา แสดงว่าอาเซียนยังอ่อนปวกเปียกไม่มีความเข้มแข็ง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ

ประชาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเชียน)

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รวมตัวกันเป็นองค์กรระหว่างประเทศในภูมิภาคในนามของอาเซียน ซึ่งมีความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 30 ปี เป็นการรวมกลุ่มกันของประเทศกำลังพัฒนา

อาเซียนเกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ตามปฏิญญาอาเซียน โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 5 ชาติคือไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านั้นภูมิภาคนี้ได้มีการรวมกันเป็นองค์การ ASA ในปี 2503 โดยมีสมาชิก 3 ประเทศคือไทย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ทั้งนี้เพื่อเป็นองค์กรที่หาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาค เนื่องจากเวลานั้นมาเลเซียมีปัญหาความขัดแย้งกับฟิลิปปินส์อินโดนีเซียในเรื่องดินแดนในซาราวัคและซาบาร์

อย่างไรก็ตามอาสาไม่มีบทบาทอะไรมากนัก จนทำให้มี 5 เข้าจับมือกันและตั้งขึ้นมาเป็นอาเซียน ปัจจุบันอาเซียนมีชาติสมาชิก 10 ชาติ ในปี 2543 ครอบคลุมทุกประเทศในภูมิภาค กล่าวคือหลังจากสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศในปี 2510 ปี 2527 บรูไนก็เข้าเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามในปี 2538 ส่วนลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกล่าสุดในปี 42 (และต่อไปคาดว่าจะรับติมอร์เข้ามาเป็นสมาชิกน้องใหม่อย่างแน่นอนจะทำให้อาเซียนมี 11 ประเทศและครอบคลุมทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

วัตถุประสงค์ของอาเซียนมี 5 ประการ

1.เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม

2.ส่งเสริมความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค

3.ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และการบริการ

4.ร่วมมือกันเพื่อใช้ประโยชน์จากการค้า การเกษตรและอุตสาหกรรม

5.ร่วมมือด้านการศึกษา

ดังนั้นภาพรวมของอาเซียนก็คือการร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค และที่ผ่านมาอาเซียนก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในภูมิภาคโดยเฉพาะการเข้าไปมีบทบาทในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในกัมพูชาจนกระทั่งเกิดความสงบสุขในปัจจุบัน

นอกจากนี้อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการเป็นคู่เจรจากับประเทศต่างๆที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย อเมริกา กลุ่มอียู ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ รัสเซีย จีนและเกาหลีใต้ รวมทั้ง UNDP ก็เป็นคู่เจรจาที่สำคัญ

โครงสร้างของอาเซียน

1.การประชุมสุดยอดอาเซียน เป็นการประชุมระดับผู้นำประเทศในอาเซียน เป็นองค์กรสูงสุดของโครงสร้างอาเซียน การประชุมสดยอดผู้นำจัดมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งแรกประชุมที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซียในปี 2519 สมัยของ

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อมาก็มีการจัดประชุมเรื่อยมา และครั้งล่าสุดการประชุมสุดยอดมีขึ้นที่ บรูไน เป็นการประชุมครั้งที่ 7

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 2 เมื่อปี 2520 กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ตรงกับรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 3 เมื่อ 2530 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ การประชุมครั้งที่ 3 นี้นับว่าทิ้งห่างจากครั้งที่ 2 ถึง 10 ปี สมัยพลเอกเปรม ตินสูลานนท์

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 เมื่อปี 2535 ที่สิงค์โปร์ (ครั้งนี้นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีของไทยได้นำเสนอเรื่องของการตั้งเขตการค้าเสรีอาเซี่ยนหรืออาฟต้า)

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 เมื่อปี 2538 ที่ประเทศไทย

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 ปี 2542 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

2.การประชุมระดับต่างๆ เช่น

-การประชุมระดับรัฐมนตรี (JMM-Joint Ministerial Meeting )

-การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (AEM)

-การประชุมระดับคณะกรรมการของอาเซียน (JCM)

-การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM)

-การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจเป็นต้น

ดังนั้นการดำเนินงานของอาเซียนนั้นเป็นไปด้วยการจัดประชุมทั้งระดับผู้นำและระดับรัฐมนตรี รวมทั้งระดับเจ้าหน้าที่ และ การประชุมได้นำไปสู่ความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะการประชุมระดับสุดยอดผู้นำในครั้งที่ 4 ที่นายกรัฐมนตรีของไทยเสนอให้อาเซียนจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น

3.สำนักงานเลขาธิการอาเซียน เป็นองค์กรบริหารที่สำคัญทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อกลางระหว่างองค์กรและคณะกรรมการต่างๆของประเทศสมาชิกกับสถาบันอื่นๆ ทั้งนี้สำนักงานดังกล่าวตั้งอยู่ที่กรุงจากาต้า ประเทศอินโดนีเซีย มีเลขาธิการ

อาเซี่ยน เป็นหัวหน้าสำนักงาน ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรี มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

4.สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานในกระทรวงต่างประเทศของประเทศสมาชิกมีหน้าที่ประสานงานกิจกรรมของอาเซี่ยนกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องภายในประเทศและประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการอาเซี่ยน ที่กรุงจากาต้า เช่นสำนักงานอาเซียนแห่งประเทศไทยซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม คือกรมอาเซียน

ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในอาเซียน

เขตการค้าเสรีอาเซียน (Asian Free Trade Are-AFTA)

วัตถุประสงค์ของอาฟต้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะเป็นฐานที่สำคัญในการผลิตสินค้าเกษตรและวัตถุดิบ เพื่อนำสินค้าจากอาเซียนเข้าสู่ตลาดโลกในระบบการค้าเสรี โดยการลดข้อเลือกปฏิบัติและอุปสรรคทางการค้า ภาษี ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดเสรีทางการค้า

กลไกในการดำเนินการลดภาษีภายในเขตการค้าเสรีอาเซียนเรียกว่า CEPT หรือ Common Effective Preferential Tariff เช่นมีข้อตกลงว่าจะลดภาษีให้เหลือ 0-5 % ภายใน 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2536 และเมื่อถึงเวลานั้นก็อาเซียนก็จะเกิดเขตการค้าเสรีที่เต็มรูปแบบมากขึ้น

เช่นภาษีที่สูงกว่า 20% จะลดลงภายในปี 2546 ระดับที่ต่ำกว่า 20 % จะลดลงเหลือ 0-5% ภายใน 7 ปี เป็นต้น

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศคือการที่สมาชิกมารวมกันเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันเพื่อให้เกิดการค้า

เสรีอาเซียนเองก็จึงดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้นมา

นอกจากจัดตั้งเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟต้าแล้วประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้ก็มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเรื่องอื่นๆ เช่นความร่วมมือในภาคบริการ ที่เกิดจากกาประชุมสุดยอดครั้งที่ 5 โครงความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมในอาเซียน ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2538 โดยให้แต่ประเทศไปผลิตสินค้าอุตสาหกรรมตามความสามารถของแต่ละประเทศ แต่โครงการนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จมาก

นอกจากนี้ยังมีความตกลงในการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (Asian Investment Area) เพื่อดึงการลงทุนจากภายนอกภูมิภาคให้เข้ามาลงทุนอาเซียน

ความสัมพันธ์ของอาเซียนกับภูมิภาคอื่น

อาเซียน-สหภาพยุโรป (อียู)

ความสัมพันธ์ของ 2 กลุ่มองค์กรความร่วมมือระหว่างภูมิภาคนี้มีความสำคัญ เป็นความร่วมมือของ 2 องค์กรที่มีความแตกต่างกันในระดับการพัฒนา เพราะอียูนั้นมีระกับการพัฒนาของการรวมกลุ่มที่ก้าวหน้ามาก

