บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

รูปแบบในการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณา (Descriptive Research) เกี่ยวกับสถานะของกองทุน ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ในหมู่บ้านที่ดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านโดยใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อรวบรวมข้อมูล

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หมู่บ้านที่ดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้าน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หมู่บ้านที่ดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้านและคณะกรรมการของหมู่บ้านดังกล่าว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด คือ อำนาจเจริญ จำนวน 13 หมู่บ้าน ยโสธร จำนวน 7 หมู่บ้าน อุบลราชธานี จำนวน 12 หมู่บ้าน ร้อยเอ็ด จำนวน 12 หมู่บ้าน และมุกดาหาร จำนวน 8 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 52 หมู่บ้าน คณะกรรมการกองทุน 554 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ 2 ชุด คือ

ชุดที่ 1 แบบสัมภาษณ์สถานะกองทุนหมู่บ้าน ใช้สัมภาษณ์หมู่บ้านละ 1 ชุด เป็นคำสัมภาษณ์เกี่ยวกับชื่อหมู่บ้าน ตำบล จังหวัด สถานะปัจจุบันวงเงินที่กองทุนอนุมัติ วงเงินกองทุนที่เบิกแล้ว ข้อมูลโครงการ/กิจกรรมที่อนุมัติ วงเงินให้กู้ ระยะเวลาเริ่มกู้ ระยะเวลากำหนดชำระคืน

ชุดที่ 2 แบบสัมภาษณ์คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านใช้สัมภาษณ์คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านที่สัมภาษณ์ชุดที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 เป็นคำสัมภาษณ์ภูมิหลังผู้ถูกสัมภาษณ์เกี่ยวกับ เพศ อายุ การศึกษา รายได้จากอาชีพหลักต่อเดือน ตำแหน่งปัจจุบัน

ส่วนที่ 2 เป็นคำสัมภาษณ์เกี่ยวกับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน ดังนี้

- เศรษฐกิจชุมชน ประกอบด้วย การเพิ่มรายได้/ลดรายจ่าย คือ ข้อ 4,6,17,19 การเพิ่มอาชีพ คือ ข้อ 3 การสร้างงานในชุมชน คือ ข้อ 1,2

- สังคมชุมชน ประกอบด้วย การบริหารจัดการกองทุน คือ ข้อ 5,8,9,12,13,20 การพึ่งตนเอง คือ ข้อ 7,11,16 การสร้างระบบคุณธรรม คือ ข้อ 14,15 และ การแก้ปัญหาสมาชิก คือ ข้อ 10,18

โดยแบ่งความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมชุมชน เป็น 3 ระดับ มีเกณฑ์ ดังนี้

ข้อความเชิงบวก

ข้อความเชิงลบ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง 4

1

เห็นด้วย 3

2

ไม่เห็นด้วย 2

3

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1

4

ได้กำหนดระดับความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมชุมชนโดยใช้การคำนวณหาพิสัย

พิสัย (Rang) = คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด


จำนวนระดับที่ต้องการ

= 4 – 1 = 1


3

ได้เกณฑ์ระดับความเข้มแข็ง ดังนี้

เกณฑ์เฉลี่ย (X)

 

ระดับความเข้มแข็ง

1.00 - 2.00

=

ต่ำ

2.01 - 3.00

=

ปานกลาง

3.01 - 4.00

=

สูง

ส่วนที่ 3 เป็นคำสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่นๆ ต่อการดำเนินงานกองทุน

การรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้

1. ประชุมกลุ่มนักศึกษาที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล เพื่อชี้แจงรายละเอียดการ

สัมภาษณ์ตามรายละเอียดแบบสัมภาษณ์

2. ดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง

3. ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลทุกเนื้อหาในแบบ

สัมภาษณ์ก่อนนำไปวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำข้อมูลปลายปิดเชิงปริมาณที่ผ่านการตรวจสอบมาลงรหัสข้อมูล และกรอกข้อมูลลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS-PC+ (Statistical Package for the Social Science Personal Plus) มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สำหรับข้อมูลปลายเปิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยคณะผู้ศึกษารวบรวม เรียบเรียง และประมวลผลสรุปเป็นประเด็นในลักษณะข้อมูลเชิงคุณภาพ

Hosted by www.Geocities.ws

1