000สรุป000

เศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ

International Political Economy

รศ.การุณยลักษณ์ พหลโยธิน

ความร่วมมือของยุโรปนั้นเริ่มต้นจากความต้องการทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจหรือเรื่องของปากท้อง หรือเรื่องของความเป็นอยู่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นพื้นฐาน ดังที่จะพบว่าคำว่า Economy นั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า OIKOS+NOMOS จะแปลว่าการจัดการครัวเรือนหรือ House Hold Management

นั่นคือกิจกรรมในครัวเรือนหรือกิจกรรมในชุมชนจะเป็นกิจกรรมที่เน้นการสร้างความอยู่รอดและการกินดีอยู่ดี การจัดการครัวเรื่องนี่เองเป็นความคิดที่ชาวยุโรปนำเสนอมานานกว่า 2000 ปี

การที่ชาวยุโรปมองว่าจะต้องมีการจัดการครัวเรือนหรือสร้างความกินดีอยู่ดีนั้นก็มีสาเหตุปัจจัย นั่นคือชาวยุโรปมองว่าคนเรานั้นจะอยู่ลำพังแบบโดดเดียวไม่ได้ และสภาพแวดล้อมของฝรั่งนั้นอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากทำให้ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน และแบ่งแยกหน้าที่แบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เพื่อช่วยเหลือดูแลกัน

ดังจะพบว่าการที่ครอบครัวหลายครอบครัวมาอยู่รวมกันก็เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวก สบายและปลอดภัย ทำให้เกิดการแบ่งงานกันทำมากขึ้น ชัดเจนขึ้น เช่นแบ่งเป็นหน้าทางการเมืองและสังคม (Political Management) และการจัดการหรือหน้าที่ทางเศรษฐกิจ (Economic Management)

กิจกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจ และการใช้อำนาจจะทำให้ได้มาซึ่งสิ่งต่างๆที่ต้องการ ทั้งความมั่งคั่ง ความอยู่รอดของชุมชน และการกินดีอยู่ดีของคนในชุมชน

ทั้งนี้การเกิดขึ้นของยุโรปเกิดจากการรวมตัวกัน แต่ไม่ใช้การรวมตัวแบบธรรมดาเหมือนกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆ แต่การรวมตัวของอียูเป็นลักษณะที่มีเพียง 1 เดียวในโลก การรวมตัวของอียูเรียกว่าการบูรณาการ (Integration) และรวมกันเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ และมีเงินตราสกุลเดียวกัน

คนที่ทำให้เกิดสหภาพยุโรปขึ้นมาจริงๆนั้นคือชาวฝรั่งเศส 2 คนคือโรเบิร์ต ชูมาน รัฐมนตรีต่างประเทศและชองค์ โมเน่ โดยชูมานได้ประกาศในเดือน พค. 1950 ว่าจะต้องมีการสถาปนาระบบความร่วมมือให้เกิดขึ้นในยุโรป ที่เรียกว่าแผนการชูมาน และเป็นรากฐานที่ทำให้เกิดประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steel Communication) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งถือว่าเป็นประชาคมของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจแห่งแรกของยุโรป

ส่วนโมเน่ต์นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการคลังของฝรั่งเศส แต่เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดและเสนอแนวคิดไปยังโรเบิร์ต ชูมาน และต่อมาเขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของยุโรป

(ตรงนี้แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่ดีของยุโรปว่าให้ความสำคัญกับคนระดับเล็กๆถ้าคนคนนั้นมีความสามารถ และการที่การร่วมมือเริ่มขึ้นจากรัฐมนตรีต่างประเทศแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญของรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งต้องเป็นคนมีความสามารถมีลักษณะเป็นพ่อค้า ต่างจากวัฒนธรรมทางการเมืองของเราที่ตำแหน่งที่คนอยากเป็นคือรัฐมนตรีมหาดไทย เช่นเดียวกับอเมริกาก็ให้ความสำคัญกับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศสำคัญขนาดที่ต้องให้เป็นว่าที่ผู้นำด้วยหากประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีมีอันเป็นไป)

กรอบแนวคิดในการศึกษาการบูรณาการ(Integration)

1.แนวสหพันธ์นิยม (Federalism) เป็นแนวการศึกษาลักษระการรามตัวกันของหน่วยต่างๆจนกลายเป็นประชาคมทางการเมือง

2.แนวปริวรรตนิยม (Transactionalism ) (บางคนใช้คำว่าแนวสัมพันธ์นิยม) เป็นแนวคิดที่มีการแลกเปลี่ยนการกระทำร่วมกันจนอาจจะเกิด 2 รูปแบบคือ

-แบบที่เป็นประชาคมที่สมบูรณ์แบบ มีความมั่นคง มีหลักประกันร่วมกัน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

-แบบพหุนิยม หมายถึงการจะทำให้เกิดความร่วมมือกันโดยยอมรับความหลากหลาย

3.แนวภาระกิจนิยม (Functionalism) ต่อมาจะพัฒนามาเป็นแบบภาระกิจนิยมใหม่ (Neo-Function) นั่นคือจากการทำหน้าที่ที่สำคัญจะนำไปสู่การร่วมมมือกันในหน้าที่อื่นต่อไป และขยายไปถึงความร่วมมือในลักษณะที่อยู่เหนือกว่ารัฐขึ้นไป

สำหรับสหภาพยุโรปนั้นก็มีแนวทางที่พัฒนาไปเป็นในลักษณะเหนือชาติหรือ Supra-National ในอนาคต โดยเฉพาะการที่แต่ละใช้ใช้เงินตราสกุลเดียวกัน แต่ละรัฐชาติจะไม่มีอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจของตนเองอีกต่อไป

ดังนั้นการบูรณาการก็คือการรวมตัวกันในระดับที่สูงกว่ารัฐขึ้นไป เป็นการเปลี่ยนความจงรักภักดี เปลี่ยนการกระทำไปสู่ศูนย์อำนาจใหม่ โดยสถาบันใหม่จะมีอำนาจเหนือกว่าชาติรัฐ และอาจจะมีอำนาจทางการเมืองเหนือรัฐชาติอีกด้วย (แต่เวลานี้ในทางการเมืองนั้นบูรณาการของยุโรปยังไปไม่ถึง) และหากมีการบูรณาการก็จะมีกระบวนการถ่ายโอนอำนาจไปสู่สถาบันกลางอันใหม่

แต่ยุโรปก็มีกระบวนการแบบดังกล่าวโดยเริ่มต้นจากการร่วมมือทางเศรษฐกิจ และมองว่าอาจจะกระจายหรือ Spill Over Effect ไปสู่ความร่วมมือในด้านอื่นๆ

การบูรณาการจึงเกิดการจากการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Interdependence) ซึ่งการพึ่งพานำไปสู่ความร่วมมือ (Co Operation) จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็จะ Spill Over ไปยังความร่วมมือด้านอื่นจนเกิดการเป็นการบูรณาการ (Integration) ซึ่งมีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


Interdependence Co Operation


Spill Over Integration

นี่คือแนวคิดของทฤษฎีหน้าที่นิยม ว่าการร่วมมือเกิดจากวามจำเป็นในการจัดระเบียบในการทำหน้าที่ และหน้าที่สำคัญและเปิดเผย (Manifest Function) ก็คือหน้าที่ทางด้านเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็อาจจะมีหน้าที่ทีแอบแฝง (Latent Function) ที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เช่นหน้าที่ที่แอบแฝงของการรวมตัวกันของยุโรปอาจจะเป็นเรื่องของการเมือง

ทั้งนี้การรวมตัวไม่ว่าจะเป็นแบบใดจะต้องมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจก่อน เพราะการบูรณาการจะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุดถ้าเริ่มต้นจากเศรษฐกิจ ซึ่งนักทฤษฎีบูรณนาการจะเชื่อร่วมกันว่าการบูรณาการจะต้องเริ่มจากการกระทำที่ทำให้มีความขัดแย้งน้อยก็คือการร่วมมือทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้การรวมตัวกันได้จะต้องมีความคล้ายคลึงกัน เช่นประเทศต่างๆจะต้องอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน มีการติดต่อสื่อสารคมนาคมอย่างสม่ำเสมอ และมีความคล้ายคลึงกันทางด้านวัฒนธรรม ภาษา และอื่นๆ และความร่วมมือนั้นจะต้องเกิดขึ้นในลักษณะและเต็มไปด้วยสันติภาพที่ยาวนาน

จนกระทั่งเกิดเป็นชุมชนที่จะต้องร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน แลกเปลี่ยนที่เท่าเทียมกัน มีความเสมอภาค มีการจัดสรรทรัพยากร หน้าที่ และมีการยอมรับสิ่งต่างๆร่วมกัน ก็จะเกิดการบูรณาการร่วมกัน

