บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะกองทุนหมู่บ้าน ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุนต่อการดำเนินงานกองทุนของหมู่บ้านที่ดำเนินงานตามนโยบายกองทุน ซึ่งได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

1. สถานะกองทุนหมู่บ้าน ในด้าน

1.1 เงินทุนที่อนุมัติให้กู้และเงินทุนที่เบิก

1.2 ลักษณะโครงการหรือกิจกรรมที่อนุมัติและวงเงินให้กู้

1.3 ระยะเวลาเริ่มกู้และระยะเวลากำหนดชำระคืน

2. ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ในด้าน

2.1 ข้อมูลภูมิหลังของคณะกรรมการกองทุน

2.2 ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชน

2.3 ความเข้มแข็งทางสังคมชุมชน

3. ข้อเสนอแนะอื่นๆ ในการดำเนินงานกองทุนของคณะกรรมการกองทุน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. สถานะกองทุนหมู่บ้าน

1.1 เงินที่อนุมัติให้กู้และเงินทุนที่เบิก

ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้านจำแนกรายจังหวัดที่ทำการศึกษา

     

จังหวัด

จำนวน

ร้อยละ

     

- อำนาจเจริญ

13

25.0

- ยโสธร

7

13.4

- อุบลราชธานี

12

23.1

- ร้อยเอ็ด

12

231

- มุกดาหาร

8

15.4

     

รวม

52

100.0

     

จากตารางที่ 1 พบว่า กองทุนหมู่บ้านที่ศึกษาอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญเป็นส่วนมาก ร้อยละ 25.0 (13 หมู่บ้าน) รองลงมาอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี และร้อยเอ็ด ร้อยละ 23.1 (12 หมู่บ้าน) และ 23.1 (12 หมู่บ้าน) เช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 2 จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้านจำแนกตามเงินทุนอนุมัติให้กู้และเงินทุนที่เบิก

     



จำนวนเงิน

อนุมัติให้กู้

เงินทุนที่เบิก

(บาท)

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

         

- ยังไม่อนุมัติกู้/เบิก

2

3.8

2

3.8

- £ 100,000

0

0.0

2

3.8

- 100,001-200,000

1

1.9

1

1.9

- 200,001-300,000

0

0.0

0

0.0

- 300,001-400,000

0

0.0

1

1.9

- 400,001-500,000

0

0.00

0

0.0

- 500,001-600,000

0

0.0

1

1.9

- 600,001-700,000

0

0.0

1

1.9

- 700,001-800,000

2

3.8

4

7.7

- 800,001-900,000

6

11.5

8

15.4

- 900,001-999,999

12

23.1

19

36.5

- 1,000,000

29

55.8

13

25.0

         

รวม

52

100.0

52

100.0

         

จากตารางที่ 2 พบว่า กองทุนหมู่บ้านส่วนมากได้อนุมัติเงินให้สมาชิกกู้ในวงเงิน 1,000,000 บาท ร้อยละ 55.8 (29 หมู่บ้าน) รองลงมาอยู่ในวงเงิน 900,001-999,999 บาท และอยู่ในวงเงิน 800,001-900,000 บาท ร้อยละ 23.1 (12 หมู่บ้าน) และ 11.5 (6 หมู่บ้าน) ตามลำดับ สำหรับเงินทุนที่เบิกส่วนมากได้เบิกในวงเงิน 900,001-999,999 บาท ร้อยละ 36.5 (19 หมู่บ้าน) รองลงมาเบิกไปทั้งหมด คือ 1,000,000 บาท และในวงเงิน 800,001-900,000 บาท ร้อยละ 25.0 (13 หมู่บ้าน) และ 15.4 (8 หมู่บ้าน) ตามลำดับ

 

 

1.2 ลักษณะโครงการหรือกิจกรรมที่อนุมัติและวงเงินให้กู้

ตารางที่ 3 จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้านจำแนกตามลักษณะโครงการหรือกิจกรรมที่

อนุมัติ

     