ทั้งนี้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดวิกฤติขึ้นในยุโรป และโลกได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคสงครามเย็น เนื่องจากเกิดความแตกแยกทางความคิดในระหว่างพันธมิตรในสงครามโลก

หลังสิ้นสุดสงครามอเมริกาเข้าช่วยเหลือฟื้นฟูยุโปตามโครงการมาร์แชล โดยยึดหลักสำคัญคือ

-ให้รัฐต่างๆในยุโรปได้ร่วมมือกันทางเศรษฐกิจโดยใช้กลไกการค้าเสรีเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจ

-เพื่อให้ยุโรปมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองอันจะทำให้ยุโรปพ้นจากการยึดครองของคอมมิวนิสต์

เวลานั้นอังกฤษ เยอรมัน และฝรั่งเศสเป็นกลไกสำคัญในการ มีการรวมกลุ่มขึ้นมาในยุโรป โดยในระยะแรกมีการจัดการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป (OECC)ในปี 2498 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นองค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) แล้วก็พัฒนามาเรื่อยๆในปี 2500 ก็จัดตั้งเป็นประชาคมยุโรป (EEC) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญให้ยุโรปมีลักษณะการเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Union) คือมีความร่วมมือในด้านนโยบายเศรษฐกิจ การเงินและการคลังเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ขณะเดียวกันก็กำหนดเป็นสหภาพทางศุลกากร ที่จะกำหนดอัตราภาษีการค้ากับนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน

แนวความคิดและพัฒนาการ อีอีซี ได้ถูกนำมาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนทำให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นในปี 2510 ซึ่งถือว่ากิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งในภูมิภาคนั่นคืออาเซียนเกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนาม และชวงที่สงครามเย็นดำเนินอยู่

ขณะที่การเกิดขึ้นของอีอีซีนั้นเกิดจากปัจจัยภายในของยุโรปที่พบกับความหายนะจากสงครามโลก ส่วนปัจจัยภายนอกก็คือการได้รับความช่วยเหลือจากอเมริกา การพัฒนาของอีอีซีจึงเป็นไปได้ง่ายกว่าอาเซียนที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤติ การพัฒนาความร่วมมือของอาเซียนจึงเป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยเฉพาะในช่วง 8 ปีแรกหลังการจัดตั้ง

ต่อมาอีอีซีก็พัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปหรืออียู มีสมาชิก 15 ประเทศ

ทั้งนี้ความสัมพันธ์กันของอาเซียนและอียูการมีมาตลอด โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ

ระยะที่ 1 ช่วงปี 2510-2515 ซึ่งเป็นช่วงที่อาเซียนรวมตัวกันใหม่ๆ ยังไม่มีบทบาทอะไรเด่นชัด ดังนั้นทั้ง 2 องค์การจึงไม่มีนโยบายต่อกันอย่างชัดเจน แต่ในปี 2510 มีปฏิญญาของอาเซียนข้อหนึ่งว่า อาเซียนต้องการจะร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศกลุ่มอื่นๆ

ระยะที่ 2 ช่วงปี 2515 เป็นช่วงที่มีความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 องค์กร

อย่างเป็นทางการ เนื่องจากอังกฤษได้เข้าไปเป็นสมาชิกอีอีซี ซึ่งทำให้สมาชิกอาเซียนที่เป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ เช่น ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ กลัวว่าประเทศตนจะเสียสิทธิที่จะได้รับในฐานะเป็นสมาชิกเครือจักรภพ เมื่ออังกฤษเข้าเป็นสมาชิกอีอีซี จึงมีการเรียกร้องให้อีอีซีพิจารณาเรื่องดังกล่าวและได้รับการตอบสนองจากอีอีซี ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดพลอยได้รับผลประโยชน์ไปด้วย

