สรุป Ps 709 Thai Foreign Policy
ดร.อัษฎากร เอกแสงศรี
อ.จะเน้นตัวแบบ ท.ในการตัดสินใจ (Decision Making Theory)ในการวิเคราะห์ นโยบายต่างประจาก อดีตจนถึงปัจจุบัน และข้อสอบก็จะออกในทำนองเดียวกันคือวิเคราะห์ F.P ดังนันจะต้องทำความเข้าใจตัวแบบ วิเคราะห์ F.P ตัวแบบ ท.การตัดสินใจ มี
                    แบบ S.B.S (Snyder,Bruck& Sapin) เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาในเรื่องการตัดสินใจ-
                    - สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ จะมีอิทธิพลต่่อการกำหนด F.P
                    - สังคม วัฒนธรรม จะมีส่วนกระทบต่อสภาาพสังคม ถ้ามองเฉพาะภายในที่ไม่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม จะพบว่ามีหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนิน F.P ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัฒนธรรม ประชากร
                    - ประชากรมองในเรื่อง คน สุขภาพอนามัย การรศึกษา เกี่ยวข้องกับความสามารถในการป้องกันประเทศ ประชากร คือ สุขภาพาของคน การเรียนรู้เทคโนโลยี่ การศึกษา ภาวะการมีงานทำและรายได้
                    - ค่านิยมของคนในสังคม และแต่ละสังคมจะแตกกต่างกัน เกิดจากวัฒนธรรม เช่น คนไทยนิยมคนมีเงิน มีอิทธิพล มีอำนาจ นักการเมืองซื้อเสียงเพื่อเข้าไปกรอบโกย คนไทยไม่กล้าแสดงออก ไม่ยอมรับเหตุผล ไม่รู้จริงแต่อวดรู้
                    - ความสามารถของผู้นำ สไนเดอร์ พูดว่าการรตัดสินใจไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลเสมอไป ความมีเหตุผล เกิดจาก การหาข้อมูลที่มีทั้งหมดมาประมวลเพื่อการตัดสินใจทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งต้องใช้เวลามาก ตัวแบบนี้จึงไม่มีความสมบูรณ์
2.ท.ของ Graham T.Allison เสนอรูปแบบในการวิเคราะห์การตัดสินใจ 3 ตัวแบบ
                    2.1.The rational policy model (Model 1)รัฐบาลแห่งรัฐเป็นผู้กระทำการแต่ผู้เดียวในการที่จะแก้ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ รัฐจะแก้ปัญหาหนึ่งด้วยวิธีการที่คิดอย่างอนุมานด้วยเหตุผล ทั้งนี้เพราะต้องการให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างดีที่สุด และสูญเสียน้อยที่สุด คือแสวงหาข้อมูลที่ดีที่สุดด้วยการอนุมานด้วยเหตุผลอย่างดีที่สุด
                    2.2. The Organizational process model (Model 1l) วิเคราะห์การทำของรัฐเกิดขึ้นจากผลหรือการกระทำระหว่างองค์กรต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นรัฐบาล โดยสมมุฐานว่าองค์กรเหล่านี้กระทำการอย่างไม่มีการประสานงานกันมากนัก แต่ละองค์กรจะวิเคราะห์แคบๆ มองประโยชน์ขององค์กร เป็นการมองการแก้ไขปัญหาระยะสั้นมากกว่าระยะยาว
                    2.3. The bureaucratic politic model (Model 1ll) การวิเคราะห์การตัดสินใจโดยดูจากกระบวนการกระบวนการต่อรองระหว่างบุคคลในรัฐบาลหรือการเมืองระหว่างข้าราชการระดับสูง ในการวิเคราะห์ มีสมมุติฐานว่า ในแต่ละองค์กรมีการแข่งขันระหว่างผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ดังนั้นการตัดสินใจของรัฐบาลเป็นผลมาจากการดึงและดันของบุคคลกลุ่มต่างๆ และการตัดสินใจนั้นมิใช่การเลือกโดยอนุมานด้วยเหตุผล ในการศึกษาในตัวแบบผู้ร่วมตัดสินใจแต่ละคน มักมีจุดสนใจนโยบายใหญ่แตกต่างกัน จึงสนใจเฉพาะขอบเขตที่เขาสนใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งบุคคลมีผลประโยชน์และความคิดเห็นแตกต่างกัน การตัดสินใจของรัฐบาลจึงขึ้นอยู่กับอำนาจและความสามารถในการต่อรองของบุคคลในรัฐบาล
3.ท.แนวทางของ จอห์น เลิฟแวลล์ ใช้ 3 ทัศนวิเคราะห์ คือ
                    3.1 ทัศนะวิเคราะห์ทางยุทธศาสตร์(Strategic Perspective) จะดูความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ต่อนโยบาย เป็นการดูว่าทำไมถึงมีแนวนโยบายอย่างนั้น จะทำให้เข้าในเกี่ยวกับผู้กำหนดนโยบายว่ามีทัศนคิตทางยุทธศาสตร์อย่างไร
                    3.2 ทัศนวิเคราะห์ทางด้านพลวัตรทางประวัติศาสตร์ (The perspective of historical dynamics) เป็นการอธิบายในแง่มุมของความต่อเนื่องและการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐที่กำลังศึกษาเป็นการดูจุดยืนและลักษณ์ความสัมพันธ์ของรัฐนั้นมีต่อรัฐอื่นๆตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
                    3.3 ทัศนวิเคราะห์ทางการตัดสินใจ (A decision-making perspective ) แบ่งเป็น 2 แนวทาง ก) กระบวนการตัดสินใจ ต้องดูลักษณะต่างๆ 8 ประการ
                    1.การตรวจสอบข้อมูล 2. การคัดย่อข้อมูล 3.การส่งผ่าน 4. การเก็บ การเรียกขึ้นมา 5. การยอมรับของการดำเนินการตามการกระทำ 6. การตัดสินใจ 7.การนำไปบังคับใช้ 8. การย้อนกลับ
                    ข) การวิเคราะห์โครงสร้างของกระบวนการตัดสินใจ 8 ประการ
