นายพนมไพร ปารมี

จงให้ทัศนวิจารณ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษใหม่ที่กล่าวว่า “ ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยนำหน้าและเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา”

คำกล่าวที่ว่า “ ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยนำหน้าและเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา” นั้นเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง เพราะว่า “ทรัพยากรมนุษย์” ถือว่ามีความสำคัญ เป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดความสำเร็จหรือความล้มเหลวในองค์กรได้ ท่ามกลางกระแส โลกาภิวัตน์หรือโลกไร้พรมแดน วิสัยทัศน์ที่พึงมีต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีลักษณะ กว้าง ลึก และ ไกล กล่าวคือ กว้าง จะต้องมีมุมมองในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ครอบคลุมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่วัยเด็กเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในอนาคต ในวัยทำงานก็ต้องมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานพร้อมทั้งต้องสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน ลึก จะต้องมีมุมมองที่รู้สามารถเข้าใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่องานและต่อคน เพื่อความสามารถในการปรับตัว และจะต้องดูว่าจะจัดการอย่างไรให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปได้ เช่นการจะทำอย่างไรให้คนสนใจใฝ่รู้หรือมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life Long Learning) ซึ่งเป็นเสมือวงล้อของการเรียนรู้(Wheel of Learning) ที่จะต้องหมุนไปตลอดเวลา และ ไกล คือต้องเป็นมุนมองเพื่อที่จะคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดข้นใจอนาคตว่าจะมีผลกระทบต่อองค์กรและคนอย่างไร ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะในด้าน จริยธรรม ต้องระวังอย่าให้ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุเข้ามาทำลายคุณภาพของคน ถึงแม้ว่ามนุษย์จะมีศักยภาพไม่สิ้นสุด แต่ถ้าความเจริญทางวัตถุเข้ามาครอบงำจริญธรรมและจรรยาบรรณก็จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ล้มเหลวได้ ในอดีตที่ผ่านมาการพัฒนาองค์การก็จะเน้นไปที่หลักการบริหารที่ทำให้องค์การสามารถบรรลุผลสำเร็จขององค์การเพิ่มผลผลิต เช่นปัจจัยในการบริหารที่สำคัญคือ 3M’ s ซึ่งประกอบไปด้วย คน(man) เงิน(money)และวัตถุดิบ(materials) ซึ่งมองเห็นคนเป็นเพียงปัจจัยในการบริหารอย่างหนึ่งเท่านั้นโดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพจิตใจ หรือ ขวัญและกำลังใจในการทำงานของ มนุษย์แต่อย่างใดโดยมุ่งเน้นเพียงให้งานขององค์การบรรลุผลสำเร็จก็เพียงพอแล้ว ดังนั้นในปัจจุบันได้มีการค้นพบว่า มนุษย์เป็นทรัพยากรสุดท้ายของการพัฒนา มนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรกลถ้าได้รับการพัฒนาที่ถูกต้องมนุษย์จะเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยสุดท้ายของการพัฒนาและเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resource Development) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งเน้นที่จะกระตุ้นสร้างเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติ อุปนิสัยตลอดจนวิธีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งทางด้านความรู้ ความสามารถ ขวัญกำลังใจตลอดจน สุขภาพพลานามัย เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์มีคุณสมบัติที่สอดคล้องการเหตุการโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นแนวโน้มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษใหม่จะเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนเข้าสู่ตลาดแรงงานจนเสร็จสิ้นภาระในการรับผิดชอบ คือต้องปรับปรุงความรู้ความสามารถของคนตั้งแต่เกิด และต้องพัฒนาต่อไปตลอดชีวิตของมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องกระทำไปอย่างต่อเนื่อง เป็นการยั่งยืน โดยการมองไปว่า “ถ้าคนดีทุกอย่างก็จะดีไปด้วย” เช่นกรณีของประเทศไทยที่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับแรกปี พ.ศ. 2503 จนถึงฉบับที่ 7 ปี พ.ศ.2539 ก็พบว่า “เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน” เพราะได้มุ่งเน้นการพัฒนาไปที่โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เน้นพัฒนาวัตถุนิยม การบริโภคนิยม จึงเกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย ดังนั้น การพัฒนาประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันภายใต้ มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับแผนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยข้อคิดว่า “ชาติสร้างคน คนสร้างชาติ” และในปี 2545 จะเป็นปีที่เริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จนถึง ปี 2549 ซึ่งปรัชญาหลักของการพัฒนาก็คือการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ต่อเนื่องจากแผนฯฉบับที่ 8 นั่นก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า “ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยนำหน้าและเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา” ในทศวรรษใหม่

