สรุปวิชา PS704.1

สรุปสาระสำคัญ หนังสือการพัฒนาที่ยั่งยื่น(Sustainable Development) ของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ 974-7092-09-3 จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง

ภาค 1 ทางตันของการพัฒนาที่ไม่ยังยืน
------------------------------------
สาเหตุที่จะต้องมีแนวคิดในการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development) ขึ้นมามีสาเหตุมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้ประเทศต่างๆเคลื่อนไหวหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสันติเพราะความเสียหายความบอบช้ำจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (UN)มีความมุ่งหมายว่าต้องการให้ทั่วโลกมีการติดต่อสัมพันธ์กันในทางที่ดีงาม จะได้มีสันติภาพไม่ต้องมีสงครามอีก และประเทศอาณานิคมทั้งหลายต่างก็ตื่นตัวที่จะพยายามปกครองตัวเองจึงดิ้นรนต่อสู้เพื่อกู้เอกราชจึงทำให้เกิดมีประเทศเอกราชเกิดขึ้นอย่างมากมาย ทั้งประเทศที่ประสบภัยสงครามและประเทศที่พ้นจากอาณานิคมต่างก็ต้องมีการฟื้นฟูสร้างสรรค์ความเจริญกันขึ้น แต่ก็ต้องใช้เงินทุนในการดำเนินการมากมายจึงได้จัดตั้ง ธนาคารโลก (World Bank) หรือเรียกชื่อเป็นทางการว่า ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank For Reconstruction and Development : IBRD) เพื่อให้การช่วยเหลือด้านการเงินในการบูรณะปฏิสังขรณ์(Reconstruction ) แก่ประเทศที่ประสบความบอบช้ำจากภัยสงคราม และให้เงินสำหรับการพัฒนา(Development ) แก่ประเทศพึ่งได้รับเอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคม ได้มีการใช้ปัจจัยความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีจัดแบ่งประเทศในโลกออกเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว(Developed Countries)หรือประเทศอุตสาหกรรม (Industrial Countries) เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วจะมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ(Economic Development) และประเทศด้อยพัฒนา(Underdeveloped Countries) หรือประเทศ กำลังพัฒนา(Developing Countries)โดยจะเอาปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นตัววัดความเจริญ จึงทำให้ประเทศต่างๆที่ต้องการเป็นประเทศพัฒนาแล้วต่างก็มุ่งพัฒนาให้ประเทศของตนเป็นประเทศอุตสาหกรรมจึงทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติถูกทำลาย ปี ค.ศ.1960 - 1970 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศกำหนดให้ทศวรรษแห่งการพัฒนา(Development Decade)เพื่อเร่งแก้ไขปัญหา 3 อย่าง คือ จน(Poverty) , โง่ (Ignorance) และเจ็บ(Disease) เพราะจนเพราะขาดปัจจัยในการดำรงชีพจึงโง่เพราะขาดการศึกษาและเจ็บไข้ได้ป่วยเพื่อเป็นการลดช่องว่างมาตรฐานการครองชีพของประเทศด้อยพัฒนากับประเทศพัฒนาในการมุ่งแข่งขันการพัฒนาที่จะเป็นประเทศอุตสาหกรรมซึ่งทำให้เกิดปัญญหาต่างๆตามมาเช่น ปัญหาสังคม ปัญหาโรคจิตและที่สำคัญก็คือปัญหาสภาพแวดล้อม เป็นปัญหาที่สำคัญไปทั่วโลกทำให้ต้องคิดหาแนวทางการพัฒนาใหม่ คือการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development) - 2 - ประเทศไทยเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนา ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาในทศวรรษแห่งการพัฒนาของสหประชาชาติคือ ปี ค.