1.สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมภายใน และขีดความสามารถของรัฐ 2.ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ 3.วัฒนธรรมและการเมือง 4.การคัดเลือกบุคลากร 5.สังคมประกิต 6.ระบบราชการ 7.รูปแบบอำนาจหน้าที่และการสื่อสาร 8.โครงสร้างระบบอำนาจที่ไม่เป็นทางการ
4.ตัวแบบของ ไมเคิ้ล เบรเซอร์ เบลมา สไตนเบอร์ก และเจนีส สไตน ตัวแบบนี้จะมองลักษณะการดำเนินนโยบาย จากโครงสร้างอันนี้จะเกิดในการปฏิบัติการใน สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการทั้งภายในภายนอกส่งผ่านการสื่อสารสู่ผู้นำในการตัดสินใจและในการปฏิบัติการนั้นจะเข้าสู่สภาพแวดล้อมด้านจิตวิทยาก่อนที่จะเกิดการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายออกมาถถึงการดำเนินตามนโยบาย การจะเข้าไปสู่การวิเคราะห์ในลักษณะอย่างนี้จะช่วยให้ดูได้แต่โครงสร้างไม่ค่อยดีมากนัก

จากการมองนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนทั้งหมด อาจช่วยให้เราศึกษาครบถ้วนตามกระบวนการได้อย่างเนื่อง และครบถ้วน ปัจจัยนำเข้า ในการกระตุ้นให้ทำการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ
1.ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา
2.ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมทางปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมทางปฏิบัติการ
2.1.สภาพภายใน 2.2. สภาพภายนอก
สิ่งที่อธิบายสภาพแวดล้อมคือ
1. การศึกษาประวัติศาสตร์ (การวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ ควรที่จะแสดงให้เห็นถึงสภาพซึ่งก่อให้เกิดทัศนะทางยุทธศาสตร์) 2. การวิเคราะห์และอธิบายนอกภูมิภาค 3. การเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

                    การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา ควรศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีตลอด จนศาสนาและสังคมประกิต สิ่งเหล่านี้มีกระทบต่อพฤติกรรมของผู้นำและรูปแบบความประพฤติปฏิบัติระหว่างบุคคลและองค์กรต่างๆ จะทำให้ทราบว่าทำไมมีการกำหนดนโยบายดังนั้น
                                    การวิเคราะห์ลักษณะสิ่งแวดล้อมภายใน เช่นโครงสร้างของรัฐบาล การเมืองในระบบราชการ ความสัมพันธ์ระหว่างทหารและพลเรือนผู้มีส่วนในการผลักดันนโยบาย ในส่วนนี้อาจจะวิเคราะห์ในรูปแบบที่ง่ายขึ้นก็คือการวิเคราะห์สถาบันต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาบันกษัตริย์ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม ประชามติของประชาชนทั่วไปต้องใช้ระยะเวลา เพื่อดูว่าเป็นการปกครองแบบใด เช่น ประชาธิปไตย กึ่งประชาธิปไตย และเผด็จการ ซึ่งในแต่ละระบบผู้มีส่วนร่วมมีจำนวนแตกต่างกัน ทำให้อธิบายได้ว่าท่านทำการตัดสินใจด้วยการอนุมานด้วยเหตุผล ทำไมบางท่านจึงมีทัศนภาพลวงในการตัดสินใจ
                                    สภาพแวดล้อมภายนอก อาจแยกออกให้เห็นชัดเจน โดยใช้สังกัประบบการเมืองโลก ระบบรองส่วนภูมิภาค อาจดูประเทศมหาอำนาจที่มีต่อประเทศไทย และการวิเคราะห์ในระดับ ASEAN
                                    ในขั้นตอนการศึกษานโยบายหนึ่งนโยบายใด หรือศึกษานโยบายต่างประเทศโดยรวมผู้ศึกษาอาจทำการศึกษาเฉพาะประเด็นปัญหาตามขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ การอธิบายวิเคราะห์ในตอนนี้เป็นศิลปะของผู้ศึกษาที่จะรวบรวมปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมทางด้านจิตวิทยาและทางปฏิบัติมาอธิบายสิ่งที่ทำให้เกิดนโยบายนั้น การอธิบายการปฏิบัติการและผลที่เกิดขึ้นการศึกษาที่จะรวมเอาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์
                                    ช่วงนี้สามารถนำไปวิเคราะห์ F.P. โดยใช้ตัวแบบข้างต้นอาจารย์บอกว่าจะออกข้อสอบให้วิเคราะห์ F.P. จากอดีตจนถึงปัจจุบัน
                                    สมัยสุโขทัย ไทยมีความสัมพันธ์กับจีนทางการทูต และไทยส่งของบรรณาการไปจีนทุกปี ถ้าดูหลักของ Tributary state system ระบบบรรณาธิการก็เหมือน คือการแลกเปลี่ยนสินค้า(Barter Exchange) และจีนก็จะส่งสินค้าที่มีราคากว่ามาให้เป็นธรรมเนียนจีน เช่นพวกแพรพรรณ แต่พวดถ้วนชามนั้นขนส่งลำบากจึงส่งช่างมาสอนให้ไทยทำถ้วนชามสังคโลกเป็นแบบจีน และมีการส่งทูตติดค้าขายมาจนถึง สมัย ร.4-5