อย่างในอดตีที่ผ่านมานั้น การบริหารจัดการในองค์กรทฤษฎีองค์การเริ่มตั้งแต่กลุ่มดั้งเดิมหรือกลุ่มคลาสสิกก็จะมุ้งเน้นที่จะพยายามนำเสนอหลักเกณฑ์ที่ดีในการทำงาน การจัดการองค์การและการบริหารเพื่อให้มีผลงานที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัด และมีระบบระเบียบมากที่สุด โดยไม่ได้มองไปที่คนว่ามีความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่หรือไม่ ทำให้ถูกมองว่าเป็นองค์การที่ปราศจากคน หรือ Organization without People Approach ซึ่งไม่คำนึงถึงจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน แต่ให้ความสำคัญเฉพาะกฎเกณฑ์และหลักการในการทำงานเท่านั้น เช่นแนวคิดของ เทเลอร์ บอกว่าคนจะทำงานได้มากขึ้นถ้าจูงใจด้วยการให้เงินเป็นการตอบแทน หรือที่ เวเบอร์ ว่าในองค์การจะต้องมีการแยกเรื่องส่วนตัวออกจากงานและต้องมีความสัมพันธ์ที่เป็นทางการ ซึ่งเป็นหลักการที่สวนทางกับพฤติกรรมจริงของมนุษย์ พอมาถึงกลุ่มนีโอคลาสสิก ทฤษฎีกลุ่มนี้ก็ให้ความสนใจกับคนในองค์การอย่างจริงจัง โดยฟอลเลตนั้นเป็นคนแรกที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยในตัวมนุษย์ว่ามีความสำคัญกับการบริหารงานในองค์การ และก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทางด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation Movement) ขึ้นมาอย่างจริงจัง จนมาถึงทฤษฎีองค์กรยุคใหม่ที่มองว่าการบริหารงานในองค์การจำเป็นจะต้องใช้ทั้งหลักเกณฑ์ในการบริหารขณะเดียวกันก็ต้องคำนึงถึงจิตใจของคนในองค์การด้วย โดยเฉพาะทฤษฎีทรัพยากรมนุษย์(Human Resource Theory) ที่มองว่ามนุษย์มีความสำคัญในการบริหารงานในองค์การ มนุษย์คือเป้าหมายสุดท้ายใหม่ในการพัฒนา ดังเช่นเหตุผลที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าที่ผ่านมาประเทศไทยมุ่งเน้นการพัฒนาในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ มุ่งแต่จะสร้างความร่ำรวยโดยไม่ได้คำนึงถึงการพัฒนาคน เศรษฐกิจประเทศไทยจึงได้ดับถอนเพราะเป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นไปด้านเดียว ดังนั้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 8 และ 9 จึงยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ถ้าคนดีทุกอย่างก็จะดีตามไปด้วย

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทศวรรษใหม่จะต้องมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทิ่เริ่มตั้งแต่เกิดจนก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงานและจนเสร็จสิ้นควาารับผิดชอบ จะต้องมีการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เน้นในการพัฒนา จิตใจ จิตสำนึก เน้นการพัฒนาจริยธรรม และคุณธรรมควบคู่กันไปปลูกฝังตั้งแต่เกิดจากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา มาจนถึงองค์การที่เข้าไปทำงาน และเผื่อแผ่สู่สังคมและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ การพัฒนาทรัพยากรในทศวรรษใหม่จะต้องมีวิสัยทัศน์ที่ กว้าง ลึก ไกล ตั้งเป้าหมายในการเจริญเติบโตในกระแสโลกาภิวัตน์ด้วยคุณภาพและความรับผิดชอบ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์การอย่างเหมาะสมและที่สำคัญปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์จะต้องเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย นั่นคือไม่ว่าองค์การจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มนุษย์ในองค์การจะต้องมีความสำคัญในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น…..

Hosted by www.Geocities.ws

1