ลักษณะโครงการหรือกิจกรรม

จำนวน

ร้อยละ

     

- เกษตรกรรม

48

92.3

- อุตสาหกรรม

26

50.0

- ค้าขาย

35

67.3

- ช่าง

18

34.6

- ฉุกเฉิน

8

15.4

จากตารางที่ 3 พบว่า ลักษณะโครงการหรือกิจกรรมที่กองทุนอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินเป็นโครงการหรือกิจกรรมด้านเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก คือ ร้อยละ 92.3 (48 หมู่บ้าน) รองลงมาเป็นโครงการหรือกิจกรรมด้านค้าขาย และอุตสาหกรรม ร้อยละ 67.3 (35 หมู่บ้าน) และ 50.0 (26 หมู่บ้าน) ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 4 จำนวน ร้อยละกองทุนหมู่บ้านจำแนกตามลักษณะโครงการหรือกิจกรรมที่

อนุมัติและวงเงินให้กู้

         

ลักษณะโครงการ

£ 300,000 บาท

300,001-

600,001-

900,001-





หรือกิจกรรม
 

600,000 บาท

900,000 บาท

1,000,000 บาท

(จำนวนกองทุน

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

หมู่บ้าน)

               
                 

- เกษตรกรรม(48)

6

12.5

21

43.6

14

29.2

7

14.6

- อุตสาหกรรม(26)

21

80.8

4

15.4

1

3.9

0

0.0

- ค้าขาย (35)

28

80.0

6

17.1

1

2.8

0

0.0

- ช่าง (18)

18

100.0

0

0.0

0

0.0

0

0.0

- ฉุกเฉิน (8)

8

100.0

0

0.0

0

0.0

0

0.0

จากตารางที่ 4 พบว่า เงินอนุมัติกู้รวมจำนวนมากๆ จะเป็นโครงการหรือกิจกรรมด้านเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก คือ ร้อยละ 43.6 ของกองทุนหมู่บ้าน (21 หมู่บ้าน) ได้อนุมัติให้กู้ในวงเงินช่วง 300,001-600,000 บาท และร้อยละ 29.2 (14 หมู่บ้าน) กู้ในวงเงินช่วง 600,001-900,000 บาท ส่วนโครงการหรือกิจกรรมด้านอื่นๆ จะกู้เงินในวงเงินน้อยกว่าและเท่ากับ 300,000 บาท เป็นส่วนมากโดยเฉพาะด้านช่าง ด้านฉุกเฉิน พบ ร้อยละ 100 ของกองทุนหมู่บ้านที่อนุมัติให้กู้ในโครงการหรือกิจกรรมเหล่านี้ (18 และ 8 หมู่บ้านตามลำดับ)

1.3 ระยะเวลาเริ่มกู้และระยะเวลากำหนดชำระคืน

ผลการศึกษา พบว่า ส่วนมากหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนอนุมัติให้สมาชิกเริ่มกู้ในช่วงปี 2544 ร้อยละ 73.1 (38 หมู่บ้าน) ให้กู้ในปี 2545 ร้อยละ 23.1 (12 หมู่บ้าน) และยังไม่อนุมัติให้กู้ ร้อยละ 3.8 (2 หมู่บ้าน) ส่วนระยะเวลากำหนดชำระคืน พบว่า ส่วนมากกำหนดให้ชำระคืนภายในระยะเวลา 1 ปี ที่กำหนดให้ชำระคืนเร็วกว่า 1 ปี เช่น ภายใน 8 เดือน 5 เดือน และ 3 เดือน จะเป็นการกู้ลักษณะฉุกเฉิน

2. ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมชุมชน

2.1 ข้อมูลภูมิหลังของคณะกรรมการกองทุน

ตารางที่ 5 จำนวน ร้อยละของกรรมการกองทุน จำแนกตามจังหวัดที่ทำการศึกษา

     

จังหวัด

จำนวน

ร้อยละ

     