                                    สมัยอยุธยา มีชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายกับประเทศไทยคือ โปรตุเกส และดัชด์ ตามประวัติศาสตร์โปรตุเกสเข้าขายพวกอาวุธให้กับอยุธยา ต่อมาคือฝรั่งเศส มาในรูปของมิชชันนารีสอนศาสนา พระนารายณ์ได้ส่งทูตไปฝรั่งเศสตามคำแนะนำของคอนสแตนตินฟอนคอน(ออกญาวิชาเยนทร์) ชาวกรีก ยังมีชาวญี่ปุ่น(ซามูไร) ได้หนีมาพึ่งพระนารายณ์ เพราะกฎบโซกุนไม่สำเร็จ ในสมัยนั้นดัชท์มีอำนาจมากต้องการมาล่าอาณานิคม พระนารายณ์ จึงต้องการชาติตะวันตกมาถ่วงดุลอำนาจจึงเชื่อคำแนะนำของ ฟอนคอนมาก ทำให้ฟอนคอนคิดการใหญ่จะกฎบ ได้ส่งจดหมายไปหลอกเรพเจ้าหลุยส์ของฝรั่งเศสโดยร่วมมือกับบาทหลวงฝรั่งเศสแต่พระเทพราชาจับได้ประหารชีวิตก่อนและพระนารายณ์สิ้นพระชนม์ก่อนการกฎบ ฝรั่งเศสพอได้รับจดหมายก็ส่งทหารมาจำนวน 3,000 คน แต่มาถึงไทยจริงๆ 600 คนเพราะติดมรสุม พระเทพราชาก็ใช้กำลังทหาร 5,000 คนล้อมจับทหารฝรั่งเศส แล้วจับส่งลงเรือไป เป็นการดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น และประเทศไทยได้ปิดประเทศจนมาถึ ร. 3 แต่ก็มีการค้าขายซื้ออาวุธกับโปรตุเกสอยู่ (เพื่อผลประโยชน์ของชาติ ) ยุครัตนโกสินทร์ การปิดประเทศของไทยนั้นยังมีการติดต่อกับจีนโดยให้จีนเป็นคนค้าขาย แทนไทยในต่างประเทศ เพราะว่า จีนเก่งเรื่องการเดินเรือ มาโดนบีบใน ร.4 ตามสนธิสัญญาบาวริ่ง ห้ามไทยใช้จีนค้าขายแทน ในช่วง ร.3 อังกฤษและ อเมริกา ได้เข้ามาทำการค้าขายกับไทยโดยเฉพาะอังกฤษต้องการเอาเปรียบไทย ใน ร.4 อังกฤษบีบบังคับไทยทำสนธิสัญญาบาวริ่ง
                                    - จำกัดภาษีศุลกากรทั้งสินค้าเข้าและออก ยยกเลิกภาษีปากเรือ รวมทั้งให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่บุคคลในอาณัติของอังกฤษ มายกเลิกตอน 2475 (แต่ชวน เลือกที่จะ LOI5 เพื่อเป็นทาส IMFโดยไม่โดนบังคับ) ให้ไทยรับเข้าฝิ่น อเมริกา ก็เข้ามาสัญญากับไทย The most favored nation หมายความว่าถ้าไทยทำสัญญากับชาติใดได้ผลประโยชน์มากกว่าที่ให้กับอเมริกาๆก็ต้องได้ด้วย ร.4 จึงเปิดให้ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายมีส่วนในผลประโยชน์ในไทย เพื่อค้านอำนาจซึ่งกันและกัน
                                    - ร.5 ได้ส่งคนไปเรียนต่างประเทศและปรับเปปลี่ยนระบบ เอาคนไทยทำงานในตำแหน่งที่ไปเรียนมา มีการสร้างทางรถไฟ โดยการกู้เงินจากอังกฤษมาสร้าง แต่ขนาดรางรถไฟไทยจะแคบกว่าประเทศอื่นเพื่อป้องกันการบุกรุกโดยทางรถไฟ เป็นการมองในด้านยุทธศาสตร์
                                    ร.6 ได้แต่งตั้ง ฟรานซิส บี แซร์ เป็นอาจารย์สอนกฎหมายที่ฮาร์วาร์ด เป็นลูกเขยของประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ทำให้ไทยได้เข้าร่วม WW.1 และเป็นคนยกเลิกสัญญาทาส ทำให้ไทยมีกองทัพอากาศ WW.2 ประเทศไทยถือเป็นประเทศแพ้สงครามเพราะ จอมพล ป.ประกาศเข้าร่วมกับญี่ปุ่น เพราะได้ขอความช่วยเหลือไปยังอังกฤษ ก็ไม่ช่วย อเมริกา ก็อ้างว่า เพิร์ล ฮาร์เบอร์ กำลังถูกโจมตี แต่ไทยก็พลิกเป็นผู้ชนะสงครามเพราะมีขบวนการเสรีไทย โดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ ซึ่งเป็นอัครราชทูตอเมริกา ว่าการประกาศสงครามทำไม่ถูกต้อง ต้องมีการลงพระปรมาภิไธย หรือผู้สำเร็จราชการหรือหลวงประดิษฐ์(ดร.ปรีดี) หลัง WW.ll คำแถลง นโยบายต่างประเทศจะพูดถึง UN เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศใหญ่รังแก ปี 1990 US จะพูดถึง New world order ประชาธิปไตย โลกเสรี การค้าเสรี สิทธิมนุษยชน
องค์การระหว่างประเทศที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศแบ่งเป็น
                                    1องค์การระหว่างประเทศระดับโลก เช่น UN WHO IBRD IMF WTO ECOSDC UNDP UNICEF องค์กรต่างประเทศจะเริ่มนโยบายมาจาก ยูเอ็น
                                    2.องค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาค ก่อนยุค 1970 จะพูดถึง ยูเอ็น พอมา กลาง 1970 นโยบายต่างประเทศทุกฉบับจะพูดถึง อาเซียน ASEAN+3 คือ อาเซียน 10 ประเทศ บวกจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตั้งกองทุนเพื่อป้องกันการโจมตีค่าในภูมิภาคนี้ ต่อไปจะไม่มีใครสามารถโจมตีค่าเงินได้แล้วไทยช่วยด้วย 150 ล้านเหรียญ จีและญี่ปุ่นไม่อั้น AFTA คือเขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อต่อสู้กับ WTO ต่อไปจะเป็น AFTA+3 สู้ต่อไปเราจะเอาใจช่วย อย่าย่อท้อก่อนเสียละ ********ขอบคุณครับ***********
สรุป PS 709 นโยบายประเทศไทย(Thai Foreign Policy

ดร.กฤษฎา ไวสำรวจ
