กิตติกรรมประกาศ

การจัดทำผลงานทางวิชาการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาทางวิชาการของบัณฑิตศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2545 ในนามของคณะนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดออำนาจเจริญ ขอขอบคุณคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ผู้อำนวยการบัณฑิตศึกษาคณะรัฐศาสตร์ รองอธิการบดีสาขาวิทยบริการ จังหวัดอำนาจเจริญ และอาจารย์ศิริพร เชาวลิต อาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ทำให้รายงานฉบับนี้สำเร็จลงด้วยดี

 

 

คณะนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิทยบริการฯ จังหวัดอำนาจเจริญ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะกองทุนหมู่บ้าน ระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน และข้อเสนอแนะของกรรมการกองทุนต่อการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านในขอบเขตการศึกษา 5 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ ยโสธร อุบลราชธานี ร้อยเอ็ดและมุกดาหาร จากการศึกษากองทุนหมู่บ้านจำนวน 52 หมู่บ้านและคณะกรรมการกองทุน 554 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS-Pc+ (Statistical Package for Social Science Personal Plus) สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลที่เป็นคำถามปลายเปิด วิเคราะห์โดยการรวบรวม เรียบเรียง ประมวลผลโดยคณะผู้ศึกษา ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1. สถานะกองทุนหมู่บ้าน พบว่า ส่วนมากกองทุนหมู่บ้านอนุมัติเงินกู้

ทั้งหมด 1 ล้านบาท จำนวนร้อยละ 55.8 รองลงมาอยู่ในวงเงิน 900,001-999,999 บาท ร้อยละ 23.1 การเบิกจ่ายมากที่สุดอยู่ในวงเงิน 900,001-999,999 บาท จำนวนร้อยละ 36.5 รองลงมาเบิกจ่ายทั้งหมด 1 ล้านบาท ร้อยละ 25.0

กิจกรรมด้านเกษตรกรรมเป็นกิจกรรมที่ได้อนุมัติให้กู้มากที่สุด ร้อยละ 92.3 โดยอนุมัติให้กู้เป็นจำนวนเงินมากที่สุด ร้อยละ 43.6 การอนุมัติให้กู้อยู่ภายในวงเงินช่วง 300,001-600,000 บาท รองลงมาอนุมัติให้กู้ ร้อยละ 29.2 ภายในวงเงินช่วง 600,001-900,000 บาท ระยะเวลาเริ่มกู้อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2544 ร้อยละ 73.1 ระยะเวลาชำระคืนส่วนมากภายใน 1 ปี ส่วนระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี เช่น 8 เดือน 5 เดือน และ 3 เดือน จะเป็นการกู้ลักษณะฉุกเฉิน

2. ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน พบว่า หมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนมีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจชุมชนโดยรวมและแต่ละด้าน คือ ด้านการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ด้านการเพิ่มอาชีพ ด้านการสร้างงานในชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง และความเข้มแข็งทางด้านสังคมชุมชนโดยรวมและด้านการพึ่งตนเองอยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการบริหารจัดการกองทุน ด้านการสร้างระบบคุณธรรม ด้านการแก้ปัญหาของสมาชิกอยู่ในระดับปานกลาง

3. ข้อเสนอแนะอื่นๆ แบ่งเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาล พบว่า คณะกรรมการกองทุนมีข้อเสนอแนะให้เพิ่มงบประมาณการอุดหนุนโครงการให้มากกว่านี้ การจัดสรรงบประมาณควรคำนึงถึงขนาดของหมู่บ้านขนาดใหญ่ควรได้รับงบประมาณมากกว่าหมู่บ้านขนาดเล็ก ควรขยายเวลาในการชำระคืนเป็น 2 หรือ 3 ปี และควรจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงแรก

นอกจากนั้นมีข้อเสนอแนะเชิงบริหาร เช่น คณะกรรมการกองทุนควรมีการติดตามการดำเนินงานของสมาชิกที่กู้เป็นระยะอย่างจริงจัง และคณะกรรมการระดับจังหวัดควรให้คำแนะนำและติดตามผลการทำงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านด้วยเพื่อจะทำให้ผลลัพธ์ของนโยบายตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างอาชีพเสริมและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญ

 

หน้า

   

กิตติกรรมประกาศ…………………………………………………………..

