อาจารย์ดนัย

ประเด็นที่อาจารย์น่าจะออกข้อสอบ(อาจารย์เน้นมาก)

    1. ซูการ์โนและซูฮาร์โต้ของอินโดนีเซีย

ซูการ์โนเป็นผู้นำที่ประชาชนให้การสนับสนุนมากที่สุดตั้งแต่มีผู้นำทางการเมืองมา เพราะเป็นผู้สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่ชาวอินโดนีเซียในยุคที่ถูกเนเธอร์แลนด์ปกครอง

อดีตซูการ์โนเป็นนักศึกษาวิศวกรรมการต่อเรือที่บันดุง แต่มีความสนใจการเมืองและมีลักษณะของผู้นำที่มีบารมีในตัว เป็นคนช่างคิด มีวาทศิลป์ โน้มน้าวใจคนได้ยอดเยี่ยม เมื่อก่อตั้งขบวนการชาตินิยมโดยสามารถรวมคนหลายกลุ่มที่มีพื้นฐานว่าไม่น่าจะรวมตัวกันติดมารวมกันได้ เช่น พ่อค้าผ้าปาเต๊ะ พรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่มชาตินิยม นักเรียนนอกมารวมกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ซูการ์โนสามารถสร้าง Unity in Diversity คือความสามัคคีท่ามกลางความหลากหลายในเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อของอินโดนีเซีย

ในยุคที่ซูการ์โนและฮัตต้าตั้งขบวนการชาตินิยมต่อต้านเนเธอร์แลนด์ ทำให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ทั้งยังเป็นผู้กำหนดอุดมการณ์ปัญจศีล (Panjasila) ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่สำคัญในการปกครองประเทศของอินโดนีเซียและปราฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังเป็นผู้กำหนดประชาธิปไตยแบบนำวิถีหรือประชาธิปไตยแบบเชื่อผู้นำ

(คำว่าปัญจศีลในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีสองคำ

    1. ปัญจศีลอันหมายถึงอุดมการณ์แห่งชาติ (National Ideology) ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1945 ของอินโดนีเซีย
    2. ปัญจศีลอันหมายถึงอุดมการณ์ของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยุคสงครามเย็น คิดโดยนายกรัฐมนตรีเยาวห์ราล เนรูห์แห่งอินเดีย)
    3. 1966 ซูการ์โนเริ่มหมดบารมีลง เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ประชาชนก็เริ่มมองเห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารประเทศ เมื่อซูการ์โนไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์การขึ้นค่ารถเมล์ในจาการ์ต้าได้ ซูฮาร์โต้ซึ่งคอยจังหวะอยู่แล้วให้ทหารต้องเชิญตัวซูการ์โนออกจากตำแหน่งแล้วดำรงตำแหน่งแทน

      จะว่าไปแล้วบารมีของซูฮาร์โต้นั้นไม่เท่าซูการ์โน แต่อาศัยฐานพลังจากกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งกองทัพ (ตอนนั้นรวมตำรวจอยู่ด้วยกัน) และกลุ่ม Golkar มาค้ำบัลลังก์ซูฮาร์โต้เอาไว้ได้นานถึง 32 ปี

      นอกจากนี้ซูฮาร์โต้ยังมีหน่วยอารักขาประจำตัวคือ KOPKAMTIB มีทหารระดับพลเอกเป็นหัวหน้าคือพลเอกเบนนี่ เมอร์ดานี่ เป็นผู้นำกองทัพคนแรกที่นับถือศาสนาคริสต์ เมอร์ดานี่มีความโดดเด่นมากกำลังจะก้าวมาเป็นคู่แข่งของซูฮาร์โต้ ทำให้ถูกปลดในปี 1988 พร้อมกับยกเลิก KOPKAMTIB โดยตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อเบเกอร์สตรานาส (Bakorstranas) ขึ้นตรงกับซูฮาร์โต้

