แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติ

ถ้าข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำของประเทศไทย การที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติโดยเฉพาะปัญหาด้านเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงปัญหาต่างๆทาง ด้านสังคม วัฒนธรรมและปัญหาอื่นที่จะตามมา กับปัญหาเศรษฐกิจ ควรที่ผู้นำจะทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว

ภูมิหลังของวิกฤติการณ์เศรษฐกิจไทยโดยสังเขป

ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกระบบตะกร้าเงินตราต่างประเทศ (Basket of currency) และหันไปใช้นโยบายการลอยตัวค่าเงิน (A money float) ค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ได้ลดลงร้อยละ 15-20 และได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจขอภูมิภาคเอเชียทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มอาเซียน (ค่าเงินของประเทศไทยจะแข็งกว่าหลายประเทศเมือมูลค่าของเงินประเทศไทยลดลง ทำให้จำนวนเงินของประเทศเพื่อบ้านในระบบแลกเปลี่ยนได้รับผลกระทบ)ก่อนที่ประเทศไทยจะประกาศลอยตัวค่าเงินในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ประเทศไทย ได้เปิดเสรีทางการเงินในปี 2536 ซึ่งในขณะนั้น ใช้อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Pegged exchange system) ซึ่งทำให้ดอกเบี้ยในประเทศอยู่ใน อัตราสูงทำให้ดึงดูดเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ ในเวลาต่อมาเงินบาทมีค่าสูงกว่าความเป็นจริง (Overvalued) และที่สำคัญตะกร้าเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยประกอบด้วยเงินดอลล่าร์ สหรัฐอเมริกา สูงถึงร้อยละ 80 ส่งผลให้สภาพคล่องภายในประเทศมีสูงมาก ดอกเบี้ยเงินฝาก เงินกู้สูง (เกินความเป็นจริง) มีผู้กู้เอามาทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก ที่เป็นตัวเอก คือ ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้านจัดสรร การเติบโต ของเศรษฐกิจอยู่ในลักษณะของการใช้จ่ายเงินจากทุนที่ไหลเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมิได้เติบโตจากรายได้ การลงทุน ที่แท้จริง ซึ่งเรียกกันว่าเป็นการเติบโตแบบฟองสบู่ และเมื่อต่างชาติถอนเงินทุนกลับ เศรษฐกิจของประเทศไทย ก็ล้มลงอย่างหมดท่าและที่ปรากฏชัดมองเห็นได้คือ

* การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมหาศาล

- เกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ทำให้ไทยต้องหันไปกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากต่างประเทศ (จะได้อธิบายภายหลัง)

¯ หนี้ต่างประเทศจำนวนมหาศาล

- ประมาณการว่าหนี้ต่างประเทศในปี 2540 มีราว 99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

- หนี้ข้างต้นเป็นหนี้ภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นเปอร์เซ็นหนี้ภาคเอกชน 80 % ส่วนภาครัฐมี 20 %

จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสังเขปและแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในขณะนั้น

ก่อนที่เราจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (ตามที่อาจารย์แต่งตั้ง) รัฐบาลในขณะนั้น ได้ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF เพื่อฟื้นฟูประเทศ ซึ่งองค์การระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญอีก 2 องค์กรคือ องค์กรการค้าโลก(WTO) ธนาคารโลก (IBRD) ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องดำเนินการตาม ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น

1. การจัดทำงบประมาณประจำปี ไม่เกินดุล (ทำขาดดุล) เพื่อเป็นการไม่ให้รัฐบาลผลิตธนบัตรมาใช้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เงินเฟ้อ

2. การจัดทำงบประมาณต้องจัดตามความสำคัญก่อน-หลัง โดยไม่มีอิทธิพลของการเมืองเข้าแทรกแซง (เป็นการลดบทบาทของรัฐในการกำหนดนโยบาย)

3. ปฏิรูปการเก็บภาษีอากรให้มากขึ้น เช่น ภาษีที่ดิน, มรดกและให้ลดภาษี สินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค

4. ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด

5. ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด

6. ยกเลิกระบบ Quota ภาษีศุลกากร ที่ใช้ปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีเพราะได้แข่งขันกับสินค้าภายนอกเพื่อให้เกิดการพัฒนา

7. ให้ยกเลิกการกีดกันการลงทุนต่างประเทศ ให้สิทธิเท่าเทียมกัน

8. โอนกิจการของรัฐและรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์

9. ยกเลิกกฏหมายที่เป็นปฏิปักษ์กับการลงทุนจากต่างประเทศทุกประการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการแข่งขันอย่างเสรี

10. ปฏิรูปกฏหมายที่ถือครองที่ดินเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนพื้นฐานจะได้มีโอกาสเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่แพ้ทุนขนาดใหญ่

จากเงื่อนไขในจดหมายแสดงเจตจำนงค์ของ IMF ที่ทำกับรัฐบาลที่ปกครองในขณะนั้น สถานการณ์ของประเทศยิ่งทรุดหนัก เพราะเงื่อนไขดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อทุนต่างชาติในการเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศที่เข้ามามีส่วนร่วมที่สำคัญนอกจาก IMF ยังมีธนาคารโลก (World Bank) องค์กรการค้าโลก (WTO) ความเสียหายพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. การเปิดเสรี การยกเลิก Quota ภาษีศุลกากร ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาตีตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ทำให้เราไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาได้ และเราไม่มีโอกาสที่จะไล่ตามเทคโนโลยีของประเทศเหล่านั้นได้

2. การปล่อยอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว ในเรื่องของดอกเบี้ยและค่าเงินเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด แต่ในแง่ของความเป็นจริง กลไกตลาดนั้น ประเทศมหาอำนาจสหรัฐฯ เป็นผู้กำหนดเพื่อให้ตนเองได้เปรียบ