- อำนาจเจริญ

132

23.8

- ยโสธร

91

16.4

- อุบลราชธานี

141

25.5

- ร้อยเอ็ด

72

13.0

- มุกดาหาร

118

21.3

     

รวม

554

100.0

     

จากตารางที่ 5 พบว่า คณะกรรมการกองทุนที่ศึกษาส่วนมากอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 25.5 (141 คน) รองลงมาอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ และมุกดาหาร ร้อยละ 23.8 (132 คน) และ 21.3 (118 คน) ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 6 จำนวน ร้อยละของกรรมการกองทุนจำแนกตามข้อมูลภูมิหลัง

     

ข้อมูล

จำนวน

ร้อยละ

     

- เพศ

   

ชาย

314

56.7

หญิง

240

43.3

รวม

554

100.0

- อายุ

   

ต่ำกว่า 31 ปี

52

9.4

31-40 ปี

170

30.7

41-50 ปี

213

38.4

51-60 ปี

93

16.8

61-70 ปี

19

3.4

71 ปีขึ้นไป

7

1.3

รวม

554

100.0

- การศึกษา

   

มัธยมต้นและต่ำกว่า

433

78.2

มัธยมปลาย

66

11.9

ปริญญาตรีและต่ำกว่า (ปวส,ปวช)

54

9.7

สูงกว่าปริญญาตรี

1

0.2

รวม

554

100.0

- รายได้จากอาชีพหลัก (บาท/เดือน)

   

ต่ำกว่า 1,501

91

16.4

1,501-3,000

248

44.8

3,001-4,500

81

14.6

4,501-6,000

68

12.3

6,001-7,500

20

3.6

 

     

ข้อมูล

จำนวน

ร้อยละ

     

7,501-9,000

10

1.8

9,001-10,500

15

2.7

มากกว่า 15,000

21

3.8

รวม

554

100.0

- ตำแหน่งในปัจจุบัน

   

* กรรมการกองทุน

358

64.6

* กรรมการกองทุนและทำหน้าที่

49

8.9

ด้านการปกครอง (เช่น กำนัน ผู้

   

ใหญ่บ้านฯลฯ)

   

* กรรมการกองทุนและทำหน้าที่อื่นๆ

144

26.0

* กรรมการกองทุนและทำหน้าที่

3

0.5

ด้านการปกครองและหน้าที่อื่นๆ

   

รวม

554

100.0

     

จากตารางที่ 6 พบว่า กรรมการกองทุนส่วนมากเป็นเพศชาย ร้อยละ 56.7 (314 คน) มีอายุอยู่ในช่วง 41-50 ปี ร้อยละ 38.4 (213 คน) รองลงมาอยู่ในช่วง 31-40 ปี ร้อยละ 30.7 (170 คน) จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นและต่ำกว่า ร้อยละ 78.2 (433 คน) รองลงมาจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 11.9 (66 คน) มีรายได้จากอาชีพหลักอยู่ในช่วง 1,501-3,000 บาท/เดือน ร้อยละ 44.8 (248 คน) รองลงมาต่ำกว่า 1,501 บาท/ต่อเดือน ร้อยละ 16.4 (91 คน) ตำแหน่งในปัจจุบันเป็นกรรมการกองทุน ร้อยละ 64.6 (358 คน) นอกนั้นเป็นกรรมการกองทุนและทำหน้าที่อื่นด้วย เช่น เป็นกลุ่มแม่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 26.0 (144 คน)

 

 

2.2 ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชน

ตารางที่ 7 แสดงระดับความเข้มแข้งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงาน

กองทุนในภาพรวม

       

ความเข้มแข็ง

ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบน

ระดับ


(X)

มาตรฐาน (SD)

 
       

1. ด้านการเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย

2.95

.43

ปานกลาง

2. ด้านการเพิ่มอาชีพ

2.83

.66

ปานกลาง

3. ด้านการสร้างงานในชุมชน

2.98

.52

ปานกลาง

       

รวม

2.92

.42

ปานกลาง

       