      ซูฮาร์โตก้าวขึ้นสู่อำนาจในวันที่ 11 มีนาคม 1966 ถือว่าเป็นเริ่มยุคระเบียบใหม่ แต่ซูฮาร์โต้นั้นเริ่มรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อเมษายน 1968 และได้รับการเลือกตั้งติดต่อมากัน 6 วาระวาระละ 5 ปี ทำให้เขาปกครองอินโดนีเซียยาวนานถึง 32 ปี ยุคซูฮาร์โต้ถือเป็นยุคระเบียบใหม่ ทุกอย่างสามารถควบคุมได้หมด เช่น สื่อมวลชน ในอินโดนีเซียไม่มีใครวิจารณ์ซูฮาร์โต้ได้ แต่มีกลุ่ม Petisi’ 50 ที่รวมนายทหารยุคเก่า ๆ จากกองกำลัง PETA มีผู้นำสำคัญคือพลเอกแฮร์ริส นาซูเตียน รุ่นพี่ที่ซูฮาร์โต้นับถือมาก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ซูฮาร์โต้ได้ ปัจจุบันเมื่อพลเอกนาซูเตียนเสียชีวิตกลุ่มนี้จึงล่มสลายไป

      แม้ว่าฐานสนับสนุนของซูฮาร์โต้จะเข้มแข็งสักเพียงไร แต่เมื่อพลังประชาชนไม่เอาด้วยซูฮาร์โต้ก็ต้องลงจากอำนาจในปี 1998

      2.2 เต็งกูอับดุล ราห์มาน และดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย

      เต็งกูอับดุล ราห์มานได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งเอกราชของสหพันธรัฐมลายา เป็นผู้นำกลุ่มอัมโนที่เรียกร้องเอกราชจากอังกฤษได้สำเร็จ เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของมาเลเซีย ทำให้มลายาเป็นมาเลเซีย ถือเป็นรัฐบุรุษทางการเมืองคนหนึ่งของภูมิภาคนี้ มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย สปิริตของอับดุลรามานคือการที่เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทันทีหลังจากเกิดเหตุการณ์นองเลือดระหว่างชาวจีนกับคนเชื้อสายมาเลย์ในกัวลาลัมเปอร์ เพราะถือเป็นความผิดพลาดของตนที่ไม่สามารถป้องกันเหตุการณ์นี้ได้

      อีกคนหนึ่งที่ควรกล่าวขวัญถึงเรื่องจิตใจความเป็นประชาธิปไตยคือตนอับดุล ราซัก รองนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งแทนเต็งกู อับดุล ราห์มานที่ลาออกไป ตนอับดุล ราซักยุติระบบรัฐสภาไปพักหนึ่งเพื่อจัดการปัญหาความขัดแย้งเรื่องคนจีนกับคนมาเลย์ ซึ่งถ้าเป็นคนที่ฉวยโอกาสก็ต้องอ้างสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยเพื่อดำรงตำแหน่งและกุมอำนาจต่อไป แต่ตนอับดุล ราซักไม่ทำอย่างนั้น เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยก็ได้คืนอำนาจให้แก่ประชาชน นำระบบรัฐสภามาใช้อีกครั้งหนึ่ง

      ส่วนดร.มหาธีร์นั้นจบการศึกษาทางด้านแพทย์และเป็นผู้นำทางการเมืองตั้งแต่ 1981 แต่ได้ประกาศแล้วว่าจะลงจากตำแหน่งในปีหน้า ผลงานที่โดดเด่นของมหาเธร์ เช่น การกำหนดค่าเงินริงกิตตายตัวในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้มาเลเซียไม่ต้องเป็นลูกหนี้ IMF

      นโยบายที่สำคัญมาก ๆ ของ ดร.มหาเธร์คือการดำเนินนโยบายในการนำประเทศโดยไม่ก้มหัวให้ชาติตะวันตก เรียกว่า Look East Policy ต้องการให้ชาวมาเลเซียร่วมมือกันในการพัฒนาและเอาแบบอย่างจากประเทศในเอเชียด้วยกันเอง คือ เกาหลีไต้ และญี่ปุ่น โดยกำหนด Vision 2020 (Wawasan 2020) หรือการกำหนดว่ามาเลยเซียจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมเต็มตัวในปี 2020