                                    จะเกี่ยวกับเรื่องนโยบายการค้าและเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมานานแล้ว จากในประวัติศาสตร์ อยุธยาถือว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญ มีชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าขายหลายประเทศ โดยเฉพาะจีน ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ระบบการค้าขายของประเทศไทยเป็นระบบผูกขาดที่เรียกว่า พระคลังสินค้า มีกษัตริย์เป็นผู้ควบคุมสินค้าที่ส่งออกที่สำคัญ คือ เครื่องปันดินเผา จากเตาลุ่มน้ำน้อย สุพรรณบุรี และเครื่องปัน สังคโลก จากเตาเผาสุโขทัย ศรีสัชนาลัย เป็นการผลิตแทนจีนในห้จีนเป็นผู้ส่งออก (เช่นปัจจุบันไทยผลิตแทนญี่ปุ่น) อยุธยาเป็นที่รู้จักของชาวอาหรับในภาษาอาระบิดว่า Shahr-1 now หรือเมืองใหม่ ในสมัยพระนารายณ์ มีพ่อค้าชาวมุสลิมจากอินเดีย / เปอร์เซียมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษา เช่น ตระกูลบุญนาค ไทย เริ่มมีการค้ากับอาหรับหรือมุสลิมมานานแล้ว ใน ศตวรรษ ที่ 17 ไทย(สมัยพระนารายณ์)มีการค้าขายกับยุโรปชาติแรกคือ โปรตุเกส ต่อมาคือ ดัชท์ ใน สมัย ร.3 อังกฤษให้ไทยทำสัญญาเบอร์นี่ ซึ่งเป็นการให้การเกิดการค้าเสรีและอังกฤษก็ได้มีการกดดันให้มีการทำลายการผูกขาดทางการค้าของหลายประเทศ ใน ค.ศ.1855 (2398) ไทยกับอังกฤษทำสนธิสัญญาเบาริ่ง ให้เกิดการค้าและเป็นจุดเริ่มของประเทศไทยในการเข้าร่วมระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยอังกฤษใช้นโยบายเรือปืน ผลของสนธิสัญญาเบาริ่ง
                                    1.ประเทศไทยต้องเปิดตลาดภายในประเทศ
                                    2.หลักการในการเก็บภาษีก็ถูกกำหนดด้วยสนธิสัญญา โดยประเทศไทยสามารถเก็บได้เพียง 3% และเก็บได้ครั้งเดียวเพียงขาเข้า หรือเรียกว่า 100 ชัก 3
                                    3.ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอำนาจทางการคลัง รวมทั้งสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกว่า 70 ปี
                                    4.ผลจากสนธิสัญญาทำให้ประเทศไทยไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นนอกจากข้าว
                                    5.สนธิสัญญาเบาริ่งทำให้ประเทศไทยต้องรวมศูนย์ในเรื่องอำนาจทางการคลัง
                                    6.ทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมล่าช้าเนื่องจากการนำเข้า นโยบายสำคัญของ จอมพล ป. คือจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลต่างชาติ(แต่มีคนมองว่าเป็นเรื่องของการแบ่งปันผลประโยชน์ของทหาร)สินค้าส่งออกที่สำคัญในยุค จอมพล ป. คือพวก ดีบุก ข้าว ยางพารา ยุคสฤิษดิ์ ได้มีการวางแผนพัฒนาโดยได้แนวคิดมาจาก ธนาคารโลกและ IMF มีสภาพัฒน์และมี BOI แผน 3 ฉบับแรกเน้นอุตฯผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าต่อมีจุดออ่นเนื่องจากตลาดภายในประเทศเป็นตลาดเล็กนำเงินทุนจากต่างประเทศ ซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ จึงต้องมีการเปลี่ยนยุทธศาสตร์มาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก โดยการแนะนำของ ธนาคารโลก โดยตัวอย่างจากประเทศ ฮ่องกง สิงคโปร์ ยุค เปรม มีการตั้ง ครอ. เพื่ออำนวยการส่งออก และมีการเปลี่ยนบทบาทรัฐจากควบคุม ศก.มาเป็นการกำกับประสานงาน ส่งเสริม สนับสนุ ศก.ไทยเติบโตมากในการส่งออก เพราะมีมาตรการต่างๆทางภาษีและไม่เกี่ยวกับภาษีคือการทำหลายๆมาตรการ
                                    - มาตรการทางภาษีและการเงิน - รายได้สิทธิิทางภาษีและชดเชย - การแบ่งเขตการลงทุน(Zoning) ในการลงทุน - ลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการ 20 % - อำนายการด้านมาตรการสินเชื่อและการเงิน (Refinancing(RFs) - ให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด - จัดตั้งสำนักการค้าต่างประเทศ - ขยายโครงสร้างพื้นฐาน สาเหตุหนึ่งที่มีการส่งออกขยายตัวอย่างมากคือการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาไทย
                                    F.P. และ ท.การค้า น.ย.ศก.คือ น.ย.ในระดับมหาภาคกว้างๆ
                                    น.ย.การค้าคือ การที่รัฐเข้าไปแทรกแซง หรือกำหนดว่าจะส่งเสริมหรือไม่ ส่งเสริมการระหว่างประเทศ เกี่ยวกับ
                                    - การกำหนดภาษี(Tariff)เป็นการตั้งกำแพงภาาษี - การกำจัดประมาณสินค้า - การตั้งกำแพงที่ไม่ใช่ภาษี (Non - Tariff)
                                    น.ย.อุตฯคือการให้การอุดหนุนทางด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D - Research and Development)ทางด้านอุตฯ - การอุหนุน (Subsidy) โดยใช้ภาษี การไม่เก็บภาษี การเก็บภาษีในอัตราต่ำ - การให้สิทธิพิเศษด้านการกู้ยืม เช่น การตั้งกองทุนพิเศษสำหรับธุรกิจ SMEs - การจัดสรรเครดิตต่อภาคอุตสาหกรรม
                                    ท.ทางการค้า …..ซูซาน เสตรน พยายบ่งชี้ว่ารัฐควรจะเข้ามาเกี่ยวข้องหรือมีบทบาทอย่างไรในทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ แนวคิดทางเศรษฐกิจการเมือง จะมีหลายสำนัก
                                    1.สำนักสัจจะนิยมหรือ Mercantilism ( ในทางการเมืองจะเรียกว่า Realistic) เน้นการอยู่รอด(Survival) และความเข้มแข็งของชาติ แต่ก่อนเน้นความสำคัญทางทหาร ปัจจุบันเน้น เศรษฐกิจ เน้นการปกป้อง แต่เป็นการปกป้องในรูปแบบใหม่ (Neo-Mercantilist) หลายประเทศดำนเนินนโยบายปกป้องทางการค้าท่ามกลางการประกาศนโยบายการค้าเสรี