จากตารางที่ 7 พบว่า หมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 2.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .42และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย ด้านการเพิ่มอาชีพ ด้านการสร้างงานในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง เช่นกันโดยมีคะแนนเฉลี่ย 2.95, 2.83 และ 2.98 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .43, .66 และ .52 ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 8 แสดงระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงาน

กองทุนในด้านการเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย

               

ด้านการเพิ่ม

ความเห็น

     

รายได้/ลดรายจ่าย

ไม่เห็น

ไม่เห็น

เห็น

เห็นด้วย

X

SD

ระดับ

 

ด้วย

ด้วย

ด้วย

อย่างยิ่ง

     
 

อย่างยิ่ง

           
 

(%)

(%)

(%)

(%)

     
               

- ผู้กู้ส่วนใหญ่มีราย

7

82

382

83

2.98

.59

ปานกลาง

ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม

(1.3)

(14.8)

(69.0)

(15.0)

     

- การได้เงินกู้ช่วย

10

101

333

110

2.98

.67

ปานกลาง

ให้ผู้กู้ลดภาระราย

(1.8)

(18.2)

(60.1)

(19.9)

     

จ่ายเดิมของตนเอง

             

ลงได้

             

- ปัจจุบันนี้หมู่บ้าน

5

155

326

68

2.82

.63

ปานกลาง

มีการกินดีอยู่ดีมาก

(0.9)

(28.0)

(58.8)

(12.3)

     

ขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา

             

- ปัจจุบันนี้คนใน

4

85

369

96

3.00

.59

ปานกลาง

หมู่บ้านมีการจับจ่าย

(0.7)

(11.3)

(66.6)

(17.3)

     

ใช้สอยมากขึ้น

             
               

รวม

-

-

-

-

2.95

.43

ปานกลาง

               

จากตารางที่ 8 พบว่า การเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย หมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนมีความเข้มแข็งในระดับปานกลางทุกกิจกรรม โดยมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในกิจกรรมปัจจุบันนี้คนในหมู่บ้านมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น คือ 3.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .43 รองลงมา คือ กิจกรรมผู้กู้ส่วนมากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมและการได้เงินกู้ช่วยให้ผู้กู้ลดภาระรายจ่ายเดิมของตนลงได้มีคะแนนเฉลี่ย 2.98, 2.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .59 และ .67 ตามลำดับ

ตารางที่ 9 แสดงระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงาน

กองทุนในด้านการเพิ่มอาชีพ

               

ด้านการเพิ่ม

ความเห็น

     

อาชีพ

ไม่เห็น

ไม่เห็น

เห็น

เห็นด้วย

X

SD

ระดับ

 

ด้วย

ด้วย

ด้วย

อย่างยิ่ง

     
 

อย่างยิ่ง

           
 

(%)

(%)

(%)

(%)

     
               

- ผู้กู้ส่วนใหญ่ใช้

13

135

339

67

2.83

.65

ปานกลาง

เงินเพื่อสร้างงาน

(2.3)

(24.4)

(61.2)

(12.1)

     

ใหม่

             
               

รวม

-

-

-

-

2.83

.65

ปานกลาง

               

จากตารางที่ 9 พบว่า การเพิ่มอาชีพ หมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนมีความเข้มแข็งในระดับปานกลาง ในกิจกรรมผู้กู้ส่วนใหญ่ใช้เงินเพื่อสร้างงานใหม่ มีคะแนนเฉลี่ย 2.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .65

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 10 แสดงระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงาน

กองทุนในด้านการสร้างงานในชุมชน

               

ด้านการสร้างงาน

ความเห็น

     

ในชุมชน

ไม่เห็น

ไม่เห็น

เห็น

เห็นด้วย

X

SD

ระดับ

 

ด้วย

ด้วย

ด้วย

อย่างยิ่ง

     
 

อย่างยิ่ง

           
 

(%)

(%)

(%)

(%)

     
               