      Wawasan 2020 กล่าวว่า การที่มาเลเซียจะเป็นประเทศพัฒนาได้ภายในปี 2020 นั้น ชาวมาเลเซียทุกคนจะต้องมีจิตสำนึกในความเป็นมาเลเซียเหมือน ๆ กัน โดยต้องมีความยุติธรรมเป็นเครื่องรองรับ ประเด็นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากว่าดร.มหาเธร์จะลดกระแสความเป็นชาตินิยมลง แม้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 89 และ 153 จะยังไม่ได้รับการแก้ไขก็ตาม

      การไม่ยอมก้มหัวให้กับตะวันตกถือเป็นจุดแข็งของดร.มหาเธร์ เช่น ครั้งหนึ่งมาเลเซียเคยขัดแย้งกับอังกฤษอดีตเจ้าอาณานิคม ดร.มหาเธร์จึงดำเนินนโยบายต่อต้านสินค้าอังกฤษที่เรียกว่า By British Last นั่นคือให้เลือกซื้อสินค้าอังกฤษเป็นตัวเลือกสุดท้าย ต้องซื้อจากประเทศอื่นก่อน เว้นเสียแต่ว่าหาสินค้าจากประเทศอื่นไม่ได้แล้วจึงค่อยซื้อจากอังกฤษ

      ข้อเสียของดร.มหาเธร์คือใช้กระบวนการไต่สวนที่ไม่เป็นธรรมกับอันวาร์ อิบราฮิม อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นการทำลายผู้ที่จะมาแข่งบารมีกับตน เสียงสะท้อนจากชาวมาเลเซียต่อกรณีนี้คือการที่นางวันอาซีซะห์ภรรยาของอันวาร์ อิบราฮิม ตั้งพรรคการเมืองใหม่ชื่อพรรคยุติธรรมแห่งชาติ (Parti Kerdilan Nasional: PKN) ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาพรรคของนางได้รับการเลือกตั้ง 5 ที่นั่งจาก 195 ที่นั่งในสภาทั้ง ๆ ที่เป็นพรรคการเมืองใหม่ สร้างความฮือฮาให้กับการเมืองมาเลเซียมาก แสดงว่ามีประชาชนจำนวนมากที่ไม่พอใจการกระทำของดร.มหาธีร์ต่อกรณีอันวาร์ อิบราฮิม

      ดร.มหาเธร์ประกาศแล้วว่าจะวางมือจากการเมืองในปีหน้า โดยมีทายาททางการเมืองซึ่งเป็นหมายเลขสองของมาเลเซียในขณะนี้คืออาหมัด บาลาวี คาดว่าจะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนหมายเลขสามรองจากบาลาวีคือนาจิบ อับดุล ราซัค บุตรชายของตนอับดุล ราซัค นายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย

      2.3 ลี กวน ยูของสิงคโปร์

      ลี กวน ยู เป็นผู้นำสิงคโปร์มาตั้งแต่ยังไม่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ จนกระทั่งมารวมกับมาเลเซียลี กวน ยูก็ยังเป็นผู้นำชาวจีนในการเรียกร้องความเท่าเทียมกันระหว่างเชื้อชาติ เมื่อไม่สำเร็จจึงตัดสินใจแยกตัวมาตั้งประเทศสิงคโปร์ต่างหากในวันที่ 9 สิงหาคม 1965

      ลี กวน ยูลงจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค PAP ใน ค.ศ. 1990 เพื่อเปิดทางให้นายโก๊ะ จ๊ก ตง ทำหน้าที่ผู้นำพรรคและนายกรัฐมนตรีแทน ปัจจุบันลี กวน ยูเป็นรัฐมนตรีอาวุโส และวางตัวลูกชายคือนายลี เซียน ลุงรองนายกรัฐมนตรีปัจจุบันให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งต่อจากโก๊ะ จ๊ก ตง ในระยะเวลาอันใกล้นี้

      แต่ลี เซียน ลุงขณะนี้อาจจะมีปัญหาในการรับตำแหน่งเพราะป่วยเป็นมะเร็ง แต่ลี กวน ยูยังมีลูกชายอีกคนหนึ่งคือลี เซียน ยาง ที่พร้อมจะรับตำแหน่งแทนพี่ชาย ส่วนโก๊ะ จ๊ก ตงนั้นถ้าทายาทตระกูลลีพร้อมที่จะรับตำแหน่งเมื่อใดตนก็พร้อมจะสละให้ทันที