ศ.1960 - 1970 โดยเกี่ยวโยงกับธนาคารโลกเพราะประเทศไทยได้ขอกู้ยืมเงินจากธนาคารโลกเพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก่อนนั้นประเทศไทยก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆแต่จะไม่ได้ทำไว้เป็นแบบแผนการพัฒนา จะใช้คำว่า "ทำนุ บำรุงหรือ ทะนุ บำรุง" ประเทศไทยได้นำคำว่า "พัฒนา" มาใช้ครั้งแรก เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้เสนอ "โครงการพัฒนาท้องถิ่น" ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติให้เป็นโครงการชาติในวันที่ 25 กรกฎาคม 2496 และถูกนำมารวมเข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2503 ในปี พ.ศ.2493 ประเทศไทยได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการปรับตัวครั้งใหญ่ที่จะพัฒนาเจริญกิจแต่ยังไม่ใช้ว่า "พัฒนา" แต่ใช้คำว่า "สภาเศรษฐกิจ" การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มในปี พ.ศ.2500 เมื่อรัฐบาลได้แถลงนโยบาย "…พัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจให้ถึงมือประชาชนทั่วถึง" ธนาคารโลกหรือ World Bank ได้ส่งคณะสำรวจเศรษฐกิจไทยใช้เวลาในการดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่ เดือน กรกฎาคม 2500 ถึง เดือนมิถุนายน 2501 ตามคำร้องขอของรัฐบาลไทย โดยได้เสนอรายงาน "โครงการพัฒนาการสำหรับรัฐบาลไทย"(A Public Development Program for Thailand) และในปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ตรา พระราชบัญญัติ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งจะมีความคำว่า "พัฒนาการ" ซึ่งจะมีปรากฎอยู่ในชื่อของ ธนาคารโลก ที่นิยมเรียกว่า "สภาพัฒน์" ในปัจจุบันและในปี 2504สภาพัฒน์ก็ได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ( 2504 - 2509) ซึ่งถือว่าเป็นผลงานชิ่นแรกของ สภาพัฒน์ และในปีเดียวกันนี้ ธนาคารโลกหรือ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (IBRD) และองค์การพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) ก็ได้เข้ามาตั้งสำนักงานในประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยก็ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2504 นับแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับ 1 ประเทศไทยก็ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆของประเทศ น้ำไหล ไฟฟ้าสว่าง ทางดี มีเงินใช้ จนรัฐบาลในสมัยนั้นได้แถลงอย่างมั่นใจว่า " การปฏิวัติครั้งนี้จะได้ผลสำเร็จหรือล้มเหลวก็อยู่ที่เรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจนี่เอง…การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหัวใจของการพัฒนาทั้งหมด" มีคำขวัญว่า " งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" และ "ศึกษาดี มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์" นี่คือชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจของประเทศในสมัยนั้น รัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขึ้นมาหลายหน่วยงาน เช่น ในปี พ.ศ. 2505 จัดตั้งกรมพัฒนาชุมชน ปี พ.ศ.2506 จัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ปี พ.ศ.2507 จัดตั้งสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทและยังได้จัดตั้งสถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)ในปี - 3 - 2509 ซึ่งเป็นองค์กรทางการศึกษา เป็นต้นนี่คือการพัฒนาของไทยในการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับ 1 สิ้นสุดการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับ 1 ก็เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 2 (2510 - 2514 ) จะสังเกตเห็นคำว่า "และสังคม" ซึ่งจะเริ่มเข้ามาใช้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ก็เพื่อการพัฒนาที่ ยั่งยืน(Sustainable Development) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมที่ดีงาม จึงได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อพระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ มาเป็นคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปี 2515 สาเหตุที่ต้องมีแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development) การพัฒนาที่ผ่านมาในประเทศที่เจริญแล้วล้มเหลว ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายเช่นปัญหาจิตใจเสื่อมทราม ปัญหาสังคม นิยมวัตถุ และที่ร้ายแรงคือปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเลวร้ายจนถึงขั้นอาจจะต้องทำให้โลกต้องพินาศถ้าไม่ได้รับการแก้ให้ทันถ่วงที่จึงทำให้ทั่วโลกตื่นตัวคิดหาแนวคิดการพัฒนาใหม่ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอและปัญหาระบบการถ่ายของเสียใส่โลกหรือปัญหามลภาวะ ซึ่งมีมนุษย์เป็นตัวกระทำที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน (Undersustainable Development) ดังจะเห็นได้จากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริการที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจพัฒนาอุตสาหกรรม จนเกิดปัญหาสังคม ปัญหาจิตใจต่างๆมากมายโดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อมในขณะนี้สหรัฐอเมริการมีปัญหาเรื่องที่ทิ้งขยะมูลฝอยเป็นอย่างมากต้องนำขยะใส่เรือเดิานสมุทรขนาดใหญ่แล้วเที่ยวหาทิ้งขยะไปทั่วโลก จึงจำเป็นที่จะต้องคิดหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี พ.ศ.2515 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมที่กรุงสตอกโฮล์ม( Stoc holm) ชื่อว่าการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสภาพแวดล้อมของมนุษย์ (United Nation Conference on the Human Environment)และอีก 3 ปีต่อมาก็จัดการประชุมที่กรุง ริโอ เดอ จาเนโร(Rio de janeio) การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UN Conference on Environment and Development) สิ้นสุดการประชุมได้ลงนามในสนธิสัญญว่าด้วยการป้องกันแก้ไขปัญหาอุณหภูมิผิวโลกสูงขึ้น(Global warming) และว่าด้วยการอนุรักษ์สภาพหลากหลายทางชีวภาพของโลก (Biological diversity)มีมติให้ออกประกาศหลักการแห่งสิ่งแวดล้อม และร่างแผนปฏิบัติการสำหรับทศวรรษ 1991 - 1999 และศตวรรษ 21เพื่อดำเนินการให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จากการเคลื่อนไหวของประเทศต่างๆ และองค์การสหประชาชาติจึงก่อให้เกิดกระแสการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 กระแสคือ - 4 - 1.ในปี พ.ศ. 2526 องค์การสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและพัฒนา (World Commission on Environment and Development) คณะกรรมาธิการฯได้ประชุมครั้งเมื่อ เดือน ตุลาคม 2527 และมีการพิมพ์รายงานออกมาจัดทำเป็นหนังสือชื่อ Our common future ในปี 2530 ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มของคำว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน" (Sustainable Development) 2.องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมของสหประชาติ (UNESCO)โดยอนุมัติาของสมัชชาใหญ่ประกาศให้ พ.ศ.2531 - 2540 เป็นทศวรรษโลกเพื่อการพัฒนาเชิงวัฒนธรรม(World Decade for Cultural Development) เนื่องจากการพัฒนาที่ผ่านมาผิดพลาดจึงต้องหาแนวคิด แนวทางใหม่ในการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ความหมายของคำว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืน" (Sustainable Development)มีคำอยู่ 2 คู่คือ มาจาก World Commission on Environment and Development ที่ได้เขียนไว้ในรายงาน Our common future เป้าหมายได้เน้นไปที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจเหมือนเดิมแต่มีการนำเอาสิ่งแวดล้อมเข้าเป็นตัวควบคุมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีคำว่า "การพัฒนา" (Development)คู่กับ คำว่า "สิ่งแวดล้อม" (Environment) ต้องการการพัฒนาหรือความเจริญทางเศรษฐกิจเติบโตนั้นอยู่ในภาวะที่สิ่งแวดล้อมรองรับได้ หรือจะพูดว่า "เจริญไปโดยไม่รังแกธรรมชาติ" และจะมีคำอีกคู่หนึ่งคือ "เศรษฐกิจ"(Economy) กับ "นิเวศวิทยา"(Ecology) ที่จะเป็นแนวการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) การพัฒนาทางเศรษฐกิจและมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวควบคุมจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนจริงหรือไม่ World Commission on Environment and Development ได้ให้คำจำกัดความคำว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ว่า "Sustainable Development is development that meets the needs of the present without compromising the ability of future generation to meet their own needs" แปลว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาที่สนองความต้องการของ ปัจจุบันโดยไม่ต้องทำให้ประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถของเขาในการที่จะสนองความต้องการของเขาเอง" หนังสือ Global Ecology handbook ให้ความหมายว่า"การพัฒนาที่ยั่งยืน คือนโยบายที่สนองความต้องการของประชาชนในปัจจุบันโดยไม่ต้องทำลายทรัพยากรซึ่งจะเป็นที่ต้องการในอนาคต" และหนังสือเล่มนี้ยังมีคำว่า "สังคมที่ยั่งยืน"(Sustainable Society) ซึ่งมีความหมายว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนก็คือการทำให้สังคมยั่งยืนนั่นเอง สังคมที่ยั่งยืนคือ(Sustainable Society) คือ "สังคมที่สนองความต้องการของตนได้โดยไม่ทำให้สัตว์จำพวกอื่นและประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความต้องการของเขา" - 5 - ลักษณะการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องเป็นการพัฒนาที่เป็นบูรณาการ(Integrated)คือทำให้เกิดเป็นองค์รวม(Holistic)หมายความว่าองค์ประกอบทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกันต้องมาประสานกันครบองค์อย่างสมดุล(Balance) การพัฒนาที่ผ่านมาผิดพลาดไม่ยั่งยืนก็เพราะเหตุผล 2 ประการคือ ความผิดพลาดในการพัฒนา (Failure of development)และความผิดพลาดในการจัดการสิ่งแวดล้อม(Failure in the management of our Environment) การแก้ไขปัญหาก็ต้องมุ่งไปที่ 3 ส่วนของปัญหา 1.ปัญหาประชากร (Population) โดยเฉพาะปัญหาประชากรที่มากจะล้นโลก(Over population) จะต้องมีการควบคุมจำนวนประชากร 2.ปัญหาทรัพยากรร่อยหรอ(Depletion)จะต้องหยุดยั้งการทำลายทรัพยากร และฟื้นฟูให้กลับอุดมสมบูรณ์ขึ้นมา 3.ปัญหามลภาวะ(Pollution) จะต้องแก้ไขให้ลดน้อยลงและหมดไป ปัจจัยที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาคือ 1.วิทยาศาสตร์ ต้องใช้วิทยาศาสตร์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา 2.เทคโนโลยี ต้องผลิตเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแต่ให้เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม 3.กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การผลิตและการบริโภคต้องเป็นไปในทิศทางที่ไม่ทำลายธรรมชาติ มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง และยังมีปัจจัยอื่นๆโดยเฉพาะปัจจัยในทางการเมือง นโยบายของรัฐ การออกกฎหมาย การเก็บภาษี และงบประมาณ เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในปัจจุบันซึ่งถือว่าเป็นสังคมบริโภคนั้นคงจะต้องมีจริยธรรม(Ethics)เข้ามาเป็นองค์ประกอบในการช่วยแก้ไขปัญหา ที่เรียกว่าจริยธรรมกับสภาพแวดล้อม (Environment Ethics) ทุกประเทศทั่วโลกจะต้องมีจริยธรรมมีความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหา ปัญหาในการแก้ไขปัญหาทางจริยธรรมก็คือ 1.