- ผู้กู้ส่วนใหญ่กู้เพื่อ

4

97

365

88

2.96

.60

ปานกลาง

ประกอบอาชีพจริง

(0.7)

(17.5)

(65.9)

(15.9)

     

- ผู้กู้ส่วนใหญ่ใช้

7

71

392

84

2.99

.57

ปานกลาง

เงินเพื่อขยายงาน

(1.3)

(12.8)

(70.8)

(15.2)

     

เดิม,ขยายอาชีพเดิม

             
               

รวม

-

-

-

-

2.92

.42

ปานกลาง

               

จากตารางที่ 10 พบว่า การสร้างงานในชุมชนหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุน มีระดับความเข้มแข็งปานกลาง ทั้ง 2 กิจกรรม คือ ผู้กู้ส่วนใหญ่กู้เพื่อประกอบอาชีพจริง และผู้กู้ส่วนใหญ่ใช้เงินเพื่อขยายงานเดิม ขยายอาชีพเดิม มีคะแนนเฉลี่ย 2.96 และ 2.99 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .60 และ .57 ตามลำดับ

 

 

 

 

 

 

 

2.3 ความเข้มแข็งทางสังคมชุมชน

ตารางที่ 11 แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุน

ในภาพรวม

       

ความเข้มแข็ง

ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบน

ระดับ


(X)

มาตรฐาน (SD)

 
       

1. การบริหารจัดการกองทุน

2.95

.40

ปานกลาง

2. การพึ่งตนเอง

3.11

.44

สูง

3. การสร้างระบบคุณธรรม

2.98

.51

ปานกลาง

4. การแก้ปัญหาสมาชิก

3.00

.53

ปานกลาง

       

รวม

3.01

.39

สูง

       

จากตารางที่ 11 พบว่า ระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนโดยรวมอยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ย 3.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .39 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการพึ่งตนเองมีความเข้มแข็งในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ย 3.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .44 ส่วนด้านอื่นๆ มีระดับความเข้มแข็งปานกลาง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 12 แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุน

ในด้านการบริหารจัดการกองทุน

               

ด้านการบริหาร

ความเห็น

     

จัดการกองทุน

ไม่เห็น

ไม่เห็น

เห็น

เห็นด้วย

X

SD

ระดับ

 

ด้วย

ด้วย

ด้วย

อย่างยิ่ง

     
 

อย่างยิ่ง

           
 

(%)

(%)

(%)

(%)

     
               

- ผู้กู้ส่วนใหญ่จะ

13

126

324

91

2.89

.68

ปานกลาง

สามารถคืนเงินได้

(2.3)

(22.7)

(58.5)

(16.4)

     

ตามกำหนดเวลา

             

- การให้เงินกู้ใช้เวลา

23

131

322

78

2.82

.71

ปานกลาง

พิจารณาอนุมัติเร็ว

(4.2)

(23.6)

(58.1)

(14.1)

     

- การพิจารณาให้กู้

13

59

366

116

3.05

.63

สูง

คำนึงถึงความจำเป็น

(2.3)

(10.6)

(66.1)

(20.9)

     

ของผู้กู้

             

- กรรมการกองทุน

3

51

398

102

3.08

.54

สูง

มีความสามารถจัด

(0.5)

(9.2)

(71.8)

(18.4)

     

การกองทุนได้ดี

             

- กรรมการกองทุน

2

46

402

104

3.09

.52

สูง

กำหนดระเบียบ

(0.4)

(8.3)

(72.6)

(18.8)

     

กองทุนได้ดี

             

- หลังจากมีโครงการ

14

159

320

61

2.77

.66

ปานกลาง

นี้แล้วการกระทำผิด

(2.5)

(28.7)

(57.8)

(11.0)

     

กฎหมายในหมู่บ้าน

             

ลดลง

             
               

รวม

-

-

-

-

2.95

.40

ปานกลาง

               