3. ให้ยกเลิกการกีดกันทางการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม จากผลของเงื่อนไขตรงนี้ทำให้กิจการการค้ารายเล็กรายน้อยของไทยต้องล้มเลิกกิจการไป เพราะสู้บรรษัทข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไม่ได้ ในรัฐบาลที่ผ่านมายังอนุมัติให้บรรษัทข้ามชาติเข้ามาตั้งสาขาในเมืองใหญ่เกิดขึ้นมากมาย

นอกจากสภาพที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพวิกฤติดังกล่าวในเรื่องของเพื่อการสร้างภาพ การโฆษณาต่าง ๆ ทำให้เกิดกระแสของการบริโภคของคนไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งอาหาร แฟชั่น แนวคิดเพื่อสนองต่อการนำเข้าเสนอของทุนนิยมที่มากับกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization)

จากการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นปัญหาและสิ่งที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ผลที่ตามมายังกระทบต่อสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

­ การว่างงานส่งผลต่อความเครียด ทำให้บางคนหันไปพึ่งสิ่งเสพติด การค้าสิ่งผิดกฏหมาย และบางคนยอมรับกับสภาพที่ฟองสบู่แตกไม่ได้ถึงขั้นฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา

­ ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนหลายคนต้องออกจากสถานศึกษา เนื่องจากไม่มีเงินจะส่งเสียเพราะผู้ปกครองว่างงาน

จากที่กล่าวมาข้างต้นคือปัญหาของประเทศชาติที่เกิดขึ้นก่อนที่ข้าพเจ้าจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (อาจารย์แต่งตั้ง) แนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีวิธีการดำเนินการต่อไปนี้

สังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) นั้นจะประกอบไปด้วย รัฐชาติ (Nation State) องค์กรพัฒนาเอกชน (Non Governmental Organization)องค์การและหน่วยงานของรัฐ(Governmental Organization) องค์กรที่เป็นสากลทั้งองค์การเฉพาะด้านเช่น ASEAN OPEC APEC EU WTO หรือองค์กรทั่วไป เช่น UN ซึ่งองค์กรต่างๆเหล่านี้จะเข้ามาบทบาทในเวที สังคมชุมชนระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินนโยบายต่างๆของตนเอง แต่บทบาทของรัฐชาตินั้นถือได้ว่าสำคัญมากที่อาจจะก่อให้เกิดสันติภาพและสงครามได้มากกว่าองค์กรอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น เพราะรัฐในฐานะรัฐเอกราชการเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจขั้นสุดท้าย(Final Arbiter) ในการที่จะนำรัฐเข้าสู่สงคราม หรือสร้างพันธมิตรกับรัฐอื่น อันนำซึ่งสันติภาพ ความมั่งคั่งและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ (International society) จะมีลักษณะเด่นๆอยู่หลายประการในการ เช่นในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐจะมีทั้งความร่วมมือ(Cooperation) ความประนีประนอม(Compromise) หรือความขัดแย้ง(Conflict)ซึ่งจะแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

Œ  Ž





ความสัมพันธ์จะเป็นในรูปแบบใดนั้นมีผลประโยชน์ของชาติ(Nation Interest) เป็นตัวแปรที่สำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ ถ้ารัฐสองรัฐหรือหลายรัฐมีผลประโยชน์ร่วมกันแล้วก็จะอยู่ด้วยกันอย่างราบรื่นไม่มีความขัดแย้งจะสามารถตกลงกันได้อย่างดี เช่น องค์การอาเซียน(ASEAN) มีการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่นแม้บางครั้งจะมีการขัดแย้งกันบ้าง แต่ถ้าผลประโยชน์ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก็อาจถึงกับต้องเกิดสงครามก็ได้ เช่น กรณีความขัดแย้งระหว่างบอสเนียกับเฮอร์เชโกวินนา หรือกรณีความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับเชคชเนีย นี่ก็แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์เป็นตัวกำหนดว่าจะมีความสัมพันธ์กันออกมาในรูปแบบใดความขัดแย้งหรือความร่วมมือ แต่ความขัดแย้งนั้นใน ในเวทีสังคมชุมชนระหว่างประเทศจะเป็นปรากฎการที่เกิดขึ้นเป็นประจำอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เพราะว่าความขัดแย้งกันไม่จำเป็นจะต้องก่อให้เกิดสงครามได้เสมอไปขึ้นอยู่กับว่าเรื่องที่ขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องใด ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจหรือการขัดแย้งในเรื่องการค้า(Trade conflict ) ก็อาจจะไม่ถึงกับต้องเกิดสงครามเช่น ไทยขัดแย้งกับสหรัฐอเมริการในเรื่อง ภาษีท่อเหล็ก ภาษียาสูบหรือกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา หรือก่อกรณีที่จีนขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งขัดแย้งในเรื่องการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ทางปัญญา ซึ่งถ้าแก้ไขก็ตกลงกันได้ ด้วยวิธีการต่อรองประนีประนอมกัน(Compromise) แล้วก็จะสมารถอยู่ร่วมกันได้ (Co-existence) แล้วก็สามารถเกิดสันติภาพได้ สาเหตุของความขัดแย้งจะมาจากพื้นฐานของผลประโยชน์

นโยบายต่างประเทศ นั่นจะกำหนดและดำเนินในแง่มุมที่เป็นจริงและเพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก คงจะไม่มีผู้นำของประเทศใดที่ก้าวขึ้นมาสู่เวทีการเมืองระหว่างประเทศในสังคมชุมชนระหว่างประเทศแล้วบอกว่าไม่ต้องการผลประโยชน์ ทุกประเทศต้องการผลประโยชน์ของชาติตนเป็นหลักทั้งนั้น คำกล่าวที่สามารถยืนยันความหมายนี้ได้ก็เช่น จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนที่หนึ่งของ สหรัฐอเมริการ นายอเล็กซานเดอร์ แฮมิงตัน รัฐมนตรีคลังคนแรกรวมทั้งนายเจมส์ เมดิสัน กล่าวว่า “อย่าเข้าใจผิดว่าการที่สหรัฐอเมริกาทำความดีเอื้อเฟื้อนั้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นนักบุญแต่การกระทำของสหรัฐอเมริกาเป็นการกระทำเพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง” มาถึงตรงนี้เราจะต้องตระหนักว่าไม่มีรัฐใดในสังคมชุมชนระหว่างประเทศที่ต้องการให้ประเทศอื่นเจริญก้าวหน้าและรัฐของตนเองตกต่ำ