ตัณหา ความอยากได้อยากบำเรอความสุขความสบายของตนเองหรืออยากได้ผลประโยชน์ 2.มานะ ความต้องการยิ่งใหญ่อยากมีอำนาจครอบงำคนอื่น 3.ทิฏฐิ ความยึดมั่นเชื่อมั่นคลั่งไคล้ในค่านิยม แนวความคิดลัทธิอุดมการณ์ การจะทำให้คนมีจริยธรรมจะต้องพัฒนาคนควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ พุทธศาสนามองว่ามนุษย์สามารถสอนให้ดีได้ อย่างน้อยก็ต้องทำให้ได้ตามวิธีการแก้ไขปัญหาของ นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม(Environmentalist) คือ 1.Population policy คือการควบคุมประชากรการพัฒนาคุณภาพประชากร 2.Conservation การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในยุคสังคมบริโภคต้องเน้น - Recycling (การหมุนเวียนใช้) - 6 - - Renewable resources (ทรัพยากรที่ฟื้นตััวใหม่ได้) จะพัฒนาให้ยั่งยืนต้องมีการปฏิวัติ การปฏิวัติในโลกนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วจำนวน 3 ครั้งคือครั้งแรกเมื่อ 10,000 ปีมาแล้วที่มีการปฏิวัติสังคมเกษตรกรรม(Agricultural Revolution) ครั้งที่ 2 เมื่อ 250 ปีที่ผ่านมาคือการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) และขณะนี้โลกเรามาถึงวาระที่จะต้องทำการปฏิวัติครั้งที่ 3 แล้วปัญหาว่าเราจะทำได้หรือไม่ ในการปฏิวัติครั้งนี้ ตำราบางเล่มก็เรียกว่า การปฏิวัติเพื่อความอยู่ได้ยั่งยืน(Sustainable Revolution)เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) บางครั้งเรียกง่ายๆว่าการปฏิวัติทางสภาพแวดล้อม (Environment Revolution) ซึ่งก็จะก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปโดยใช้หลักความมีจริยธรรมเข้าเป็นปัจจัยร่วมในการแก้ไขปัญหา ภาค 2 ต้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน -------------------------------------------------------------------- ปัญหาในการพัฒนาที่ผิดพลาดนั้นไม่ใช่แต่เพียงทางรูปธรรมเท่านั้นแต่อยังมีความผิดพลาดในทางนามธรรมด้วย ในเรื่องภูมิธรรมภูมิปัญญา เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกามีได้มีการเรียกร้องถึงการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาขั้นสูง ในปี ค.ศ.1986 นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ดได้เรียกร้องให้ยกเลิกการสอนวิชา Western culture แล้วเปลี่ยนเอาวิชาที่เน้นส่วนร่วมสร้างสรรค์ของวัฒนธรรมทั้งหลาย 2 ปีต่อมาก็ได้นำเอาวิชา "Cultures ideas and values (CIV)" เข้ามาสอนแทน วัฒนธรรมตะวันตกมุ่งที่จะเอาชนะสัตว์เอาชนะธรรมชาติเอาชนะเพื่อนร่วมโลกเพื่อความอยู่รอดสุขสบายของตนทำให้เกิดการพัฒนาที่มุ่งจะเอาชนะอย่างเดียวโดยไม่ทันที่จะคิดป้องกันรักษาซึ่งนำไปสู่จุดเสื่อมถอย ความพัฒนาของโลกคือการชนะของมนุษย์ แต่ที่ผ่านมามนุษย์ไม่เคยชนะเลยสักครั้งหนึ่ง อาจจะพูดว่า "มนุษย์ยังไม่ทันชนะ โลกก็หายนะเสียก่อน" แต่วัฒนธรรมตะวันตกก็มีข้อดีอยู่บ้างที่สอนให้คนมีความกระตือรือร้น เข้มแข็งเพื่อที่จะเอาชนะไม่หยุดยั่ง ไม่เชื่อยชา ก็เป็นการทำให้ไม่ประมาท และจากการแข่งขันกันอย่างรุนแรงก็สะท้อนให้เห็นการพัฒนา กฎ ระเบียบ ที่จะอยู่ร่วมกันไม่ละเมิดต่อกันขึ้นมาเพื่อให้โลกอยู่อย่างสันติมากมาย เช่นเรื่อง สิทธิมนุษยชนก็มาจากตะวันตก ความสำนึกผิดต่อการพัฒนาของตะวันตกมีอยู่ 2 ประการ คือสำนึกผิดในระดับการปฏิบัติที่ทำให้หาทางเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาใหม่ และ สำนึกผิดในระดับภูมิปัญญาหรือรากฐานทางความคิดที่ทำให้เห็นทิฏฐิหรือหาภูมิปัญญาใหม่ และถือเป็นการปฏิวัติครั้งที่ 3 (Third Revolution) พุทธศาสนาได้มองเป็น 4 ด้านในการพัฒนาที่ยั่งยืน - 7 - 1.