                                    2.กลุ่มนโอคลาสสิก Neo-Classical (ทางการเมืองพวก Liberalism ) จะมีแนวคิดทางเศรษฐกิจ คือการเปิดเสรีทางการค้า ปล่อยให้เอกชนมีสิทธิในทางการค้าโดยรัฐเข้าไปควบคุม เศรษฐกิจน้อย จะต่างจากกลุ่มสัจจะนิยม มองว่าความมั่นคงทางเศรษฐกิจมีความจำเป็น แต่มองว่าความมั่นคงนั้นเกิดจากการผสมผสานในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ(Efficiency) ซึ่งประสิทธิภาพจะต้องเกิดขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชนหรือบริษัทประกอบการ (States Firms) นักวิชาการที่สำคัญของแนวคิดเสรีนิยม คือ เดวิท ริคาร์โด ได้เสนอกฎของความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) โดยเสนอให้มีการเน้นการผลิตในสิ่งที่มีความเชียวชาญ เจคอป วินเนอร์ สนับสนุนให้มีการเปิดการค้าเสรี และเป็นผู้วาง ท.สหภาพศุลกากร(Customs Union) คือแนวคิดในการเปิดเสรีในระหว่างกลุ่มประเทศนั่นคือมีการกำหนดอัตราภาษีในการค้าขายกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน Ohlin และพวก มองว่าประเทศก้าวหน้าได้เปรียบทุนที่เหนือกว่าประเทศด้อยได้เปรียบด้านแรงงาน
                                    จุดอ่อนของเสรีนิยมคือ ไม่ได้มองถึงความอยู่รอดและความมั่นคงมัวคิดถึงแต่ประสิทธิภาพ ซูซาน เสตรน มองว่าทุกประเทศในโลกล้วนดำเนินนโยบายปกป้อง โดยเฉพาะมหาอำนาจมีแต่ไทยมัวติดบ่วงเสรี***หลงคิดว่าเศรษฐกิจการค้าเสรีมีจริง ให้แต่นักเศรษฐศาสตร์ทำอยู่อย่างเดียวไม่มีการเมืองเข้ามาผสม***กลุ้มใจ
                                    3.นีโอมาร์กซิส โครงสร้างนิยม หรือแนวคิดพึ่งพา(Dependency)ระบบการค้าระหว่างประเทศมีความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศที่ก้าวหน้า จะต้องแก้ปัญหา แนวคิดพึ่งพามองว่าตลาด ไม่ได้เป็นกลางเสมอไปแต่มีลักษณะลำเอียง และเอนเอียงไปทางประเทศก้าวหน้า ประเทศที่สามจะเสียประโยชน์ ฟรีบีช นักทฤษฎีพึ่งพา จะพูดถึงความถดถอยของการค้าระหว่างประเทศและความไม่เท่าเทียมกันของตลาด เอมมานูเอล วาเลนสไตร์ บอกว่าประเทศพัฒนาจะปิดกั้นแรงงาน การขัดแย้งของประเทศมหาอำนาจก่อให้เกิดการดำเนินนโยบายปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของตนทำให้เกิดผลเสียต่อประเทศเล็ก การปรับตัวของประเทศไทยได้พยายามดำนเนินนโยบายการค้าเพื่อการส่งออกและแสวงหาตลาดใหม่เพื่อปรับตัวรับกระแสการปกป้องโดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคและประเทศในตะวันออกกลางรวมทั้งประเทศโลกที่ 3 ยุค พลเอก เปรม จะส่งออกไปยัง 4 ประเทศหลักคือ ญี่ปุ่น สหรัฐ อียู และอาเซียน และปี 1984 สหรัฐเป็นอันดับ 1 ไทยได้ดุลการค้า สหรัฐทำให้เห็นว่าร่ำรวยถูกตัด GSP และใช้มาตรการทางภาษี(Tariff)ไม่ใช่ภาษี(Non - Tariff) ออกกฎหมายการทุ่มตลาด หรือ Anti Dumping ซึ่งถือเป็นอาวุธสำคัญทางการค้า มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี NTB คือ 1.การจำกัดการส่งออก (Export Quota) 2.ใช้VER = Voluntary Export Restraint เป็นมาตรการที่ให้ประเทศผู้ส่งออกกำหนดเองว่าสามารถส่งออกได้เท่าไร 3. ตั้งมาตรการอุดหนุนสินค้าภายในประเทศ 4.การเข้มงวดในเรื่องมาตรฐานและคุณภาพสินค้า5.กำหนดกฎเกณฑ์ หรือข้อตกลงระหว่างประเทศในเวทีพหุภาคี 6.ใช้มาตรการทางด้านแรงงาน เช่นอายุ 7.มาตรการสิ่งแวดล้อม 8. ความเป็นประชาธิปไตย Good Governance
มาตรการที่เกี่ยวกับภาษี (Tariff Barriers)

                                    1.การใช้มาตรการการป้องกันการทุ่มตลาด(Anti Dumping Duty -AD)
                                    2.Counter Veiling Duty = CDV
                                    3.การเก็บภาษีในอัตราสูงกับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด
                                    4.การตัดสิทธิ GSP
                                    จากการปกป้องทางการค้าดังกล่าวข้างต้นจึงมีการรวมกันจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆมากมาย(สงครามเศรษฐกิจ) WTO องค์การการค้าโลก พัฒนามาจาก GATT CAIRNS ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรส่งออก บทบาทของไทยในเวทีพหุภาคของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
                                    1.ระยะแรกไทยยอมรับกฎระเบียบทางการค้าที่ดำรงอยู่
                                    2. ไทยไม่แสดงออกถึงการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลง
                                    3. ไทยเลือกที่จะไม่ท้าทายมหาอำนาจ