ต่อมาอาเซี่ยนได้จัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนประจำภาคกรุงบรัสเซลส์เป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อประสานงานกับอีอีซี

ระยะที่ 3 ช่วงปี 2523 เป็นต้นไป ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 องค์กรดำเนินการไปอย่างก้าวหน้ามาก โดยอาเซียนและอีอีซีที่ได้เปลี่ยนเป็น อีซี ได้ลงนามในข้อตกลง Asian-EC Cooperation Agreement ในปี 2503 ทำให้ 2 ฝ่ายมีความร่วมมือกันมากขึ้นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน และส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจขององค์กรของทั้ง 2 ฝ่ายมากขึ้นรวมทั้งมีความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ

ระยะที่ 4 ตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมา เป็นช่วงที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและอียู เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเจริญเติบโตสูงมาก ซึ่งมีผลต่อทัศนคติที่มีต่อกันระหว่างกันของทั้ง 2 ภูมิภาค

ทั้งนี้ยุโรปเริ่มมองว่าความสัมพันธ์ระหว่างกันน่าจะเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นลักษณะผู้ให้กับผู้รับ (Donor-Recipient Relation) คืออีอีซีเป็นผู้ให้โดยอาเซี่ยนเป็นฝ่ายร้องขอความช่วยเหลือตลอด แต่ในช่วงต่อไปนี้ความสัมพันธ์ควรจะเปลี่ยนไปในลักษณะที่เท่าเทียมกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกันในลักษณะ Partnership

ปี 2537 คณะกรรมาธิการยุโรปจึงจัดทำเอกสารนโยบายใหม่ของยุโรปหรือ อียูต่ออาเซียน ซึ่งมีกิจกรรมและข้อตกลงของทั้ง 2 ภูมิภาคในลักษณะหุ้นส่วน

ความสำคัญอาเซียนที่มีต่ออียู

อียูนั้นให้ความสำคัญกับอาเซียนเพราะมองว่าเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีขนาดประชากรขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง อาเซียนจึงเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของอียู รวมทั้งเป็นแหล่งกระจายการลงทุนที่สำคัญเนื่องจากยังมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และตั้งอยู่ในสภาพภูมิ-รัฐศาสตร์ที่เหมาะสม

ปี 2538 ที่ยุโรปประสบกับปัญหาความว่างงานก็สืบเนื่องจากมาจากความเติบโตของอาเซียน เนื่องจากสามารถผลิตสินค้าที่ส่งไปตีตลาดอียูได้มากขึ้น ทำให้อียูให้ความสำคัญกับภูมิภาคนี้มากขึ้น ระยะต่อมาอียูจึงนำเอาประเด็นของสิทธิมนุษยชน และการกีดกันทางการค้าเข้าสู่ที่ประชุมของอาเซียนและอียูที่เรียกว่าการประชุมอาเซ็มด้วย

ความสำคัญของอียูต่ออาเซียน

อาเซียนนั้นมองว่าอียูเป็นกลุ่มความร่วมมือที่มีความสำคัญต่อการค้าของโลกเพราะอียูมีสัดส่วนการค้าถึงร้อยละ 41 ของโลก และเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐ ร้อยละ 14 และญี่ปุ่น 7.7 นั่นคืออียูมีสัดส่วนการค้าที่สูงที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ

การที่อียูมีพัฒนาการในการบูรณาการจนกระทั่งกลายเป็นตลาดหนึ่งเดียวและคาดว่าจะพัฒนาไปเป็นความร่วมมือในระดับที่เป็นองค์กรเหนือรัฐ และในอนาคตอียูจะขยายสมาชิกได้มากขึ้น และมีการวิเคราะห์ว่า

รัสเซียอาจจะเข้าเป็นสมาชิกอียูในอนาคต ดังนั้นอียูจึงเป็นตลาดการค้าที่น่าสนใจของอาเซียน

การประชุมร่วมเอเชีย-อียู (Asia-Europe Meeting –ASEM)

