สหภาพยุโรป (European Union)

1. ความทั่วไป

- สมาชิก 15 ประเทศ : ออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร
- ประชากรประมาณ 370 ล้านคน พื้นที่ประมาณ 3,337,000 ตร.กม. ผลผลิตรวมประชาชาติ (GNP) ประมาณ 6.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
2. ความเป็นมา
3. ลักษณะของการรวมตัว สนธิสัญญามาสทริชท์ เน้น "เสาหลัก" 3 ประการ (the three pillars of the European Union) คือ
3.1 เสาหลักที่หนึ่ง การรวมตัวด้านเศรษฐกิจ (Economic Integration)
3.2 เสาหลักที่สอง นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศ และความมั่นคง (CFSP) และนโยบายด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ (Common Security and Defense Policy)
3.3 เสาหลักที่สาม ความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรมและกิจการภายใน (มหาดไทย) รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง การปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติด การจัดตั้งกองตำรวจร่วม (Europol) และการดำเนินการร่วมด้านความมั่นคงภายใน ฯลฯ
4. การค้าและการลงทุน
4.1 EU มีสัดส่วนของ GDP ประมาณร้อยละ 40 ของประเทศ OECD ทั้งหมด ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 และร้อยละ 19
4.2 EU มีมูลค่าการค้ามากที่สุดในโลกคือประมาณ 1 ใน 5 ของการค้าโลก และนำเข้า สินค้าจากนอกสหภาพเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 21 ของมูลค่าการค้าโลก
4.3 โดยทั่วไป มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก EU (Intra-EU Trade) ยังคงมากกว่ามูลค่าการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม (Extra-EU Trade)
4.4 ประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่สุดได้แก่ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 1 ใน 4 ของมูลค่า Extra-EU Trade ทั้งหมด
5. ทิศทางและแนวโน้มของพัฒนาการการรวมตัวของสหภาพยุโรปในอนาคต
5.1 การขยายจำนวนสมาชิก ปัจจุบัน EU มีความตกลง Association Agreements หรือ Europe Agreements ซึ่งมีนัยเป็นการเตรียมการเข้าไปเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป กับประเทศต่าง ๆ (Candidate Countries) ได้แก่ ฮังการี โปแลนด์ เช็ก สโลวัก บัลแกเรีย โรมาเนีย สโลเวเนีย แลตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย มอลตา และไซปรัส นอกจากนี้ ตุรกีซึ่งมีความตกลงสหภาพศุลกากร (Custom Union) กับสหภาพยุโรปก็ได้รับสถานะเป็นประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Candidate Country) ด้วย โดยคาดการณ์ว่าอาจมีการขยายสมาชิกอีกครั้งประมาณ ค.ศ. 2005 โดยจะเริ่ม การเจรจาอย่างเป็นทางการประมาณปี 1997 ซึ่งสหภาพยุโรปได้กำหนดเงื่อนไข 3 ประการ ใน การรับประเทศใด เข้าเป็นสมาชิกหรือที่เรียกกันว่า Copenhagen Criteria นั่นคือ เงื่อนไขด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และความสามารถที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขทางด้านการเมือง นิติบัญญัติ และสหภาพเศรษฐกิจและการเงินของยุโรป
5.2 การประชุมระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Conference/IGC) และ สนธิสัญญานีซ (Theaty of Nice) โดยการประชุม IGC ได้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2000 เพื่อพิจารณาแนวทางการปฏิรูปกระบวนการตัดสินใจ (Decision Making) ของ สหภาพยุโรป เพื่อเตรียมสำหรับการบริหารงานในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีการขยายสมาชิกของ สหภาพยุโรปจาก 15 ประเทศในปัจจุบัน เป็น 27 ประเทศ โดยได้มีการหารือกันถึงประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ การคำนวณจำนวนกรรมาธิการในคณะกรรมาธิยุโรป การกำหนดน้ำหนักคะแนนเสียงในคณะมนตรียุโรปตลอดจนการกำหนดสาขาของนโยบายที่จะใช้วิธีลงมติแบบเสียงข้างมาก (Qualified Majority Voting) เป็นต้น การประชุมในครั้งนี้ได้มีการจัดทำสนธิสัญญานีซเพื่อเวียนให้ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันด้วย
5.3 การประชุมสุดยอดของคณะมนตรียุโรป ระหว่างวันที่ 23-24 มีนาคม ค.ศ. 2001 ที่กรุงสตอกโฮล์ม ได้มีการหารือประเด็นต่างๆ ดังนี้
5.4 สหภาพเศรษฐกิจและการเงินและเงินสกุลเดียว สหภาพยุโรปได้เข้าสู่การเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงินที่สมบูรณ์เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ.1999 และจะมีเงินสกุลเดียวหมุนเวียนใช้ในระบบเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปเดือน 1 มกราคม ค.ศ. 2002 นอกจากนี้ สหภาพยุโปรดกำลัง แก้ไขปัญหาการว่างงาน และการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งชันในตลาดโลก
5.5 สหภาพยุโรปในประชาคมโลก
*****************************
Hosted by www.Geocities.ws

1