แนวทางแก้ไขปัญหาในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 2 ส่วน

* เศรษฐกิจภายในประเทศ

- การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ที่ผ่านมากระแสการพัฒนาของกระแสหลัก ทำให้แรงงานที่เป็นวัยหนุ่มสาว ทิ้งชุมชนทิ้งชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ นครหลวงเพื่อทำงานด้านแรงงาน ทำให้ชุมชนชนบทขาดการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพ เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แต่ในภาคเกษตรในชุมชนได้รับผลกระทบน้อยมาก การส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็งจึงเป็นวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาที่จะทำให้ประเทศอยู่รอดได้ เช่น

- การทำเศรษฐกิจพอเพียง เน้นที่การพอเพียงแก่การดำรงอยู่ บริหารจัดการการใช้พื้นที่ให้เกิดศักยภาพ ทั้งการปลูกข้าว การเลี้ยงปลา การปลูกพืชหมุนเวียน นอกจากนั้นส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ทดแทนปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาสภาพแวดล้อม

- ส่งเสริมการออมของประชาชน กลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ ให้ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเอง รัฐเข้าสนับสนุนให้คำแนะนำในเรื่องการลงทุน ซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นสภาพที่แท้จริงของเศรษฐกิจ

- กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท เป็นการกระจายรายได้เพื่อให้ชุมชน หมู่บ้าน ได้มีโอกาสนำเงินทุนไปประกอบอาชีพ นำเงินต้นและดอกผลในการจัดตั้งกองทุน โดยการบริหารจัดการของสมาชิกในหมู่บ้าน วิธีการนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธีการที่ดีเพราะจะเป็นการยากที่จะนำเงินจำนวนมากมากระจายลงสู่ท้องถิ่นเพื่อหมู่บ้าน,ชุมชนเมือง หากดำเนินการได้ระยะหนึ่งจะทำให้ทุกส่วนของประเทศมีทุนสำรองจำนวนมากอยู่ในพื้นที่ เมื่อเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งก็จะทำให้เศรษฐกิจในระดับประเทศมีความมั่นคงไปด้วย กองทุนฯจึงเป็นวิธีการที่มีความสำคัญที่จะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ

- ธนาคารประชาชน เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสกู้เงินเพื่อนำไปประกอบอาชีพ ซึ่งรัฐบาลทำร่วมกับธนาคารออมสิน ปัญหาที่ผ่านมาประชาชนจำนวนมากกู้ยืมเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง ซึ่งถือเป็นเงินนอกระบบ ทำให้ตกเป็นทาสของเงินกู้เหล่านี้ ธนาคารประชาชนจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนที่จะให้ประชากู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนั้นยังมีการแนะนำส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ที่สนใจกู้ยืมเพื่อนำไปประกอบอาชีพ รวมถึงการลดเงื่อนไขที่เป็นปัญหายุ่งยากที่จะทำให้การกู้ยืมเกิดความลำบาก

* การส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ย่อม (SME) ธุรกิจขนาดเล็ก ถือว่าเป็นทุนที่สำคัญของประเทศ เมื่อธุรกิจเหล่านี้ดำเนินการต่อไปได้จะส่งผลดี ในเรื่องการจ้างงานทำให้คนมีงานทำ มีรายได้ มีกำลังซื้อ ทำให้ภาคการผลิตสามารถดำเนินการต่อไปได้ และในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาเพื่อเกิดการแข่งขัน ในฐานะผู้นำรัฐบาลจะเข้าส่งเสริมให้คำแนะนำการทำธุรกิจในเรื่องการบริหารจัดการ การตลาด ซึ่งในที่สุดแล้วเมื่อธุรกิจเหล่านี้สามารถดำรงอยู่ได้ รัฐบาลเองก็ได้รับผลคือสามารถเก็บภาษีของบุคคล, นิติบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งจะนำไปพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ให้เกิดการพัฒนายิ่งขึ้น

- การเปิดบ่อนการพนันในเมืองใหญ่ การเปิดจะเปิดในลักษณะเป็นพื้นที่ ไม่เปิดเสรีโดยทั่วไป เพราะปัญหาการควบคุมการบริหารจัดการยังไม่พร้อมในหลายปัจจัย การเปิดบ่อนการพนันเป็นเรื่องที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในสภาพที่ประเทศมีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่ต้องการนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ ประเทศต่าง ๆ มีบ่อนการพนันจำนวนมากและนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ เราต้องยอมรับกันว่าธุรกิจการพนันผิดกฏหมายในตลาดมืด แต่ละแห่งมีมูลค่าสูงถึง 3 แสนกว่าล้านบาทเกือบ 1 ใน 3 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีของเรา การเปิดบ่อนที่ถูกต้องจะทำให้รัฐมีรายได้จำนวนมาก ลดปัญหาจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับเจ้าหน้าที่ รัฐเองก็สามารถนำรายได้ไปพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส (Marginal Group) ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการและทำความเข้าใจกับประชาชนถึงความจำเป็น ในกรณีดังกล่าวรวมถึงหวยใต้ดิน ซึ่งรัฐเป็นเจ้ามือเอง เมื่อรัฐเข้าบริหารจัดการทำการวินัยเพื่อพัฒนาเป็นบ่อนการพนันนานาชาติ