ขั้นตอนการบูรณาการทางเศรษฐกิจ

Bela Balassa กล่าวว่าขั้นตอนของการบูรณาการจะเป็นเหมือนกับบันได 5 ขั้นคือ (จำไว้ให้ดีสอบ)

1.เขตเศรษฐกิจเสรี (Free Trade Area) ขั้นแรกนี้จะมีการยกเลิกกำแพงภาษี ยกเลิกระบบโควต้า และการกำหนดปริมาณสินค้า

2.สหภาพศุลกากร (Customs Union) ขั้นนี้จะมีการ ขจัดการเลือกปฏิบัติระหว่างสมาชิก นั่นคือภายในกลุ่มจะไม่มีการเก็บภาษี เคลื่อนย้ายสินค้าบริการภายในกลุ่มอย่างสะดวก ขจัดข้ออุปสรรต่างๆภายในกลุ่ม แต่ไปตั้งการกีดกัดกับภายนอกกลุ่ม

3.ตลาดร่วม (Common Markets) ขั้นนี้จะมีนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเดียวกัน เช่นใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกัน

4. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) จะมีการจัดระบบตลาดร่วมที่มีนโยบายเศรษฐกิจเป็นมาตรฐานเดียวกัน ขจัดความเหลื่อมล้ำและเลือกปฏิบัติต่อกันภายในกลุ่ม เช่นกำหนดอัตราดอกเบี้ยเดียวกัน

5. การบูรณาการทางเศรษฐกิจสมบูรณ์ (Total Economic Integration) ขั้นนี้จะมีการรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ทั้งด้านการเงิน การคลัง มีการจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเหนือรัฐ หรือ Supra-National

อียูไม่ใช่องค์กรระหว่าประเทศ(International Organization)เพราะอียูมีลักษณะที่พิเศษกว่าองค์การระหว่างประเทศ เพราะอียูนั้นอยู่เหนือกว่าชาติรัฐในด้านเศรษฐกิจ

ขณะสถาบันระหว่างประเทศมาจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล แต่องค์การระหว่างประเทศจะไม่มีอำนาจนอกเหนือไปกว่าการตกลงของรัฐบาล นั่นคือรัฐบาลยังมีอำนาจอธิปไตยเต็มที่ ขณะสหภาพยุโรปอำนาจอธิปไตยของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจได้หมดสิ้นไปแล้ว

พัฒนาการของสหภาพยุโรป

ยุโรปนั้นเกิดขึ้นมาอย่างมีพัฒนาการ นั่นคือเริ่มต้นจากการมีสนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris ปี 1952) และแผนการชูมาน ที่ทำให้เกิดประชาคมถ่านหินและเหล็กหล้า มีสมาชิก 6 ประเทศ และพัฒนามาเป็นองค์การตลาดร่วมหรือประชาคมยุโรป (European Common Market) ปี 1958 โดยสนธิสัญญาโรม

ต่อมาเกิดการรวมตัวกันเป็นตลาดเดียวกันและกลายเป็นสหภาพยุโรป ในปี 1993 โดยสนธิสัญญามาสทริชท์ (Masstricht Treaty) ซึ่งถือว่าเป็นสนธิสัญญาแห่งยุโรป หรือ Treaty of European Union –TEU และมีการแก้ไขสัญญาอีก 2 ครั้งคือสนธิสัญญาอัมเตอร์ดัมและสนธิสัญญานีช

ดังนั้นเราจะพบว่าสหภาพยุโรปเกิดมาจากกฎหมาย หรือ Rule of Law นอกเหนือไปจากความตั้งใจที่จะมาร่วมมือกันของชาติในยุโรป

ความสัมฤทธิผลของสหภาพยุโรปในปัจจุบันเกิดจากความจำเป็น กลายเป็นอาณัติที่ชาวยุโรปต้องกระทำร่วมกัน กล่าวคือการบูรณาการยุโรปเกิดจากฐานคติที่ว่า

1. ความต้องการและตั้งใจจะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งและสงคราม (Conflict Resolution)

3. ความเชื่อมั่นในรากฐานเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (ทุนนิยมเสรีและการค้าเสรี)

4. หลักการธรรมาภิบาล ฯลฯ ซึ่งหลักที่สำคัญคือการใช้กฎหมายเป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมการบริหาร (เหตุผลแห่ง Rule of Law) ความโปร่งใส (Transparency) มีสำนึกรับผิดชอบ (Accountability) นอกจากนี้อาจมีประชาธิปไตย (Democracy) การมีส่วนร่วม (Participation) มีความรับผิดชอบ (Responsibility)

หลักการทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการบูรณาการยุโรป

หลักการที่ยึดถือคือ การค้าเสรี (Free Trade) การได้ผลประโยชน์ร่วมกัน การคุ้มทุนและประหยัด อันจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันและผลประโยชน์ที่ยั่งยืน หลักการเหล่านี้มาจากแนวความคิดทางเศรษฐศาสตร์ของนักคิดชาวยุโรป 3 คนคือ

1. อดัม สมิธ บิดาแห่งลัทธิทุนนิยมเสรี (Liberal Capitalism) ถือหลัก Free & Fair Trade หลักกลไกตลาด (Demand & Supply) จะเป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณการแลกเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ

การจะเกิดการแลกเปลี่ยนได้อย่างเต็มที่หรือที่เรียกว่า Perfect Market (ตลาดสมบูรณ์) ได้นั้นต้องมีการแข่งขันกันอย่างเสรี ไม่มีการผูกขาด ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกตลาด รัฐต้องลดหน้าที่ลงเมื่อมีกลไกทางเศรษฐกิจมากำหนดให้รัฐต้องทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจ

รัฐกลายเป็นตัวแสดงระหว่างประเทศ (International Actors) จากเดิมที่เคยมีฐานะผูกขาดในฐานะ Nation States แต่ต้องลดลงไปเป็นทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การใช้อำนาจอธิปไตยที่ลดลงโดยอาจไปฝากไว้ที่องค์การระหว่างประเทศ รัฐบาลต้องร่วมมือกัน นั่นคือองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ ได้แก่ MNCs บรรษัทหลายชาติ และ TNCs บรรษัทข้ามชาติ สององค์กรนี้เหมือนกันคือไม่ได้ตั้งมั่นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ไม่ได้มีผลประโยชน์และบริหารจัดการอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง แต่ข้ามถิ่นข้ามประเทศไปเลย

บรรษัทข้ามชาติและบรรษัทหลายชาติเป็นเอกชนที่มีบทบาทในการค้าอย่างมาก สอดคล้องกับทฤษฎีเศรษฐกิจเสรีที่ต้องให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการ แต่บรรษัทข้ามชาติก็ต้องอาศัยรัฐบาลในการอำนวยความสะดวกให้ด้วย สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการค้าเสรีของอดัม สมิธที่ว่า การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเอกชน รัฐจะมีบทบาทแค่อำนวยความสะดวกโดยไม่ต้องมาทำการค้าขายเอง สหภาพยุโรปนั้นรัฐก็ไม่ได้เป็นพ่อค้า แต่มีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทุนและเทคโนโลยีอย่างเสรี เพื่อความสะดวกในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดกำไรหรือประโยชน์สูงสุด

สมิธกล่าวว่ารัฐมีหน้าที่ที่สำคัญคือ

1. สร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ทั้งที่เป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ เช่น สภาพแวดล้อมที่ดี มี Rule of Law นอกเหนือจากสร้างถนน ไฟฟ้า โทรศัพท์ ประปา ไฟเบอร์ออพติก

2. ให้การศึกษาเพื่อช่วยให้ประชาชนคิดเป็นทำเป็น เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใน

3. ให้การรักษาความปลอดภัย ดูแลความสงบเรียบร้อยภายใน เช่น กองทัพ ตำรวจ ให้ความคุ้มครองป้องกันในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน

ในเมื่อรัฐมีหน้าที่ 3 ประการดังกล่าว ดังนั้นหน้าที่การทำมาหากินจึงต้องปล่อยให้เอกชนเป็นคนทำ

2. ริคาโด กล่าวว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะดำเนินไปได้อย่างเต็มที่ต้องดูที่การได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ทำอย่างไรจึงจะผลิตได้ในต้นทุนที่ต่ำอันจะทำให้เกิดกำไรสูงสุด ประเทศใดผลิตสิ่งใดแล้วได้เปรียบก็ต้องผลิตสิ่งนั้น แต่ก็มีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรอะไรแต่มีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ญี่ปุ่นจึงเข้ามารุกรานเอเชียเพื่อสร้างวงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา เป็นการแสวงหาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเพื่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

ดังนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจะต้องมีการแบ่งงานกันทำ ทำให้ต้นทุนต่ำ กำไรสูง ประเทศไทยและประเทศในเขตร้อนนั้นได้เปรียบในการผลิตอาหารเพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพ ดิน น้ำ อากาศ อำนวยต่อการทำการเกษตร แต่ทำไมเกษตรกรไทยยังยากจน ผู้บริโภคเท่านั้นที่จะได้ประโยชน์ชั่วคราว เพราะการผลิตผลผลิตเหมือน ๆ กันทำให้ราคาตก

แต่ในสหภาพยุโรปนั้นเริ่มจากแนวคิดเรื่องการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ โดยเริ่มที่เกษตรกรรมก่อนโดยกำหนดให้เกษตรกรต้องมีการจัดการที่ดี รัฐไม่ต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือแต่เกษตรกรต้องสามารถยืนบนลำแข้งของตนเองได้ จากหลักการการได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบก็ค่อย ๆ พัฒนามาเรื่อย ๆ ท้องถิ่นใดทำเกษตรดีก็ทำเกษตร ท้องถิ่นใดทำอุตสาหกรรมดีก็ทำอุตสาหกรรม แบ่งงานกันทำตามหลักการ Economy of Scale คือผลิตแล้วต้องประหยัด ผลิตแล้วต้องได้กำไร

เคนส์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องลงมาสร้างงาน ต้องช่วยให้ประชาชนรู้จักการออมและนำเงินไปลงทุนมากขึ้น รวมทั้งสามารถพยากรณ์เศรษฐกิจล่วงหน้าได้ แต่รัฐไม่ต้องไปดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเอง

ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ผู้ปกครองต้องได้รับอาณัติจากพระเจ้าจึงจะทำการปกครองได้ มนุษย์ต้องยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาความอยู่ดีกินดี เพราะมนุษย์มีชีวิตก็เพื่อไถ่บาปเท่านั้นเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะความเสื่อมของศิลปวิทยาการ เศรษฐกิจ การค้า ความมั่งคั่ง การเมืองยุติลงไปพร้อมอาณาจักรโรมัน

ยุคนี้เรียกว่า “ยุคมืด” (Dark Age) พระมีอำนาจมากเพราะเป็นผู้สวมมงกุฎให้กษัตริย์ เพราะพระเป็นตัวแทนของพระเจ้า ศาสนจักรยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักร ยุคมืดนี้ทำให้ภูมิปัญญาของชาวยุโรปหยุดชะงัก แต่โชคดีที่ศาสนจักรไม่ได้ทำลายความรู้ที่มีอยู่เดิมยังเก็บรักษาไว้อย่างดี โดยพระเลือกใช้เฉพาะความรู้ที่สอดคล้องกับคำสอนทางศาสนา ยุคมืดนี้ครอบงำยุโรปอยู่เกือบพันปี ทำให้บรรดาบ้านป่าเมืองเถื่อนทั้งหลายที่เคยถูกกรีกโรมันโจมตีแล้วทิ้งความเจริญไว้ให้คือพวกอาหรับ พวกอาหรับยกทัพมาตียุโรปเกิดสงครามครูเสดเพราะต่างฝ่ายต่างถือศาสนาของตนเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจ

สงครามครูเสดเกิดยืดเยื้อยาวนาน ที่เป็นสงครามใหญ่ประมาณ 7 ครั้ง แต่ละครั้งกินเวลานับ 10 ปี ทำให้สงครามครูเสดกินเวลาเป็นร้อยปี เกิดความยากลำบากซ้ำสองขึ้นในยุโรป เศรษฐกิจที่แค่พออยู่พอกินก็เริ่มลำบากยากแค้น เกิดความยากจนอดอยากเพราะมัวแต่ไปรบกัน บางคนหนีทัพ แตกทัพ อพยพซอกซอนหนีตายไปอยู่ในที่ที่พอจะทำมาหากินค้าขายได้ คือบริเวณท่าเรือซึ่งเป็นชายฝั่ง

บริเวณแถบเมดิเตอร์เรเนียนจึงเริ่มมีความเจริญขึ้นอีกครั้งเพราะมีการค้าขาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มมีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่ง แล้วแพร่สะพัดเข้าไปในแผ่นดิน มีพ่อค้าซึ่งเป็นพวกเสรีชนเกิดขึ้น อาชีพพ่อค้าทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็ว

คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหลาย ไม่ห้ามเรื่องการค้าขาย แต่สอนให้ประพฤติในความถูกต้อง ชอบธรรม และดีงาม ทำให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีการปฏิวัติในหลายด้าน

1. การปฏิวัติด้านความรู้ ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ความรู้ช่วยให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ผสานกับการค้าขายยิ่งทำให้เกิดการงอกงาม แม้แต่กษัตริย์และพระในระบบศักดินาก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต หันมาสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแข่งกัน โดยพระตั้งมหาวิทยาลัยนำความรู้มาเผยแพร่ คนมีเงินจึงหันมาเรียนหนังสือจากพระ เมื่อประสบความสำเร็จก็ใส่เสื้อครุยเหมือนพระ

2. การปฏิวัติทางการเมือง เมื่อความรู้เจริญมากขึ้นยิ่งช่วยให้เกิดการแพร่หลายในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น พ่อค้าเป็นเสรีชนไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติใครมาตั้งเมืองใหม่ใกล้ ๆ ปราสาทราชวังของเจ้าครองนครเดิม เสรีชนนำวิถีชีวิตแบบใหม่มาให้และนำไปสู่การปฏิวัติทางการเมือง เช่น การเปลี่ยนแปลงโดย Magna Carta ของอังกฤษให้อำนาจกับประชาชนมากขึ้น ลดอำนาจกษัตริย์ลงไป ตั้งสภาสามัญหรือสภาล่างให้สามัญชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะในอดีตจะให้สิทธิเฉพาะเจ้าและขุนนางเท่านั้น คือมีแค่สภาสูง

การที่สามัญชนได้เข้าไปมีบทบาททางการเมืองเพราะสามัญชนเริ่มมีฐานะดีขึ้น สามารถเข้าไปเจรจาต่อรองได้ และที่สำคัญประชาชนเป็นผู้เสียภาษี

3. การปฏิวัติทางสังคม

เปลี่ยนแปลงจากรัฐศักดินา (Feudal State) เป็นรัฐชาติ (Nation State) รัฐมีอำนาจสูงสุดในการจัดการบริหารโดยไม่มีใครสามารถแทรกแซงได้ ไม่ว่าจะเป็นการบุกรุกหรือปล้น แย่งชิงประชากร

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ คือเกิดลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) เป็นรากฐานของระบบเสรีนิยมดังนี้

Mercantilism® Liberalism (Laissez Fair)® Liberal Capitalism

ส่งผลต่อการเมืองระหว่างประเทศคือก่อให้เกิดลัทธิล่าอาณานิคม ชาวคริสต์ออกมาประกาศเหตุผลของการล่าอาณานิคมว่า เป็นภารกิจของคนขาวที่จะมาช่วยให้คนบาปทั้งหลายรู้จักพระเจ้า แต่ในขณะเดียวกันก็มีการฉกฉวยทรัพยากรไปด้วย การล่าอาณานิคมใช้ระยะเวลานาน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะชาวยุโรปต้องการขยายการค้าและแสวงหาวัตถุดิบ ทั้งนี้เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมทางการผลิตคือเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น จึงจำเป็นต้องแสวงหาวัตถุดิบให้มากขึ้นเพื่อการขยายตัวของการค้าและอุตสาหกรรม

เหตุผลดังกล่าวส่งเสริมการแพร่ขยายของลัทธิล่าอาณานิคม จึงนำไปสู่สงครามแย่งชิงความมั่งคั่ง วัตถุดิบ และการค้า ผลของสงครามทำให้ต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เป็นวงจรที่ทำให้ชาวยุโรปต้องฉุกคิดขึ้นมา โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามมา เกิดชาติรัฐที่ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ขึ้นมา ก่อนหน้านั้นในช่วงของการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดแนวคิด Marxism เพราะเกิดความทุกข์ยากเอารัดเอาเปรียบกันขึ้น

ดังนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงเกิดรัฐที่พยายามใช้ลัทธิ Marxism เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เริ่มต้นที่รัสเซียแล้วแพร่ขยายไปในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก โดยใช้ระบบ Command Economy หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่ถูกควบคุมโดยรัฐ กิจกรรมการผลิตต้องเป็นของรัฐ ตรงข้ามกับ Market Economy ที่ใช้กันอยู่ในยุโรปตะวันตก อย่างไรก็ตามสำหรับมุมมองทางเศรษฐกิจระบบเศรษฐกิจของรัสเซียก็ยังเป็นทุนนิยมอยู่ แต่เป็นทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) คือทุนนิยมที่ถูกควบคุม ไม่ใช่ทุนนิยมเสรีที่ดำเนินการโดยเอกชน ทั้งนี้ทุนนิยมโดยรัฐมองว่าทุนนิยมเสรีทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบอย่างรุนแรง