      2.4 อู ออง ซาน, อู นุ และนายพลเนวินของพม่า

      อู ออง ซาน ถือเป็นผู้นำขบวนการชาตินิยมที่เป็นฆราวาสคนแรกของพม่า เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ประเมินสถานการณ์ได้ถูกต้องว่าเมื่อพม่าเป็นเอกราชจากอังกฤษปัญหาชนกลุ่มน้อยต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพื่อไม่ให้ปัญหาบานปลายจึงจัดประชุมและทำข้อตกลงปางหลวง เปิดโอกาสให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิตัดสินใจในอนาคตของตัวเองว่าจะรวมกับพม่าหรือแยกตัวออกไปเป็นอิสระหลังจากที่พม่าเป็นเอกราชจากอังกฤษครบ 10 ปี

      แต่ข้อตกลงปางหลวงถูกอู นูมือสองของอู ออง ซานเบี้ยว เพราะอู นุก้าวขึ้นเป็นผู้นำโดยไม่ได้เตรียมเนื้อเตรียมตัวมาก่อน สภาพความพร้อมในการเป็นผู้นำจึงไม่มี ชาวพม่าเองก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ทำให้ระบบรัฐสภาในพม่าดำเนินต่อไปไม่ได้ เมื่อชนกลุ่มน้อยทวงสัญญาปางหลวง อู นุซึ่งเป็นคนเชื้อชาตินิยมได้ปฏิเสธที่จะสานต่อเรื่องนี้ ชนกลุ่มน้อยจึงต้องจับอาวุธต่อสู้เพื่อปลดปล่อยตัวเอง อู นุจึงต้องเชิญทหารนำโดยพลเอกเนวินมาแก้ปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยชั่วคราวระหว่าง ค.ศ. 1958-1960

      เมื่อเหตุการณ์สงบอู นุกลับมาปกครองประเทศอีกครั้งหนึ่งแต่ก็ไปไม่รอดเหมือนเดิม ในที่สุดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 1962 พลเอกเนวินนำกำลังปฏิวัติยึดอำนาจจากอู นุ นำประเทศเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม ปิดประเทศไม่ยอมคบค้าสมาคมกับประเทศใดเพราะกลัวการแทรกแซงจากชาติตะวันตก เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า” ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ยึดกิจการทุกอย่างของเอกชนมาเป็นของรัฐยกเว้นการค้าปลีก แต่การขาดประสบการณ์ของคณะผู้บริหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารทำให้เศรษฐกิจของพม่าย่ำแย่หนัก ส่วนปัญหาชนกลุ่มน้อยนั้นเนวินใช้นโยบายปราบปรามอย่างรุนแรง

      ในช่วงท้ายของรัฐบาลเนวินมีการเรียกร้องจากประชาธิปไตย เกิดเหตุการณ์ในวันที่ 8 สิงหาคม 1988 (Bloody Eight) นางออง ซาน ซูจีบุตรสาวของอู ออง ซาน เดินทางกลับมาเยี่ยมมารดาแล้วได้เป็นผู้นำกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดเหตุการณ์นองเลือด ทำให้รัฐบาลเนวินต้องล่มสลาย

      18 กันยายน 1988 ทหารกลุ่มพลเอกซอ หม่อง ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลเนวิน

      27 พฤษภาคม 1989 รัฐบาลซอ หม่องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป พรรค NLD ของนางออง ซาน ซูจีที่เรียกร้องประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ได้คะแนนเสียง 392 ที่นั่งจาก 485 ที่นั่ง พรรคของพวกฉานได้ 23 ที่นั่งเป็นอันดับสอง ส่วนพรรคที่ซอ หม่องหนุนหลังได้คะแนนเพียง 10 ที่นั่งเป็นอันดับสาม

      พรรค NLD เรียกร้องให้รัฐบาลซอ หม่อง ถ่ายโอนอำนาจมาให้พรรค NLD ชั่วคราวระหว่างที่ยังร่างรัฐธรรมนูญกันอยู่ แต่รัฐบาลซอ หม่อง (SLORC) ปราบปราม NLD จนต้องหนีออกนอกประเทศ นางออง ซาน ซูจีถูกกักบริเวณอยู่ภายในบ้าน