สิ่งทั้งหลายในโลกนี้เป็นไปโดยธรรมชาติ 2.การกระทำทุกอย่างเป็นไปตามระบบของมูลเหตุแห่งปัจจัย 3. มนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถพัฒนาได้จนประเสริฐเข้าถึงอิสระภาพและความเป็นจริง 4.ศักยภาพในการพัฒนาคือการทำให้มนุษย์ที่มีความแตกต่างขัดแย้งกลายเป็นความประสานเสริมเติมเต็มกลมกลื่นซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาตามธรรมชาติ เปรียบเทียบแนวคิดตะวันตกกับพุทธศาสนาในการพัฒนา แนวคิดตะวันตก แนวคิดทางพุทธศาสนา 1.แง่ศักยภาพ มนุษย์สามารถพัฒนาเทคโนโลยีมาพิชิตและจัดการกับธรรมชาติได้คือมุ่งการครอบงำ 1.แง่ศักยภาพ การพัฒนามนุษย์จะประสานกลมกลื่นกับธรรมชาติ 2.ความหมายของอิสระภาพ มุ่งที่จะจัดการและอยู่เหนือธรรมชาติ 3.ความสุข คือการดึงเอาธรรมชาติมาบำรุงบำเรอตนเองหรือวัตถุนิยม 4.ภาวะของมนุษย์ มองคนเป็นแบบเดียวกันหมดความสุขของมนุษย์คือการมีวัตถุบำรุงบำเรอแล้วก็สุข จะไม่มองความแตกต่างในแง่ของการพัฒนาของมนุษย์ 5.ความสัมพันธ์หรือฐานะเชิงปฏิบัติการมนุษย์มีฐานะเป็นผู้กระทำต่อสิ่งแวดล้อมหรือต่อธรรมชาติโดยการครอบงำครอบครอง พิชิต จัดสรร 2.แง่ของอิสระภาพ การอยู่ดีมีสุขได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากธรรมชาติ อิสระภาพวัตถุไม่สามารถมากำหนดได้ 3.ในแง่ความสุข คือความสุขที่จะปราศจากวัตถุแวดล้อมภายนอกสุขได้ด้วยตัวเอง 4.ภาวะของมนุษย์ มีความแตกต่างกัน ในระดับของการพัฒนามนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนได้ 5.ความพันธ์หรือฐานะเชิงปฏิบัติการ มนุษย์มีฐานะเป็นผู้อยู่ร่วมกับส่งแวดล้อมในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมให้เกื้อกูลกับธรรมชาติ แนวคิดแบบตะวันตกก็จะมาติดตันต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)ตรงที่ ความประนีประนอม (Compromise) กัน แนวคิดแบบพุทธศาสนา คือข้างในมีสุขเป็นอิสระภาพจากข้างนอกอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันไปกับคนอื่นได้และเป็นธรรมชาติ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ที่ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศไว้มีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ เศรษฐกิจและนิเวศวิทยา (Economy and Ecology) จึงต้องประสานกลมกลื่นกัน เกื้อกูลกันและเป็นบูรณาการ(Integration)กันเข้าเป็นองค์รวม (Holistic)ที่สมดุล(Balance)กัน และพระธรรมปิฎก ท่านได้เสนอศัพท์ตัวที่ 3 เข้ามาเป็นแกนกลางในการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ต้องขัดแย้งกัน และไม่ต้องใช้วิธีการประนีประนอม(Compromise) คือเติม "ศักยภาพของมนุษย์ที่จะมีการพัฒนา" (Evolvability) ความต้องการทางเศรษฐกิจ (Economy Demand )ก็จะไปสมดุลกลมกลื่นกันได้กับนิเวศวิทยา (Ecology )ไม่รังแกนิเวศวิทย์ - 8 - พุทธศาสนาสอนให้เดินทางสายกลางในการพัฒนาคือ มัชฌิมาปทา แต่หลักทางเศรษฐศาสตร์มองว่าความต้องการของมนุษย์ไม่รู้จักพอ หรือที่เรียกว่า นตถิ ตณหาสมา นที แม่น้ำเสมอด้วยปัญหาไม่มี หมายความว่า ความต้องการของมนุษย์นั้นไม่รู้จักเต็ม 1.เศรษฐศาสตร์จะมองว่า มนุษย์เหมือนกันมีความต้องการไม่รู้จ้กพอ แต่พุทธศาสนามองว่าความต้องการของมนุษย์เป็นสภาพสัมพัทธ์ มนุษย์สามารถพัฒนาการอยู่ด้วยตัญหาไปสู่การการเป็นอยู่ด้วยปัญญา 2. เศรษฐศาสตร์มองมนุษย์มีความต้องการแบบเดียวกันแม้จะพูดถึงความต้องการ(Want) และอุปสงค์(Demand)ว่าต่างกันและโยงไปถึงความต้องการที่จำเป็น(Needs)และความอยาก(Desire) แต่ก็แตกต่างกันเพียงเงื่อนไขแต่ไม่ได้ต่างกันโดยประเภท แต่พุทธศาสนาแบ่งความต้องการออกเป็น 2 แบบ คือ แบบตัณหา