จากตารางที่ 12 พบว่า การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนมีความเข้มแข็งระดับสูงในกิจกรรม กรรมการกองทุนกำหนดระบบกองทุนได้ดี กรรมการกองทุนมีความสามารถจัดการกองทุนได้ดี และการพิจารณาให้กู้คำนึงถึงความจำเป็นของผู้กู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.09, 3.08 และ 3.05 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .52, .54 และ .63 ตามลำดับ กิจกรรมนอกนั้นมีความเข้มแข็งในระดับปานกลาง

ตารางที่ 13 แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงาน

กองทุนในด้านการพึ่งตนเอง

               

ด้านการ

ความเห็น

     

พึ่งตนเอง

ไม่เห็น

ไม่เห็น

เห็น

เห็นด้วย

X

SD

ระดับ

 

ด้วย

ด้วย

ด้วย

อย่างยิ่ง

     
 

อย่างยิ่ง

           
 

(%)

(%)

(%)

(%)

     
               

- ผู้กู้มีความสามารถ

6

60

40.3

85

3.02

.55

สูง

พึ่งตนเองได้มากขึ้น

(1.1)

(10.8)

(72.7)

(15.3)

     

- การสะสมดอกเบี้ย

6

29

345

174

3.24

.59

สูง

จากกองทุนช่วยตั้ง

(1.1)

(5.2)

(62.3)

(31.4)

     

เป็นกองทุนสวัสดิ

             

การให้กับหมู่บ้าน

             

ได้ในอนาคต

             

- การให้กู้เงินช่วยให้

8

79

338

129

3.06

.65

สูง

หมู่บ้านไม่ต้องพึ่ง

(1.4)

(14.3)

(61.0)

(23.3)

     

แหล่งทุนจากภาย

             

นอก

             
               

รวม

-

-

-

-

3.11

.44

สูง

               

จากตารางที่ 13 พบว่า การพึ่งตนเองของชุมชนหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนมีความเข้มแข็งระดับสูง ทุกกิจกรรมคือ ผู้กู้มีความสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น การสะสมดอกเบี้ยจากกองทุนช่วยตั้งเป็นทุนสวัสดิการให้กับหมู่บ้านได้ในอนาคต และการให้กู้เงินช่วยให้หมู่บ้านไม่ต้องพึ่งแหล่งทุนจากภายนอก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.02, 3.24 และ 3.06 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .55, .59 และ .65 ตามลำดับ

ตารางที่ 14 แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุน

ในด้านการสร้างระบบคุณภาพ

               

ด้านการสร้าง

ความเห็น

     

ระบบคุณธรรม

ไม่เห็น

ไม่เห็น

เห็น

เห็นด้วย

X

SD

ระดับ

 

ด้วย

ด้วย

ด้วย

อย่างยิ่ง

     
 

อย่างยิ่ง

           
 

(%)

(%)

(%)

(%)

     
               

- กรรมการกองทุน

1

48

392

113

3.11

.53

สูง

มีความเป็นธรรมใน

(0.2)

(8.7)

(70.8)

(20.4)

     

การอนุมัติให้กู้

             

- กรรมการกองทุน

34

118

299

103

2.85

.78

ปานกลาง

จะให้กู้เฉพาะคนที่

(6.1)

(21.3)

(54.0)

(18.6)

     

สามารถคืนเงินกู้

             

ได้เท่านั้น

             
               

รวม

-

-

-

-

3.00

.53

ปานกลาง

               

จากตารางที่ 14 พบว่า การสร้างระบบคุณธรรมหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนในกิจกรรมกรรมการกองทุนมีความเป็นธรรมในการอนุมัติให้กู้ มีความเข้มแข็งในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ย 3.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .53 ส่วนกิจกรรมกรรมการกองทุนจะให้กู้เฉพาะคนที่สามารถคืนเงินกู้ได้เท่านั้น มีความเข้มแข็งในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 2.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .78

ตารางที่ 15 แสดงระดับความเข้มแข็งทางสังคมชุมชนของหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุน

ในด้านการแก้ปัญหาสมาชิก

               

ด้านการแก้ปัญหา

ความเห็น

     