      กลุ่มที่ครองอำนาจในพม่าขณะนี้คือ SLORC เดิมแต่เปลี่ยนชื่อในปี 1997 เป็น SPDC: สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ แต่คณะทหารที่เป็นแกนนำยังคงเป็นชุดเดิม มีพลเอกตัน ฉ่วยเป็นประธาน พลโทขิ่น ยุ้นเป็นเลขาธิการคนที่หนึ่ง และพลเอกหม่อง อาย เป็นเลขาธิการคนที่สอง เลขาธิการคนที่สามคือพลเอกทิน อู ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตจึงเหลือผู้นำเพียงสามคน เรียกว่ารัฐบาลทรอยก้า (Troika: รากศัพท์เดิมแปลว่ารถม้าที่มีใช้ม้าสามตัวลาก ศัพท์คำนี้นำมาใช้มากในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึงองค์กรที่มีตัวแทนสามคนดำเนินการในนามขององค์กร)

      กรณีตัวอย่างผู้นำทั้งสามของพม่าสรุปได้ว่า

      อู ออง ซาน ถ้ายังมีชีวิตอยู่เชื่อว่าประเทศพม่าจะต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากที่เป็นอยู่ เพราะข้อตกลงปางหลวงจะช่วยให้ปัญหาชนกลุ่มน้อยไม่มีความรุนแรงหรือไม่มีเลยก็ได้

      อู นุ ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำคนแรกและคนเดียวของพม่าที่อยู่ในยุคประชาธิปไตยมากที่สุด คือระหว่าง มกราคม 1948 – 2 มีนาคม 1962 หลังจากนั้นเป็นช่วงของอำนาจนิยมตั้งแต่ยุคเนวิน SLORC และ SPDC ในปัจจุบัน

      2.5 รามอน แมกไซไซและเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ของฟิลิปปินส์

      แมกไซไซนั้นเป็นอดีตนายทหาร มีบทบาทที่สำคัญคือการนำจุดอ่อนเรื่องความยากจนในประเทศมาใช้ในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาประเทศ เน้นการแก้ปัญหาความยากจนในชนบท เป็นคนที่สร้างความเจริญให้ฟิลิปปินส์อย่างมากทีเดียว รางวัลแมกไซไซเป็นรางวัลที่มอบให้ผู้มีผลงานดีเด่นในการพัฒนาชนบท

      แมกไซไซต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกระหว่างปฏิบัติหน้าที่ที่เกาะเซบู ไม่เช่นนั้นแล้วจะได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งสองสมัยติดกันเพราะประชาชนรักมาก

      มาร์กอสเป็นประธานาธิบดีคนเดียวของฟิลิปปินส์ที่ดำรงตำแหน่ง 2 สมัยติดต่อกัน มีผลงานที่ชาวฟิลิปปินส์ชื่นชมและเกลียดชัง โดยในสมัยแรกที่มาร์กอสดำรงตำแหน่งนั้นถือว่ามีผลงานที่ดีมาก เช่นสามารถเจรจาให้อเมริกาลดอายุการเช่าฐานทัพจาก 90 กว่าปีเหลือ 25 ปี ทำให้ฟิลิปปินส์หลุดพ้นจากการถูกกล่าวหาว่าเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐฯอีกครั้งหนึ่ง

      ช่วงมาร์กอส 1 ได้ทำการพัฒนาประเทศจนเจริญก้าวหน้าทำให้ประชาชนเลือกตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งในสมัยที่ 2 แต่ในสมัยที่ 2 นี้มาร์กอสกลับมีปัญหาในการคอร์รัปชั่นมาก โดยนำลูก เมีย และญาติ ๆ เข้ามาเล่นการเมือง มาร์กอสขณะนั้นอยู่ในภาวะของคนขี่หลังเสือ เพราะมีเรื่องให้ฝ่ายค้านขุดคุ้ยมากมายถ้าลงจากตำแหน่ง มาร์กอสจึงต้องหาทางต่ออายุให้ตนเองโดยแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อใกล้จะหมดวาระมาร์กอส 2 อ้างสถานการณ์ความไม่สงบโดยพรรคคอมมิวนิสต์และกบฏโมโร ประกาศกฎอัยการศึก ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค.ศ. 1973 และเรียกว่าเป็นช่วงสังคมใหม่