เป็นการประชุมระดับผู้นำของยุโรปและกลุ่มประเทศกลุ่มอาเซียนและ

เอเชียบางประเทศ โดยการประชุมครั้งแรกจัดขึ้นที่ประเทศไทยในปี 2539 นับเป็นเวทีที่มีความสำคัญ จากนั้นก็มีการจัดประชุมกันอย่างต่อเนื่อง

ความสัมพันธ์ของอาเซียนกับเอเปก

เอเปก (APEC-Asia Pacific Economic Co-Operation) หรือองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก จัดตั้งขึ้นมาเมื่อ 13 ปีที่ผ่านมา เป็นความริเริ่มของนายกรัฐมนตรี บ๊อบ ฮอก ของออสเตรเลีย

วัตถุประสงค์

-สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค

-พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย

-ลดอุปสรรคทางการค้า การลงทุน และด้านการบริการในระหว่างประเทศสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎการค้าเสรี

เอเปกนั้นสมาชิกเริ่มต้นมี 18 ประเทศประกอบด้วย อเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน แคนาดา อาเซียน ไทเป ฮ่องกง เกาหลีใต้ เม็กซิโก ชิดี ปาปัวนิวกินี

ต่อมารับเวียดนาม และรัสเซีย และในอนาคตน่าจะรับติมอร์ตะวันออกเป็นสมาชิกด้วย

เอเปกนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญมากที่สุดในโลก เพราะเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่จะมีพลังทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเงินสำรองมากที่สุด และมีพลังประชากรที่สำคัญที่สุดของโลก

การประชุมครั้งล่าสุดคือการประชุมครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ประเทศจีน (การประชุมครั้งนี้ไต้หวันไม่ได้เข้าร่วมประชุม) นับว่ามีความสำคัญเนื่องจากประธานาธิบดีจอร์ช บุชเข้าร่วมประชุมและได้ใช้โอกาสนี้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายข้ามชาติ และที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของผู้นำสหรัฐ

หลักของความร่วมมือของเอเปก

-เป็นเวทีในการร่วมมือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นทางเศรษฐกิจ ที่ประเทศสมาชิกสนใจ

-การดำเนินการยึดหลักฉันทามติ ภายใต้ความเท่าเทียมกันและประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก

-คำนึงถึงความแตกต่างทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจและระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก

การประชุม ACD-Asia Co-Operation Dialog

แนวความคิดในการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในเอเชียทั้งหมด เป็นความคิดริเริ่มของผู้นำไทย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หรือการจัดประชุมที่เรียกว่า ACD นับว่าเป็นอีกบทบาทหนึ่งของอาเซียนที่มีต่อประเทศนอกกลุ่ม

แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาและเป็นนโยบายต่างประเทศของพรรคไทยรักไทย จากนั้นเมื่อจัดตั้งรัฐบาลก็กลายเป็นนโยบายรัฐบาล

และนายกรัฐมนตรีก็มอบให้รัฐมนตรีต่างประเทศชี้แจงถึงหลักการและวัตถุประสงค์สู่ประเทศต่างๆ และตัวนายกเองรัฐมนตรีเองก็เคยแสดงทัศนะเกี่ยวกับ ACD ในการประชุมระหว่างประเทศ เช่นการประชุมฟอร์จูนฟอรั่มที่ฮ่องกงในปี 2540 และครั้งที่ 2 คือการประชุมของ Board Forum of Asia

ทั้งนี้เพราะมองว่าเอเชียควรจะมีกลไกในความร่วมมือกันทั้งทวีป เพื่อผนึกกำลังกันในความร่วมมือในทางเศรษฐกิจและอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงองค์กรระดับอนุภูมิภาคที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ร่วมกันในภูมิภาค