บทคัดย่อ…………………………………………………………………….

สารบัญ………………………………………………………………………

สารบัญตาราง………………………………………………………………..

สารบัญแผนภูมิ……………………………………………………………...

บทที่ 1 บทนำ……………………………………………………………….

1

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา……………………………..

1

 

วัตถุประสงค์ของการศึกษา………………………………………….

2

 

ขอบเขตของการศึกษา……………………………………...………..

2

 

นิยามศัพท์…………………………………………………………...

3

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ………………………………………….

3

บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม…………………………………………….

4

 

1. แนวคิดทฤษฎีการประเมินโครงการ.….………………………….

4

 

2. การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านตามนโยบายรัฐบาล………………

15

 

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง……………………………………………..…

26

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย…………………………………………………..

29

 

รูปแบบในการศึกษา………………………………………………...

29

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………………………….

29

 

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา…………………………………………..

29

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………

31

 

การวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………….

31

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………

32

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ…………………………………

50

บรรณานุกรม………………………………………………………………..

56

สารบัญ (ต่อ)

 

หน้า

   

ภาคผนวก

 
 

ก. ระเบียบเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ………...

58

 

ข. เครื่องมือในการศึกษา…………………………………………….

84

 

ค. รายชื่อหมู่บ้านตัวอย่าง……………………………………………

89

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญตาราง

 

หน้า

   

ตารางที่

 

1

จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้าน จำแนกรายจังหวัดที่ทำการศึกษา..

33

2

จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้าน จำแนกตามเงินทุนอนุมัติให้กู้และ

 
 

เงินทุนที่เบิก……………………………………………………...

34

3

จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้าน จำแนกตามลักษณะโครงการหรือ

 
 

กิจกรรมที่อนุมัติ………………………………………………….

35

4

จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้าน จำแนกตามลักษณะโครงการหรือ

 
 

กิจกรรมที่อนุมัติและวงเงินให้กู้………………………………….

36

5

จำนวน ร้อยละของกรรมการกองทุน จำแนกตามจังหวัดที่ทำการ

 
 

ศึกษา……………………………………………………………..

37

6

จำนวน ร้อยละกรรมการกองทุน จำแนกตามข้อมูลภูมิหลัง……...

38

7

แสดงระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่

 
 

ดำเนินงานกองทุนในภาพรวม…………………………………...

40

8

แสดงระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่

 
 

ดำเนินงานกองทุนในด้านการเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย…………….

41

9

แสดงระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่

 
 

ดำเนินงานกองทุนในด้านการเพิ่มอาชีพ…………………………

42

10

แสดงระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่

 
 

ดำเนินงานกองทุนในด้านการสร้างงานในชุมชน………………..

43

11

แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนิน

 
 

งานกองทุนในภาพรวม…………………………………………..

44

12

แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนิน

 
 

งานกองทุน ในด้านการบริหารจัดการกองทุน…………………...

45

 

สารบัญตาราง (ต่อ)

 

หน้า

   

13

แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนิน

 
 

งานกองทุน ในด้านการพึ่งตนเอง………………………………...

46

14

แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนิน

 
 

งานกองทุนในด้านการสร้างระบบคุณธรรม……………………..

47

15

แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนิน

 
 

งานกองทุนในด้านการแก้ปัญหาสมาชิก…………………………

48

     
     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สารบัญแผนภูมิ

 

หน้า

   

แผนภูมิที่

 

1

เกณฑ์พิจารณาในการประเมินโครงการ………………………….

14

2

โครงสร้างกลไกการบริหารกองทุน……………………………...

18

3

กระบวนการเตรียมความพร้อมของกองทุนหมู่บ้าน……………..

22

4

สรุปขั้นตอนแนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของ

 
 

คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนิน

 
 

งานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด………………………………...

25

5

กรอบแนวคิดในการศึกษา………………………………………..

28

     

 

 

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1