                                    4.เวทีระหว่างประเทศกำลังพัฒนาไทยชอบตามไม่ริเริ่ม ให้ความสำคัญกับ UNCTADน้อยกว่า GATT 5.หน่วยงานราชการไม่ทำงานเชิงรุก 6.ไทยขาดข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายทางเลือก(Policy Alternative) ทางเลือกในการดำเนินนโยบายการค้าและเศรษฐกิจเช่น 1.การค้าต่างตอบแทน 2.การให้สิทธิพิเศษเป็นการทั่วไปในประเทศที่กำลังพัฒนา 3.การดำเนินนโยบายพึ่งตนเองร่วมกัน(Collective Self Reliance) 4.การวิเคราะห์ผลกระทบและบูรณาการทางเศรษฐกิจ การรับหน้าต่อวิกฤตการณ์ของประเทศไทยทุกรัฐบาลที่เหมือนกันคือ 1.การยอมรับการกดดันแต่ยืดเวลาออกไปให้มากที่สุด 2.ว่าจ้างนักกฎหมาย อเมริกาให้ติดตามข้อมูล 3. ใช้วิธีลอบบี้ 4. ไม่ได้ใช้มาตรการตอบโต้
                                    การรับหน้ากับมาตรปกป้องของรัฐบาลชุดต่างๆ
                                    สมัย พล.อ.ชาติชาย จะเจอกระแสปกป้องทางการค้าทางกฎหมาย มาตร 301 ,307 ถูกตัด GSP และถูกกดดันในเรื่องกฎหมายสิทธิบัตร แก้ไขโดย 1.ขอร้อง เพราะคิดว่าสหรัฐเป็นมิตรอยู่ 2.ตั้งกรรมการร่วมต่อรองเสนอสิทธิพเศษให้นักลงทุนอเมริกา และมีโครงการร่วมมือในการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐ สมัย อานันท์ ปันยารชุน แก้โดยการรอมชอม เน้นการเปิดเสรี ออก ก.ม.สิทธิบัตร มีการยอมรับหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศ แก้ไขสนธิสัญญาพันธมิตร 1966 ให้นักลงทุนมีสิทธิเทียมเท่าไทย ความร่วมมือทางทหาร (ฝึกครอบบร้า โกลด์) สมัยชวน ยอมรับการกดดันจากสหรัฐ ให้ยกเลิกระเบียบที่ขวางกั้น(Deregulation) มากยิ่งขึ้น จะเปิดเสรีทางการค้ามาก ยุทธศาสตร์ทางออกของไทย
                                    1.การหันมาให้ยุทธศาสตร์การพึ่งตนเอง 2. มีการปรับแนวคิดเป็นยุทธศาสตร์การส่งออกที่เป็นองค์รวม(Comprehensive Marketing Design Strategy) 3. เน้นการผลิตของหน่วยผลิตที่เล็กลง เช่น SMEs 4.การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของภาคประชาชน กลุ่ม ปX ป เสนอแนวคิดชาตินิยมใหม่ Neo Nationalism โดยให้ไทยถอยออกมาตั้งหลัก หรือเว้นระยะหนึ่ง เสนอให้ไม่ปิดตายต่อการผูกมัดของ WTO เน้นการเปิดประเทศอย่างจำแนกยึดหลักผ่อนปรนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ไมเคิล พอตเตอร์ เสนอ ท.สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการนำเอาแนวคิดการบริหารงานภาคเอกชนมาใช้บริหารงานภาครัฐโดยมียุทธศาสตร์ที่จะชนะคู่แข่งคือ การเป็นผู้นำด้านต้นทุน(Cost Leadership) ต้องสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การเจาะจง (Focus) นอกจากนี้ยังมีปัจจัย 4 ประการที่สามารถเปลี่ยนรูปของสภาพแวดล้อมที่การแข่งขันต้องมีปัจจัยดังนี้ 1. เงื่อนไขด้านปัจจัย(Factor Condition)2. เงื่อนไขด้านอุปสงค์ ( Demand) 3.อุตสหากรรมต่างๆที่สนับสนุน (Supplier) 4. กลยุทธ์บริษัทโครงสร้างคู่แข่งขัน พอตเตอร์เรียกว่า ท.Diamond
สรุป Ps 709 Thai Foreign Policy

ผศ.ดนัย ทองใหญ่
                                    เนื้อหาของอาจารย์จะเน้นรูปแบบนโยบายต่างประเทศไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
                                    W.W.l เกิดในช่วง 1914- 1919 ประเทศไทยดำเนินโยบายต่างประเทศ อยู่ข้างเดียวกับฝ่ายสัมธมิตรเป็นผู้ชนะสงคราม ช่วงตอนนั้น .6 ได้แต่งตั้ง ฟรานซิส บี แซร์ เป็นที่ปรึกษา ซึ่ง อาจารย์สอนกฎหมายที่ฮาร์วาร์ด เป็นลูกเขยของประธานาธิบดีวู้ดโรว์ วิลสัน ทำให้ไทยได้เข้าร่วม WW.1 และเป็นคนยกเลิกสัญญาทาส ทำให้ไทยมีกองทัพ
                                    W.W.ll 1939-1945 ไทยกลับเป็นประเทศผู้แพ้สงครามเพราะไทยโดย รัฐบาลของ จอมพล ป. ได้ประกาศสงครามเข้าข้างญี่ปุน เพราะ ในช่วงก่อนนั้นไทยได้เสียดินแดนในส่วนที่เป็นเขรมและลาวในปัจจุบันให้กับฝรั่งเศสไป แต่ในขณะนั้นฝรั่งกำลังอ่อน เพราะถูกเยอรมันบุกยึดทำให้กองกำลังของฝรั่งเศสอ่อนแอไทยได้โอกาสจึงได้ขอแก้ไขสนธิสัญญากับฝรั่งเศส(12 มิ.ย.1940)แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมให้สัตยาบัน ไทยจึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส(พ.ย.1940) ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายที่ดีมากเพราะ 1.มีความยืดหยุ่นสูง 2. สามารถปรับเข้ากับนโยบายอื่นได้ 3. มติมหาชนให้ความเห็นชอบ ไทยทำสงครามกับฝรั่งเศส เรียกว่าสงครามอินโดจีน (จะซ้อนอยู่ในสงครามมหาเอเชียบูรพา) ไม่มีประเทศตะวันตกประเทศใดเข้ามาช่วยเหลือไกล่เกลี่ยมีแต่ญี่ปุ่นเข้าไกล่เกลี่ยให้สงครามยุติไทยได้ดินแดนคืน 27,000 ตารางไมล์(คือได้คืนบางส่วน )และในช่วงดังกล่าวไทยเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ(1941) ขอร้องให้ประเทศในตะวันและอเมริกาช่วยก็ไม่มีใครช่วยมีแต่ญี่ปุ่นยื่นมือเข้าช่วย และญี่ปุ่นต้องการใช้เส้นทางจากไทยไปพม่าและให้ไทยรับรองว่า อินโดจีนเป็นเขตปลอดภัยแห่งมหาเอเชียบูรพา ไทยอยู่ในภาวะจำยอมจึงร่วมมือกับญี่ปุ่นประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เดือน พ.