* ส่งเสริมโครงการ 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นอย่างมากคือมีความหลากหลายในเรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งในด้านฝีมือ ประกอบการต่าง ๆ ในท้องถิ่นชุมชน จากกระแสการพัฒนาแบบตะวันตก (Westernization) ทำให้เราทิ้งถิ่นฐานออกไปทำงานขายแรงงานทำให้ทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่มีผู้สืบสาน เมื่อเกิดภาวะวิกฤติขึ้นทำให้เราต้องหันมามองชุมชน การพึ่งพาตะวันตกหรืออภิมหาอำนาจอเมริกาของภาคท้องถิ่นมีน้อย การกระทบก็น้อยเช่นกัน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สถาบันทางการเงินซึ่งมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบทุนนิยมต้องล้มละลาย เราควรเปลี่ยนวิกฤติครั้งนี้เป็นโอกาส ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านตำบลขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนในการส่งเสริมพัฒนาดังนี้

- ส่งเสริมการผลิต รัฐบาลสนับสนุนในเรื่องเงินทุนเพื่อให้หมู่บ้าน, ตำบลมีทุนในการผลิต เช่น ประชาชนชาวอุบลในหมู่บ้านมีความสามารถทอผ้ากาบบัว ซึ่งในแต่ละชุมชนก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ในลักษณะลวดลาย ความประณีต สีสัน เฉพาะในจังหวัดเดียวใน 1 ผลิตภัณฑ์ยังเกิดความหลากหลาย นอกจากจะเป็นทางเลือกของผู้บริโภคแล้ว ยังเป็นการรื้อฟื้นนำภูมิปัญญาของท้องถิ่นกลับมาใช้ทำให้มีการสืบสานของคนในท้องถิ่น

- การพัฒนาคุณภาพ เมื่อรัฐสนับสนุนด้านเงินทุนแก่ชุมชนแล้ว ต้องพัฒนาด้านคุณภาพ เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถนำออกจำหน่ายทั้งในระดับท้องถิ่นชุมชน ระดับจังหวัดและระดับประเทศ ซึ่งมีวิธีการโดยการจัดประกวด 1 ผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล ในระดับชุมชนเมื่อชนะเลิศก็นำเข้าสู่ระดับจังหวัดและระดับประเทศต่อไป เพื่อเป็นเกณฑ์ของสินค้าว่าอยู่ในระดับไหน ลักษณะอย่างไรจะสามารถจำหน่ายได้ในขอบเขตกว้างขวางแค่ไหนว่าจะจำหน่ายในถิ่นหรือส่งไปจำหน่ายในต่างถิ่นได้

- ส่งเสริมด้านการตลาด ในระดับชุมชนระดับจังหวัดรัฐจัดสถานที่ในการนำสินค้า 1 ผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพมาวางจำหน่ายเพราะถ้าชุมชนผลิตแล้วไม่สามารถจำหน่ายได้ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน การจัดทำตลาดนับว่าเป็นหัวใจ เพราะในบางครั้งผลิตภัณฑ์ของชุมชนผู้บริโภคมีความสนใจแต่ระยะทางไกลไม่สามารถไปซื้อได้ การทำตลาดจะทำให้หลายระดับ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถกระจายไปยังท้องถิ่น, ภูมิภาคขึ้นได้ เช่น

- จัดสถานที่จำหน่ายในระดับชุมชน ประชาชนทั่วไป นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปซื้อได้โดยตรงโดยไม่ต้องเข้าไปซื้อในพื้นที่ผลิตซึ่งอาจจะไม่สะดวก

- ในระดับจังหวัด จัดสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในลักษณะศูนย์จำหน่ายทำการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่สนใจของคนทั่วไป

- ระดับประเทศ จัดศูนย์จำหน่ายขนาดใหญ่ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกมีมาตรฐาน คุณภาพดีของชุมชนทั้งประเทศซึ่งสามารถสนองตอบต่อความต้องการของประเทศทั่วไป และหากผลิตภัณฑ์ของสิ่งใดมีลู่ทางมีคุณภาพทัดเทียมดีกว่าสินค้าของต่างประเทศก็พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ซึ่งมีสินค้าประเภทนี้หลายรายการที่เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ซึ่งนำไปประยุกต์ทำเครื่องประดับต่าง ๆ ได้มากมาย

- ส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Packing) การบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์ก็เป็นสิ่งจำเป็น การออกแบบให้เกิดความสวยงามก็มีความสำคัญในการที่จะเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความรู้กับประชาชน ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ของอาหารการดูแลความสะอาดด้านสุขลักษณะ การดูแลด้านการถนอมอาหาร ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นลู่ทางในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ

- การส่งเสริมการท่องเที่ยว

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากมีครบทุกลักษณะของประเภทท่องเที่ยว มีศิลป ประเพณีวัฒนธรรมจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยสามารถเที่ยวชมได้ทั้งปี สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมีครบครัน ทะเล ภูเขา แม่น้ำ ศาสนสถานที่สำคัญต่าง เช่น วัดพระแก้ว สิ่งที่จะทำให้ประเทศ ประชาชนมีรายได้นั้นต้องทำการจัดระเบียบการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยวซึ่งมีวัตถุประสงค์

- เพื่อให้สถานที่ท่องเที่ยวไม่เสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยวที่ไม่รับผิดชอบ ทั้งจากนักท่องเที่ยวเอง ผู้ประกอบการในสถานที่ท่องเที่ยว การเพิ่มศักยภาพเป็นการทำให้สถานที่ท่องเที่ยวมีระเบียบ การเก็บค่าบริการจากนักท่องเที่ยว เพื่อมาทำนุบำรุงให้สถานที่ท่องเที่ยวไม่ทรุดโทรม

- ในด้านศิลปวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากต่างประเทศมีความต้องการที่จะพบเห็น ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นดั้งเดิมของไทยทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ประเพณีเก่า ๆ ขึ้น ทำให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนรุ่นเก่ามีผู้สืบทอด รัฐเองจะต้องเข้าส่งเสริม