      รัฐธรมนูญ 1973 ได้ยกเลิกระบบประธานาธิบดีและนำเอาระบบรัฐสภาซึ่งฟิลิปปินส์ไม่เคยใช้มาก่อนมาใช้ แล้วแก้ไขจนกลับกลายเป็นระบบกึ่งประธานาธิบดีและกึ่งรัฐสภา ซึ่งทำให้มาร์กอสมีอำนาจมากโดยไม่ต้องเหนื่อยเพราะมีนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่แทน มาร์กอสคอยนั่งชี้นิ้วอย่างเดียว และเรียกระบบนี้ว่า Modified Presidential System

      ความเป็นเผด็จการของมาร์กอสต้องสิ้นสุดลงโดยกลุ่มพลังประชาชนใน ค.ศ. 1986 จนต้องอพยพครอบครัวไปอยู่ฮาวายและเสียชีวิตที่นั่น ใน ค.ศ. 1989

      หลังสิ้นยุคมาร์กอสนางคอราซอน อาคีโนนำระบบประธานาธิบดีมาใช้อีกครั้งหนึ่ง แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ค.ศ. 1987 ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ โดยกำหนดให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้เพียง 1 วาระคือ 6 ปี (เดิมวาระละ 4 ปี เป็นได้สองสมัยติดกัน) เริ่มบังคับใช้ในสมัยฟิเดล รามอส

      2. ผู้นำทางการเมืองคนสำคัญที่มีบทบาทเด่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

      2.1 ซูการ์โนและซูฮาร์โต้ของอินโดนีเซีย

      ซูการ์โนเป็นผู้นำที่ประชาชนให้การสนับสนุนมากที่สุดตั้งแต่มีผู้นำทางการเมืองมา เพราะเป็นผู้สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่ชาวอินโดนีเซียในยุคที่ถูกเนเธอร์แลนด์ปกครอง

      อดีตซูการ์โนเป็นนักศึกษาวิศวกรรมการต่อเรือที่บันดุง แต่มีความสนใจการเมืองและมีลักษณะของผู้นำที่มีบารมีในตัว เป็นคนช่างคิด มีวาทศิลป์ โน้มน้าวใจคนได้ยอดเยี่ยม เมื่อก่อตั้งขบวนการชาตินิยมโดยสามารถรวมคนหลายกลุ่มที่มีพื้นฐานว่าไม่น่าจะรวมตัวกันติดมารวมกันได้ เช่น พ่อค้าผ้าปาเต๊ะ พรรคคอมมิวนิสต์ กลุ่มชาตินิยม นักเรียนนอกมารวมกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ซูการ์โนสามารถสร้าง Unity in Diversity คือความสามัคคีท่ามกลางความหลากหลายในเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ความเชื่อของอินโดนีเซีย

      ในยุคที่ซูการ์โนและฮัตต้าตั้งขบวนการชาตินิยมต่อต้านเนเธอร์แลนด์ ทำให้รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ทั้งยังเป็นผู้กำหนดอุดมการณ์ปัญจศีล (Panjasila) ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่สำคัญในการปกครองประเทศของอินโดนีเซียและปราฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังเป็นผู้กำหนดประชาธิปไตยแบบนำวิถีหรือประชาธิปไตยแบบเชื่อผู้นำ

      (คำว่าปัญจศีลในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีสองคำ

    4. ปัญจศีลอันหมายถึงอุดมการณ์แห่งชาติ (National Ideology) ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1945 ของอินโดนีเซีย
    5. ปัญจศีลอันหมายถึงอุดมการณ์ของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในยุคสงครามเย็น คิดโดยนายกรัฐมนตรีเยาวห์ราล เนรูห์แห่งอินเดีย)