กับแบบฉันทะ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัญหาสำคัญที่ทำให้การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนจะมีปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกระทำคือมนุษย์ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาคนเพราะคนถือว่าเป็นแกนกลางในการพัฒนาที่สำคัญ การพัฒนาจะยั่งยืนหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนดังนั้นจะต้องหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาคน เมื่อคนดีแล้ว คนนั้นก็รักษาธรรมชาติแวดล้อมได้ แสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ พัฒนาทางเศรษฐกิจในทางที่ไม่ให้มีผลลบ การพัฒนามนุษย์(Human Development)คือการภาวนา (wisdom) กับศีล (Ethics) มาประสานกันโดยมีจิตใจ (Mental qualities) เป็นตัวเชื่อม รวม 3 ด้านนี้เข้าด้วยกันเป็นจริยธรรม นี่คือแดนภาวนา สรุปการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development) ก็คือการนำเอาปัจจัยการพัฒนาทั้ง 3 ด้านมารวมเข้าด้วยกันคือ คือแวดสิ่งล้อม(Environment) การพัฒนา(Development) และการพัฒนา มนุษย์(Human Development) มาบูรณาการ(Integration)กันเข้าเป็นองค์รวม (Holistic)ที่สมดุล(Balance) ก็จะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปคือ 1. คือแวดสิ่งล้อม(Environment) ซึ่งปัจจัยปัญหาสำคัญ ได้แก่ 1.1ปัญหาประชากร (Population) 1.2 ปัญหาทรัพยากรร่อยหรอ(Depletion) หรือของดีของโลกถูกใช้ไปหมด 1.3 ปัญหาเรื่องมลภาวะ(Pollution) หรือการระบายของเสียใส่ให้แก่โลก 2. การพัฒนา(Development) ซึ่งหมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจ(Economic Development) มีปัจจัยดังนี้ 2.1 วิทยาศาสตร์ 2.2 เทคโนโลยี 2.3 พฤติกรรมเศรษฐกิจ ในการผลิต ในการบริโภค และในการแจกจ่ายรายได้เป็นต้น - 9 - 3. การพัฒนา มนุษย์(Human Development) คือการพัฒนามนุษย์(ภาวนา) ซึ่งมีการพัฒนา 3 ด้าน คือ 3.1 ด้านพฤติกรรมและวิธีใช้ชีวิต ตลอดจนการทำมาหาเลี้ยงชีพ และวิธีการปฏิบัติในการผลิตเสพบริโภคแบ่งปันและอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม 3.2 จิตใจ ได้คุณธรรม ความรู้สึก แรงจูงใจ และสภาพจิตใจ เช่น ความสุข ความพอใจ ความสดชื่นบาน 3.3 ปัญญา หรือปรีชาญาณ ความรู้เข้าใจเหตุผล การเข้าถึงความจริง รวมทั้งความเชื่อถือ ทัศนคติ ค่านิยมและแนวความคิดต่างๆ และนอกจากปัจจัยต่างๆทั้ง 3 ด้านข้างต้นแล้วก็จะต้องมีปัจจัยแวดล้อมๆอื่นๆอีกที่จะต้องได้รับการพัฒนาที่ควบคู่กันไป เช่นต้องการพัฒนาการเมือง การพัฒนาวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป……
นาย พนมไพร ปารมี รหัส 4322800629 สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติอำนาจเจริญ เรื่อง สรุปคำบรรยายของอาจารย์ วิษณุ พูลสุข (รองเลขาธิการสภาพัฒน์) วิชา แนวความคิดและนโยบายในการพัฒนาประเทศไทยวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2544 ภาคบ่าย เสนอ อาจารย์ รศ.ดร.สุรพล ราชภัณฑารักษ์

- นโยบายสาธารณะ(Public Policy)หมายถึงกิจกรรมที่รัฐบาลได้กำหนดขึ้นหรือเป็นแผนงาน โครงการ หรือแนวทางที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของราชการได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และในด้านอื่นๆ เพื่อความมั่งคั่งอยู่ดีกินดี ดังนั้นนโยบายสาธารณะจะสมบูรณ์ได้จะต้องสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ - ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะของไทย นั้นมีหลายประการเช่น ปัจจัยที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมือง ,ปัจจัยทางเศรษฐกิจ,ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ - องค์กรที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบายสาธารณะ มีทั้งองค์กรที่เป็นทางการเช่น รัฐสภา ,คณะรัฐมนตรี, ตุลาการ และ กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น และองค์กรที่ไม่เป็นทางการ เช่น พรรคการเมือง,กลุ่มผลประโยชน์, และหน่วยราชการอื่นๆ ซึ่งอาจไม่มีอำนาจโดยตรงในการกำหนดนโยบาย แต่เรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดนโยบายใดได้เช่น สนง.