- การอำนวยความสะดวก การสร้างถนนในเส้นทางหลักให้เกิดความสะดวกในการเดิน ซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่สภาพใช้งานได้

* กิจการในการท่องเที่ยวถือว่าเป็นรายได้มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เราแทบไม่ได้ลงทุนอะไร เพียงแต่ต้องส่งเสริมเพิ่มศักยภาพให้กับสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเป็นแรงดึงดูดในการดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ๆ นอกจากการทำรายได้ให้กับประชาชนที่อยู่บริเวณสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ธุรกิจการท่องเที่ยวยังครอบคลุมมีอิทธิพลต่อธุรกิจต่าง ๆ เป็นจำนวนมากขอยกตัวอย่างบางประการ

- ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ภาคบริการทำให้กิจการโรงแรมมีรายได้สูงขึ้น เช่น สงกรานต์เชียงใหม่ สถานที่พักเต็มหมด แห่เทียน จังหวัดอุบลราชธานี ฯลฯ

- ของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ของชุมชนในแง่ผลิตภัณฑ์ก็สามารถนำมาจำหน่ายในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว

- ธุรกิจร้านอาหาร มีการขยายการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจสะพัดในท้องถิ่น ภูมิภาคซึ่งเป็นผลดีต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม

* การทำสุราเสรี คนไทยมีความสามารถในการทำเหล้าทั้งกระแช่ สาโท ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมถึงสุราขาวที่นำไปกลั่น (ซึ่งชาวบ้านเรียกตาตั๊กแตน) รัฐควรส่งเสริมในส่วนสุราแช่ โดยการให้เน้นถึงความสะอาด ส่วนผสมซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทำให้เราลดการนำเข้าสุราจากต่างประเทศ ซึ่งให้เสียเปรียบขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มมีจำหน่ายในท้องถิ่น

ความสามารถของคนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าชาติใด ถ้าได้รับการพัฒนาแล้วสามารถส่งแข่งขันได้ทั่วโลก ไวน์แดงที่ทำจากลูกเม่า (ผลไม้พื้นเมืองของชาวอีสาน) ซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์ (ขออภัยจำชื่อท่านไม่ได้) ส่งเข้าประกดที่กรุงบรัสเซล ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ทำให้ทั่วโลกรู้จักคนไทย ความสามารถของคนไทยสุราเหล่านี้จะนำรายได้มาสู่ชุมชนเพราะวัตถุดิบต่าง ๆ ก็เป็นวัตถุที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งทำให้ต้นทุกนการผลิตมีราคาถูก การจำหน่ายมีราคา

ไม่แพง (20-30บาท) ส่วนหนึ่งทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น

- ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความหลากหลายทางชีวภาพ

ประเทศไทยนับว่าเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างยิ่ง เช่น ระบบนิเวศของป่า อาหาร ยาสมุนไพร ซึ่งได้สะสมให้ความรู้และภูมิปัญญาของประชาชนในท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน ทรัพยากรของไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน จึงเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม การมองความหลากหลายของชีวภาพกับภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงไม่ได้มองในภาพเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่มองที่มิติของ "แหล่งความรู้อันยิ่งใหญ่" เกษตรกรของไทยใช้ชีวิตผูกพันกับพันธุกรรมของพืชที่มีการพัฒนา มีการคัดเลือกมีอาชีพหมอชาวบ้าน การใช้สมุนไพรเกิดความรู้ กลายเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาเหล่านี้เพราะประเทศไทยมีความหลากหลายของชีวภาพ จึงเป็นตัวเลือกที่ทำให้คนไทยมีภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น และภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยนั้นมีความหลากหลายทั้งประเทศ ซึ่งแรงกระแสการพัฒนาของตะวันตกทำลายโดยเน้นการพัฒนาปลูกพืชเชิงเดี่ยว ภาคเกษตรถูกกำหนดให้ผลิตแลกกับเงินตรา ซึ่งการปลูกพืชเชิงเดียวเป็นการทำลายความหากหลายทางชีวภาพ การขโมยสูตรยาจากคัมภีร์ใบลาน การควบคุมสูตรยาของบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งกลายเป็นทรัพย์สินทางปัญญา ถึงเวลาแล้วที่เราคนไทยจะส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและชีวภาพอันหลากหลายของเรา ให้เป็นจุดแข็งในภาวะที่ชาติประสบต่อวิกฤติทางเศรษฐกิจ

*** แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เมื่อเราเองไม่สามารถรอดพ้นจากกระแสของโลกาภิวัตน์ (Gobalzation) โดยเฉพาะ 3 ประสาน หรือแฝด 3 สยามสยอง ทั้งองค์การการเงินระหว่างประเทศ (IMF) องค์การค้าโลก (WTO) ธนาคารโลก (World Bank) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่เข้ามาเสาะแสวงหาผลประโยชน์ตามที่เราทราบและกล่าวไว้ข้างต้นแล้ว

ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่ประเทศไทยควรดำเนินการ (ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี) ในนโยบายดังต่อไปนี้

1. การวมให้เอเชียเป็นหนึ่งเดียว ในทางเศรษฐกิจเมื่อมองถึงศักยภาพของทวีปเอเชียแล้วมีความได้เปรียบทุกทวีปเอเชียมีศักยภาพในทุกด้าน

1.1 ประชากร ประชากรของเอเชียมีมากกว่าทุกทวีป เฉพาะจีน อินเดีย อินโดนีเชีย รวมประชากรกว่า 2,000 ล้านคนแล้ว ซึ่งมี Demand จำนวนมาก

1.2 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของโลกเช่นกัน สามารถที่จะพัฒนาศักยภาพให้เป็นภูมิภาค (Regionalization) ที่มีความเข้มแข็งและมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของโลก

ที่ผ่านมาเอเชียส่งสินค้าเข้ามาสู่ยุโรปและสหรัฐฯ แม้ว่าในระบบการค้าปัจจุบันจะเป็นการค้าเสรี (Free trade) แต่ประเทศที่กำลังพัฒนามักมีการกีดกันทางการค้าจากมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Barrier) เช่น สภาพแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาเสียเปรียบ รวมถึงการกำหนดราคาสินค้า อีกประเด็น คือ การตัดราคาสินค้ากันเองของประเทศในทวีปเอเชียทำให้ประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐฯได้ประโยชน์ จากสภาพของความเป็นจริง เราควรดำเนินมาตรการที่จะทำให้เอเชียมีศักยภาพดังต่อไปนี้

* การสร้างตลาดให้เป็นตลาดขนาดใหญ่ ประชากรที่มีจำนวนมาก ซึ่งความต้องการการบริโภคสินค้าของประชาชนมีจำนวนมาก การติดต่อค้าขายในบางลักษณะอาจใช้ระบบ G TO G หรือรัฐต่อรัฐ (Government to Government) เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ลักษณะของตลาดเมื่อสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี อาจพัฒนาตลาดอันเป็นตลาดร่วม (Common Market) เป็นการปกป้องสินค้า ผลประโยชน์ของสมาชิกในทวีป

* การส่งสินค้าออกสู่ตลาดโลก การกำหนดราคาการกำหนดราคาสินค้าการใช้ภูมิภาคในการต่อรองกับประเทศทุนนิยมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะสินค้าในภาคเกษตรซึ่งประเทศในแถบเอเชียมีความสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก มีการตกลงภายในประเทศสมาชิกในการกำหนดราคา ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าที่ส่งออกมีราคาที่เป็นที่พอใจของประเทศสมาชิก

- การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี (Technology) ระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย

อินเดียนับได้ว่าเป็นประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Computer เป็นอย่างยิ่ง การสร้างความสัมพันธ์นอกจากจะทำให้เกิดการติดต่อและมีความแน่นแฟ้นแล้ว ยังเป็นการประหยัดเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเทคโนโลยีจากตะวันตก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ล้วนเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม การร่วมมือกันจะส่งผลให้ประเทศในทวีปเอเชียสามารถเจรจาต่อรอง (Bargaining) กับประเทศมหาอำนาจได้

- การสร้างความสัมพันธ์กับประเทศด้อยพัฒนาในทวีป

เช่น ลาตินอเมริกา อัฟริกา นอกจากติดต่อโดยทั่วไปซึ่งผ่านกระบวนการการค้าโลกแล้ว การสร้างความสัมพันธ์โดยตรงจะทำให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นสามารถเพิ่มตลาดในการส่งออก การรับเทคโนโลยี เป็นการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทำให้การค้าของประเทศมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น

- การขุดคอคอดกระ แม้เป็นรายได้เข้าประเทศแต่มีความสัมพันธ์ในกิจการระหว่างประเทศ ถ้าเราดำเนินการในโครงการขนาดใหญ่นี้ประสบความสำเร็จแล้ว รายได้จะเข้าประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 4 แสนล้านบาท แต่เงินทุนในการลงทุนขุดประมาณการไว้ที่ 2-3 แสนล้านบาท ใช้เวลา 8-10 ปี เรามีวิธีการดำเนินโครงการหรือทางเลือกดังนี้

- ระดมทุนภายในประเทศส่วนหนึ่ง หากไม่เพียงพอถ้ามีความจำเป็นต้องกู้เราอาจกู้กับประเทศในทวีปเอเชีย เช่นญี่ปุ่น

- เทคโนโลยี ประเทศจีนมีประสบการในการทำโครงการอภิมหาโครงการคือเขื่อนกั้นแม่น้ำฮวงโห (ซึ่งมีฉายาว่า แม่น้ำวิปโยค)

- ความเจริญที่ตามมาจะมีธุรกิจซึ่งเป็นผลพวงเกิดขึ้นมากมายส่งผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น โกดังสินค้า ธุรกิจโรงแรม สถานเริงรมย์ ตลาดงานมีเพิ่มมากขึ้น การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจก็จะตามมา จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการ การเดินทางของเรือสินค้า เรือพาณิชย์จะประหยัดระยะทางได้ถึง 780 กิโลเมตร การเกิดเขตปลอดภาษีในพื้นที่กำหนด การมีนักท่องเที่ยว รวมไปถึงการคมนาคมของไทยก็จะมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ธุรกิจการส่งออก (Export) การนำเข้าสินค้า (Import) ก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ยังมีอีกหลายอย่างในการที่จะแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจแต่ขอยกแนวทางที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศไว้เพียงเท่านี้

แนวทางการแก้ไขปัญหาทางสังคม

เราคงไม่ปฏิเสธว่าการพัฒนาที่ผ่านมากว่า 40 ปี นับตั้งแต่การมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) จนเกิดการล่มสลายลงของเศรษฐกิจในปี 2540 จนได้ข้อสรุปว่า "เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา เป็นการพัฒนาไม่ยั่งยืน"

** ข้อมูลพื้นฐานของปัญหาจากอดีตสู่ปัจจุบัน (โลกาภิวัตน์)

การพัฒนาที่ผ่านมาของไทยในอดีตเราได้คำแนะนำจากธนาคารโลก การพัฒนาประเทศสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) เป็นตัวเลือกที่ 5 ของเชีย การแนะนำให้ดำเนินการแก้ไขในเรื่องของ (Infrastructures) ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราได้กู้จากธนาคารโลก สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมสู่ยุคอุตสาหกรรมโดยไม่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม (ทางเทคโนโลยี) ทำให้มีเทคโนโลยีอย่างจำกัด ต้องพึ่งพาการนำเข้าทางเทคโนโลยีและสินค้าประเภททุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. 2534 นำเข้าสินค้าประเภททุนมีมูลค่าถึง 330,000 ล้านบาท ในปี 2536 นำเข้าเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 430,000 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์พัฒนาที่ผ่านมา มองในแง่ตัวเงินเป็นหลักไม่คำนึงถึงความสำคัญของการปฏิวัติด้านภูมิปัญญาและเทคโนโลยีมากนัก ไม่คำนึงถึงราคาหรือค่าของต้นทุนทางด้านทรัพยากรที่ถูกทำลายไป และไม่คำนึงถึงต้นทุนทางสังคม รวมทั้งคุณค่าของประชาชนชาวไทย

การพัฒนาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 1-7 ทำให้เราต้องประสบปัญหาพอสมควรดังนี้

1. ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนา ระหว่างเมืองกับชนบทระหว่างเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม คนรวยกับคนจน

2. การพังทลายของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากก่อให้เกิดการเสียสมดุลตามธรรมชาติ

3. ปัญหามลภาวะที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 เท่า แม่น้ำเกือบทุกสายเน่าเสีย รวมทั้งพื้นที่ในการเพาะปลูกเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก

4. การพังทลายของเกษตรกรรมในชุมชนในชนบท การล่มสลายของเกษตรกรรมรายย่อย ปัญหาของครอบครัวแตกสลาย ผู้คนต้องทิ้งครอบครัวมาทำงานในเมืองและต่างประเทศ

5. การเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมและศีลธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการบริการ โดยไม่คำนึงถึงแบบแผนวัฒนธรรมเดิม ได้ก่อให้เกิดแบบแผนวัฒนธรรมใหม่ คนไทยปัจจุบันมีชีวิตอยู่กับเหล้า บุหรี่ บาร์ คลับ สถานเริงรมย์ การพนัน ยาเสพย์ติด และการขายตัว

การรุกในรูปแบบใหม่ของทุนนิยมโลกที่มากับกระแสโลกาภิวัฒน์ องค์กรระหว่างประเทศ 3 ประสาน ได้พัดมากับกระแสโลกาภิวัตน์และได้แนะนำให้การช่วยเหลือในด้านการเงินโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น

- เน้นการพึ่งพาและชี้นำต่อการลงทุนของต่างชาติ ทุนข้ามชาติซึ่งมาในรูปแบบของการค้าเสรี (Free Trade)

- ให้ความสนใจต่อสถาบันการเงิน ภาคอุตสาหกรรม ทอดทิ้งภาคการเกษตรกรรมและชนบท ชาวไร่ชาวนา

- การพัฒนาแบบรวมศูนย์อำนาจ ทุกอย่างคือกรุงเทพฯ

จากแนวทางการแนะนำประเทศที่ประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของ IMF สนองตอบต่อแนวทางการพัฒนาของตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐ ซึ่งจากกรณีดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาสังคมพอสรุปได้ดังนี้

1. ปัญหาในเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปของชาติ ขาดการสืบสาน คนในยุคปัจจุบันไม่สนใจหันไปนิยมวัฒนธรรมตะวันตก เช่น การแต่งกาย การบริโภคอาหารซึ่งไม่สอดคล้องกับลักษณะของคนไทย ซึ่งในระยะยาวเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2. ปัญหาของระบบการศึกษา ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน สร้างการวมศูนย์อำนาจ ปฏิเสธแนวคิดอิสระภาพทางการศึกษา

3. การเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรมและศีลธรรม

4. การเป็นสังคมบริโภคย่อมตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา ในการกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค (ซึ่งเป็นการสร้างกลไกตลาดจากทุนนิยมโลก)

ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นในทางสังคมอีกมากมายที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าสภาพปัญหาของสังคมทั้งจากอดีตจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ จนถึงการเข้ามาถล่มจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2540 ขององค์กรระหว่างประเทศซึ่งเป็นหัวหอกทำให้เราต้องหันกลับมาทบทวนตนเองว่าเราจะกำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศเราอย่างไรจึงจะอยู่รอดในกระแสโลกาภิวัตน์ได้

แนวทางแก้ไขปัญหาสังคมในยุคปัจจุบัน

* การสร้างสังคมชุมชนเข้มแข็ง

เราคงไม่สามารถปฏิเสธกระแสของโลกาภิวัตน์ได้การที่ต้องเผชิญกับระบบของทุนนิยมโลกยุคปัจจุบัน เราจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองคือสร้างสังคม การสร้างอาชีพ การสร้างกลุ่ม การนำวัตถุที่ได้จากท้องถิ่น มีการใช้ การสร้าง การพัฒนา เราคงไม่ได้มองภาพของชุมชนเฉพาะในเรื่องของรายได้ ความผูกพันของสถาบันทางสังคม ครอบครัว ศาสนา การปกครอง เกิดความแน่นแฟ้นเมื่อสังคมมีความเข้มแข็งเป็นการยากที่วัฒนธรรมทางตะวันตกจะเข้าครอบงำ การนำภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นเข้ามาใช้ การประกอบอาชีพจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้เกิดความผูกพันกับท้องถิ่น พ่อ-แม่-ลูกอย่างพร้อมหน้าทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัว ยังเป็นเกราะป้องกันปัญหาในด้านอื่น ๆ เช่น ยาเสพติด ชุมชนเข้มแข็งก่อให้เกิดผลดีดังนี้

1. คนเกิดความผูกพันกับชุมชน ทำให้มีการพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญ

2. มีการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้เกิดความสูญหาย

3. ชุมชนเป็นส่วนที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ ถ้าการพัฒนาในระดับรากหญ้ามีความมั่นคง การพัฒนาในระดับชาติจะมีความก้าวหน้า

- การปฏิรูประบบการศึกษา ในส่วนนี้จะชี้ในประเด็นบางส่วนไม่ได้กล่าวถึงการปฏิรูปทั้งหมด

- การปฏิรูปในเรื่องหลักสูตร การศึกษาที่ผ่านมาเราจัดทำเพื่อสนองตอบต่อระบบทุนนิยม การเปิดคณะวิศวกรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีการเปิดโรงงานอย่างมากมาย แต่เมื่อเกิดวิกฤติในปี 2540 ทำให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมต้องประสบปัญหาในเรื่องตำแหน่งงาน และพวกเขาจึงมุ่งสู่ระบบราชการอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน การศึกษาด้านภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ของไทยบรรจุในการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย ทำให้ไม่เกิดความภาคภูมิใจในชาติของตนเองในคนรุ่นหลัง

- การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมของระบบการศึกษา ทำให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของชุมชน องค์ความรู้ที่มีในชุมชน ทำให้มีการสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้านให้มีศักยภาพเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อตอกย้ำในเรื่องดังกล่าวให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

- การเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยในเรื่องการอุปโภคบริโภค จากการที่ถูกกระตุ้นให้เกิดความต้องการ ด้วยการครอบงำของสิ่งต่าง ๆ ทำให้คนไทยมีแนวความคิดที่ยึดติดอยู่กับแบรนด์เนม ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเงินตราให้กับต่างชาติ สินค้าหลาย ๆ อย่างผลิตขึ้นที่ประเทศไทยสิ่งออกไปติดเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ และส่งมาจำหน่ายในประเทศไทยแต่ในราคาที่สูงขึ้น รัฐบาลส่งเสริมให้ใช้สินค้าภายในประเทศที่มีคุณภาพไม่แพ้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าจากต่างประเทศ อีกส่วนคือการปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานของสินค้านั้น ๆ ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพในระดับโลก

- การสร้างแบรนด์เนมของคนไทยเองเพื่อจดลิขสิทธิ

- การเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานจริงและการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะสหรัฐฯ มักจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศด้อยพัฒนา ถ้าเราวิ่งตามเทคโนโลยีของประเทศเหล่านี้ก็จะตกเป็นเหยื่อของการบริโภคการนำเข้าและทำให้เราไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศให้มีความก้าวหน้าได้ เช่น คอมพิวเตอร์ ถ้าเราต้องการใช้เพียงพิมพ์ดีด เราก็ซื้อในราคาที่ถูกนำมาใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพสูง แต่การใช้งานไม่เต็มศักยภาพทำให้เกิดความสูญเสียเงินตราโดยเปล่าประโยชน์

- การพัฒนาที่มีเป้าหมายอยู่ที่ "คน" ที่ผ่านมาการพัฒนามุ่งไปที่การเติบโตของเศรษฐกิจ (Economy Growth) คนจึงมีคุณค่าไม่ต่างไปจากสินค้าประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนาสภาพจิตใจของคนอื่นเห็นแก่ตัว คุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม ของคนลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ เพราะเราเน้นไปที่วัตถุ การพัฒนาคนนั้นต้องมองว่าคนคือทรัพยากรที่มีค่าในสังคม เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ให้การดูแลรักษาทั้งในเรื่องการจัดให้มีพระราชบัญญัติสุขภาพอนามัย เพื่อประชาชนจะได้มีหลักประกันสุขภาพ รวมไปถึงทางเลือกในการรักษาซึ่งบางครั้งอาจมีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม

- การส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชนมีความรู้เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปรับตัวในสภาพแวดล้อมของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

- ส่งเสริม คุณธรรม การประพฤติการปฏิบัติทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ ซึ่งการพัฒนาคนต้องทำไปพร้อม ๆ กันทั้ง 3 ด้าน

1. ร่างกาย ต้องมีโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะเพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรงพร้อมที่จะต่อสู้กับการทำงานหนัก

2. สมอง ต้องได้รับการพัฒนามีการศึกษาที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ การนำไปใช้พัฒนาสังคมชุมชนและประเทศชาติ

3. จิตใจ ต้องมีคุณธรรม เป็นคนเก่งยังไม่พอต้องเป็นคนดี เสียสละมองเห็นผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้งเสมอ (ที่ผ่านมาเรามีคนเก่งเยอะแต่คดโกง ขายชาติ เพราะขาดซึ่งคุณธรรมนี้เอง)

สรุป

จากสภาพการณ์ของเศรษฐกิจ 2540 ทำให้ประเทศมีความบอบช้ำ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ชาติพ้นวิกฤติครั้งนี้มิใช่หน้าที่ของรัฐบาลเพียงผู้เดียว ประชาชนทุกคนจะต้องร่วมมือร่วมใจกัน ขอให้คิดเสมอว่าสงครามการเสียเอกราชในรูปแบบใหม่ในยุคของโลกาภิวัตน์คือการเข้าครอบครองทางเศรษฐกิจและครอบครอบประเทศ มีอำนาจเหนืออธิปไตยของเรา แนวทางการแก้ไขปัญหาที่นำเสนอข้างต้นก็เพื่อให้ความสอดคล้องกับสภาพของความเป็นจริง สภาพของสังคมชุมชนของไทย รัฐบาลและประชาชนจะต้องร่วมมือกันในการนำพาชาติให้พ้นวิกฤติในครั้งนี้ ภายในประเทศของเราเองต้องสร้างความเป็นชาตินิยม (Community) นำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เรามีอย่างมากมายมาสร้างความเข้มแข็งให้สังคมชุมชนความหลากหลายทางชีวภาพของไทยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทั้งการเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม ศักยภาพของการท่องเที่ยวที่เรามีอยู่อย่างมากมาย ความอุดมสมบูรณ์ของพืชเกษตร ผลไม้ มีอยู่มากมาย ในขณะเดียวกันเราคงไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ การดำเนินนโยบายต่างประเทศต้องมีการร่วมมือกันของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่น เอเชีย รวมไปถึงลาตินอเมริกา อัฟริกา เพื่อเป็นอำนาจในการเจรจาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ เพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง เราจะต้องสร้างความเข้มแข็งทั้งภายในประเทศและสร้างสัมพันธมิตรระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงจะรอดพ้นจากการเข้าครอบงำของทุนนิยมโลกผู้มากับการไหลบ่าของโลกาภิวัตน์

 

 

 

 

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1