1966 ซูการ์โนเริ่มหมดบารมีลง เพราะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ประชาชนก็เริ่มมองเห็นถึงความล้มเหลวในการบริหารประเทศ เมื่อซูการ์โนไม่สามารถแก้ไขวิกฤตการณ์การขึ้นค่ารถเมล์ในจาการ์ต้าได้ ซูฮาร์โต้ซึ่งคอยจังหวะอยู่แล้วให้ทหารต้องเชิญตัวซูการ์โนออกจากตำแหน่งแล้วดำรงตำแหน่งแทน

จะว่าไปแล้วบารมีของซูฮาร์โต้นั้นไม่เท่าซูการ์โน แต่อาศัยฐานพลังจากกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งกองทัพ (ตอนนั้นรวมตำรวจอยู่ด้วยกัน) และกลุ่ม Golkar มาค้ำบัลลังก์ซูฮาร์โต้เอาไว้ได้นานถึง 32 ปี

นอกจากนี้ซูฮาร์โต้ยังมีหน่วยอารักขาประจำตัวคือ KOPKAMTIB มีทหารระดับพลเอกเป็นหัวหน้าคือพลเอกเบนนี่ เมอร์ดานี่ เป็นผู้นำกองทัพคนแรกที่นับถือศาสนาคริสต์ เมอร์ดานี่มีความโดดเด่นมากกำลังจะก้าวมาเป็นคู่แข่งของซูฮาร์โต้ ทำให้ถูกปลดในปี 1988 พร้อมกับยกเลิก KOPKAMTIB โดยตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อเบเกอร์สตรานาส (Bakorstranas) ขึ้นตรงกับซูฮาร์โต้

ซูฮาร์โตก้าวขึ้นสู่อำนาจในวันที่ 11 มีนาคม 1966 ถือว่าเป็นเริ่มยุคระเบียบใหม่ แต่ซูฮาร์โต้นั้นเริ่มรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเมื่อเมษายน 1968 และได้รับการเลือกตั้งติดต่อมากัน 6 วาระวาระละ 5 ปี ทำให้เขาปกครองอินโดนีเซียยาวนานถึง 32 ปี ยุคซูฮาร์โต้ถือเป็นยุคระเบียบใหม่ ทุกอย่างสามารถควบคุมได้หมด เช่น สื่อมวลชน ในอินโดนีเซียไม่มีใครวิจารณ์ซูฮาร์โต้ได้ แต่มีกลุ่ม Petisi’ 50 ที่รวมนายทหารยุคเก่า ๆ จากกองกำลัง PETA มีผู้นำสำคัญคือพลเอกแฮร์ริส นาซูเตียน รุ่นพี่ที่ซูฮาร์โต้นับถือมาก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเดียวที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ซูฮาร์โต้ได้ ปัจจุบันเมื่อพลเอกนาซูเตียนเสียชีวิตกลุ่มนี้จึงล่มสลายไป

แม้ว่าฐานสนับสนุนของซูฮาร์โต้จะเข้มแข็งสักเพียงไร แต่เมื่อพลังประชาชนไม่เอาด้วยซูฮาร์โต้ก็ต้องลงจากอำนาจในปี 1998

2.6 โฮจิมินห์แห่งเวียดนาม

โฮจิมินห์หรือเหงียน ไอ ฟ็อก เป็นรัฐบุรุษของชาวเวียดนาม เดิมเป็นเพียงนักชาตินิยมที่พยายามเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสันติ แต่ได้ศึกษาลัทธิมาร์กซประกอบกับฝรั่งเศสยุยงสหรัฐฯและประเทศตะวันตกอื่น ๆ ว่าเขาเป็นคอมมิวนิสต์ ทำให้สหรัฐฯไม่ให้การช่วยเหลือใด ๆ โฮจิมินห์ไม่มีทางเลือกต้องรับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนทำให้ต้องกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไปในที่สุด

น่าเสียดายว่าเขาเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1969 ซึ่งเวียดนามยังไม่สามารถรวมประเทศได้ในตอนนั้น แต่โฮจิมินห์ก็ยังคงเป็นรัฐบุรุษในดวงใจของคนเวียดนามมาจนถึงทุกวันนี้

Hosted by www.Geocities.ws

1