ค.1942 นโยบายของไทยตอนนั้นเป็นไปตามลักษณะทางการทูตที่เรียกว่า ลู่ตามลม (Wending With the Wind) หรือการทูตไม้ใผ่ " Bamboo Diplomacy" เป็นนโยบายที่ทำให้ไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร พอสิ้นสงคราม 1945 ไทยจึงกลายเป็นผู้แพ้สงคราม ตอนสิ้นสงคราม โลก 1 ไทยเป็นสมาชิกลำดับที่ 29 ขององค์การสันนิบาตรชาติ(League of Nation ) แต่ UN ตั้งหลัง WW.ll ไทยไม่ได้เป็นสมาชิกก่อตั้งเพราะแพ้สงคราม นโยบายไทยช่วงสงครามเย็นคือก่อนปี 1946 - 1947 เป็นแบบนิยมตะวันตกแต่ไม่เข้าไปผูกพันมากนัก ช่วงนี้ไทยจะผูกพันกับ สหรัฐมากเพราะช่วงเหลือให้ไทยได้เป็นสมาชิก UN ลำดับที่ 55 ในวันที่ 16 ธ.ค.1946 หลังจากที่ต้องต่อสู้กับข้อเรียกร้องมากมายจาก คณะมนตรีความมั่นคง ทั้ง 4 ประเทศคือ ฝรั่งเศสต้องคืนดินแดนฝั่งซ้ายให้หมด จีนต้องเปิดทำการทูตกับจีนให้มีการเปิดโรงเรียนสอนภาษาจีน อตีดโซเวียดให้ยกเลิก พรบ.ว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 2475 (แต่นำมาใหม่ 2495) อังกฤษ ให้ไทยส่งข้าวให้ปีละ 6 ล้านตันแต่ สหรัฐช่วยเจรจาให้เหลือ 8 แสนตันต่อปี ส่วนสหรัฐไม่เรียกร้องอะไรเลย ไทยจึงชื่นชอบเพราะการได้เข้าเป็นสมาชิก UN ถือว่าเป็นการแก้หน้าว่าชนะสงครามถึงแม้จะมีขบวนการเสรีไทยก็ตาม แต่ไทยก็ยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่แพ้สงคราม ช่วงสงครามเย็นจนถึงหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนสิ้นสุด สงครามเย็น 1948-1990 นโยบายไทยมี 2 รูปแบบ คือ
                                    1.ช่วง 1948 - 1973 (ก่อนเหตุการณ์ช่วง 14 ต.ค.16) C.W. จะแยกออกเป็น 2 ค่ายคือ ค่ายโลกเสรี (Free World) กับ ค่ายโลกคอมมิวนีตส์ จอมพล.ป.จะดำเนิน นโยบายเข้าข้างโลกเสรีเพราะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างทหารตำรวจ ทำให้ต้องได้รับความช่วยเหลือจาก สหรัฐอีกทั้งยังกลัวภัยคอมมิวนีตส์จากประเทศรอบข้างที่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ไปหมดแล้วตาม ท.โดมิโน การอยู่ใกล้สหรัฐซึ่งมีทั้งกองกำลังและอาวุธนิวเคลียส์จะได้หายห่วง เหตุการณ์สำคัญที่ไทยกลัวเช่น 1. วันที่ 1 ต.ค.1949 จีนเป็นคอมมิวนีสต์ โดยเหมาเจ๋อตุงและกองทัพปลดปล่อย เจียงไขเจ็คต้องหนีไปตั้งรัฐบาลทีไต้หวัน ทำให้ไทยกลัวภัยคอมฯแบบไม่มีเหตุผล(Communistphobia)
                                    2.เกิดสงครามคาบเกาหลี 1950-1953 เกาหลีเหนือล้ำเส้น 38 จึงสงครามไทยส่งกองพันพยัคฆ์น้อยช่วยรบ
                                    3.อเมริการใช้นโยบายต่อต้านคอมฯ โดยเชื่อ ใน ท.โมมิโน เกิดองค์กร SEATO
                                    4.ไทยกลัวคอมฯมาก ร่วม USA ส่งCIA ส่งทหารไปลาว เพื่อช่วยนายพลภูมี หน่อสวรรค์ซึ่ง ต่อต้านคอมฯเหมือกัน ไทยส่งทหารรับจ้างเข้ารบในลาวตามที่ USA แนะนำ
                                    5. วันที่ 1 ม.ค.1962 เกิดข้อตกลงร่วม ถนัด-รัสต์ เป็นแถลงการณ์ร่วมที่ USA จะดูแลเอกราชและประชาธิปไตยไทย
                                    6.เกิดสงครามเวียดนามไทยส่งทหาร จงอ่างศึก และ เสือดำเข้าร่วมรบในเวียดนาม ปี 1967และยังอนุญาติให้มาตั้งฐานทัพในไทยได้ ปี 1964 การร่วมรบในเวียดนามเรียกว่า นโยบายยุทธศาสตร์การป้องกันไกลบ้าน (Forward Defense Strategy) ฐานทัพในไทย 1962 ตาคลี และโคราช 1963 นครพนม 1964 อุดรธานี อู่ตะเภา 1965 สถานีเรด้าค่ายรามสูรอุดรธานี และเกาะคา ลำปาง ปี 1975 อินโดจีนเป็นคอมฯ 3 ประเทศ กัมพูชา เวียดนาม และลาว ในวันที่ 17 และ30 เม.ย.และ 2 ธ.ค. นโยบายช่วง 6 ตุลาคม 19 ดำเนินนโยบายออกห่างจากดกลัวคอมฯ นโยบายไม่ยุ่งเกี่ยวกับมหาอำนาจมากนัก แต่ให้ความสำคัญเพื่อนบ้านภายใต้กรอบอาเซียน ในช่วงหลัง 14 ตุลา ถึงก่อน 6 ตุลา ประชาชนมีการตื่นตัวทางการเมือง มากขึ้น กระทรวงการต่างประเทศเข้ามามีบทบาทในการวาง น.ย.ต่างประเทศ แต่ก่อนจะอยู่ในมือผู้นำไม่กี่คน ในสมัยรัฐบาล เสนีย์ มีท่าที่ต่อประเทศสังคมนิยมดีขึ้น เปิดการทูตกับยุโรปตะวันออก ไทยถอนทหารกลับจากลาว ปี 1974 มีมติ ครม.ให้ถอนสถานีเรด้าห์ ออก ความสัมพันธ์ยิ่งแย่ลงก็คือกรณีเรือมายาเกตที่ถูกเขรมแดงยึดเพราะล่วงน่านน้ำขอคืนไม่ให้ใช้กำลังยึดคืน ใช้ตะเภาปฏิบัติการ ไทยไม่พอใจมองว่าล้ำอธิปไตยไทย มีการเผา หรือเยี่ยวลดธงชาติ USA นโยบายรอบทิศทางปัจจุบันของ พล.อ.อ. สิทธิ คือ ให้ความสำคัญกับปัญหาทุกเรื่อง ทุกระดับ ทุกด้าน ทุกประเทศ ทุกภูมิภาค เน้นเพิ่มมิตรลดศรัตรู