คอมมิวนิสต์เติบโตขึ้นมาได้ด้วย Command Economy นอกจากนี้ยังมีลัทธิฟาสซิสม์ในอิตาลีและนาซีในเยอรมันที่เติบโตมาในระยะเวลาใกล้เคียงกันคือหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งสองลัทธินี้เป็น State Capitalism เช่นเดียวกัน ยุโรปตะวันตกจึงต้องปฏิรูปความคิดของทุนนิยมเสรี โดยกำหนดให้มีสวัสดิการขึ้นแก่ประชาชนกลายเป็นสังคมนิยมแบบตะวันตก หรือรัฐสวัสดิการ (Welfare State)

ผลพวงที่เกิดขึ้นคือหลังสงครามโลกทั้งสองครั้งเกิดความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น ทำให้เกิดสงครามเย็นและหวาดกลัวว่าจะนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 เป็นแรงผลักดันให้ชาวยุโรปมารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสร้างปราการแห่งยุโรป (Fortress of Europe)

เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรป (ประกาศไว้เมื่อ ค.ศ.1993)

1. เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและสมดุล ความก้าวหน้าแห่งสังคมโดยยุโรปตลาดเดียว สหภาพการเงิน เศรษฐกิจ และเงินตราสกุลเดียว

2. การเสริมสร้างเอกลักษณ์ระหว่างประเทศ นโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน อันจะนำไปสู่การปกครองและนโยบายการทหารเดียวกัน

สหภาพยุโรปกลายเป็นเอกลักษณ์ระหว่างประเทศใหม่ที่จะมาแทนที่ Nation State แม้จะยังแทนที่ไม่ได้ทั้งหมด แต่ตอนนี้ยุโรปเป็นสิ่งที่เหนือกว่า Nation State แล้ว

3. สถานะพลเมืองแห่งสหภาพ (European Citizenship) เพื่อความแข็งแกร่งและสิทธิประโยชน์แห่งสมาชิก

4. การพัฒนาความร่วมมืออันใกล้ชิดในกิจการภายในและการยุติธรรม

5. การธำรงรักษาไว้ซึ่งพันธะแห่งชุมชน

หลังจากการเซ็นสนธิสัญญามาสทริชท์ (Masstricht Treaty) ทำให้เกิดสหภาพยุโรปขึ้นมาใน ค.ศ.1993 โดยมีพัฒนาการมาจากสนธิสัญญาหลายฉบับเริ่มจากสนธิสัญญาปารีส สนธิสัญญาโรม สนธิสัญญามาสทริชท์ สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม 1997 และสนธิสัญญานีซ 2000 (ยังไม่ได้ให้สัตยาบัน) ระหว่างนั้นมีข้อตกลงต่าง ๆ เช่น Schengen Agreement ยกเลิกพรมแดนระหว่างประเทศสมาชิก ยกเว้นอังกฤษกับไอร์แลนด์ที่ยังขอมีพรมแดนอยู่ เพราะเกรงปัญหาการลักลอบเข้าเมือง

สนธิสัญญามาสทริชท์ สนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม 1997 และสนธิสัญญานีซ 2000 รวมเรียกว่าสนธิสัญญาสหภาพ (Treaty of European Union : TEU)

พัฒนาการของสหภาพยุโรป

เริ่มต้นด้วยประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community) มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักแซมเบอร์ก แต่ไม่มีประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตามอังกฤษนั้นเห็นด้วยกับความร่วมมือนี้ เห็นได้จากวินส์ตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยนั้นพูดไว้ชัดเจนว่า อยากเห็นอนาคตของความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวยุโรปเป็น United State of Europe

การขยายตัวครั้งแรก ค.ศ.1973 สหภาพยุโรปมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกเป็น 9 ประเทศ คือ อังกฤษ ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก ไอร์แลนด์เป็นประเทศเล็กมีพัฒนาการน้อยกว่าประเทศอื่นมาก แต่เมื่อเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ยังเป็นตลาดร่วมยุโรปก็ได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 8% มาโดยตลอดระยะเวลาการเป็นสมาชิก

การขยายตัวครั้งที่ 2 ค.ศ.1981 กรีซเพิ่มเข้ามาเป็น 10 ประเทศ

การขยายตัวครั้งที่ 3

ค.ศ.1986 รับสเปนและโปรตุเกสเป็นสมาชิกทำให้มีสมาชิกเพิ่มเป็น 12 ประเทศ

ประเทศที่เข้ามาหลัง ๆ เช่น กรีซ สเปน โปรตุเกส เห็นได้ว่าเป็นประเทศที่มีพัฒนาการน้อยกว่าประเทศอื่นนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และเป็นประเทศที่ล่อแหลมต่อการจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์ เพราะกรีซเป็นประเทศหน้าด่านต้องประจันหน้ากับยุโรปตะวันออกที่เป็นคอมมิวนิสต์ ส่วนสเปน โปรตุเกสก็ปกครองด้วยรัฐบาลเผด็จการ จึงต้องดึงมาเข้ากลุ่มตลาดร่วมยุโรปเสียเพื่อตัดไฟแต่ต้นลม เป็นการสร้างป้อมปราการแห่งเสรีนิยมทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ

ค.ศ.1992 ขยายตัวเป็น Single European Market : ตลาดร่วมยุโรป

ค.ศ.1993 กลายเป็นสหภาพยุโรปมีสมาชิก 15 ประเทศ ตามสนธิสัญญามาสทริชท์ (Masstrich Treaty) โดยเพิ่มออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้ามาเพิ่มจาก 12 ประเทศผู้จัดตั้ง ทำให้เกิดสหภาพยุโรป (European Union) อย่างแท้จริง ตาม Treaty of European Union : TEU ใน ค.ศ.1993 (ธงของสหภาพยุโรปเป็นสีน้ำเงิน มีดาว 12 ดวงอันหมายถึง 12 ประเทศก่อตั้ง)

เห็นได้ว่าสหภาพยุโรปมีการวางแผนและกระทำโดยต่อเนื่องมาตลอด เริ่มจากความร่วมมือเล็ก ๆ เพื่อจัดการทรัพยากรที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมในขณะนั้นคือถ่านหินและเหล็กกล้า ต่อมาพัฒนาก้าวหน้ามาเรื่อย ๆ ขยายตัวครอบคลุมทุกด้านรวมทั้งความร่วมมือด้านดาวเทียมและอวกาศในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเกิดจากความยินยอมพร้อมใจกัน มีความชอบธรรม มีความรับผิดชอบตามพันธะแห่งตน โดยการรวมกันเป็นสหภาพยุโรปมีฐานคติดังนี้

1. ความต้องการและตั้งใจจะร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งและสงคราม (Conflict Resolution)

3. ความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี เป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้สร้างประโยชน์ในการแข่งขัน การเจริญเติบโตและผลประโยชน์ที่ยั่งยืน

4. หลักการธรรมาภิบาล พูดกันด้วยกฎหมาย

5. การวางแผนล่วงหน้าและการกระทำอย่างต่อเนื่อง

6. ความยินยอมพร้อมใจ อันเป็นฐานในการสร้างความชอบธรรมร่วมกันตามหลักประชาธิปไตย

7. รับผิดชอบตามพันธะแห่งตนที่กระทำไว้

8. ความเคารพในเอกภาพ (Unity) แต่ไม่ทำลายความหลากหลาย (Diversity) ที่มีอยู่มี Esprit de Corps (Communal Spirit) คิดถึงส่วนรวมก่อนเรื่องส่วนตัว

9. ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)

  1. ความสามารถในการแข่งขัน สันติภาพ และความไพบูลย์ที่ยั่งยืน (Competitiveness, Sustainability of Peace and Prosperity)

จากฐานคติที่ว่าทำให้คนยุโรปอยู่ในบ้านหลังเดียวกันคือบ้านยุโรป (Common European House)

หลังคาคือสหภาพยุโรป หมายถึง พันธแห่งสมาชิกของชุมชนที่ได้มา (Acquais Communautaire) ต้องรักษาเอาไว้ เพราะเป็นความเห็นพ้องต้องกันในผลประโยชน์ของสมาชิกที่เข้ามาเป็นพลเมืองแห่งสหภาพ ถ้าสมาชิกต้องสูญเสียบางสิ่งบางอย่างไปก็จะได้รับการทดแทนเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม เช่น การเสียสกุลเงินของประเทศตนมาใช้เงินยูโรแต่ก็ได้รับความสะดวกมากขึ้นในการเดินทางไปทั่วยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ สวีเดน เดนมาร์กที่ยังใช้สกุลเงินเดิม)