สมาชิก

ไม่เห็น

ไม่เห็น

เห็น

เห็นด้วย

X

SD

ระดับ

 

ด้วย

ด้วย

ด้วย

อย่างยิ่ง

     
 

อย่างยิ่ง

           
 

(%)

(%)

(%)

(%)

     
               

- การได้เงินกู้มาช่วย

7

30

389

128

3.15

.56

สูง

บรรเทาเหตุฉุกเฉิน

(1.3)

(5.4)

(70.2)

(23.1)

     

ได้

             

- ปัจจุบันคนในหมู่

5

117

354

78

2.91

.61

ปานกลาง

บ้านมีการช่วยเหลือ

(0.9)

(21.1)

(63.9)

(14.1)

     

ซึ่งกันและกันมาก

             

ขึ้น

             
               

รวม

-

-

-

-

3.00

.53

ปานกลาง

               

จากตารางที่ 15 พบว่า การแก้ปัญหาสมาชิกหมู่บ้านที่ดำเนินงานกองทุนในกิจกรรมการได้เงินกู้มาช่วยบรรเทาเหตุฉุกเฉินได้มีความเข้มแข็งในระดับสูงมีคะแนนเฉลี่ย 3.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .56 ส่วนกิจกรรมปัจจุบันคนในหมู่บ้านมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากขึ้น มีความเข้มแข็งในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 2.91 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .61

 

3. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุน

ผลการศึกษา พบว่า คณะกรรมการกองทุนมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานกองทุนเกี่ยวกับการอนุมัติโครงการส่วนมากกองทุนได้อนุมัติโครงการให้กู้โดยพิจารณาลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมสามารถดำเนินงานได้จริงหรือไม่ ประวัติผู้กู้สามารถดำเนินงานตามโครงการหรือกิจกรรมที่ขออนุมัติได้ อาศัยอยู่ในหมู่บ้านอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป ความจำเป็นเร่งด่วนของผู้กู้ และจะอนุมัติให้กู้เงินในวงเงินที่เหมาะสมกับโครงการที่ขอ และบางกองทุนจะต้องเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะที่ถือหุ้นในกองทุนจึงจะมีสิทธิกู้เงินได้ แต่มีบางกองทุนที่คณะกรรมการกองทุนให้ข้อคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า คณะกรรมการบางกลุ่มจะอนุมัติโครงการง่ายในรายที่เป็นญาติของคณะกรรมการหรือตัวกรรมการเอง ส่วนข้อคิดเห็นอื่นๆ พบว่า คณะกรรมการกองทุนส่วนมากเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี สามารถช่วยให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้

สำหรับข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกองทุน พบว่า คณะกรรมการกองทุนให้ข้อเสนอแนะว่างบประมาณอุดหนุนโครงการควรมากกว่านี้ และในหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ควรได้มากกว่าหมู่บ้านขนาดเล็กเพราะงบประมาณที่ได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการนำไปพัฒนาและเสริมสร้างอาชีพของประชาชน ควรขยายเวลาในการชำระคืนให้นานกว่านี้เป็น 2 หรือ 3 ปี เพราะระยะเวลาเพียง 1 ปี การลงทุนบางโครงการยังไม่เห็นผลอะไร เช่น การเลี้ยงวัว ในระยะเวลา 1 ปี วัวที่เลี้ยงยังไม่ขยายพันธ์ หรือควรให้จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงปีแรก ในการดำเนินงานโครงการของผู้กู้คณะกรรมการกองทุนควรมีการติดตามเป็นระยะอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงตามเป้าหมายการจัดตั้งกองทุน และคณะกรรมการระดับจังหวัดควรมีการติดตามงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุน พบว่า ในบางหมู่บ้านการจัดทำบัญชียังไม่เป็นปัจจุบัน และบางหมู่บ้านยังไม่สามารถอนุมัติเงินกู้ได้ ควรมีการติดตามชี้แนะจากคณะกรรมการระดับจังหวัด

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1