แนวคิดในการริเริ่ม ACD นั้นถือว่าเป็นกระบวนการวิวัฒน์ (Evolving Process) ในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เป็นเวทีของเอเชียทั้งทวีปในการพบปะหารือ จะไม่ซ้ำซ้อนกับองค์กรความร่วมมืออื่นๆที่มีอยู่แล้วในเอเชีย เพราะไม่ใช่องค์กรที่มีการจัดตั้งที่เป็นรูปธรรม ไม่ได้เป็นแนวร่วม หรือบล๊อก แต่เป็นเพียงเวทีที่จะให้ประเทศในเอเชียมาร่วมมือกัน ปรึกษาหารือกัน และร่วมกันแก้ปัญหาในทวีปเอเชียที่อยู่บนพื้นฐานของความสบายใจ ถือเป็นการนำเอาจุดแข็งของเอเชียมาใช้ประโยชน์ท่ามกลางความแตกต่างและหลากหลาย

อย่างไรก็ตามอาจารย์มองว่ายังเป็นความร่วมมือที่ยังขาดความชัดเจน แต่นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เหมือนกับที่ประเทศไทยมีบทบาทในการริเริ่มสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มจัดตั้งอาเซียน ความริเริ่มในการจัดตั้งอาฟต้า

สำหรับการประชุมครั้งแรกของ ACD ในประเทศไทยมีบุคคลสำคัญในทวีปเอเชียมาเข้าร่วมประชุม เช่นระดับรัฐมนตรีต่างประเทศและรัฐมนตรีเศรษฐกิจจาก 16 ประเทศ นอกจากนั้นจะเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโส ยกเว้นพม่าเท่านั้นที่ไม่ส่งทั้งรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ใดๆร่วมประชุมในครั้งนี้

ประเด็นที่น่าสังเกตคือจีนที่ให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมประชุม เนื่องจากจีนต้องการมีบทบาทที่สำคัญในการเป็นผู้นำของเอเชีย เนื่องจากจีนมีศักยภาพที่สำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจและอื่นๆ และหากจีนรวมไต้หวันสำเร็จจะเป็นประเทศที่มีพลังทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

สำหรับประเด็นที่ ACD สนใจคือ

-โลกาภิวัตน์และผลกระทบต่อประเทศในเอเชีย

-การพัฒนาการเมืองในประเทศเอเชีย

-การพิจารณากำหนดสกุลเงินของเอเชีย

-การเชื่อมโยงความร่วมมือทางด้านกายภาพ เช่นการคมนาคม ติดต่อสื่อสาร และทรัพยากรธรรมชาติ

-ความร่วมมือและความเชื่อมโยงในระหว่างประชากรของภูมิภาค ความร่วมมือในด้านยาสมุนไพร การควบคุมยาเสพติด และการควบคุมโรดเอดส์

-ความร่วมมือสร้างข่ายทางด้านวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

สำหรับประโยชน์ของไทยจากการประชุมคือ การที่ไทยจะได้รับความเชื่อมั่นในฐานะผู้ริเริ่มและจะเป็นศูนย์กลางของการประชุมแสดงความคิดเห็นของประเทศในทวีปเอเชีย และไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมอีกครั้งในปี 2546

สรุป ที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดเป็นสภาพพื้นฐานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้รู้ถึงที่มา สภาพการเมืองการปกครอง การพัฒนาเศรษฐกิจ สภาพทางสังคม ตลอดจนปัญหาที่สำคัญของภูมิภาคแห่งนี้ โดยเฉพาะปัญหาที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการรวมกลุ่มเป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้

จากนั้นอาจารย์ก็ได้พูดถึงแนวคิดของการรวมกลุ่ม และการรวมกลุ่มของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมาด้วยปัญหาและอุปสรรคของการรวมกลุ่มในภูมิภาคนี้ในฐานะที่เป็นประเทศด้อยพัฒนา

Quiz-ท่านเห็นว่าสภาพปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผลกระทบต่อความร่วมมือในฐานะองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างไร จงอภิปรายปัญหา

Hosted by www.Geocities.ws

1