บ้านยุโรปนี้มี 3 เสาหลัก

เสาที่ 1 เสาเอกคือสหภาพยุโรป เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจมีกระบวนการรองรับการบูรณาการทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ เป็นสหภาพเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การค้า มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะขยายการรวมตัวได้โดยการแก้ไขกฎเกณฑ์และวัตถุประสงค์ ปรับสถาบันและกระบวนการต่าง ๆ เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสาหลักในการเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจอันเป็นสหภาพเหนือชาติ

เสาที่ 2 คือนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยและนโยบายต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ เงื่อนไขและการกระทำร่วมกันอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (Intergovernmental) เสานี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ

เสาที่ 3 กิจการภายในและยุติธรรม เสานี้กำลังอยู่ในช่วงการสร้างความเข้มแข็ง อยู่ในระดับความร่วมมือของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ แต่บางประเด็นอยู่ในการควบคุมขององค์กรเหนือรัฐแล้ว เช่น ความเป็นพลเมืองแห่งสหภาพยุโรป มีสำนักสำมะโนประชากรยุโรปดูแลประชากร 370 ล้านคน

สถาบันหลักของสหภาพยุโรป (องค์กรหลักทั้ง 5 ดำเนินงานด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)

1. รัฐสภายุโรป (European Parliament) ประกอบด้วยตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในชาติต่าง ๆ ตามสัดส่วนจำนวนประชากรรวม 626 คน มาจากพรรคการเมืองจากประเทศสมาชิกส่งผู้สมัครคละเคล้ากันไปตามสัดส่วนแล้วลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกัน

2. คณะมนตรียุโรป (European Council) ประกอบด้วย คณะประธานาธิบดีหรือประมุขฝ่ายบริหารของแต่ละประเทศ+รัฐมนตรีต่างประเทศทำหน้าที่คล้ายเป็นเลขาฯ+ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพฯ (คนนี้ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายบริหารในระดับสหภาพฯ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตามอักษร ยกเว้นบางประเทศไม่พร้อมที่จะทำหน้าที่นี้ก็ต้องมาประชุมตัดสินว่าจะให้ประเทศใดทำหน้าที่แทนในวาระนั้น)

3. คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of Minister) เป็นคณะรัฐบาลเล็ก ประกอบด้วยรัฐมนตรีคนสำคัญ ๆ จากประเทศสมาชิกตามสัดส่วนจำนวนประชากรรวม 87 คน

4. คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (The European Commission) จำนวน 20 คน คัดคนระดับหัวกะทิดูแลการบริหารงานระดับยอด เป็นองค์กรหลักทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ประจำของสหภาพยุโรป

5. ศาลยุติธรรม มีผู้พิพากษา 15 คน มาจากการคัดสรรกลั่นกรองมาแล้ว และได้รับฉันทานุมัติระดับชาติ ดูแลคดีความที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะ

งบประมาณของสหภาพยุโรปได้จากประเทศสมาชิก ใน ค.ศ.1996 มีสัดส่วนดังนี้ เยอรมัน 30% ฝรั่งเศส 17% อังกฤษ 10% ส่วนประเทศเล็ก ๆ อย่างกรีซ โปรตุเกส ฟินแลนด์จ่าย 1.5%

สถาบันเศรษฐกิจ การเงิน และสังคม

1. ศาลการเงิน (The Court of Auditors) 25 คน (คล้าย ๆ สตง.) ตรวจสอบการใช้จ่ายของสหภาพฯ

2. คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม (The Economic and Social Committee-ECOSOC) จำนวน 222 คน

3. คณะกรรมาธิการภูมิภาค (The Committee of The Regions) จำนวน 222 คน ดูแลการผลิตในแต่ละภูมิภาคของยุโรป

4. ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป (The European Investment Bank : EIB) ช่วยให้สามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างคล่องตัวแข่งขันกับสหรัฐฯได้

5. สถาบันการเงินและธนาคารกลางแห่งยุโรป (The European Monetary Institute and European Central Bank : EMI & ECB) ผู้ว่าการธนาคารคือ Wim Duisenburg

นโยบายสำคัญของสหภาพยุโรป

1.นโยบายการค้าร่วม

2.นโยบายเกษตรร่วม

3.นโยบายประมงร่วม

4.นโยบายอุตสาหกรรมร่วมกัน

5.นโยบายการให้ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา ฝึกอบรม อาชีพการจ้างงานและการประกันสังคม ทั้งนี้เพื่อให้พลเมืองของยุโรปไดรับการประกันเทียบเท่ากับประกันของชาติรัฐของตนเอง

6.นโยบายความร่วมมือระดับมหภาคและสภาพทางการเงิน

7.นโยบายสิ่งแวดล้อมร่วม เป็นนโยบายที่ยุโรปให้ความสำคัญดัง

จะเห็นกรณีที่ยุโรปลงนามในการประชุมที่ริโอเดอจาเนโร และสนธิสัญญาโตเกียวที่ว่าด้วยภาวะเรือนกระจก

8.นโยบายสังคมสารสนเทศการวิจัยและเทคโนโลยี

9.นโยบายบูรณาการยุโรปทั้งหมด โดยนโยบายทั้งหมดของยุโรปก็จะมามีส่วนร่วมในนโยบายข้อที่ 9 นี่เอง

สถาบันหลักของสหภาพยุโรป

ทั้งนี้การดำเนินกิจกรรมต่างๆตามนโยบายข้างต้น ของยุโรปจะมีสถาบันหลักในการดำเนินการคือ

1.รัฐสภายุโรป (European Parliament) ประกอบด้วย ส.ส. 626 คน สมาชิกจะมาจากการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี (เริ่มครั้งแรกในปี 1989) โดยให้ประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผู้เลือก โดยจำนวนนั้นมาจากสัดส่วนของประชากรในแต่ละประเทศ

กล่าวคือ เยอรมัน 99 คน ฝรั่งเศส อิตาลี และอังกฤษ 87 คน สเปน 64 เนเธอร์แลนด์ 31 เบลเยี่ยม กรีช โปรตุเกส ประเทศละ 25 ออสเตรีย 21 เดนมาร์กและฟินแลนด์ 16 คน ไอร์แลนด์ 15 และ ลักเซ็มเบิร์ก 16 คน

ตัวแทนเหล่านี้แม้ว่าจะมาจากประชาชนของแต่ละประเทศ แต่ก็จะมีการรวมกลุ่มของคนที่มีแนวคิดแบบเดียวกันเป็นกลุ่มๆ

หน้าที่ของรัฐสภาคือการทำหน้าที่ออกกฎหมาย ซึ่งกฎหมายของอียูส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายการเงิน และยังทำหน้าที่รับรองและจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งให้คำปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับองค์การบริหาร

รัฐสภามีระบบการทำงานเป็นแบบกรรมาธิการที่จะแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ เช่นกรรมาธิการงบประมาณที่ติดตามการใช้งบประมาณของอียู กรรมาธิการประมง กรรมาธิการกีฬา เป็นต้น

แม้ว่า ส.ส.เหล่านี้จะมาจากแต่ละประเทศแต่ก็จะมีการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มๆสำหรับคนที่มีความคิดเหมือนกัน

2.คณะมนตรียุโรป (European Council) ประกอบด้วย คณะประธานาธิบดี+รัฐมนตรีต่างประเทศ+ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพฯ ทำหน้าที่หมุนเวียนกันเป็นประมุขของยุโรปในด้านพิธีการและการสร้างความร่วมมือระหว่างสมาชิก โดยดำรงตำแหน่งวาระละ 6 เดือน แต่ประมุขของประเทศอื่นๆก็จะมีสถานภาพเท่ากัน

3. คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (Council of Minister) ประกอบด้วยรัฐมนตรีคนสำคัญ ๆ จากกิจการหลัก จากประเทศสมาชิกตามสัดส่วนจำนวนประชากรรวม 87 คน ซึ่งมีจำนวนไม่เท่ากันของแต่ละประเทศสมาชิก โดยมาจากรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญๆของสมาชิก

4. คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (The European Commission) จำนวน 20 คน (รวมประธานคณะกรรมาธิการ) เป็นคณะที่ทำงานด้านบริหารชุดใหญ่ เป็นผู้ทำงานจริงๆ จะพัฒนามาจากคณะทำงานของประชาคมยุโรป ซึ่งเดิมมี 9 คน จนปี 1995 มี 20 คนได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐบาลของแต่ละประเทศสมาชิก โดยมีวาระ 5 ปี คนที่เป็นประธานก็จะมาจากความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ของประเทศสมาชิก

คณะกรรมการชุดนี้ถือว่าเป็นชุดที่ทำงานอย่างแม้จริงต้องมีความรู้ความสามารถมากๆ ต้องมีความเป็นกลางเพื่อทำงานให้กับสมาชิกทุกประเทศ มีหน้าที่สำคัญคือเป็นเครื่องจักรที่จะทำให้เกิดการบูรณาการ ถือว่ามีตำแหน่งที่เป็นยุธศาสตร์ของอียู ที่จะต้องดูและเจ้าหน้าที่ของอียูที่มีอยู่จำนวนมากให้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ

5.ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป มีผู้พิพากษา 15 คน ดูแลความยุติธรรมและกรณีพิพาทในด้านเศรษฐกิจ หรือคดีอาญาทางเศรษฐกิจ ส่วนคดีธรรมดานั้นก็ขึ้นศาลของแต่ละประเทศ

แต่ปัจจุบันแม้ว่ากฎหมายของแต่ละประเทศจะมีกฎหมายที่ต่างกันบ้าง แต่ก็มีหลักการหลายประการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนดังนั้นปัจจุบันทุกประเทศสมาชิกจะไม่มีโทษประหารชีวิตอีกต่อไป

ระบบการทำงานของยุโรปคือการประชุมร่วมกัน หรือใช้นโยบายการประชุมร่วม Diplomacy Conference และการลงมติของยุโรปไม่เป็นแบบเสียงข้างมากแต่จะเป็น Qualified Majority โดยเฉพาะในเรื่องสำคัญๆ เช่นเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี การออกมติเกี่ยวกับกิจกรรมของตลาดภายใน การสร้างมาตรฐานเดียวกัน การปรับมาตรฐานให้กลมกลืนกัน (Harmonization) เรื่องกิจการสุขภาพพลานามัย เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค การคมนาคมขนส่ง การร่วมมือในการปฏิบัติต่อคนต่างด้าว เรื่องของสภาพแวดล้อม ร่วมทั้งการขยายความร่วมมือไปยังด้านอื่นๆ การปฏิบัติต่อชายและหญิง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น

สถาบันเศรษฐกิจ การเงิน และสังคม

เนื่องจากการบูรณาการของอียูเน้นในเรื่องเศรษฐกิจสถาบันทางเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญ ประกอบด้วย

1.ศาลการเงิน (The Court of Auditors) 25 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายของสหภาพฯ

2.คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม (The Economic and Social Committee-ECOSOC) มีสมาชิกจำนวน 222 คน จะทำหน้าที่ดูแลชุมชน ดูแลสวัสดิภาพ เสถียรภาพและความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของชุมชน ดูแลในเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรม การพัฒนาท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม การจ้างงาน การประกันสังคม การผลิต การบริโภค การตลาดภายใน การต่างประเทศ เป็นต้น

3. คณะกรรมาธิการภูมิภาค (The Committee of The Regions) มีสมาชิกจำนวน 222 คน ทำหน้าที่แตกต่างไปตามแต่ละภูมิภาค โดยมีหน้าที่ลงไปดูแลให้แต่ละภูมิภาคมีความเจริญเท่าเทียมกัน สมาชิก 222 คนมาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี

4.ธนาคารเพื่อการลงทุนแห่งยุโรป (The European Investment Bank : EIB)

5.สถาบันการเงินและธนาคารกลางแห่งยุโรป (The European Monetary Institute and European Central Bank : EMI & ECB) ประธานธนาคารคนปัจจุบันคือ Wim Duisenburg (ชาวดัทช์ เคยมีผลงานในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ในช่วง 1970 และมีความรู้ในเรื่องของ IMF และธนาคารโลกเป็นอย่างดีเพื่อมาทำงานแข่งขันกับสหรัฐ) จะทำหน้าที่ 8 ปี เพื่อให้เกิดความมีเสถียรภาพทางการเงินของสหภาพ

โดยผลงานของธนาคารกลางแห่งยุโรปที่สำคัญคือการออกเงินตรายูโร ซึ่งจะมาแข่งขันกับดอลลาร์และเงินเยน ซึ่งเป็น 3 สกุลหลักที่มาควบคุมเศรษฐกิจของโลก

สัญลักษณ์ของเงินยูโรจะใช้คำว่า EUR และใช้รูปตัว E มีตั้งแต่ 5 เหรียญยูโรและ 500 ยูโร และธนาคารกลางจะมีสิทธิในการสั่งพิมพ์ และประเทศทางเหนือจะมีสัดส่วนของการพิมพ์มากกว่าเพราะคนทางเหนือจะเดินทางมาทางใต้มากกว่า และรูปของธนบัตรก็จะเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นยูโรปเช่นรูปสะพานโค้งๆ ซึ่งจะพบได้ในแทบทุกประเทศ นอกเหนือไปจากอีกด้านที่จะเป็นรูปของสัญลักษณ์ของอียู

แต่เงินเหรียญสมาชิกแต่ละประเทศสามารถจัดทำเองได้ ซึ่งมักจะหมุนเวียนกันใช้ในประเทศนั้นๆ

ธนาคารกลางของยุโรปจะตั้งอยู่ที่แฟรงค์เฟิร์ต เยอรมัน ขณะเมืองที่เรียกว่าเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์รวมระบบราชการจะอยู่ที่ เบลเยี่ยม คือกรุงบรัสเซส เหตุผลที่มาตั้งศูนย์กลางบรัสเซลเพราะเป็นสมาชิกจัดตั้งที่มีขนาดกลางไม่ใหญ่ไม่เล็กเกินไป และเบลเยี่ยมเองก็ต้องการแสดงบทบาทเป็นเมืองนานาชาติ ได้รับประโยชน์จากการเข้ามาอาศัยของข้าราชการของอียู

ส่วนรัฐสภายุโรปอยู่ในฝรั่งเศส

จะพบว่ามีการกระจายสถาบันไปตามประเทศต่างๆซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการจัดสรรผลประโยชน์รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกลำเอียงต่อกัน

เงินยูโรนั้นนอกเหนือจะใช้ทำธุรกรรมภายในสหภาพยุโรปแล้ว แต่วัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการก้าวขึ้นมาแข่งขันกับเงินดอลล่าร์ของสหรัฐ และนับเป็นความภูมิใจของชาวยุโรป

องค์กรทั้งหลายของสหภาพยุโรปนี้ทุกองค์กรจะมีการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการกำหนดนโยบาย

จากการทำงานของสถาบันต่างๆของยุโรปสามารถมองภาพได้ว่าเป็นการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกันของชาวยุโรปเพื่อแข่งขันกันในระดับโลก ซึ่งจะทำให้ก็ต้องมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ มีการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainable Growth) ต้องมีการจ้างงานอย่างเต็มที่ มีการกระจายการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนต่ำ ทั้งด้านแรงงานและวัตถุดิบ เพื่อสามารถส่งสินค้าออกมาแข่งขันกับประเทศกำลังพัฒนาได้

หลักการที่อียูวางเอาไว้คือสหภาพยุโรปจะต้องทำให้เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีรากฐานแห่งความรู้ที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีพลวัตร

ระบบการจัดการในสหภาพยุโรป

จะมีลักษณะเป็น 2 มิติ หรือ 2 Dimension คือ

-เป็นองค์กรเหนือชาติ (Supra-National)

-เป็นองค์กรที่ยังมีความเป็นองค์ระดับชาติด้วย (International National Government)

ทั้ง 2 มิติจะมีการจัดการงาน 3 ระดับ คือ

1.ระดับ UNION Level จะมีสถาบันต่างๆในการทำงาน

2.ระบบชาติ National Level จะมีตัวแทน มีพรรคการเมือง

3.ระดับท้องถิ่น Local Level มีลักษณะเป็นสังคมประชา ซึ่งจะมีการทำงานร่วมกันเป็นองค์กร เป็นเอ็นจีโอ

ซึ่งทั้งหมดจะทำให้อียูอยู่ได้เนื่องจากมีความผูกพันในฐานะที่เป็นยุโรป (Europeanism) ซึ่งจะทำให้เกิด Harmonization และ Standardization

ในการลงคะแนนในเรื่องต่างของยุโรปนอกเหนือจากการลงคะแนนเสียงเป็นเอกฉันทร์แล้วในบางเรื่องก็อาจจะใช้หลักการไม่ออกเสียงเพื่อการสร้างสรรค์

ดังนั้นยุโรปจึงมีความต้องการที่จะให้เกิดสังคมที่มี 4 ลักษณะ

1.เป็นสังคมที่มีการจัดการด้วยกฎหมาย Rule of law Community

2.เป็นสังคมทีมีการแบ่งสรรทรัพยากร Resource Sharing Community

3.เป็นสังคมที่ทุกส่วนต้องได้ประโยชน์ร่วมกัน Mutual Benefit Community

4.เป็นสังคมที่มีความร่วมมือกันด้วยการประชุม Diplomacy by Conference Community

เวลานี้อียูมีเพลงแห่งสหภาพยุโรป คนยุโรปจะมีสัญชาติยุโรป เป็นพลเมืองยุโรป มีพาสปอร์ตยุโรป