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นต้น และ สื่อสารมวลชน - การกำหนดานโยบายและการวางแผนจะต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคด้านวิชาการและความเชื่อมโยงกับกระบวนการต่างๆให้สัมฤทธิ์ผล และผู้กำหนดนโยบายจะต้องสวมบทบาทเป็นทั้งนักการเมืองและนักวางแผนไปพร้อมๆกันเพื่อการวางแผนที่สอดคล้องกับความเป็นจริงสามารถนำไปปฏิบัติได้ ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2504 ซึ่งถือว่าเป็นยุคการเริ่มต้นในการพัฒนาที่แท้จริงจนปัจจุบันมีแผนพัฒนาฯมาแล้วถึง 8 ฉบับและกำลังอยู่ในช่วงของการจัดทำแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี พ.ศ.2545-2549 - แนวคิดนโยบายในการพัฒนาประเทศแบ่งออกเป็็น 2 ช่วงคือช่วงก่อนสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ซึ่งประเทศในตะวันตกจะไม่มีการวางแผนพัฒนาแต่จะยึดระบบตลาดเสรีและปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยถือว่าการมีแผนพัฒนาเป็นการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากประเทศต่างๆได้ความเสียหายจากภัยสงคราม สหรัฐอเมริกา ได้จัดทำแผนการมาร์แชล เพื่อเป็นการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของยุโรป และประสบผลสำเร็จจึงพยายามปรับแผนนี้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่ได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมทั้งหลายและประเทศไทยก็เริ่มวางแผนพัฒนาประเทศในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน - ระบบเศรษฐกิจในโลกนี้จะมีอยู่ 2ระบบใหญ่คือ ระบบทุนนิยมจะเป็นระบบที่เปิดเสรีทุกอย่าง ถือว่าเป็นทุนนิยมจัด และ ระบบสังคมนิยมก็จะแบ่งเป็นสังคมนิยมธรรมดาและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ส่วนระบบเศรษฐกิจของไทยนั้นจะเป็นระบบผสมที่ค่อนข้างเอียงไปทางทุนนิยม หรืออาจจะเรียกว่าระบบทุนนิยมใหม่ - วิวัฒนาการแนวคิดของการวางแผนเริ่มมีแผนนพัฒนามารองรับการพัฒนาประเทศในปี พ.ศ.2504 คือการเริ่มใช้แผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 ที่เน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเป็นหลัก " น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้" ซึ่งก็มีการขยายทางภาคเศรษฐกิจอย่างมากทำให้ รายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 2 ก็คำว่า และสังคม เพิ่มเข้ามา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้มาจนถึงปัจจุบันเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคุมคู่กับการพัฒนาสังคม ผลจากการพัฒนาฯฉบับที่ 1-7ก็มีคำกล่าวว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน" ดังนั้นในแผนพัฒนาฉบับที่ 8 จึงมุ่งเน้นใช้คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ว่า "ชาติสร้างคน คนสร้าง" คนพัฒนาคนให้ดีทุกอย่างก็ย่อมดีไปด้วย - แนวคิดของการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสัังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนายึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) คือการพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งการพัฒนาคม พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development).. BACK PS704
Hosted by www.Geocities.ws

1 1