                                    1.ความสัมพันธ์ภูมิภาคเอเซียด้วยกัน 2.กับมหาอำนาจเหมาะสมยึดผลประโยชน์ชาติ 3.ความสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาเน้นความเท่าเทียมกันฉันมิตร ประเทศสังคมการทูตสร้างสรรค์และประสานประโยชน์ (Constructive Diplomacy) โดยไม่เอาความแตกต่างด้านอุดมการณ์มาเป็นอุปสรรค์ 4. ความร่วมมือกับประเทศ SOUTH จะเน้นความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจเพื่อรวมพลังในการต่อรองเพื่อไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากประเทศที่พัฒนาแล้ว NORTH
                                    นโยบายนี้มี 3 มิติคือ 1. เน้นความมั่นคงทั้งภายในและนอก 2.เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 3.เน้นผลประโยชน์ทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างอิทธิพลและการได้รับการยอมรับจากเวทีระหว่างประเทศ
                                    นโยบาย รอบทิศทางภายใต้โลกาภิวัฒน์ ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร คือ 3 GOOD 1.Good neighbor การเป็นเพื่อบ้านที่ ดี 2. Good regional partner การเป็นหุ้นส่วนที่ดีของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3.Good world citizen )การเป็นพลเมืองที่ดีของโลก
                                    นโยบายรัฐบาลปัจจุบันคือ นโยบายมุ่งไปข้างหน้า (Forward Policy)
                                    1.Economic Led Diplomacy นโยบายเศรษฐกิจ เป็นนโยบายที่มีความพยายามให้ ศก.ฟื้นตัว
                                    2.ผู้แสดงบทบาทในนโยบายต่างประเทศต้องแสดงบทบาท Road Show คือการหาตลาด
                                    3.การขยายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไปสู่ภิมภาคอื่นๆ อาเซียน + 3
                                    4.โครงการบุกเบิกนโยบายรุกไปข้างหน้า 5. ความร่วมมือในภูมิภาค 6. ไปสู่ลาติน
สรุป Ps 709 Thai Foreign Policy

ผศ.เฉลิมชัย ผิวเรืองนนท์
                                    นโยบายต่างประเทศคือ แนวทางที่รัฐเอกราชหรือประเทศเอกราชทั้งหลายกำหนดขึ้นมาเป็นแนวทางในการติดต่อสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับรัฐเอกราชอื่นๆเพื่อให้แต่ละรัฐได้ทราบถึงจุดมุ่งหมาย หลักการ วัตถุประสงค์ ของรัฐที่ติดต่อสัมพันธ์ด้วย โดยที่ทุกรัฐหรือทุกประเทศจะมีเป้าหมายสุดท้ายเหมือนกันคือ การแสวงหา การส่งเสริมและธำรงรักษาสิ่งที่เรียกว่า "ผลประโยชน์ของชาติ" สำหรับประเทศเปิดต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนของตน (Public Opinion) นโยบาย มี 2 ส่วนคือ Policy Plan & นโยบายเฉพาะ
ผลประโยชน์ของชาติคือ
                                    1.ความอยู่รอดและความเป็นเอกราช (Self- Preservation และ Independence)
                                    2.ความมั่นคงแห่งชาติเบ็ดเสร็จ(Comprehensive Nation Security)
                                    3.ความอยู่ดีกินดีของคนส่วนใหญ่ในชาติ(National Well- being)
                                    4.การรักษาและเพิ่มพูนศักดิ์ศรีและเกียตริภูมิของชาติ( National prestige and dignity)
                                    5.การส่งเสริมและการเผยแพร่อุดมการณ์ของชาติ (National Ideology)
                                    6.การเพิ่มพูนและขยายอำนาจของชาติ (National Power)
                                    7.ส่งเสริมสันติภาพและความสงบเรียบร้อยทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก(Regional and World peace and order)
                                    ส่วนประกอบของนโยบายต่างประเทศ 5 ประการคือ
                                    1.ผลประโยชน์ของชาติ (National Interest)
                                    2.หลักการ (Principle)
                                    3.วัตถุประสงค์ (Objective)
                                    4.จุดหมายปลายทาง Ending)
                                    5.ขีดความสามารถของรัฐ (Capability)
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ 4 อย่างคือ
                                    1.เครื่องมือทางการเมืองการทูต 2.เครื่องมือทางทหาร 3. เครื่องมือทางเศรษฐกิจ 4.เครื่องมือทางจิตวิทยา

ปัจจัยภายใน (Internal Factor)
1.สภาพการณ์เมืองภายในประเทศ
2.สภาวะผู้นำและทัศนะคติ(Leadership and Attitude)
3.มติมหาชนและสือมวลชน จะมีอิทธิพลสำคัญต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
4.กลุ่มอิทธิพลและกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ
ปัจจัยภายนอก (External Factor)
1.อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ
2.สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกิดมรช่วงเวลาต่างๆ
Back
Hosted by www.Geocities.ws

1