การขยายสมาชิกภาพของยุโรป

อียูก็ได้กำหนดในการรับสมาชิกใหม่ไว้เป็น 2 ระลอกคือ

ระลอกที่ 1 ประกอบด้วย เอสโทเนีย โปแลนด์ สาธารณรัฐเชค ฮังการี สโลเวเนีย ไซปรัส

ระลอกที่ 2 แลทเวีย ลิธัวเนีย สโลวาเกีย โรมาเนีย บัลกาเรีย มอลต้า

ส่วนตุรกี อยู่ในฐานะผู้สมัคร (ตั้งแต่ทศวรรษ 1980) แต่มีคำถามมากมายเพราะตุรกีนั้นพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ในเอเชีย และประชากรเป็นมุสลิมจำนวนมาก พร้อมกับการปกครองของตุรกีเองก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันต่อไปว่ารับหรือไม่

ทั้งนี้ประเทศเหล่านี้จะเป็นประเทศอดีตสังคมนิยม หลังจากการล่มสลายของโซเวียตทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องการที่จะมีการพัฒนาให้ก้าวตามทันกับประเทศยุโรปอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งของยุโรป ซึ่งหากยุโรปทั้งหมดมารวมกันได้ทั้งหมดจะเป็น Pan European

อย่างไรก็ตามอียูจะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการ กฎหมายและอีกหลายประการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการรวมตัวกันทั้งทวีปยุโรป ซึ่งจะเป็นทั้งการขยายขนาดของตลาด

เพื่อรองรับการขยายตัวนี้ก็มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อเตรียมพร้อมในการรับสมัครสมาชิกใหม่ โดยมีการกำหนดเกณฑ์ต่างๆ เช่นต้องมีเกณฑ์ต่างๆ

-ทางการเมือง คือเป็นประชาธิปไตย เคารพในสิทธิมนุษย์ชน มีการปกป้องชนกลุ่มน้อย

-ทางเศรษฐกิจ ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิก จะต้องมีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแบบเสรี มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดเดียวได้ มีมาตรฐานทางด้านสินค้าและบริการแบบเดียวกับยุโรป

จะต้องยอมรับพันธกรณีแห่งชุมชน และการยอมรับหลักเกณฑ์ของการเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน

โดยมีโครงการที่จะเข้าไปช่วยปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจของประเทศที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก ในรูปแบบการช่วยเหลือ ที่เรียกว่า Assistance Partnership Strategy และเรียกว่าโปรแกรม Phare Program เช่นต้องมีการปรับโครงสร้างทางการเมือง การปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การให้เงินช่วยเหลือ และการติดตามความก้าวหน้าของโครงการช่วยเหลือด้วย ทั้งนี้การให้ความช่วยเหลือ เป็นหลักการที่อียูทำมาตั้งแต่แรกเริ่ม เพราะการกระจายความมั่งคั่งไปสู่สมาชิกนำมาซึ่งความสำเร็จของการบูรณาการแห่งยุโรป

อย่างไรก็ตามการขยายสมาชิกก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคตามสมควร เพราะจะต้องมีการปรับกระบวนการภายใน ในเรื่องสัดส่วนการลงคะแนนเสียง รวมทั้งปัญหาที่ต้องใช้งบประมาณในการเข้าไปช่วยเหลือประเทศว่าที่สมาชิกซึ่งอาจจะกลายเป็นภาระของสมาชิกเดิม

ความสัมพันธ์ของสหภาพยุโรปกับต่างประเทศ

1.อียู-WTO อียูเองก็มีบทบาทในการจัดตั้ง WTO บทบาทของอียูใน WTO ก็มีสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างของการแข่งขันเช่นการเลือกตั้งผู้อำนวยการ WTO ที่อียูสนับสนุนคุฯศุภชัย แต่อเมริกาสนับสนุนไมค์ มัวร์

นอกจากนี้อียูและอเมริกามีความขัดแย้งกันในเวที WTO หลายเรื่อง เช่น ปี 1996 ที่อียูมองว่าอเมริกาทำให้อียูมีความเสียเปรียบในการค้ากับคิวบา หรือสงครามกล้วยหอม 1999 อเมริการ้องเรียนว่าอียูกีดกันเนื้อจากอเมริกา และสินค้า GMOs ปัจจุบันมีกรณีพิพาทเรื่องเหล็กกล้า เป็นต้น

2.อียู-สหรัฐอเมริกา

3.อียู-จีนอียูพยายามที่จะเจาะเข้าไปในจีนเพื่อสร้างสัมพันธ์กับจีนเพื่อคานอำนาจกับอเมริกา ดังจะพบว่าอียูนั้นสนับสนุนจีนให้เข้า WTO

4.อียู-ญี่ปุ่น ตอนนี้อียูพยายามสร้างความร่วมมือกับญี่ปุ่นในการต่อต้านเหล็กกล้าจากสหรัฐ

5.อียู-กับภูมิภาคอัฟริกา แคริบเบียนและแปซิฟิกหรือประเทศโลกที่ 3 อียูก็พยายามเข้าไปจัดตั้งกลุ่ม หรือสร้างพันธกรณีร่วม โดยอ้างว่าอียูนั้นมีความร่วมมือกับประเทศเหล่านี้มานาน เช่นมีกลุ่ม LOME Convention หรือข้อตกลง LOME ซึ่งทำให้เกิดเงื่อนไขที่จะปฏิบัติต่อประเทศกำลังพัฒนา โดยมีข้อตกลงตาม LOME นี้มี 4 ฉบับแล้ว เช่นการค้าแบบไม่เลือกปฏิบัติ การให้ GSP หรือสิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า

ความสัมพันธ์ของอียูกับโลกภายนอกนั้นจะตั้งอยู่บนธรรมเนียมพื้นฐานที่คนยุโรปยอมรับนั่นคือการมีความร่วมมือแบบพหุภาคี หรือพหุการค้า แต่สหรัฐอเมริกาชอบใช้วิธีการแบบทวิภาคี

โดยอียูอ้างว่าอียูเป็นฝ่ายช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาถึง 40% ของความช่วยเหลือที่ประเทศกำลังพัฒนาได้รับทั้งหมด

เป้าหมายหลักของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของอียูก็คือการวางกรอบตามแนวทางของสนธิสัญญาจัดตั้งตลาดเดียวแห่งยุโรป และแผนการดำเนินด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อแก้ไขมาสทริทและอัมเตอร์ดัม โดยจะเป็นแนวทางกว้าง รวมถึงการสร้างดุลภาพแห่งชีวิต ความสมดุลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเติบโตอย่างพอเพียงอย่างไม่ฟุ้งเฟ้อเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม

ทั้งหมดก็คือการจัดสรรทรัพยากร การปรับปรุงคุณภาพนโยบายสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุผล

การที่เป้าหมายของนโยบายจึงมีกลายประเด็น เนื่องจากเท่าที่ผ่านมานโยบายของอียูจะเน้นไปที่ปัญหาที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้สร้างซึ่งมีความซับซ้อนมากว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่นการควบคุมสารเคมี การควบคุมมลพิษด้านอากาศและน้ำ การควบคุมมลพิษทางเสียง และมลพิษจาก GMO

นโยบายสิ่งแวดล้อมถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติและสัตว์ป่า

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แม่น้ำ การประมงดิน รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอนุรักษ์พลังงานและแหล่งพลังงานทดแทน

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมจะมี 4 หัวใจหลัก

-การบูรณาการ คือการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งของนโยบายอื่นๆของอียู

-การป้องกัน หมายถึงแผนการดำเนินการของอียูจะเน้นการป้องกันการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมมากกว่า

-การเกื้อกูล หมายถึงอียูจะต้องกำหนดกรอบการแก้ปัญหาด้วยการแก้ไจปัญหาร่วมกันโดยประเทศสมาชิก

-การผ่อนปรน หมายถึงประเทศสมาชิกที่ไม่สามารถรับภาระทางการเงินในการดูแลก็จะได้รับการช่วยเหลือ เลื่อนระยะเวลาในการปฏิบัติตาม

เรื่องกองกำลังร่วมยุโรปกับการพัฒนาการทางด้านกองทัพของยุโรป

การพัฒนาด้านการกองทัพของยุโรปนั้นได้มีการพูดถึงมาตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1940 ที่เริ่มต้นโดยเยอรมันและฝรั่งเศส จนกระทั้งประชาคมป้องกันร่วมยุโรปได้สิ้นสุดลงและมีการทดลองจัดตั้งหน่วยทหาร ทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีการปฏิบัติการทางทหารร่วมกันของประเทศสมาชิกในยุโรป ในนามกองกำลังของ WEU ประกอบด้วยกองกำลังสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกของอังกฤษและดัทช์ และกองกำลังอีก 2 หน่วยจากอีตาลี ฝรั่งเศส โปรตุเกสและสเปน คือกองกำลังเคลื่อนที่เร็ว ที่จัดการในเรื่องมนุษยธรรมและรักษาความสงบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน อีกกองกำลังหนึ่งคือกองกำลังทางทะเล

WEU มีบทบาทในการวางแผน วางกฎเกณฑ์ในการฝึกของทั้ง 2 กองกำลัง

ความน่าจะเป็นของกองกำลังของอียูน่าจะเรียกว่ายูโรคอร์ปที่ตั้งขึ้นในเดือนพค. 1992 โดยตั้งมาขึ้นแทนทรอมโป้เยอรมัน มีเบลเยี่ยม สเปน ลักเซมเบิร์ก ซึ่งน่าจะก้าวมาเป็น CSSP ซึ่งจะทำให้ยุโรปมีกองกำลังที่มีอิสระที่มีเอกภาพและมีความเข้มแข็งในขณะที่อเมริกาถอนกำลังออกไปจากยุโรป

มีแนวคิดออกเป็น 2 ฝ่ายคือการให้เป็นส่วนหนึ่งของนาโต้ แต่บางส่วนเช่นฝรั่งเศสที่ต้องการกันอิทธิพลของอเมริกาออกไปจากอียูก็ต้องให้มีอิสระในเรื่องของกองกำลัง

ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมอากาศยานของอียู

ยุโรปมีความพยายามร่วมมือกันบนพื้นฐานของเศรษฐกิจยุโรป ยุโรปได้รับความเชื่อถือในการผลิตอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาศมานาน อุตสาหกรรมการบินเช่น บ.คอกเกอร์ แต่ภาวะบีบคั้นทางเศรษฐกิจทำให้นำมาซึ่งการปิดตัวของอุตสหกรรรมดังกล่าว ประเทศในยุโรปจึงพยายามร่วมมือกันเพื่อสร้างอุตสาหกรรมนี้ เช่นความร่วมมือของอังกฤษและฝรั่งเศส (คองคอร์ส) แต่ไม่รุ่งมากนัก แต่บริษัทแอร์บัสของฝรั่งเศสสามารถสร้างรายได้พอสมควร และเป็นเพียงรายเดียวที่สามารถแข่งขันกับโบอิ้งของสหรัฐได้ แต่การครอบงำของอเมริกาในอุตสาหกรรมนี้ยังมีสูง

ทั้งนี้อาจกล่าวได้สหรัฐอเมริกาและรัสเซียมีศักยภาพในการผลิตอุตสาหกรรมด้านนี้มากที่สุด

ถ้าพิจารณาถึงส่วนแบ่งทางการตลาดของธุรกิจอากาศยาน จะพบว่าเดมเลอร์ ไครส์เลอร์ของเยอรมัน มีส่วนแบ่ง 31.9 % อังกฤษ 20% คาร์ซ่าของสเปน 42%

และอุตสาหกรรมการบิน 7 แห่งของยุโรปมีส่วนแบ่งการตลาดโดยรวมในตลาดถึง 37%

เรื่องนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคของอียู

ตั้งแต่ 1970 อียูได้เริ่มแก้ปัญหาในการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ปัญหานี้ก็ยังมีอยู่จากการเป็นตลาดเดียวกันของ อียูเริ่มสนับสนุนการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้านนี้ของประเทศสมาชิก

เป้าหมายหลักคือการคุ้มผลประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภคได้ถูกนำมาเป็นนโยบายในการปรับปรุงมาตรฐานของสินค้าและบริการในด้านความปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค

สิ่งที่ต้องพิจารณาเช่น การติดฉลากสินค้าอาหาร การดูแลคุณภาพของสินค้าเช่นเครื่องสำอางค์ การโฆษณาที่เกินจริง ทั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคร้องต่อศาลเพื่อให้ผู้ผลิตแสดงให้เห็นผลของผลิตภัณฑ์ตามโฆษณานั้นๆ

ภายในโครงการตลาดเดียวมีความพยายามออกกฎหมายเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับสินค้าพื้นฐาน เช่น ของเล่น วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์อาหาร และสินค้าเกษตร

เช่นปี 1993 มีการทบทวนกฎหมายที่สำคัญที่มีการนำเสนอในปี 1976 คือกฎหมายเกี่ยวกับการสั่งห้ามจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางค์ที่ไม่ผ่านการทดลองกับสัตว์มาก่อน แต่ความล่าช้าของการทดลองกฎหมายนี้จึงออกมาไม่ทันในปี 2000

ปี 1995 มีการถอดถอนมาตรการกีดกันการรวมตัวกันโดยอิสระของผู้บริโภคในการสร้างมาตรฐานร่วมกันในการป้องสิทธิส่วนบุคคล

ปี 1997 การอนุญาติให้มีการโฆษณาแบบเปรียบเทียบกันได้ทั้งอียูทำให้มีการขยายตัวในการปฏิบัติต่อประเทศสมาชิก

และปีเดียวกันนี้ก็มีการกำหนดให้ผู้ค้าปลีกติดราคาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบราคา แต่ข้อนี้มีเพียงฝรั่งเศสและสวีเดนเท่านั้นได้ปฏิบัติแล้ว

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่นการห้ามโฆษณาบุหรี่ที่ออกกฎหมาย และเยอรมันคัดค้าน

โดยรวมแล้วการรวมตัวของอียูเองนอกเหนือจากความต้องการในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิก การสร้างความเข้มแข็งให้กับอียู รวมทั้งเพื่อการแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา ก็ยังแข่งขันกับประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่นเกาหลี ไต้หวัน จีน

นอกจากนี้ยังต้องร่วมกันเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจในยุคใหม่ที่เน้นการแข่งขันในเรื่องของต้นทุน ในบางกิจกรรมที่โดยลำพังแต่ประเทศทำไม่ได้ โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่นการทำโครงการกาลิเลโอ ที่ยุโรปสามารถสร้างระบบ GPS (Global Positioning System) ที่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในโลก กำหนดแหล่งทรัพยากร และสามารถทำนายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสภาวะธรรมชาติ ทั้งเพื่อการวางแผนการผลิต นอกจากนี้ยังใช้เป็นระบบการวางแผนการเดินทาง และอื่นๆ

เป้าหมายอีกส่วนหนึ่งก็คือถ้ามียุโรปเดียวได้คือจะไม่มีสงครามอีกต่อไปในยุโรป

ประเด็นอื่นๆที่น่าสนใจ

-ปัญหาของยุโรปเวลานี้คือยุโรปกลายเป็นแรงดึงดูดให้คนทั่วโลกเข้าไปในยุโรป

-ที่ผ่านมาการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปในปี 2001 อยู่ที่ 2.9 อเมริกา 3.4 ถือว่ามีความใกล้เคียงกัน

-อียูบอกว่าความแตกต่างหลากหลายของยุโรปไม่ใช่ปัญหาของการรวมตัวกันของอียู เช่นยุโรปมีภาษาทางราชการที่ใช้ร่วมกันที่จะต้องใช้ถึง 11 ภาษา ขณะที่สหประชาชาติมีเพียง 6 ภาษา ตรงนี้คือตัวอย่างของการยอมรับความหลากหลายและการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

เป้าหมายและวิธีการของอียู

1.ต้องการเป็นมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจ

2.ต้องการกระจายและจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง

3.ต้องการการแข่งขันกับโลก

4.ต้องการผลิตอย่างเต็มที สร้างงานเต็มที่เพื่อกำไรสูงสุด เพื่อจัดระเบียบโลกใหม่

5.เพื่อสร้างระบบความร่วมมือที่สามารถแข่งขันกันได้

6.สร้างกฎระเบียบใหม่

7.สร้างบูรณาการที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็น 1 เดียวของโลก ซึ่งยากที่ภูมิภาคอื่นจะเอาอย่างได้ เช่นอาเซี่ยนมีความพยายามแต่ความแตกต่างของอาเซียนมีมากเกินไป

สุดท้ายต้องการสร้างยุโรปให้เป็น 1 เดียว

โดยสรุปเวลานี้อียูเป็นทั้งหน่วยที่เหนือกว่าชาติ เป็นทั้งองค์การระหว่างประเทศ และยังเป็นรัฐชาติด้วย

โดยสรุปยุโรปก็คือกระบวนการบูรณาการที่มาจากความร่วมมือในการทำงานโดยมีเป้าหมายที่จะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และในอนาคตอาจจะเป็นสหรัฐในยุโรป

**นอร์เวยังไม่เป็นสมาชิกของอียู เพราะไม่ผ่านประชามติของประชาชนเพราะกลัวจะสูญเสียในเรื่องการประมง ขณะที่ผู้นำหรือชนชั้นนำของประเทศนั้นมีความต้องการเป็นสมาชิกของอียู

 

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1